เวลาไม่เคยคอยใคร.... สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ.... ค่าของคน.....อยู่ที่ผลแห่งกรรมดี
Group Blog
 
All Blogs
 

ระวังกลโกงในการคิดค่างวดเช่าซื้อ

โดย นายพรชิต ปิยวัฒนเมธา

จาก //www.navaleasing.co.th

ประชาชนทั่วไปกำลังมองหาสินค้าผ่อนส่งอะไรอยู่ก็ตาม ต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวเลขค่างวดเงินผ่อนที่บริษัทลีสซิ่งหรือบริษัทไฟแนนซ์จะแจ้งให้คุณทราบว่าเป็นจำนวนเท่าใด เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคต้องรู้ ต้องเข้าใจวิธีการคิดตัวเลข จึงจะป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกโกงโดยไม่รู้ตัว และเชื่อได้ว่ามีประชาชนจำนวนมาก ๆ ที่ถูกโกงมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งพวกที่ผ่อนหมดไปแล้วหรือพวกที่กำลังผ่อนชำระกันอยู่

โดยปกติสินค้าที่เกี่ยวกับเงินผ่อนไม่ว่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างมีวิธีการคิดค่างวดเงินผ่อนที่เหมือนกัน จะต่างกันก็ตรงดอกเบี้ยที่คิดเท่านั้น เพียงแต่ผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจกับ 3 องค์ประกอบต่อไปนี้เป็นพื้นฐานก่อน คือ

1. สินค้าที่จะซื้อเงินผ่อน เป็นสินค้าใหม่หรือสินค้าใช้แล้ว

2. ผู้ขายสินค้าอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

3. ภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะนั้นมีอัตราเท่าใด

ในกรณีสินค้าใหม่นั้น ราคาที่ผู้ขายบอกขายจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วทั้งสิ้น เช่น รถยนต์ใหม่ราคา 2,500,000 บาท รถจักรยานยนต์ใหม่ราคา 60,000 บาท เครื่องรับโทรทัศน์ใหม่ราคา 12,000 บาท เป็นต้น ส่วนสินค้าใช้แล้วนั้น จะขึ้นอยู่กับผู้ขายด้วย กล่าวคือ ถ้าผู้ขายเป็นนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาของสินค้าใช้แล้วย่อมรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเช่นกัน แต่ถ้าผู้ขายไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาขายของสินค้าใช้แล้วนั้นไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น รถมือสองที่ขายโดยเต๊นท์รถต่าง ๆ ส่วนมากจะไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเต๊นท์ที่ขายไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ผู้บริโภคต้องถามให้ชัดเจนว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือยังไม่รวม ก่อนตัดสินใจซื้อแบบเงินผ่อน


สำหรับการคิดค่างวดนั้น จะแสดงวิธีคิดที่ถูกต้องที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่มีราคาขายเท่ากันที่ 1,600,000 บาท (ถอด VAT 7% = 1,495,327.10) ดังนี้:


สินค้าที่ถอดมูลค่าเพิ่มออก สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม

รถยนต์ใหม่/รถมือสอง 1,495,327.10 1,600,000

หัก เงินดาวน์ 373,831.77 400,000 (จ่ายให้เต๊นท์รถ)

เงินกู้เช่าซื้อ 1,121,495.33 1,200,000

คิดดอกเบี้ย 5% Flat 2 ปี 112,149.53 120,000

รวมยอดผ่อนชำระ 1,233,644.86 1,320,000

ค่างวดต่อเดือน (หาร 24) 51,401.87 55,000

บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 3,598.13 3,850

ค่างวดต่อเดือนที่ต้องผ่อน 55,000 x 24 58,850 x 24

จะเห็นได้ว่า ซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องการผ่อน จำนวนเงินที่ผ่อนจะสูงกว่าเพราะบริษัทลีสซิ่งจะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ประเด็นนี้ยังพอทำใจได้ ที่จะกล่าวถึงตามหัวเรื่องที่เขียนจะเกิดกับสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มมาแต่แรกแล้ว ซึ่งจะเป็นสินค้าใหม่ จากที่เคยเห็นและรับปรึกษาให้แก่ผู้บริโภคที่เดือดร้อน เมื่อนำสัญญาเช่าซื้อที่ทำกับบริษัทลีสซิ่งและบริษัทไฟแนนซ์ทั้งใหญ่และกลางบางแห่งมาดูพบว่ามีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำเข้าไปอีกครั้ง ถือว่าเป็นการโกงผู้บริโภคโดยแท้จริง โดยการแสดงวิธีคิดที่สับสนเล็กน้อย ดังนี้ :

รถยนต์ใหม่ 1,600,000.00 (ตัวเลขรวม VAT)

หัก เงินดาวน์ 400,000.- 373,831.77 (ตัวเลขถอด VAT)

เหลือเงินกู้ 1,226,168.23

คิดดอกเบี้ย 5% Flat 2 ปี 122,616.82

รวมยอดผ่อนชำระ 1,348,785.05

ค่างวดต่อเดือน (หาร 24) 56,199.38

บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 3,933.96

ค่างวดต่อเดือนที่ต้องผ่อน 60,133.33 x 24

วิธีคิดข้างต้นใช้แบบผสมที่ไม่ถูกต้อง แต่ผู้บริโภคที่ไม่ได้ศึกษาจะไม่ทราบ และยอมผ่อนตามที่แสดงไว้ เหตุการณ์เช่นนี้มักจะเกิดกับข้อเสนอจากบริษัทลีสซิ่งและบริษัทไฟแนนซ์ที่คิดดอกเบี้ยเช่าซื้อถูกเป็นพิเศษ และใช้วิธีโกงข้างต้นตลบหลังบวกเพิ่มโดยผู้เช่าซื้อไม่รู้ตัว แล้วคุณล่ะ! วันนี้ได้ตรวจดูสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้หรือยัง คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่โดนแล้วก็ได้…จะบอกให้




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2550    
Last Update : 28 ธันวาคม 2550 2:09:07 น.
Counter : 383 Pageviews.  

