Group Blog
 
All Blogs
 

ช่วยอธิบายหลักการใน โทรเข้า-ออกระหว่างโทรศัพท์มือถือระบบ GSM กับเครือข่าย PSTN หน่อยค่ะ (หว้ากอ)

ช่วยอธิบายหลักการใน โทรเข้า-ออกระหว่างโทรศัพท์มือถือระบบ GSM กับเครือข่าย PSTN หน่อยค่ะ

ช่วยอธิบายหลักการใน โทรเข้า-ออกระหว่างโทรศัพท์มือถือระบบ GSM กับเครือข่าย PSTN หน่อยค่ะ ว่าต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้างค่ะ กว่างจะสามารถโทรคุยกันได้ค่ะ

จากคุณ : Jan - [ 10 ก.ค. 47 03:05:07 A:161.200.170.119 X:161.200.255.162 ]





ความคิดเห็นที่ 1

เอาจริงเหรอ ยาวนะ

จากคุณ : expatriate - [ 10 ก.ค. 47 06:06:04 ]




ความคิดเห็นที่ 2

ยึ้ย เอาหลักการสั้นๆ อ้ะครับ พอให้เจ้าของกระทู้เข้าใจ

จากคุณ : Mi Corazon - [ 10 ก.ค. 47 10:54:45 ]




ความคิดเห็นที่ 3

ขั้นแรกก็ต้องมีวงจรที่เชื่อมต่อถึงกันระหว่างชุมสายของมือถือ กับ PSTN ก่อน
พอมีการโทรออกจากเครื่องลูกข่าย ชุมสายต้นทางก็รับ หมายเลขมาดูว่าจะให้ไปเส้นทางไหน
แล้วก็จะมีการคุยกันระหว่างชุมสาย ด้วย signalling ก่อน
ว่าเฮ้ย มีคนจะโทรหาเบอร์นี้ๆๆ ในระบบของเอ็งนะ ช่วยจัดการให้ด้วย
ทางชุมสายปลายทางก็ไปเรียก ลุกข่ายทางฝั่งเค้า ว่าคนโทรหานะ
ระหว่างนั้นชุมสายทั้งสองฝั่งก็จะตกลงกันว่าจะให้ ลูกข่ายทั้งสองฝั่งใช้ช่องสัญญาณไหนในการคุยกัน
พอฝั่งปลายทางรับสายก็จัดการเชื่อมวงจรเข้าหากัน ก็จะคุยกันได้
ประมาณนี้อ่ะ พอเข้าใจป่าว

จากคุณ : ลาบราดอร์สีดำสิง (ว่านน้ำ) - [ 10 ก.ค. 47 11:30:53 ]




ความคิดเห็นที่ 4

อยากอธิบาย แต่ถ้าเอาแบบละเอียด นำความรู้ไปใช้ได้จริง (ไปสอบ,ไปสัมภาษณ์) ถูกต้องตามหลักการยาวอ่ะครับ

ลองหาหนังสืออ่านยังครับ ถ้ายังแนะนำให้หาหนังสืออ่านดูครับ หาไม่ยากตามร้านหนังสือตามห้าง
เรื่อง เกี่ยวกับ หลักการ มือถือ

ส่วน search ในเน็ต ที่เป็น ภาษาไทย หายากอ่ะ ครับ

จากคุณ : SPEED OF LIGHT - [ 10 ก.ค. 47 12:50:57 ]




ความคิดเห็นที่ 5

ขอแบบคร่าวๆ พอเข้าใจก็พอค่ะ คุณ SPEED OF LIGHT

จากคุณ : เจ้าของกระทู้ - [ 10 ก.ค. 47 22:24:21 A:161.200.255.161 X: ]




ความคิดเห็นที่ 6

เอา...ค่อยๆเขียนก็แล้วกัน

ก่อนอื่นขอทบทวนพื้นฐานการเชื่อมต่อระหว่าง PSTN กับ PLMN (ในกรณีนี้ก็คือเครือข่าย GSM) ซะก่อน ว่าระหว่างชุมสายโทรศัพท์ PSTN กับ PLMN นั้น มี Gateway MSC (GMSC) คั่นอยู่ตรงกลาง นะครับ

การโทรศัพท์ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มันก็มีอยู่สองแบบ ก็คือ การโทรฯเข้ามือถือ (ไม่ว่าจะเป็นจาก PSTN หรือ PLMN) และการโทรฯออกจากมือถือ โดยทั่วไปเค้าก็เรียกกันว่า Mobile Terminated Call (MTC) และ Mobile Originated Call (MOC) ตามลำดับ

เอา MTC ก่อนก็แล้วกัน....อ๊ะ ไม่ดี ไปกินข้าวก่อนดีกว่า

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 12 ก.ค. 47 08:59:23 ]




ความคิดเห็นที่ 7

กินข้าวกลางวันเสร็จแล้ว มาต่ออีกหน่อย...

หลักการง่ายๆของ MTC ก็คือ เครือข่ายต้องหาให้ได้ว่า ตัวโทรศัพท์ที่มีคนโทรเข้านั้นอยู่ที่ไหน เพื่อที่เครือข่ายจะสามารถแจ้งได้โทรศัพท์เครื่องนั้นได้ว่ามีคนกำลังโทรเข้า (เรียกง่ายๆว่า paging)

ในการนี้ ก็มีอุปกรณ์สองตัวที่เกี่ยวข้อง ก็คือ HLR และ VLR โดยที่ VLR นั้นเก็บ Location Area ID (LAI) ของมือถือเครื่องนั้นไว้ และ HLR เก็บ VLR Address ที่มือถือเครื่องนั้นได้ทำการ Register ไว้ การที่อุปกรณ์เครือข่ายสองตัวนี้จะมีข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเข้ามาเก็บไว้ได้นั้น ก็ต้องผ่านกระบวนการ location registration หรือที่เรียกอีกอย่างว่า location update (นั่นก็คือพอมือถือทำ location update ได้สำเร็จ ก็จะมีข้อมูลเก็บไว้ที่ HLR และ VLR)

เดี๋ยวเย็นๆมาต่อครับ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 12 ก.ค. 47 10:54:34 ]




ความคิดเห็นที่ 8

เอ้า เย็นแล้ว มาต่ออีกหน่อยก่อน shutdown เครื่อง

กลับมาที่กระบวนการโทรศัพท์ก็แล้วกันครับ
สมมุติให้ A เป็นคนโทรศัพท์จาก PSTN ไปหา B ใน PLMN และ B ได้ทำ location update เรียบร้อยแล้ว

A ก็ต้องยกหูโทรศัพท์ด้วยมือซ้าย แล้วใช้นิ้วชี้ข้างขวาจิ้มกดหมายเลขของ B (สมมุติว่าคือ 01-9876543)--พอกดเลขหมายเสร็จก็เอาหัวไหล่ข้างซ้ายขึ้นมาหนีบหูโทรศัพท์แนบหูขวาไว้ แล้วเอามือซ้ายเกาก้นสองที

เลขหมายของ B นี่ มีชื่อเป็นทางการว่า MSISDN หรือ Mobile Subscriber ISDN number (ISDN ย่อมาจาก I Still Don't kNow) ซึ่งจะถูกส่งจากโทรศัพท์บ้านของ A ไปยังชุมสาย PSTN เพื่อให้ชุมสายทำ digit analysis และหา route ไปยังเครือข่ายปลายทาง (เช่น ถ้าเลขหมาย 3 หลักแรกเป็น 019 ให้ route ไปที่ GMSC ของเครือข่าย ฟรห ถ้า 3 หลักแรกเป็น 016 ให้ไปที่ GMSC ของเครือข่าย ฏธฤฉ เป็นต้น)

ในกรณีตัวอย่างนี้ เลขหมายที่ท่านเอิ้นเป็น 019876543 เพราะฉะนั้นก็จะถูก route ไปที่ GMSC ของ ฟรห

เอาล่ะ ผมหิวข้าวอีกแล้ว เก็บของกลับบ้านก่อนดีกว่า เดี๋ยวกินข้าวอาบน้ำอาบท่าเสร็จ ถ้าผมไม่ง่วงไปซะก่อนจะมาเขียนต่อ

แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 47 19:19:10

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 12 ก.ค. 47 16:36:05 ]




ความคิดเห็นที่ 9

เอา...เริ่มเมาได้ที่แล้ว ถึงไหนแล้วล่ะเนี่ย...อ้อ GMSC

เอาล่ะ ทีนี้ พอ GMSC ได้รับหมายเลขที่ทั่นเอิ้นจากชุมสาย PSTN แล้ว มันก็ต้องค้นหาต่อไปว่า โทรศัพท์ที่ทั่นเอิ้นเนี่ย มันอยู่ที่ไหน เพื่อที่จะได้หาเส้นทางเชื่อมต่อวงจรได้

แต่ไอ้ GMSC นี่มันไม่รู้นี่ครับว่าโทรศัพท์ B อยู่ที่ไหน มันก็ต้องถามเอาจากคนที่รู้ ซึ่งในที่นี้ก็คือ HLR เพราะฉะนั้น GMSC ก็ต้องส่งซิกไปที่ HLR เพื่อที่จะถามว่าอีตา B นี่่อยู่ที่ไหน ขั้นตอนนี้เรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า HLR Inquiry ครับ (เอามาคิดสตังค์ได้นะครับ ขอบอก)

พอ HLR ได้รับ HLR Inquiry จาก GMSC แล้ว มันก็ต้องไปค้นหาในฐานข้อมูลของตัวเองที่มีอยู่ ซึ่งข้อมูลตั้งต้นในการค้นหาก็คือ หมายเลข MSISDN ที่ได้รับมา นั่นก็คือ พอได้รับ MSISDN มาปุ๊บ ก็เอาไปค้นในตารางของตัวเองว่า เบอร์นี้ตรงกับหมายเลข IMSI อะไร (IMSI ย่อมาจาก International Mobile Subscriber Identity--เลขประจำตัวสากลของผู้เช่าโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นหมายเลขที่อยู่ใน SIM และใน HLR)

พอได้หมายเลข IMSI แล้ว HLR ก็จะค้นต่อไปว่า IMSI เบอร์นี้ อยู่ในพื้นที่บริการของ MSC/VLR ตัวไหน (VLR Address) และพอได้ VLR Address แล้ว HLR ก็จะส่งซิกไปที่ VLR ตัวดังกล่าวโดยทันที

แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 47 19:33:43

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 12 ก.ค. 47 19:33:22 ]




ความคิดเห็นที่ 10

งือ....ไปนอนดีกว่า ใครว่างๆช่วยเขียนต่อทีครับ (เมาแล้ว พรุ่งนี้มีประชุมด้วย)

แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 47 20:05:40

แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 47 19:39:53

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 12 ก.ค. 47 19:37:34 ]




ความคิดเห็นที่ 11

พอดีว่างงั้นช่วยต่อนิดนึงละกันคับ

หลังจากHLR ส่งซิกไปที่ VLR VLR ก็จะบอกทางที่จะพา traffic ถึง MSC ปลายทาง
ตัวที่จะบอกทางไปก็คือ MSRN - Mobile Subscriber Roaming Number (คงจะถูกนะ)

HLR ก็จะส่ง MSRN ต่อให้ GMSC เพื่อ analyze digit แล้ว route ไปยัง MSC ที่ โทรศัพท์เบอร์นี้ไปอยู่

พร้อมกันนั้น VLR ก็จะดูข้อมูล ของ IMSI ที่ได้มา ที่เก็บอยู่ในตัว
ว่า IMSI นี้ ตอนนี้อยู่ที่ Location area ไหน BSC ตัวไหน
แล้วก็จะทำการ page เรียกต่อไป

ที่เหลือรอ คุณ บูมเมอร์มาต่อละกัน จะไปนอนแหล่ว


จากคุณ : ลาบราดอร์สีดำ - [ 13 ก.ค. 47 00:34:28 ]




ความคิดเห็นที่ 12

ขอบคุณครับคุณลาบราดอร์ฯ :-)

เสริมเรื่อง MSRN อีกหน่อยนึงครับ

MSRN นี่ พูดง่ายๆคือเป็นหมายเลขชั่วคราวที่ VLR กำหนดให้โทรศัพท์แต่ละเครื่องที่ register ในพื้นที่บริการของ VLR นั้น ซึ่งจะถูกใช้เฉพาะในเวลาที่มี MTC เท่านั้น นั่นก็คือ พอ MTC call setup นั้นสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว VLR ก็จะยึดหมายเลข MSRN นั้นคืน เพื่อนำไปใช้กับ MTC call setup สำหรับโทรศัพท์เครื่องอื่นๆต่อไป

นั่นล่ะครับ เืมื่อ GMSC ได้รับ MSRN แล้ว ก็จะวิเคราะห์เลขหมาย (digit analysis) MSRN นั้นเพื่อหา route ไปยัง MSC ปลายทาง เมื่อหา route เจอแล้ว GMSC ก็จะ route call นั้นไปยัง MSC ปลายทาง (พร้อมกับแปะหมายเลข MSRN ไปด้วย เพื่อที่ MSC ปลายทางจะได้รู้ว่า จะ page ไปหาโทรศัพท์เครื่องไหน)

สัญญาณ paging ที่ MSC จะส่งออกไปใน radio network นั้น ก็จะมีหมายเลขประจำตัวของโทรศัพท์ B อยู่ ซึ่งหมายเลขประจำตัวโทรศัพท์ B นี้ อาจจะเป็น IMSI หรือ TMSI--Temporary Mobile Subscriber Identity ก็ได้ (ส่วนมากจะใช้ TMSI) ก็ได้

สัญญาณ Paging จะถูกส่งออกไปจากเซลล์ทุกเซลล์ใน Location Area ที่โทรศัพท์ B สิงสู่อยู่ (อาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลใน VLR) โดยใช้ช่องสัญญาณ (ในอากาศ--Air Interface) ที่มีชื่อว่า PCH (paging channel) พอโทรศัพท์ B ซึ่งมีหมายเลข IMSI หรือ TMSI ตรงกับที่ส่งออกมาใน PCH ได้รับข้อความ paging นี้แล้ว ก็จะตอบรับสัญญาณ paging นั้นโดยการใช้ช่องสัญญาณ RACH--random access channel ครับ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ค. 47 18:04:16 ]




ความคิดเห็นที่ 13

พอโทรศัพท์ B ตอบรับข้อความ paging กลับไปยังเครือข่ายแล้ว เครือข่ายก็จะรู้ได้ว่าโทรศัพท์นั้นอยู่ในเซลล์ไหน (ก่อนหน้านั้นยังไม่รู้ รู้แต่ว่าอยู่ใน location area ไหนเฉยๆ) พอรู้ว่าอยู่ในเซลล์ไหนแล้วก็ง่ายแล้วครับ สามารถ route call นั้นมาที่ช่องสัญญาณ Traffic channel (TCH) ใน air interface ของเซลล์นั้นได้

นี่เอาแบบคร่าวๆนะครับ ความจริงมีรายละเอียดอีกนิดหน่อย (ใช้เวลาอธิบายประมาณสองสามชั่วโมงได้)

คิดว่าคงพอแค่นี้ก่อนนะครับ เพราะไม่ค่อยแน่ใจว่าคุณเจ้าของกระทู้จะกลับเข้ามาอ่านอีกรึเปล่า เอาไว้อาบน้ำอาบท่าเสร็จถ้าไม่ง่วงไปซะก่อนอาจจะเข้ามาเขียน MOC ต่ออีกหน่อย

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ค. 47 18:10:39 ]




ความคิดเห็นที่ 14

ยังติดตามอ่านอยู่ค่ะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

จากคุณ : เจ้าของกระทู้ - [ 14 ก.ค. 47 01:55:05 A:161.200.255.161 X: ]




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2548    
Last Update : 31 ธันวาคม 2548 9:46:58 น.
Counter : 1421 Pageviews.  

