รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
หมอลำ : ละครพื้นบ้านอิสานแนวพัฒนา


ความเป็นมา
เนืองมาจากภาคอิสานประกอบด้วยกลุ่มวัฒนธรรมหลายกลุ่ม ที่สำคัญได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเจรียง-กันตรึม กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช กลุ่มวัฒนธรรมโส้ กลุ่มวัฒนธรรมแสก และกลุ่มวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในแต่ละวัฒนธรรมก็จะมีการละเล่นเป็นของตนเอง แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการละเล่นของกลุ่มหมอลำเท่านั้น
กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ คือกลุ่มวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรอาศัยอยู่ในทุกจังหวัดของภาคอิสาน ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มนี้ คือ พูดภาษาไทย-ลาว ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงแบบธรรมดา ไม่มีหางหรือโจงกระเบน กินข้าวเหนียว ปลาแดก มีแคนเป็นเครืองดนตรีเอก และมีหมอลำเป็นการละเล่นที่สำคัญที่สุด
ที่มาและความหมายของคำว่า "หมอลำ"
คำว่า "หมอลำ" ประกอบขึ้นด้วยคำสองคำ คือ "หมอ" และ "ลำ" คำว่าหมอนี้ หมายถึงผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในวิชาสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น หมอยา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยา หมอมอ หมอโหร หมอทวย หมอเลข หรือ หมอฮูฮา (โหรา) หมายถึงผู้ชำนาญในการทำนายโชคชะตา หมอน้ำมนต์ หมายถึงผู้ชำนาญการในการทำน้ำมนต์ หมอสูตร หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในการใช้สูตร เช่น สูตรขวัญ และหมอธรรม หมายถึง ผู้ชำนาญการในการใช้คาถาในการสะเดาะเคราะห์ ปราบ หรือขับไล่ผีต่างๆ ให้หนีไป เป็นต้น
ส่วนคำว่า "ลำ" นั้น ท่านผู้รู้บางท่านได้สันนิษฐานไว้ดังนี้ คือ แนวสันนิษฐานที่บอกว่า ลำเป็นคำลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะยาว เช่น ลำไผ่ ลำพร้าว ลำตาล หรือลำน้ำ เช่น ลำโขง ลำชี ลำมูล เป็นต้น เนื่องจาก นิทานพื้นบ้านหรือวรรณกรรมอิสาน เป็นเรื่องที่ยืดยาวคนทั้งหลายจึงเรียกวรรณกรรมเหล่านี้ว่า "ลำ" เช่น ลำสังข์ศิลป์ชัย ลำกาฬเกศ ลำสีธนมโนรา ลำแตงอ่อน ลำขูลูนางอั้ว เป็นต้น หากผู้ใดมีความชำนาญในการจดจำหรือท่องจำบทกลอนเนื้อหาของนิทานหรือวรรณกรรมเหล่านี้ได้ บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อเป็น "หมอลำ"
แนวการสันนิษฐานอีกแนวหนึ่ง เกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ลำ" มีว่า เดิมทีนั้นวรรณกรรมหรือนิทานพื้นบ้านอิสานนิยมจาร หรือบันทึกไว้ในใบลานหรือบนติวไม้ไผ่ (ผิวไม่ไผ่) หรือลำไม้ไผ่ ฉะนั้นนิทานพื้นบ้านเหล่านี้จึงมีคำว่า "ลำ" นำหน้า
แนวการสันนิษฐานทั้งสองแนวนี้ ดูเผินๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่หากจะวิเคราะห์จากข้อมูลหรือหลักฐานที่พบอยู่ในถิ่นต่างๆ ของคนไทยแล้ว คำว่า "ลำ" นี้ น่าจะมีที่มาต่างไปจากนี้โดยเหตุผลดังต่อไปนี้
