بسم الله الرحمن الرحيم

มารยาทในการศึกษาหาความรู้ 1

มารยาทในการศึกษาหาความรู้

ความรู้ คือ อิบาดะฮฺ และการจะเป็นอิบาดะฮฺได้นั้นต้องประกอบด้วยสองเงื่อนไข คือ กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา และยึดปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ซึ่งบรรดาผู้รู้นั้นถือเป็นทายาทของเหล่าศาสดา และวิชาความรู้นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน โดยที่สูงที่สุด มีเกียรติมากที่สุด และบริสุทธิ์ที่สุดก็คือวิชาความรู้ที่บรรดาศาสดาและเราะสูลได้นำมา อันเป็นความรู้เกี่ยวกับอัลลอฮฺ พระนามของพระองค์ คุณลักษณะของพระองค์ การกระทำของพระองค์ ตลอดจนเกี่ยวกับศาสนา และกฎหมายของพระองค์
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวว่า :
(محمد : 19)
ความว่า : ดังนั้น ก็จงทราบไว้เถิดว่าไม่มีพระเจ้าผู้ควรกราบไหว้อย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮฺ และจงกล่าวคำอิสติฆฟาร (ขออภัยโทษ) ในความผิดของตัวเจ้าเอง และของบรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงความเคลื่อนไหวและที่พำนักของสูเจ้า [มุหัมมัด : 19]

สำหรับมารยาทในการศึกษาหาความรู้นั้นมีหลายประการด้วยกัน ซึ่งบางส่วนเกี่ยวกับตัวผู้สอน และบางส่วนเกี่ยวกับผู้เรียน โดยในลำดับต่อไปนี้ ใคร่ขอกล่าวในบางประการเท่านั้น



1- มารยาทของครูผู้สอน
ถ่อมตนและไม่ถือตัว
อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่นบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
(الشعراء : 215)
ความว่า : และจงถ่อมตัวของเจ้าแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติตามเจ้า [อัชชุอะรออฺ : 215]

มีจรรยามารยาทที่งดงาม
1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่นบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
(القلم : 4)
ความว่า : และแท้จริง เจ้านั้นได้อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ [อัลเกาะลัม : 4]
2- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ของพระองค์ว่า :
(الأعراف : 199)
ความว่า : เจ้าจงยึดการอโหสิ และจงกระชับให้ทำดี และจงหลีกเลี่ยงจากพวกโฉดเขลาอวิชชาทั้งหลายเถิด [อัลอะร็อฟ : 199]

ผู้สอนจะต้องสอนแบบเว้นวันเพื่อคนจะได้ไม่เบื่อและปลีกหนี
จากอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - يَتَخَوَّلُنَا بِالْمَوْعِظَةِ فِى الأَيَّامِ ، كَرَاهَةَ السَّآمَةِ عَلَيْنَا . متفق عليه
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น จะเว้นวันในการให้คำตักเตือนเพราะไม่อยากให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อพวกเรา” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 68 และมุสลิม หมายเลข 2821]

จะต้องสอนด้วยเสียงดัง และทวนคำพูดสองหรือสามครั้งเพื่อให้คนเข้าใจ
1- จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า :
تَخَلَّفَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - عَنَّا فِى سَفْرَةٍ سَافَرْنَاهَا ، فَأَدْرَكَنَا وَقَدْ أَرْهَقَتْنَا الْصلاة ، فَجَعَلْنَا نَتَوَضَّأُ وَنَمْسَحُ عَلَى أَرْجُلِنَا ، فَنَادَى بِأَعْلَى صَوْتِهِ « وَيْلٌ لِلأَعْقَابِ مِنَ النَّارِ » . مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاَثًا . متفق عليه
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทิ้งท้ายหายจากพวกเราไปในการเดินทางครั้งหนึ่งที่เราได้ร่วมเดินทางไป แล้วท่านก็ตามเราทันเนื่องจากการละหมาดได้ประวิงเราไว้ เราจึงทำน้ำละหมาดและเช็ดเท้า ท่านเลยตะโกนอย่างสุดเสียงว่า “วัยลุน ลิลอะกอบิ มินันนารฺ” สอง หรือ สามครั้ง (แปลว่า ความหายนะในรูปของไฟนรกจะเกิดกับส้นเท้าที่ถูกล้างอย่างไม่ทั่วถึง) [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 60 และมุสลิม หมายเลข 241]

2- อนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
أَنَّهُ كَانَ إِذَا تَكَلَّمَ بِكَلِمَةٍ أَعَادَهَا ثَلاَثًا حَتَّى تُفْهَمَ عَنْهُ ، وَإِذَا أَتَى عَلَى قَوْمٍ فَسَلَّمَ عَلَيْهِمْ سَلَّمَ عَلَيْهِمْ ثَلاَثًا. أخرجه البخاري
ความว่า : “เมื่อท่านพูดคำหนึ่ง ท่านจะทวนสามครั้งจนกระทั่งคนเข้าใจ และเมื่อท่านมาหาคนกลุ่มหนึ่ง ท่านก็จะกล่าวสลามแก่พวกเขาสามครั้งเช่นกัน ” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 95]

การแสดงความโกรธในขณะการสอนและตักเตือนเมื่อเห็นหรือได้ยินสิ่งไม่ดี
2- จากอบีมัสอูด อัลอันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قَالَ رَجُلٌ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، لاَ أَكَادُ أُدْرِكُ الصَّلاَةَ مِمَّا يُطَوِّلُ بِنَا فُلاَنٌ ، فَمَا رَأَيْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - فِى مَوْعِظَةٍ أَشَدَّ غَضَبًا مِنْ يَوْمِئِذٍ فَقَالَ « أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنَّكُمْ مُنَفِّرُونَ ، فَمَنْ صَلَّى بِالنَّاسِ فَلْيُخَفِّفْ ، فَإِنَّ فِيهِمُ الْمَرِيضَ وَالضَّعِيفَ وَذَا الْحَاجَةِ » . متفق عليه
ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า : “ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! ฉันเกือบจะไม่ร่วมละหมาด(ญะมาอะฮฺ)เหตุเพราะจากคนหนึ่งที่นำละหมาดพวกเรานานมาก “ ซึ่งฉันยังไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กริ้วโกรธในตอนอบรมสั่งสอนครั้งใดมากยิ่งไปกว่าวันนั้น โดยท่านกล่าวว่า : “ โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านนี้ คือผู้ที่ขับไล่ตะเพิดผู้อื่น ฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่นำคนอื่นละหมาด เขาก็จงทำให้เบา เพราะในหมู่พวกเขามีผู้ป่วย คนอ่อนแอ และผู้ที่มีธุระอยู่ [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 90 และมุสลิม หมายเลข 466]

ต้องอธิบายคำตอบยาวกว่าคำถามในบ้างครั้ง
มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่า :
أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- مَا يَلْبَسُ الْمُحْرِمُ مِنَ الثِّيَابِ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « لاَ تَلْبَسُوا الْقُمُصَ وَلاَ الْعَمَائِمَ وَلاَ السَّرَاوِيلاَتِ وَلاَ الْبَرَانِسَ وَلاَ الْخِفَافَ إِلاَّ أَحَدٌ لاَ يَجِدُ النَّعْلَيْنِ فَلْيَلْبَسِ الْخُفَّيْنِ وَلْيَقْطَعْهُمَا أَسْفَلَ مِنَ الْكَعْبَيْنِ وَلاَ تَلْبَسُوا مِنَ الثِّيَابِ شَيْئًا مَسَّهُ الزَّعْفَرَانُ وَلاَ الْوَرْسُ ». متفق عليه
ความว่า : “ชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า ผู้ครองอิหรอมนั้น (ผู้ประสงค์จะทำอุมเราะฮฺหรือฮัจญ์) สามารถสวมเสื้อผ้าอะไรได้บ้าง ? ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า “พวกท่านจงอย่าสวมเสื้อยาว ผ้าโผกศรีษะ กางเกง เสื้อที่มีส่วนหัวใช้ครอบศรีษะ และรองเท้าบูท นอกจากว่า จะมีคนใดที่ไม่มีรองเท้าแตะ ก็ขอให้เขาสวมรองเท้าหุ้มบูทได้ แต่เขาจะต้องตัดขาของมันให้อยู่ใต้ตาตุ่ม และจงอย่าสวมผ้าใด ๆ ที่ชุบด้วยซะอฺฟะรอนหรือวัสรฺ” (ซะอฺฟะรอน คือ พืชชนิดหนึ่งในแถบตะวันกลาง ใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง ส่วนวัสรฺ คือ พืชชนิดหนึ่งในแถบตะวันออกกลาง ใช้ย้อมผ้าไหมให้เป็นสีแดง – ผู้แปล) [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 1542 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 1177]

