รำไทย : นาฏศิลป์ไทย ใช่จะไร้ในคุณค่า โดย ธรรมจักร พรหมพ้วย
Group Blog
 
All Blogs
 
กระบวนท่ารำกริช



เมื่อ อิเหนา-บุษบา รุ่นใหม่ สืบทอดนาฎการโบราณ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
________________________________________
การรำกริช เป็นศิลปะการแสดงโบราณที่เคยนิยมกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาการสืบทอดมีน้อยลงเรื่อยๆ …ตีพะลี อะตะบู ปราญช์ชาวบ้านอำเภอรามัน ได้พยายามถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสู่คนรุ่นใหม่…เพื่ออนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย….

……………………………………………………………………………………..


เสียงกลองแขกรัวระทึก…ชวนเร้าใจ เด็กสาววัยรุ่น 2 คนที่ยืนอยู่เบื้องหน้าเวทีขยับร่างกายเคลื่อนไหวร่ายรำไปตามจังหวะ…ดูอ่อนช้อยแต่แข็งแรง …ในขณะที่การแสดงของเด็กหนุ่มวัยรุ่นราวคราวเดียวกันออกมาแสดงศิลปะการต่อสู้ ด้วยลีลาค่อนข้างดุเดือด …เด็กหนุ่มสาวเหล่านี้อายุ 12-17 ปี กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยม พวกเขาเพิ่งหัด “รำกริช” ได้ไม่นานนัก แต่ก็สามารถทำได้ดีต่อหน้าผู้ชม

ตีพะลี อะตะบู หัวหน้าโครงการวิจัย การอนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปะการทำกริชรามัน ต.ตะโลหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งเป็นชุดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค (สกว.ภาค) เป็นครูผู้ฝึกสอนศิลปะการรำกริชให้กับกลุ่มเยาวชน เล่าถึงที่มาของศิลปการรำกริชว่า เป็นการประยุกต์มาจากวิทยายุทธ์ในการร่ายรำ ของช่างตีกริช ในสมัยโบราณ
การรำกริช ถือว่าเป็นกระบวนการขั้นตอนหนึ่งในการทำกริช เมื่อทำกริชเสร็จ ช่างทำกริชจะนำมาทดลองร่ายรำเพื่อทดสอบความคล่องตัวในการใช้ นอกจากนั้น การรำกริชยังถือเป็นการออกกำลังกายผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำกริชอีกด้วย โดยเฉพาะการแกะสลักหัวกริช ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความละเอียดประณีตสูง ช่างทำกริชจะต้องนั่งนิ่งใช้สมาธิ และใช้กำลังข้อมือเป็นเวลานาน ทำให้เมื่อยชา การรำกริช จึงเป็นการช่วยคลายกล้ามเนื้อ คลายเอ็น ทำให้ร่างกายของช่างทำกริชมีสุขภาวะที่ดี
จากท่วงท่าของช่างทำกริช การรำกริช ได้ถูกนำมาใช้เป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า ที่เรียกว่า “ซีละ” โดยมีต้นกำเนิดมาจากชวา และได้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการแสดงซีละแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ ซีละกายง ซีละตารี และซีละยาโต๊ะ

"ซีละกายง ซึ่งเป็นซีละที่เน้นแสดงการต่อสู้กันด้วยกริชประกอบท่ารำ หรือเป็นการอวดลีลากระบวนการต่อสู้ ซีละตารี เป็นการแสดงลีลาการร่ายรำในการต่อสู้ ส่วนมากใช้แสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชนชั้นสูง ซีละยาโต๊ะ เป็นการแข่งขันที่มีกฎกติกา มีการตัดสินให้มีการแพ้-ชนะ" ตีพะลี อธิบาย
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกริช บ้านตะโลหะรอ กล่าวว่า การรำกริช จะใช้แสดงในงานเทศกาลสำคัญ งานแก้บน งานเข้าสุหนัต หรืองานเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ เดิมมีการสืบทอดกันต่อมาเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันการสืบทอดศิลปะการแสดงรำกริชมีน้อยมาก ดังนั้นจึงได้พยายามถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสู่กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ และโรงเรียนปอเนาะศรีจะเราะห์นากอง ที่มีการสอนทำกริช อยู่เดิม โดยเพิ่งเริ่มสอนได้ไม่นานนัก

“ในการสอนรำกริชเบื้องต้นนี้ ได้กำหนดให้นักเรียน เรียนทั้งหมด 7 กระบวนท่าเรียกว่า “กระบวนท่าเจ็ดดาว” หมายถึง การก้าวเท้าไปบนดาวทั้ง 7 ในการฝึกจึงเรียกกระบวนท่ารำให้ง่ายต่อการเข้าใจ คือ ท่ามือเปล่า กริชมือเดียว กริชสองมือ ผ้า ปีกฝัก ฝักและผ้า ฝัก การรำจะเน้นท่วงท่าการก้าวย่าง และการปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายวงแขน และนิ้วมือ การรำสวยไม่สวย ดูจาก การก้าวเท้าถูกดาวไหม ถ้าเหยียบดาวถูกแสดงว่ากระบวนท่าถูกต้อง ถ้าก้าวเท้าผิด เรียกว่า "ดาวตก“ อาจารย์สอนรำกริช เพิ่มเติมเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการรำกริช

ทางด้านคนรุ่นใหม่ที่ฝากตัวเป็นลูกศิษย์รำกริช กับผู้อาวุโสตีพะลี นั้น สุริยะ บาโระสะนอ และสุภาภรณ์ แซ่ไหว สองสาวจากโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ ผู้ฝึกรำกริชถึงกระบวนท่าที่ 4 บอกถึงเหตุผลในการสมัครเรียนรำกริชว่า เดิมได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาการทำกริชมาก่อน และมีพื้นฐานด้านนาฎศิลป์อยู่แล้ว จึงสนใจเรียนรำกริชเพื่อสืบทอดศิลปะการแสดงโบราณ เพราะจากที่เรียนเรื่องกริช รู้สึกว่ามีประโยชน์ ทำให้รู้ว่า คนเมื่อก่อน โบราณเขาอยู่อย่างไร การเรียนรำกริช ช่วงเริ่มต้นยากมาก เพราะจะเน้นที่การก้าวขาที่ต้องให้ถูกดาว มั่นคง สวยงาม แต่ละท่าต้องย่อตัวค้างไว้ เป็นระยะๆ ต้องใช้กำลังขาอย่างมาก ประโยชน์จากการรำกริช คือ ได้ออกกำลังกาย และทำให้มีสมาธิ และได้เรียนรู้วิชาป้องกันตัว

ในขณะที่หนุ่มนักเรียนปอเนาะอย่าง อับดุลเลาะห์ สิหนิ กับ ฮุ แต้งะเต้าะ ซึ่งปัจจุบันเรียนรำกริชถึงกระบวนท่าที่ 5 แล้ว เล่าว่า ก่อนเรียนรำกริช พวกเขา และเพื่อนๆ เรียนทำกริชกับอาจารย์ตีพะลี มา 2 ปีแล้ว มีฝีมือการทำกริชอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เพราะชอบภูมิปัญญาโบราณ และการรำกริช เป็นศิลปะการต่อสู้ หลังจากเริ่มเรียนได้ไม่นานทั้งสองหนุ่ม มีความปรารถนาจะเรียนซีละขั้นสูงต่อไป แม้จะต้องใช้เวลาฝึกฝนมากขึ้นก็ตาม เพราะทั้งสองคนเชื่อว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มพลังให้กับตัวเอง เพราะเวลารำกริช ต้องเคลื่อนไหวรวดเร็ว ต้องใช้พลังมาก สุขภาพแข็งแรง และยังใช้ป้องกันตัวได้อีกด้วย

ผู้อาวุโสตีพะลี นั้นพยายามที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำกริชรามันไว้ให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบไป ที่ผ่านมาได้ทำการก่อตั้ง “กลุ่มทำกริชบ้านตะโละหะรอ” ขึ้น และได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาฝีมือการทำกริชของสมาชิกควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจต่อคุณค่า และความสำคัญ ของมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าว ตลอดจนพยายามถ่ายทอด องค์ความรู้การทำกริชสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยการผลักดันให้มีการบรรจุหลักสูตรการทำกริชเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน…และการสอนรำกริชก็เป็นส่วนหนึ่ง…

ดังนั้นแม้จะเป็นเพียงการเริ่มต้น ผู้อาวุโสอย่างตีพะลี ย่อมรู้สึกยินดีที่เห็นลูกศิษย์เอาจริงเอาจังกับการฝึกซ้อม …เพราะอย่างน้อยที่สุดความหวังในการสืบทอดภูมิปัญญาการทำกริชให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของรามันที่เขาตั้งไว้ ก็ได้มีการก่อรูปให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ...

... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ประชาสัมพันธ์ สกว. โทร.0-2298-0455-72 ต่อ 159,160 ,0-2298-0454



Create Date : 21 เมษายน 2550
Last Update : 22 เมษายน 2550 23:19:44 น. 8 comments
Counter : 6485 Pageviews.

 


โดย: dada IP: 222.123.203.191 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2550 เวลา:12:21:09 น.  

 



โดย: ราส IP: 125.27.51.8 วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:17:36:08 น.  

 
น่าจะมีคลิปวีดีโอหั้ยดูบ้างอ่า


โดย: 123 IP: 58.9.205.8 วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:20:18:51 น.  

 
ครูแกเก่งนะคับตอนนี้แกเป้นวิทยากรสอนรำกริชให้นักเรียนที่โรงเรียนผมสอนอยู่เหมือนกันได้ช่วยกันสืบทอดนะคับ


โดย: นัท IP: 125.24.99.188 วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:31:11 น.  

 
อยากรำเป็น


โดย: ฟื IP: 124.157.184.147 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:10:03:47 น.  

 
ครูหนูเก่งที่สุดค่ะ
เรียนรำกับแก่ไม่ผิดหวังค่ะ
ท่าต้องแม้น ความสวยงามอ่อนช้อย
มาที่1ค่ะเรียนกับครูบ๊อบอ่ะค่ะ
จะได้ไม่เสียงชื่อเสียง
ความเป็นนาฏกกรมไทยค่ะ


โดย: เด็กศิลปกรรมรามคำแหง IP: 124.120.183.68 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:20:05:05 น.  

 
สวยดี


โดย: วา IP: 223.206.190.233 วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:14:07:01 น.  

 
ใช้ได้


โดย: แนน IP: 223.206.190.233 วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:14:07:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จินตะหราวาตี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




สำนักละครอนุรักษ์นัจยากร
Friends' blogs
[Add จินตะหราวาตี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.