รวบรวมเนื้อหาธรรมะดีๆ รูปภาพสวยๆ

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วงต่อ..

รวมข่าวหนังสือพิมพ์ขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย หลังจากตกเป็นข่าวครึกโครม สื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวโจมตีผิดๆอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องกว่า 2 ปี


คำขอขมา ต่อวัดพระธรรมกาย, ในสื่อหนังสือพิมพ์



รวมสื่อขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 ฉบับที่ 4655 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2544


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ปีที่ 14 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2544 หน้า 11

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่รายการสาระขันได้ทำการแพร่ภาพ เกี่ยวกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์และวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2542, 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2542 อันภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชนใน 3 วันดังกล่าว ทำให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และวัดพระธรรมกายได้รับความเสียหาย

   ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทางคณะผู้บริหาร บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และนายกฤษณะ ไชยรัตน์ ผู้จัดทำรายการ รู้สึกเสียใจและขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในสิ่งที่เกิดขึ้น และขอขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่ไม่ได้ติดใจดำเนินคดีใดๆ กับ
บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท นายกฤษณะ ไชยรัตน์ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอีกต่อไป


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับกรณีของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) และนายถาวร พรหมถาวร กรณีที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาที่ศาลอาญา ระหว่าง พนักงานอัยการ โจทก์ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ กับพวกรวม 2 คน จำเลย โดยได้ลงข่าว เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 แสดงเหตุการณ์ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญา เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32(2) และมาตรา 33 นั้น

     หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขออภัยต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์มีข้อความส่วนไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ฟังการพิจารณาของศาลอาจเข้าใจผิดได้ หนังสือพิมพ์สยามรัฐจึงขออภัยมายัง ณ ที่นี้ และขอประกาศว่าข้อความที่ลงพิมพ์ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทาน ให้มา ณ ที่นี่ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิ(Meditation)บนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2544

สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตาม ที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิบนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัว" ซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ปีที่ 52 ฉบับที่ 17710 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนา วิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332

     บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

     และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 25 ฉบับที่ 8888 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2545


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2542 ได้ลงข่าวว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา ได้รู้เห็นเป็นใจกับวัดธรรมกายในการกว้านซื้อที่ดินในเขตป่าสงวนจำนวน 700 ไร่ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติควนจุก มีการออกเอกสารสิทธิ น.ส.3ก. อย่างไม่โปร่งใสให้แก่วัดธรรมกาย ข่มขู่ให้ชาวบ้านขายที่ดินแก่วัดธรรมกายเพื่อสร้างรีสอร์ทใกล้มัสยิด ขุดดินปะการังโดยใช้แมคโครนำมาตกแต่งรีสอร์ท ทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลและขุดสระกักเก็บน้ำ ทำให้ชาวบ้านขาดแคลนน้ำนั้น ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการเข้าใจผิดของนายโชติ ทองย้อย ที่ให้ข่าวผิดพลาดกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าว

     บัดนี้้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจกันได้ หนังสือพิมพ์มติชนขอแก้ข่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 และวัดธรรมกาย ไม่ได้กระทำการดังกล่าวแต่อย่างใด


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9262 วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


ประกาศขอขมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน
ปีที่ 26 ฉบับที่ 9263 วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2546


สื่อประกาศขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย

โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

     หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้


บทความน่าอ่านเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย
Pre Report วัดพระธรรมกาย, ในทรรศนะที่เป็น วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ 25




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2555   
Last Update : 12 สิงหาคม 2555 21:41:02 น.   
Counter : 1465 Pageviews.  

สัมภาษณ์พระธรรมมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมทองวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระธรรมรัตนดิลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม.......




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2555   
Last Update : 10 สิงหาคม 2555 15:43:21 น.   
Counter : 1140 Pageviews.  

โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย10 สิงหาคม พุทธศักราช 2555ณ สนามกีฬา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอำเภอบางกรวย นนทบุรี

ตักบาตรนนทบุรี
โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย
ตักบาตรพระ 1,009 รูป
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2555
ตั้งแต่เวลา 06.00 น.
ณ สนามกีฬา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ตักบาตรพระ 1,009 รูป
        มหาสังฆทานครั้งยิ่งใหญ่ขอ อ.บางกรวย และชาวนนทบุรีทุกท่าน ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ธรรม และเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ 80 พรรษา ตักบาตรพระ 1,009 รูป วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 06.00 น. ณ สนามกีฬา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ตักบาตรพระถวายเป็นพุทธบูชา รักษาวัฒนธรรมชาวพุทธ
ตักบาตรพระถวายเป็นพุทธบูชา รักษาวัฒนธรรมชาวพุทธ
ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร
- แต่งกายด้วยชุดขาว หรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
- อาหารใส่บาตรควรเป็นอาหารแห้ง
- ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
- งดใส่ น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
- งดใส่ปัจจัยลงในบาตรท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาค หรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
- รักษาใจให้ ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
- ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน
ตักบาตรพระถวายเป็นพุทธบูชา รักษาวัฒนธรรมชาวพุทธ
ตักบาตรพระถวายเป็นพุทธบูชา รักษาวัฒนธรรมชาวพุทธ  
อานิสงส์ของการตักบาตรพระ
    1. เกิดในร่มเงาบวชพระพุทธศาสนาไปทุกภพทุกชาติ
    2. ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก
    3. ทรัพย์สมบัติคงทนถาวร ไม่วิบัติด้วยภัยใดๆ
    4. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนหมู่มาก
    5. คนดีเป็นอันมาก ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    6. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ ย่อมฟุ้งขจรไป
    7. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
    8. เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
    9. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 081-550-8768, 082-450-5873, 084-047-2221




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2555   
Last Update : 7 สิงหาคม 2555 23:53:54 น.   
Counter : 1145 Pageviews.  

Teaser ละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก เรื่อง ครูวิจิตร

 
   
   
   
  
 
 




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2555   
Last Update : 4 สิงหาคม 2555 6:27:55 น.   
Counter : 1079 Pageviews.  

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว.........โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ

โดย พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ
เรียบเรียงจากรายการข้อคิดรอบตัว ทาง DMC
ชีวิตจริงบนชุมชนออนไลน์
        สังคมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เพราะเมื่อก่อนแค่โทรหากันแล้วคุยกันไป แต่ปัจจุบันทั้งแชท เข้าอินเตอร์เน็ต ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดภายในเครื่องเดียว หลายคนบอกว่ามันเพิ่มเข้ามาจากปัจจัย 4 ซึ่งมีความจำเป็นมากๆ และสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง

มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสังคมออนไลน์?

