Seantun

การลดขนาดภาพและไฟล์ให้ได้พอดีแบบรวดเร็ว (ภาค 2)

การลดขนาดภาพและไฟล์ให้ได้พอดีแบบรวดเร็ว (ภาค 2)
บทความนี้เป็นภาคต่อจากบทความ "การลดขนาดภาพและไฟล์ให้ได้พอดีแบบรวดเร็ว (ภาค 1)" โดยในภาคนี้จะมีขั้นตอนการทำงานมากกว่าบทความในภาคแรก แต่จะให้ภาพหรือผลลัพธ์ที่มีความคมชัดกว่าด้วยเช่นกัน

ใน บทความภาคที่ 1 เราเขียนถึงวิธีการลดขนาดภาพและขนาดไฟล์ให้ได้ขนาดที่พอดีอย่างรวดเร็ว จะเน้นไปในเรื่องความง่ายและสะดวก เพราะสามารถทำทุกอย่างให้เสร็จได้ในคำสั่ง Save for Web เพียงขั้นตอนเดียว แต่เนื่องจากการย่อภาพจะมีผลข้างเคียงทำให้ความคมชัดของภาพลดลง (ภาพดูนิ่มขึ้น) ดังนั้นในบทความภาคสองนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่จะลดขนาดของภาพและไฟล์ให้ ออกมาได้พอดี เช่นเดียวกับในบทความภาคแรก แต่จะให้ความคมชัดมากกว่าครับ (ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความในภาคที่ 1 รบกวนอยากให้กลับไปอ่านก่อน เพื่อที่จะเข้าใจบทความภาคนี้ได้ง่ายมากขึ้น

โจทย์ในบทความที่แล้วคือ เรามีภาพต้นฉบับที่มีขนาดของภาพ 1600x1200 pixel แต่เราต้องการที่จะย่อลงให้ด้านที่กว้างที่สุดมีขนาดไม่เกิน 450 pixel และมีขนาดไม่เกิน 50KB จึงขออนุญาตใช้ภาพประกอบเดิมนะครับ

หลังจากเข้าโปรแกรม Photoshop และเปิดไฟล์ที่ต้องการขึ้นมาแล้ว ให้ไปที่ คำสั่ง Image Size ตามขั้นตอนลูกศรหมายเลข 1 และ 2
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องสี่เหลี่ยมที่ชี้โดยลูกศรหมายเลข 3 มีเครื่องหมายถูกอยู่ทั้งคู่ เหมือนในภาพ จากนั้นให้ใส่ตัวเลขของขนาดภาพลงไปในช่องที่ชี้โดยลูกศรหมายเลข 4
หมายเหตุ เนื่องจากภาพตัวอย่างที่นำมาประกอบบทความเป็นภาพแนวนอน จึงใส่เลข 450 ในช่อง Width ดังที่เห็นในภาพ ซึ่งหากภาพที่นำมาย่อขนาดเป็นภาพแนวตั้ง ให้ใส่ตัวเลขที่ช่อง Height แทน และการใส่ตัวเลขให้ใส่เพียงช่องใดช่องหนึ่งเท่านั้น เพราะอีกช่อง Photoshop จะทำการคำนวณตัวเลขที่ได้สัดส่วนใส่ลงไปให้เองอัตโนมัติ

ตามที่ได้เกริ่นนำไว้แล้วว่า การย่อขนาดภาพจะทำให้ความคมชัดของภาพหายไป หรือภาพจะดูนิ่มลง ดังนั้นเราจะใช้ Filter Sharpen เพื่อคืนความคมชัดให้กับภาพ ตามขั้นตอนที่ชี้โดยลูกศรหมายเลข 5 และ 6
หมายเหตุ อันที่จริงการทำให้ภาพดูชัดขึ้นนั้น Photoshop ทำโดยการหาจุดตัดกันของสี และทำให้สีฝั่งมืด ให้มืดลง และเพิ่มความสว่างของด้านสว่างให้สูงขึ้น ด้วยวิธีนี้ตาของมนุษย์จะรู้สึกว่าภาพคมขึ้น
Sharpen Filter เป็น Filter ที่มีการทำงานง่ายๆ ทำทุกอย่างให้เสร็จโดยอัตโนมัติ แต่หากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการที่จะลองปรับแต่งค่าต่างๆ เพื่อควบคุมเรื่องของความคมชัดเอง สามารถใช้ Filter "Unsharp Mask" ได้ (วงกลมสีน้ำเงินไว้ในภาพประกอบ) ซึ่งจะให้ผลเช่นเดียวกัน แต่ Unsharp Mask Filter จะอนุญาตให้เราสามารถควบคุมค่าต่างๆ ได้เอง

มาถึงขั้นตอนนี้เราก็จะได้ภาพที่ถูกย่อขนาดลงเรียบร้อยพร้อมเซพแล้ว ให้เรียกคำสั่ง Save For Web ขึ้นมาตามลูกศรหมายเลข 7 และ 8 จากนั้นก็ทำซ้ำตั้งแต่ ขั้นตอน E ในบทความภาคแรกได้เลยครับ

ผลลัพธ์ของภาพที่ได้จากบทความภาคแรก

ผลลัพธ์ที่ได้จากบทความภาคนี้

Ref://www.thaidphoto.com


Create Date : 22 เมษายน 2549
Last Update : 23 เมษายน 2549 0:44:52 น. 0 comments
Counter : 634 Pageviews.  

seantun
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




'
[Add seantun's blog to your web]