คิดดีทำดีเป็นสุดยอดแห่งคุณธรรม

ปลูกผักในน้ำ (ไฮโดรโปนิกส์)

ตอนวิธีปลูกผักบุ้งจีน

นำเสนอโดย น.พ.เอกชัย จุละจาริตต์

ผักที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไปนั้น เป็นผักที่ปลูกขึ้นในลักษณะของอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมักจะใช้สารกำจัดสัตรูพืช จึงอาจเป็นเหตุให้มีสารกำจัดสัตรูพืชตกค้าง และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง.
การปลูกผักในน้ำไม่จำเป็นใช้สารกำจัดสัตรูพืช และไม่มีพยาธิที่อยู่ในดิน
จึงสามารถรับประทานสด ๆ ได้ด้วยความสบายใจ และมีคุณค่าของอาหาร
มากเพราะเป็นผักสดจริง ๆ.
วิธีปลูกผักในน้ำนั้น ง่าย ได้ผลเร็ว แน่นอน และสามารถเก็บมารับประทานได้ทุกวัน.
ข้อสำคัญคือ ควรเลือกสารอาหาร(ปุ๋ย)ที่เราไว้ใจได้ ซึ่งทุกวันนี้ การซื้อผักมาทานนั้น เราไม่ค่อยจะมีทางเลือกอยู่แล้ว.
ก่อนฝึกปลูกผักในน้ำ ผู้นำเสนอได้เคยไปดูงานที่วิทยาลัยเกษตรและ
เทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร พร้อมทั้งศึกษาวิธีปลูกและทดลองปลูก
ผักในน้ำจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่มเติม. พบว่า เป็นเรื่องยากนิดหน่อยในช่วง
แรก เพราะไม่มีประสบการณ์. ครั้นปลูกได้ระยะหนึ่งหรือประมาณ ๒-๓ เดือน ก็พบว่า การปลูกผักบุ้งจีนและผักคะน้าในน้ำเป็นเรื่องง่ายที่สุด เหมาะ
สำหรับผู้เริ่มต้น.
เพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านที่เป็นมือใหม่ในเรื่องนี้ จึงขอนำเสนอวิธีปลูกผักบุ้งจีนในน้ำเป็นเรื่องแรก ซึ่งมีวิธีปลูกที่ง่ายที่สุดและให้ผลเร็วที่สุด. ไม่ควรปลูกผักสลัด เพราะดูแลยากสำหรับผู้เริ่มต้น และอาจทำให้เสียกำลังใจได้. ขั้นตอนจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีปลูก ดังนี้ :-
๑. จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปลูก
๑.๑ จัดหากล่องสำหรับปลูก. เพื่อความประหยัดสำหรับมือใหม่ ควรใช้กล่องโฟมสำหรับบรรจุผลไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งไปขอหรือขอซื้อได้จากแม่ค้าผลไม้ตามตลาดสดทั่วไป.

เมื่อได้กล่องมาแล้ว ให้อุดรูระบายอากาศทุกรูของตัวกล่องและฝากล่อง
โดยการตัดเอาขอบ ๆ ของฝากล่องมาอัดรูระบายอากาศให้มิดชิด เพื่อไม่
ให้แสงสว่าง(แสงแดด)เข้าไปโดนน้ำในกล่อง ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดตะ
ใคร่น้ำนั่นเอง.

สำหรับผู้นำเสนอนั้น ชอบใช้รางปลูกไม้ประดับพลาสติกสำหรับปลูกผักบุ้งจีน ซึ่งมีขายที่ร้านขายวัสดุและอุปกรณ์ปลูกต้นไม้ที่จตุจักร เพราะดูสวยงาม กระทัดรัด เคลื่อนย้ายได้โดยง่าย เบาแรง และไม่ต้องกลัวว่า แสงสว่างจะเข้าไปโดนน้ำ.
๑.๒ จัดหาฟองน้ำสำหรับปลูกผักในน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ที่จตุจักรเช่นกัน. ฟองน้ำนี้จะราคาถูกมาก ซื้อมาเผื่อไว้ได้เลย เพราะไม่คุ้มที่จะเสียเวลาและค่ารถไปซื้ออีก.