ใครเคยแอบเปิดมือถือบนเครื่องบินบ้าง (จากกระทู้ห้อง Blue Planet)

*** ปรกติไม่ค่อยเข้าห้อง Blue Planet กระทู้นี้เข้าไปด้วยความบังเอิญ ***

ใครเคยแอบเปิดมือถือบนเครื่องบินบ้าง

ที่กับตันประกาศว่าจะไปรบกวนเครื่องมือการนำร่องของเครื่องบิน คืออยากรู้ว่าบนความสูงขนาดนั้นมันมีคลื่นหรือเปล่า บางทีเราก็อยากรู้ว่าตอนนี้บินอยู่อำเภออะไรแล้ว

จากคุณ : tb - [ 9 ก.พ. 48 20:05:52 ]


ความคิดเห็นที่ 1

บ่มีดอก มันบินเร็วมาก คลื่นแค่ไม่กี่ Watt ตามไม่ทัน

จากคุณ : RegDragon - [ 9 ก.พ. 48 20:21:18 ]


ความคิดเห็นที่ 2

จะเปิดไปทำไมล่ะครับ--สูง ๆ ก็ใช้การไม่ได้แล้ว

เคยแต่ลืมครับ

นักบินเองก็ยังลืมเลย

กำลังไต่ อยู่ดี ๆ ก็มีเสียงสัญญาณมือถือแทรกในวิทยุ

จากคุณ : foxII - [ 9 ก.พ. 48 20:47:39 ]


ความคิดเห็นที่ 3

ทำไมมีความสุขยังงี้ อะไรที่เขาห้ามก็ยังอยากอีก haha

จากคุณ : ฟิชชี่ - [ 9 ก.พ. 48 21:00:09 ]



ความคิดเห็นที่ 4

เดี๋ยวเกิดไปรบกวนสัญญาณการบินพอดีตายกันทั้งลำ คนอื่นจะเดือดร้อนไปด้วย

จากคุณ : Biolab - [ 9 ก.พ. 48 21:06:36 ]


ความคิดเห็นที่ 5

ขอร้องเถอะครับ อย่าเปิด และอย่าลองเลย มันอันตรายจริงๆ ถ้าคลื่นจากเครื่องมือถือเครื่องนั้นตรงกันคลื่นของเครื่องพอดี สังเกตไหมครับ เวลาเปิดโทรศัพท์ ตัวโทรศัพท์จะ search หาคลื่น จังหวะนั้นบางทีมันจะเจอกับคลื่น digital ของเครื่องบินพอดีกันเป๊ะ

ถ้าใครเคยเห็นอาการคลื่นโทรศัพท์รบกวน ระบบนำร่องของเครื่องบินมันน่ากลัวขนาดไหน จะไม่กล้าเปิดแน่นอน และผมเจอเหตุการณ์น่ากลัวนี้ในห้องนักบินมาแล้วกับตัวเอง (ไม่ใช่ในเครื่องนก แต่เป็นสายอื่น)

ไม่สนุกแน่ครับ พูดตรงๆนะครับ อย่าว่าผมขู่เลย....

วูบเดียว ไม่รอดทั้งลำ คนไม่รู้เรื่องราวด้วย กับเจ้าของมือถือก็ไปด้วยกันหมด จากรายงานการสอบสวนเครื่องตกในต่างประเทศ มีหลาย Case พบว่า เกิดจากการมีคนแอบเปิดมือถือ สาเหตุเช่น เครื่องบินอยู่ที่ 15000 ฟิต แต่ระบบรวนบอกว่าบินอยู่ที่ 25000 ฟิต ผลคือชนเขา เรียบทั้งลำ

คิดไงก็ไม่คุ้มครับ เจอใครนั่งข้างๆแอบเปิด ก็ช่วยบอกด้วยครับ ว่าคุณไม่อยากตายกะเค้าด้วย กรุณาปิดซะ ทันทีเลย!

แก้ไขเมื่อ 09 ก.พ. 48 21:28:10

แก้ไขเมื่อ 09 ก.พ. 48 21:22:40

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 9 ก.พ. 48 21:11:31 ]



ความคิดเห็นที่ 6

ดีครับ
งั้นลำไหนมีแต่นักการเมืองขึ้นเครื่องไปดูงานกัน
ผมจะเอามือถือไปสัก 10 เครื่องเลย
จะได้ไม่พลาด!!!

จากคุณ : วี๊ดดด วิ้ววว (อ๊ะจึ๋ย) - [ 9 ก.พ. 48 21:34:41 ]


ความคิดเห็นที่ 7

ได้(โทร)ไม่คุ้มเสีย(ชีวิต)

จากคุณ : MlCHAEL - [ 9 ก.พ. 48 21:35:30 ]



ความคิดเห็นที่ 8

เคยอ่านเจอบุคคลมีชื่อเสียงในประเทศหนึ่ง
ขับเครื่องบินส่วนตัวไปพร้อมกับภรรยา
คุณภรรยาคุยโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลา
ทั้งๆ ที่เตือนแล้วก็ไม่ยอมฟัง
ผลก็คือ ตายกันหมดค่ะ

อย่าทำเลยนะ...อย่าทำ

flower

จากคุณ : Tichy~ - [ 9 ก.พ. 48 21:55:37 ]



ความคิดเห็นที่ 9

อย่าเชียวนะ ขอร้อง อย่าให้คนอื่นต้องตายไปกับคุณด้วย

จากคุณ : ป้านิด - [ 9 ก.พ. 48 22:01:53 ]



ความคิดเห็นที่ 10

เรื่องความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สิน ยังมีคนอยากลองอยู่หรือ

เมื่อขี้นบนเครื่องบินแล้ว เจ้าหน้าที่เค้าก็ประกาศ ให้ปิดโทรศัพท์มือถีอ วิทยุติดตามตัว รวมทั้งอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ อย่างอื่นอีกที่จะรบกวนระบบนำร่องของเครื่องบิน

เตือนกันขนาดนี้ แล้วยังดื้อ อยากลอง กันอีกหรือ

ขอร้องเถอะ ท่านผู้กล้าทั้งหลาย

จากคุณ : สะใภ้แขก (ravindran) - [ 9 ก.พ. 48 22:37:40 ]


ความคิดเห็นที่ 11

แล้ว กล้องดิจิตอล ที่ถ่ายกันตอนเครื่องกำลังขึ้นและลงที่ review กันล่ะครับ.....

ห้าม เหมือนกันนะ...

จากคุณ : foxII - [ 9 ก.พ. 48 23:03:41 ]


ความคิดเห็นที่ 12

ทำไมถึงต้องใช้โทรศัพท์กันตลอดเวลาเลยนะคนเรา ไม่เข้าใจ

จากคุณ : บิงก้า - [ 9 ก.พ. 48 23:49:39 ]


ความคิดเห็นที่ 13

ตอนนั่งเครื่องบินกลับจากภูเก็ต เจอผู้ชายคนนึง อายุดูยังวัยรุ่นอยู่ ขนาดมีประกาศจากพนักงานบนเครื่องให้ปิดเครื่องมือสื่อสารแล้ว ผู้ชายคนนั้นยังไม่สนใจเลย จนกระทั่งตอนที่เครื่องกำลัง Taxi ไปเพื่อจะ Take off พอดีแอร์ฯเดินผ่านมาเห็น ก็เลยบอกให้ปิดมือถือก่อน ผู้ชายคนนั้นก็ปิด แต่พอแอร์เดินคล้อยหลังไป แกก็เปิดอีก ที่รู้เพราะได้ยินเสียงดนตรีมือถือตอนเปิด ยังคิดในใจว่าไอ้คนนี้ทำไม กวนตี.....................น จริงๆ จนมีผู้โดยสารท่านอื่นที่นั่งฝั่งตรงข้าม หันจ้องมองแบบเอาเรื่อง ผู้ชายคนนั้นก็เลยยอมปิดเครื่องไป

ไม่อยากเชื่อเลยว่ายังมีคนแบบนี้อยู่อีก

จากคุณ : Aerosol - [ 10 ก.พ. 48 07:56:36 ]


ความคิดเห็นที่ 14

ทีหลังถ้าเจอ แบบ คห.ข้างบน จะบอกให้ปิดแต่ถ้ามันไม่ปิด
จะด่าเรย ยอมมีปัญหาดีกว่าตายทั้งลำ แหม ยังโฉดอยู่อ่ะ
เออ เคยเจออยู่คน โทร.ตั้งแต่กรุงเทพ ยันอุดร ไม่รู้โทร.
ไรนักหนา เค้าก้อประกาศแล้วว่า ให้ปิดมือถือ ยายคนนี้
ถ้าไม่หูตึง ก้อคงเป็นพวกงี่เง่าอ่ะ ไม่ยอมฟัง เข็มขัดก้อ
ไม่คาด แถมโทร.อีก ไร้การศึกษาจริง ๆ แต่เครื่องบินก้อ
ยังบินไปได้นะ แหะ ๆๆ คนเรา เค้ามีกฎไว้ให้แหกเรอะไง
ก็ไม่รู้

จากคุณ : ปุ๊กก้าจังงัง - [ 10 ก.พ. 48 08:42:41 ]


ความคิดเห็นที่ 15

กฎนี้ถ้าแหก บทลงโทษถ้าเจอ Jackpot ก็ประหารเลยครับ แต่คนไม่รู้เรื่องโดนไปด้วยก็ซวยสุดๆที่ดันไปลำเดียวกันกะคนแบบนี้

เรื่องกล้อง digital แนะนำว่าให้สังเกตที่สัญญาณ รัดเข็มขัด ถ้า sign on กรุณาปิดกล้องครับ เพราะช่วงนั้นในห้องนักบินต้องการสมาธิสูงและการสื่อสารที่ไม่มีการรบกวน

เห็นมาหลายรูปจากรีวิวแล้วครับ ว่าถ่ายตอนเคื่อง Take off / Landing เป็นช่วง Sign on

อยากบอกว่า รูปที่คุณได้มา เป็นรูปความทรงจำแห่งความโชคดีที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถึงจะเป็น 1 ในร้อย หรือในล้านก็แล้วแต่ แต่ 1 นั้นไม่มีใครอยากจะให้เกิด จริงมั๊ยครับ

ผมเคยเป็นผู้โดยสาร ทะเลาะกับผู้โดยสารข้างๆที่ดื้อเรื่องปิดโทรศัพท์ แทบจะมีเรื่องกัน แต่ผมยอมมีเรื่องดีกว่ายอมร่วงไปกะไอ้หมอนั่นด้วย สุดท้ายกัปตันมายึดเครื่องไปเก็บ และคืนให้ตอนลง (เจอกัปตันใจถึง เจ๋งมากครับ)

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 10 ก.พ. 48 09:53:56 ]


ความคิดเห็นที่ 16

แบบว่ารักชีวิตมากค่ะ ไม่เคยคิดจะลองง่ะ

จากคุณ : คิดถึงนะ - [ 10 ก.พ. 48 10:49:57 ]


ความคิดเห็นที่ 17

ไม่ต้องถึงขนาดมีเรื่องเองหรอกครับ แค่บอกเจ้าหน้าที่
(แอร์ หรือสจ๊วด) ก็พอครับ หากยังดื้ออีกผู้โดยสารท่านนั้นอาจติดคุกได้ครับ เพราะอาจจะเข้าข่าย Unruly Passenger ซึ่งผู้เสียหายคือสายการบิน สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ครับ พอลงเครื่องตำรวจก็จะมารับตัวไป

จากคุณ : สายลมรัก - [ 10 ก.พ. 48 11:13:55 ]


ความคิดเห็นที่ 18

หึ หึ หึ คนเราก็แปลกชอบเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ที่เค้าห้ามคุยโทรศัพท์บนเครื่องบินน่ะคงไม่ใช่เหตุผลเดียวกับให้ปิดโทรศัพท์ในโรงหนังหรอกมังครับ ข่าวประชาสัมพันธ์ก็ออกมากันโครม ๆ ไหนจะเจ้าหน้าที่บนเครื่องก็เตือนอยู่ตลอดว่าเพราะอะไรแล้วยังอยากจะลองกันอีก ถ้าสงสัยมากนักก็ไปเช่าเครื่องบินที่เค้ามีประกัน 100% ลองขับแล้วคุยโทรศัพท์ดูนะครับ ถ้ามีอะไรผิดพลาดขึ้นมาคุณก็จะได้เดือดร้อนเพียงคนเดียวไม่ดึงให้คนอื่นที่เค้าอุส่าห์ปฏิบัติตัวดีอยู่แล้วให้เดือดร้อนไปด้วย
บริษัทย์เจ้าของเครื่องบินก็ไม่เดือดร้อนมากเพราะเค้ามีประกันอยู่ 100% แต่เค้าคงเคลมเรื่องคุณสร้างความยุ่งยากให้เค้ากับครอบครัวคุณอีกทอดนึงง่ะครับ เหอ ๆ ๆ

จากคุณ : sakrapee - [ 10 ก.พ. 48 12:03:19 ]


ความคิดเห็นที่ 19

ผมพึ่งรู้ว่า อันตรายมากขนาดนี้เลย กับคลื่นมือถือบนเครื่องบิน /ถ้างี้น่าจะมีที่ให้เก็บแล้วถึงก็ค่อยคืนไปเลย
ดีกว่านะครับ รู้แล้วชัก กลัวๆเลยอ่ะ

จากคุณ : "NooN"NaN - [ 10 ก.พ. 48 12:17:33 ]


ความคิดเห็นที่ 20

ถ้าเห็นใครคุยอยู่ก็สกิดบอกให้เขาออกไปคุยข้างนอกซิ เพราะข้างในเข้าห้ามโทร

จากคุณ : tik - [ 10 ก.พ. 48 12:20:31 A:203.118.126.95 X: TicketID:087636 ]


ความคิดเห็นที่ 21

สงสัยค่ะว่า ถ้าเค้าไม่คุยล่ะคะ เช่น ลืมปิดมือถึอแล้วสะพายอยู่ในกระเป๋าตลอดโดยไม่ควักออกมาเลย หรืออยากลองดีโดยการเปิดเครื่องแต่ไม่ยอมควักออกมา
ถ้ามันอันตรายขนาดนี้ แต่ไม่มีการเดินตรวจกระเป๋าอีกรอบล่ะคะ
(หรือว่าเขามีเครื่องตรวจสัญญาณคะ)

ส่วนตัวเองไม่เคยค่ะ เค้าห้ามเราก็ไม่ทำ ถ้ามีธุระก็คุยให้เสร็จแล้วปิดเครื่องตั้งแต่เดินเข้า gate ไปแล้วค่ะ

จากคุณ : chear - [ 10 ก.พ. 48 13:00:15 A:203.118.118.167 X: TicketID:031263 ]


ความคิดเห็นที่ 22

ตอบ #21 กรณีถ้าเปิดเครื่องทิ้งไว้ ดูคำตอบได้ใน # 5 ย่อหน้าแรกครับ

การเดินทางด้วยเครื่องบินไม่น่ากลัวหรอกครับ แต่การมีผู้โดยสารประมาท แหกกฏการบินนั่งอยู่ด้วย เป็นเรื่องที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้โดยสารทั้งลำ

แก้ไขเมื่อ 10 ก.พ. 48 13:13:43

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 10 ก.พ. 48 13:09:30 ]


ความคิดเห็นที่ 23

เปลี่ยนความถี่ ด่วน ต้องให้เครื่องบินเปลี่ยนไปใช้ระดับ TeraHz อิอิ ส่งสัญญาณที ใข่สุข

จากคุณ : หน้ากากแอ๊คชั่น - [ 10 ก.พ. 48 13:33:36 ]


ความคิดเห็นที่ 24

เคยนั่งการบินไทยชั้นหนึ่ง (แบบไปกระทันหัน) ปกติ
ไม่มีวาสนาได้นั่งชั้นนี้อยู่แล้ว


คนข้างๆ เขาเอาโน๊ตบุ๊กมาเปิดอ่ะแล้วเอาเปิดโทรสับเสียบ
ต่อเนตแชทเฉยเลย ถามพนักงานเขาบอกว่าไม่เป็นไร


ไม่เป็นไรจริง ๆ เหรอคะ !!

