รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย



ธรรมจักร พรหมพ้วย
(ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นาฏยศิลป์ไทยเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น ท่ารำ จังหวะ การใช้พื้นที่ การใช้อารมณ์ เป็นต้น ผู้เรียนรู้และฝึกหัดจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจและพยายามปฏิบัติตามแบบหรือขนบที่ยึดถือเป็บแบบแผนสืบกันมา นอกจากนี้ยังต้องขวนขวายในการหาเทคนิคหรือวิธีการที่จะให้ท่ารำนั้นออกมาสวยงามได้สัดส่วนตามองค์ประกอบทางศิลปะและเหมาะกับรูปร่างของตน โดยนักรำที่ดีจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนด้วยความมานะพยายาม ไม่ย่อท้อ และรู้จักสังเกตจากครูที่ทำการถ่ายทอดให้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังที่คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ได้กล่าวไว้ว่า “เราจะต้องสังเกตเวลาครูจับท่าให้ว่าท่านั้น ท่านี้อยู่ในระดับใด เราจะต้องจำ และถ้ามีเวลาว่างก็นำมาฝึกหัด และนอกจากนี้จะดูจากจุดบกพร่องของเพื่อนแต่ละคน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อให้ท่ารำสวยงามยิ่งขึ้น” (ผุสดี หลิมสกุล, 2537) ดังนั้นการเรียนรำให้เกิดสัมฤทธิผลเพื่อการเป็นนาฏยศิลปินที่ดีนั้นสามารถฝักหัดกันได้ เพราะคงไม่มีสิ่งใดที่เกินความสามารถของมนุษย์เป็นแน่แท้