ในท้องถิ่นภาคเหนือของไทยและภาคเหนือของลาวใช้คำว่า "ขับ" แทน "ลำ" เช่น ขับซอ ขับเชียงขวาง ขับหลวงพระบาง เป็นต้น ส่วนในภาคอิสานของไทยและภาคใต้ของลาวใช้คำว่า "ลำ" เช่น ลไผีฟ้า ลำพื้น ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลิน ลำซิ่ง ลำสั้น ลำยาว ลำล่อง ลำอ่านหนังสือ ลำสีพันดอน ลำโสม ลำมหาชัย ลำคอนสวัน ลำสาละวัน ลำตังหวาย และลำบ้านซอก เป็นต้น
ส่วนในภาคกลางของไทยนั้นเดิมใช้คำว่า "ขับลำนำ" และคำว่า "ลำ" นั้นก็นิยมใช้เป็นคำนำหน้าสำหรับเรียกชื่อเพลงไทยเดิม เช่น ลำสร้อยสน ลำพัดชา และลำนางนาค เป็นต้น หลักฐานเหล่านี้มีปรากฏในตำนานมโหรีปี่พาทย์ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นร้อง หรือขับร้อง อย่างในปัจจุบัน
ฉะนั้น คำว่า ลำสังข์ศิลป์ชัย ลำกาฬเกศ ลำสีธนมโนรา ที่เป็นชื่อของวรรณกรรมพื้นบ้านอิสาน ก็ดี เพราะคำว่า ลำสร้อยสน ลำพัดชา หรือลำนางนาคก็ดี น่าจะหมายถึงลำนำมากกว่า ที่จะหมายถึงความยาว เพราะวรรณกรรมอิสาน หรือเพลงไทยเดิมเหล่านี้ ใช้สำหรับเป็นลำนำหรือทำนอง หรือที่ทางภาคกลางเรียกว่า "ขับลำนำ" นั่นเอง คำเต็มที่ถูกต้องน่าจะเป็น ลำนำสังข์ศิลป์ชัย ลำนำกาฬเกศ ลำนำสีธนมโนรา ลำนำสร้อยสน ลำนำพัดชา และลำนำนางนาค
ประเภทของการละเล่นพื้นบ้านภาคอิสาน
การละเล่นพื้นบ้านอิสานในกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำเองก็แบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง เช่น การละเล่นที่เป้นการแข่งขันหรือเกมส์กีฬา เช่น การเล่นหิง การเล่นหมากเก็บ การเล่นโขกเขก การเล่นหมากลี้ การช่วงเฮือ และการเส็งกลอง เป็นต้น การละเล่นที่เกี่ยวกับประเพณีหรือพิธีกรรม หรือที่ถูกไม่น่าจะเรียกว่าการละเล่น ควรจะเรียกว่า การประกอบพิธีกรรม เช่น ลำผีฟ้า เซิ้งบั้งไฟ และพิธีเสี่ยงเซียงข้อง เป็นต้น การละเล่นที่เป็นมหรสพ หรือเพื่อความบันเทิง ได้แก่ การบรรเลงดนตรีต่างๆ เช่น การเป่าแคน การดีดพิณ การเป่าหุน หรือเป่าโหวด ส่วนการละเล่นที่เป็นมหรสพที่สำคัญที่สุดของกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ก็คือ หมอลำ นั่นเอง
หมอลำกับสังคมอิสาน
หมอลำเป็นมหรสพที่มีวิวัฒนาการควบคู่กับสังคมอิสานเมื่อสภาพสังคมอิสานเปลี่ยนไป รูปแบบและเนื้อหาของการแสดงหมอลำก็เปลี่ยนไปด้วย การเปลี่ยนแปลงของศิลปะการแสดงหมอลำมีทั้งที่เป็นเชิงอนุรักษ์และพัฒนา การอนุรักษ์ในที่นี้เป็นการอนุรักษ์เฉพาะส่วนที่เป็นประโยชน์ เป็นที่ชื่นชมยอมรับของผู้ฟัง ผู้ชม ขณะเดียวกันก็มีการปรับ ประยุกต์ หรือต่อเติมเสริมสร้างสิ่งที่ดีงาม ที่เรียกว่าการพัฒนาขบวนการเหล่านี้ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในศิลปะการแสดงหมอลำ ดังจะได้กล่าวถึงพอสังเขป ดังต่อไปนี้
หมอลำเกิดจากการเล่านิทาน
ในสมัยก่อน พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายชาวอิสาน นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือเพื่อเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของเด็กให้เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ มีความขยันอดทน ไม่โหดเหี้ยมก้าวร้าว หรือมุทะลุดุดัน เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ หรือเอาแต่ใจตนเอง จนเป็ผลให้คนอิสานเป็นผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรม มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น