การใช้แก๊ส LPG และ NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง

การเปรียบเทียบ
การใช้แก๊ส LPG และ NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
(3,000 กม./เดือน)

น้ำมันเบนซิน 95 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 3,000.00 กม./เดือน 3,000.00 กม./เดือน 3,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 25.00 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 2.00 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 6,000.00 บาท/เดือน 2,208.00 บาท/เดือน 2,550.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 3,792.00 บาท/เดือน 3,450.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 40,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 10.5485232 เดือน 17.39 เดือน
น้ำมันเบนซิน 91 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 3,000.00 กม./เดือน 3,000.00 กม./เดือน 3,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 24.50 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 1.96 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 5,880.00 บาท/เดือน 2,208.00 บาท/เดือน 2,550.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 3,672.00 บาท/เดือน 3,330.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 40,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 10.89 เดือน 18.02 เดือน

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน / ระยะเวลาการใช้งานต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน = ระยะเวลาการใช้ต่อเดือน / อัตราการสิ้นเปลือง

การเปรียบเทียบ
การใช้แก๊ส LPG และ NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
(5,000 กม./เดือน)

น้ำมันเบนซิน 95 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 5,000.00 กม./เดือน 5,000.00 กม./เดือน 5,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 25.00 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 2.00 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,000.00 บาท/เดือน 3,680.00 บาท/เดือน 4,250.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 6,320.00 บาท/เดือน 5,750.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 40,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 6.32911392 เดือน 10.43 เดือน
น้ำมันเบนซิน 91 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 5,000.00 กม./เดือน 3,000.00 กม./เดือน 5,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 24.50 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 1.96 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 9,800.00 บาท/เดือน 3,680.00 บาท/เดือน 4,250.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 4,120.00 บาท/เดือน 5,550.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 40,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 9.71 เดือน 10.81 เดือน

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน / ระยะเวลาการใช้งานต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน = ระยะเวลาการใช้ต่อเดือน / อัตราการสิ้นเปลือง

การเปรียบเทียบ
การใช้แก๊ส LPG และ NGV ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
(12,000 กม./เดือน)

น้ำมันเบนซิน 95 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 12,000.00 กม./เดือน 12,000.00 กม./เดือน 12,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 25.00 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 2.00 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 24,000.00 บาท/เดือน 8,832.00 บาท/เดือน 10,200.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 15,168.00 บาท/เดือน 13,800.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 60,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 3.9556962 เดือน 4.35 เดือน
น้ำมันเบนซิน 91 แก๊ส LPG แก๊ส NGV
ระยะการใช้งานต่อเดือน 12,000.00 กม./เดือน 12,000.00 กม./เดือน 12,000.00 กม./เดือน
ราคาเชื้อเพลิง 24.50 บาท/ลิตร 9.20 บาท/ลิตร 8.50 บาท/ลิตร
อัตราการสิ้นเปลือง 12.50 กม./ลิตร 12.50 กม./ลิตร 10.00 กม./ลิตร
ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร 1.96 บาท/กม. 0.74 บาท/กม. 0.85 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 23,520.00 บาท/เดือน 8,832.00 บาท/เดือน 10,200.00 บาท/เดือน
ประหยัดค่าเชื้อเพลิงต่อเดือน 14,688.00 บาท/เดือน 13,320.00 บาท/เดือน
ราคาชุดอุปกรณ์ 40,000.00 บาท/ชุด 60,000.00 บาท/ชุด
ระยะเวลาคืนทุน 2.72 เดือน 4.50 เดือน

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตร = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน / ระยะเวลาการใช้งานต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน = ระยะเวลาการใช้ต่อเดือน / อัตราการสิ้นเปลือง




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2550    
Last Update : 23 ธันวาคม 2550 11:28:25 น.
Counter : 433 Pageviews.  

ก๊าซธรรมชาติคืออะไร

...ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือ ซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกัน จนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล

ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า

ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจน และน้ำ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย




คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ

- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
- เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ ( ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผลมาจาก การเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ก๊าซรั่ว)
- เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
- ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 537-540 องศาเซลเซียส

คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ

- เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
- ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
- มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
- มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
- สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก

การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV )

Natural Gas for Vehicles ( NGV ) คือ ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ โดยก๊าซ NGVนี้มีมีส่วนประกอบหลักคือ ก๊าซมีแทนที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ส่วนใหญ่จะมีการใช้ อยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (ประมาณ 3,000 ปอนด์ ต่อ ตารางนิ้ว) เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า บางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่า CNG ( Compressed Natural gas ) หรือ
ก๊าซธรรมชาติอัด การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ มีข้อดีคือ เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ ให้มลพิษต่ำโดยเฉพาะปริมาณฝุ่นละออง ( Particulate ) และควันดำ

