มะเร็งไม่ร้าย&สมุนไพรไทยช่วยได้
Group Blog
 
All Blogs
 

เอื้องลิ้นดำ





เอื้องลิ้นดำ
ชื่อวิทย์ Luisia thailandica Seidenf.
ชื่อไทย เอื้องลิ้นดำ
ลักษณะทั่วไป ลำต้น ตั้งตรงสูง 20-50 ซม. แต่ละข้อห่างกันประมาณ 1-2 ซม. ใบ กลม เรียงตัวเป็นรยะห่างๆ รอบๆ ต้น ยาวประมาณ 15-30 ซม. ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมักจะมาคลุมที่ปาก กลีบดอกสีเหลืองเคลือบสีน้ำตาลอ่อน กลีบปากสีน้ำตาลเข้ม ดอกบานทนหลายวัน ราก เป็นแบบรากอากาศ(epiphytic)
ช่วงเวลาออกดอก มีนาคม –พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย ตามป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ไทย เวียดนาม ลาว เมียนร์ม่า และอินเดียทางตะวันออกเฉียงเหนือ




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2551    
Last Update : 4 มิถุนายน 2551 22:40:59 น.
Counter : 1016 Pageviews.  

เอื้องสายไหม




เอื้องสายไหม
Dendrobium aphyllum (Roxb.) Fischer
ชื่อไทย เอื้องสายไหม เอื้องสายล่องแล่ง เอื้องงวงช้าง เอื้องย้อยไม้ เอื้องสายไม้ มอกคำเครือ

ต้นเป็นลำผอม ยาวได้ถึง 100 ซม. ส่วนปลายเรียว เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 0.5-1 ซม. ใบรูปไข่แกมรูปรี
ขนาด 5-7 x 2-2.5 ซม. ปลายแหลมมน แผ่นใบ บางและร่วงก่อนถึงฤดูดอก ดอกเกิดตามข้อ ข้อละ 1-2 ดอก เกือบตลอดต้น ขนาดดอก 3-4 ซม. กลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นกล้วยไม้
ที่สวยงามและปลูกเลี้ยงให้ดอกได้ดีในทุกภาค
ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ในประเทศไทยพบได้ในป่าดิบแล้ง และป่าผลัดใบทั่วทุกภาค
เอเชียคือเขตการกระจายพันธุ์ จากทางเหนือของอินเดียจีน ลงไปถึงมาเลเซีย
ข้อมูลจากหนังสือ กล้วยไม้เมืองไทยของ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2551    
Last Update : 4 มิถุนายน 2551 22:37:22 น.
Counter : 607 Pageviews.  

เอื้องคำป๊อก




เอื้องคำป๊อก
เอื้องคำป๊อก Denbrodium capillpes Rchb.f)(เอื้องมิ้น เอื้องเฮี่ย )
ต้นเป็นรูปรีหรือคล้ายกระสวย ขนาด 6-8X1-1.2 ซม.ขอบของกาบใบตามข้อมีสีดำ คล้ายที่พบในเอื้องผาเวียงเรียงตัวเปฯกระจุก ใบรูปใบหอก ขนาด 3-4 X1-1.2 ซม. แผ่นใบบางและร่วงก่อนมีดอก ช่อดอกเกิดจากข้อ ยาว 8-12 ซม ก้านช่อผอมเรียว แต่เหนียว ดอกในช่อ 2-4 ดอก ขนาดประมาณ 2 ซม. บายทนทานมากกว่า 1 สัปดาห์ เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกสีเหลืองสดใสสวยงามมาก ปัจจุบัน พบค่อนข้างน้อย
ฤดูออกดอก กุมภาพันธ์-เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย ป่าดบแล้ง และป่าผลัดใบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการขยายพันธุ์ อินเดีย จีน พม่า และเวียดนาม(จาก กล้วยไม้เมืองไทย รศ. ดร.อบฉันท์ ไทยทอง




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2551    
Last Update : 4 มิถุนายน 2551 22:34:12 น.
Counter : 516 Pageviews.  

เอื้องมอนไข่



เอื้องมอนไข่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium thyrsiflorum Rchb.f.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่นๆ : เอื้องมอนไข่ เอื้องมอนไข่ห่าน
ลักษณะ กล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ผิวมีร่องตามยาว ใบ รูปรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-10 ซม. มักจะทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก เป็นพวง ออกตามข้อ ห้อยลง ยาว 20-25 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากสีเหลืองมีขนนุ่ม ขอบกลีบหยักละเอียด ดอกบาน เต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. มีกลิ่นหอม พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกดอกช่วง เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

ข้อมูลจากเอกสาร : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2551    
Last Update : 4 มิถุนายน 2551 22:29:40 น.
Counter : 458 Pageviews.  

เอื้องมัจฉาเหลือง



เอื้องมัจฉาเหลือง
ชื่อภาษาไทย : เอื้องมัจฉาเหลือง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dendrobium griffithianum Lindl.
ระยะเดือนที่ออกดอก : เดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาว เวียตนาม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้
ลักษณะทั่วๆไป : โดยทั่วไปมีลักษณะใกล้เคียงกับ เอื้องมัจฉา เพียงแต่ว่าลำต้นจะสีเข้ม ใบสีเข้ม และต้นเล็ก สั้นกว่า
แต่สิ่งที่แตกต่างได้ชัดเจน คือ สีของดอก กลีบดอกของมัจฉาเหลือง จะเป็นสีเหลือง ส่วนกลีบปาก จะ เป็นสีเหลืองเข้มจนเป็นสีส้ม ลักษณะอื่นเช่น ทรงดอก พวงของดอก ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับเอื้องมัจฉากลีบขาว.




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2551    
Last Update : 11 มิถุนายน 2551 20:24:06 น.
Counter : 764 Pageviews.  

1  2  

สมอดำ
Location :
สระแก้ว Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




muemg2007@hotmail.com

ส่วนตัว 08-1940-4710





Friends' blogs
[Add สมอดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.