จากคุณ : ไม่เอาละกัน - [ 10 ก.พ. 48 14:05:57 ]


ความคิดเห็นที่ 25

เป็นไรแน่ๆครับ ขึ้นอยู่กับว่ายังไม่ถูกหวย

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 10 ก.พ. 48 14:47:50 ]


ความคิดเห็นที่ 26

เคยเจอแบบที่เอาโทรศัพท์ใส่กระเป๋าแล้วใส่ล๊อคเกอร์เหนือศรีษะ ช่วงที่เครื่องเตรียมเทคอ๊อฟ มีเสียงเรียกเข้า แต่ไม่มีใครรับเป็นเจ้าของเครื่องค่ะ ปล่อยให้ดังจนเงียบไปเอง เสียงสรรเสริญจากผู้โดยสารที่นั่งรอบข้างขรม ทีหลังอย่าทำ ลูกๆยังไม่ว่างมาเคลมประกันอ่ะ

จากคุณ : ป้าแจ๋วแหวว - [ 10 ก.พ. 48 14:53:46 ]


ความคิดเห็นที่ 27

สรุปว่าเป็น แต่รอให้ถูกหวย โห .. แบบนี้ต้องลาขาดจาก
เครื่องบินแล้ว กลับไปนั่งสิบล้อโบกแบบเดิมดีกว่า !! v_v

จากคุณ : ไม่เอาละกัน - [ 10 ก.พ. 48 16:47:18 ]


ความคิดเห็นที่ 28

ไม่ควรเปิดเพราะกัปตันเตือนแล้ว ยังไงช่วยๆกันสังเกตคนข้างๆท่านด้วยนะครับ เขาแอบเปิดฟ้องแอร์หรือสจ๊วตดีกว่าครับ ช่วยๆกันนะครับ อย่าเห็นแก่ตัวว่าธุระของตัวเองต้องคุยตอนนั้นเพราะอันตรายจะเกิดขึ้นเพราะคนนี่แหละ

จากคุณ : nobika - [ 10 ก.พ. 48 17:04:43 ]


ความคิดเห็นที่ 29

ควรมีคำเตือนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปิดอุปกรณ์สื่อสารบนเครื่องบินนะคะ อาจติดไว้บนเครื่อง หรือแนบมากับตั๋วโดยสารเลย เพราะผู้โดยสารส่วนใหญ่เขาไม่ทราบหรอกค่ะว่าอันตรายขนาดนี้ เพราะไม่มีใครเคยบอกมาก่อน ตัวดิฉันเองก็ไม่เคยทราบเช่นกัน เพียงแต่ไม่เคยแหกกฎ เขาให้ปิดก็ปิดค่ะ รู้แต่ว่ามันจะไปรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ดิฉันว่าถ้าทุกคนทราบว่าอันตรายขนาดนี้ คงไม่มีใครกล้าแหกกฎแน่นอนค่ะ

จากคุณ : JJ - [ 10 ก.พ. 48 18:55:38 A:61.91.188.243 X: TicketID:029557 ]


ความคิดเห็นที่ 30

ผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องแล้วไม่ทราบว่า ห้ามเปิดมือถือ น่าจะมีแค่ คนหูหนวกกะตาบอดมั้ง mad เพราะมีทั้งประกาศ ภาพ เลย

จากคุณ : ฟิชชี่ - [ 10 ก.พ. 48 19:29:51 ]


ความคิดเห็นที่ 31

ถ้ามันซีเรียสขนาดนั้นน่าจะห้ามเด็ดขาด แล้วตรวจ xray เจอก็ยึดไว้ก่อนเลย ดีกว่ามั้ง

จากคุณ : Mcdull - [ 10 ก.พ. 48 22:36:41 ]


ความคิดเห็นที่ 32

ปิดให้หมดเลยนะค่ะ มือถือ คอมพิวเตอร์ กล้องดิจิตอล หรือ พวกอุปกรณ์อิเลคโทนิค ต่างๆ

เราเคยกระซิบบอกป้าคนไทยที่นั่งข้างๆ เราให้ช่วยปิดกล้องถ่ายรูป เค้าบอกว่าอยากถ่ายไปให้คนที่บ้านดู เรานะโมโหมากเลย โชคดีที่พี่แอร์เค้าเดินมาเห็น ป้าคนนั้นเลยปิดกล้องได้ แถมหันมาทำหน้าหงิกใส่เราอีก ..

แก้ไขเมื่อ 11 ก.พ. 48 05:51:53

จากคุณ : baby_lotion - [ 11 ก.พ. 48 05:51:21 ]


ความคิดเห็นที่ 33

ให้มันได้อย่างนี้สิ อยากแอบเปิดโทรศัพท์บนเรื่องบินเพียงเพราะอยากรู้ว่าตอนนี้อยู่ถึงอำเภอไหนแล้ว ??

รู้ตัวอีกที อาจจะอยู่ในนรกก็ได้

จากคุณ : คิดดูดีดี - [ 11 ก.พ. 48 08:17:02 A:202.176.111.41 X: TicketID:074675 ]


ความคิดเห็นที่ 34

เราเห็นจะจะที่ภูเก็ต เขาประกาศให้ปิดมือถือตั้งแต่ขึ้นเครื่องจนลงจากเครื่อง มีสาวนางนึงแหม เดินคุยโทรศัพท์เข้าเครื่องมาหน้าตาเฉย ไร้มารยาทจริงๆ ฝรั่งเขายังมีกฎระเบียบของเขา ห้ามก็คือห้าม กฎก็คือกฎ แต่คนไทยหลายๆ คนเนี้ยะ สนุกเหลือเกินกับการแหกกฎ มันจะตายหรือไงไม่รู้กับการไม่ได้ใช้มือถือแค่ชั่วพักชั่วครู่เนี้ยะ แปลกนะ.... เราเจออีกรายสุดแสบมากๆ รถตู้ไปรับที่โรงแรมเพื่อที่จะพามาขึ้นเครื่องที่สนามบิน แหม คนไทยจริงๆ ไม่ตรงต่อเวลาเลย กว่าหล่อนจะย้ายก้นลงมาจากห้อง ให้คนในรถรอซะร่วมๆ 20 นาที คิดว่าจะสวยเลิศเลอถึงได้แต่งตัวช้าปานนั้น ที่ไหนได้ ..... ไม่อยากจะพูดเล้ย มาขึ้นเครื่อง ยังจะมาแย่งที่นั่งริมหน้าต่ายคนอื่นอีก สุดยอดเลย ไปเที่ยวมา 3 วัน ไม่เคยต้องรอใครเลยเพราะทริปที่ไปมีแต่ฝรั่ง เขาตรงต่อเวลามากๆ นัดเวลาไหนเวลานั้นเลย อยากให้คนไทยเป็นแบบเนี้ยะจัง

จากคุณ : เอมี่ - [ 11 ก.พ. 48 08:32:44 A:203.113.45.69 X:203.150.217.112 TicketID:005103 ]


ความคิดเห็นที่ 35

"สมอง"

จากคุณ : Rubik - [ 11 ก.พ. 48 10:29:47 ]


ความคิดเห็นที่ 36

แล้วฟังเครื่องเล่นซีดีได้ป่าวอะครับ

จากคุณ : ถามดู (rakpabs) - [ 11 ก.พ. 48 14:11:42 ]


ความคิดเห็นที่ 37

ไม่เคยแอบเปิดครับ เคยแต่ตั้งใจเปิดครับ ไม่มีนาฬิกกากะเขาเลยต้องเปิดมือถือมาดูเวลาครับ โทรนะใช้ได้แค่ช่วงความสูงไม่เกิน 400 เมตร สูงกว่านั้นคลื่นลบกวนมากครับ เคยลองที่ความสูง หมื่นฟุต ไม่มีสัญญาเลย แย่จัง

เรื่องทำเครื่องบินตกนะ ผมว่าถ้าเปิดโทรศัพท์แล้วทำเครื่องบินตกนะ ป่านี้ผู้ก่อนการร้ายมันคงใช้วิธี ยกโทรศัพท์ขึ้นแล้วขู่ว่า ถ้าไม่เอาตังค์มาให้ เดียวจะเปิดโทรศัพท์ ให้เครื่องบินตกตายทั้งลำ !!!

ส่วนเรื่อง notebook ถ้านั้งชั้นfist class มีปลั๊กไฟ ให้เสียบกับ Notebook แล้วอย่างนี้ก็แปลว่าไม่ห้ามใช้ note book ใช่ใหมครับ

จากคุณ : dir/w - [ 11 ก.พ. 48 14:45:36 ]


ความคิดเห็นที่ 38

# 37 นี่เข้าใจอะไรยากเหลือเกิน

ไม่ใช่ว่าเปิดแล้วเครื่องบินตกทันที หรือตกทุกทีหรอก แต่มันมีโอกาสสูงที่จะรบกวนระบบนำร่องของเครื่องบิน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาก็ได้ เขาถึงห้ามไง กันไว้ก็ดีกว่าไม่ใช่หรือ ถ้าเกิดเหตุแล้วมันแก้ไม่ได้ เข้าใจยัง

Notebook นั้น เขาห้ามตอนระหว่า take off และ landing ครับ สัญญานเตือนรัดเข็มขัดดับก็ใช้ได้ ชั้นไหนก็ไม่ห้าม

เบื่อพวก smart ass

จากคุณ : เข้าใจหรือยัง - [ 11 ก.พ. 48 16:31:50 A:161.200.16.59 X:161.200.255.162 TicketID:074675 ]


ความคิดเห็นที่ 39

เหตุผลของคลื่นรบกวนคือ

คลื่นจากมือถือยิงออกไป รบกวน
เพราะเวลาเปิดเครื่อง
มือถือจะมีคลื่นยิงออกไปหาสัญญาณ

ไม่ใช่คลื่นที่วิ่งเข้ามาหามือถือครับ

น่าจะเข้าใจชัดเจนนะครับแบบนี้

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 11 ก.พ. 48 16:51:57 ]


ความคิดเห็นที่ 40

#37 นี่ ที่เปิดโทรศัพท์มือถือเพราะอยากรู้เวลา เนื่องจากไม่ได้ใส่นาฬิกา ช่างมีความคิดสร้างสรรค์จริงๆ เอาชีวิตคนทั้งเครื่องบินไปเสี่ยง อยากรู้เวลาก็ถามคนข้างๆไม่ได้รึไง

จากคุณ : ไม่เข้าใจ - [ 11 ก.พ. 48 18:54:13 A:202.176.111.174 X: TicketID:074675


ความคิดเห็นที่ 41

อ่านแล้วต้องถอนหายใจ

จากคุณ : HoneyLemonSoda - [ 11 ก.พ. 48 20:03:19 ]



ความคิดเห็นที่ 42

โหวตกระทู้ดีกว่า เราว่ายังมีคนไม่เข้าใจเรื่องนี้อีกเยอะเลย

จากคุณ : baby_lotion - [ 11 ก.พ. 48 22:26:58 ]


ความคิดเห็นที่ 43

นกฮูก .....มาโหวต....

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 12 ก.พ. 48 09:13:30 ]


ความคิดเห็นที่ 44

เคยเห็นหลายครั้งของสายการบิน สิงค์โปร์แอร์ไลน์
พอเครื่องลงจอดแล้ว แต่ยังไม่เข้าเทียบที่ตัวอาคาร มีคนเปิดมือถือทันที สัญญาณก็ดังตอนเปิดหาคลื่น คุณแอร์โฮสเตสเดินมาบอกให้ปิดเครื่องว่ามันอันตราย และผิดกฏข้อบังคับ พร้อมทำหน้าแบบดุ ๆ แล้วเดินกลับไปนั่งที่พนักงาน

แต่ท่านผู้โดยสารหงุดหงิด บ่นภาษาที่ดิฉันคุ้นเคยมาแต่เกิด อะไรว่ะ แค่นี้ก็ห้ามเปิดด้วย แมร่งงงงงงง

พวกที่ชอบแหกกฏทั้งหลาย ลองมาแหกกฏที่สิงค์โปร์ดูซิท่าน ว่าจะมีโอกาสกลับไปโม้ที่เมืองไทยได้ซักกี่ครั้ง

จากคุณ : สะใภ้แขก (ravindran) - [ 12 ก.พ. 48 09:24:41 ]


ความคิดเห็นที่ 45

เมื่อรู้ว่าเขามีกฏ กฏไม่ความปลอดภัย ไม่ประมาทแล้ว ..ทำไม่ได้ ก็ไม่ควรไปขึ้นเครื่องบิน แนะนำให้ไปใช้เรือดีกว่า อย่าเอาชีวิตของผู้อื่นมาร่วมเสี่ยงกับเราเลย แม่ขอร้อง

จากคุณ : แม่ขอร้อง - [ 12 ก.พ. 48 10:06:35 A:203.170.144.102 X: TicketID:017212 ]


ความคิดเห็นที่ 46

พวกที่อยากลองไปลองพร้อมกันสิครับ เปิดมันทุกเครื่องที่มีอยู่บนเครื่องบิน คุณได้ไปทัวร์นรกแน่ ตั้งแต่โลว์คอสเปิด บ่อยครั้ง ที่มีผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก เคยเจอป้าคนหนึ่งมีอยู่ ในกระเป๋าบนที่เก็บของเหนือศรีษะ 3 เครื่องไม่ได้ปิดเลย พนักงานประกาศจบ หันมาถามคนข้างๆ ว่า ไม่ปิดก็ได้มั้งคะ เหอะๆๆๆๆๆๆ ผมรีบเรียกพนักงานต้อนรับให้จัดการ เหตุผลเพราะไม่อยากตายพร้อมกันกับพวกโง่ๆ

จากคุณ : HAPPINESS ON EARTH (shintaro) - [ 12 ก.พ. 48 11:16:52 ]


ความคิดเห็นที่ 47

ถ้าขึ้นเครื่องบิน จะปิดมือถือทุกครั้งเพราะไม่อยากให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน แต่ก็คิด ๆ อยู่ว่าพวกชอบแหกกฎและไม่สนใจส่วนรวมนั้นก็มีอยู่ น่าจะมีมาตรการที่เข้มขึ้นอีกนิดเพื่อความปลอดภัยของทุกคน

ถ้าเป็นไปได้คุณสีหพันธ์ ตั้งกระทู้แยกออกมาเลยได้ไหมคะว่า เรื่องใดเป็นข้อปฏิบัติที่พึงระวังอย่างยิ่งเมื่อโดยสารเครื่องบิน เพราะทุกวันนี้ราคาตั๋วถูกลง คนย่อมบินมากขึ้น ผู้โดยสารก็หลากหลายขึ้น ร้อยพ่อ พันแม่

ยังไม่เคยใช้บริการ " นกแอร์" ค่ะ ช่วงลงไปช่วยงานเกี่ยวกับ Tsunami ก็อาศัยบินไปกับกองทัพอากาศตลอด มีอยู่ครั้ง มีโอกาสขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของสิงคโปร์ที่มาช่วยภาระกิจสึนามิ แต่นั่งแบบหวดเสียวตลอดทาง เพราะเขาไม่ปิดประตูด้านที่ทะเลใจนั่ง และนั่งอยู่ริมสุดใกล้ประตูเลย

แก้ไขเมื่อ 12 ก.พ. 48 11:18:34

จากคุณ : ทะเลใจ (ทะเลใจ) - [ 12 ก.พ. 48 11:17:56 ]


ความคิดเห็นที่ 48

ดีครับ ช่วยกันโหวตให้เป็นกระทู้แนะนำ

โทรศัพท์มือถือ อย่าเปิดเด็ดขาดเลยครับขอร้อง จะมีเรื่องด่วนจะเป็นจะตายยังไงคุณต้องรอเครื่องลงก่อนอยู่ดี คงไม่อยากให้ลงก่อนกำหนดกันหรอกใช่มั้ย

อุปกรณ์ดิจิตอลอย่างอื่นก็ตอนนำเครื่องขึ้นและลง ขอความกรุณาปิดกันเถอะครับ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน (แต่ผมขออนุญาตไม่ปิดนาฬิกาข้อมือดิจิตอลนะ)

แก้ไขเมื่อ 12 ก.พ. 48 15:27:48

จากคุณ : Gelgoog - [ 12 ก.พ. 48 15:27:05 ]


ความคิดเห็นที่ 49

เคยแต่เปิดแบบไม่ต้องแอบ ตอนก่อนปี 41 ก็เปิดกัน โทรกันเป็นเรื่องปกติ

จนกระทั่งเกิดเครื่องตกที่สุราษฎ์ตอนปี 41 จึงมีประกาศออกมาห้ามเปิด บอกว่าเครื่องตกเพราะมือถือ

ตอนเลาด้าแอร์ตกที่สุพรรณเมื่อราวปี 34 ก็เคยมีการบังคับให้ถอดถ่านออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่าง บอกว่าเครื่อง cd เป็นต้นเหตุให้เครื่องตก หลังๆก็เลิกบ้าจี้ไปเอง

เชื่อป่ะ ถ้าตกมีอีกคราวหน้า จะมีกล้องดิจิตัลเป็นแพะตัวต่อไป

จากคุณ : พะนี่จ๊ะ - [ 12 ก.พ. 48 15:32:25 A:61.90.104.80 X: TicketID:082470 ]


ความคิดเห็นที่ 50

ไม่ได้ตั้งใจ แต่ว่าลืมอ่ะค่ะ ขึ้นเครื่องไปสิงคโปร์ ลืมปิดมือถือตลอดทางเลย โชคดีที่เป็นระบบ hutch ไม่มีสัญญาณที่สิงคโปร์อยู่แล้ว ไม่งั้นโทรศัพท์ดังระหว่างทางล่ะแย่เลย คราวหน้าจะไม่ลืมแล้วค่ะ........