การเล่านิทานนี้สามารถทำได้สองรูปแบบ แบบที่หนึ่ง เป็นการเล่านิทานแบบเป็นการส่วนตัว ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีเมตตาแก่ลูกหลาน โดยเล่าที่บ้านของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นบนบ้าน ลานบ้าน หรือตามบริเวณที่ทำงานบ้านอื่นๆ ในตอนกลางวัน หรือตอนเย็นเมื่อว่างจากงานอื่นๆ แล้ว แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ หลังจากรับประทานอาการเย็น และหมดภาระงานประจำวันแล้ว ก่อนนอนเด็กจะรบเร้าให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังตามช่วงเวลาที่นัดหมายหรือสัญญากันไว้ เมื่อเด็กอยากฟังนิทานผู้ใหญ่ก็มักที่จะขอร้องเด็ก ให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเล่านิทาน เป็นการเน้นย้ำให้เด็กได้มีโอกาสสั่งสมความดีงามเพิ่มเติมจากที่ได้รับจากเนื้อหาสาระของนิทานที่ได้ฟัง
การเล่านิทานที่เป็นทางการนั้น นิยมเล่ากันในงานงันเฮือนดี กล่าวคือ เมื่อมีคนตาย ญาติพี่น้องจะมาร่วมประชุมช่วยงานที่บ้านของผู้ตายในเวลากลางคืนประมาณ 3 คืน และเพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงาแก่สมาชิกครอบครัวนั้น ในงานนี้เจ้าภาพนิยมไปติดต่อผู้ชำนาญในการอ่านหนังสือใบลาน ซึ่งเป็นนิทานชาดก เช่น เรื่องสังข์ศิลป์ชัย เรื่องท้าวสุริวงศ์ เร่องจำปาสี่ต้น หรืออื่นๆ มาอ่านให้ผู้ร่วมงานฟัง
เนื่องจากหนังสือชาดกเหล่านี้ เป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ ถ้อยคำสละสลวย มีจังหวะลีลาที่ประทับใจผู้ฟัง บางขณะผู้อ่านอาจทำเสียงสะอึกสะอื้น หรือใส่อารมณ์ ให้ผู้ฟังสะเทือนอารมณ์ จนต่อมาทำนองอ่านหนังสือนี้ ได้กลายมาเป็นทำนองลำทางยาว ของหมอลำพื้นและหมอลำกลอน ซึ่งเรียกกันว่า "ลำอ่านหนังสือ" และใช้แคนเป่าประกอบจะเกิดเป็นหมอลำพื้น
ประเภทของ "หมอลำ"
• หมอลำพื้น
บางทีเรียกว่า ลำเรื่อง หรือลำนิทาน เป็นการเล่านิทาน เช่น นิทานปรัมปรา หรือนิทานประวัติศาสตร์ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือนิทานชาดก ใช้ผู้ลำเพียงคนเดียว ใช้แคนลายใหญ่หรือลายน้อย สอดคล้องกับระดับเสียงสูงต่ำของผู้ลำ
• ลำผญา
เป็นการลำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว โดยใช้บทกลอนพิเศษที่เรียกว่า ผญา (มาจากคำว่า ปรัชญา / ปัญญา ในภาษาบาลีสันสกฤต) เป็นบทกลอนที่แฝงด้วยปัญญาในการคิดเกี้ยวพาราสีกัน เรียกว่า การเว้าผญา
• หมอลำหมู่
มาจากหมอลำพื้นที่เพิ่มผู้ลำมากขึ้น เล่นเป็นเรื่องราวโดยให้คนแสดงเป็นตัวละครต่างๆ แต่งกายตากลักษณะตัวละครนั้นๆ บ้างเรียกว่า หมอลำเวียง หรือหมอลำเรื่องต่อกลอน เป็นการแสดงที่เคร่งครัดต่อวิธีการแสดงและบทมากที่สุด
• หมอลำเพลิน
เป็นหมอลำหมู่อีกชนิดหนึ่งแต่เป็นทำนองที่เยิ่นเย้อเป็นลำทางยาว มาใช้ทำนองที่คึกคักเร้าใจ ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นสำคัญ ใช้เครื่องดนตรี พิณ แคน และกลองชุด เป็นหลัก ต่อมาพัฒนามาใช้วงดนตรีลูกทุ่งประกอบแทน นิยมใช้กลอนตลาดหรือกลอนแทรก ตามความสามารถและเชาวน์ปัญญาของผู้แสดง
