Group Blog
 
All blogs
 
พระบรมสารีริกธาตุ

ภาพพระธาตุที่ได้ อัญเชิญนำมาลงในนี้ บูชารำลึกถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย .. เพื่อจะได้เป็นอนุสติสืบต่อไป และ ขอขอบพระคุณ และ อนุโมทนาบุญกับความรู้ ข้อความ ภาพประกอบ ที่คัดลอกมาจากเวปต่างๆหลายๆเวปค่ะ ขอให้ทุกๆท่านมีแต่ความสุขความเจริญๆ ยิ่งๆขึ้นไป บุญรักษาผู้มีรากบุญทุกๆท่านค่ะ สำหรับท่านที่เข้ามาชม และ เข้ามานมัสการภาพพระบรมสารีริกธาตุ และ ภาพพระธาตุต่าง ๆ ขอให้มีความสุข ทุกๆคนค่ะ ..พบธรรมนำสุข ... บุญรักษาค่ะ อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ



พระบรมสารีริกธาตุ (ลักษณะทั่วไป)
พระบรมสารีริกธาตุ คือ ส่วนต่างๆของพระสรีระของพระพุทธเจ้าหลังจากถวายพระเพลิงแล้ว

ลักษณะโดยทั่วไป

ในตำราโบราณกล่าวถึงไว้เพียง ๔ ลักษณะคือ ดั่งข้าวสาร๑ ดั่งถั่วเขียว๑ ดั่งงา๑ และดั่งเมล็ดพันธุ์ผักกาด๑.
ในส่วนของสีแห่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น เท่าที่ปรากฏ ก็มี สีขาว สีชมพู สีน้ำตาล สีทอง สีเทา สีดำ สีม่วง สีแดง สีเขียวไข่นกการะเวก สีกากี สีใสตั้งแต่ใสขุ่นๆไปจนถึงใสเหมือนเพชร

คุณลักษณะพระบรมสารีริกธาตุ
"พระธาตุในส่วนที่เป็นเนื้อหนังหรืออวัยวะภายใน ทั้งพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุนั้น จะสามารถลอยน้ำได้ แต่ต้องค่อยๆเอาภาชนะช้อนองค์พระธาตุไปวางไว้ในน้ำ ให้น้ำค่อยๆรองรับองค์พระธาตุ

ลักษณะการลอยนั้น พระธาตุจะลอยปริ่มน้ำ กดน้ำจนเป็นแอ่ง องค์พระธาตุอยู่เสมอระดับเดียวกับผิวน้ำ โดยมีบางส่วนจมลงไป ไม่ใช่ลอยเหมือนกับไม้ที่ลอยน้ำ และเมื่ออยู่บนผิวน้ำ ก็จะค่อยๆเคลื่อนตัวเข้ามารวมกัน

พระธาตุในส่วนที่มาจากส่วนกระดูก ทั้งพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ จะไม่ลอยน้ำ ยกเว้นแต่องค์พระธาตุนั้น เล็กมาก ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสาร

พระธาตุจะมีความมันวาว เนื้อละเอียด หากขยายด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูง ก็ยังเห็นผิวขององค์พระธาตุมีความละเอียด และความเรียบมันวาว

พระบรมสารีริกธาตุจะมีเนื้อละเอียดและมันวาวกว่าพระอรหันตธาตุ ยกเว้นแต่พระบรมสารีริกธาตุบางองค์ที่บรรจุไว้ในเจดีย์ที่ไม่เหมาะสม มีน้ำเข้าไปขังไว้ หรือแผ่นดินไหวแล้วมีดินมากลบองค์พระธาตุ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้องค์พระธาตุไม่เงางามเท่าที่ควรได้

ส่วนพระอรหันตธาตุของพระอรหันต์บางองค์ที่เชี่ยวชาญในสมาบัติ ก็อาจจะมีลักษณะขององค์พระธาตุที่มีความมันวาวได้เหมือนพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน "








สถานที่ประดิษฐาน

พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับ มาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง

ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พบในกรุปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในผอบทองเล็ก รายล้อมด้วยอัญมณีมีค่า เป็นเครื่องบูชาพระบรมสารีริกธาตุ



จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ

1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย)

2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ
(แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)

3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา
(เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลา ดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน)

4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ

5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา)

6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม)

