Ride to Raid
Group Blog
 
All Blogs
 
วิถีผู้กล้า ตอน "Hexahole Crank ได้มาแล้วครับ"

สวัสดีครับ ผมรุตไรเดอร์ หลังจากที่ผมหันมาสนใจกับการปั่นจักรยานล้อเดียว ผมก็ได้สร้าง crank ใช้เองมาหลายอันแล้ว

เพราะว่า จักรยานล้อเดียวนั้น องค์ประกอบที่สำคัญ ที่มีผลต่อการปั่น ไม่มีอะไรมาก ก็มีล้อ กับ crank นี่แหละครับ

ถ้าอยากเดินทางได้เร็ว ต้องเลือกล้อใหญ่
ถ้าอยากได้ความคล่องตัว ต้องเลือกล้อเล็ก

เช่นเดียวกัน ถ้าอยากเคลื่อนที่ได้เร็ว ต้องเลือก crank สั้น
ถ้าอยากได้ความคล่องตัว ต้องเลือก crank ยาว

ในความเป็นจริงแล้ว ระหว่างการเดินทาง การเปลี่ยนขนาดล้อนั้นทำได้ยาก เช่น พอเราเดินทางบนถนนใหญ่ เรามาด้วยล้อใหญ่ แต่พอเข้าพื้นที่แออัด เราบอกว่าเราอยากให้ล้อมันเล็กลง เพื่อให้มันคล่องตัวมากขึ้น อันนี้คงทำไม่ได้ หรือถ้าจะแบกล้ออีกอันไปเปลี่ยน ก็คงเกินไป และการเปลี่ยนล้อนั้นใช้เวลานาน

ทางแก้ที่ดีที่สุด คือเลือกขนาดล้อให้เหมาะสมที่สุด คือเลือกขนาดกลางๆ ที่คล่องตัวในพื้นที่เล็กๆ ด้วย และให้อัตราเร็วที่ดีบนถนนใหญ่ด้วย และสิ่งที่ใช้ในการเปลี่ยนความเร็ว และความคล่องตัว ก็คือเปลี่ยนความยาว crank ซึ่งทำได้ง่ายกว่าครับ


ค่าในตารางนี้ เป็นตัวเลขที่เกิดจากการนำความยาวของ crank หารด้วยรัศมีของล้อ เพื่อดูสัดส่วนว่า ที่สัดส่วนเท่าใด ความยาว crank เท่าใด ที่จะทำให้การปั่น ปั่นได้ลื่น ปั่นได้หนืดเพียงใด

คอลัมน์แรก เป็นค่าเส้นผ่านศุนย์กลางของขอบล้อ (rim) ซึ่งเป็นค่าตายตัวในแต่ละขนาดล้อ

คอลัมน์สอง เมื่อใส่ยางเข้าไป นิยมเรียกตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของยางที่ใส่เขาไปเป็นนิ้ว ค่านี้เป็นค่าโดยประมาณ ซึ่งในตารางมีตั้งแต่ 12-36 นิ้ว

คอลัมน์สาม เปลี่ยนหน่วยนิ้วของเส้นผ่านศูนย์กลางยาง ให้เป็นค่ามิลลิเมตร เื่พื่อให้เป็นหน่วยเดียวกับ crank จะได้มาหารเป็นสัดส่วนกันได้ง่าย

คอลัมน์สี่ ก็คือเอาคอลัมน์ที่สามหารด้วยสองนั่นเอง เพื่อให้ได้ค่ารัศมีของยาง

จากนั้นก็นำความยาว crank ตั้ง หารด้วยค่ารัศมี เืพื่อให้เกิดเป็นค่าสัดส่วน ผมขอเรียกว่า "สัดส่วนการปั่น" ก็แล้วกันครับจะได้ง่าย

เราจะเห็นได้ว่า ในพื้นที่สีเขียว คือค่าสัดส่วนการปั่นอยู่ที่ประมาณ 0.50 เป็นจุดที่ปั่นได้ลื่นพอดี และจะพบว่า จักรยานล้อเดียวในตลาด มักจะติด crank มีค่าความยาว ที่ให้ค่าสัดส่วนการปั่นอยู่ที่ 0.50 หรือยาวเป็นครึี่งหนึ่งของรัศมีของยางมาให้