• หมอลำกลอน
เป็นการพัฒนามาจากลำพื้น เช่นเดียวกับหมอลำหมู่ พัฒนาเป็นการร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ มีการถามตอบปัญหา เอาแพ้ชนะกันอย่างจริงจัง หมอลำแต่ละคนก็มีกลอนอวดตนเองที่เรียกว่า กลอนสาด กลอนท้า หรือกลอนด่า เพื่อให้คู่ต่อสู้เคียดแค้น หากฝ่ายใดยอมก็ถือว่าต้องพ่ายแพ้ลงจากเวทีไป
• หมอลำเกี้ยว
พัฒนาต่อมาจากหลอลำกลอน คือมีผู้เห็นว่า การลำแบบท้าด่าทอนี้ เป็นเรื่องไม่สุภาพ ไม่เหมาะกับผู้มีวัฒนธรรมอันดีงาม จึงเปลี่ยนการลำคู่นี้มาเป็นการเกี้ยวพาราสี เกี้ยวแกมหยอก
• หมอลำชิงชู้
ต่อเนื่องมาจากหมอลำเกี้ยว แต่เพิ่มหมอลำชายอีก 1 คน เป็นการลำเพ่อแย่งชิงคนรัก ต้องหาทางเอาชนะคู่แข่งให้ได้
• หมอลำสามเกลอ
ต่อเนื่องมาจากหมอลำชิงชู้โดยเพิ่มหมอลำชายอีก 1 คน
• หมอลำซิ่ง
ต่อมาเมื่อลำกลอนเกิดซบเซา เพราะมีคู่แข่งขัน เช่น ภาพยนตร์ ลำหมู่ ลำเพลิน และดนตรีลูกทุ่ง หมอลำจึงต้องประยุกต์เอาเพลงลูกทุ่งเข้ามาผสมผสาน นำกลองชุดมาตีให้จังหวะ และประกอบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ชาวอิสานเข้ามาอยู่ในเมืองหลวงมากขึ้นสัมผัสกับเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงหลากลาย เมื่อกลับสู่บ้านเกิด ก็ขอเพลงเหล่านี้จากหมอลำ หมอลำจึงต้องพัฒนาสามารถเล่นเพลงลูกทุ่งเหล่านี้ได้ตามคำขอด้วย หมอลำซิ่งแพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะจังหวะที่เร่าร้อน กลายเป็นตระกูลหมอลำใหม่ขึ้น มีคนนิยมทั่วทั้งอิสานเป็นประวัติการณ์
แนวคิดในการพัฒนาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
การพัฒนาศิลปะการแสดงพื้นบ้านอาจทำได้สองวิธี คือ วิธีที่หนึ่งปล่อยให้กลไกทางสังคมเป็นตัวกำหนด คือ ปล่อยตามยถากรรมนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องวิตกกังวลกับสภาพที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนไป อีกวิธีหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงที่มีการประคับประคองหรือช่วยเหลือ ให้เป็นไปในทิศทางที่ผู้ห่วงใยประสงค์หรือต้องการ วิธีการนี้จะต้องวิเคราะห์ หาหลักเกณฑ์ ทั้งในด้านที่เป็นรูปแบบ และในด้านที่เป็นเนื้อหาสาระ โดยจะต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนใดที่ควรทิ้ง
2. ส่วนใดที่ควรอนุรักษ์
3. ส่วนใดที่ควรปรับ
4. สิ่งใดที่ควรเสริม
5. สิ่งใดที่ควรต่อเติม
6. สิ่งใดที่ควรสร้างสรรค์ขึ้นใหม่
จะเห็นได้ว่า ศิลปะการแสดงพื้นบ้านทุกชนิด หากจะให้คงอยู่ ต้องมีการปรับและพัฒนาตนเองตลอดเวลา มิฉะนั้นแล้วก็จะเสื่อมสูญ และจากสภาพปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นตามกลไกของสภาพสังคม เพราะไม่มีบุคคลใดจะมีอำนาจในการบันดาลหรือกำหนดทิศทางของศิลปะได้ แต่พวกเราทั้งหลายก็ไม่ควรที่จะปล่อยศิลปะการแสดงพื้นบ้านให้เป็นไปตามยถากรรม
ธรรมจักร พรหมพ้วย / เรียบเรียงจากเอกสารทางวิชาการ ฝ่ายศิลปะการแสดง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
5 พ.ย.2544