หาซื้อตะกร้าสำหรับใส่ฟองน้ำ ซึ่งเป็นตะกร้าสำหรับปลูกไม้ประดับ มีขายทั่วไปที่จตุรจักรเช่นกัน โดยหาขนาดที่สามารถใส่ฟองน้ำที่เด็ดออกมาได้พอดี คือ ไม่หลวมและไม่บีบรัดมากเกินไป. ควรซื้อประมาณ ๖-๑๐ อันก็
เพียงพอสำหรับการเริ่มต้น ซึ่งราคาก็ถูกมากเช่นกัน.
๑.๓ จัดหาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน ซึ่งผู้นำเสนอคุ้นเคยกับการใช้พันธุ์ผักของเจียใต๋ซึ่งมีขายทั่วไป แต่อาจใช้ของบริษัทไหนก็ได้ และควรดูเดือน/ปีที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์และหมดอายุด้วย.
ควรซื้อเมล็ดพันธุ์ที่วางขายอยู่ในที่ร่ม เพื่อจะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์. ได้ทดลองปลูกพันธุ์ผักของบริษัทอื่น(A)รวบรวมเมล็ดพันธุ์เมื่อ ๘/๕๒ เพื่อเปรียบเทียบกับของเจียใต๋(C)รวบรวมเมล็ดพันธุ์เมื่อ ๑๑/๕๒ พบว่า ของเจียใต๋ได้ผลดีกว่าดังรูป ควรสังเกตขนาดและความเขียวสดของใบด้วย. บางท่านบอกว่า มีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ช่วงเวลาของการเก็บ สายพันธ์ ชนิดของผัก และรวบรวมเมล็ดพันธุ์. รวมความแล้ว ต้องทดลองปลูกด้วยตนเอง.


ท่านที่ประสงค์จะปลูกผักคะน้า ก็อาจซื้อเมล็ดพันธุ์พร้อมทั้งถ้วยพลาสติกสำหรับปลูกมาด้วย จะได้ไม้ต้องเสียเวลาไปซื้ออีก. เพราะการปลูกผักคะน้านั้น จะไม่ปลูกเป็นกอแต่ให้ปลูกลงถ้วย.
๑.๔ ซื้อสารอาหาร A และ B ชนิดน้ำมาอย่างละขวด อาจเริ่มต้นด้วยขวดขนาดเล็ก คือ ขวดละ ๕๐๐ ซีซี.ก่อน.


หมายเหตุ: การซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับคนมือใหม่นั้นอาจลำบาก เพราะ
ไม่มีจำหน่ายทั่วไป. สำหรับผู้เริ่มต้น ที่จตุจักรพบว่า ร้านที่มีอุปกรณ์และ
วัสดุมากหน่อย คือ ร้านกรุงเทพเครื่องสวน เลขที่ ๑๐๒ กำแพงเพชร๑ จตุ
จักร หรือเดินเข้าไปตรงประตูใหญ่ของอตก. เป็นห้องสุดท้ายของห้องแถว
ทางขวามือหรือทางทิศตะวันตกของอตก. และอยู่ติดกับโรงผลิตก๊าซจาก
เศษอาหารของอตก. แต่ภายใน ๑-๒ เดือนนี้อาจจะย้ายไปอยู่ด้านถนน
พหลโยธินหรือทางทิศตะวันออกของอตก.ที่เป็นด้านสัตว์เลี้ยงเป็นการชั่ว
คราว. ดังนั้น ก่อนไปควรโทร.ไปถามก่อนที่หมายเลข ๐๒ ๖๑๘ ๕๔๕๘
คุณผู้ชายชื่อสมพล คุณผู้หญิงชื่อวราภรณ์ ทั้ง ๒ คนเป็นคนที่น่ารัก จริงใจ
และขายราคาถูกด้วย. บางท่านเคยแนะนำให้ไปซื้อที่เกษตรก็ได้ แต่ผู้นำ
เสนอยังไม่เคยไป.