รูปแบบการใช้ NPG กับรถยนต์

• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ( Dedicated NGV ) ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรง
ใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ
• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงทวิ ( Bi-Fuel System ) ซึ่งระบบที่สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงได้โดยเพียงแต่ปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงเท่านั้น
• รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงผสม ( Dual-fuel system ) ซึ่งเป็นระบบใช้น้ำมันดีเซล ผสมก๊าซ NGV โดยใช้ร่วมกัน



1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( NGV SAFETY ADVICE )
ระบบ BRC / NGV ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110 ทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูงสุดและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซประเภท ( NON - TOXIC)
และไม่เป็นอันตรายต่อการสูดหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นต่ำและก๊าซธรรมชาติมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อมีการรั่วตามจุดข้อต่อต่าง ๆ ก๊าซธรรมชาติจะลอยขึ้นสู่อากาศไม่สะสมในรถยนต์

• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ ควรจอดรถในที่โล่ง , ดับเครื่องยนต์และปิดวาล์วมือที่ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ จากนั้นปรับไปใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซลีน และนำรถยนต์ของท่านไป ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาตรฐาน

• เมื่อเติมก๊าซธรรมชาติให้เปิด ฝาครอบพลาสติกที่ครอบหัวเติมก๊าซ จะมีสวิตช์ที่การทำงานตัดระบบของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ เครื่องยนต์จะสตาร์ทไม่ติด



2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)
อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด

การตรวจสอบระยะ 1,000 กิโลเมตร
เมื่อเครื่องยนต์ติดตั้งระบบ NGV และใช้งานแล้วประมาณ 1,000 กิโลเมตร กรุณานำรถเข้าศูนย์เพื่อทำการ ปรับตั้ง (JUNE UP) และเพื่อตรวจสอบการทำงานอีกครั้งทั้งระบบ โปรดติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจสอบรถของท่าน
( ดูรายการตรวจสอบที่ 1000 กิโลเมตร ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )

การตรวจสอบประจำปี
การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ นั้นควรมีการตรวจสอบทุกปี
( ดูรายการตรวจสอบประจำปี ในหัวข้อตารางการซ่อมบำรุง )


ถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ

ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ระยะเวลา
- รักษาระบบการจุดระเบิด
(IGNITION SYSTEM) ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
(ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
- เปลี่ยนกรองอากาศ ทุก20,000-30,000กิโลเมตรหรือตามความจำเป็น
- ทำความสะอาดกรองอากาศ ทุก ๆ อาทิตย์
- เปลี่ยนกรองก๊าซ NGV ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน ทุกๆ30,000 กิโลเมตร
- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ NGV
(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า) ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน
- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน
- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงNGV เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่
- การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลงก๊าซธรรมชาติ NGV ต้องทำการตรวจและรับรอง ทุกๆ 5 ปี


ก๊าซปิโตเลียมเหลว กับ ก๊าซหุงต้ม ( LPG )
ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ( liquefied petroleum gas : LPG ) หรือเรียกย่อๆ ว่า แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทน ในอัตราส่วนเท่าใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นโพรเพนบริสุทธิ์ 100% หรือบิวเทนบริสุทธิ์ 100% ก็ได้ สำหรับในประเทศไทยก๊าซหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติโดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ในครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะได้ เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และในยานพาหนะ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในครัวเรือนโดยตรง ด้วยคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงติดไฟของก๊าซธรรมชาติและก๊าซหุงต้ม เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ต้องใส่ใจในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในการใช้งานอย่างเคร่งครัด

คุณสมบัติทั่วไปของ LPG
• เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโพรเทนและนิวเทน เป็นหลัก
• ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ ( แต่โดยทั่วไปจะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย )
• หนักกว่าอากาศ
• ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 c ํ

คุณประโยชน์ของก๊าซ LPG
• เป็นเชื้อเพลิงที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมีการเผาไหม้สมบูรณ์
• ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะไอกรีน
• มีราคาถูก 9.5 ( 05/08/48 )
• ก๊าซอยู่ในสภาพแรงดันต่ำ 180 psi
• อัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันเบนซิน
• อุปกรณ์มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ก๊าซ NGV

ข้อเปรียบเทียบ
ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซหุงต้ม (LPG)

ความปลอดภัย มีความปลอดภัยสูงเนื่องจาก เบากว่าอากาศเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอย ขึ้นสู่อากาศทันที เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายอยู่ตามพื้นราบ
ความพร้อมในการนำมาใช้งาน สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน
ประสิทธิภาพการเผาไหม้ เผาไหม้ได้สมบูรณ์ เผาไหม้ได้สมบูรณ์
คุณลักษณะของเชื้อเพลิง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเผาไหม้
ปราศจากเขม่าและกำมะถัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่โดยทั่วไป
จะเติมสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
จำนวนสถานีบริการ 36 แห่ง ( กค 48) กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ


1. ระบบความปลอดภัย ความปลอดภัยของระบบเชื้อเพลิงก๊าซ ( LPG SAFETY ADVICE )
ระบบ LPG ซึ่งผลิตโดย BRC ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐานที่ให้ความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67 ซึ่งทำให้รถของท่านมีความปลอดภัยสูง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• กรณีที่สงสัย หรือพบว่ามีการรั่วไหลของแก๊ส ควรปฏิบัติดังนี้
1.ดับเครื่องยนต์ และเคลื่อนย้ายไปที่อากาศถ่ายเท
2.ปิดวาล์วทันทีเมื่อพบแก๊สรั่ว (มีกลิ่นเหม็น) หรือ ได้ยินเสียงรั่วซึม
3.หยุดการกระทำที่อาจเกิดประกายไฟ ตรวจหาจุดรั่วซึมและแก้ไขจนกว่ามีการรั่วซึม
4.หากทำการแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้ทำการสับสวิทช์มาใช้เบนซินและนำรถมาซ่อมที่ศูนย์ติดตั้ง

2. การซ่อมบำรุงการปรับเปลี่ยน (CONVERSION MAINTENANCE)
อุปกรณ์เสริมเพื่อใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG ในรถของท่าน ต้องการการซ่อมบำรุงเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น คำแนะนำนี้จะช่วยให้รถของท่านทำงานด้วยสมรรถนะที่ดีที่สุด
ตารางการดูแลและบำรุงรักษาที่ควรทำเป็นประจำ
(REGULAR MAINTENANCE)

ชิ้นส่วนอุปกรณ์
ระยะเวลา

- รักษาระบบการจุดระเบิด (IGNITION SYSTEM)
ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ( ดูตารางการซ่อมบำรุงจาก คู่มือการใช้รถของท่าน)

- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ

- เปลี่ยนกรองอากาศ
ทุก 20,000- 30,000 กิโลเมตร หรือตามความจำเป็น

- ทำความสะอาดกรองอากาศ
ทุก ๆ อาทิตย์

- เปลี่ยนกรองก๊าซ LPG
ทุก 40,000 กิโลเมตร หรือทุก 1 ปี
- เปลี่ยนหัวเทียน
ทุก ๆ 30,000 กิโลเมตร

- ตรวจสอบข้อต่อและอุปกรณ์ LPG
(ยกเว้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ด้วยน้ำสบู่ทุก ๆ เดือน

- ทำการใช้ระบบเชื้อเพลิง
อย่างน้อย 10 กิโลเมตร/วัน

- ตรวจสอบตั้งค่าการทำงานในระบบเชื้อเพลิงLPG
เมื่อมีการซ่อมแซมเครื่องยนต์ใหม่

-การตรวจสอบถังบรรจุเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
อายุไม่เกิน 10 ปี
( ไม่ต้องตรวจและทดสอบ )
อายุเกิน 10 ปี
( ต้องตรวจและทดสอบทุก 5 ปี )




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2550    
Last Update : 23 ธันวาคม 2550 11:24:59 น.
Counter : 838 Pageviews.  

ซื้อรถอย่างไรไม่เสียเปรียบ

....รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสองที่ทำ สัญญาซื้อ – ขายกับบริษัทไฟแนนซ์หรือลิสซิ่งธุรกิจให้เช่าซื้อรถทั้งหลายที่เปิดดำเนินการอยู่มากมาย มักจะเกิดเป็นกรณีพิพาทกับลูกค้าที่นำรถเข้าไปใช้บริการอยู่ตลอด โดยเฉพาะในเรื่องของข้อสัญญา ที่บิดเบือนจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับ พ.ศ. 2541 สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้รถที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเช่าซื้อรถกับบริษัทเหล่านั้นแล้วถูกเอาเปรียบ จึงได้ออกประกาศให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ - จักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543

แต่กระนั้นก็ยังเกิดกรณีพิพาทร้องเรียนเกี่ยวกับผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้ออยู่ตลอด คุยเรื่องรถ ฉบับนี้ จึงนำข้อสัญญาที่ผู้เช่าซื้อรถ จำเป็นต้องรู้มานำเสนอในประเด็นสำคัญ ๆ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งในส่วนของผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อหรือเรียกง่าย ๆ ว่า เจ้าของรถกับบริษัทไฟแนนซ์

พระราชกฤษฏีกากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการกำหนดธุรกิจทที่ควบคุม สัญญาและลักษณะของสัญญา พ. ศ. 2542 ได้ออกประกาศให้ธุรกิจให้เช่าซื้อ รถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา โดยในข้อสัญญาจะต้องระบุชัดเจน ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระเงินค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากรหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อนำเงิน ดังกล่าวมาชำระภายในเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และผู้ให้เช่าซื้อประสงค์จะนำเงินค่างวดของผู้เช่าซื้อในงวดต่อมา มาหักชำระเงินดังกล่าว ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเพื่อให้นำเงินจำนวนนั้นมาชำระ ถ้าผู้ชำระเงินดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินงวดนั้นไม่ได้

ที่สำคัญถ้าผู้ให้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้นั้น จะทำได้ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวด ติด ๆ กันและผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น

เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาแล้ว และเข้าครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ให้เช่าซื้อ เพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลอื่น ก่อนขายให้บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิ์ซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ

และในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ออกขาย หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะรับผิดส่วนที่ขาดนั้น เฉพาะกรณีการขาดโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น

ส่วนในกรณีที่ผู้เช่าซื้อมีความประสงค์จะขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวกัน โดยไม่ผ่อนชำระเช่าซื้อ เป็นรายงวดตามสัญญาเช่าซื้อ เพื่อปิดบัญชีค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โดยให้คิดคำนาณตามแถลงการณ์มาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ( เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ – ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ ฉบับหน้าจะนำข้อสัญญาที่ถูกต้องที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องทำกับผู้บริโภคมานำเสนอ ) ซึ่งข้อความที่ตีลงพิมพ์ นี้เป็นข้อความบางส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ทำเนียบรัฐบาลออกประกาศ




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2550    
Last Update : 23 ธันวาคม 2550 10:50:07 น.
Counter : 355 Pageviews.  