ผู้สอนตั้งคำถามเพื่อทดสอบวิชาความรู้ของผู้เรียน
มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِنَّ مِنَ الشَّجَرِ شَجَرَةً لاَ يَسْقُطُ وَرَقُهَا ، وَإِنَّهَا مَثَلُ الْمُسْلِمِ ، فَحَدِّثُونِى مَا هِىَ » . فَوَقَعَ النَّاسُ فِى شَجَرِ الْبَوَادِى . قَالَ عَبْدُ اللَّهِ وَوَقَعَ فِى نَفْسِى أَنَّهَا النَّخْلَةُ ، فَاسْتَحْيَيْتُ ثُمَّ قَالُوا حَدِّثْنَا مَا هِىَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ « هِىَ النَّخْلَةُ » متفق عليه
ความว่า : “ แท้จริงแล้ว ในจำนวนต้นไม้ต่าง ๆ มีต้นไม้ต้นหนึ่งที่ไม่พลัดใบ ซึ่งมันเหมือนกับคนมุสลิม ดังนั้น พวกท่านก็จงตอบฉันซิว่ามันคือต้นอะไร ? ผู้คนเลยต่างคิดว่าเป็นต้นไม้ที่อยู่ในโอเอซิส อับดุลลอฮฺเล่าว่า “ฉันนึกในใจว่ามันจะต้องเป็นต้นอินทผลัมแน่ ๆ แต่ฉันก็อายที่จะตอบ” หลังจากนั้น พวกเขาก็กล่าวว่า “จงเฉลยให้พวกเราซิ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! ว่ามันคือต้นอะไร ? ท่านตอบว่า “มันคือต้นอินทผลัมอย่างไงล่ะ” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 61 และมุสลิม หมายเลข 2811





 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 21:53:11 น.   
Counter : 413 Pageviews.  

มารยาทในการศึกษาหาความรู้ 2



ไม่บอกสิ่งที่คลุมเครือต่อหน้าสาธารณะชนทั่วไป แต่ควรจัดประเภทผู้เรียนเป็นคณะ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน
มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขี่พาหนะโดยมีมุอาซนั่งอยู่ข้างหลัง ท่านกล่าวว่า :
« يَا مُعَاذُ بْنَ جَبَلٍ » . قَالَ لَبَّيْكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ وَسَعْدَيْكَ . قَالَ « يَا مُعَاذُ » . قَالَ لَبَّيْكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ وَسَعْدَيْكَ . ثَلاَثًا . قَالَ « مَا مِنْ أَحَدٍ يَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ صِدْقًا مِنْ قَلْبِهِ إِلاَّ حَرَّمَهُ اللَّهُ عَلَى النَّارِ » . قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، أَفَلاَ أُخْبِرُ بِهِ النَّاسَ فَيَسْتَبْشِرُوا قَالَ « إِذًا يَتَّكِلُوا » . وَأَخْبَرَ بِهَا مُعَاذٌ عِنْدَ مَوْتِهِ تَأَثُّمًا . متفق عليه
ความว่า : “โอ้ มุอาซ บินญะบัล !” เขาตอบว่า “ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ด้วยความยินดียิ่ง” ท่านกล่าวอีกว่า “โอ้ มุอาซ บินญะบัล !” เขาตอบว่า “ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ด้วยความยินดียิ่ง” เป็นจำนวนสามครั้งด้วยกัน ท่านกล่าวว่า” ผู้ใดก็แล้วแต่ที่กล่าวคำปฏิญานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ว่า อัลลอฮฺเท่านั้น คือ พระเจ้าที่ควรเคารพกราบไหว้ และมุหัมมัด คือ ศาสนทูตของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็จักปกป้องเขามิให้ต้องไฟนรก” เขาถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วไม่ให้ฉันบอกแก่คนอื่นหรือ พวกเขาจะได้ดีใจ ? ท่านตอบว่า “ (ไม่ต้องหรอก) เพราะถ้าอย่างนั้น พวกเขาก็คงจะมอบตัวแก่อัลลอฮฺโดยไม่ทำการใด ๆ ละซิ” แต่ในตอนที่ท่านได้เสียชีวิตลง มุอาซก็ได้บอกสิ่งนี้แก่คนอื่นเพราะเกรงว่าจะเกิดความผิดบาปกับตัวเขา [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข128 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 32]


เว้นการห้ามปรามความชั่วเมื่อเกรงจะเกิดภัยที่อันตรายกว่า
มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับนางว่า :
« يَا عَائِشَةُ لَوْلاَ أَنَّ قَوْمَكِ حَدِيثُ عَهْدٍ بِجَاهِلِيَّةٍ لأَمَرْتُ بِالْبَيْتِ فَهُدِمَ ، فَأَدْخَلْتُ فِيهِ مَا أُخْرِجَ مِنْهُ وَأَلْزَقْتُهُ بِالأَرْضِ ، وَجَعَلْتُ لَهُ بَابَيْنِ بَابًا شَرْقِيًّا وَبَابًا غَرْبِيًّا ، فَبَلَغْتُ بِهِ أَسَاسَ إِبْرَاهِيمَ » . متفق عليه
ความว่า : “โอ้ อาอิชะฮฺ หากไม่ใช่เป็นเพราะพรรคพวกของเธอนี้เพิ่งพ้นผ่านยุคสมัยญาฮิลิยะฮฺมาหมาด ๆ ฉันคงจะสั่งให้คนรื้อกะบะฮฺ แล้วก็เอาสิ่งที่เคยถูกเอาออกเข้าไป และฉันจะทำให้มันติดอยู่กับพื้น และทำให้มีสองประตู หนึ่งประตูด้านตะวันออกและและหนึ่งประตูด้านตะวันตก จนกระทั่งฉันสามารถใช้มันเพื่อไปยังแท่นวางเท้าของอิบรอฮีมได้” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1586 และมุสลิม หมายเลข 1333]

ทุ่มเทวิชาความรู้ให้แก่บุรุษและสตรีเมื่อเห็นพวกนางมีความพร้อม
จากอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قال قَالَتِ النِّسَاءُ لِلنَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - غَلَبَنَا عَلَيْكَ الرِّجَالُ ، فَاجْعَلْ لَنَا يَوْمًا مِنْ نَفْسِكَ . فَوَعَدَهُنَّ يَوْمًا لَقِيَهُنَّ فِيهِ ، فَوَعَظَهُنَّ وَأَمَرَهُنَّ ، فَكَانَ فِيمَا قَالَ لَهُنَّ « مَا مِنْكُنَّ امْرَأَةٌ تُقَدِّمُ ثَلاَثَةً مِنْ وَلَدِهَا إِلاَّ كَانَ لَهَا حِجَابًا مِنَ النَّارِ » . فَقَالَتِ امْرَأَةٌ وَاثْنَيْنِ فَقَالَ « وَاثْنَيْنِ » . متفق عليه
ความว่า : “พวกสตรีได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า “พวกบุรุษได้เอาชนะท่านเหนือพวกเราแล้ว ดังนั้น ขอให้ท่านสละเวลาของท่านหนึ่งวันให้กับพวกเราด้วย” แล้วท่านก็กำหนดหนึ่งวันเพื่อพบปะกับพวกนาง โดยท่านได้อบรมและกำชับพวกนาง ซึ่งหนึ่งในประโยคที่ท่านกล่าวกับพวกนางก็คือ “ผู้หญิงคนใดก็ตามในหมู่พวกเธอที่เสียสละลูกสามคน (หมายถึง ลูกเสียชีวิตสามคน) ย่อมจะได้รับสิ่งขวางกั้นไฟนรกอย่างแน่นอน” แล้วหญิงนางหนึ่งก็ได้ถามว่า “แล้วถ้าสองคนล่ะ จะได้ไหม ? ท่านตอบว่า “สองคน ก็เช่นกัน" [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 101 และมุสลิม หมายเลข 2633]