๒. ขั้นตอนในการเพาะเมล็ดพันธุ์ตามรูปแบบของผู้นำเสนอ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากท่านอื่นบ้าง ก็เพราะเป็นประสบการณ์.
ในที่นี้จะนำเสนอการเพาะเมล็ด ๒ แบบ ดังนี้
แบบที่ ๑. เป็นแบบค้ดเลือกเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะในฟองน้ำ
แบบที่ ๒. เป็นแบบเพาะเมล็ดพันธุ์โดยตรง

แบบที่ ๑. เพาะเื่พื่อค้ดเลือกเมล็ดพันธุ์
ตอนที่ ๑. เอาเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนออกมาประมาณ ๓๐ เมล็ดสำหรับ ๑ ตะกร้า. ควรปลูกครั้งละ ๔ ตะกร้า. ห่อเมล็ดพันธุ์ด้วยผ้าชุ่มน้ำประมาณ ๓-๔ ชั้น.

เก็บไว้ในห้อง รดน้ำให้ผ้าที่ห่อเมล็ดพันธุ์ชุ่มชื้นปานกลางตลอดเวลา คือ ประมาณวันละ ๒-๓ ครั้ง หรือรดน้ำตอนก่อนนอนและตอนตื่นนอน.
วิธีไม่ให้มีน้ำในผ้าที่ห่อเมล็ดพันธุ์ชุ่มน้ำมากเกินไป คือ หลังจากรดน้ำแล้ว ให้สะบัดเบาๆ เพื่อให้เหลือน้ำในเนื้อผ้าตามสมควร.

ควรรักษาความชื้นของผ้าโดยเอากล่องพาสติกครอบ แต่ต้องมีช่องให้อากาศผ่านเข้าออกได้ตามสมควร การทำเช่นนี้จะทำให้อัตราการงอกของ
เมล็ดพันธุ์ดีขึ้น.
ควรคลี่ผ้าออกดูหลังจากรดน้ำแล้ว ๒๔ ชั่วโมง. พอเห็นว่า รากเริ่มงอกออกมาเป็นปุ่มสีขาวก็ถือว่า ได้เวลานำไปปลูกลงในฟองน้ำได้แล้ว.


ปุ่มที่งอกออกมานั้น เป็นส่วนของรากที่งอกออกมา. ดังนั้น เวลาปลูก
หรือเวลาใส่เมล็ดในระหว่างช่องฟองน้ำ ควรให้ปุ่มขาวชี้ลงล่าง.

การที่ห่อผ้าจะช่วยให้การรักษาความชื้นให้พอเหมาได้โดยง่าย ซึ่งได้รับคำแนะนำจากคุณสุชาติ ทองประเสริฐ. ครั้นคลี่ผ้าที่ห่อเมล็ดพันธุ์ออกมา จะทำให้สังเกตเห็นเมล็ดพันธุ์ที่มีรากงอกออกมา หรือบวมแล้ว ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ จึงทำให้สามารถคัดเมล็ดออกมาปลูกได้โดยง่ายและได้รับผลดีด้วย.
ตอนที่ ๒. นำฟองน้ำที่ซื้อมาเด็ดออกมาจากแผ่นใหญ่จำนวน ๓ แถว ๆ ละ ๓
ชิ้น ก็จะได้ฟองน้ำรูป ๔ เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งประกอบฟองน้ำชิ้นเล็ก ๙ ชิ้น.

