รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
ภาษาท่ารำ อวัจนภาษาในความเคลื่อนไหว




ธรรมจักร พรหมพ้วย

นาฏยศิลป์ไทยหรือศิลปะการฟ้อนรำของไทยมีบทบาทต่อวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชาวไทยมาช้านาน มีการพัฒนาและสร้างรูปแบบจนมีอัตลักษณ์ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปะคลาสสิค เช่นเดียวกับนาฏยศิลป์สกุลอื่นของโลก เช่น บัลเล่ต์หรือนาฏยศิลป์อินเดีย ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของนาฏยศิลป์ คือ การที่ผู้ดูจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบสัญญะ (Semiology) ของการแสดงจึงจะสามารถซาบซึ้งและเข้าถึงความหมายที่แฝงในงานศิลปะประเภทนี้ได้ การแสดงท่าทางที่มีนัยแฝงนี้จึงทำให้ "ภาษาท่ารำ" ในนาฏยศิลป์ไทยเป็นอวัจนภาษา (Nonverbal Language) ที่พัฒนารูปลักษณ์จากภาษาพูดไปสู่ภาษาท่าที่สามารถสื่อความหมายหรือเล่าเรื่องให้ผู้ดูเข้าใจโดยใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นสื่อในการถ่ายทอด ทั้งยังสามารถแสดงถึงอารมณ์ของตัวละครที่กำลังสื่อสารกับผู้ดูว่าอยู่ในภาวะใดได้อีกทางหนึ่งด้วย การฝึกหัดนาฏยศิลป์ไทยให้ความสำคัญกับการสื่อความหมายด้วยภาษาท่านี้ เรียกว่า "ตีบท" หรือ "ใช้บท" ซึ่งต่อมามีการรวบรวมและเรียบเรียงจนเป็นแบบแผนถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นภาษาเฉพาะทางเรียกว่า "นาฏยศัพท์" ภาษาท่ารำนี้ ปรากฏในศิลปะการแสดงของไทย เช่น ละครรำประเภทต่างๆ และโขน เป็นการเคลื่อนไหวที่สามารถสื่อความหมายและเล่าเรื่องราวโดยการเลือกสรรและสร้างสรรค์ท่าทางทั้งที่เป็นการเลียนแบบกิริยาตามธรรมชาติหรือกำหนดความหมายที่สามารถเข้าใจและสื่อสารกันได้ในกลุ่มชมที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น กิริยาที่ใช้มือซ้ายจีบเข้าที่หว่างอก มีความหมายว่า "ตัวเรา" กิริยาที่ใช้มือทาบกันระหว่างอก มีความหมายว่า "รัก" เป็นต้น ท่ารำแต่ละท่าสามารถให้ความหมายได้หลายอย่างและในขณะเดียวกัน ความหมายอย่างหนึ่งก็สามารถใช้ท่ารำได้หลายท่า ภาษาท่ารำสามารถใช้แทนคำพูด ขยายความ หรือความหมายของกลอนบทละครหรือบทสนทนาระหว่างตัวละครได้ บางครั้งก็แสดงความหมายในตัวเองได้โดยมิต้องใช้วัจนภาษาประกอบ มีลักษณะคล้ายภาษาใบ้ (Mime) ในบัลเล่ต์ (เช่น หากนักเต้นใช้นิ้วชี้ที่นิ้วนางมือซ้าย ก็มีความหมายถึงการแต่งงาน) ท่ารำไทยนี้ยังสามารถสะท้อนรูปแบบของสังคมในสมัยศักดินา เพราะมีการเลือกใช้ท่ารำให้เหมาะสมกับยศและบรรดาศักดิ์ของตัวละคร
