เราควรเข้าใจสุข... อยู่ตรงไหน

เข้าใจชีวิต
เหมือนเข้าใจ
ใจเราเอง




เราควรเข้าใจสุข... อยู่ตรงไหน


คำถามง่ายๆ ที่ว่า ความสุขคืออะไร?


เอาละสิ...! หลายคนกำลังเริ่มมองหาความสุขที่แท้กันแล้ว ...ความสุขคือ ความสบาย หรือความสำราญใจ แยกออกได้เป็นสองฝ่าย คือ ความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ นี่เป็นคำตอบรวมๆ ที่ทุกคนเข้าใจกันไปตามเรื่อง เข้าทำนองปรัชญาสั้นว่า “ไม่ต้องเป็นห่วงว่า คนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่า เราไม่เข้าใจคนอื่น” นั่นสำคัญกว่า


แต่ในทางกลับไม่มีใครได้มีโอกาสสัมผัสเนื้อแท้แห่งความสุขได้เลย เพราะความสุขทางใจต้องลงมือกระทำจึงได้ผล... จะให้อยู่เฉยๆ แล้วใจเป็นสุขคงไม่ได้แน่ ถ้าเราไม่พยายามฝึกใจละโลภ โกรธ หลง เราต้องพยายามฝึกใจให้มีสติ มีปัญญาเป็นเครื่องกำกับใจไม่ให้ใจอยู่ในอำนาจของกิเลส ตัณหา ต้องพิจารณาบ่อยๆ ว่า “การรอคอยไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ไม่ว่าจะนานสักแค่ไหน มันทรมานใจได้ทุกเวลา แม้จะสักแค่เพียงอึดใจเดียว” ของคนที่มีจิตใจเร่าร้อน


ความสุขทางกายเป็นอย่างไร...? ไม่มีใครบรรยายออกมาได้ แต่เรารู้เพียงแค่ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาททั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เรียกว่า “กามคุณ ๕” จัดว่าเป็นฝ่ายรูป หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสา อันเป็นสิ่งสกปรก แต่คนส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กับโลกียสุขเหล่านี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น... ทั้งที่รู้ว่า เป็นความสุขขึ้นชั่วคราว แต่ใจยังชอบอยู่


ความสุขทางใจเป็นอย่างไร...?  


ยิ่งยากเข้าไปอีกที่จะอธิบาย เพราะเราไม่สามารถมองเห็นได้หรือสัมผัสได้ แต่ความสุขที่สัมผัสได้ทางจิตคือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบ ว่าง และเย็น จัดว่าเป็นฝ่ายนามธรรม อันเป็นปีติที่เกิดจากความสะอาด สว่าง สงบ เป็นสุขที่ไม่ต้องอธิบาย แต่มันเกิดขึ้นในใจเรา รู้ได้เฉพาะใจ เข้าทำนองว่า “ถ้าชนะกิเลส ก็แพ้คน ถ้าชนะคน ก็แพ้กิเลส ถ้าหลงกล ก็แพ้ทั้งคนและกิเลส” เราต้องดูใจเราให้ออกนั่นเอง


ความสุขทั้งกายและใจ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันไม่อาจจะแยกให้ขาดจากกันได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน จะขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่ เพราะ “ถ้ากายป่วย... ใจก็พลอยป่วยไปด้วย ถ้าใจป่วยกายยิ่งป่วยหนักเข้าไปอีก” เพราะทั้งสองสิ่งมีสายสัมพันธ์กัน


การปฏิบัติธรรมให้เกิด “ความพอดีในชีวิต” ไม่มากและไม่น้อยเกินไปไม่ว่าในส่วนกายหรือใจก็ตาม ย่อมจะเกิดความสุขโดยปราศจากความทุกข์ ที่แอบแฝงตามมา ในความสุขทั้งสองฝ่ายนี้ ความสุขทางใจ นับว่าเป็น “สุดยอดแห่งความสุข” ทั้งหมด


ถ้าเรากระทำสิ่งใดแล้วจิตใจไม่มีความสุขแม้ว่าเราจะมีวัตถุมากมายครบถ้วนคอยอำนวยความสุขทุกรูปแบบ ก็หาได้เกิดความสุขที่สมบูรณ์อย่างแท้จริงไม่ เพราะว่า “คนที่มีความสุขที่สุด ไม่ได้หมายความว่าเขามีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงแต่เขาสามารถทำสิ่งที่เขามีให้ดีที่สุดได้ต่างหาก” นั่นคือ รู้จักทำใจให้สุขเอง


ในคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงพร่ำสอน ทรงย้ำให้พระมีชีวิตอยู่อย่าง “สงบ สันโดษ เรียบง่าย” และ “มักน้อย พอใจในสิ่งที่มีอยู่อย่างธรรมชาติที่สุด” ให้มีอาหารหรือปัจจัย ๔ หล่อเลี้ยงชีวิต “เหมือนน้ำมันหยอดเพลาเกวียนเท่านั้น” ก็สามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างเป็นสุข เพราะอำนาจแห่งความรู้จักพอดีนั่นเอง มากล่อมจิตใจเราให้ปรับตามสภาพที่เป็นจริง


หลัก “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจึงเป็นแนวทางที่ควรนำมาดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าใช้เป็นและใช้ให้ถูกต้องกับกาลเทศะ บุคคลและอัตภาพของตน สุขจะเกิดได้ทุกขณะ


ว. ปัญญาวชิโร






Free TextEditor




Create Date : 03 มกราคม 2554
Last Update : 3 มกราคม 2554 4:43:14 น. 3 comments
Counter : 523 Pageviews.

 
อนุโมทนาบุญค่ะ



โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:8:35:22 น.  

 
เยี่ยมยอดกระเทียมดอง กินกะข้าวต้มอร่อย


โดย: ไม้ไผ่สีทอง IP: 173.196.156.245 วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:11:18:58 น.  

 
สวัสดีค่ะ มีความสุขมากๆค่ะ
กิเลสเยอะ ยังหาความสุขไม่ได้เรยค่ะ แง่วๆๆ


โดย: Junenaka1 วันที่: 3 มกราคม 2554 เวลา:15:13:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

samuellz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชอบชีวิตอิสระที่สุด
รักทุกคนที่มีธรรมะ
[Add samuellz's blog to your web]

MY VIP Friend


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com