จากคุณ : pon de ring - [ 12 ก.พ. 48 15:43:51 ]


ความคิดเห็นที่ 51

เขาขอร้องก็แล้ว อธิบายก็แล้วว่าไม่ควรทำก็ยังมีคนตะแบงอวดความไม่มีสมองอีก

สาธุ ขออย่าให้ต้องร่วมเดินทางกับคนแบบนี้เลย

แก้ไขเมื่อ 13 ก.พ. 48 15:40:59

แก้ไขเมื่อ 13 ก.พ. 48 15:38:25

จากคุณ : ป้านิด - [ 12 ก.พ. 48 16:00:48 ]


ความคิดเห็นที่ 52

#51
...สาธุ ขออย่าให้ต้องร่วมเดินทางกับคนแบบนี้เลย..

งั้นอย่าบินนกแอร์นะ ช่วงนี้บินประจำเลย

จากคุณ : #49 - [ 12 ก.พ. 48 16:13:11 A:61.90.104.80 X: TicketID:082470 ]



ความคิดเห็นที่ 53

แปลกใจว่า ทำไมสายการบินถึงไม่ทำหน้าที่เก็บมือถือไว้เองเลยครับ

แล้วคืนให้ตอนลงเครื่องก็ได้

หรือ เกรงว่า
ทำอย่างนี้ จะละเมิดสิทธิ์หรือเปล่า

แต่ ผมยอมให้สายการบินละเมิดสิทธิ์นี้นะ
ดีกว่าที่จะ โดนละมิดสิทธิ์จากพวกขี้สงสัยและอับปัญญา จนกระทั่งผมต้องตายฟรี

ยิ่งผมบินบ่อยมากๆๆด้วย

จากคุณ : หมีPooH! - [ 12 ก.พ. 48 17:22:31 ]



ความคิดเห็นที่ 54

โทษเถอะนะครับ

ที่ออกมาเล่า ก็เป็นเรื่องว่าทำงานสายการบิน มีความรู้อะไรก็มาเล่าให้เพื่อนฟัง ที่ผมว่ามาข้างต้นทั้งหมด ไม่ใช่แค่นกหรอกครับ

เครื่องบินไหนก็เหมือนกัน...

อย่าเอานกแอร์มาเป็นประเด็นเลยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

จากคุณ : สีหพันธุ์ - [ 12 ก.พ. 48 17:23:55 ]


ความคิดเห็นที่ 55

ผมเคยนั่ง SQ กลับจาก S'pore มากรุงเทพ มีคนที่นั่งข้างๆเอาโทรศัพท์ขึ้นมาเปิด พนักงานต้อนรับเห็นเข้าก็บอกให้ปิด เขาก็ปิดไปได้แป๊บนึง เดี๋ยวก็งัดขึ้นมาเปิดใหม่อีก เราสะกิดให้พนักงานเขาดู เขาก็ขอให้ปิดอีก แล้วอีกพักเดียว purser มาเอง บอกว่าถ้าเปิดอีก จะริบไปเลย ค่อยคืนเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง

ผมว่า ถ้าผู้โดยสารทุกคนช่วยเป็นหูเป็นตา เจอคนงี่เง่าแบบ #37, 49 ก็ช่วยกันสะกิดพนักงาน แล้วให้สายการบินเอาจริง ริบไปก่อนเลยก็น่าจะดี

เรื่องละเมิดสิทธิ์นั้น ผมว่าทางสายการบินน่าจะมีสิทธิ์ทำได้เพื่อผู้โดยสารส่วนรวมนะ หรือคุณสีหพันธ์ว่าไง หรือว่าใครเป็นนักกฎหมายช่วยออกความเห็นหน่อยก็ดีว่าทำได้ไหม แล้วถ้าทำไม่ได้ ต้องทำอย่างไรถึงจะทำได้

จากคุณ : ผ่านมาอีกที - [ 12 ก.พ. 48 19:02:29 A:202.176.111.230 X: TicketID:074675 ]




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2548    
Last Update : 31 ธันวาคม 2548 9:28:52 น.
Counter : 1628 Pageviews.  

ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 100 ช่องสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน (จากกระทู้ห้องมาบุญครอง)

*** ตัดมาแปะเก็บไว้ จากกระทู้ที่เคยเขียนไว้ในห้องมาบุญครองครับ กลัวมันหาย ขึ้เกียจเขียนใหม่ ***

ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 100 ช่องสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน

คืนนี้เผอิญผมมีเวลาว่างๆ เลยเข้ามาเขียนอะไรเล่นๆซักหน่อยครับ

เรื่องที่จะเขียนก็หยิบเอามาจากคำถามง่ายๆแต่เป็นปัญหาโลกแตกครับ

คุณว่า ช่องสัญญาณโทรศัพท์ 1 ช่องนี่ มันจะรองรับผู้ใช้บริการได้กี่คน?

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:45:51 ]

ความคิดเห็นที่ 1

บ๊ะ...ถามโง่ๆ มีช่องเดียวก็รับได้คนเดียวสิ

...แม่นแล้ว มีช่องเดียวก็รับได้คนเดียว หรือถ้าจะให้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ต้องบอกว่า รับได้ครั้งละคน

อ้าวแล้วถ้ามี 100 ช่องล่ะ ได้กี่คน?





ถามโง่ๆอีกแล้ว ร้อยช่องก็ได้ทีละร้อยคนอะดิ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:48:38 ]




ความคิดเห็นที่ 2

อะ...งั้นเอางี้

ร้อยช่องนี่ สามารถรองรับได้กี่คนต่อชั่วโมง?



เอ...ชักตอบยากซะแล้ว ถ้ามีร้อยช่อง คนใช้ร้อยคน โทรไปคนละชั่วโมงเต็มๆ มันก็ได้ทีละร้อยคนอยู่ดี

แต่ เอ...ถ้าโทรฯกันคนละสามนาที มันก็น่าจะได้เยอะกว่านั้นอยู่นา...
สมมุติว่าโทรกันคนละสามนาที ช่องนึงมันก็น่าจะรับได้ซัก 20 คนต่อชั่วโมง มีร้อยช่องก็จะน่าจะได้ซัก 2000 คนเห็นจะได้

อืม...ไม่เลว ไม่เลว

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:56:08 ]



ความคิดเห็นที่ 3

อะ...ถามต่อ ถ้ามี 1000 ช่องล่ะ ได้กี่คนต่อชั่วโมง


ถามแบบนี้ดูถูกกันนี่หว่า... 100 ช่องได้ 2000 คน/ชั่วโมง มี 1000 ช่องก็ได้ 20,000 คนอะดิ ถามแบบนี้หาว่าเทียบบัญญัติไตรยางค์ไม่เป็นเหรอ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 19:59:46 ]



ความคิดเห็นที่ 4

ความจริงเรื่องพวกนี้ มีการคิดคำนวณกันมาร้อยกว่าปีแล้วครับ มีสูตรของหลายสำนัก หลายขนานเลยทีเดียว

เรื่องของเรื่องก็คือ เจ้าสำนักเหล่านี้เค้าพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้งานโทรศัพท์ (หรือที่เรียกกันว่า การจราจรในเครือข่าย หรือทับศัพท์ว่า ทราฟฟิค--traffic) กับจำนวนช่องสัญญาณ (หรือที่เรียกกันว่า คู่สาย นั่นแหละ)

หรือพูดง่ายๆก็คือ พยายามจะคำนวณว่า ถ้ามีจำนวนผู้ใช้เท่านั้นเท่านี้ ควรจะต้องมีจำนวนคู่สายโทรศัพท์เท่าไหร่ถึงจะพอใช้งาน

จากหลายๆสำนักเหล่านี้ ผลงานที่เหลือรอดมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีอยู่ไม่กี่สูตร ที่ใช้งานกันกว้างขวางที่สุดก็เห็นจะเป็นสูตรของ Agner Krarup Erlang ครับ คุณ Erlang นี่แกเป็นชาวเดนิช เป็นนักคณิตศาสตร์หรือยังไงนี่แหละครับ ผมก็ไม่ได้สนิทกับแกมากมาย เพราะแกตายไปตั้งกะปี 1929 โน่นแล้ว

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:14:58 ]



ความคิดเห็นที่ 5

เกริ่นมานานแล้ว ผมเข้าเรื่องดีกว่า

คุณเออร์แลงแกมีวิธีวัดปริมาณการใช้โทรศัพท์แบบง่ายๆครับ คือวัดเป็นปริมาณการใช้ต่อหนึ่งชั่วโมง หรือพูดให้ยากขึ้นก็คือ เอาผลรวมของระยะเวลาที่แต่ละคนใช้โทรศัพท์ มาหารด้วยระยะเวลา 1 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น มีผู้ใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลา 8:00 - 9:00 น. อยู่สามคน คือ นาย ก. นาย ข. และนาย ค.

นาย ก. โทรไปสามนาที นาย ข. สิบนาที นาย ค. ห้านาที รวมกันได้ (3 + 10 + 5) = 18 นาที

เพราะฉะนั้น ปริมาณการใช้โทรศัพท์ตามนิยามของคุณทวดเออร์แลงก็เท่ากับ 18 นาที หารด้วย 60 นาที = 0.3

0.3 อะไรดีล่ะ ไม่มีหน่วยนิ คุณทวดเออร์แลงก็เลยเอานามสกุลแกนั่นแหละมาเป็นหน่วยซะเลย แกว่า เนี่ย ถ้าอย่างงี้เรียกว่า 0.3 เออร์แลง

แก้ไขเมื่อ 13 มิ.ย. 48 20:28:28

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:27:54 ]



ความคิดเห็นที่ 6

เออร์แลง

จากคุณ : nameyoungjet - [ 13 มิ.ย. 48 20:37:14 ]



ความคิดเห็นที่ 7

คุณทวดเออร์แลงนี่ แกเป็นคนเก่งวิชาสถิติมาก ผมว่านะ แกไปนั่งคิดสมการคำนวณอะไรต่อมิอะไรเกี่ยวกับปริมาณการใช้โทรศัพท์นี่แหละ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนช่องสัญญาณ (หรือคู่สาย) ที่เหมาะสมสำหรับปริมาณการใช้ 0.3 เออร์แลงนี่นะ (ผมเคยพยายามเขียนโปรแกรมตามสมการของแก แต่ติดลูป ก็เลยเลิก ฮ่ะ ฮ่ะ)

ความจริงแล้ว นอกเหนือจากค่าปริมาณการใช้ (ที่มีหน่วยเป็นเออร์แลงที่ว่านั่น) ยังมีตัวแปรสำคัญอีกตัวนึงที่ผมแปลเอาเองว่า อัตราการบล็อค (แปลได้ห่วยมาก) หรือ blocking rate ครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เอาเป็นว่า ถ้า blocking rate = 2% ก็แปลง่ายๆว่า ถ้ามีคน 100 คนเกิดโทรศัพท์ขึ้นมาพร้อมๆกัน ก็จะมีอยู่ 2 คนที่ซวย ไม่ได้ช่องสัญญาณ

กล่าวโดยสรุปก็คือ ความพยายามของคุณทวดเออร์แลง และสำนักอื่นๆ ก็คือการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณการใช้โทรศัพท์ กับจำนวนช่องสัญญาณ และก็อัตราการบล็อค นี่เอง

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:40:32 ]



ความคิดเห็นที่ 8

เวงกำ

จากคุณ : dodoman - [ 13 มิ.ย. 48 20:50:59 ]



ความคิดเห็นที่ 9

เวลาใครต่อใครเค้าวางแผนตั้งเครือข่ายโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์บ้านอย่างของ TOT หรือ TT&T หรือ True หรือจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง AIS, DTAC, Orange, Hutch หรืออะไรก็ตาม เค้าก็มักจะเอาสูตรของเออร์แลงนี่ล่ะครับมาใช้

แต่ก่อนจะเอามาใช้ได้นี่ ต้องมีการนั่งเทียน เอ๊ย ประเมินปริมาณการใช้งานโทรศัพท์กันซะก่อน ปัจจัยที่เค้าจะเอามาประเมินก็หลายเรื่องครับ อย่างเช่น ต้องประเมินว่าสิ้นเดือนนั้นปีนี้จะมีลูกค้ากี่คน ลูกค้ากลุ่มไหนบ้าง แต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ยังไง (เช่นถ้าเป็นกลุ่มวัยรุ่นก็อาจจะโทรคุยกับแฟนนานหน่อย กลุ่มพ่อบ้านก็จะใช้เวลาคุยสั้นหน่อย--จ้ะ จะกลับเดี๋ยวนี้ล่ะจ้ะ...กริ๊ก--อะไรเทือกนั้น) ฯลฯ

นั่งเทียนเสร็จแล้วก็จะได้ค่าเฉลี่ยออกมาว่า ลูกค้า (ภาษาสมัยก่อนเรียกว่า ผู้เช่า) แต่ละคนจะใช้เวลาโทรต่อครั้งนานเท่าไหร่ ผมสมมุติว่าเป็นคนละ 90 วินาที (หนึ่งนาทีครึ่ง) ก็แล้วกัน ถ้าจะคิดเป็นหน่วยเออร์แลงก็คือ 1.5/60 = 0.025 เออร์แลง

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 20:53:23 ]



ความคิดเห็นที่ 10

เอาล่ะ สมมุติว่าจากการวิจัย candle sitting research ได้ผลออกมาว่า น่าจะมีลูกค้าซัก 100,000 คน ก็เอาจำนวนแสนคนนี่มาคูณกับ 0.025 ก็จะได้เป็นปริมาณการใช้โทรศัพท์ 2,500 เออร์แลง...ชักเยอะ

ทีนี้ก็มาถึงเรื่องอัตราการบล็อค ...เท่าที่ทราบในหลายๆประเทศนี่ เค้าจะมีองค์กรกลางที่เป็นคนกำหนดว่าต้องใช้อัตราการบล็อคเท่านั้นเท่านี้ในการคำนวณ โดยทั่วไปก็จะใช้ค่า 2% ครับ

เอาล่ะ ได้ค่าตัวแปรมาสองค่าแล้ว คือ 2,500 กะ 2% เราก็เอาไปใส่ในสมการ (ที่ผมไม่เคยเข้าใจ...ผมเกลียดวิชาสถิติและความน่าจะเป็น น่าจะเรียกว่าความน่าจะตายมากกว่า) ของเออร์แลง ได้คำตอบออกมาว่า น่าจะมีจำนวนช่องสัญญาณ (หรือคู่สาย) ซัก 2,485 ช่อง จึงจะพอรองรับปริมาณการใช้ 2,500 เออร์แลงได้ โดยมี blocking rate ที่ 2% (ผมใช้โปรแกรมชื่อว่า XCELL ในการคำนวณครับ เป็น freeware สามารถดาวน์โหลดได้จาก //www.xoconsulting.co.uk )


จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:02:50 ]



ความคิดเห็นที่ 11

ทีนี้ลองมาดูกันว่า ถ้าสมมุติเกิดมีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่จำนวนช่องสัญญาณเท่าเดิม อะไรจะเกิดขึ้น

สมมุติปริมาณการใช้โทรศัพท์เพิ่มเป็น 5,000 เออร์แลง และยังมี 2,485 ช่องสัญญาณเท่าเดิม เอาตัวเลขสองตัวนี้ไปคำนวณ ก็จะพบว่า blocking rate เพิ่มขึ้นเป็น 50.3%