Create Date : 24 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 พฤษภาคม 2550 2:32:01 น. 26 comments
Counter : 1844 Pageviews.

 



โดย: iijiiik IP: 124.121.17.35 วันที่: 19 มิถุนายน 2550 เวลา:21:49:25 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: ยม IP: 58.147.48.77 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:13:32:41 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: ยม IP: 58.147.48.77 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:13:32:42 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: ยม IP: 58.147.48.77 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:13:32:45 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: ยม IP: 58.147.48.77 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:13:32:46 น.  

 
ดี แต่อยากให้มีมากกว่านี้


โดย: น่ารัก IP: 61.19.153.114 วันที่: 31 ตุลาคม 2550 เวลา:11:52:25 น.  

 
ดีมากค่ะ


โดย: เจน IP: 61.19.153.114 วันที่: 31 ตุลาคม 2550 เวลา:11:55:21 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: เกรพ IP: 203.172.199.254 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:09:57 น.  

 
ดีมากเลย


โดย: อาม IP: 125.27.49.141 วันที่: 24 ธันวาคม 2550 เวลา:17:00:02 น.  

 
งง


โดย: ส IP: 203.172.165.101 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:51:12 น.  

 
อิออิอิอิช่วยไห้ยาไห้น่อยจิมีภาพด้วยนะ


โดย: นนทพัธ IP: 125.24.7.198 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:12:52 น.  

 
ขอบคุณมากคับ ช่วยรายงานผมได้เยอะเลย


โดย: นพพล IP: 118.173.224.73 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:1:13:13 น.  

 
ได้ความรู้มากเลย


โดย: ตุ่น IP: 58.8.14.253 วันที่: 29 เมษายน 2551 เวลา:16:38:04 น.  

 
เยี่ยม


โดย: T IP: 125.24.6.72 วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:29:30 น.  

 
สุดยอดเลยนะ555555555+อิอิอิอิอิอิ


โดย: เจ IP: 61.7.147.72 วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:14:41:16 น.  

 
เป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น


โดย: วรภพ อินทร์ตา IP: 118.175.134.228 วันที่: 4 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:33:43 น.  

 
Good so much


โดย: neeramol IP: 118.173.51.47 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:38:46 น.  

 
ขอบคุณมากมายค่า


โดย: จิ๊จ๊ะ IP: 125.25.105.152 วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:13:43:35 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ ผลงานของอาจารย์ประทับใจหนูมาก


โดย: น้องโปงลาง IP: 203.172.199.254 วันที่: 25 สิงหาคม 2551 เวลา:10:01:49 น.  

 
ดีมาก


โดย: ทอส 402 IP: 117.47.133.17 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:12:01:21 น.  

 
ดี


โดย: 555+ IP: 125.26.56.79 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:12:32:59 น.  

 
ดีมากครับหายากแล้วครับข้อมูลแบบนี้ส่วนใหญ่จะหายไปกับยุคสมัยครับ


โดย: ดีเจ ธนพล IP: 125.26.73.28 วันที่: 1 มีนาคม 2552 เวลา:15:41:48 น.  

 
ดีค่ะให้ความรู้ดีม๊ากๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: สาวหมอลำอุบลราชธานี IP: 118.175.129.246 วันที่: 21 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:52:09 น.  

 
ผมนักร้องลำสารพันไม่อยากจะบอกร้องยาหซ่ำได๋


โดย: ทองเจริญ ดาเหลา IP: 192.168.100.26, 124.120.204.41 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:17:27:38 น.  

 
ขอขอบคุณครับ


โดย: 22222222222 IP: 223.206.31.133 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:32:28 น.  

 
ชอบช๊อบบบบบบ


โดย: น้อง อิ IP: 124.121.159.2 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:15:40:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.