เว้นแต่เน้นปั่นทางเรียบ หรือพื้นเรียบ อยากให้มันปั่นได้เร็วหน่อย ก็จะติด crank ที่ให้ค่าสัดส่วนการปั่นอยู่ในพื้นที่สีเหลืองมาให้

หรืออยากปั่นในแนว offroad มีการปีนป่าย ก็มักจะติดตั้ง crank ให้ยาวหน่อย โดยให้สัดส่วนการปั่นอยู่ในพื้นที่สีฟ้า


ในตลาด ไม่มี crank ที่เกินกว่า 2 รูขาย และไ่ม่มี crank ที่ยาวกว่า 170 mm ขาย ถ้าอยากได้หลายๆ รู และอยากได้ยาวกว่า 170 mm จะต้องสร้างขึ้นใช้เองครับ

ในภาพ crank สีดำ ความยาว 170 mm ผมซื้อมาดัดแปลงครับ เพื่อให้เกิดเป็นระยะ 185 และ 205 mm ขึ้น ตามในตาราง

ประโยชน์ที่ได้จากการดัดแปลงครั้งนี้ ก็เพื่อให้จักรยานล้อเดียวขนาด 26 นิ้ว ที่ผมเห็นว่าเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุด ที่ยังคงให้ความคล่องตัวในพื้นที่เล็กๆ อยู่ เราต้องเลือกล้อใหญ่ที่สุด ก็เพื่อให้มันเดินทางได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าการผจญภัยนั้น ต้องผ่านพื้นที่ยากๆ หลายรูปแบบ จึงต้องไม่ให้ล้อมันใหญ่เกินไป เพราะมันจะควบคุมยากในสถาณะการณ์คับขัน

crank 170 ที่ยาวที่สุดที่มีขายในตลาด มีผลทำให้ล้อ 26 นิ้ว ทำค่าสัดส่วนการปั่นได้เพียง 0.51 เท่านั้น ซึ่งผมเคยนำไปขึ้นดอยแล้ว ค่าสัดส่วนการปั่นแค่นี้ยังลื่นไม่พอ ผมต้องการลื่นกว่านี้ อีกทางเลือกหนึ่งคือการลดขนาดล้อ ซึ่งผมไม่เลือก เพราะการลดขนาดล้อ จะทำให้การเดินทางยิ่งช้าขึ้นไปอีก และขนาดล้อที่เล็กที่สุดที่นิยมปั่น offroad ก็คือล้อ 24 นิ้ว เล็กกว่านี้ก็ไม่นิยมแล้ว เพราะมันช้ามาก

ล้อ 26 นิ้ว เมื่อได้ crank ระยะ 185 และ 205 mm มาติดให้ จะทำให้ได้สัดส่วนการปั่นเป็น 0.56 และ 0.62 ตามลำดับ ซึ่ง 0.62 นั้นก็ถือว่าปั่นได้ลืนมาก เข้าพื้นที่สีน้ำเงิน ผมกะว่ามันจะพาผมขึ้นดอยอินทนนท์ได้เลยทีเดียว (อยากไปลองมาก)


วิธีการสร้าง หรือดัดแปลง crank ก็ทำการตัด crank ที่ซื้อมา ให้เหลือส่วนโคน แล้วไปซื้อแผน อลูมิเนียม ให้ได้ความยาวตามต้องการ ก่อนตัดก็ทำการวัดระยะ ออกแบบอะไรต่างๆ ให้เรียบร้อยชัดเจน เพื่อจะได้ตัดได้ไม่พลาด

วิธีตัดก็ใช้เลื่อยมือนี่แหละครับ ค่อยๆ ตัด ช้าๆ ชัวร์ๆ และเนื้ออลูมิเนียมค่อนข้างอ่อนอยู่แล้ว เลื่อยง่ายครับ


นำส่วนโคนของ crank กับแผ่นอลุมิเนียมที่ซื้อมา นำมาตะใบ แต่งให้หน้างานมันสัมผัสกันพอดีที่สุด แล้วใช้กาวตราช้างติด เพื่อให้มันติดกันในเบื้องต้น เพื่อให้เราวัดระยะต่างๆ ได้ง่าย

แล้วก็เอาตะปูตอกรู เพื่อมาร์คจุดที่เราจะให้ช่างเขากลึงเกลียวให้ครับ


จากนั้นก็ส่งโรงกลึง เขาก็จะกลึงเกลียวที่ใส่บันได และเชื่อมส่วนโคนให้กลายเป็น crank อันใหม่ครับ