ภาษาท่ารำในนาฏยศิลป์ไทยนี้สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากการแสดงท่ามือในนาฏยศิลป์อินเดียที่ใช้มือและแขนเป็นองค์ประกอบหลักสามารถให้ความหมายได้โดยตรงและโดยนัย ในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ของภรตมุนี ซึ่งถือเป็นตำราทฤษฎีนาฏยศิลป์ที่สำคัญเล่มหนึ่ง ได้กล่าวถึงความสามารถของการใช้มือเพียงมือเดียวทำท่าที่มีความหมายได้ 24 ท่า ท่าสองมือที่มีความหมายมี 13 ท่า และท่าสองมือที่ไม่มีความหมายแต่ใช้เพื่อประกอบการฟ้อนรำให้งดงามอีก 30 ท่า นอกจากนี้ยังได้กำหนดโครงสร้างท่ารำให้เป็นแม่บท เรียกว่า "กรณะ" ทั้งสิ้น 108 ท่า ซึ่งเป็นท่าที่พระอิศวรร่ายรำเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์ เราจึงนับถือพระอิศวรว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ หรือ "ศิวนาฏราช"
การฟ้อนรำของไทยมีลักษณะโครงสร้างของท่ารำคล้ายคลึงกับนาฏยศิลป์จากดินแดนชมพูทวีป ท่ารำต่างๆ จึงประกอบไปด้วยการใช้ร่างกายส่วนต่างๆ ประกอบกันทั้ง ศีรษะ ลำตัว แขน มือ ขา เท้า แม้กระทั่งดวงตาที่ต้องสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ ท่ารำเหล่านี้เมื่อปฏิบัติแล้วจึงจะเกิดความหมายสื่อให้ผู้ดูสามารถเข้าใจถึงการกระทำและความรู้สึกของตัวละคร ในพื้นฐานของท่ารำไทยนั้น ประกอบขึ้นจากท่าพื้นฐาน เช่น จีบ ตั้งวง ยกเหลี่ยม กระดกเท้า เอียงศีรษะ บุรพจารย์ได้นำท่าเหล่านั้นมาจัดวางองค์ประกอบให้ได้ความงามในเชิงสุนทรียะ แล้วกำหนดชื่อเรียกเฉพาะเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการถ่ายทอด เช่น ท่าสอดสร้อยมาลา ก็เกิดจากการเลียนกิริยาของชาวไทยที่นิยมการร้อยหรือกรองดอกไม้ให้เป็นอุบะมาลัย ปรมาจารย์ผู้สร้างสรรค์ได้นำเอาวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประจำวันมาผสานสร้างเป็นท่ารำต่างๆ ดังจะได้ยกตัวอย่างท่ารำที่แสดงความหมาย เช่น
ท่าเทพนม หมายถึง การเคารพ บูชา สักการะ หรือใช้กับนามเฉพาะ เช่น พระมหากษัตริย์ บิดามารดา
ท่าพรหมสี่หน้า หมายถึง ความยิ่งใหญ่ มโหฬาร หรือการสวมใส่ศิราภรณ์ เช่น มงกุฎ และยังใช้แทนการกล่าวถึงพระพรหมด้วย (สังเกตว่า ท่าทั้งสองสะท้อนอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่นับถือเทพและพรหมว่าเป็นผู้สร้าง)
ท่าเฉิดฉิน หมายถึง ความสวยงาม ดีงาม
ท่ากวางเดินดง ใช้เป็นท่าเฉพาะของตัวละครที่แสดงเป็นกวาง (ใช้มือเลียนแบบเขาของกวาง)
ท่าหงส์บิน ใช้เป็นท่าที่แสดงถึงสัตว์ที่มีปีก เช่น นก ไก่ นกยูง หงส์ กินรี กินรา เป็นต้น
ยังมีความหมายในภาษาท่ารำอีกมากมายซึ่งไม่อาจนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ได้หมด บางท่าก็เป็นเพียงการแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกผ่านสายตาและดวงหน้า เรียกว่า "ใช้หน้า" ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่จะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติให้สวยงามจนชำนาญ การฝึกหัดนาฏยศิลป์ไทยที่ดีนั้นนอกเหนือจากการจดจำท่ารำต่างๆ ได้อย่างแม่นยำแล้วควรที่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงที่มาและความหมายของภาษาท่ารำนั้นๆ ซึ่งการฝึกนี้เรียกว่า "ตีบท" หรือ "ใช้บท" มีหลักการและวิธีปฏิบัติที่จะต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และปฏิภาณของผู้แสดง ในเบื้องต้นนั้นจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการรำตามครู และพยายามสังเกตเพื่อเก็บรายละเอียดวิธีการปฏิบัติให้เหมือนครู แล้วจดจำทำความเข้าใจระหว่างท่ารำและความหมาย เพราะเมื่อออกแสดงจนชำนาญจะสามารถนำเอาท่ารำที่ครูสอนเหล่านี้มาปฏิบัติเองด้วยปฏิภาณ การจดจำและเลียนแบบให้เหมือนครูมากที่สุดจึงจะทำให้รักษาเอกลักษณ์ของท่ารำและวิธีการปฏิบัติให้สืบต่อไปได้อย่างไม่บกพร่อง เมื่อปฏิบัติให้ถูกต้องงดงามแล้ว ก็ต้องฝึกซ้อมโดยทำซ้ำพร้อมทั้งศึกษาบทละคร บุคลิก และอารมณ์ของตัวละครโดยละเอียด แล้วใส่อารมณ์ไปพร้อมกับการปฏิบัติท่า ทั้งนี้ต้องคำนึงอุปนิสัย สถานภาพ ยศ บรรดาศักดิ์ เป็นสำคัญด้วย เช่น ตัวละครที่เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ เช่น พระราม อิเหนา ย่อมต้องมีบุคลิกที่ภูมิฐาน สง่างาม สมเป็นกษัตริย์ มีความละเอียดอ่อนในท่ารำ จึงไม่สามารถใช้ท่าของตลกหรือจำอวดได้ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงประเภทของการแสดงว่าเป็นละครประเภท มีวิธีการนำเสนอแบบใด เช่น หากเป็นละครใน ก็มุ่งเน้นที่ความวิจิตร ละเอียดอ่อนของท่ารำ เพราะต้องร่ายรำกับทำนองเพลงที่แช่มช้าสามารถใส่รายละเอียดท่ารำได้มาก หากเป็นละครนอกก็สามารถรำโดยรวบรัดตัดความ ใช้ท่าแต่น้อยหรือใช้ท่าที่เจือด้วยความตลกโปกฮาหรือหยาบโลนได้บ้าง
ในปัจจุบันแม้ว่าศิลปะการฟ้อนรำมิได้มีบทบาทต่อคนในสังคมโดยตรงเหมือนเช่นในอดีต ทว่าวัฒนธรรมของคนไทยก็ยังมีความผูกพันกับนาฏยศิลป์อยู่บ้าง เช่น หากคุณมีโอกาสได้ชมการแสดงโขนหรือลิเก ก็สามารถที่เข้าใจถึง "สาร" ที่ตัวละครกำลัง "สื่อ" กับคุณอยู่ มิใช่เพียงการเสพศิลป์เพื่อความบันเทิงส่วนตนเพียงอย่างเดียว ภาษาท่ารำนี้มีลักษณะเป็นพลวัตเหมือนอย่างภาษาประเภทอื่น กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สภาพแวดล้อมและความนิยมของผู้แสดงและผู้ชม รวมทั้งอิทธิพลจากการครอบงำทางวัฒนธรรมของสื่อและศิลปะการแสดงแขนงอื่นๆ อาจทำให้ภาษาท่ารำนี้กลายเป็น "ภาษาตาย" ที่ไม่มีใครรู้จักหรือเข้าใจและเสื่อมสลายไปในอนาคต ถึงเวลาแล้วหรือยังที่นาฏยศิลปินจะต้องสำนึกในภูมิปัญญาของบุพาจารย์ทางด้านนาฏยศิลป์ที่สามารถรังสรรค์งานศิลปะอันสูงส่งนี้ให้ถ่ายทอดสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันได้ อย่าให้ท่ารำเป็นเพียงภาพจำหลักหรือรูปถ่ายในหนังสือที่ไม่มีใครสามารถเข้าใจความหมายได้อีกในอนาคต