เอาฟองน้ำที่เด็ดออกมาแล้วใส่ในตะกร้าที่ซื้อมา ๔ ตะกร้า ซึ่งผลผลิตจะ
พอสำหรับผู้รับประทานผัก ๑ คน.
ตอนที่ ๓. คัดเอาเมล็ดที่ได้เตรียมไว้ในข้อที่ ๒.๑ ที่เริ่มมีตุ่มของรากงอกออก
มาใส่ตรงช่องกึ่งกลางของฟองน้ำทั้ง ๙ ชิ้น โดยใส่ชิ้นละ ๒-๓ เม็ด เพื่อ

กันการไม่งอกของเมล็ดพันธุ์. นำเอาเมล็ดที่เหลือ มาใส่ไว้ที่ตรงช่องกลาง
ระหว่างก้อนฟองน้ำทุกแห่งจุดละ ๒-๓ เมล็ดเช่นกัน เพื่อเพิ่มจำนวนต้นผัก
บุ้ง.

ตอนที่ ๔. เอาตะกร้าที่ใส่เมล็ดพันธุ์แล้ว วางลงในถาดแล้วรดน้ำให้ฟองน้ำ
ชุ่มด้วยน้ำ และให้ขอบล่างของฟองน้ำจมอยู่ใต้น้ำประมาณเกือบครึ่งซ.ม.
คือประมาณ ๔ มม.

ถ้าน้ำสูงเกินไปอาจทำให้เมล็ดเน่า น้อยเกินไปก็อาจทำให้เมล็ดแห้ง. ระหว่างนี้อาจใช้ฝาพลาสติกครอบเพื่อช่วยรักษาความชื้น โดยมีช่องให้
อากาศเข้าออกได้ตามสมควร.
เสร็จแล้วเก็บไว้ในห้อง อย่าเพิ่งตากแดด เพราะอาจทำให้ฟองน้ำแห้งจนทำความเสียหายให้กับเมล็ดพันธุ์ก็ได้.

เมื่อใบเลี้ยงของผักบุ้งส่วนใหญ่โผล่ออกมาจากฟองน้ำแล้ว ซึ่งก็หมายถึงมีรากงอกออกมาแล้ว และสามารถดูดน้ำและสู้กับแดดได้แล้ว ก็ให้รีบนำไปตากแดดทั้งวัน เพราะเมื่อผักบุ้งโดนแดดก็จะโตเร็ว.

ที่รีบตากแดดเพื่อลำต้นจะได้โต เพราะถ้าอยู่ในที่มืดนานเกินไป จะกลายเป็นลำต้นแบบถั่วงอก.
ตอนที่ ๕. ในช่วงแรกนี้ ควรสังเกตว่า ผิวบนของฟองน้ำแห้งหรือไม่ และควรเอามือแตะที่ฟองน้ำว่า มีความฃื้นหรือเปล่า ถ้าไม่มีความชื้นก็ให้รดน้ำลงบนฟองน้ำและรดน้ำจนทำให้ระดับน้ำสูงพอที่จะรักษาความชื้นให้พอเหมาะดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว.
ควรตรวจสอบวันละ ๒ ครั้งเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงก่อนและหลังจากโดนแดด.

เมื่อใบเลี้ยงสูงขึ้นและงอกออกมาตามสมควร ก็เป็นเวลาที่จะต้องย้ายลงรางหรือกล่องโฟม.


แบบที่ ๒. เป็นแบบที่ง่ายกว่าแบบที่ ๑ เพราะเป็นการนำเมล็ดมาใส่ในฟองน้ำในตะกร้าและแช่ในน้ำในถาดใส่น้ำได้เลย. ข้อดี คือ ทำให้ง่ายและเร็วขึ้น. ข้อเสีย คือ ไม่สามารถเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เริ่มงอก. ท่านที่ไม่ค่อยมีเวลาควรทำแบบนี้ และแนะนำว่า ควรใส่เมล็ดในช่องของฟองน้ำจุดละ ๓
เมล็ด เพื่อเผื่อเอาไว้.