การฝึกหัดนั้นควรเริ่มจากการเตรียมพร้อมร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง การมีสัดส่วนสรีระที่ลงตัวย่อมน่าดูกว่าสรีระที่ไม่เหมาะสมกับการเรียนรำหรือเต้น ดังเช่นนักบัลเล่ต์เมื่อจะเริ่มเรียนนั้น จะมีแพทย์ทำหน้าที่คัดเลือกนักเรียนที่มีสรีระสวยงามสมบูรณ์ตามแบบอย่าง เช่น มีความสูงโปร่ง ไหล่ลู่ กระดูกสันหลังตรง เป็นต้น การคัดเลือกเช่นนี้จะเริ่มกระทำเมื่อหัดเรียน หากผู้ใดมีสรีระที่ไม่สามารถที่จะเรียนได้แล้วจะถูกตัดสิทธิ์ในการเรียน เช่นเดียวกันกับนาฏยศิลป์ ไทย เมื่อจะเริ่มเรียนนั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้ว่าสรีระของเรานั้นเหมาะสมที่จะเรียนในบทบาทใด เช่น พระ นาง ยักษ์ หรือลิง โดยมากแล้วครูจะเป็นผู้กำหนดให้นักเรียน โดยครูจะตรวจดูลักษณะใบหน้า ความสูง รูปร่าง หากผู้ที่มีความสูงโปร่ง ใบหน้ายาว เมื่อแต่งหน้าแล้วมีความงามพอใช้ก็จะถูกให้ฝึกฝนในบทตัวพระ ส่วนตัวนางก็จะเลือกผู้ที่มีใบหน้ากลม ใบหน้าสวยงามเหมาะกับที่จะใส่มงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้า ผู้ที่มีหน้าตาดีมักได้รับการเอาใจใส่จากครูเป็นพิเศษ เพราะครูมุ่งหวังที่จะให้หัดเพื่อเป็นตัวเอก แต่หากว่าการมีหน้าตาที่งดงามโดยปราศจากความขยันฝึกซ้อมและเอาใจใส่ในกระบวนท่ารำให้สวยงาม บุคคลเหล่านั้นก็ไม่อาจจะเป็นตัวเอกที่สมบูรณ์ได้เลย
เมื่อครูพิจารณาสรีระตามแต่บุคคลแล้ว ก็จะแยกตามบทบาทเป็นหมวดเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกาย เพื่อให้ได้สัดส่วนการรำที่งดงาม โดยบังคับกล้ามเนื้อหรือกระดูกบางส่วนให้ผิดรูปไป รวมทั้งเป็นการบริหารเพื่อให้การเคลื่อนไหวเมื่อรำเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีพลัง เริ่มจาก
1. ดัดมือ
นาฏศิลป์เน้นที่ความโค้งอ่อนของเส้นสรีระ มีรูปแบบที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ โดยปกติกล้ามเนื้อและกระดูกคนเรานั้นไม่สามารถจะบิดงอให้ได้ดังใจ จำเป็นที่จะต้องค่อยดัด ค่อยดามให้โค้งงอได้ตามสัดส่วนมาตรฐานที่โบราณจารย์กำหนดไว้ อวัยวะของร่างกายที่รำไทยใช้มากและเน้นเป็นพิเศษได้แก่ มือ และเท้า จำเป็นที่จะต้องดัดให้เกิดความโค้งงอนคล้ายภาพตัวอ่อนในจิตรกรรมไทยประเพณี นิ้วมือนั้นจะต้องเรียวยาว เมื่อตั้งวงจะเรียงชิดติดกันทั้งสี่นิ้ว (นิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย ไม่รวมนิ้วหัวแม่มือ) ไม่ให้เกิดช่องว่าง ปลายนิ้วนั้นงอนเข้าหาลำแขน โดยหักข้อมือตั้งขึ้น การดัดมือนั้นแบ่งเป็นสองส่วน คือ
ดัดนิ้ว ใช้มือจับมืออีกข้างหนึ่ง โดยรวบนิ้วทั้ง 4 ให้ชิดกันดึงเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุด วิธีนี้ครูโบราณแนะนำว่าควรดัดในน้ำข้าว (น้ำที่เททิ้งทิ้งจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ) จะได้มือที่อ่อนสมใจ (ปัจจุบันหาน้ำข้าวไม่มีแล้ว ให้ดัดในน้ำอุ่นแทนก็ได้) การดัดในน้ำอุ่นก็เพื่อขยายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้
ดัดมือ ลักษณะคล้ายดัดนิ้ว แต่ใช้มือจับฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง ใช้นิ้วหัวแม่มือกดตรงข้อมือ แล้วดึงเข้าหาตัวสุดแรง การดัดมือที่ได้ผลนั้น ควรดัดข้อมือให้หักให้ได้มากที่สุดจะได้มือที่สวยงามกว่า เด็กบางคนเข้าใจผิดว่ารำไทยต้องนิ้วงอนอย่างเดียว จริงแล้วเป็นเพียงส่วนเสริมเพราะข้อมือที่หักงอกลับได้ยิ่งมากเท่าใดยิ่งเป็นการดี และยิ่งมีนิ้วที่อ่อนงอนหักพลิกกลับในแต่ละข้อนิ้ว (โบราณเรียก นิ้วตกท้องนาค) ด้วยแล้วย่อมเป็นเสน่ห์เสริมการรำให้ดูดียิ่งขึ้นด้วย
2. ดัดแขน
ท่อนแขนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นจะต้องดัด โดยปกติมนุษย์เมื่อเราเหยียดแขนออกด้านข้างแล้ว แขนก็เหยียดตรงออกไปธรรมดา แต่หากจะรำไทยให้สวยแล้ว ท้องแขน (ข้อพับ) จะต้องพลิกขึ้นมาให้อยู่ด้านบนเมื่อตั้งวงเหยียด (ตั้งวงแขนตึง) ทำให้ท่อนแขนดูเป็นเส้นโค้งขึ้นรับกับวงที่งอนโค้ง ผู้ที่มีความสามารถมากๆ สามารถพลิกท้องแขนนี้กลับไปมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ (พบในการรำโนรา และการรำส่ายในเพลงเร็ว) ถือเป็นเทคนิคชั้นสูง หาผู้ปฏิบัติได้น้อย วิธีการดัดแขนนั้น ทำได้ 2 วิธี คือ
- นั่งชันเข่าข้างหนึ่ง เช่น เข่าขวา วางข้อศอกของแขนที่จะดัดบนหัวเข่าให้ข้อศอกเลยหัวเข่าออกไปเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างทำท่าดัดข้อมือแล้วกดท่อนแขนลงไป (ท่านี้จึงดัดได้ทั้งมือและแขน) แต่หากอยากจะได้ผลเร็ว ให้ใช้เท้าอีกข้าง ยกพาดบนข้อมือ (ดูพิสดารอยู่ แต่ได้ผลดีทีเดียว) ในท่านี้ต้องระวังอย่าให้หลังงอ เพราะจำทำให้ลำตัวเสียรูป
- ประสานมือทั้งสองข้างแล้วพลิกหลังมือเข้าหากัน นั่งชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง วางท่อนแขนทั้งสองให้อยู่ระหว่างเข่า บีบเข้าเข้าหากัน ให้ท้องแขนติดกันให้ได้ ในท่านี้ก็ต้องระวังหลังเช่นกัน แล้วต้องค่อยๆ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นอาจฉีกขาดได้
3. ถองสะเอว
สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของศิลปะการแสดงประเภทเต้นหรือรำนั้น ก็คือ “จังหวะ” ในนาฏยศิลป์เราเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางต่างๆ เพื่อให้สอดประสานกับจังหวะหน้าทับ จังหวะฉิ่ง หรือการขับร้องแบบต่างๆ ดังนั้นการขยับลำตัวให้เอียงซ้ายหรือขวาแบบรำไทยจึงจำเป็นที่จะต้องกดเอว กดไหล่ และเอียงศีรษะไปให้สัมพันธ์กัน โดยเฉพาะการกดเอวนั้นถือได้ว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้การรำนั้นสมบูรณ์งดงาม ลักษณะการใช้เอวเพื่อการรำไทยนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เคยแสดงอรรถาธิบายเกี่ยวกับการกดเอวนี้ว่า ตัวพระและยักษ์นั้น ใช้ “เกลียวข้าง” คือ ให้กดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวลงไปตรงๆ แล้วกดไหล่ เอียงศีรษะตาม ส่วนตัวนางและตัวลิงใช้กล้ามเนื้ออีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า “เกลียวหน้า” คือกล้ามเนื้อหน้าท้อง การกดเอวที่เกลียวหน้าจึงทำให้ตัวนางและลิงสามารถบิดตัวและกดเอวได้อิสระกว่าตัวพระและยักษ์ ท่านเรียกขานเพื่อให้จดจำหลักการใช้กล้ามเนื้อนี้อย่างนี้ว่า “พระเกลียวข้าง นางเกลียวหน้า”
การถองสะเอวทำได้ไม่ยาก แต่หากทำไม่ดี หรือทำไม่เป็นจะดูคล้ายว่ารำโยกตัวไปมา นอกจากนี้ประโยชน์ที่สำคัญของการถองสะเอวก็คือ การได้รู้จักจังหวะและการสร้างความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะ ซึ่งบางครั้งเทคนิคการรำชั้นสูงบางครั้งต้องรู้จักการรำล้ำจังหวะหรือหน่วงจังหวะให้มากน้อยต่างกัน เป็นเสน่ห์ในการรำเพื่อให้สัมพันธ์กับวิธีการร้องของคีตศิลปินแต่ละท่าน
วิธีถองสะเอว สามารถปฏิบัติได้โดย การกระทุ้งศอกลงที่เอวทีละข้าง (เกลียวข้าง) เมื่อกระทุ้งศอกขวาก็ต้องกดกล้ามเนื้อเอวข้างขวาลง (แต่ขืนหน้า ลักคอไปทางซ้าย) ทำสลับซ้ายขวาตามจังหวะหน้าทับตะโพน ว่า “ตุ๊บ ทิง ทิง” ท่องเช่นนี้ไปเรื่อยๆ พร้อมกับกระทบก้น (คือ ยกก้นขึ้นจากที่นั่งคุกเข่า แล้วทิ้งน้ำหนักตัวลงบนส้นเท้าเบาๆ ให้ลงจังหวะตก) ทำประมาณ 50-100 ครั้ง หรือจนกว่าจะลงตามจังหวะที่ท่องถูกต้อง สม่ำเสมอ
4. เต้นเสา
กำลังขา เป็นส่วนสำคัญในการรำ กล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงจะทำให้การควบคุมจังหวะเมื่อจะห่มเข่า (การลงจังหวะโดยทิ้งน้ำหนักตัวลงบนกล้ามเนื้อขาให้คม) ทั้งยังช่วยให้เหลี่ยมขาเมื่อจะก้าว ยกเหลี่ยม หรือกระดก ได้สัดส่วนที่แน่นอน นอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาสมดุลของร่างกายให้มั่นคงเมื่อต้องยืนบนขาข้างเดียว ซึ่งใช้เป็นหลักการเดียวกันกับการเต้นบัลเล่ต์ ตลอดจนรักษาสมดุลเมื่อมีการต่อตัวขึ้นลอย (ในโขน) ทำให้รู้จักการผ่อนน้ำหนัก และถ่ายนักหนักระหว่างผู้ขึ้นลอยและคนรับลอย วิธีการเต้นเสานี้โดยมากนักเรียนชายที่หัดเรียนโขน ในบทบาทตัวพระ ยักษ์ และลิงจะใช้มากกว่าตัวนาง เพราะต้องมีกล้ามเนื้อน่องที่แข็งแรงมากๆ (บางบท เช่น ยักษ์ นรสิงห์ ต้องรับ “ลอยน่อง” ได้ด้วย) ส่วนตัวนางนั้นแม่ว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาจะใช้น้อยกว่า แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเต้นเสาอยู่บ้าง เพราะท่วงท่าของตัวนางแม้จะแช่มช้อยกว่าตัวพระก็ยังต้องการความเฉียบคมเมื่อจะห่มเข่าหรือซอยเท้าให้นิ่งและดูเบา คุณครูเฉลย กล่าวว่า เมื่อครั้งฝึกหัดที่วังสวนกุหลาบนั้น เมื่อซ้อมรำเพลงช้าเพลงเร็วจบ ตัวพระจะแยกไปเต้นเสา ส่วนตัวนางหม่อมครูจะให้ “ย่ำเชิดฉิ่ง” (คือ การซอยเท้าคู่และซอยเท้าไขว้ พร้อมทั้งยืดและย่อตัว ให้ดูเบา และต่อเนื่อง ปรากฏในกระบวนท่ารำเพลงเชิดฉิ่งของนางศุภลักษณ์ นางเบญกาย เป็นต้น)