รายการอ้างอิง
ศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์, นาฏยศิลป์ปริทรรศน์ : Introduction to Performing Arts. พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544).
ธนิต อยู่โพธิ์, ศิลปะละคอนรำหรือคู่มือนาฏศิลปไทย. (กรุงเทพฯ : ศิวพรการพิมพ์, 2498).
ผศ.ผุสดี หลิมสกุล, แนวทางการฝึกนาฏยศิลป์ไทยเบื้องต้น. (เอกสารประกอบการสอนวิชาทักษะนาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537).
จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์, นาฏศิลปศึกษา. (กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์, 2519).
อวยพร พานิช และคณะ, ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544).
ดร.กาญจนา แก้วเทพ, ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. (กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544).



Create Date : 22 เมษายน 2550
Last Update : 22 เมษายน 2550 23:24:33 น. 40 comments
Counter : 18218 Pageviews.

 


โดย: โย่ง IP: 125.24.150.167 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:18:20:01 น.  

 
การรำไทยเป็นประเภณีที่ดีมากๆwww.bloggang.com/emo/emo19.gif>


โดย: ตาล IP: 203.172.199.254 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:15:28 น.  

 
การรำไทยเป็นการรำที่น่าชื่นชมจิงๆ


โดย: หมูน้อย IP: 222.123.83.207 วันที่: 7 มกราคม 2551 เวลา:20:02:13 น.  

 
ท่านอนทำไง

หานานแล้วไม่เจอเลย


โดย: เปียโน IP: 124.121.174.52 วันที่: 11 มกราคม 2551 เวลา:19:09:30 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะที่ให้ความรู้รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร


โดย: คยูฮยอน IP: 58.136.207.79 วันที่: 30 มกราคม 2551 เวลา:18:06:15 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะสำหรับความรู้ที่ให้มา มีประโยชน์จริงๆค่ะ
ซึ้งจมากค่ะ


โดย: ซีวอน IP: 125.24.215.83 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:31:49 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะ


โดย: ปาล์ม IP: 125.26.55.51 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:34:19 น.  

 
ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ


โดย: p IP: 125.26.55.51 วันที่: 20 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:36:18 น.  

 
ได้ประโยชน์และความรู้มากๆ เลยค่ะ


โดย: ปลา IP: 202.139.223.18 วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:42:10 น.  

 


โดย: m IP: 61.7.154.84 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:02:36 น.  

 
ดี ดีใจที่ทำเว็บนี้ขึ้นมา ขอขอบคุณมากที่มีเว็บนี้


โดย: ภัทรวดี คำถา IP: 117.47.125.207 วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:13:38:42 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้


โดย: ใบเฟริ์น IP: 222.123.194.220 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:01:15 น.  

 
ดีครั


โดย: มมม IP: 125.26.107.23 วันที่: 25 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:50:24 น.  

 
very Good


โดย: toon IP: 124.120.192.61 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:18:59:55 น.  

 
ดีมาก


โดย: 208 IP: 125.24.119.183 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:29:37 น.  

 
ขอบคุณ


โดย: กน IP: 203.209.118.143 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:47:29 น.  

 
ddddddddddddddดดดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีด


โดย: มิน IP: 203.209.118.143 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:49:02 น.  

 
การรำไทยนี้ดีจริง ๆ เลยน่ะค้า


โดย: ป๋ย IP: 222.123.176.84 วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:13:08:22 น.  

 
หาความหมายของทารำไม่เคยเจอเลยนะค่ะ


โดย: จีน IP: 58.10.167.175 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:12:19:02 น.  

 
อยากได้การบรรยายท่าสัตว์ต่างๆ


โดย: น้ำ IP: 125.26.71.162 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:39:26 น.  

