Group Blog
 
All blogs
 

ฟ้อนโก๋ยมือ



Photobucket

ชาวไทอีสานจะยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14  กันสืบมา

ฮีตที่ 4. บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ เป็นบุญที่มีการเทศน์พระเวส
หรือ มหาชาติ เรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งหนังสือมหาชาติ หรือ
พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็น
พระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก


ในช่วงเดือนสี่ในทุกๆปีจะมีงานประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด ซึ่งในงานจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมือง ซึ่งชาวภูไท ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ได้จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการจัดขบวนฟ้อนรำซึ่งแสดงออกถึงความดีใจ
ความรื่นเริงสนุกสนาน
เป็นการฟ้อนนำหน้าขบวนเพื่อต้อนรับผะเหวดที่แห่เข้ามาสู่เมือง


ท่าฟ้อนโก๋ยมือ ประกอบไปด้วยท่าต่างๆ เช่น
ท่าประแป้ง ท่าแญงแว่น(ส่องกระจก) ท่ากกกรก่าย ท่าเชิญสายท้าวพญา
ท่ามาลาช่อม่วง ท่าน้าวหน่วงมาลา ท่านาคาม้วนหาง ท่านางญอขา
ท่ากาเต้นก้อน ท่านอนหมอนหมิ่น ทากินรีชมหาด ท่านางนาถอ่วยคืน เป็นต้น





 

Create Date : 03 เมษายน 2552    
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2560 0:01:41 น.
Counter : 3862 Pageviews.  

ระบำตารีกีปัส



คำว่า"ตารี"แปลว่า ระบำคำว่า"กีปัส"แปลว่า พัด

การแสดงชุดนี้เป็นลักษณะการแสดงที่ใช้"พัด"เป็นองค์ประกอบสำคัญการแสดงชุดนี้

จัดเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี

และยังได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานีเมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้ในงานเปิดกีฬาเขต

ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ

ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันออกไปสำหรับการแสดงชุดนี้ได้ปรับ

ปรุงท่ารำเพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน

เครื่องดนตรีประกอบการแสดง คือวงพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วยไวโอลิน

แมนโดริน แอคคอเดี้ยน กลองบานอมาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงคือ"เพลงตาลีกีปัส"

เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องบรรเลงดนตรีล้วนๆมีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ

ความไพเราะของเพลง"ตาลีกีปัส"อยู่ที่การsoloเสียง





 

Create Date : 15 มีนาคม 2552    
Last Update : 9 มกราคม 2560 23:03:39 น.
Counter : 13918 Pageviews.  

ฟ้อนลาวแพน(มีคำร้อง)





ภายหลังจากที่ฯพณฯพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ประพันธ์บทละครรำเรื่อง พระนเรศวรประกาศอิสรภาพขึ้น เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ แสดงฉลองพระพุทธสิหิงส์ ณ.โรงละครชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗แล้วเพียงปีเดียวท่านก็ได้จัดวิพิธทัศนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนั้นเองท่านก็ได้ประพันธ์เนื้อร้องสำหรับขับร้องเพลงลาวแพนขึ้น และมอบหมายให้นักเรียนหญิง ชื่อ นางสาว สุวรรณา สุวรรณศร(น.ต.คุณหญิงสุวรรณา ศราภัยพิพัฒน์)(ซึ่งเป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้แสดงเป็นดวงจันทร์ในละครเรื่องเลือดสุพรรณ ในปีต่อมา)เป็นผู้ขับร้อง โดยมีการใช้มือออกท่าทางประกอบเล็กน้อย
        ต่อมา ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฯพณฯพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ว่างเว้นจากหน้าที่ราชการ ท่านได้ก่อตั้งคณะละครวิจิตรศิลป์ ขึ้น และนำบทละครที่ท่านประพันธืขึ้นใหม่มาจัดแสดง ณโรงภาพยนต์บ้าง โรงละครเอกชนบ้าง และโดยเหตุที่ท่านประทับใจในเนื้อร้องเพลงลาวแพนเป็นพิเศษนั่นเอง ท่านจึงกำหนด ให้มีการขับร้องและฟ้อนลาวแพนเป็นการแสดงสลับฉากในละครเวทีเรื่องหนึ่ง โดยคัดเลือกให้ นางสาวสุภาพ พันธุ์มณี เป็นผู้รำเดี่ยว(จากการสัมภาษณ์ นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี ศิลปินแห่งชาติ ทำให้ได้ทราบข้อมูลว่าเหตุที่การแสดงครั้งนั้นเป็นการรำเดี่ยวของตัวนางนั้น เนื่องมาจากนางสาวสัมพันธ์(ในขณะนั้น)ต้องรับบทตัวละครในเรื่องละครจึงไม่สามารถมารำเป็นตัวพระ คู่กับผู้เป็นพี่สาวได้)
       ภายหลังเมื่อนางสัมพันธ์ และนางสาวสุภาพ พันธุ์มณี ได้เข้าไปมีบทบาทอย่างสำคัญในสถานีโทรทัศน์ ช่อง๔บางขุนพรม จึงคิดนำการขับร้องและฟ้อนลาวแพนมาแสดงออกอากาศ ในรายการ เพลินเพลงกับนฤพนธ์ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๑โดยได้กราบเรียนขอให้ครูลมุล ยมะคุปต์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนและมีบุตรี คืด คุณครูพิสมร ทำชอบ เป็นผู้ช่วยฝึกซ้อมให้แก่ศิษย์นาฏศิลป์สัมพันธ์ เป็นผู้ฟ้อน
    ในการแสดงฟ้อนลาวแพน(มีคำร้อง)ในงานฉลองครบร้อยปีครูลมุล ยมะคุปต์ที่ผ่านมา นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปได้รับการถ่ายทอดท่าฟ้อนดั้งเดิมที่คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ประดิษฐ์ไว้จากนางสัมพันธ์และนางสาวสุภาพ พันธุ์มณี แห่งโรงเรียนนาฏศิลป์สัมพันธ์อีกลำดับหนึ่ง