ซื้อรถมือสองมาแล้ว…ทำอย่างไรต่อไป

ซื้อรถมือสองมาแล้ว…ทำอย่างไรต่อไป

เมื่อคุณเก็บหอมรอมริดได้เงินครบจะไปดาวน์รึซื้อสดรถคันโปรดมาแล้ว บางทีอาจเป็นรถคันแรกของบ้านคุณ แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป บทความนี้จะบอกให้ทราบว่ามือใหม่(แต่)รถไม่ใหม่นั้น ควรจะทำอย่างไรบ้างเมื่อคุณขับคันนี้กลับมาที่บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

1. ทำความรู้จัก

อย่าตกใจว่าทำความรู้จักกับใคร ไม่ใช่ช่างซ่อมหรือคนขายคนสวยแน่นอน แต่ที่ต้องรู้จักก็คือรถของคุณนั่นเอง สิ่งที่คุณต้องรู้จักดังต่อไปนี้

- รุ่นของรถ/ปี บ่อยครั้งที่เราไปซื้ออะไหล่รถเองแล้วถ้าเราไม่รู้ชื่อรุ่นที่แม่นยำเกิดปัญหาแน่นอนอย่างเช่น เพราะรถชื่อรุ่นเดียวกันแต่อาจใช้เครื่องยนต์ต่างกันก็มีไม่น้อย เรื่องอย่างนี้ถือเป็นเรื่องหญ้าปากคอกที่ทำให้เจ้าของรถที่เรียกตัวเองว่าเซียนเหงื่อแตกมาหลายคนแล้ว เวลาไปซื้ออะไหล่รถที่ตัวเองขับอยู่ทุกวัน

- เครื่องยนต์ คุณควรรู้ขนาดซีซีของเครื่องยนต์และจำนวนวาวล์ ชื่อบล็อกของเครื่องยนต์ของรถคุณ เช่นใช้มิตซู-แลนเซอร์ บล็อก 4G63 ตัวเลขเพียงไม่กี่ตัวกลับบอกความแตกต่างของรุ่นได้มากมาย ถ้าไม่รู้เปิดฝากระโปรงรถดูส่วนใหญ่จะมีเขียนรายละเอียดเอาไว้ บางคนเถียงว่าดุจากคู่มือรถก็รู้ แต่ก็ทราบกันดีว่าคู่มือการใช้รถนั้นน้อยนักที่จะตกมาถึงมือของเจ้าของรถมือสองมือสามอย่างเราๆ

- จุดวัดระดับน้ำมัน-น้ำยาต่างๆ คุณต้องรู้ว่าอันไหนเป็นจุดวัดระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ น้ำมันเบรก น้ำยาแอร์ หม้อน้ำรถ หม้อพักน้ำ น้ำฉีดกระจก น้ำกลั่นแบตเตอรี่ ฯลฯ อย่างน้อยเราต้องรู้ว่าจะวัดระดับตรงไหนอย่างไร มีรุ่นน้องที่ทำงานชอบถกเถียงเรื่องรถกับผมบ่อยๆ เมื่อสัปดาห์ก่อนได้ซื้อรถมือสองมาใหม่คุยเรื่องระบบต่างๆของรถราวกับท่องมาซะยืดยาว แต่เปิดฝากระโปรงรถให้ผมดู ก่อนจะถามว่าที่ดูระดับน้ำมันเครื่องมันอันไหนกันแน่อันนี้อาการหนักจริงๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือ

- ดูระดับน้ำมันเครื่องตรงไหน Max – Min

- เติมน้ำหม้อน้ำตรงไหน ควรเติมในหม้อพักและไม่ให้มากไปนักที่สำคัญควรเปิดน้ำที่หม้อน้ำดูด้วยว่าเต็มรึเปล่าที่สำคัญต้องไม่ทำตอนเครื่องร้อนอันตราย

- ดูระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ต้องเปิดดูทุกช่องเติมไม่ต้องล้นเพียงแต่เติมให้พอดีกับพลาสติคที่เป็นลิ้นลงไปในช่องก็เพียงพอแล้ว ห้ามอย่าเติมจนล้น

- ดูระดับน้ำฉีดกระจกด้วย ถ้าแห้งจะทำให้ปั้มฉีดน้ำเสียหายได้ อันนี้บอกให้ลูกๆมาช่วยเติมได้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี

- ดูระดับน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์เป็น บางรุ่นไม่ต้องเปิดฝาก็รู้สามารถดูได้จากข้างกระปุกมีขีดบอกระดับ มีคำเตือนเล็กน้อยอยู่บริเวณฝาอ่านบ้างก็ดี