        ถ้ามองทิศทางแนวโน้มว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องบอกว่าสื่อออนไลน์เหล่านี้จะมาใกล้ตัวเรามากขึ้นแน่นอน จะเห็นได้ชัดว่ายอดขายสมาร์ทโฟนมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำหน้าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(PC) และแบบ Notebook แซงนำขึ้นมาแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะยิ่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆ เมื่อสมาร์ทโฟนมียอดขายเพิ่มขึ้นขนาดนี้ ผลก็คือเราสามารถถูกตามตัวได้ทุกที่ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าอิสรภาพของชีวิตเริ่มเหลือน้อยลง
        เมื่อสมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้และพกพาได้ง่าย มันจะเกิดสภาวะเหมือนยุคโทรศัพท์บ้านมาเป็นโทรศัพท์มือถือ เพียงแค่ต่างกันตรงที่ไม่ได้ถูกผูกมัดด้วยเสียงอย่างเดียวแล้ว แต่เราจะถูกผูกมัดด้วยสังคมออนไลน์รอบตัวเราอย่างมัดแน่น เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เข้าอินเตอร์เน็ตได้หมด จะเห็นว่าเราถูกเขาโอบกระชับมาอีกขั้นหนึ่งแล้วโดยไม่รู้ตัว และยังมีอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน คือกระแสแท็บเล็ต ที่ดังที่สุดก็คือ ipad ต้องบอกว่าคนที่จุดกระแสทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตก็คือ Apple แต่ก่อนสมาร์ทโฟนที่ดังก็คือ Blackberry แต่ส่วนใหญ่เขาเน้นลูกค้าที่เป็นตลาดองค์กร เพราะมีระบบการรักษาความลับได้เป็นอย่างดี แต่ว่ามาดังเอาจริงๆ ตอนที่ Apple ออก iphone ขึ้นมา รูปแบบก็สวย สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้วย ก็ขายดีมาก เจ้าอื่นก็แข่งกันขึ้นมาด้วย ก็เลยได้รับความนิยมกันใหญ่
สื่อออนไลน์เหล่านี้มาใกล้ตัวเรามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สื่อออนไลน์เหล่านี้มาใกล้ตัวเรามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
        พอมาถึงแท็บเล็ตก็เหมือนกัน เป็นการผสมผสานระหว่างสมาร์ทโฟนกับ Notebook แล้วหารสอง กลายเป็นแท็บเล็ต ก็เน้นให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก คือเป็นสมาร์ทโฟนที่หน้าจอมันใหญ่หน่อย ทำให้ดูเนื้อหารายละเอียดได้มากกว่าสมาร์ทโฟน น้ำหนักเบาพกพาสะดวก ราคาไม่แพงมาก พอแข่งกันอย่างนี้อีกซักพักก็จะรู้เลยว่าราคาจะลงต่ำไปเรื่อยๆ เราจะเห็นแนวโน้มว่าสิ่งที่พกติดตัวได้สะดวก เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต จะมียอดขายที่ทิ้งขาดคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ พอเป็นแท็บเล็ตมันใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เกือบหมดเลย มากกว่าสมาร์ทโฟนมากเพราะหน้าจอมันใหญ่พอสมควร
        เมื่อเป็นอย่างนี้ก็หมายถึงว่า ชีวิตเราเองจะถูกกระชับด้วยเครือข่ายออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ และมันจะติดตามเราไปได้ทุกที่ พอมันสะดวกอย่างนี้ก็ทำให้เราอยากใช้มัน ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไรดีก็เข้าออนไลน์ดีกว่า เราก็จะคุ้นกับมัน และหลงไปอยู่ในสังคมออนไลน์มากขึ้นๆ โดยไม่รู้ตัว นิสัยคนก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปๆ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป นี่คือเทรนแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่บอกเราว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมทั้งในไทยและในโลกจากนี้ไป
        มีบางคนเคยเห็นคำพูดในโฆษณาที่ว่า ให้ปิดเพื่อเปิด คำนี้มีความหมายคือ ปิดการใช้ออนไลน์ซะบ้าง เพื่อจะเปิดใจพูดคุยสื่อสารกับบุคคลอันเป็นที่รักรอบตัวเรา พูดง่ายๆ ว่าอย่าหลงไปในโลกออนไลน์ จนลืมโลกแห่งความเป็นจริง เพราะชีวิตเราจะมีความสุขอยู่ได้นั้นคนที่อยู่รอบตัวเรามีความสำคัญมาก อย่าลืมอย่าทอดทิ้งเขา

เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วขนาดนี้ เราต้องทำอย่างไรบ้าง?