 
ท่ารำมีมากกว่านี้มั้ย


โดย: มิ้ว IP: 125.26.255.2 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:36:59 น.  

 
เจ๋ง


โดย: sad 203 IP: 61.19.202.58 วันที่: 5 มิถุนายน 2552 เวลา:12:10:59 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะ

ได้ส่งงานแล้ว

น่าจะมีรูปเยอะๆนะ

จะได้น่าสนใจ


โดย: พุทธิภรณ์ IP: 124.121.16.171 วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:17:32:51 น.  

 
iloveyou
youlove


โดย: นารี IP: 222.123.23.4 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:22:01 น.  

 
ดีๆๆๆๆ จริง จากเด็ก น . ศ


โดย: กิมลั้ง IP: 125.27.243.209 วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:04:34 น.  

 
ไม่รู้เลยว่าสินระปะไทย มีความงดงามขนาดนี้
เป็นสิ่งที่คนไทยควรที่จะอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง
เพราะสินระปะไทยเป็นสิ่งที่มีมาแต่ช้านานแถมยังมีความงดงามที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบได้ ยังไงก็ขอบคุณมากนะค่ะที่ให้ความรู้จะทำรายงานพอดีเลยขอบคุณมาก จากคนรักประเทศ


โดย: คนรักประเทศ IP: 202.139.223.18 วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:05:52 น.  

 
สวัสดีค่ะหนูชื่อปาล์มมี่ค่ะ
ขอบนะค่ะรักทุกคนค่ะ


โดย: ปาล์มมี่ IP: 112.142.226.180 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:27:15 น.  

 
ย่ากโคตรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรเลยอะ


โดย: คนสวย IP: 202.149.25.241 วันที่: 8 สิงหาคม 2552 เวลา:15:36:00 น.  

 
ย่ากโคตรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรเลยอะ


โดย: คนสวย IP: 202.149.25.234 วันที่: 8 สิงหาคม 2552 เวลา:15:39:08 น.  

 
ยากมากเลยวานกุทำไม่ได้


โดย: แบงค์ IP: 10.0.0.14, 113.53.57.110 วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:10:14:49 น.  

 
verrygood
*-* -*--*-
เจ๋งไปเลยงับ


โดย: วิทย์ IP: 10.0.0.14, 113.53.57.110 วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:10:17:40 น.  

 
ความรู้น้อย


โดย: TJ IP: 124.157.235.156 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:15:24:16 น.  

 
สุดยอดเลยคัฟ


โดย: เมย์ IP: 203.144.144.164 วันที่: 7 มีนาคม 2553 เวลา:13:04:32 น.  

 
ดี


โดย: บีบี้ IP: 118.173.21.156 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:12:17:08 น.  

 
อยากรู้ท่ารำทั้งหมด ตอนพระนารายณ์ปราบนนทกคะ


โดย: praew IP: 119.46.217.43 วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:14:43:29 น.  

 
น่ารักดีหนิ 555https://www.bloggang.com/emo/emo14.gif


โดย: บีนนี่ IP: 61.19.65.142 วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:18:24:04 น.  

 
เยี่ยมไปเวย.......................หิหิ


โดย: เย่งจริงโว้ย IP: 110.168.145.117 วันที่: 7 ธันวาคม 2553 เวลา:21:44:44 น.  

 
//www.bloghttps://www.bloggang.com/emo/emo29.gifgang.com/ehttps://www.bloggang.com/emo/tool1.gifmo/emo3.gifhttps://www.bloggang.com/emo/tool11.gif


โดย: สา IP: 10.0.0.78, 203.113.102.154 วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:10:58:14 น.  

 
น่าจะมีทุกท่า


โดย: เพียงฟ้า IP: 124.121.214.68 วันที่: 11 มิถุนายน 2554 เวลา:7:22:40 น.  

 
อยากให้ช่วยหากลอนพร้อมท่ารำให้หน่อยค่ะ ด่วน


โดย: พลอย IP: 182.232.56.143 วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:19:43:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.