ภาพการเพาะเมล็ดพันธุ์เพื่อเปรียบเทียบการงอก คือ การเพาะลงฟองน้ำโดยตรง

๓. ขั้นตอนของการปลูกในราง.
๓.๑ ก่อยย้าย ต้องเตรียมรางหรือกล่องสำหรับปลูก. เมื่อได้กล่องรางปลูกไม้ประดับหรือกล่องโฟมมาแล้ว ให้บุภายในของรางฯหรือกล่องโฟมด้วยถุงพลาสติกชนิดเหนียว บุเพียงชั้นเดียว คือ ถุงร้อนใส PP อย่างดี ขนาดไม่เล็กกว่า 20x30 นิ้ว หรือเมื่อแบะถุงพลาสติกออกมาแล้ว ถุงพลาสติกจะกว้างและยาวพอที่จะบุภายในกล่องโฟมเพื่อไม่ให้น้ำรั่ว.
สำหรับรางปลูกไม้ประดับพลาสติกนั้น จะไม่บุก็ได้ แต่เพื่อป้องกันสารเคมีต่าง ๆ จากรางจึงควรบุด้วยพลาสติก.
เพื่อให้การบุเป็นไปด้วยดี ควรใช้เทปกาวติดแผ่นพลาสติกไว้กับกล่องในบางตำแหน่งด้วย.
ก่อนปลูกในกล่องควรทดสอบว่า เมื่อเติมน้ำลงไปในกล่องแล้ว น้ำรั่วไหลหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง.
ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่ขยะ เพราะคุณภาพต่ำและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ได้.
ถ้าใช้รางฯในการปลูก ก็ให้ซื้อโฟมสีขาวชนิดราคาถูก เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่านลงไปในราง. ไม่ควรใช้โฟมสี เพราะในสีมักจะมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ.
ควรใช้โฟมชนิดหนาครึ่งนิ้ว ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป.

นำเอาแผ่นโฟมมาเจาะรูเพื่อใส่ตะกร้า. ควรเจาะให้มีขนาดเล็กกว่าตะกร้าเล็กน้อย เพื่อเวลาใส่ตะกร้าเข้าไปแล้วจะบีบหรือกระชับแน่น ตะกร้าจะได้ไม่ตะแคงเมื่อผักบุ้งโตขึ้น.
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเจาะรูดีที่สุด คือ มีดคว้านผลไม้ที่คม เพราะทำให้เจาะได้โดยง่าย ไม่ฟืด และไม่ทำให้โฟมหลุดรุ่ยหรือชอกช้ำ.
อย่าเจาะบิดเบี้ยวจนมีช่องหรือรูให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้ และถ้ามีลูกน้ำก็สามารถตักออกหรือกรองออกโดยใช้ที่ตักลูกน้ำ ซึ่งมีขายที่ร้านขายปลา
สวยงามทั่วไป.
แผ่นโฟมที่เจาะออกมาควรเก็บไว้ เผื่อเอาไว้ใช้สำหรับปิดช่องที่ไม่ได้ใช้งานในภายหลัง. เสร็จแล้วเอาตระกร้ามาใส่ในช่องที่เจาะไว้แล้ว.
ถ้าใช้กล่องใส่ผลไม้เป็นที่ปลูกผัก ก็ให้ใช้ฝากล่องหงายขึ้น แล้วเจาะรูเพื่อใส่ตะกร้าทั้ง ๔ ใบพร้อมทั้งปิดรูระบายอากาศให้หมดเพื่อป้องกันยุงเข้าไปไข่และป้องกันแสงแดดด้วย.
๓.๒ เติมน้ำลงในรางฯหรือกล่อง ครั้นพบว่า ไม่รั่วก็ให้เติมสารอาหารตามสัดส่วนและวิธีการในฉลากที่ติดมากับขวดสารอาหาร.

เมื่อสารอาหารพร้อมแล้ว ให้วางตะกร้าลงในช่องที่เจาะเอาไว้ แล้วนำไปวางไว้กลางแดดทั้งวันยิ่งดี.