        อยากให้จับหลักอยู่อย่างหนึ่ง คืออย่ามานั่งเสียเวลาดูว่า จะทำอย่างไรกับเทคโนโลยีตัวนี้ แล้วเดี๋ยวก็มีตัวใหม่ขึ้นมา มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนบางคนตามไม่ทันแล้วงง ให้ถือหลักอย่างเดียวว่าใช้ได้ตลอด คือเราต้องมีปฏิสัมพันธ์(ความเกี่ยวข้อง) กับเทคโนโลยีทุกอย่าง คือเราเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีแต่อย่าเป็นทาสเทคโนโลยี ถ้าเราใช้เทคโนโลยีคือเราเป็นนาย เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือของเรา อย่างนี้จะเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่เราใช้โดยที่ว่าเราเป็นทาสเทคโนโลยีโดยไม่รู้ตัว อย่างนี้เราจะแย่เลย จะถูกเทคโนโลยีรุมรัดตัวเรา ยิ่งก้าวหน้ามากเท่าไหร่อิสระแห่งชีวิตตัวเองก็ยิ่งจะเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะเราเป็นเหมือนทาสที่เจ้านายปล่อยให้มีช่วงเวลาว่างน้อยมาก
การพูดคุยกันในสังคมออนไลน์ทั้งที่ไม่รู้จักกัน สะท้อนให้เห็นถึงอะไรบ้าง?
        จริงๆ แล้วคนเรานั้น เหงา และอยากมีเพื่อน แต่พอคุ้นกับคอมพิวเตอร์มากๆ ก็ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงของคน จริงๆ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เช่น เราพูดกับคนนี้ไปอย่างนี้ ปฏิกิริยากลับมาอีกแบบหนึ่ง พูดกับคนนิสัยไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาก็กลับมาอีกแบบหนึ่ง คนที่คุ้นกับเทคโนโลยีมากเกินไปจนห่างโลกแห่งความเป็นจริง จะมีความรู้สึกว่ามันแปลกๆ ก็กลับเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์เหมือนเดิม และหลุดเข้าไปในนั้นเลย คือคนเริ่มเหงา เกิดความแปลกแยกจากตัวเองกับสังคมรอบตัว แต่ธรรมชาติมนุษย์ต้องการเพื่อน ก็เลยไปหาเพื่อนในสังคมออนไลน์ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบ พอเราเสนออะไรออกไป ใครจะชอบหรือไม่ก็ไม่ต้องไปสนใจใยดี เพราะเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร อยู่ที่เราว่าอยากให้เขารู้แค่ไหน แต่ความรับผิดชอบในสังคมออนไลน์มันน้อยกว่าสังคมจริงมาก
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว ทั้งที่ผู้ใช้ก็มีความสุขดี?
        รู้สึกว่ามีความสุขคือมันเพลิดเพลินในตอนนั้น ก็เหมือนคนสูบบุหรี่ที่เขาว่าเขามีความสุข จริงๆ แล้วคนที่กินเหล้าดูดบุหรี่ เด็กติดเกมส์ออนไลน์ที่เขาว่าเขามีความสุขจนเสียการเรียน เราคิดว่าเราควรจะสนับสนุนเขาหรือไม่ นี่คือการเป็นทาส ทาสบุหรี่ ทาสเหล้า ทาสเกมส์ออนไลน์ หรือทาสของเทคโนโลยี มีลักษณะคล้ายกัน เป็นทาสด้วยความเต็มใจ
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว
จะสังเกตได้อย่างไรว่าตกเป็นทาสเทคโนโลยีไปแล้ว
        ถามว่าแยกอย่างไรว่าเราเป็นนายใช้เทคโนโลยีหรือเราเป็นทาส อยู่ที่ว่าเราจะใช้มันอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อประโยชน์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าหรือไม่ ถ้าเราใช้อย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์จริงๆ อย่างนี้ถือว่าใช้อย่างเป็นนาย แต่ถ้าใช้เพราะความคุ้นเคย เพราะความเหงา หรือเพราะไม่รู้จะทำอะไร ถ้าไม่ใช้แล้วมันอึดอัด ก็จะกลายเป็นทาสเทคโนโลยีซะแล้ว
        ถ้าเราใช้อย่างมีวัตถุประสงค์ เทคโนโลยีจะก้าวหน้าอย่างไรก็ใช้ไปเถอะ เราจะไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยีของเขาหรอก เพราะเราจะเอามาเป็นเครื่องมือของการทำงาน เครื่องมือในการศึกษาเล่าเรียน อย่างนี้ไม่ต้องไปปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด คือใช้อย่างเป็นนายนั้นเอง
มีความเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า ในยุคนี้ต้องรู้อยู่ 2 อย่างคือภาษาอังกฤษกับเทคโนโลยี จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ?
        ไม่ว่าใครจะทำงานอะไร สาขาความรู้ด้านไหน มีความสำคัญทั้งนั้น เพียงแต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ทักษะ 2 ด้านนี้มีความโดดเด่นขึ้นมาเท่านั้นเอง ตัวอื่นยังสำคัญเหมือนเดิม เพราะเมื่อเรารู้ภาษาอังกฤษการหาข้อมูลก็สะดวกมากขึ้น เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากกว่า และเราเองก็สามารถนำเสนอความคิดเห็นของเราให้ผู้อื่นได้ด้วย มันเป็นความได้เปรียบว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเท่านั้นเอง
ให้ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี และไม่ใช่เห่อตามเขา
ให้ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี และไม่ใช่เห่อตามเขา
        เราไม่ต้องปฏิเสธความจริง หลักการที่ดีก็คือ รู้เขารู้เรา เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ใช้อย่างเป็นนาย ไม่ใช่ปฏิเสธปิดล้อมแยกตัวเองปลีกตัวห่างจากเทคโนโลยี ไม่รับ ไม่ซื้อ ไม่ใช้ เราไม่ต้องขังตัวเองไว้อย่างนั้น ให้รับรู้สภาพความเป็นไปทั้งหมดและกำหนดจุดยืนตัวเองว่า เมื่อมันเป็นอย่างนี้เราต้องทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง รู้เขาคือรู้สภาวะแวดล้อมทั้งหมด แล้วกำหนดจุดยืนตัวเองคือรู้เรา ว่าเราจะทำอะไรมีเป้าหมายชีวิตอย่างไร จะใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงต่อชีวิตตัวเองอย่างไร อย่างนี้คือรู้เขารู้เรา ก็จะทำให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเป็นนาย ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี ไม่ใช่เห่อตามเขา พอเขามีสมาร์ทโฟน หรือมีแท็บเล็ตเราก็ต้องมีบ้างไม่งั้นเดี๋ยวเชย อย่างนี้ไม่ใช่ ถ้าจะเอาเป็นแบบแฟชั่นจะได้คุยอวดกันว่าเราทันสมัยนี่แสดงว่าเป็นทาสเทคโนโลยี แต่ถ้าเกิดว่าจะซื้อจะใช้อย่างไร แล้วใช้อย่างมีเป้าหมายนั่นคือเราเป็นนายเทคโนโลยี
ผู้ปกครองควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่
ผู้ปกครองควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่
        ผู้ปกครองบางคนอาจคิดว่าควรจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกหรือไม่ เมื่อลูกมาตื้อขอให้ซื้อให้ ก็ให้ดูตรงที่ว่า ถ้าลูกเราจะซื้อไปใช้ก็ต้องถามว่าเอาไปใช้เพื่ออะไร ถ้าใช้เพื่อเป็นแฟชั่นให้เหมือนคนอื่นเขา จะได้ไม่อายเขาอย่างนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าซื้อไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ต่อการทำงาน อย่างนี้ก็น่าสนับสนุนถ้ากำลังเราไหว และต้องสอนลูกให้เข้าใจตรงนี้ ถ้าเขาจับประเด็นตรงนี้ได้ เขาจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าเรื่องใดก็ตามเขาจะเป็นคนที่รู้จักคิด มองสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะเป็นคนที่สามารถควบคุมสถานการณ์รอบตัวได้ จะมีทิศทางชีวิตที่ชัดเจนแน่นอน