การอบรมสั่งสอนผู้อื่นในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ทั้งบนพื้น หรือบนยานพาหนะ
1- จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า :
اسْتَيْقَظَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - ذَاتَ لَيْلَةٍ فَقَالَ « سُبْحَانَ اللَّهِ مَاذَا أُنْزِلَ اللَّيْلَةَ مِنَ الْفِتَنِ وَمَاذَا فُتِحَ مِنَ الْخَزَائِنِ أَيْقِظُوا صَوَاحِبَاتِ الْحُجَرِ ، فَرُبَّ كَاسِيَةٍ فِى الدُّنْيَا عَارِيَةٍ فِى الآخِرَةِ » . أخرجه البخاري
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ตกใจตื่นในคืนหนึ่งพร้อมกับกล่าวว่า : “ซุบฮานัลลอฮฺ” คืนนี้ ไม่ทราบว่ามีฟิตนะฮฺอะไรได้ลงมา และมีขุมทรัพย์อะไรได้ถูกเปิดออก ? จงปลุกบรรดาหญิงเจ้าของห้องเหล่านี้ให้ตื่นขึ้นมาซิ เพราะบางทีผู้หญิงที่สวมเสื้อผ้าในสมัยอยู่ในโลกดุนยาอาจต้องกลายเป็นคนไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ในโลกอาคิเราะฮฺ ” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 115]

2- จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า:
صَلَّى بِنَا النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - الْعِشَاءَ فِى آخِرِ حَيَاتِهِ ، فَلَمَّا سَلَّمَ قَامَ فَقَالَ « أَرَأَيْتَكُمْ لَيْلَتَكُمْ هَذِهِ ، فَإِنَّ رَأْسَ مِائَةِ سَنَةٍ مِنْهَا لاَ يَبْقَى مِمَّنْ هُوَ عَلَى ظَهْرِ الأَرْضِ أَحَدٌ » . متفق عليه
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้นำพวกเราละหมาดอิชาอฺในช่วงสุดท้ายของชีวิตท่าน และหลังจากท่านให้สลาม ท่านก็ได้ยืนขึ้นแล้วกล่าวว่า “พวกท่านสังเกตุดูคืนนี้ของพวกท่านหรือเปล่า ? เพราะเมื่อครบหนึ่งร้อยปีนับจากนี้ไป คงไม่มีผู้ใดที่อยู่บนโลกในวันนี้หลงเหลืออีกแล้ว” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 116 และมุสลิม หมายเลข 2537]

3- จากมุอาซ บินญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قَالَ كُنْتُ رِدْفَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَى حِمَارٍ يُقَالُ لَهُ عُفَيْرٌ قَالَ فَقَالَ « يَا مُعَاذُ تَدْرِى مَا حَقُّ اللَّهِ عَلَى الْعِبَادِ وَمَا حَقُّ الْعِبَادِ عَلَى اللَّهِ ». قَالَ قُلْتُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ. قَالَ « فَإِنَّ حَقَّ اللَّهِ عَلَى الْعِبَادِ أَنْ يَعْبُدُوا اللَّهَ وَلاَ يُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَحَقُّ الْعِبَادِ عَلَى اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ أَنْ لاَ يُعَذِّبَ مَنْ لاَ يُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا ». قَالَ قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَفَلاَ أُبَشِّرُ النَّاسَ قَالَ « لاَ تُبَشِّرْهُمْ فَيَتَّكِلُوا ». متفق عليه
ความว่า : “ฉันเคยอยู่ข้างหลังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม บนลาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า “อุฟัยรฺ” แล้วท่านก็ได้ถามว่า โอ้ มุอาซ ! ท่านรู้หรือเปล่า ว่าอะไรคือสิทธิของอัลลอฮฺเหนือปวงบ่าว และอะไรคือสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ ? ฉันตอบว่า “อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า” ท่านตอบว่า “แท้จริงแล้ว สิทธิของอัลลอฮฺที่มีเหนือปวงบ่าวก็คือพวกเขาต้องกราบไหว้อัลลอฮฺและไม่เทียบเคียงพระองค์ด้วยสิ่งใด ๆ และสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ-อัซซะวะญัลลฺ-ก็คือพระองค์ต้องไม่ลงโทษผู้ที่ไม่เทียบเคียงพระองค์ด้วยสิ่งใด ๆ” ฉันกล่าวว่า “ โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! แล้วฉันจะบอกคนอื่นไม่ได้หรือ ? ท่านตอบว่า “ท่านอย่าได้บอกพวกเขา เพราะจะทำให้พวกเขาปล่อยตัวปล่อยใจโดยไม่ทำการอะไรเลย” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2856 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 30]

ดุอาและคำที่ควรกล่าวปิดท้ายการพบปะหรือประชุม
จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า:
قَلَّمَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُومُ مِنْ مَجْلِسٍ حَتَّى يَدْعُوَ بِهَؤُلاَءِ الْكَلِمَاتِ لأَصْحَابِهِ « اللَّهُمَّ اقْسِمْ لَنَا مِنْ خَشْيَتِكَ مَا يَحُولُ بَيْنَنَا وَبَيْنَ مَعَاصِيكَ وَمِنْ طَاعَتِكَ مَا تُبَلِّغُنَا بِهِ جَنَّتَكَ وَمِنَ الْيَقِينِ مَا تُهَوِّنُ بِهِ عَلَيْنَا مُصِيبَاتِ الدُّنْيَا وَمَتِّعْنَا بِأَسْمَاعِنَا وَأَبْصَارِنَا وَقُوَّتِنَا مَا أَحْيَيْتَنَا وَاجْعَلْهُ الْوَارِثَ مِنَّا وَاجْعَلْ ثَأْرَنَا عَلَى مَنْ ظَلَمَنَا وَانْصُرْنَا عَلَى مَنْ عَادَانَا وَلاَ تَجْعَلْ مُصِيبَتَنَا فِى دِينِنَا وَلاَ تَجْعَلِ الدُّنْيَا أَكْبَرَ هَمِّنَا وَلاَ مَبْلَغَ عِلْمِنَا وَلاَ تُسَلِّطْ عَلَيْنَا مَنْ لاَ يَرْحَمُنَا ». أخرجه الترمذي
ความว่า : “น้อยมากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะลุกออกจากที่พบปะจนกว่าท่านจะกล่าวคำต่อไปนี้ต่อหน้าบรรดาสหายของท่าน : “อัลลอฮุมมักสิม ละนา มินค็อชยะติกะ มายะหูลุ บัยนะนา วะบัยนะ มะอาศีกะ วะมิน ฏออาติกะ มาตุบัลลิฆุนา บิฮี ญันนะตะกะ วะมินัลยะกีน มาตุเฮาวินุอะลัยนา มุศีบาติดดุนยา วะมัตตินา บิอัสมาอินา วะอับศอรินา วะกุววะตินา มาอัหยัยตะนา วัจอัลฮุลวาริซะ มินนา วัจอัลซะเราะนา อะลามันเซาะละมะนา วันศุรนา อะลา มันอาดานา วะลา ตัจอัล มุศีบะตะนา ฟีดีนินา วะลาตัจอะลิดดุนยา อักบะเราะฮัมมินา วะลา มับละเฆาะอิลมินา วะลาตุสัลลิฏ อะลัยนา มันลาหะมุนา” (แปลว่า โอ้ อัลลอฮฺ ! ขอได้โปรดทรงประทานความรู้สึกเกรงกลัวต่อพระองค์ที่สามารถปิดกั้นระหว่างเรากับการล่วงละเมิดต่อพระองค์ให้แก่พวกเราด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงประทานการกระทำความภักดีต่อพระองค์ที่สามารถเชื่อมเราไปยังสรวงสวรรค และความเชื่อมั่นที่สามารถใช้บรรเทาความทุกข์ยากลำบากของโลกดุนยาด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงให้เรามีความสุขในการฟังของเรา การมองเห็นของเรา และพละกำลังของเรา ตราบใดที่พระองค์ยังทรงให้เรามีชีวิตอยู่ และขอโปรดทรงให้มันเป็นสิ่งที่คงอยู่กับพวกเราด้วยเถิด ขอได้โปรดทรงช่วยเหลือพวกเราให้มีชัยเหนือผู้ที่เป็นปรปกษ์กับเราด้วยเถิด และขอโปรดอย่าทรงให้ความทุกข์ยากของเราเกิดกับศาสนาของเรา และขอโปรดทรงอย่าทำให้โลกดุนยาเป็นสุดยอดความกังวลของพวกเรา หรือเป็นจุดสุดสิ้นความรู้ของพวกเรา และขอได้โปรดทรงอย่าให้พวกที่ไร้ปรานีต่อเราได้ควบคุมพวกเราเถิด” [หะสัน บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3502 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2783 ดู เศาะฮีหฺ อัลญามิอฺ หมายเลข 1268]


2- มีรายงานจากอบูฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ جَلَسَ فِى مَجْلِسٍ فَكَثُرَ فِيهِ لَغَطُهُ فَقَالَ قَبْلَ أَنْ يَقُومَ مِنْ مَجْلِسِهِ ذَلِكَ سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوبُ إِلَيْكَ. إِلاَّ غُفِرَ لَهُ مَا كَانَ فِى مَجْلِسِهِ ذَلِكَ ». أخرجه أحمد والترمذي
ความว่า : “ผู้ใดที่นั่งในที่พบปะแห่งหนึ่ง แล้วเกิดคำพูดที่ผิดพลาดขึ้นมากมายในที่นั้น และเขาได้กล่าวก่อนจะลุกออกจากที่พบปะดังกล่าวว่า “ซุบฮานะกัลลอฮุมมะ วะบิหาดิกะ อัชฮะดุอัลลา อิลาฮะ อิลลา อันตะ วะอะตูบุ อิลัยกะ” (แปลว่า ฉันขอสดุดีและสรรเสริญต่อพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ! โอ้พระเจ้าของฉัน ฉันขอยืนยันว่าพระองค์เท่านั้น คือ พระเจ้าที่ควรกราบไหว้ ฉันขออภัยโทษและขอกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์) เขาก็ย่อมจะได้รับอภัยโทษในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ.ที่พบปะดังกล่าว” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 10420 และ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3433 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2730 ]





 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 21:51:41 น.   
Counter : 233 Pageviews.  

มารยาทในการศึกษาหาความรู้ 3

ท่านั่งของนักเรียนนักศึกษา
1- จากอุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
بَيْنَمَا نَحْنُ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- ذَاتَ يَوْمٍ إِذْ طَلَعَ عَلَيْنَا رَجُلٌ شَدِيدُ بَيَاضِ الثِّيَابِ شَدِيدُ سَوَادِ الشَّعَرِ لاَ يُرَى عَلَيْهِ أَثَرُ السَّفَرِ وَلاَ يَعْرِفُهُ مِنَّا أَحَدٌ حَتَّى جَلَسَ إِلَى النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ ... متفق عليه .
ความว่า : “ในขณะที่พวกเรากำลังอยู่พร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในวันหนึ่งนั้น ก็ได้มีชายที่มีเสื้อผ้าขาวผ่อง ผมดำสนิทคนหนึ่งเข้ามาหาพวกเรา เขาไม่มีร่องรอยของการเดินทางไกล แต่ก็ไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาได้นั่งลงตรงหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วเขาก็ประกบหัวเข่าของเขากับหัวเข่าของท่าน และว่างสองฝ่ามือลงบนโคนขาของเขา ... [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 50 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 8]

2- มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - خَرَجَ ، فَقَامَ عَبْدُ اللَّهِ بْنُ حُذَافَةَ فَقَالَ مَنْ أَبِى فَقَالَ « أَبُوكَ حُذَافَةُ » . ثُمَّ أَكْثَرَ أَنْ يَقُولَ « سَلُونِى » . فَبَرَكَ عُمَرُ عَلَى رُكْبَتَيْهِ فَقَالَ رَضِينَا بِاللَّهِ رَبًّا ، وَبِالإِسْلاَمِ دِينًا ، وَبِمُحَمَّدٍ - صلى الله عليه وسلم - نَبِيًّا ، فَسَكَتَ . أخرجه البخاري
ความว่า : “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกมา แล้วอับดุลลอฮฺ บินคุซาฟะฮฺก็ยืนขึ้นแล้วถามว่า “ใครคือพ่อของฉัน ?” ท่านตอบว่า “พ่อของท่านคือคุซาฟะฮฺ” หลังจากนั้นท่านก็พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “จงถามฉันซิ ๆ ๆ ๆ” อุมัรเลยคุกเข่าลงพร้อมกับกล่าวว่า “เราะฎีตุบิลลาฮิ รับบา วะบิลอิสลามิดีนา วะบิมุหัมมะดิน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม นะบียา” (แปลว่า เราพอใจแล้วกับการมีอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า กับการมีอิสลามเป็นศาสนา และกับการมีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นศาสดา) ท่านเลยจึงเงียบลง [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 93 ]

การให้ความสำคัญต่อการร่วมกลุ่มกับกลุ่มศึกษาวิชาและกลุ่มขัดสมาธิที่มีอยู่ตามมัสยิดต่าง ๆ และเขาควรจะนั่งลงตรงไหน หากมาถึงในขณะที่คนอื่นต่างนั่งอยู่ในกลุ่มเรียบร้อยแล้ว
มีรายงานจากอบีวาฟิด อัลลัยซีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - بَيْنَمَا هُوَ جَالِسٌ فِى الْمَسْجِدِ وَالنَّاسُ مَعَهُ ، إِذْ أَقْبَلَ ثَلاَثَةُ نَفَرٍ ، فَأَقْبَلَ اثْنَانِ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وَذَهَبَ وَاحِدٌ ، قَالَ فَوَقَفَا عَلَى رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - فَأَمَّا أَحَدُهُمَا فَرَأَى فُرْجَةً فِى الْحَلْقَةِ فَجَلَسَ فِيهَا ، وَأَمَّا الآخَرُ فَجَلَسَ خَلْفَهُمْ ، وَأَمَّا الثَّالِثُ فَأَدْبَرَ ذَاهِبًا ، فَلَمَّا فَرَغَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « أَلاَ أُخْبِرُكُمْ عَنِ النَّفَرِ الثَّلاَثَةِ أَمَّا أَحَدُهُمْ فَأَوَى إِلَى اللَّهِ ، فَآوَاهُ اللَّهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَاسْتَحْيَا ، فَاسْتَحْيَا اللَّهُ مِنْهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَأَعْرَضَ ، فَأَعْرَضَ اللَّهُ عَنْهُ » . متفق عليه
ความว่า : “ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กำลังนั่งอยู่ในมัสยิดพร้อม ๆ กับคนอื่นนั้น ก็มีคนสามคนเดินตรงเข้ามา แล้วสองคนก็เข้ามายังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่วนอีกหนึ่งคนได้หายไป แล้วสองคนนั้นได้หยุดตรงหน้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งคนหนึ่งได้เห็นมีที่ว่างอยู่ในวงล้อม เขาจึงนั่งลง ส่วนอีกคนหนึ่งได้นั่งลงที่ท้ายวง ในขณะที่คนที่สามได้หันหลังจากไป ครั้น เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เสร็จ (จากการสั่งสอนอบรม) ท่านก็ได้กล่าวว่า “เอาไหมล่ะ ฉันจะบอกพวกท่านเกี่ยวกับคนสามคนนี้ ? คนหนึ่งได้เข้าหาอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็เลยทรงให้ความคุ้มครอง ส่วนอีกคนนั้น เขาอาย อัลลอฮฺก็เลยทรงอายต่อเขาเหมือนกัน และสำหรับอีกคนหนึ่งนั้น เขาได้หันหลังจากไป อัลลอฮฺก็เลยทรงเพิกเฉยต่อเขา” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 66 และมุสลิม หมายเลข 2176]