7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา

พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่แยกกระจัดกระจายเพื่อยังประโยชน์แก่มหาชนและสรรพสัตว์สรรพวิญญาณทั้งหลาย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงอธิฐานไว้ก่อนเสด็จปรินิพพาน ดังที่ปรากฎอญุ่ใน"ตำนานมูลศาสนา"และ"ชินกาลมาลีปกรณ์" ว่า "เมื่อตถาคตปรินิพานแล้ว ศาสนายังไม่กว้างขวางขอให้ธาตุ ๗ ส่วน(นวิปปกิณณาธาตุ) อย่าแตกย่อย ธาตุอื่นนอกจากนี้ขอให้แตกย่อย เท่าเมล็ดถั่วกิม เท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด รวมประมาณ ๑๖ ทะนาน จงกระจัดกระจายให้คนทั้งหลายอันประกอบด้วยศรัทธาได้อุปัฎฐากบูชาเพื่อเป็นเหตุแห่งสุคติ เถิด

























































การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
การจัดที่บูชาและปฏิบัติต่อพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุต่างๆ
พระบรมสารีริกธาตุเป็นธาตุรู้ เสด็จมาได้ตามคำอธิษฐาน ก็เสด็จไปได้เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้อง ฉะนั้น จึุงต้องปฏิบัติต่อพระบรมสารีริกธาตุเฉกเช่นพระพุทธองค์ ดังนี้

บรรจุไว้ในเจดีย์ไม้จันทร์ เจดีย์ไม้โพธิ์ เจดีย์แก้ว หรือผอบ โถกระเบื้องที่มีฝาครอบก็ได้

ควรรองภายในด้วยสำลี ตัดผ้าแดงให้พอดี วางบนสำลี ตัดไหมเจ็ดสีเป็นเส้นเล็ก ๆ วางบนผ้าแดง แล้วทับด้วยผ้าขาวอีกทีหนึ่ง แล้วจึงอัญเชิญพระบรมธาตุวางข้างบน

การที่เอาผ้าแดงผ้าขาวรองใต้พระบรมสารีิริกธาตุ เพราะถือกันว่า พระธาตุมีเทพรักษา ผ้าขาวผ้าแดง เป็นอาภรณ์ของเทพยดา

พระบรมธาตุจะถูกบรรจุอยู่ในตลับทองคำ ตลับเงิน ตลับนาก ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แล้วแต่กำลังทรัพย์และศรัทธาของผู้เป็นเจ้าของ นอกนั้นเขาจะบรรจุอัญมณีล้ำค่าเพื่อเป็นการสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ บางแห่งก็จะบรรจุดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน และไม่จันทร์ซีกเล็กๆ ไว้กับพระบรมสารีริกธาตุ

โบราณกล่าวว่าใช้ไหมเจ็ดสี มณีเจ็ดอย่างจะถูำกโฉลกในการบูชา
เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุควรสูงกว่าพระพุทธรูปบูชา ถ้าสถานที่ไม่อำนวย จะวางไว้หน้าพระพุทธรูปก็ได้ แต่ควรมีพานรองรับ

ควรตั้งน้ำสะอาดบริสุทธิ์บูชาพระธาตุ และควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน หรือทุกวันพระ

ควรเน้นหนักในการปฏิบัติบูชา ด้วยการสวดมนต์ภาวนาให้สม่ำเสมอ มากกว่าการบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งอื่นใด

ไม่ควรกราบไหว้ด้วยจิตที่เจือด้วยกิเลส

พยายามผูกจิตระลึกถึงพระบรมธาตุด้วยการบริกรรมภาวนาคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า "อิติปิโส วิเสสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ" ให้มากที่สุด

การบูชาพระธาตุนี้ มีผลานิสงส์มากนัก อาจให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ " พระนิพพาน"

ผู้ไม่เชื่อ และไม่เคยบูชาก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะผลานิสงส์ทั้งนี้่จะเกิดปรากฏเฉพาะผู้ที่มีความเลื่อมใส และกระทำการบูชาโดยสุจริตเท่านั้น

พระธาตุได้มีส่วนเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมาแต่โบราณ อาจกล่าวได้ว่าทุกๆ เจดีย์หรือ พระปรางค์ จะมีพระธาตุบรรจุไว้ พระพุทธรูปสำคัญๆ จะมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายในองค์พระ

เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ตั้งประดิษฐานลดหลั่นลงมาตามลำดับ ส่วนเจดีย์ที่บรรจุ พระอรหันตธาตุควรอยู่ต่ำกว่า พระพุทธรูปเพราะเป็นพระธาตุของพระสาวก ควรอยู่ต่ำกว่าพระศาสดา หรือถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็ให้จัดดูตามความเหมาะสม


คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง )
อิติปิ โส ภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง,
ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธวิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต,
โลกะวิทู,อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.