วิธีการเต้นเสา ปฏิบัติโดยเริ่มจากท่าเตรียม ตัวพระ-ยืนผสมเท้าเต็ม (ยืนส้นเท้าชิด เปิดปลายเท้าออกให้ห่างจากกันประมาณ 1 ฝ่ามือ) ตัวยักษ์และลิง-ยืนลงฉาก (แยกขาออกจากกัน ย่อตัวลงจนขาท่อนบนและล่างทำมุมเป็นมุมฉาก ปลายเท้าทั้งสองหันออกข้างลำตัว) พร้อมทั้งยื่นแขนทั้งสองไปด้านหน้าตั้งวงขึ้น หากหัดเป็นหมู่ให้คนแรกหันหน้าเข้าหาเสาหรือผนังใช้มือดันไว้ คนต่อๆ ไปนำมือแตะที่หลังของคนหน้า เป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง จากนั้นยกขาขึ้นให้สูงแล้วกระทืบลงบนพื้นให้เต็มเท้า ทำสลับซ้าย-ขวา ระหว่างที่เต้นนี้จะต้องทรงตัวให้นิ่ง (คือ ไปแต่ขา) ลำตัวไม่กระเด้งขึ้นลงพร้อมกับจังหวะเท้า การนับจังหวะจะนับเป็นยก โดยให้ท่องหน้าทับกลองทัดของเพลงกราวในว่า “ตุ๊ม-ตุ๊ม-ตุ๊ม-ตุ๊ม” จึงนับเป็นยกหนึ่ง การเต้นนี้ยิ่งทำมากขายิ่งแข็งแรง สำหรับนักเรียนที่เริ่มฝึกหัด การเต้นเสานี้เป็นการทรมานมาก ครูมักใช้เป็นบทลงโทษเมื่อนักเรียนไม่มีความตั้งใจในการเรียนหรือปฏิบัติท่ารำไม่ได้
5. ย่ำเชิดฉิ่ง
ดังได้กล่ามาแล้วว่านอกเหนือจากการเต้นเสาแล้ว การบริหารกล้ามเนื้อขาเฉพาะของตัวนาง คือ การย่ำเชิดฉิ่ง (พระก็มีใช้มาก เช่น ในหน้าพาทย์เชิดฉิ่งศรทนง) การย่ำเชิดฉิ่งคือการซอยเท้าถี่ๆ ให้ละเมียดละมัยดูคล้ายกับว่าตัวละครนั้นลอยอยู่บนอากาศ การฝักหัดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าขา (ขาท่อนบน) และกล้ามเนื้อน่องแข็งแรง เมื่อรำแล้วตัวจะได้ไม่โคลง ไม่ล้ม
การย่ำเท้าเชิดฉิ่ง มี 2 แบบ คือ
1. การย่ำเท้าคู่ คือ ซอยเท้าให้เสมอกันโดยยืนบนจมูกเท้า เปิดส้นเท้าหลังขึ้น ซอยเท้าสลับกันซ้าย-ขวาเบาๆ พร้อมยืดและย่อตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อย่ำอยู่กับที่ได้ดีแล้ว ก็ซอยเท้าเคลื่อนที่เป็นวงกลม หรือวิ่งขึ้น-ลงไปด้านหน้าและด้านหลัง โดยอาจทำท่าสอดเชิด (ท่านภาพร) ท่าชักแป้งผัดหน้า สลับไปมาด้วยก็ได้
2. การย่ำเท้าไขว้ คือ การก้าวไขว้ของตัวนาง (ตัวพระให้ก้าวหน้าแล้วทำเช่นเดียวกัน) แล้วเขย่งยืนบนจมูกเท้าแล้วซอยเท้าเหมือนย่ำเท้าคู่ ส้นเท้าทั้งสองจะต้องลอยจากพื้นเล็กน้อย ให้สลับเท้าที่ไขว้บ้าง เมื่อซอยอยู่กับที่ได้ดีแล้ว ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางด้านข้าง (ท่านี้ใช้เคลื่อนที่ไปด้านข้างเท่านั้น) เมื่อไปจนสุดด้านหนึ่งให้ไขว้เท้าแล้วซอยเท้าเคลื่อนที่กลับมายังจุดเดิม (ต้องไม่ลืมยืด-ย่อตัวตามด้วย)
6. ถีบเหลี่ยม
การฝึกหัดอาจใช้เฉพาะการฝึกโขนตัวยักษ์ ตัวลิง และตัวพระ (ผู้หญิงที่หัดตัวพระจะถีบเหลี่ยมก็เห็นจะไม่เสียหาย) เพราะการวางตำแหน่งท่าของขาที่เรียกเฉพาะว่า “เหลี่ยม” นั้น จำเป็นที่จะต้องเปิดกล้ามเนื้อให้ห่างออกจากกันมากว่าปกติ กล่าวคือ ตัวยักษ์และลิงนั้นต้องสามารถแยกขาออกได้ถึง 180 องศาเมื่อลงฉาก รวมทั้งสามารถฉีกขาเมื่อนั่งลงกับพื้นได้มากถึง 180 องศา เช่นกัน (เช่นเดียวกับท่า Split ในนาฏยศิลป์ตะวันตก) ส่วนตัวพระนั้นอาจไม่มีความจำเป็นมากถึงจะต้องแยกได้ 180 องศา เพียงให้ลำขาแยกออกจากกัน (Turn out) ได้มากกว่าการยืนปกติก็เพียงพอแล้ว
การถีบเหลี่ยมนั้นจะต้องให้ครูหรือคู่ฝึกที่มีแรงมากพอเป็นผู้ถีบให้ โดยนักเรียนจะหันหลังแล้วทำท่าลงฉากให้ติดกับผนังหรือเสา มือทั้งสองข้างทำมือยักษ์หรือลิงหรือตั้งวงระดับวงล่าง ครูจะนั่งลงหันหน้าเข้าหานักเรียน ใช้เท้าทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสองของนักเรียนให้เปิดออกให้ได้มากที่สุด นักเรียนจะเจ็บปวดมาก ครูผู้ถีบจำใช้เท้าคลึงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นช่วงๆ นอกจากนี้ตัวลิงจะต้องถูกฉีกขาในระดับพื้น (Split) ด้วย

ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบังคับกล้ามเนื้อและฝึกหัดเพื่อเรียนนาฏยศิลป์ไทย จะเห็นได้ว่า ท่าเหล่านี้เป็นภูมิปัญญาของโบราณจารย์ที่ได้คิดค้นวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้สัดส่วนท่ารำ ตลอดจนวิธีการกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของนาฏยศิลป์ไทย หากจะวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งแล้ว สันนิษฐานว่าท่าเหล่านี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากท่าฤาษีดัดตนเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรืออีกนัยหนึ่งการฝึกหัดด้วยท่าเหล่านี้คล้ายคลึงกับการควบคุมปราณ (ตามคติความเชื่อทางพราหมณ์) ด้วยวิธีที่เรียกว่า “โยคะ” ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย เพื่อเชื่อกันว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ดีอีกทางหนึ่ง ดังนั้นการฝึกหัดนาฏยศิลป์นอกเหนือไปจากเป้นการรับรู้ถึงการจัดองค์ประกอบทางศิลปะให้กับร่างกายและการเคลื่อนไหวแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นกายบริหารอีกทางหนึ่งด้วย

25 มีนาคม 2546



Create Date : 21 เมษายน 2550
Last Update : 22 เมษายน 2550 23:14:47 น. 35 comments
Counter : 28915 Pageviews.