ภาพนี้วางเปรียบเทียบ pentahole crank 105/125/145/165/185 mm อันก่อน กับ hexahole crank 105/125/145/165/185/205 อันใหม่ (ยาวมาก)


ล้อ 26 ของผม ตอนนี้ติด hexahole crank ครับ เพื่อให้มันไปลุยกับผมได้ทุกที่ โดยเฉพาะทางโหดๆ ยากๆ ทางชันๆ

ส่วนล้อ 29 ก็ได้ pentahole crank ไป ที่ระยะ 185 mm นั้น พอดีทำให้ล้อ 29 ปั่นได้ลื่น (พื้นที่สีเขียว) ทำให้ล้อ 29 เล่นง่ายขึ้น เชื่องขึ้น ตอนแรกผมลังเลเหมือนกัน ว่าอยากจะเอา hexahole crank ให้ล้อ 29 แต่้ล้อ 29 โดยธรรมชาติของมัน มันใหญ่ และเล่นยากอยู่แล้ว การจะเอาไปลุยในพื้นที่ยากๆ นั้นไม่เหมาะสม มันเหมาะกับการทำความเร็วบนทางเรียบ หรือทางลูกรังเท่านั้นครับ จึงยก pentahole crank ให้มันก็เพียงพอแล้ว


ล้อ 29 ใช้ pentahole crank


ส่วนล้อ 26 ใช้ hexahole crank

แต่จากที่ผมทดสอบ hexahole crank ในเบื่องต้น พบปัญหาสำคัญครับ คือมันยาว เวลาใช้ระยะสั้นที่สุดที่ 105 mm (รูในสุด) ส่วนปลายของ crank จะเลยขึ้นมาถึงตาปลา อันตรายเหมือนกันครับ มีโอกาศฟาดโดนตาปลาได้ ต้องใช้ความระมัดระวังมาก ด้วยเหตุนี้ ผมจึงแนะนำว่า crank นั้น ไม่ควรจะเจาะเกิน 5 รู้ หรือไม่ควรให้ระยะจากรู้ไกลสุด ถึงรูใกล้สุดนั้น ห่างกันเกิน 80 mm

แต่ผมก็ถือว่า โอกาศที่จะใช้รู้ในสุดนั้นน้อย และเวลาใช้รูในสุด ก็คือใช้บนถนนใหญ่ทางเรียบตรง ไม่ค่อยมีการเลี้ยวรถ ที่จะทำให้ข้อเท้าของเราเปลี่ยนตำแหน่ง ดังนี้นโอกาสที่ปลาย crank จะฟาดโดนตาปลาก็จะน้อยลง เพราะถ้าจะไม่เจาะที่ระยะ 105 ก็น่าเสียดายครับ เผื่อจำเป็นต้องปั่นทางตรงนอกเมือง ก็จะได้มีโอกาสใช้มันได้

โอ้ย อยากไปทดสอบขึ้นดอยใจจะขาดแล้ว แถวบ้านไม่มีดอย

Key words: RouteRaideR, 26" unicycle, 29" unicycle, pentahole crank, hexahole crank


Create Date : 01 พฤษภาคม 2554
Last Update : 1 พฤษภาคม 2554 12:28:36 น. 2 comments
Counter : 2889 Pageviews.

 
ทักทายยามบ่ายนะจ่ะ อากาศวันนี้มันดีมากๆๆๆๆๆ


โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:08:35 น.  

 
ถ้าคิดวิธีเปลี่ยนรูขณะขี่ได้มันก็คือเกียร์ดีๆนี่เองเนอะ


โดย: calanda วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:16:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

RouteRaideR
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




จักรยาน มีล้อเดียว มันเสียวล้ม
ต้องเพาะบ่ม หมั่นฝึกฝน จนคล่องแข็ง
จะได้ขี่ กระโดดเด้ง เร่งหลบแซง
แม้หลุมแอ่ง อุปสรรค กล้าเิผชิญ

ขี่เก่งแล้ว ก็ค่อยออก ไปเที่ยวเล่น
ปั่นแล้วเป็น เหมือนบินลิ่ว ปลิวลมเหิน
นั่งตัวตรง ไม่มีแฮนด์ เป็นส่วนเกิน
ชมวิวเพลิน ผจญภัย ไม่เบื่อเลย

by RouteRaideR
Friends' blogs
[Add RouteRaideR's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.