- ดูระดับน้ำมันเบรก บางครั้งไม่ต้องถึงกับเปิดฝามาดูเพราะมีขีดบอกสามารถมองเห็นจากภายนอกเช่นกัน

- ดูระดับน้ำยาแอร์ ดูจากกระปุกพักน้ำยาแอร์สังเกตกระปุกที่มีท่ออะลูมีเนียมรึทองแดงต่อเข้านั้นแหละมีเลนซ์ สังเกตถ้าน้ำยาแอร์เต็มเราจะไม่เห็นว่ามีอะไรในเลนซ์นั้นเลยแต่ถ้าเมื่อไหร่เห็นในเลนซ์นั้นมีน้ำวิ่งๆเมื่อไหร่ อย่าคิดว่าน้ำยาแอร์เต็มนะครับนั้นคือน้ำยาแอร์หมดแล้วละครับ ไปร้านแอร์ให้ตรวจเช็คเลย

2. เปลี่ยนซะให้เรียบ

- น้ำมันเครื่องและใส้กรองน้ำมันเครื่อง บ่อยครั้งรถจากเต็นท์นั้นเค้าไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องมาให้ บางครั้งพึ่งเปลี่ยนมาถือว่าเป็นโชคดีไป แต่ถ้าให้ดีถ้าเราดึงสายวัดออกมาแล้วน้ำมันเครื่องเหนียวๆ ไม่หยดติ๋งๆ เปลี่ยนไปเถอะครับเพื่อความสบายใจ ถ้าเปลี่ยนแล้วขับรถกลับบ้านมาดึงเข็มวัดออกมาเห็นน้ำมันเครื่องทำไมขุ่นซะแล้วให้คุณดีใจไว้เลยว่าน้ำมันเครื่องนั้นดีเพราะสามารถดึงเขม่าที่จับกับชิ้นส่วนในเครื่องออกมาได้เป็นอย่างดี รวมถึงเปลี่ยนใส้กรองน้ำมันเครื่องด้วยไม่แนะนำไปใช้ใส้กรองจากปั้มเพราะสมัยนี้ใส้กรองของเทียมมีเยอะอายุการใช้งานสั้นกว่า (ไม่ใช่ว่าใช้ไม่ได้) ใครรักรถมาแนะให้ใช้ของแท้แต่ผมชอบใช้ของเทียบเพราะมีคุณภาพพอๆกันและอาจดีกว่าด้วยซ้ำไป ว่างๆผ่านไปแถววรจักรก็ไปซื้อซะ ถือว่าเป็นการหัดทำความรู้จักกับร้านอะไหล่ไว้ ดูด้วยว่าต้องแถมแหวนยางโอริงมาด้วยแต่อย่าไปคิดว่าเอามาใช้กับกรองน้ำมันเครื่องล่ะ โอริงนี้ไว้ใช้กับน็อตที่เป็นก๊อกปิด-เปิดอ่างน้ำมันเครื่องของเราต่างหาก เวลาให้ช่างใส่ดูกับเค้าด้วย ก่อนใส่แนะว่าให้เอาน้ำมันเครื่องเรานี่แหละทาขอบยางของกระปุกกรองด้วยกันยางเบี้ยวออกมาเวลาขันเข้า

- ใส้กรองอากาศ ส่วนใส้กรองอากาศก็เป่าซะ แนะให้เป่าเองตามปั้มเจ็ทที่มีที่เป่าอากาศตรงที่เราเติมลม มีหลายคนขับรถมาจนแก่เป่าอากาศยังไม่เป็น การเป่ากรองอากาศต้องเป่าจากในออกนอก ห้ามเป่าจากข้างนอกเข้าในเด็ดขาด ถึงแม้เป่าแล้วฝุ่นกระจายดีแต่นั้นคือการทำให้กรองอากาศของเราตันไปเลย แต่ถ้าเก่าแล้วเปลี่ยนไปเลยซักอันได้เลยไม่ได้แพงอะไรนัก สำหรับมือใหม่ระวังจะถอดไม่เป็นให้สังเกตสลักยึดให้ดี ดึงออกให้ครบไม่ต้องออกแรงมากนักพอประมาณเดี๋ยวพวกสายอากาศจะหลุดแล้วใส่กลับไม่ถูก

- ใส้กรองเบนซิน สุดท้ายใส้กรองเบนซินอันนี้แนะนำให้เปลี่ยนเลยไม่กี่ตังค์ จะได้ไม่ต้องมาโอดครวญภายหลังว่ารถเร่งไม่ขึ้น กระตุกเป็นช่วงๆ แต่อันนี้แนะนำไปให้ช่างเปลี่ยนให้ อย่าลืมถามความรู้เล็กๆน้อยๆจากช่างด้วยตามที่ผมว่ามาหากยังสงสัย เห็นมั้ยว่านอกจากจะได้เปลี่ยนกรองเบนซินแล้วยังได้ความรู้อีกต่างหาก