        แต่คนที่เป็นทาสเทคโนโลยีจะเป็นคนที่แล้วแต่กระแสจะพาไป เขาโฆษณาอย่างไรก็แห่ตามเขาไปเรื่อยๆ จะเป็นเหมือนขอนไม้ที่ลอยในมหาสมุทร แล้วแต่คลื่นจะพัดพาไปทางไหน เราจะเป็นเรือที่วิ่งตัดมหาสมุทรไปสู่เป้าหมายปลายทาง หรือจะเป็นเศษไม้ที่ลอยเคว้งคว้างกลางมหาสมุทร อยู่ที่ตัวของเรา พ่อแม่จะฝึกลูกต้องฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีเข็มทิศชีวิตในการมุ่งที่จะทำอะไร อย่างนี้ถือว่าเราเป็นนายเทคโนโลยีแล้ว
พอจะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่สามารถดึงลูกออกจากสังคมออนไลน์ได้?
        จริงๆ คนเรามันอยู่ที่สิ่งแวดล้อม บางคนติดเทคโนโลยีขนาดนี้ แต่พอเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่นว่าไปอยู่ในชนบทซึ่งไม่มีอินเตอร์เน็ต จะรู้สึกว่ามันก็เฉยๆ ไม่ได้เดือดร้อนอะไรอย่าว่าแต่ติดเทคโนโลยีเลย ขนาดคนติดเหล้าติดบุหรี่พออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีเหล้าบุหรี่ให้เห็น และรอบๆ ไม่มีใครเสพเลย มันก็เฉยๆ ไม่มีความรู้สึกว่ามันต้องทรมานในการอด
        ในโครงการอบรมธรรมทายาท เมื่อมาบวชโดยรอบก็ไม่มีใครสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าเลย เขาก็บอกว่าทำได้ไม่ลำบากเลย หรือไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต มือถือก็ปิด แล้วไปนั่งสมาธิ(Meditation)สัก 7 วัน ก็รู้สึกว่าสบายๆ ปลอดโปร่ง ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนมาก ทำให้เราเองมีเวลาถอยตั้งหลัก ฉะนั้นถ้าพ่อแม่อยากจะฝึกลูกก็ให้หาเวลาให้เขาตั้งหลักในชีวิต ให้มาอบรมธรรมทายาทช่วงปิดเทอม ฝ่ายชายก็บวชเณรหรือบวชพระ ให้เขารู้สึกว่าเมื่อต้องห่างจากเทคโนโลยีเขาก็อยู่ได้ และให้เขาได้รู้วิธีการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นนาย เมื่อกลับไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงเขาก็จะเป็นคนใหม่
เทคโนโลยีกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัยบ้างหรือไม่?
        เทคโนโลยีนั้นเป็นของกลาง อยู่ที่เราจะนำไปใช้ทำอะไร อย่างทีวีช่อง DMC เราเป็นรายการธรรมะก็เป็นประโยชน์ สื่อออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ในการเผยแผ่ข้อมูลที่ไม่ดีมันก็เป็นภัย แต่ถ้าเผยแผ่ข้อมูลที่ดีก็เป็นประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าเราก็ให้รู้เท่าทัน และหาทางใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่เนื้อหาที่ดีๆ เป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง
        ทางด้านเว็บไซต์ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือโซเชียลออนไลน์ อย่าง facebook, twitter อะไรต่างๆ ก็เริ่มมีมากขึ้น ในสังคมสงฆ์เองก็เช่นกัน พระก็มีทั้งพระบวชใหม่ สามเณรก็มี บวชมานานแล้วก็มี มีหลายรูปแบบ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากมีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีเป้าหมาย ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อหาข้อมูลหรือเผยแผ่ธรรมะ อย่างนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ ใช้อย่างเป็นนายเทคโนโลยี แต่ถ้าใช้เพื่อคุยสนุกสนานแชทไปแชทมา อย่างนี้ก็ไม่เหมาะกับสมณะรูป จึงขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไรเป็นหลักเท่านั้นเอง




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2555   
Last Update : 1 สิงหาคม 2555 23:46:23 น.   
Counter : 979 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

เจ้าหญิงใจดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เจ้าหญิงใจดี's blog to your web]