              เนื้อร้องฟ้อนลาวแพน(มีคำร้อง)
    ศศิธรส่องสว่างกระจ่างฟ้า     ชาวประชาเริงรื่นชื่นใจแสน
  จะดูในงามสิ้นทั้งดินแดน         เหมือนเมืองแมนแดนด้าวชาวเทวา
  โอ้ว่าพวกเราเอยใดบ่เคยเห็นบ้าง ดวงจันทร์แจ่มกระจ่างแลสว่างเวหา
   ขอเชิญพวกเราพี่น้อง              มารำมาร้องกันเถิดหนา
   มาชมแสงจันทร์แจ่มฟ้า           ให้รื่นอุราร่าเริง
   มาร่วมบันเทิงกันเถิดหนา          เพื่อนเกลอพี่น้องร้องรำเอยสูเพื่อนเอย






 

Create Date : 10 มีนาคม 2552    
Last Update : 30 มกราคม 2562 22:24:15 น.
Counter : 10884 Pageviews.  

ฟ้อน ไทพวน



วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ได้ดำเนินการจัดชุดการแสดงฟ้อนไทพวนขึ้นเพื่อนำเสนอเป็นผลงาน ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒โดยเสนอผลงานเกี่ยวกับกลุ่มชนเผ่าไทย-ลาว ในอิสาน ซึ่งมีหลายเผ่าพันธุ์ ส่วนใหญ่มักจะอพยพมาจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันได้ผสมผสานประเพณี ต่างได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวๆอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
      ไทพวนเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่พูดภาษาตระกูลไท-ลาว ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากแผนที่ทางภาษาประมาณกันว่าคนพวนอาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่าสองล้านคน โดยกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆเช่น อุดรธานี หนองคาย พิจิตร นครนายก สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี เชียงราย ฉะเชิงเทรา เป็นต้น ดังนั้นไทพวนจึงเป็นชนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจะศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทพวน เพื่อนำเสนอเป็นผลงานในเชิงอนุรักษ์และพัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบของการแสดงต่อไปประกอบกับปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระพรรษาครบ๗๒พรรษา วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ได้แต่งบทถวายพระพรเพิ่มขึ้นอีก๒บทเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน
       ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะครูอาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เกิดแนวความคิดที่จะศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องฟ้อนไทพวนขึ้นและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชมรมนาฏศิลป์หนองคาย ซึ่งให้ความรู้ในเรื่องท่ารำและเครื่องแต่งกายเป็นอย่างดียิ่ง







 

Create Date : 06 มีนาคม 2552    
Last Update : 7 มีนาคม 2556 0:18:18 น.
Counter : 9311 Pageviews.  

ระบำกฤษดาภินิหาร



การแสดงชุดนี้อยู่ในตอนท้ายเรื่องเกียรติศักดิ์ไทย (กรมศิลปากรได้ประพันธ์เป็นบทละครสร้างจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองกรุงศรีอยุธยา) อันเป็นการร่ายรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ที่ได้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองบิ่งใหญ่ของชาติไทย จึงเกิดความปิติยินดีชื่นชมโสมนัส ต่างพากันมาอวยชัยให้พร ผู้แต่งบทร้องคือ นางสุดา บุษปฤกษ์ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยมะคุปต์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูด่วน) ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ด้วยความหมายอันเป็นมงคลของระบำชุดนี้ ต่อมาจึงนำออกแสดงในระบำชุดเอกเทศ มักใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง แต่บางโอกาสก็คงใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลงอยู่ การแสดงระบำชุดนี้ยังเป็นที่นิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย







 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 10 มีนาคม 2556 23:48:47 น.
Counter : 8795 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

เกศสุริยง
Location :
อ่างทอง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 87 คน [?]




ยินดีต้อนรับ/blogนี้ทำขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ สำหรับผู้ค้นคว้า ยินดีอย่างยิ่งถ้าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย
Friends' blogs
[Add เกศสุริยง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.