3. ตรวจอะไรที่มันยุ่งๆที่ห้องเครื่องอีกที

ลองตรวจดูที่สายพานไดฯ สายพานแอร์ สายหัวเทียน หัวเทียน ให้ช่างคนที่เปลี่ยนกรองเบนซินเราเมื่อสักครู่นั้นแหละดูให้ คิดดูว่าเปลี่ยนกรองเบนซินอันเดียวได้ประโยชน์มากมาย หากสายพานอันไหนเก่าหมดสภาพแล้วเปลี่ยนซะมีราคาไม่ถึงร้อยถึงร้อยกว่าบาท แต่แพงกว่านั้นไปร้านอื่นเหอะ สายหัวเทียนเก่ารึเปล่า หากเก่ามากๆขาดแล้วพันๆเทปมาละก็เปลี่ยนไปเลย ให้เค้าเช็คหัวเทียนด้วยเพียงแต่เอามาล้างปรับเขี้ยวก็พอใช้ได้อีกนาน หัวเทียนไม่ใช่ของเสียง่าย หมดอายุง่ายอายุการใช้งานราว 20,000 กม. ( 2000 กม.) หากเจอช่างที่ดี แต่ถ้าเยินจริงๆเปลี่ยนก็ได้เพราะราคาถูกมากๆ ตัวเราเองก่อนกลับบ้านแวะไปตามห้างซื้อน้ำอเนกประสงค์มาติดรถไว้ก็ดีไว้ฉีดพวกขั้วแบตฯ ขั้วหัวเทียน จานจ่าย(ถ้าไม่รู้จักว่าอันไหนไปถามช่างคนเดิมอีกนั่นแหละ) เวลาเก็บอย่าเอาไปไว้ที่ร้อน เกิดตูมตามขึ้นมาไม่รู้ด้วย

4. คราวนี้มาดูที่ช่วงล่างกันบ้าง

- ถ่วงล้อ อันนั้นถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่หลายคนมองข้ามเพราะเมื่อเราใช้ความเร็วสูงขึ้นหน่อยรถกลับสั่นๆ อาจนึกไปถึงช่วงล่างอื่นๆ แต่ความจริงปัญหามันแค่เพียงถ่วงล้อเท่านั้นเอง ผมแนะให้ไปถ่วงล้อที่เรียกว่า “ถ่วงจี้” เพราะเท่าที่ทำมาได้ผลดีพอสมควร ดีกว่าการถอดล้อไปถ่วงข้างนอก สังเกตด้วยว่าบางครั้งน็อตล้อเราอาจเป็นคนละแบบทำให้การถอดล้อไปถ่วงไม่แม่นยำแต่ถ้าให้ดีก็เปลี่ยนน็อตให้มันเหมือนกันให้หมดเลยจะดีกว่า ก่อนถ่วงบอกให้ช่างแกะหินที่ติดล้อออกให้ด้วยนี่ก็เป็นผลให้การถ่วงล้อไม่แม่นยำ แนะให้ไปถ่วงหลังไปล้างรถจากปั้มใหม่ เพราะโคลนที่ติดล้อก็เป็นอีกปัจจัยนึงเช่นกัน เคยแนะให้รุ่นน้องที่มีปัญหาที่ว่าไปถ่วงจี้มาหลายคนส่วนใหญ่จะบอกว่ายังกับได้รถใหม่มาแน่ะ

- ยางรถ ดูว่าดอกยางยังเต็มๆดีหรือไม่ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเปลี่ยนถามจากร้านยางดูก็ดีถ้าร้านที่ดีบ่อยครั้งเค้าจะบอกว่าใช้ได้อีกนานแต่ถ้าเค้าบอกว่าเปลี่ยนเถอะให้สังเกตว่าดอกยางเรายังเต็ม ยางยังไม่เสียรูป แก้มยางยังสวย เนื้อยางยังสดอยู่หรือไม่ ไม่แนะนำให้ไปทำตามปั้มแต่ก็ตามใจหากใครอยากลองดู การเติมลม ควรเติมซัก 27-28 หากอยากได้ความนิ่มนวลและ 30 หากต้องการประหยัดน้ำมันได้อีกนิดหน่อยในการวิ่งแบบรถไม่ติด อย่าลืมเติมลมยางอะไหล่ด้วยแนะให้เติมเกินปกติไว้ 2 ปอนด์ (ประมาณ 32 ปอนด์) เพราะไม่ได้เติมบ่อยๆ แนะอีกนั้นแหละให้ไปเติมที่ปั้มเจ็ทเพราะเครื่องวัดแบบดิจิตัลค่อนข้างแม่นยำกว่าร้านยางซะอีกและอย่าลืมอุดหนุนเค้าบ้างก็ดี

- เช็คช่วงล่าง ไปอู่ที่รับทำช่วงล่างให้เค้ายกรถตรวจพวก ยางหุ้มแร็คช่วงล่างอื่นๆ เพราะบางครั้งเปื่อยๆแล้วเปลี่ยนไปเลยราคาไม่ถึง 300-400 บาท ถ้าขาดขึ้นมาแต่เราไม่รู้จะลำบาก ทั้งทรายทั้งโคลนหลุดเข้าไปละก็เสียมากกว่านี้อีกมาก ให้ช่างตรวจลูกหมาก-คันชัก-คันส่ง-ปีกนก โยกๆแล้วหลวมๆหรือไม่แต่พวกนี้ถ้าไม่หลวมมากเอาไว้ตอนได้โบนัสออกหรือกู้สหกรณ์ได้ก่อนค่อยมาเปลี่ยนก็ได้ หากยังพอใช้ได้