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:10:43 ]



ความคิดเห็นที่ 12

ฮ่าฮ่าฮ่า

จากคุณ : shah_vip - [ 13 มิ.ย. 48 21:16:36 ]



ความคิดเห็นที่ 13

เอาล่ะ กลับมาที่คำถามที่ผมตั้งไว้ในหัวข้อกระทู้

ช่องสัญญาณ 100 ช่อง สามารถรองรับได้ 87.972 เออร์แลง ถ้าเรายังใช้ค่านั่งเทียนเดิม คือ 0.025 เออร์แลงต่อผู้ใช้หนึ่งคน คำตอบก็คือ 87.972/0.025 = 3,518.88 คนต่อชั่วโมง (โดยมีเงื่อนไขว่า อัตราการบล็อค = 2%)

จบดีกว่า ง่วงนอนแล้ว


จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 21:16:48 ]



ความคิดเห็นที่ 14

วันนี้ในรายการสรยุทธ์บอกว่า aisเพิ่มวงจรเชื่อมกันtotได้ไม่ถึง100เลย ทำให้การติดต่อระหว่างเครือข่ายทำได้ยาก

จากคุณ : ฟะฟ - [ 13 มิ.ย. 48 21:26:01 A:203.113.50.15 X:203.151.140.117 TicketID:101612 ]



ความคิดเห็นที่ 15

man ... เข้ามาดู

จากคุณ : Mr. Fusion - [ 13 มิ.ย. 48 21:41:33 ]



ความคิดเห็นที่ 16

ได้อ่านคห1 แล้วอยากยกย่องจริงๆ เกือบไปแล้วนี่ถ้าไม่มีคำตอบล่างๆมาช่วยอาจทีเฮ จากท่านอื่นๆ

จากคุณ : อาเจ็ก - [ 13 มิ.ย. 48 21:42:33 ]



ความคิดเห็นที่ 17

สุดยอด

ความรู้แน่น มาก เยี่ยมไปเลยครับ

จากคุณ : kicub2 - [ 13 มิ.ย. 48 21:46:38 ]



ความคิดเห็นที่ 18

...เวรกรรม ผมยังนอนไม่หลับเลย เข้ามาเขียนต่อดีกว่า

สมการของเออร์แลงนี่ เท่าที่เคยเห็นเค้ามีอยู่สองสมการครับ เรียกว่า Erlang B กะ Erlang C

Erlang B นี่เค้าว่าเอาไว้ใช้กับ blocking system ครับ ส่วน Erlang C นี่ใช้กับ queuing system

แล้วมันเป็นยังไงล่ะ blocking กับ queuing system นี่?

blocking system คือระบบที่จะเขี่ยเอา call request ที่ไม่ได้รับการตอบสนองออกจากระบบไปเลย (พูดเป็นภาษาคนก็คือ ถ้าใครขอเข้ามาแต่ไม่มีช่องสัญญาณให้ ก็เขี่ยออกไป ให้ไปขอใหม่) แบบนี้จะเหมาะกับการคำนวณสำหรับเครือข่ายสาธารณะ เช่นเครือข่ายโทรศัพท์บ้านหรือมือถือครับ

ส่วน queuing system ก็คือ ใครขอมาแต่ไม่มีช่องสัญญาณให้ ระบบก็จะจับเอาไปเข้าแถวรอไว้ เดี๋ยวมีช่องสัญญาณจะมาเรียกไปทีละคน อะไรประมาณนั้นครับ แบบนี้จะเหมาะกับระบบโทรศัพท์สำหรับพวก call center หรืออะไรทำนองนั้น

มีอย่างนึงเกี่ยวกับ Erlang B ที่นักนั่งเทียนเครือข่าย (ภาษาเทคนิคเรียกว่า เน็ตเวิร์คแปลนเน่อร์) หลายๆคนอาจจะมองข้ามไปก็คือ เค้าตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า ผู้ใช้แต่ละคนจะโทรแค่ครั้งเดียวในแต่ละชั่วโมง และหากการโทรนั้นถูกบล็อค ก็จะไม่ทำการโทรซ้ำอีก (ผมเข้าใจเอาเองว่า คนสมัยก่อนเค้าใจเย็น ไม่โทรแบบจิกๆ และเมื่อก่อนโน้นยังไม่มีปุ่ม redial) เพราะฉะนั้นค่าสมมุติ 0.025 เออร์แลงที่ผมยกตัวอย่างข้างบนนั้น อาจจะต้องมีการปรับขึ้นอีกเล็กน้อย (หรืออาจจะไม่มีการปรับเลย เพราะถ้าเพิ่มค่านี้เมื่อไหร่ก็หมายถึงจำนวน circuit ที่ต้องติดตั้งมากขึ้น ซึ่งคิดว่าคงไม่ได้รับอนุมัติจากผู้กุมบังเหียนการเงินของบริษัท)

เริ่มง่วงอีกแล้ว ไปละครับ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 มิ.ย. 48 22:32:14 ]



ความคิดเห็นที่ 19

ตกลงมาบ่นให้ฟังใช่มั้ยคับเนี่ย หลอกให้อ่านตั้งยาวอ่ะ หาเรื่องให้เพื่อนๆ อดนอนนี่หน่า แถมทำเอาอารมณ์ค้างอีกตะหาก

จากคุณ : กลด - [ 13 มิ.ย. 48 23:59:13 ]



ความคิดเห็นที่ 20

ปล ตาเออร์แลงนี่ ถ้าเค้ายังอยู่ คงจะเสียใจกับเมืองไทยแหงๆ เพราะเล่นเอาสมการคุณตาแกเจ้งไปเลยอ่ะ capacity ของระบบพี่ไทย ทะลุไปถึงไหนแล้วไม่รู้ ตอน peak เนี่ย
เอาสมการของคุณตามานั่งคำนวนแล้วก็ดูคำตอบตาปริบๆ พร้อมๆ กับ sms ไปบอกคนรอโทสับว่า ไม่ต้องรอรับโทสับแล้วนะ ไปหาสาธารณะโทรกลับมาหาเองที่เบอร์บ้านแล้วกัน เฮ้อ
(ขอบ่นบ้างเหอะ ไม่รู้ว่า เรียนมาทำไม แล้วก็ไม่เอาไปใช้ ให้พวก marketing ปู้ยี่ปู้ยำอยู่ได้ทุกวี่วัน)

จากคุณ : กลด - [ 14 มิ.ย. 48 00:13:27 ]



ความคิดเห็นที่ 21

ปัญหาเรื่องขายดีเกินความจุของเครือข่ายไม่ได้เป็นแค่ที่บ้านเราหรอกครับ

อย่างในออสเตรเลียเค้าก็มีหน่วยงานกลางซึ่งคล้ายๆกทช. ทำหน้ากำหนดมาตรฐาน (เช่น drop call rate ต้องไม่เกินเท่านั้น call success rate ต้องไม่ต่ำกว่าเท่านี้) แต่ละปีเค้าก็จะให้ operator แต่ละเจ้ารายงานค่าเหล่านี้ และผู้ใช้บริการ ซึ่งก็คือลูกค้า มีสิทธิที่จะรับทราบได้ด้วย

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 14 มิ.ย. 48 03:07:58 ]



ความคิดเห็นที่ 22

อ่านแล้วงง แต่ที่แน่ๆโทรออกไม่ได้เลยถ้าพระอาทิตย์ตกดิน

จากคุณ : อู้กำเมืองมันแน่นอกแน่นใจ๋ดี - [ 14 มิ.ย. 48 07:34:10 ]



ความคิดเห็นที่ 23

งงงงงงงงง เหมือกาน อะ

จากคุณ : [t]_steps - [ 14 มิ.ย. 48 10:50:10 ]



ความคิดเห็นที่ 24

ตี 1 ก็ตอบ
ตี 3 ก็ตอบ
...
ไม่ง่วงแล้วหรือครับ
...
แต่ ดี ครับได้รู้อะไรเยอะขึ้น

จากคุณ : post office - [ 14 มิ.ย. 48 16:46:30 A:unknown X:202.44.136.50 TicketID:090591 ]



ความคิดเห็นที่ 25

ตีสามนั่นผมตื่นแล้วครับ :-)
(เวลาล่วงหน้าจากกรุงเทพฯสามชั่วโมง)

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 14 มิ.ย. 48 18:25:58 ]


ความคิดเห็นที่ 26

หาเรื่องอื่นมาเล่าให้ฟังอีกดิครับ ชอบ..
จะได้มีกระทู้สาระเยอะๆ

จากคุณ : อะธีลาส - [ 14 มิ.ย. 48 18:58:36 ]



ความคิดเห็นที่ 27

ชอบครับ กระทู้แบบนี้ ดีกว่ากระทู้ด่าสัญญาณรายวันมาก

แต่... เห็นตัวเลขเยอะ ๆ แล้วมึนแฮะ - -'

question

จากคุณ : cookiecompany - [ 15 มิ.ย. 48 01:49:07 ]



ความคิดเห็นที่ 28

แม่เจ้า!! เข้ามางง นกดื่มชา

แต่ขอบคุณนะคะ เดี๋ยวจะพยายามอ่านอีกหกรอบ

จากคุณ : .เชอร์รี่. - [ 15 มิ.ย. 48 13:57:24 ]



ความคิดเห็นที่ 29

พอดีไม่ได้เมืองไทยครับค่าโทมือถือที่นี่ตกนาทีละห้าบาท
โทยังไงก้อติดครับโทจนไม่อยากจะมีครัยโทหากันแพงชิบเลยไม่รู้ว่าตอนนี้ที่ใช้อยู่สรุบมันดีหรือไม่ดี....
ปล.ยังไงก้อติดจิงๆนะนาทีละห้าบาทเนี่ย

จากคุณ : ไร้ทรัพย์ (Rabby) - [ 15 มิ.ย. 48 20:57:07 ]



ความคิดเห็นที่ 30

ไม่อยากบอกว่าโปรที่ออส แบบถูกๆ เดือนละ 15$ นี่ นาทีแรกปาเข้าไป 30 กว่าบาท หุหุ กลับมาเจอนาที 25 ตังค์นี่ จะหัวใจวายตาย

จากคุณ : กลด - [ 17 มิ.ย. 48 01:13:36 ]




 

Create Date : 31 ธันวาคม 2548    
Last Update : 31 ธันวาคม 2548 8:51:30 น.
Counter : 723 Pageviews.  

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ CDMA น่าสนใจมาก ตวามรู้ล้วนๆ (จากกระทู้ห้องมาบุญครอง)

*** ตัดมาแปะเก็บไว้ จากกระทู้ที่ผมเคยตอบในห้องมาบุญครองนะครับ ***

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ CDMA น่าสนใจมาก ตวามรู้ล้วนๆ

หลังจากที่มีการถกเถียงกันว่า ระบบ cdma ทำงานยังไงทำไหมมันถึงตัดเสียงรบกวนได้ผมก็เลยอยากจะมา อธิบายให้รู้ว่ามันทำงานยังไง ผมขอยกตัวอย่างจากกระทู้เดิมมาหน่อย
"ไม่เข้าใจ Mto V680 ระบบ CDMA ตัดเสียงรบกวนยังไง
อธิบายให้ทราบหน่อยครับ ผู้รู้และผู้ที่เคยใช้ ไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะตัดเสียงรบกวนได้จริงหรือเปล่า"

# มันเป็นเทคโนโลยีของ CDMA โดยเฉพาะเลยครับเนื่องจากระบบ CDMA จะทำการเข้าโค้ด แบบ CELP เป็นการเข้า code โดยใช้เสียงเพราะฉะนั้น การเข้า code แบบนี้จะทำการ modurate ให้มีค่า ตาม code นั้นหลังจากนั้น ก็จะเกิด noise ใน code นั้นทำให้ระบบมี noise เป็นตัวป้องกันในการดัดฟัง หลังจากนั้นมาฝั่งเครื่องรับ ก็ทำการ modurate กลับมาอีกครั้งหนึ่งแต่ครั้งนี้ล่ะจะทำการ modurate ครั้งเนี้ยล่ะมันจะทะการดึง noise ทุกอย่างออกจาก ระบบเสียงด้วยดังนั้นมันเลยที่จะสามารถที่จะได้ยินเฉพาะคู่สนทนาด้วยกันเท่านั้น แต่ระบบ GSM จะเข้า code แบบ PCM เลยไม่สามารถทำได้ถึงแม้จะมีระบบ เสริม อย่าง EFR เข้ามาช่วยก็ตามคับ ตามความสามารถของระบบแล้วตั้งแต่ AMPS (Analog) นั้น GSM (Digitel) จะดีกว่าระบบเก่าถึง 3เท่า แต่ CDMA จะดีกว่า AMPS ถึง 10 เท่า เพราะฉะนั้น CDMA จะดีกว่า GSM กี่เท่าคิดเล่นๆดูคับแต่รับรองว่าดีกว่า GSM มากกว่า 1เท่าแน่นอนครับ

# เรียนคุณ #3

ระบบตัดเสียงรอบข้างที่ว่านั่น กับ cdma นี่คนละเรื่องกันครับ และ CELP ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีของ cdma โดยเฉพาะ ( GSM EFR ก็เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจาก CELP เหมือนกัน)

การเข้ารหัสเสียงใน cdma2000 1x เป็น EVRC ครับ มี MOS ใกล้เคียงกับ GSM EFR มาก แทบไม่ต่างกันเลย

เรียนคุณ #4

"CDMA ดีกว่า GSM แน่ๆครับ ผมเชื่ออย่างนั้น แต่ ผู้ให้บริการกำลัง ทำให้คนไทย คิดว่า CDMA มันห่วย มันแย่ ไหมเนี่ย"

อาจจะลองคิดมุมกลับดูอีกทีนะครับ

"ผู้ให้บริการกำลังทำให้คนไทยคิดว่า CDMA มันดีเยี่ยมยอดไม่มีใครเทียบได้"

คุณว่างั้นหรือเปล่า

อย่าลืมว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของเครือข่าย cdma นะครับ จำนวนผู้ใช้ในเครือข่ายยังไม่ถึงจุดวิกฤติของ capacity ของระบบครับ ลองสังเกตไปเรื่อยๆจนมีผู้ใช้ซักห้าล้านคน แล้วลองมาโพสต์เล่าให้กันฟังอีกทีว่าคุณภาพเป็นยังไงบ้าง