ผักบุ้งจะโตเร็วมากเมื่อโดนแดดทั้งวัน และจะกินน้ำเก่งมาก ๆ ด้วย. ดังนั้น
ควรหมั่นเติมน้ำไว้เสมอ หรือเติมทุกวัน. การปล่อยให้ระดับน้ำลดลง จะทำให้สารอาหารเข้มข้นและถูกดูดเข้าไปในลำต้นและใบมากเกินไป.

๓.๓ จะเติมสารอาหารก็ต่อเมื่อใบเริ่มจะเหลืองหรือไม่เขียวสดใส.


หลังจากโดนแดด ๒ วัน ใบก็จะเขียวดี แต่ขณะที่โดนแดดแล้วใบเหลือง ก็เป็นเวลาที่จะต้องเติมสารอาหาร.
ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องตรวจ pH และสารอาหาร เพราะไม่ใช่ฟาร์ปลูกผัก.
การให้สารอาหารมากเกินไปก็สิ้นเปลือง และทำให้เรารับประทานสาร
อาหารที่มากเกินไปด้วย.
๓.๓ หลังจากผักโตตามสมควร ไม่ต้องรอให้โตมาก ซึ่งปรกติไม่เกิน ๒๐
วัน ก็ให้ตัดมารับประทานได้แล้ว. สามารถทานสด ๆ หรือรวกน้ำร้อนก็ได้.
เวลาตัด ควรเหลือโคนไว้ ๒ ปล้อง เพื่อให้งอกขึ้นมาใหม่ จึงทำให้เก็บผล
ผลิตได้นานขึ้น. ในช่วงผักโตแล้ว อาจต้องเติมน้ำวันละ ๒ ครั้ง.

เมื่อปลูกได้ ๒๐ วัน ผักบุ้งจีนจะมีความสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว และควรรีบรับประทานอย่างสดๆได้แล้ว.
ผักบุ้งจีนทนต่อแมลงได้ดีมาก จึงไม่ต้องกางมุ้ง.

หวังว่าท่านที่สนใจคงจะได้รับประโยชน์จากการเริ่มต้นปลูกผักในน้ำและขอแนะนำว่า ให้ปลูกผักคะน้า และต่อด้วยผักกาดขาว. สำหรับผักกาดขาวต้องโดนแดดน้อย คือ ในช่วงตอนเช้าๆ. พอโดนแดดร้อนหน่อยใบจะเหี่ยวทันที และทำให้ต้นไม่เจริญงอกงาม.




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 1 ธันวาคม 2553 20:02:55 น.   
Counter : 25245 Pageviews.  