5. มาดูภายในรถกันบ้าง

- หากรถมีกลิ่น แนะนำว่าให้เราจอดรถตากแดดหมุนกระจกลงมาเล็กน้อยทำซ้ำๆหลายวันช่วยได้บ้าง หาน้ำหอมมาใส่รถบ้างบางทีไม่เหม็นโดนเหงื่อเราไปซักพักจนกลิ่นติดเบาะ สงสารคนมานั่งรถเราบ้าง แนะนำอย่าสูบบุหรี่ในรถเพราะเขม่าจากบุหรี่กับกำมะหยี่ทั้งหลายในรถเรารักกันมากทั้งสีทั้งกลิ่น

- ยางรองพื้น บางทีเต็นท์ให้มาเฉพาะยางแผ่นเล็กทำให้ทรายกระจายฝังในพรม แนะให้ใช้ยางที่เป็นรูปแอ่งๆ ไม่สวยนักแต่สะอาดอย่าบอกใครไม่มีทรายกระเด็นออกด้วยหรือถ้ากำลังทรัพย์มีก็เอาแบบที่มีขายตามห้างที่มีเฉพาะรุ่นก็ได้

- น้ำยาต่างๆ หาซื้อน้ำยาต่างๆเช่นแชมพูล้างรถ ยาขัดเบาะ ยาขัดสีรถ หัดทำเองบ้างจะได้รู้จุดอ่อนของตัวถัง-สีรถเราเอง

- เสียงดังหน้าคอนโซล อันนี้สืบเนื่องาจากรถใช้มาหลายปีเกิดจากการเคยถูกถอดคอนโซลเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง แต่การหาจุดนี่ยากที่สุดพวกนี้ต้องค่อยๆหาแล้วหาซื้อตัวยึดพลาสติคตามวรจักรมาใส่แทนได้หากของเก่าแตกหรือหลวมรึไม่มีเลย

6. สังเกตกันบ้าง

- ซื้อรถมาวันแรกผมแนะนำให้ล้างเลยไปให้โดนน้ำฉีดแรงๆ ตามคาร์แคร์ ถึงแม้เต็นท์จะขัดสีรถมาสวยงามสักปานใด เพราะรถหลายคันพึ่งไปสาดสีมาทั้งคัน การประกอบขอบยางกันน้ำซีลซิลิโคนประตูและกระจกหน้า-หลังต่างๆ อาจทำมาไม่ดีพอเพราะทำเองในอู่สีไม่ได้ทำที่ร้านกระจกที่ชำนาญกว่าบ่อยครั้งที่น้ำไหลเข้ารถเป็นถังๆ เวลาฝนตกจะได้รีบซ่อมเองหรือให้เต็นท์ทำให้หากตกลงกันไว้แล้ว

- แอร์ หากได้ยินเสียงแต็กๆ ดังติดๆกันขณะเปิดแอร์ทำให้รอบเครื่องเราขึ้นๆลงๆ ให้ช่างเช็คดูช่างที่เก่งๆ จะยังไม่วิ่งไปดูที่คอมแอร์ แต่จะตรวจที่ตัวปรับระดับความเย็นที่ภาษาช่างแอร์เรียกรางเลื่อน (Slice volume) เพราะรถเก่าแล้วพวกนี้จะสึกรึหมดอายุเปลี่ยนซะราคา 300-400 บางทีไม่ถึงกับต้องไปยุ่งกับคลัชแอร์หรอกครับ ร้านทำแอร์ผมชอบร้านที่แท็กซี่เค้าชอบไปทำกันเพราะราคาไม่แพงคุยกันได้ แต่ไม่ใช่ร้านที่แท็กซี่ไม่เข้าไม่ดีนะครับ อย่างผมใช้ทั้งสองร้านเพราะที่เจอความชำนาญร้านอาแปะของผมเนี่ยเก่งเข้าขั้นเลยทีเดียวแต่ราคาเอาเรื่องเหมือนกันเวลาเข้าซ่อมถามไว้เลยว่าเท่าไหร่ ต่อไปเถอะลดได้นิดหน่อยดีกว่าไม่ลดเลย ซ่อมบ่อยๆ ชำนาญขึ้นเดี๋ยวก็รู้ราคาไปเอง

- ตรวจดูหลอดไฟรถ ไฟหน้าสูง-ต่ำ ไฟหรี่ ไฟท้าย-ไฟเบรก ไฟกระพริบซ้ายขวา ไฟถอย ไฟทะเบียน ติดครบหรือไม่จัดการให้เรียบร้อยสมบูรณ์

หากมีอะไรนอกเหนือจากนี้ต้องเช็คต้องเปลี่ยนคงต้องอาศัยการเอาใจใส่ และความช่างสังเกตจากตัวคุณเอง ย้ำต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่แค่เพียงช่วงแรกๆเท่านั้น หมั่นหาความรู้เสมอๆควรให้คนในครอบครัวมีส่วนร่วมด้วย สร้างความสัมพันธ์กันโดยมีรถเป็นสื่อนี่ก็ถือว่ารถไม่ใช่แค่เพียงเป็นพาหนะอย่างเดียวใช่มั้ยละครับ

คัดลอกมาจาก //www.one2car.com




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2550    
Last Update : 23 ธันวาคม 2550 10:43:52 น.
Counter : 340 Pageviews.  

1  2  3  

บูรพาราศีเมษ
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ทุกท่านครับ ก็มีเพลงเพราะๆ มาให้ฟังกันด้วยครับ
Friends' blogs
[Add บูรพาราศีเมษ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.