การนั่งเป็นวงกลมในทึ่ชุมนุมเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺหรือศึกษาหาความรู้
มีรายงานจากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا مَرَرْتُمْ بِرِيَاضِ الْجَنَّةِ فَارْتَعُوا ». قَالُوا وَمَا رِيَاضُ الْجَنَّةِ قَالَ « حِلَقُ الذِّكْرِ ». أخرجه أحمد والترمذي
ความว่า : “เมื่อพวกท่านผ่านหน้าลานสวรรค์ก็จงหยุดแวะ” พวกเขาถามว่า “ลานสวรรค์คืออะไรล่ะ ?” ท่านตอบว่า “คือ วงรำลึกถึงอัลลอฮฺ” [หะสัน บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 12551 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2562 และ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3510 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2787 ]

การให้เกียรติต่ออุลามาอฺ (นักวิชาการ) และผู้อาวุโส
1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวว่า :
ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย สูเจ้าจงอย่าพูดดังกว่าเสียงของนบี และจงอย่าพูดกับเขาด้วยเสียงดังอย่างที่สูเจ้าบางคนพูดเสียงดังกับคนอื่น เพราะเกรงว่าการงานต่าง ๆ ของสูเจ้าจะต้องสูญเสียไปโดยที่สูเจ้าไม่รู้สึกตัว (อัลหุญุร็อต : 2)
2- จากอนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า:
جَاءَ شَيْخٌ يُرِيدُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَبْطَأَ الْقَوْمُ عَنْهُ أَنْ يُوَسِّعُوا لَهُ فَقَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- « لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يَرْحَمْ صَغِيرَنَا وَيُوَقِّرْ كَبِيرَنَا ». أخرجه الترمذي والبخاري في الأدب المفرد
ความว่า : มีชายชราคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ปรากฏว่ากลุ่มคนที่ห้อมล้อมท่านได้ขยายวงเพื่อให้เขานั่งลงช้าไป ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ผู้ใดที่ไม่ปรานีต่อผู้เยาว์ของเราและไม่ให้เกียรติต่อผู้อาวุโสของเรา ผู้นั้นไม่ใช่คนของเรา” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1919 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1565 บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ในอัลอะดับ อัลมุฟร็อด หมายเลข 363 เศาะหีหฺอัลอะดับ อัลมุฟร็อด หมายเลข 272 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2196]


3- มีรายงานจากอุบาดะฮฺ บิบอัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُجِلَّ كَبِيرَنَا وَيَرْحَمْ صَغِيرَنَا ويَعْرِفْ لِعَالِمِنا ». أخرجه الحاكم
ความว่า : “ผู้ใดที่ไม่ยกย่องผู้อาวุโสของเรา ไม่ปรานีต่อผู้เยาว์ของเรา และไม่ให้เกียรติต่อผู้รู้ของเรา ผู้นั้นไม่ใช่คนของเรา” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลหากิม หมายเลข 421 ดู เศาะฮีหฺ อัลตัรฆีบ วะอัลตัรฮีบ หมายเลข 95]

การเงียบเพื่อสดับฟังคำพูดของอุลามาอฺ
มีรายงานจากญะรีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวกับเขาในตอนหัจญ อัลวะดาอฺ (หัจญ์สุดท้าย ครั้งอำลาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ) ว่า :
« اسْتَنْصِتِ النَّاسَ » فَقَالَ « لاَ تَرْجِعُوا بَعْدِى كُفَّارًا يَضْرِبُ بَعْضُكُمْ رِقَابَ بَعْضٍ » . متفق عليه
ความว่า : “จงทำให้คนเงียบเสียงซิ” แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า “หลังจากที่ฉันสิ้นชีวิตแล้ว พวกท่านจงอย่าได้หวนกลับสู่นิสัยของพวกปฏิเสธศรัทธา โดยที่บางคนในหมู่พวกท่านต่างฟันคอฆ่ากันเอง” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 121 และมุสลิม หมายเลข 65]







 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 21:52:13 น.   
Counter : 373 Pageviews.  

มารยาทในการศึกษาหาความรู้ 4

เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เข้าใจ ก็จงไต่ถามผู้รู้จนเข้าใจ
มีรายงานจากอิบนุอบีมุลัยกะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّ عَائِشَةَ زَوْجَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَتْ لاَ تَسْمَعُ شَيْئًا لاَ تَعْرِفُهُ إِلاَّ رَاجَعَتْ فِيهِ حَتَّى تَعْرِفَهُ ، وَأَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « مَنْ حُوسِبَ عُذِّبَ » . قَالَتْ عَائِشَةُ فَقُلْتُ أَوَ لَيْسَ يَقُولُ اللَّهُ تَعَالَى ( فَسَوْفَ يُحَاسَبُ حِسَابًا يَسِيرًا ) قَالَتْ فَقَالَ « إِنَّمَا ذَلِكَ الْعَرْضُ ، وَلَكِنْ مَنْ نُوقِشَ الْحِسَابَ يَهْلِكْ » . متفق عليه
ความว่า : “ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภริยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ทุกครั้งที่นางได้ฟังสิ่งที่นางไม่เข้าใจ นางก็จะไต่ถามจนกระทั่งได้เข้าใจ โดยครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ถูกสอบสวนเขาก็จะต้องถูกลงโทษ” อาอิชะฮฺเล่าว่า “ฉันจึงถามว่า “แล้วอัลลอฮฺมิได้ทรงกล่าวว่า :
( الإنشقاق : 8)
ดอกหรือ ? (แปลว่า : แล้วในภายภาคหน้าเขาก็จะถูกสอบสวนอย่างง่ายดาย) (อัลอินชิกอก : 8)
แล้วท่านก็ตอบว่า (อายัต) ดังกล่าวนั้นหมายถึงการนำเสนอ (ไม่ใช่การถูกสอบสวน) แต่หากผู้ใดถูกสอบสวนแล้วเขาก็จะต้องมีอันเป็นไป” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 103 และมุสลิม หมายเลข 2876]

การทบทวนความจำที่เป็นอายัตอัลกุรอานหรือสิ่งอื่น ๆ
1- มีรายงานจากอบีมูสา อะลัยฮิสสลาม ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« تَعَاهَدُوا الْقُرْآنَ فَوَالَّذِى نَفْسِى بِيَدِهِ لَهُوَ أَشَدُّ تَفَصِّيًا مِنَ الإِبِلِ فِى عُقُلِهَا » متفق عليه
ความว่า : “พวกท่านจงหมั่นทบทวนอัลกุรอานอยู่เสมอ ซึ่งฉันขอสาบานด้วยพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า มัน (การจำอัลกุรอาน) นั้น ช่างเปรียวยิ่งกว่าอูฐที่ถูกล่ามเชือกเสียอีก ” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5033 และมุสลิม หมายเลข 791]

2- จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
حَفِظْتُ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وِعَاءَيْنِ ، فَأَمَّا أَحَدُهُمَا فَبَثَثْتُهُ ، وَأَمَّا الآخَرُ فَلَوْ بَثَثْتُهُ قُطِعَ هَذَا الْبُلْعُومُ . أخرجه البخاري
ความว่า : “ฉันจดจำคำพูดของท่านเราะสูลุลลอฮฺสองประเภทด้วยกัน โดยประเภทหนึ่งฉันได้เปิดเผยแก่คนอื่น ส่วนอีกประเภทหนึ่งนั้น หากฉันเปิดเผยแล้ว หลอดอาหาร (ลำคอ) นี้ ก็คงต้องถูกฟันขาด” (นักอธิบายได้กล่าวว่า คำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่อบูฮุรัยเราะฮฺไม่เปิดเผยต่อผู้อื่นเพราะเกรงจะเป็นอันตรายต่อตัวเองนั้น เป็นคำพูดที่เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้นหลังจากท่านนบีเสียชีวิตไป อย่างไรก็ตาม ในบั้นปลายชีวิตของเขา เขาก็ได้เปิดเผยสิ่งเหล่านี้อย่างอ้อม ๆ โดยเลี่ยงที่จะระบุชื่อบุคคล เช่น ผ่านคำดุอาของเขาว่า ฉันขอหลีกไกลจากต้นปีที่ 60 และจากการปกครองของเด็ก ๆ อันหมายถึงการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะฮฺ เมื่อปีที่ 60 ฮ.ศ. ซึ่งอัลลอฮฺได้ตอบรับดุอาด้วยการให้เขาเสียชีวิตในปี 59 หนึ่งปีก่อนที่ยะซีด บินมุอาวิยะฮฺจะขึ้นปกครองรัฐอิสลาม ดู อัลฟัตหฺ อัลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 261 – ผู้แปล) [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 120]

ต้องตั้งสมาธิและตั้งใจฟัง
อัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทรงกล่าวว่า :
(ق : 37)
ความว่า : แท้จริงแล้วในสิ่งดังกล่าวนั้นย่อมเป็นบทเรียนแก่ผู้ที่มีหัวใจหรือสดับฟังอย่างตั้งใจ (ก้อฟ : 37)

การออกเดินทางและยอมระกำลำบากเพื่อแสวงหาความรู้ ตลอดจนการพยายามตักตวงวิชาพร้อมกับแสดงกริยาน้อบน้อมถ่อมตนในทุกโอกาส
อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า :
« بَيْنَمَا مُوسَى فِى مَلإٍ مِنْ بَنِى إِسْرَائِيلَ ، جَاءَهُ رَجُلٌ فَقَالَ هَلْ تَعْلَمُ أَحَدًا أَعْلَمَ مِنْكَ قَالَ مُوسَى لاَ . فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَى مُوسَى بَلَى ، عَبْدُنَا خَضِرٌ ، فَسَأَلَ مُوسَى السَّبِيلَ إِلَيْهِ ، فَجَعَلَ اللَّهُ لَهُ الْحُوتَ آيَةً ، وَقِيلَ لَهُ إِذَا فَقَدْتَ الْحُوتَ فَارْجِعْ ، فَإِنَّكَ سَتَلْقَاهُ ، وَكَانَ يَتَّبِعُ أَثَرَ الْحُوتِ فِى الْبَحْرِ ، فَقَالَ لِمُوسَى فَتَاهُ أَرَأَيْتَ إِذْ أَوَيْنَا إِلَى الصَّخْرَةِ فَإِنِّى نَسِيتُ الْحُوتَ ، وَمَا أَنْسَانِيهِ إِلاَّ الشَّيْطَانُ أَنْ أَذْكُرَهُ . قَالَ ذَلِكَ مَا كُنَّا نَبْغِى ، فَارْتَدَّا عَلَى آثَارِهِمَا قَصَصًا ، فَوَجَدَا خَضِرًا . فَكَانَ مِنْ شَأْنِهِمَا الَّذِى قَصَّ اللَّهُ - عَزَّ وَجَلَّ - فِى كِتَابِهِ » متفق عليه
ความว่า : “ในขณะที่มูสากำลังอยู่พร้อมกับคณะชาวอิสรออีลนั้น ก็มีชายคนหนึ่งเข้ามาหา แล้วถามว่า “ท่านทราบไหมว่ามีคนที่รู้ดีกว่าท่าน? มูสาตอบว่า “ไม่ทราบ” แล้วอัลลอฮฺก็ดลใจให้คำตอบแก่มูสาว่า “ยังมี เขาคือบ่าวของเราชื่อ “เคาะฎิร” แล้วมูสาก็ถามถึงวิธีที่จะไปหาผู้นั้น อัลลอฮฺจึงใช้ปลาใหญ่เป็นตัวชี้สัญญาณให้แก่เขา และเขาได้ถูกสั่งว่า “เมื่อเจ้าไม่พบปลาใหญ่เจ้าก็จงย้อนกลับ แล้วเจ้าก็จะได้พบกับเขา” ซึ่งท่านก็ได้สะกดรอยตามปลาใหญ่ในทะเล .. แล้วคนรับใช้ของมูสาก็บอกแก่มูสาว่า “ท่านสังเกตุเห็นไหมว่าในตอนที่เราได้แวะพักที่โขดหิดนั้น ฉันได้ลืมจะสังเกตุดูปลาใหญ่ และที่ฉันลืมบอกไปก็เพราะมารชัยฏอนทำให้ฉันลืม” ท่านเลยกล่าวว่า “นั้นแหล่ะคือสิ่งที่เราค้นหา” แล้วทั้งสองจึงย้อนกลับตามทางเดิม แล้วก็ได้พบกับท่านเคาะฎิร ซึ่งเรื่องราวของคนทั้งสองก็เป็นไปตามที่อัลลอฮฺได้ทรงเล่าในคัมภีร์ของพระองค์ ” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 74 และมุสลิม หมายเลข 2380]

การมุ่งมั่นตักตวงวิชา
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، مَنْ أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِكَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - « لَقَدْ ظَنَنْتُ يَا أَبَا هُرَيْرَةَ أَنْ لاَ يَسْأَلَنِى عَنْ هَذَا الْحَدِيثِ أَحَدٌ أَوَّلُ مِنْكَ ، لِمَا رَأَيْتُ مِنْ حِرْصِكَ عَلَى الْحَدِيثِ ، أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِى يَوْمَ الْقِيَامَةِ مَنْ قَالَ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ ، خَالِصًا مِنْ قَلْبِهِ أَوْ نَفْسِهِ » . أخرجه البخاري
ความว่า : มีคนถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ใครเล่าคือผู้ที่มีความสุขมากที่สุดกับการช่วยเหลือของท่านในวันกิยามะฮฺ ? “ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “ฉันนึกแล้วเชียวว่าคงไม่มีใครถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนกว่าท่าน เพราะฉันเห็นความใฝ่รู้ของท่านในเรื่องนี้สูงมาก ผู้ที่ความสุขมากที่สุดกับการช่วยเหลือของฉันในวันกิยามะฮฺคือผู้ที่กล่าวคำว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ อย่างจริงใจหรือบริสุทธิ์ใจ” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 99]

การบันทึกความรู้
1- จากอบีญุหัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
قُلْتُ لِعَلِىٍّ هَلْ عِنْدَكُمْ كِتَابٌ قَالَ لاَ ، إِلاَّ كِتَابُ اللَّهِ ، أَوْ فَهْمٌ أُعْطِيَهُ رَجُلٌ مُسْلِمٌ ، أَوْ مَا فِى هَذِهِ الصَّحِيفَةِ . قَالَ قُلْتُ فَمَا فِى هَذِهِ الصَّحِيفَةِ قَالَ الْعَقْلُ ، وَفَكَاكُ الأَسِيرِ ، وَلاَ يُقْتَلُ مُسْلِمٌ بِكَافِرٍ . أخرجه البخاري
ความว่า : “ฉันได้ถามอะลีย์ว่า ท่านมีหนังสือใด ๆ (ที่บันทึกจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม )ไหม ? เขาตอบว่า “ไม่มี มีก็เพียงแต่คัมภีร์ของอัลลอฮฺ หรือคำอธิบายที่ให้กับชายมุสลิม หรือสิ่งที่บันทึกอยู่ในหน้ากระดาษนี้เท่านั้น” ฉันถามว่า “แล้วสิ่งที่บันทึกอยู่ในกระดาษนี้คืออะไรกัน ?” เขาตอบว่า “คือ (คำอธิบายเกี่ยวกับกฎของ) เชือก (หมายถึงการจ่ายค่าสินไหมชดแทน) การปลดปล่อยเชลย และ (คำอธิบายเกี่ยวกับการที่) มุสลิมต้องไม่ถูกประหารเพราะ (การฆ่า) กาฟิร” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 111]

2- จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
مَا مِنْ أَصْحَابِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - أَحَدٌ أَكْثَرَ حَدِيثًا عَنْهُ مِنِّى ، إِلاَّ مَا كَانَ مِنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو فَإِنَّهُ كَانَ يَكْتُبُ وَلاَ أَكْتُبُ . تَابَعَهُ مَعْمَرٌ عَنْ هَمَّامٍ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ . أخرجه البخاري
ความว่า : “ไม่มีสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม คนไหนที่รายงานหะดีษจากท่านมากไปกว่าฉัน นอกจากสิ่งที่มีอยู่กับอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เพราะว่าเขานั้นเขียนเป็น ในขณะที่ฉันเขียนไม่เป็น” [บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 113]

หากละอายที่จะถาม ก็ให้คนอื่นช่วยถามแทน
จากอะลีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
كُنْتُ رَجُلاً مَذَّاءً وَكُنْتُ أَسْتَحْيِى أَنْ أَسْأَلَ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- لِمَكَانِ ابْنَتِهِ فَأَمَرْتُ الْمِقْدَادَ بْنَ الأَسْوَدِ فَسَأَلَهُ فَقَالَ « يَغْسِلُ ذَكَرَهُ وَيَتَوَضَّأُ ». متفق عليه
ความว่า : “ฉันเป็นคนที่มีน้ำกำหนัดออกอยู่เสมอ และฉันก็อายที่จะถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อันเนื่องมาจากสถานะของบุตรสาวของท่าน (ที่เป็นภรรยาของฉัน) ฉันเลยใช้ให้อัลมิกดาด บินอัลอัสวัดช่วยถามให้ แล้วท่านก็ตอบว่า “ให้เขาล้างอวัยวะเพศของเขา แล้วเอาน้ำละหมาด”” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 269 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 303]


การเข้าประชิดอิหม่ามในเวลาอบรมสั่งสอน
มีรายงานจากสะมุเราะฮฺ บินญุนดุบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบีของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้กล่าวว่า :
« احْضُرُوا الذِّكْرَ وَادْنُوا مِنَ الإِمَامِ فَإِنَّ الرَّجُلَ لاَ يَزَالُ يَتَبَاعَدُ حَتَّى يُؤَخَّرَ فِى الْجَنَّةِ وَإِنْ دَخَلَهَا ». أخرجه أبوداود
ความว่า : “พวกท่านจงเข้าร่วมในสถานพบปะเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงเข้าใกล้อิหม่าม เพราะว่าคน ๆ หนึ่ง อาจจะอยู่ห่าง ๆ เป็นอาจิณจนทำให้เขาต้องถูกให้อยู่ในที่ท้าย ๆ ในสวรรค์ แม้ว่าเขาจะได้เข้าก็ตาม” [หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข1108 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 980]

การมีมารยาทที่ดีในที่ชุมนุม
1- อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ทรงกล่าวว่า :
 (المجادلة : 11)
ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อมีคนบอกสูเจ้าว่า “จงขยับขยายในที่ชุมนุม” สูเจ้าก็จงขยับขยาย เพราะอัลลอฮฺจะทรงขยับขยายที่อันกว้างขวางแก่สูเจ้า (ในวันกิยามะฮฺ) และเมื่อมีคนบอกสูเจ้าว่า “จงแยกย้าย” สูเจ้าก็จงแยกย้าย เพราะอัลลอฮฺจะทรงเลื่อนชั้นแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่สูเจ้าและบรรดานักวิชาการหลายระดับชั้น และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่สูเจ้ากระทำ (อัลมุญาดะละฮฺ : 11)

2- มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« لاَ يُقِيمُ الرَّجُلُ الرَّجُلَ مِنْ مَقْعَدِهِ ثُمَّ يَجْلِسُ فِيهِ وَلَكِنْ تَفَسَّحُوا وَتَوَسَّعُوا ». متفق عليه
ความว่า : “ชายคนหนึ่งจงอย่าทำให้ชายอีกคนหนึ่งลุกออกจากที่ของเขา แล้วเขากลับนั่งแทนที่เขาคนนั้น แต่ (เขาจงกล่าวว่า) “พวกท่านจงขยับขยายให้กว้างด้วยเถิด” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6270 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2177]

3- มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« مَنْ قَامَ مِنْ مَجْلِسِهِ ثُمَّ رَجَعَ إِلَيْهِ فَهُوَ أَحَقُّ بِهِ ». أخرجه مسلم
ความว่า : “ ผู้ใดที่ลุกออกจากที่นั่งของเขา หลังจากนั้น เขาได้หวนกลับมาใหม่ เขาก็ย่อมมีสิทธิในที่นั่งนั้นมากกว่าคนอื่น ” [บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2179]

4- จากญาบิร บินสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
كُنَّا إِذَا أَتَيْنَا النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- جَلَسَ أَحَدُنَا حَيْثُ يَنْتَهِى. أخرجه أبوداود والترمذي
ความว่า : “พวกเรานั้น เมื่อมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ต่างคนก็จะนั่งลง ณ ที่ซึ่งเขาหยุด(นั่นคือที่ ๆ คนสุดท้ายนั่ง)” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4825 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4040 และบันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2725 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2193]

5- มีรายงานจากอัมรฺ บินชุอัยบฺ จากพ่อของเขา จากลุงของเขา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
عَنْ عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ - قَالَ ابْنُ عَبْدَةَ - عَنْ أَبِيهِ عَنْ جَدِّهِ أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « لاَ يُجْلَسُ بَيْنَ رَجُلَيْنِ إِلاَّ بِإِذْنِهِمَا ». أخرجه أبوداود
ความว่า : “คน ๆ หนึ่งจะต้องไม่ถูกให้นั่งระหว่างชายสองคน ยกเว้นด้วยการอนุญาตของคนทั้งสอง ” [หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4844 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4054 ]

6- จากอัชชะรีด บินสุวัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
مَرَّ بِى رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- وَأَنَا جَالِسٌ هَكَذَا وَقَدْ وَضَعْتُ يَدِىَ الْيُسْرَى خَلْفَ ظَهْرِى وَاتَّكَأْتُ عَلَى أَلْيَةِ يَدِى فَقَالَ « أَتَقْعُدُ قِعْدَةَ الْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ ». أخرجه أحمد وأبوداود
ความว่า : “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินผ่านตัวฉันในขณะที่ฉันกำลังนั่งอย่างนี้อยู่ โดยฉันได้วางมือซ้ายที่ด้านหลังและตะแคงบนฝ่ามือ ท่านจึงกล่าวว่า “ท่านนั่งในท่าทางของผู้ที่ถูกกริ้วโกรษ (หมายถึงชาวยิว) หรือ ?” [เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัหมัด หมายเลข 19683 และบันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 4848 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4058 ]

7- มีรายงานจากอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا كُنْتُمْ ثَلاَثَةً فَلاَ يَتَنَاجَى اثْنَانِ دُونَ صَاحِبِهِمَا فَإِنَّ ذَلِكَ يُحْزِنُهُ ». متفق عليه
ความว่า : “เมื่อพวกท่านอยู่ด้วยกันสามคน ก็จงอย่ากระซิบกันระหว่างสองคนโดยไม่มีเพื่อนอีกคนเข้าร่วมด้วย เพราะการกระทำดังกล่าวจะทำให้เขาเสียใจ ” [มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6290 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2184]




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 21:43:46 น.   
Counter : 473 Pageviews.  