อริยสัจ ๔ เป็นเรื่องที่ชาวพุทธทุกคนต้องรู้

ธรรมะครั้งละ ๑ คำ
ตอน
อริยสัจ ๔ เป็นเรื่องที่ชาวพุทธทุกคนต้องรู้

ท่านสมณโคคมตรัสรู้เรื่องอริยสัจ ๔ จึงได้ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า.
อริยสัจ ๔ จึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา.
ในการเผยแพร่ธรรม พระองค์ตรัสสอนอริยสัจ ๔ เป็นหลักเพื่อให้ผู้ฟังธรรมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้นั้นพ้นจากความชั่วและความทุกข์จากความชั่ว ณ ปัจจุบันขณะ และทรงไม่มีพระประสงค์ที่จะตรัสสอนเรื่องอื่นๆ เพราะเรื่องอื่น ๆ ไม่สามารถทำให้ไม่พ้นจากความชั่วและความทุกข์จากความชั่วได้.
ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและสามารถเข้าในเรื่องอริยสัจ ๔ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร ก็ได้ชื่อว่า เป็นบุคคลที่มีดวงตาเห็นธรรม.
ครั้นลงมือปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง(โสดาปฏิมรรค) ย่อมได้รับผลในทันทีในวินาทีนั้นเลย คือ ไม่คิดชั่ว ไม่ทำชั่ว และไม่มีความทุกข์จากความชั่ว จึงมีจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส หรือเข้าถึงภาวะความดับทุกข์ได้ชั่วคราวและไ้ด้ชื่อว่า เป็นผู้บรรลุผลของการปฏิบัติธรรมเบื้องต้น(โสดาปฏิผล) คือ เป็นพระโสดาบัน หรือเป็นผู้เริ่มเข้าถึงกระแสของความดับทุกข์ิหรือนิโรธ(นิพพาน) และเป็นชาวพุทธแท้นั่นเอง.
ดังนั้น ก่อนที่จะประกาศตนเองว่าเป็นชาวพุทธ จึงควรมีฐานความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ครบถ้วน พร้อมทั้งศึกษาและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องตามสมควรเสียก่อน.
จึงขอถือโอกาสนี้นำเสนอเรื่องอริยสัจ ๔ อย่างย่อ ๆ ในขั้นตอนต่อไป เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม โดยหวังว่า ท่านจะได้เป็นชาวพุทธแท้ และช่วยกันเผยแพร่อริยสัจ ๔ ให้แก่ผู้อื่นต่อไปตามวิสัยของชาวพุทธนั่นเอง.
หากท่านอยากเรียนรู้อย่างรวดเร็ว กรุณาอ่าน ฟัง ดูวิดีโอ เรื่องพุทธแท้ที่ผมจัดทำไว้ได้ //www.thai60.com หรือไปฟังผมบรรยายเรื่องเช่นนี้อย่างลึกซึ้งตามสมควร ที่พุทธสมาคมทุกเสาร์แรกของเดือน มีรายละเอียดในเว็บไซต์.
ถ้ามีโอกาส กรุณาแวะมาอ่านต่อนะครับ ผมจะพยายามแบ่งเวลามา upload ให้ครับ.
ขอบคุณครับ.

********




 

Create Date : 24 ตุลาคม 2553   
Last Update : 24 ตุลาคม 2553 20:25:39 น.   
Counter : 688 Pageviews.  

คิดดี ทำดี

"คิดดีทำดี"เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อปวงชนชาวไทย ซึ่งมีคุณค่าอย่างสูงส่งในด้านคุณธรรมสำหรับมวลมนุษยชาติไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด.
บุคคลที่มีสติในการคิดดีทำดีตามพระราชดำรัสในชีวิตประจำวัน ย่อมได้รับผลดี คือ จะมีความเจริญ มั่นคง และผาสุก.
การจะมีสติคิดดีทำดีได้นั้น ต้องรู้จักวิธีฝึกบริหารความคิด รวมทั้งการประเมินผลด้วย.
Blog นี้นำเสนอพระราชดำรัสเรื่องคิดดีทำดีในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งเสนอวิธีฝึกตนเองให้มีสติคิดดีทำดี เพื่อให้มีความรู้และความสามารถในการคิดดีทำดีได้โดยง่าย.
เนื่องจากมีข้อมูลในเรื่องคิดดีทำดีเป็นจำนวนมาก จึงต้องขอ link ไปยังเว็บไซต์ของผู้จัดทำ blog นี้ เพื่อที่ท่านจะศึกษาเรื่องคิดดีทำดีในรูปแบบของหนังสือ การบรรยาย, PowerPoint, video clips, พระราชดำรัสเรื่องคิดดีทำดีในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งของผู้จัดทำด้วย และเรื่องต่าง ๆ ทางคุณธรรมอีกมากมายที่ //www.thai60.com เพื่อความสะดวกกรุณาคลิกที่ช่อง links
ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
เอกชัย จุละจาริตต์




 

Create Date : 19 เมษายน 2553   
Last Update : 27 เมษายน 2554 15:59:01 น.   
Counter : 658 Pageviews.  

1  2  3  

satipanya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




เกิด พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นข้าราชการบำนาญ สนใจธรรมะมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันพยายามศึกษาธรรมะและเผยแพร่ธรรมะเบื่องต้นอย่างง่ายๆ ในรูปแบบต่างๆ.
[Add satipanya's blog to your web]