จากข้อมูลข้างบนนั้น ผมอยากที่จะอธิบายให้ฟังว่ามันมาจากระบบแน่นอน 100% คับ อย่างทีคุณคนแรกบอกมันใช้เลยคับว่าระบบ CDMA เข้า code แบบ CELP น่ะคับ ไม่ใช่แบบ EVRC เพราะระบบพื้นฐานในการเข้า code ของ CDMA จะ ใช้การเข้าแบบ CELP ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า speech coding or Source code เช่นระบบ GSM ก็เข้าอีกแบบคือ PCM ที่ 13kbps แบบนี้ไงคับเราเรียกว่า speech code ส่วน EVRC นั้นมันเป็น System คับไม่ใช้ Speech code ซึ่ง EVRC ก็มีการ speech code อีกแบบคือ RCELP คับ ซึ่งเทคโนโลยีนี้มันเป็นเทคโนโลยี ของ IS-127 ไม่ใช่ IS-95 น่ะคับ ซึ่ง ระบบ system แบบ EVRC ก็ยังเข้า coding แบบ CELP อยู่ดีล่ะคับ แต่สิ่งที่ CDMA นี้มีความสามารถตัดเสียงรบกวนได้นั้นมันได้มาจากสิ่งเหล่า เลยน่ะคับ แต่มันเกี่ยวตรงการเข้ารหัสต่างหาก CDMA มันจะเข้ารหัส แบบ DSSS ซึ่งคุณสมบัติแบบ นี้มันจะสามารถที่จะสร้าง band ที่แคบ ยืดออกให้กว้างได้ หลังจากนั้นมันจะถูกสร้าง Noise ขึ้นมาผสมกับ code ในลักษณะ widebrand ที่ถูกเข้ารหัสไว้หลังจากนั้นพอถึงผู้รับอีกคนก็ กรองเอาเฉพาะ Narrow brand มาเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนที่รับจะได้ยินแต่เสียงเราเท่านั้น เช่น คุณไปยืนคุณข้างถนน มันก็มี Noise อยู่แล้วคุณก็คุยไปด้วยระบบก็จะได้รับทั้ง Noise จากถนน และเสียงคุณ และมันจะถูก Encode แบบ DSSS เสียงคุณกับรถมันก็ปนกันไปในเครือข่าย แต่พอถึงผู้ระบบ ระบบมันจะ DemoS widebrand ตัวนั้นออกมามันก็จะได้ Narrowbrand มา เพราะฉะนั้น Noise มันก็เลยไม่ถูก MOS มาด้วยเพราะว่ามันไม่ได้ถูก เข้า code ให้มีรหัสเดียวกันดังนั้นคุณจึงจะได้แต่เสียงที่ถูกเข้ารหัสไว้เท่านั้นเอง ถ้าพูดแบบง่ายก้คือ คุณ ส่งเลขข้อหนึ่งให้เพื่อน แบบว่า คุณมีเลฃ10,20,30 แบบนี้คือ สิ่งที่คุณต้องการส่ง หลังจากนั้นคุณก็เอา 10 คูณเข้าไปคุณจะได้ 100,200,300 เลข 10 นั้นคือการ MoS หลังจากนั้นคุณเขียนเลฃเพิ่งเข้าไปอีกเช่น 1,23,19,25 อะไรก็ได้สมมตินี้คือ Noise มันก็จะปนกับตัวเลขของคุณ เป็น 100,1,200,23,300,19,25 หลังจากนั้นคุณก็ส่งกระดาษให้เพื่อน คุณ เพื่อนคุณก็รู้กันว่า มันจะต้องเอาเอา 10 หารเลขทุกตัว สมมุตินี้คือการ DeMoS เพราะฉะนั้นเพื่อนคุณก็จะได้เลขดังนี้ 10,0.1,20,2.3,30,1.9,2.5 ดังนั้นเพื่อนคุณก็รู้กันว่านิสัยคุณชอบที่จะให้เขียนเลขที่เป็นจำนวนเต็มไม่ใช้ทศนิยม เพื่อนคุณก็เลยเลือกแค่เลยที่เป็น จำนวนเต็มมาตอบข้อสอบที่กำลังลอกอยู่ สมมุติเหตุการแบบนี้ว่า มือถือใช้ BPQK ดึงข้อมูลออกมา เพราะฉะนั้นคำตอบที่เพื่อนคุณได้รับมันก็จะเป็นแบบเดียวกับที่คุณอยากส่ง คือ 10,20,30 แบบนี้ล่ะคับคือ ความสามารถของ ระบบ CDMA เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามมัน ก็กรอง Noise ได้อยู่ดีเพราะฉะนั้น Hutch นั้นเข้าได้เอาความสามารถของระบบมาเป็นจุดขายนั้นเอง คับ ต่อมาว่า ถ้ามีคนใช้ เยอะจะแย่ไหม จะถึงจุด วิกฤตของ capacity ไหม ขอตอบว่าอยากคับ เพราะว่าแค่ 5 ล้านยังอ่อนไปคับ USA มีพลเมืองตั้งเท่าไร ใช้ CDMA เป็นหลัก ยังไม่ล่มเลย มันอยากคับที่จะแย่คุณลองคิดดูแล้วกันว่า มันเข้ารหัสได้เป็น 10 ล้านคับ นานกว่าวจะเต็มคับ กว่ารหัสจะเต็ม มันไม่เหมือนใช้ Cell หรอกคับ ส่วนที่ว่า ต่อมาว่าทำไหม Hutch บ้านเราถึงห่วย มันก็ไม่ใช้หรอกคับ มันเป็นตรงที่ว่าเราห่วยมากกว่าคุณลองคิดดูว่า ก.ส.ท ไปเซ็นสัญญาณแค่กี่ปีเองมันก้มีให้เราใช้แล้ว ถึงขนาดว่าเราไปขู่ว่าถ้าไม่เสร็จตามกำหนดก็จะโดน ฟ้อง ดังนั้นก้แบ่งกันไปว่า ในกรุงเทพและเขตปริมนฑลบ้างจุด และตามอำเภอเมืองหลัก hutch วาง และต่างจังหวัดตรงบริเวณอื่น และปริมนฑลเขตที่นอกเหนือจาก hutch
ก.ส.ท วางระบบ แต่ทุกวันนี้ที่มีใช้ Hutch ก็วางหมดแล้วตามสัญญา แต่ ก.ส.ท ยังไม่เริ่มเลยนี้คับ ถึงขนาดว่า hutch ต้องนำเอา ทีมงานชาวเกาหลีของตยเองเข้ามาเลย ตอนวางนี้ทำงานกันข้ามคืนเลยที่เดียวล่ะเหนื่อยมาก บางวันนอนแค่ 1 ชม.เอง แล้วแบบนี้คุณว่าใครแย่กันแน่ล่ะคับ ก็เอาเป็นว่าขอจบเรื่อง CDMA เท่านี้แล้วกันน่ะคับอย่างน้อยผมก็หวังว่าคงมีประโยช์นกับใครบ้างน่ะคับสักคน

จากคุณ : Communicator - [ 11 ก.ย. 46 01:05:38 A:203.148.136.67 X:203.209.49.135 ]





ความคิดเห็นที่ 1

เอาเป็นว่าผมไม่ใช้ cdma

จากคุณ : วี - [ 11 ก.ย. 46 02:38:06 ]




ความคิดเห็นที่ 2

"USA มีพลเมืองตั้งเท่าไร ใช้ CDMA เป็นหลัก ยังไม่ล่มเลย"
ว่าแต่ในอเมริกาใช้ 1900 ไม่ใช่เหรอครับ หรือผมเข้าใจผิดหว่า

จากคุณ : อยากรู้เฉยๆ - [ 11 ก.ย. 46 07:13:55 A:203.149.6.102 X: ]




ความคิดเห็นที่ 3

อ้อ จาก "ต่อมาว่าทำไหม Hutch บ้านเราถึงห่วย มันก็ไม่ใช้หรอกคับ มันเป็นตรงที่ว่าเราห่วยมากกว่า"

งงอ่ะ ทำไมฮัทช์ห่วยแล้วจึงมาว่าเราห่วยอ่ะ
หรือว่า "กรณีลูกค้าใช้งานไม่ได้เนื่องจากการขยายเครือข่ายไม่ทัน เป็นความผิดของ กสท ไม่ใช่ของ hutch เพราะ hutch ขายอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและบริการ"

ผมแค่มาถามเฉยๆนะอย่าเพิ่งมาโกรธกันนะครับ หรือพาลว่า เนเพราะผมอยู่ฝ่ายไหนค่ายไหนนะครับ เพราะนี่คือห้อง cafe เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือความสนใจ/อยากรู้ ไม่ใช่เหรอครับ
^^

จากคุณ : อยากรู้เฉยๆ - [ 11 ก.ย. 46 07:20:10 A:203.149.6.102 X: ]




ความคิดเห็นที่ 4

ความคิดเห็นที่ 2

"USA มีพลเมืองตั้งเท่าไร ใช้ CDMA เป็นหลัก ยังไม่ล่มเลย"
ว่าแต่ในอเมริกาใช้ 1900 ไม่ใช่เหรอครับ หรือผมเข้าใจผิดหว่า

จากคุณ : อยากรู้เฉยๆ - [ 11 ก.ย. 46 07:13:55 A:203.149.6.102 X: ]


==

คือ ที่นี่ USA มีหลายระบบครับ ที่ใหญ่ๆที่เป็น CDMA ก็มี Verizon, Nextel, Sprint (PCS cdma 1900mhz), Alltel ,US-cellular, etc.
และก็มีที่เป็น GSM คือ
Cingular,AT&T, T-Mobile, etc. (แถบเหนือใช้ 1900 Mhz, กลาง + ล่าง และที่เพิ่งติดตั้งเพิ่มเป็น 850 Mhz)

และก็มีที่เป็น TDMA อยู่แต่ตอนนี้กำลังทยอยเปลี่ยนเป็น GSM 850Mhz ครับคือของ Cingular, AT&T ครับผม

แต่ผมยังคิดว่าส่วนใหญ่เลยจะใช้ CDMA ของ Verizon มากที่สุดนะครับ

จากคุณ : hotdog - [ 11 ก.ย. 46 08:24:04 ]




ความคิดเห็นที่ 5

xxx

แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 46 10:48:08

จากคุณ : The GreatesT ZeacaR - [ 11 ก.ย. 46 08:27:23 ]




ความคิดเห็นที่ 6

ผมว่า ไม่เกี่ยวกันเลยนะครับ คุณ คคห. 5 .. อย่าจ้องหาเรื่องจนเกินไปนักเลยครับ บางเรื่องมันไม่เกี่ยว ก็อย่าทำให้มันต้องเกี่ยวเลย

อีกอย่าง ประโยคนี้ "ขี้ข้า AIS ก็ต้อง โง่ต่อไปนะครับ" เท่ากับคุณดูถูกคนใช้ GSM / AIS ทุกคนนะครับ

จากคุณ : cyBer Being - [ 11 ก.ย. 46 08:40:31 ]




ความคิดเห็นที่ 7

คุณ คคห. 5
ความโง่ความฉลาด ไม่ได้อยู่ที่การเลือกใช้ระบบโทรศัพท์อะไร คนที่ใช้หรือคิดไม่เหมือนคุณไม่ได้หมายความว่าเขาโง่กว่าคุณ คนที่โง่ก็คือคนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่นนั่นแหละ
ความมีเสรีภาพทางความคิด ก็ต้องยอมรับด้วยว่าคนอื่นอาจคิดไม่เหมือนตัวเอง

จากคุณ : * - [ 11 ก.ย. 46 09:05:06 A:203.113.60.75 X: ]




ความคิดเห็นที่ 8

เห็นด้วยกับ มิสเตอร์ไซเบอร์คับ อิๆ

จากคุณ : เท่งทึง - [ 11 ก.ย. 46 09:05:41 ]




ความคิดเห็นที่ 9

ขอบคุณคุณ hotdog(คห.4) ครับ
อ้อ...
คุณ The GreatesT ZeacaR เค้าก็เป็นงี้แหละครับเพื่อนๆพี่ๆ เที่ยวกัดใครไปทั่ว เดี๋ยวต้องพาไปเอาหมาออกจากปากซะหน่อยแล้ว สงสัยคงว่างจากเรียนมากเกินไป 555
ผมเห็นนะ แต่ก่อนก็ชอบไปกัดคุณ kin แต่พอถูก คุณ kin+เพื่อนๆเค้า ทั้งในพันทิพย์ และ hutch club จับได้และช่วยกันยำ ก็เลยกลัวหัวหด เหมือนหมาโดนน้ำร้อนลวก
เป็นไงล่ะ บางกระทู้ไม่กล้าเข้าไปว่าคุณ kin เลย หลังถูกจับได้ว่าเป็นใคร เรียนที่ไหน หอไหนใช่มั้ย คุณ
The GreatesT ZeacaR
555

จากคุณ : เซ็งพวกปัญญาอ่อน - [ 11 ก.ย. 46 09:36:31 A:203.149.6.102 X: ]




ความคิดเห็นที่ 10

การเลือกใช้ระบบใดนั้น มันไม่ได้แสดงถึงความโง่ แต่มันเป็นการเลือกใช้ในสิ่งที่เหมาะกับความต้องการใช้งาน กำลังในการจ่าย ของคนๆนั้น

แต่การที่มาแสดงความคิดเห็นอย่าง คห.5 นี่แหละ เป็นการแสดงความโง่ให้คนอื่นเค้าเห็นกันหมดต่างหาก

จากคุณ : lekgear - [ 11 ก.ย. 46 09:53:34 ]




ความคิดเห็นที่ 11

สงสัยข้อมูลของคนตั้งกระทู้ครับ

ถ้า 10, 20, 30 นี่คือข้อมูลที่ต้องการส่งเปรียบได้กับเสียง 1,2, 3 เป็นเสียงรบกวนมันเกิด Noise เข้าไปผสมกับข้อมูลก็จะเป็น 11, 22, 33 อะไรประมาณนี้เพราะเปรียบได้เหมือนกับเสียงพูดจะถูกผสมกับเสียงรบกวนรอบข้าง

เมื่อเข้ารหัส(X10) ก็จะได้ 110, 220, 330 ส่วนเมื่อเวลาส่งแล้วมี Noise (ของการสื่อสาร)จะก็เลยมีข้อมูลแทรก เป็น 110, 19, 220, 5, 330.. เมื่อถอดรหัสก็จะสามารถถอดข้อมูลต้นฉบับได้ แต่อย่างไรก็ตามเสียงต้นฉบับจะถูกผสมกับเสียงรบข้างอยู่ดี เพราะว่าข้อมูลถูกผสมกับ Noise ก่อนที่จะเข้ารหัสนะครับ

แล้ว CDMA มันช่วยได้อย่างไร สงสัยจริง ๆ

จากคุณ : paween_a - [ 11 ก.ย. 46 10:13:24 ]




ความคิดเห็นที่ 12

แล้วจะด่ากันทำแป๊ะไรเนี่ย ท่านทั้งหลาย



จากคุณ : มีนะ กะ กาโม่ - [ 11 ก.ย. 46 10:17:41 ]




ความคิดเห็นที่ 13

สำหรับคำถาม

ค.คห.3# อ้อ จาก "ต่อมาว่าทำไหม Hutch บ้านเราถึงห่วย มันก็ไม่ใช้หรอกคับ มันเป็นตรงที่ว่าเราห่วยมากกว่า"

งงอ่ะ ทำไมฮัทช์ห่วยแล้วจึงมาว่าเราห่วยอ่ะ
หรือว่า "กรณีลูกค้าใช้งานไม่ได้เนื่องจากการขยายเครือข่ายไม่ทัน เป็นความผิดของ กสท ไม่ใช่ของ hutch เพราะ hutch ขายอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและบริการ"

ผมแค่มาถามเฉยๆนะอย่าเพิ่งมาโกรธกันนะครับ หรือพาลว่า เนเพราะผมอยู่ฝ่ายไหนค่ายไหนนะครับ เพราะนี่คือห้อง cafe เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือความสนใจ/อยากรู้ ไม่ใช่เหรอครับ