มารยาทในการจาม (และหาว)

การขอดุอาอ์ให้แก่ผู้จาม
มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْعُطَاسَ، وَيَكْرَهُ التَّثَاؤُبَ، فَإِذَا عَطَسَ فَحَمِدَ اللَّهَ ، فَحَقٌّ عَلَى كُلِّ مُسْلِمٍ سَمِعَهُ أَنْ يُشَمِّتَهُ ، وَأَمَّا التَّثَاوُبُ فَإِنَّمَا هُوَ مِنَ الشَّيْطَانِ، فَلْيَرُدَّهُ مَا اسْتَطَاعَ، فَإِذَا قَالَ هَاءْ ضَحِكَ مِنْهُ الشَّيْطَانُ »
ความว่า : “แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺนั้นทรงรักการจามและทรงเกลียดการหาว ดังนั้น เมื่อเขาจามแล้วกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ได้ยินเสียงเขาที่จะต้องขอดุอาอ์ที่ดีให้แก่เขา ส่วนการหาวนั้น อันที่จริงแล้วมันมาจากชัยฏอน ฉะนั้นเขาจงระงับเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเมื่อใดที่เขาออกเสียง “ฮาอฺ” ชัยฏอนก็จะหัวเราะเยาะต่อเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6223)

สิ่งที่ควรทำในขณะหาว
1.มีรายงานจากอบีฮุร็อยยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« التَّثَاؤُبُ مِنَ الشَّيْطَانِ فَإِذَا تَثَاءَبَ أَحَدُكُمْ فَلْيَكْظِمْ مَا اسْتَطَاعَ ».
ความว่า : “การหาวนั้นมาจากชัยฏอน ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านหาวก็จงพยายามระงับเท่าที่จะทำได้” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6223 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2994)

2.มีรายงานจากอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا تَثَاوَبَ أَحَدُكُمْ فَلْيُمْسِكْ بِيَدِهِ عَلَى فِيهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَدْخُلُ ».
ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดหาวก็จงใช้มือปิดปากไว้เพราะชัยฏอนจะเข้าไป” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2995)

การขอดุอาอ์ให้แก่ผู้จามมีวิธีทำอย่างไร ?
1.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا عَطَسَ أَحَدُكُمْ فَلْيَقُلِ الْحَمْدُ لِلَّهِ . وَلْيَقُلْ لَهُ أَخُوهُ أَوْ صَاحِبُهُ يَرْحَمُكَ اللَّهُ . فَإِذَا قَالَ لَهُ يَرْحَمُكَ اللَّهُ . فَلْيَقُلْ يَهْدِيكُمُ اللَّهُ وَيُصْلِحُ بَالَكُمْ »
ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดจามเขาก็จงกล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ” (แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺ) และพี่น้องเขาหรือเพื่อนเขาจงกล่าวแก่เขาว่า “ยัรฺหะมุกัลลอฮฺ” (แปลว่า ขอให้อัลลอฮฺทรงโปรดปรานีต่อท่าน) และเมื่อเขาตอบกลับแก่เขาว่า “ยัรหะมุกัลลอฮฺ” ก็จงกล่าวตอบอีกว่า “ยะฮดีกุมุลลอฮฺ วะยุศลิหุบาละกุม” (แปลว่า ขออัลลอฮฺโปรดชี้ทางนำให้แก่ท่านและปรับปรุงสภาพของท่าน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6224)

2.จากนาฟิอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
« أَنَّ رَجُلاً عَطَسَ إِلَى جَنْبِ ابْنِ عُمَرَ فَقَالَ الْحَمْدُ لِلَّهِ وَالسَّلاَمُ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ. قَالَ ابْنُ عُمَرَ وَأَنَا أَقُولُ الْحَمْدُ لِلَّهِ وَالسَّلاَمُ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ وَلَيْسَ هَكَذَا عَلَّمَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَّمَنَا أَنْ نَقُولَ الْحَمْدُ لِلَّهِ عَلَى كُلِّ حَالٍ ».
ความว่า : "มีชายคนหนึ่งได้จามข้าง ๆ ตัวอิบนุอุมัรแล้วเขากล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ วัสสะลามอะลาเราะสูลิลลาฮฺ” (แปลว่า มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ และความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ) อิบนุอุมัรเลยกล่าวว่า “ฉันเองก็อยากจะกล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ วัสสะลามอะลาเราะสูลิลลาฮฺ” เหมือนกัน แต่อย่างนั้นมันไม่ใช่อย่างที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺสอนพวกเรา ท่านสอนพวกเราให้กล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ อะลากุลลิหาล“ (แปลว่า มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺในทุกสภาวการณ์)" (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2738 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2200 ดู อัลอิรวาอฺ หมายเลข 780)

คำที่ควรกล่าวแก่คนกาเฟรเมื่อเขาจามแล้วกล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ”
จากอบีมูซา อัลอัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
«كَانَتِ الْيَهُودُ تَعَاطَسُ عِنْدَ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- رَجَاءَ أَنْ يَقُولَ لَهَا يَرْحَمُكُمُ اللَّهُ فَكَانَ يَقُولُ « يَهْدِيكُمُ اللَّهُ وَيُصْلِحُ بَالَكُمْ ».
ความว่า : มีคนยิวจามใกล้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เพื่อหวังที่จะให้ท่านกล่าวแก่เขาว่า “ยัรหัมกุมุลลอฮฺ” และแล้วท่านนบีก็ได้กล่าวว่า “ยะฮดีกุมุลลอฮฺ วะยุศลิหบาละกุม” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 5038 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4213 และบันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2739 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2201)

สิ่งที่ควรทำในขณะจาม
จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า:
«كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا عَطَسَ وَضَعَ يَدَهُ أَوْ ثَوْبَهُ عَلَى فِيهِ وَخَفَضَ أَوْ غَضَّ بِهَا صَوْتَهُ» .

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น เมื่อท่านจามท่านจะเอามือหรือผ้ามาปิดปากและใช้มันเพื่อลดเสียงจามให้เบาลง (หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 5029 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 4207 และบันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2745 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2205)

ให้กล่าวขอดุอาอ์แก่ผู้จามเมื่อไร ?
จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า:
عَطَسَ رَجُلاَنِ عِنْدَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - فَشَمَّتَ أَحَدَهُمَا وَلَمْ يُشَمِّتِ الآخَرَ، فَقِيلَ لَهُ فَقَالَ «هَذَا حَمِدَ اللَّهَ،وَهَذَا لَمْ يَحْمَدِ اللَّهَ » .
ความว่า : มีชายสองคนจามใกล้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วท่านก็กล่าวขอดุอาอ์ให้แก่คนหนึ่งและไม่ได้กล่าวให้แก่อีกคน ท่านเลยถูกถาม (ถึงเหตุผลดังกล่าว) แล้วท่านก็ได้ตอบว่า “คนนี้เขาได้กล่าวขอบคุณอัลลอฮฺ ส่วนอีกคนเขาไม่กล่าวขอบคุณอัลลอฮฺ” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6221 และมุสลิม หมายเลข 2991)

ต้องขอดุอาอ์ให้แก่ผู้จากกี่ครั้ง ?
1.มีรายงานจากสะละมะฮฺ บินอัลอักวะอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« يُشَمَّتُ الْعَاطِسُ ثَلاَثًا فَمَا زَادَ فَهُوَ مَزْكُومٌ ».
ความว่า : “ผู้จามจะถูกขอดุอาอ์ให้สามครั้ง ส่วนที่เกินจากนั้นแสดงว่าเขาเป็นหวัด” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3714 เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 2993)

2.มีรายงานจากสะละมะฮฺ บินอัลอักวะอฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :
أَنَّهُ سَمِعَ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- وَعَطَسَ رَجُلٌ عِنْدَهُ فَقَالَ لَهُ « يَرْحَمُكَ اللَّهُ ». ثُمَّ عَطَسَ أُخْرَى فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « الرَّجُلُ مَزْكُومٌ ».
ความว่า : เขาได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และชายคนหนึ่งได้จามใกล้ ๆ กับท่านแล้วท่านก็ได้กล่าวแก่เขาว่า “ยัรหะมุกัลลอฮฺ” ต่อมาเขาคนนั้นก็จามอีกครั้ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ชายคนนี้เป็นหวัด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2993)







 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2551   
Last Update : 23 กรกฎาคม 2551 20:12:07 น.   
Counter : 1080 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

salman
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




who's online
[Add salman's blog to your web]