 
อนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยครับ


โดย: telefam23 IP: 58.147.115.27 วันที่: 3 มิถุนายน 2550 เวลา:11:18:04 น.  

 
^^ ขอบจายนะเฟ้ย~!!


โดย: ก้อแค่คนผ่านมา IP: 58.10.99.78 วันที่: 30 สิงหาคม 2550 เวลา:18:41:42 น.  

 
ยาวไปหน่อยนะครับ


โดย: ยาวเกินไป IP: 222.123.25.187 วันที่: 16 กันยายน 2550 เวลา:13:14:32 น.  

 



โดย: H2'"1 IP: 117.47.2.216 วันที่: 29 กันยายน 2550 เวลา:16:15:57 น.  

 
ไทยแลนด์


โดย: เหยินน้อยไทยแลนด์ IP: 203.172.106.119 วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:19:42:42 น.  

 
แต็งค์กิ้วหลายเด้อ..แต่ยาวจังหู้เลย


โดย: สุดหล่อmhr IP: 203.113.76.12 วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:19:57:41 น.  

 
อยากให้ทุกคนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้มากๆ


โดย: pop IP: 124.120.223.125 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:09:32 น.  

 
วัสดีเพื่อนทุกคน อยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยไว้นะค่ะ


โดย: น่ารัก IP: 61.19.67.216 วันที่: 16 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:25:12 น.  

 


โดย: chutchaval IP: 222.123.213.52 วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:06:11 น.  

 
งงงงงงงๆๆๆๆๆ


โดย: นา IP: 58.9.176.176 วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:17:28:36 น.  

 
หนูชอบรำไทยหนูเคยเป็นพี่สอนรำที่ฝรั่งเศส

มาเเล้วเขาถามว่าใครเป็นครูสอนรำหนูบอกว่า

ไม่มีใครเป็นครูสอนแต่รำเป็นเอง

ขวัญ สุราษฦร์ธานี














โดย: ขวัญค่ะ IP: 117.47.108.169 วันที่: 4 กันยายน 2551 เวลา:12:44:57 น.  

 
ฉั้นไม่ชอบรำไทย

ไอซ์ เด็กสฦ



โดย: ไอซ์ IP: 117.47.108.169 วันที่: 4 กันยายน 2551 เวลา:12:47:52 น.  

 
ศรศิลป์


โดย: - IP: 61.19.67.207 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:55:33 น.  

 
ขอบคุณมาก เทอม 2 ต้องเรียนรำพอดีเยยอ่า


โดย: ... IP: 124.121.185.164 วันที่: 14 ธันวาคม 2551 เวลา:23:40:58 น.  

 
ชอบมากมากเลยค่ะ


โดย: แป้ง IP: 110.49.205.67 วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:14:45:04 น.  

 
อาจารย์ มอบสิ่งที่ดีให้ตลอด ขอบคุณครับ


โดย: เสือ IP: 58.8.97.151 วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:53:03 น.  

 
สวัสดียินดีรู้จักคนรักรำไทย


โดย: นางรำอโยธยา (Nangram_Ayothaya ) วันที่: 7 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:57:19 น.  

 
เป็นความรู้ที่ใช้ทำรายงานได้ดีมากๆเลยค่ะ


โดย: จ๊ะจ๋า IP: 110.49.205.168 วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:19:48:06 น.  

 
นี่อ่ะไรหรอค่ะยาวจังเลย


โดย: ใบเตย IP: 58.8.114.207 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:16:38:25 น.  

 
ผมจบโขนจากวิทยาลัยนาฎศิลปแห่งหนึ่ง ผมเข้าเรียนตั้งแต่ม.1จนจบชั้นกลางปีที่ 3 ผมมีความรู้สึกว่าการเรียนโขนการถีบเหลียมนั้น สร้างความเจ็บปวดและทรมานแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก ตอนสมัยผมเข้าเรียนใหม่ฯผมร้องไห้แทบทุกทีที่มีการถีบเหลี่ยม ผมคิดว่าครูโขนที่ถีบเลี่ยมนั้น ควรใชวิธีถีบที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่าถีบแบบเอาเป็นเอาตายเพราะจะสร้างความเจ้บปวดแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก และถ้าจำท่ารำไม่ได้ก็จะถูกครูใช้ไม้กระบองเคาะหัว


โดย: ศิษย์เก่า IP: 118.175.126.41 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:32:08 น.  