ผมไม่โกรธหรอกคับกับคำถามเนี้ยขอบคุณน่ะคับที่ถาม อันที่จริงแล้วที่ผมว่าห่วยมันได้เกี่ยวอะไรกับ network เลยคับแต่ที่ผมว่าคือ นิสัยแล้วความเป็น มาตรฐานให้โลกยอมรับไงคับ คือการที่ hutch เข้ามาร่วมหุ้นกับ ก.ส.ท นี้ก็เป็นเพราะว่า ก.ส.ท ผิตหวังการรวมตัวกับ
ทศท ทำให้ต้องมาหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่แทน และ ทศท ก็หันหน้าไปสบอก AIS แทน ดังนั้นในเมื่อ ก.ส.ท มีสัมปทาน cdma อยู่แล้วก็ต้องหาผู้ ร่วมลงทุนเป็น cdma เช่นกัน ซึ่งตอนแรก company ที่มองไว้หรือ ตะวันโมบาย แต่ก็ต้อง ขอลาด้วยทุนจดทะเบียนที่น้อยมากของ บริษัท แค่ 1ล้านบาท ทำให้รู้สึกว่ามันจะไปไม่รอดก็เลยต้องวิ่งหาเจ้าอื่น สุดท้ายมาลงเอย ที่ ฮัทชิสัน วัมเป่า ก็เลยลงด้วยเพราะเนื่องจากเงินจดทะเบียน มีมากพอ teamwork มีพร้อม มีความเชี่ยวชาญในการวางระบบ ที่สำคัญคือมีเทคโนโลยีที่เข้าใกล้ 3 G มากที่สุดก็เลยเอา เพื่อเป็นการแข่งขันระหว่าง cat and tot ก็เลยเซ็นต์สัญญาแต่ในเมื่อ TOT เปิดตัวแล้วตัวเองก็อยากบ้างดังนั้นคนที่ซวยสุดคือ วัมเป่า ที่ต้องโดนขีดเส้นตายว่าต้องให้เสร็จตามกำหนดมิฉะนั้นอาจโดนฟ้องได้ ซึ่งการวางระบบนั้นก็ได้ทำการแบ่ง area กันไป อย่างที่บอกในข้อความข้างบนล่ะคับว่า hutch วางตรงไหนบาง และน่ะปัจจุบัน hutch วางในส่วนของตัวเองหมดแล้ว เปิดตัวขายแล้ว แต่ ก.ส.ท ยังไม่เริ่มวางของตัวเองเลย ดังนั้นในสิ่งที่ผมพูดอยู่นี้ว่าเราห่วยก็คือ เราไม่อาจที่จะมีวินัยไปสู้ต่างชาติได้ เหมือนคุณทำรายงานกับเพื่อนอ่ะคุณสั่งให้เขาทำของเขาให้เสร็จเร็วแต่พอเขาเสร็จคุณ ก็ยังไม่เริ่มเลยคุณว่า ใครแย่ล่ะ ณ บัดนี้การวาง เครือข่ายของ กสท.ก็ยังไม่เริ่มเพราะ ยังมีการทะเลาะกันในวงในอยู่ และยังมีเรื่องของการ แปลงสัมปทานอีก ว่าง่ายคือว่า hutch ตอนนี้ก็ขมขืน อยูเหมือนกัน ที่ได้เจอแบบนี้แต่ก็ไม่หยุดที่จะทำต่อโดยการควักเงินตัวเองลงทุนเอง ฉะนั้นผมจะบอกอะไรให้ถ้า hutch ทนไหมไหวเราทุกคนก็ถูกลอยแพกันหมดแล้ว ซึ่ง ณ ปัจจุบัน hutch ก็ควันเงินของตัวเองมาลงทุกอยู่ แถมตอนนี้ที่คนร้องเรียน ว่าระบบแย่ และ hutch ก็ไม่สนใจเนื่องจาก hutch ทำดีที่สุดแล้วจะยอมขาดทุนโดยการลงทุนเพิ่มแต่ cat ก็กักไว้ไม่ยอม ดังนั้นคนที่ได้รับผลกระทบ ก็คือพวกเราเนี้ยล่ะคับที่โดน

จากคุณ : Communicator - [ 11 ก.ย. 46 10:31:07 A:203.148.136.66 X:203.209.51.114 ]




ความคิดเห็นที่ 14

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ และชื่นชมในความกล้าของเจ้าของกระทู้ครับ เอาใจช่วยครับ ทั้งคุณและคุณ Kin :)

คุณ #11 ครับ
นั่นมันแค่ตัวอย่างครับ algorithm ที่เค้าใช้จริงๆ มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะครับ ไม่ใช่แค่บวกๆลบๆ นะครับ

จากคุณ : JFlame - [ 11 ก.ย. 46 10:49:46 ]




ความคิดเห็นที่ 15

ผมไม่ได้หนี หรือ อะไรนะครับ ผมแค่ ไม่อยากทะเลาะกับ ขี้ข้า Kindaichi อะไรนั่นครับ เขาอันธพาล น่ารำคาญ เสียเวลา

ผมหยุดแล้ว แต่ พวกคุณไม่หยุด ก็ด่ากันตามสบายครับ เปิดโปงอะไรผมเหรอครับ 555 ขำนะ

สรุปแล้ว ผมเรียนที่ไหน หอไหนล่ะครับ ลองบอกมาสิครับ 555

จากคุณ : The GreatesT ZeacaR - [ 11 ก.ย. 46 10:49:53 ]




ความคิดเห็นที่ 16

กระทู้ให้ความรู้ กลับมาทะเลาะกัน -_-'



จากคุณ : mLIFE - [ 11 ก.ย. 46 10:54:50 ]




ความคิดเห็นที่ 17

ตอบคำถาม คคห11.

สงสัยข้อมูลของคนตั้งกระทู้ครับ

ถ้า 10, 20, 30 นี่คือข้อมูลที่ต้องการส่งเปรียบได้กับเสียง 1,2, 3 เป็นเสียงรบกวนมันเกิด Noise เข้าไปผสมกับข้อมูลก็จะเป็น 11, 22, 33 อะไรประมาณนี้เพราะเปรียบได้เหมือนกับเสียงพูดจะถูกผสมกับเสียงรบกวนรอบข้าง

เมื่อเข้ารหัส(X10) ก็จะได้ 110, 220, 330 ส่วนเมื่อเวลาส่งแล้วมี Noise (ของการสื่อสาร)จะก็เลยมีข้อมูลแทรก เป็น 110, 19, 220, 5, 330.. เมื่อถอดรหัสก็จะสามารถถอดข้อมูลต้นฉบับได้ แต่อย่างไรก็ตามเสียงต้นฉบับจะถูกผสมกับเสียงรบข้างอยู่ดี เพราะว่าข้อมูลถูกผสมกับ Noise ก่อนที่จะเข้ารหัสนะครับ

แล้ว CDMA มันช่วยได้อย่างไร สงสัยจริง ๆ

คุณกำลังเข้าใจผิดแล้วคับ มันเป็นแบบนี้ การที่คนเราสนทนา นั้นคือ data รวมทั้งเสียงรอบข้างด้วย ต่อมา data เหล่านี้จะถูกทำการ Mos โดยการนำ code ที่มีอยู่ทำให้เกิดเปิน widebrand หลังจากนั้นมันจะทำการส่งออกไปในรูป ของ widebrand พอมาถึงผู้รับ มันก็จะทำการ DeMoS โดยการ นำเอา widebrand อีกตัวเข้ามาถอดรหัส หลังจากนั้นมันก็จะเกิด Narrowbrand ซึ่ง มันก็คือ DATA ของมันนั้นเอง แต่คุณคงส่งสัยน่ะสิว่าก็นั้นล่ะใน data เมื่อกี้มันมี noise ของถนนปนมาด้วย แล้วก็ได้ยินอยู่ดี ใช่คับมันมาด้วยแต่ ระบบจะทำการ เอาส่วนที่มันอยู่สูง กว่า Noise Level มาใช้งานครับ ซึ่ง noise ที่คุณว่านั้นมันน้อยมากคับ ผมจะเเสดง ตัวอย่างให้ดูอีกครั้งหนึ่ง

สมมติคุณ ไปคุยโทรศัพท์ริมถนน มันก็จะได้ทั้งเสียงรถและคุณ ใช้ไหมคับ ต่อมาผมขอถามไว้ก่อนเลยว่า เสียงที่คุณคุยกับเสียงรถที่กวนเข้ามาเสียงไหนชัดกว่ากันก็ต้องเป็นเสียงคุณใช่ไหมเพราะว่าปากคุณจ่อกับ mic อยู่แต่รถไม่ จากตรงนี้มันก็แสดงให้เห็นว่าเสียงที่ได้รับมามันจะเป็นแบบนี้ สมมุติผมให้เสียงคุณเป็น 10k,20k,30k,เสียงรถที่อยู่ไกลออกไปอีกคือ 3k,9k,7k น่ะคับพอมารวมก็คือ 10k,20k,30k,3k,9k,7k นี้ก็คือ data ที่ยังไม่ได้ MoS แต่พอมา MoS โดยการนำเอา 10 คูณบวกกับ Noise ที่ระบบสร้างเพื่อรักษาข้อมูล แล้วกัน ก็จะได้ 1k,100k,200k,300k,30k,90k,70k,6k,8k,32k,95k
น่ะคับต่อมาผู้รับบ้าง มันก็จะถูกเอาเลขที่ MoS นั้นมา DeMoS คับ ดังนี้ เอา 10 หาร เข้าไปก้ได้ 0.1,10,20,30,3,9,7,0.6,0.8,3.2,9.5 พอหลังจาก DeMos แล้วก็จะได้ดังนี้ต่อมาระบบก้จะทำการกรอง Data แล้วคับโดยใช้ Noise Level เป็นตังกรองด้วย สมมุติว่า Noise Level กำหนดว่า X< or = 10 ดังนั้นพอกรองมาก้จะได้ 10,20,30 เท่านั้นเองคับ ส่วนตัวอย่างของคุณนั้น มันผิตตรงที่ว่า เลข 1,2,3 นั้นมันจะไม่ถูกไปรวมกันแบบนี้คับ 11,22,33 เพราะการรวมมันจะนำเอาความถี่ที่ได้มาวางเรียงกัน ไป 1,2,3,10,20,30 แบบนี้คับ แต่จะไม่นำมารวมแบบ + กันคับ ถ้าในสิ่งที่คุณเข้าใจแบบนั้นก็คือการ Mix ความถี่คับ

จากคุณ : Communicator - [ 11 ก.ย. 46 11:05:16 A:203.148.136.66 X:203.209.51.114 ]




ความคิดเห็นที่ 18

ขอแก้คับ เขียนเครื่องหมายคับ
X > หรือ = 10 คับ

จากคุณ : Communicator - [ 11 ก.ย. 46 11:20:06 A:203.148.136.66 X:203.209.51.114 ]




ความคิดเห็นที่ 19

รู้แต่อย่างเดียวว่า โฆษณา เกิน จริง
อะไรมันจะตัดเสีย เพลงใน เทค ได้ ซะขนาด คนที่รับ ได้ยินเสียง คนอีกฝั่งที่โทรมา ชัดขนาดนั้นเลยหรือ

เอ อยู่ใน เทค
บี โทรหา เอ
เอ รับ บี บีได้ยิน เอ ชัดเจน มีเสียงเพลงในเทค บ้าง เล็กน้อย
แต่ ทำใม เอ ได้ยิน บี ชัดเจนด้วยล่ะ ยืนคุยกันเฉยเลย

เสียงเพลงมันไม่กลบเสียง บี หมดหรือ

ยังไง ก็ยืนคุยแบบนั้น ไม่ได้หรอก

จากคุณ : ครับผม - [ 11 ก.ย. 46 12:21:19 A:203.107.205.66 X: ]




ความคิดเห็นที่ 20

พฤติกรรมเดิมๆสำหรับนายคนนี้

จากคุณ : วี - [ 11 ก.ย. 46 12:25:10 ]




ความคิดเห็นที่ 21

ความเห็นที่ 5 ดั้งเดิมเป็นแบบนี้ครับ

===================================
CDMA ห่วย เพราะ เมืองไทย มีผู้มีอิทธิพล ครอง GSM อยู่ไงครับ

ขี้ข้า AIS ก็ต้อง โง่ต่อไปนะครับ ถ้ามีระบบที่ดีกว่า

ยุค สมัยเปลี่ยนไป Cellular ยังเปลี่ยนเป็น GSM เลยครับ เป็น กบต่อไปนะ

ขี้ข้า

จากคุณ : The GreatesT ZeacaR - [ 11 ก.ย. 46 08:27:23 ]

จากคุณ : วี - [ 11 ก.ย. 46 12:54:28 ]




ความคิดเห็นที่ 22

ขอบคุณ communicator ครับ

จากคุณ : paween_a - [ 11 ก.ย. 46 13:30:13 ]




ความคิดเห็นที่ 23

อืมม กระทู้ดีนะ ให้ความรู้ ขอบคุณคุณ Communicator นะ
คห 19 ครับ เคยคิดเหมือนกัน แต่คิดว่าเขาพยายามสื่อให้เห็นคุณสมบัติเรื่องเสียงนะครับ ขายคนไทยก็ต้องตามตลาดหน่อย ต้องอยู่ในผับ แต่งตัวโก้หรูไง ไม่งั้นสู้ค่ายเหนือระดับไม่ได้หรอก ผมว่านะเอาแบบนี้ไหม ทันสมัยดีนะ --- สามีกำลังสนุกอยู่ในอ่างเดวิสคัพ (ซี ขึ้นไป) แล้วอยู่ๆ โทรศัพท์ก็ดังขึ้น...ไอ้หยา...ภรรยาโทรมา...ด้วยคุณสมบัติของระบบนี้สามารถตัดเสียงรอบข้าง (เสียงอืออา..xxx) แล้วก็บอกกับภรรยาว่า "กำลังประชุมจ๊ะ"--- อย่าคิดมากเลยครับ

อ้อ คุณ The Greatest อะไรเนี่ยใช้โทรศัพท์ค่ายไหนอยู่อะครับ อยากรู้จังงงงงง

จากคุณ : Shinikuman - [ 11 ก.ย. 46 14:26:21 ]




ความคิดเห็นที่ 24

ขอขอบคุณ คุณ communicator มากๆเลยครับ
ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ากระทู้นี้ให้ความรู้มากๆ
ขอเอาใจช่วยนะครับ ถึงแม้ผมจะไม่ได้ใช้ CDMA
แต่รู้ก็ดีกว่าไม่รู้ครับ .......
ปล เราจะทะเลาะกันให้ได้อะไรขึ้นมาครับ งง

จากคุณ : R_CLub - [ 11 ก.ย. 46 14:42:07 ]




ความคิดเห็นที่ 25

ความคิดเห็นที่ 23.
ไม่ใช่อะไรหรอกครับ
เดี๋ยวจะโดนอีก เพราะ ถ้าเขาเอาไปใช้จริงๆแล้วมันไม่เป็นอย่างใน โฆษณา ก็ โดนอีก

อาการที่ คนแรกในโฆษณานั้น เป็น
เป็นอาการ ของ คนคนนั้นไม่ได้ยินเสียง อีกฝั่งนึงต่างหาก ไม่ใช่ ฝั่ง โน้น ไม่ได้ยิน จนต้องตะโกน


จากคุณ : ครับผม - [ 11 ก.ย. 46 15:25:04 A:203.107.205.66 X: ]




ความคิดเห็นที่ 26

กระทู้นี้ให้ความรู้ดีค่ะ ขอบคุณ
แต่ไม่น่ามีคนมาป่วนเลยเนอะ

จากคุณ : หงส์แดงไม่แรงอย่างใจ (nueng00) - [ 11 ก.ย. 46 15:36:36 ]




ความคิดเห็นที่ 27

พออ่าน คห.ที่25 คุณครับผม แล้วผมต้องบอกว่า ใช่เลยครับ นึกได้แล้วว่า "ในโฆษณาเนี่ย อาการที่ คนแรกในโฆษณานั้น เป็น อาการ ของ คนคนนั้นไม่ได้ยินเสียง อีกฝั่งนึงต่างหาก ไม่ใช่ ฝั่ง โน้น ไม่ได้ยิน จนต้องตะโกน...
แต่ทางฮัทช์ กลับสื่อถึงคนที่สองว่า ได้ยินเสียงทางโน้นชัดเจนดีโดยคนในเทคไม่ต้องพยายามฟังมากเหมือนคนแรก ซึ่งผิดหลักการนี่ครับ ผิดชัดเจนเลย จริงๆแล้วทางฮัทช์ต้องสื่อว่า คนที่อยู่ข้างนอก ได้ยินเสียงคนในเทคต่างหาก ถูกต้องมั๊ยล่ะ อย่างงี้ก็หลอกลวงกันเห็นๆเลย หลอกลวงกันเห็นๆเลย เป้นโฆษณาที่ทำให้เราเข้าใจผิด (จริงๆคนในเทคก็คงได้ยินคนข้างนอกโทรมาชัดหรอกเพราะเสียงทคมันดังนี่นา)" ขอบคุณคุณครับผมครับที่ช่วยชี้แนะ

จากคุณ : . - [ 11 ก.ย. 46 15:56:14 A:203.149.6.102 X: ]




ความคิดเห็นที่ 28

แก้คห.27 ตรงช่วงท้าย
(จริงๆคนในเทคก็คงได้ยินคนข้างนอกโทรมาชัดหรอกเพราะเสียงทคมันดังนี่นา)
เป็น
(จริงๆคนในเทคก็คงได้ยินเสียงคนข้างนอกโทรมา "ไม่" ชัดหรอกเพราะเสียงเทคมันดังนี่นา ...ก็ต้องออกไปคุยข้างนอกอยู่ดีนั่นแหละ)

จากคุณ : . - [ 11 ก.ย. 46 16:06:15 A:203.149.6.102 X: ]




ความคิดเห็นที่ 29

*21 ตะแบงที่กระทู้ //www.pantip.com/cafe/mbk/topic/T2445969/T2445969.html จิกคุณคห.5 ไม่ได้ก็เล่นแปะ link มากระทู้นี้เลยนะ ต๊าย..ตาย คนอะไรใจตุ๊ดส์..

