ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

มารู้จักวิธีเลือกซื้อแอร์กันเถอะ

วิธีเลือกแอร์


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองร้อน เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์คอนดิชันเนอร์ จึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นสำคัญที่แทบทุกบ้านขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนอบอ้าวเป็นพิเศษ ดังนั้นกระปุกดอทคอมจึง มีข้อมูลสำคัญในการเลือกซื้อแอร์มาฝากกัน ให้คุณได้ศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนถึงหน้าร้อน จะได้เลือกซื้อแอร์ได้ถูกใจและคุ้มค่ามากที่สุดนะคะ เตรียมกระดาษปากกาแล้วมาจดรายละเอียดวิธีเลือกซื้อแอร์กันเลย


ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อแอร์

  เลือกขนาด BTU ที่เหมาะสม

          ขนาด BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงขนาดของแอร์กับขนาดของห้องให้พอดีกัน เพราะหากเลือกแอร์ที่มี BTU สูงหรือต่ำจนเกินไป จะทำให้เปลืองไฟและแอร์เสียได้ง่ายอีกด้วย

  การคิดค่า BTU แบบคร่าว ๆ

          การคำนวณค่า BTU แบบคร่าว ๆ เพื่อเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU เหมาะสมกับห้องนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ขนาดของพื้นที่คูณด้วย 650-800 BTU ต่อ 1 ตารางเมตร ทั้งนี้สามารถบวกลบได้อีก 5% ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น ทิศทางของห้อง การโดนแดด ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น โดยมีตัวอย่างคร่าว ๆ ของขนาด BTU ที่เหมาะสมดังนี้


ตารางการเลือกขนาด BTU
 ขนาด BTU ห้องปกติ ห้องโดนแดด
 9,000 BTU  12-15 ตารางเมตร  10-14 ตารางเมตร
 12,000 BTU  16-20 ตารางเมตร  14-18 ตารางเมตร
 18,000 BTU  24-30 ตารางเมตร  21-27 ตารางเมตร
 21,000 BTU  28-35 ตารางเมตร  25-32 ตารางเมตร
 24,000 BTU  32-40 ตารางเมตร  28-36 ตารางเมตร
 25,000 BTU  35-44 ตารางเมตร  30-39 ตารางเมตร
 30,000 BTU  40-50 ตารางเมตร  35-45 ตารางเมตร

ปัจจัยอื่น ๆ

 คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

          ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยคอมเพรสเซอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

          1. คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating Compressor) ทำงานด้วยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา ให้กำลังแรงสูง แต่มีความสั่นสะเทือนสูง และเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่

          2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Compressor) ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วสูง มีความสั่นสะเทือนน้อย เสียงเงียบ เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก

          3. คอมเพรสเซอร์แบบขด (Scroll Compressor) ทำงานด้วยใบพัดรูปก้นหอย มีความสั่นสะเทือนน้อยมาก มีเสียงเงียบ ให้พลังงานสูง ถือว่าดีกว่าคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน

คอยล์ (Coil)

          เป็นอุปกรณ์สำหรับระบายและดูดซับความร้อนจากอากาศ ประกอบด้วย ท่อทองแดง และครีบอลูมิเนียม (Fin) ก่อนเลือกซื้อให้พิจารณาวัสดุที่ใช้ทำคอยล์ เช่น สารที่เคลือบป้องกันการกัดกร่อน หรือความหนาของครีบ เป็นต้น หากเลือกคอยล์ที่มีคุณภาพดีแอร์ของคุณก็จะมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น

มอเตอร์พัดลม (Fan Motor)

          มอเตอร์พัดลมเป็นส่วนสำคัญในแอร์ที่จะช่วยระบายและดูดซับความร้อน เพื่อให้แอร์ของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมอเตอร์พัดลมที่ดีควรใช้ขดลวดที่ทนความร้อนได้สูง เพื่อให้รอบการทำงานของมอเตอร์ไม่สะดุด และไม่เสื่อมคุณภาพง่ายอีกด้วย ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อแอร์จึงควรสอบถามถึงข้อมูลของมอเตอร์พัดลมให้ ละเอียดก่อน

วิธีเลือกแอร์

ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier)

          ระบบฟอกอากาศกลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ไปแล้วสำหรับแอร์ที่วางขายอยู่ใน ปัจจุบัน เพราะระบบฟอกอากาศจะช่วยหมุนเวียนให้อากาศภายในห้องสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นหลายระบบดังนี้

          1. การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศดักจับฝุ่นละอองเอาไว้ และต้องหมั่นเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในอากาศ นอกจากนี้หากต้องการกำจัดกลิ่นให้เลือกแผ่นกรองที่เป็นคาร์บอน เพื่อดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ

          2. การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) คือการดักจับฝุ่นละอองในอากาศด้วยการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric Grids) และใช้แผ่นโลหะอีกชุดเรียงขนานกันเพื่อดูดฝุ่นละอองเอาไว้ หากมีการหมดอายุต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาด

          3. การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) คือการผลิตประจุไฟฟ้าประจุลบเพื่อปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็น เพื่อให้ดักจับฝุ่นละอองที่เป็นประจุบวก ซึ่งฝุ่นละอองที่ถูกดักจับจะรวมตัวกันและร่วงหล่นมาบนพื้นห้อง สามารถทำความสะอาดห้องได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทำความสะอาดภายในเครื่องปรับอากาศ

การประหยัดไฟ (Energy Saving)

          เครื่องปรับอากาศยุคใหม่นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักมีฉลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ติดเอาไว้ โดยแอร์ที่ติดฉลากเบอร์ 5 จะเป็นแอร์ที่มีประสิทธิภาพในการให้พลังงานสูง ทำให้ประหยัดไฟฟ้า โดยมีข้อเสียตรงที่ราคาสูงกว่าแอร์ทั่วไป จึงควรศึกษาฉลากประหยัดไฟให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ว่าเหมาะสมกับความต้องการของคุณหรือไม่

เลือกประเภทของการใช้งาน

          เครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกประเภทในการใช้งานอยู่ 2 รูปแบบแตกต่างกันดังนี้

          1. แอร์ติดผนัง เป็นแบบยอดนิยม เพราะมีความเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย หรือไม่ต้องการวางบนพื้นให้เกะกะ เสียงเงียบ และรูปลักษณ์ทันสมัย แต่ไม่เหมาะกับงานหนัก หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง และเป็นเวลานาน

          2. แบบตั้งพื้น หรือ แบบแขวน เป็นแอร์ที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับห้องทุกขนาด สามารถเลือกติดตั้งกับพื้น หรือแขวนเพดานก็ได้ แต่ข้อเสียคือหน้าตาไม่ทันสมัย รวมทั้งกินไฟมากกว่าด้วย

คุณสมบัติพิเศษและดีไซน์

          ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศนั้นมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ ก่อนซื้อแอร์สักเครื่องคุณจึงควรเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ที่มีให้เลือกหลากหลายก่อนว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร เช่น นาโนไทเทเนียม ซิลเวอร์นาโน เป็นต้น นอกจากนี้อย่าลืมเลือกรูปร่างหน้าตาของแอร์ในแบบที่คุณชอบ หรือจะเลือกให้เข้ากับห้องนั้น ๆ ก็ได้ จะได้ออกมาสวยงามกลมกลืนกัน

การติดตั้งและการบริการหลังการขาย

          เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ควรเก็บเอาไปพิจารณา โดยให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายเรื่องแอร์ให้คุณได้เป็นอย่างดี อีกทั้งให้ดูเรื่องการรับประกันและบริการหลังการขายด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีราคาแพง และมีอายุการใช้งาน การรับประกันและการดูแลซ่อมแซมแก้ไขหลังการขายจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ไม่ควร มองข้าม ยิ่งถ้าเป็นบริษัทใหญ่ที่มีอะไหล่และช่างเพียงพอก็ยิ่งดี

          รู้จักกับวิธีเลือกแอร์หรือเครื่องปรับอากาศกันไปแล้ว ก็อย่าลืมจดรายการที่ควรรู้ให้ดี แล้วพกไปช่วยเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อแอร์สักเครื่องมาใช้นะคะ ขอให้ได้แอร์ที่ถูกใจและคุณภาพดีใช้งานได้นาน ๆ จ้า





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
tnpair.com



Create Date : 25 สิงหาคม 2555
Last Update : 25 สิงหาคม 2555 9:40:35 น. 0 comments
Counter : 2276 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]