 
ยาววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว
มากเลยอ่ะคัฟ


โดย: แฟรงค์ ชึกๆ IP: 182.93.193.141 วันที่: 25 มกราคม 2554 เวลา:13:20:25 น.  

 
ตอนเด็กๆเป็นคนเดียวที่โดนถีบเหลี่ยมแล้วไม่รู้สึกเจ็บเลย แต่ถ้าถีบบ่อยๆ ก็จะไม่เจ็บ ก็เหมือนกับการฝึกโยคะล่ะครับ เพราะตอนนี้ยังสามารถดัดมือให้ติดกับแขนโดยไม่เจ็บเลย เวลาก็ผ่านไป 24 ปี แล้ว เพราะดัดทุกวัน


โดย: เด็กโขน IP: 223.204.8.68 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:59:47 น.  

 
thankyou very much


โดย: ... IP: 113.53.156.29 วันที่: 20 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:34:37 น.  

 
หู ขอบคุณมากๆเลยนะคะ ได้วิธีดัดสรีระเต็มเลย หนูจะต้องเป็นนักแสดงโขนที่ดีให้ได้ค่ะ


โดย: ขวัญปรียา อนุกูล IP: 49.237.254.105 วันที่: 18 ธันวาคม 2554 เวลา:21:46:48 น.  

 
อยากได้แบบเนื้อหาง่ายๆกว่านี้นะครับบบบบบบ**
พอดีว่าครูให้ทำงาน

แบบอ่านไม่ดูและทำท่าทาง*--

และก็พีเส้นงานนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน
^____________________^

ขอยกให้
(ไม่ดี)


โดย: ........ IP: 124.120.19.58 วันที่: 6 มกราคม 2555 เวลา:18:12:08 น.  

 
ใครเจ็งครับ


โดย: rpoy IP: 125.27.133.232 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:10:34:16 น.  

 
กูเจ็ง


โดย: oil IP: 125.27.133.232 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:10:34:40 น.  

 
ยาว มวกกกกกกกกกกกกกกกก เลยยยยยยยย


โดย: . . . . . . IP: 125.27.133.232 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:10:34:45 น.  

 
นนรัแระกนยเกะขจันเจยะยำพตคีรึคีหคต


โดย: นัท IP: 125.27.133.232 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:10:34:52 น.  

 
ใครเจงเคลียร์กับกู


โดย: นัท IP: 125.27.133.232 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:10:38:20 น.  

 
ม่ายเหนมีสิ่งที่กุต้องการค้นหาเลย แรสสสสสสสสสสสสส


โดย: ก้อย ชอบแรส คร้า IP: 171.4.34.133 วันที่: 7 กรกฎาคม 2556 เวลา:16:37:38 น.  

 
ดีมาก


โดย: นงนุช. โกษารัตน์ IP: 49.237.203.191 วันที่: 10 มิถุนายน 2559 เวลา:16:43:19 น.  

 
มีเขียนไว้ที่หน้าเท่าไหร่คะ


โดย: nongreeview IP: 182.232.165.19 วันที่: 21 กันยายน 2564 เวลา:20:26:16 น.  

 


โดย: เน€เธญเธกเธดเธเธฒ IP: 122.155.35.121 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2564 เวลา:12:05:58 น.  

 
โห!? คนคอมเม้นท์ล่าสุดก็เมื่อ16ปีที่เเล้วว ตอนนี้ปี2566หรือ2023 ตอนนี้โรนัลโด้ยังเล่นบอลอยู่ เล่นอยู่อัลนาเซอร์ ที่ซาอุ เมสซี่เล่นอยู่ปารีสอยู่ฝรั่งเศส แมนยูอยู่ที่3ในพรีเมลลีก ผมอยู่ ม.2 ผมหวังว่าใน10ปีข้างหน้า ผมจะมาเห็นความคิดเห็นผมนะ


โดย: แทนธัญญ์ IP: 1.47.216.234 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา:10:11:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.