จากคุณ : รู้ทั้งบอร์ดคุณคือหน้าม้า AIS - [ 11 ก.ย. 46 16:59:57 A:210.86.208.192 X: ]




ความคิดเห็นที่ 30

มาเลือกเก็บแต่ความรู้ครับ


จากคุณ : PEDestrain - [ 12 ก.ย. 46 00:29:54 ]




ความคิดเห็นที่ 31

อิอิ หายจ้อย ไม่กล้าสู้หน้า

จากคุณ : วี - [ 12 ก.ย. 46 04:01:22 ]




ความคิดเห็นที่ 32

วันนี้ไม่มีเวลาเขียนมากนัก แต่จะเข้ามาบอกว่า คุณ Communicator เจ้าของกระทู้ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่อง speech coding กับ cdma ครับ (ผิดไปเยอะ คือคุณเอามันมาปนกัน)

เอาไว้ว่างๆจะเข้ามาใหม่

จากคุณ : ขอไปนอนก่อน (บูมเมอร์) - [ 12 ก.ย. 46 05:52:43 ]




ความคิดเห็นที่ 33

ได้ความรู้เพิ่มหลายอย่างเหมือนกันค่ะ
อย่างเรื่อง Operator ของฝั่ง USA นี่ไม่ค่อยรู้เท่าไหร่
ส่วนเรื่องการตัดเสียงรบกวนนี่ไม่น่าจะเรียกเกินจริงอ่ะค่ะ
แต่ว่าเป็นวิธีการโฆษณาของเค้า
เหมือนที่หลายๆระบบก็ทำในรูปแบบอื่นอ่ะค่ะ
:)

จากคุณ : cookiecompany - [ 12 ก.ย. 46 11:38:10 ]




ความคิดเห็นที่ 34

เห็นด้วยกะ cookiecompany


ตอบคุณ Shinikuman
อีตา The GreatesT ZeacaR เนี่ยเค้าใช้ส้มอยู่ค่ะ

จากคุณ : เจเจลุ่มน้ำปิง - [ 12 ก.ย. 46 14:30:13 ]




ความคิดเห็นที่ 35

สวัสดีเช้าวันเสาร์ครับ

วันนี้เป็นวันขี้เกียจ เลยถือโอกาสเข้ามาเขียนอะไรๆแบบขี้เกียจๆตามประสาผมก็แล้วกัน ถือเป็นการตอบคุณ Communicator เจ้าของกระทู้ไปด้วย ทั้งในกระทู้นี้ และในกระทู้ //www.pantip.com/cafe/mbk/topic/T2444809/T2444809.html#8 ด้วยนะครับ

ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ (ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไร...ไม่เป็นไร เดี๋ยวนึกออกเอง) เอามาจากความเข้าใจของผมนะครับ ขี้เกียจไปค้นตำรา (ซึ่งอยู่ห่างจากตัวไปประมาณเจ็ดแปดก้าว) ดังนั้นถ้าขาดรายละเอียดไปบ้างก็คงไม่ว่ากัน และถ้ามันขัดแย้งกับที่คุณเจ้าของกระทู้เขียนมา ขอออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่มีเจตนาในแง่ลบใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นการแบ่งปันความรู้ความเห็นกัน ดังนั้นอย่าโกรธผมนะครับ และหากว่าไม่เห็นด้วย ก็แย้งมาได้ครับ

แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 46 14:58:27

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 10:03:11 ]




ความคิดเห็นที่ 36

เอาล่ะ เริ่มตรงไหนดี...เริ่มจากขั้นตอนคร่าวๆโดยรวมของการแปลงเอาเสียงพูดของเราไปเป็นคลื่นวิทยุในอากาศในระบบ cdma ก่อนดีกว่า

ภาพรวมเป็นดังนี้ครับ

เสียงพูด ---> ไมโครโฟน ---> วงจรเข้าและถอดรหัสสัญญาณเสียง (CODEC--coder & decoder) ---> (ต่อข้างล้าง)

---> แปลงให้เป็นสัญญาณ cdma (เบสแบนด์) ---> แปลงสัญญาณ cdma เบสแบนด์ให้เป็นคลื่นวิทยุ ---> (ต่อข้างล่างอีก)

---> วงจรขยายสัญญาณวิทยุ

วงจร CODEC นั้นทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าซึ่งเป็นอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปดิจิตอล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จาก CODEC นั้นจะมีคุณภาพอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคหรือวิํธีการเข้ารหัสที่เอามาใช้ เช่นในระบบ GSM ก็มี CODEC อยู่ 5 แบบ คือ Full Rate (FR 13.0 kb/s), Half Rate (HR 5.6 kb/s), Enhanced Full Rate (EFR 12.2 kb/s), Adaptive Multirate Full Rate (AMR/FR 4.5-12.2 kb/s) และ AMR Half Rate (AMR/HR 4.5-7.95 kb/s) ซึ่ง CODEC แบบต่างๆในระบบ GSM นั้น ส่วนมากก็ดัดแปลงพัฒนามาจากเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณเสียงที่เรียกว่า CELP--Code-Excited Linear Prediction และ VSELP--Vector Sum Excited Linear Prediction ทั้งสิ้น

ส่วน CODEC ใน cdma นั้น ในระบบ cdma แบบเก่า คือ cdmaOne หรือที่เรียกกันว่า IS-95 นั้น ใข้เทคนิคแบบ CELP ที่ว่านี่ล่ะครับ ส่วน CODEC ที่ใช้ใน cdma 1x นั้นเรียกว่า EVRC--Enhanced Variable Rate Coder ซึ่งเทคนิคที่ใช้ใน EVRC ก็คือ RCELP--Relaxed CELP--เจ้า RCELP นี่ก็พัฒนามาจาก CELP เหมือนกัน

นอกเหนือจาก RCELP แล้ว EVRC ยังเพิ่มส่วน Adaptive Noise Suppression หรือวงจรตัดเสียงรบกวน (จริงๆควรจะเรียกว่า อัลกอริธึมตัดเสียงรบกวน มากกว่า เพราะมันเป็น DSP--Digital Signal Processing) เข่้าไปด้วย นี่คือการตัดเสียงรบกวนที่เค้าโฆษณากัน

การเข้ารหัสสัญญาณเสียงแบบ EVRC นี่ พอเค้าคิดค้นและนำมาใช้งานได้แล้ว ก็เอาไปจดทะเบียนเป็นมาตรฐานกับ TIA/EIA ไว้ซะเรียบร้อย ได้หมายเลขมาตรฐานมาเป็น IS-127 (เหมือนๆกับหมายเลข IS-95 ที่ cdma เอาไปจดไว้ ส่วน CELP นี่ ถ้าจำไม่ผิดคือหมายเลข IS-641)

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 11:12:52 ]




ความคิดเห็นที่ 37

เสริมเรื่องการเข้ารหัสสัญญาณเสียงอีกนิดหน่อย

การเข้ารหัสสัญญาณเสียงให้เป็นดิจิตอลทุกๆวิธีที่ผมเขียนไว้ข้างบน ไม่ว่าจะเป็น GSM FR/HR/EFR หรือ CELP/RCELP/VSELP ทุกอย่างเริ่มต้นจาก PCM หรือ Pulse Code Modulation ทั้งนั้นครับ กล่าวคือสัญญาณเสียง (ที่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าด้วยไมโครโฟน) จะถูก sampling ด้วยความถี่ 8000 ครั้งต่อวินาที (หรือ 8000 Hz ซึ่งเป็นประมาณสองเท่าของแบนด์วิดธ์ของช่วงคลื่นเสียงพูดของมนุษย์--300-3400 Hz) ซึ่งถ้าเป็นการ sampling แบบ PCM เมื่อสมัยสามสิบปีก่อน การ sampling แต่ละครั้งจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสัญญาณดิจิตอล 8 บิท ส่วนการ sampling สำหรับเข้ารหัสเสียงสมัยใหม่นั้น sampling แต่ละครั้งอาจได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสัญญาณ 13 บิท หรือ 16 บิทก็ได้ แล้วแต่เทคนิคและความเหมาะสมของการเข้ารหัสแต่ละแบบครับ

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 11:29:25 ]




ความคิดเห็นที่ 38

เอาล่ะ พอได้ผลลัพธ์ออกมาจากวงจร CODEC แล้ว ทำไงต่อ

ตอนนี้ก็ถึงขั้นตอนการแปลงสัญญาณเพื่อใช้กับระบบ cdma ซึ่งในแผนผังที่ผมเขียนไว้ข้างบน จะอยู่ในขั้นตอน "การแปลงให้เป็นสัญญาณ cdma (เบสแบนด์)" ครับ

การแปลงให้เป็นสัญญาณ cdma เบสแบนด์นั้น เรียกว่า spreading ครับ ซึ่งก็คือการ "แผ่" แบนด์วิดธ์ของสัญญาณเสียงที่เข้ารหัสมาแล้ว ให้มีแบนด์วิดธ์กว้างขึ้น ตัวอย่างเช่น สัญญาณที่ออกมาจาก CELP CODEC มีแบนด์วิดธ์ (หรือความเร็ว) 13 กิโลบิทต่อวินาที ขั้นตอนการ spreading นี่ก็จะแผ่มันออกไปให้เป็น 1.2288 เมกะบิทต่อวินาที (1.2288 Mb/s หรือภาษา cdma เรียกกันว่า 1.2288 Mchip/s--Mega Chip per second) หรือถ้าเป็นสัญญาณที่ออกมาจาก EVRC CODEC ซึ่งมีแบนด์วิดธ์ 4, 8 หรือ 14 kb/s ก็จะถูกนำไปแผ่ให้มีแบนด์วิดธ์เป็น 1.2288 Mchip/s เหมือนกันทั้งหมด ถ้าเขียนแผนผังก็คงได้ประมาณนี้ล่ะครับ

EVRC output (4/8/14 kb/s)
|
|
v
X <--- spreading code
|
|
V
Spread signal (1.2288 MChip/s)

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 11:45:24 ]




ความคิดเห็นที่ 39

Spreading Code ที่เห็นข้างบนนั้น ก็คือ สัญญาณดิจิตอลที่ระบบสร้างขึ้นมาเพื่อเอามาผสมกับสัญญาณเดิม (คือจาก EVRC CODEC) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีแบนด์วิดธ์กว้างขึ้น ในภาษา cdma เค้าเรียกเจ้า spreading code นี้ว่า pseudo-noise หรือแปลเป็นไทยว่า สัญญาณรบกวนจำลอง (นี่ผมแปลของผมเองนะ ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเค้าบัญญัติศัพท์ไว้ว่ายังไง) ที่ว่ามัน "จำลอง" นั้น ก็เพราะว่ามันเป็นสัญญาณดิจิตอลที่ระบบสร้างขึ้น โดยให้มีแพทเทอร์นของสัญญาณนั้นมั่วๆซั่วๆคล้ายๆกับสัญญาณรบกวนจริงๆ (เรียกง่ายๆว่า เป็นความมั่วอย่างมีแบบแผน มั่วอย่างมีระเบียบ ว่างั้นเหอะ)

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 11:56:52 ]




ความคิดเห็นที่ 40

ทำไมต้องมั่วอย่างมีระเบียบด้วยล่ะ มั่วแบบมั่วๆไม่ได้เหรอ

คำตอบก็คือ ไม่ได้ครับ ถ้ามั่วแบบมั่วๆแล้ว ทางด้านเครื่องรับ (ซึ่งก็คือสถานีฐาน--base station) มันจะไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่า สัญญาณมั่วๆแบบนี้มาจากมือถือเครื่องที่หนึ่ง ถ้ามั่วๆแบบโน้นมาจากมือถือเครื่องที่สอง ฯลฯ ดังนั้น มันจึงต้องมั่วแบบมีระเบียบ

ระเบียบที่ว่านั้นก็คือ ความสามารถในการหักล้างกันเอง (ไอ้นี่ก็แปลเอาเองเหมือนกัน มันมาจากคำว่า Orthogonality) ผมไม่รู้จะอธิบายเป็นภาษาคนยังไง เอาแบบคณิตศาสตร์ง่ายๆก็แล้วกัน

ความสามารถในการหักล้างกันเองที่ผมว่ามานั้น ถ้าเขียนเป็นสมการทางคณิตศาสตร์คงได้เป็นทำนองนี้

สมมุติว่าให้ C1 คือ spreading code หมายเลข 1, และ C2 คือ spreading code หมายเลช 2

ถ้า C1 x C2 = 0 เราสามารถกล่าวได้ว่า C1 และ C2 มีความสามารถในการหักล้างกันเอง

อ้าว หักล้างกันเองแล้วมันจะมีประโยชน์ยังไงล่ะเนี่ย ลองมาดูกัน

สมมุติ (อีก) ว่าตอนนี้เรามีมือถืออยู่สองเครื่อง เครื่องแรกมีสัญญาณเสียง(ที่เข้ารหัสแล้ว) คือ V1 ส่วนอีกเครื่องมีสัญญาณ V2

สัญญาณ V1 ถูกผสมด้วย spreading code C1 ส่วนสัญญาณ V2 ถูกผสมด้วย C2

พอมือถือทั้งสองเครื่องส่งสัญญาณออกมาในอากาศพร้อมๆกัน ตัวสถานีฐานก็จะสามารถมองเห็น (หมายถึง รับ) สัญญาณทั้งสองนั้นพร้อมๆกัน ดังนั้น สัญญาณที่สถานีฐานมองเห็นก็คือ V1C1 + V2C2 ใข่ไหมครับ

สถานีฐานจะทำยังไงให้แยกเอา V1C1 และ V2C2 ออกจากกัน...ก็ไม่ยากครับ ที่สถานีฐานก็รู้จัก C1 และ C2 เหมือนกัน เพราะฉะนั้นมันก็เอา C1 และ C2 เข้าไปผสมกับสัญญาณที่ได้รับมาจากมือถือทั้งสองเครื่อง เขียนเป็นคณิตศาสตร์ก็คงได้เป็นดังนี้ครับ

C1 x (V1C1 + V2C2) = V1C12 + V2C1C2 = V1C12 (เพราะ C1 x C2 = 0)
C2 x (V1C1 + V2C2) = V1C1C2 + V2C22 = V2C22 (ด้วยเหตุผลเดียวกัน)

ความสามารถในการหักล้างกันเองนี้เอง ที่เค้าเอามาใช้ในระบบ cdma ครับ

แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 46 12:25:39

แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 46 12:17:38

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 12:15:57 ]




ความคิดเห็นที่ 41

ที่เขียนมาซะยืดยาว จริงๆแล้วก็เพื่อจะบอกคุณ Communicator ล่ะครับว่า คุณสมบัติการตัดเสียงรบกวนที่ว่ากันเนี่ย มันเป็นคุณสมบัติของ ERVC ครับ ไม่ใช่คุณสมบัติของ cdma คุณสมบัติของ cdma ก็คือการ spreading ด้วย spreading code หรือ pseudo noise ซึ่งสามารถหักล้างกันเองได้ (ในเชิงคณิตศาสตร์) นี่ล่ะครับ

ดังนั้นคำว่า noise ของคุณใน "...CDMA มันจะเข้ารหัส แบบ DSSS ซึ่งคุณสมบัติแบบ นี้มันจะสามารถที่จะสร้าง band ที่แคบ ยืดออกให้กว้างได้ หลังจากนั้นมันจะถูกสร้าง Noise ขึ้นมาผสมกับ code ในลักษณะ widebrand..." หมายถึงเจ้า pseudo noise ที่ว่านี่ล่ะครับ ไม่ได้หมายความถึง audio noise ที่มาจากเสียงรอบๆข้างครับผม

ไปดีกว่า ผ้ากองสุดท้ายที่ผมอบไว้คงสุกแล้วล่ะ

แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 46 13:00:54

จากคุณ : บูมเมอร์ - [ 13 ก.ย. 46 12:38:32 ]




 

Create Date : 30 ธันวาคม 2548    
Last Update : 30 ธันวาคม 2548 20:37:21 น.
Counter : 3380 Pageviews.  


บูมเมอร์
Location :
บ้านดุง (Bandung) Indonesia

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บูมเมอร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.