วันทาหลวง (ย่อ)

วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุ มหาโพธิง
พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา นาคะโลเก เทวะโลเกพรัหมะโลเก ชัมพูทีเปลังกาทีเป
สะรีระธาตุ โย เกสา ธาตุ โย อะระหันตะ ธาตุ โย เจติยัง คันธะกุฏิง
จะตุราสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ


บทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อุกาสะ วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพเจ้า ขอถือโอกาส ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระเจดีย์ทั้งหมด อันตั้งไว้ดีแล้ว ในที่ทั้งปวง
พุทธะสารีรังคะธาตุง มะหาโพธิง พุทธะรูปัง คันธะกุฏิง จะตุราสีติสะหัสเส ธัมมักขันเธ
คือซึ่งพระสารีรังคะธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระพุทธรูป ซึ่งพระคันธุกุฏิของพระพุทธเจ้า และซึ่งพระธรรมขันธ์ทั้งหลาย มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
สัพเพตัง ปาทะเจติยัง สักการัตถัง
เพื่อสักการะซึ่งพระเจดีย์ คือรอยพระบาทเหล่านั้นทั้งหมดทั้งสิ้น
อะหังวันทามิธาตุโย
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธาตุทั้งหลาย
อะหังวันทามิสัพพะโส
ข้าพเจ้าขอไหว้โดยประการทั้งปวง
อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระรัตนตรัยเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ด้วยอาการดังนี้แลฯ

พระคาถาบูชาพระธาตุในพรหมโลกและดาวดึงส์

พรหมโลเกทุสสะธาตุ วามะอักขะกะธาตุโย
สัพเพ พรหมมาภิปูเชนติ ถูปัง ทะวาทะสะโยชะนัง
ตาวะติงสัมหิ เทวานะ จุฬามะณี จะ เกสะกัง
สัพเพ เทวาภิปูเชนติ ถูปัญ จะ จะตุโยชะนัง
ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ (ในพระสถูป ๘ แห่ง ในชมพูทวีป)

มะหาโคตะมะสัมพุทโธ กุสินรายะ นิพพุโต
ธาตุวิตถาระกัง กัตตะวา เตสุ เตสุ วิเสสะโต
อุณหิโส จะตุโร ทาฒา อักขะกา ทะเว จะ สัตตะมา
อะสัมภินนา จะ ตา สัตตะ เสสา ภินนา จะ ธาตุโย
มะหันตา ปัญจะ นาฬี จะ มัชฌิมา จะ ฉะ นาฬิกา
ขุททะกา ปัญจะ นาฬี จะ สัมภินนา ติวิธา มะตา
มะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา
ขุททะกา สาสะประมัตตา เอวัง ธาตุปะมาณิกา
มะหันตา สุวัณณะวัณณา เอวัง วัณณาปิ ธาตุโย
เอโก ถูโป ราชะคะเห เอโก เวสาลิยา อะหุ
เอโก กะปิละวัตถุสสะมิง เอโก จะ อัลละกัปปะเก
เอโก จะ รามะคามัสสะมิง เอโก จะเวฏฐะทีปะเก
เอโก ปาเวยยะเก มัลเล เอโก จะ กุสินาระถะเก
เอเต สารีริกา ถูปา ชัมพูทีเป ปะติฏฐิตา
ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย.


พระคาถาบูชาพระธาตุในสากลจักรวาล

จัตตฬละ สะมาทันตา เกสา โลมา นะขา ปิ จะ เทวา หะรันติ เอเกกัง จักกะวาพัง ปะรัมปะรา ปู ชิตา นะระ เทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย ฯ

พระคาถาบูชาพระธาตุในเกาะลังกาทวีป

อะปะเรนะ สะมะเยน ทุฏโฐ นามะ นราธิโป เอกะโทณัญ ธาตุนัง ลังกาทีเป ปะติฏฐิตัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ

พระคาถาบูชาพระธาตุ ๘๔,๐๐๐ องค์ในชมพูทวีป

อัฏฐาระเส ทะเววัสสะสะเต ธัมมาโสโก ราชา อะหุ (ธัมมาโศกราช) จะตุราสีติสหัสสา การาปิตา จะ เจติ เจติยา ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย จะตุราสีติสหัสสา เจติยา ปฏิมัณฑิตา ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ (ของโบราณ)
อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอ ยอ กร บวร วันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนะ ประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุม สุมามาลย์ ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิมอันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิ น้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้ พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้นมีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาด กลางนั้นไซร้มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหักตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อยประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนานทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณสีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมธาตุทั้งหลายเหล่านี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกร อมรินทร์ พรหมภิรมย์พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวา กับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบนอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น เสด็จอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้สถิตอยู่เมืองนาคสถาน

แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือเมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นขา ทันตา ทั้งหลาย เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการกวัสสิกะฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาท ธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
กายนทนธนํ พระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ปตฺโต บาตร อยู่เมืองอนุราชสิงหฬทวีปลังกา อุทกสาฏกํ ผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร จิวรํ ผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย หรนี สมุกเหล็กไฟอยู่เมืองตักสิลา วาสีสูจิฆรํ มีดโกนแลกล่องเข็มประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ จมมํ หนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐ ถวิกา ตลกบาตรแลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกศธาตุ ประดิษฐาน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ กาสายะวัตถัง ผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมา สุวณฺณโฑณํ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตน มไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เห็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา


ครั้นกาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษสังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำคิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศกเวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะสด็จไปสู่สถานที่สันนิบาต มิทันนานทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัญฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาสทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์ เทวะนิกร อมรฤษีสิทธิ์ พิทยาธร กินนร นาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้นแผ่นพสุธา สตฺตาหํ ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุงโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสรีระธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก พระพุทธศาสนาก็บรรจบครบจำนวนถ้วนห้าพันพรรษา
อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวงฯ

วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้

1. จัดที่บูชาให้สะอาด

2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)

3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)

4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด

5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ

6. สมาทานศีล

7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิโสฯ)

8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้
" อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "


หรือ

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ "
* การเสด็จมาอาจมีด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเอง หรือ มีผู้มอบให้ แบ่งองค์ ฯลฯ

การบูชาพระธาตุนั้น นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่

1. การบูชาด้วยศีล ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

2. การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

3. การบูชาด้วยปัญญา คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

การบูชาพระธาตุยังได้ประโยชน์ ในด้านเป็นอนุสติอีกด้วย ดังนี้คือ

พุทธานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (พระบรมสารีริกธาตุ)

ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม (ธรรมที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)

สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกธาตุ)

สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงศีลของตน (ศีลที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)

เทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา (เทวดารักษาพระธาตุ)

อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพาน (แดนพระนิพพานที่พระอริยเจ้าได้ก้าวล่วง)

มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน (แม้พระอริยเจ้าก็ต้องตาย)

กายคตาสติ คือ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียด (เมื่อตายแล้วก็เหลือเพียงกระดูก)

หลักการวิธีการบูชา
ท่านที่มีพระบรมสารีริกธาตุ - พระธาตุไปบูชาต้องปฏิบัติ ดังนี้

๑.ต้องหมั่นสวดมนต์ไหว้พระทุกวัน

๒. หมั่นบริจาคทานเสมอ

๓.ปฏิบัติศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

๔.ปฏิบัติเจริญภาวนา สมาธิ

๕.ควรบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นประจำ

๖.ควรบูชาด้วยน้ำมันจันทร์หอม

๗.วางไว้บูชาบนหิ้งพระ หรือ ในที่สูง – ใน สถานที่อันควร


อานิสงส์บูชาพระบรมสารีริกธาตุ – พระธาตุ

๑.ไม่ถึงแก่ชีวิตด้วยคมศาตราอาวุธของสัตรูผู้มุ่งร้าย

๒.มีปัญหาอุปสรรค ย่อมผ่านพ้นไปแน่นอน (ขอให้ตั้งบูชาจริง)

๓.ประกอบการค้าพานิณิชย์ จะเริญรุ่งเรืองไพบูลย์

๔.รับราชการ ยศ ตำแหน่งจะเจริญขึ้นเร็วและเจริญขึ้นเรื่อยๆ

๕.มีเมตตาเสน่ห์มหานิยม มหาโชค - มหาลาภ และคลาดแคล้ว

๖.เทวดาอารักษ์คุ้มครองรักษาตลอดกาล

๗.เมื่อดับจิตมีสุคติสรวงสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

๘.ในบ้านเรือนครอบครัวจะสุขสงบร่มเย็น และรุ่งเรือง

๙.มีฤทิ์มีเดชมีอำนาจวาสนาบารมีแผ่ไพศาล บริวารจะเคารพหมู่ชนจะยำเกรง อานิสงส์นอกจากนี้ สุดแล้วแต่จะอธิษฐานเอาเอง






Create Date : 10 ธันวาคม 2551
Last Update : 10 ธันวาคม 2551 23:39:26 น. 0 comments
Counter : 7723 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sharefeeling
Location :
สระบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" อนุภาพของความ รู้สึก มันอยู่ที่การสื่อสาร "
<

sharefeeling

อนาคต เป็นเรื่อง ของเวลา ที่เราไม่รู้ และ ไม่มี ขอบเขต ... เวลาเท่านั้น ที่จะไหล ไป อย่างสม่ำ เสมอ เวลาเป็นตัวเก็บสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นทุกอย่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นความลับ หรือ ปิดเป็นความลับ ถึงจะรีบร้อน .. จะเร่งรีบแค่ไหน เวลา ที่ ไหลไปเรื่อย ๆ ก็จะไหลไป .. อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง..

~ sharefeeling online ~
Friends' blogs
[Add sharefeeling's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.