Group Blog
 
All blogs
 

รำ พลายบัวเกี้ยวนางตานี









การแสดงชุด"พลายบัวเกี้ยวนางตานี"เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่

ตัดตอนมาจากการแสดงละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลาย

เพชรพลายบัวออกศึก กล่าวถึงพลายบัวบุตรของพระไวยกับนาง

ศรีมาลา ได้หลงรักในตัวของนางแว่นแก้ว จึงเดินทางไปที่บ้าน

ของนางแว่นแก้ว ในระหว่างเดินทางไปนั้นได้ผ่านดงกล้วยตานี

และได้พบกับภูติผีปิศาจมากมายแต่พลายบัวสามารถปราบได้ 

แต่มีนางตานีตนหนึ่งได้แปลงกายเป็นหญิงงาม เข้ามายั่วยวนพลาย

บัว แต่ภายหลังทนเวทมนตร์ของพลายบัวไม่ได้จึงคืนกลับร่างเดิม

และเป็นบริวารของพลายบัวต่อมา
                   เนื้อเพลง พลายบัวเกี้ยวนางตานี
                         ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
                           ร้อง สีนวล
   รูปร้ายกลายกลับเป็นสาวน้อย              แช่มช้อยนวลละอองผ่องใส
งามโฉมประโลมละลานใจ                   แอบต้นกล้วยใหญ๋แล้วถามหา
พ่อหนุ่มน้อยคนนี้อยู่ที่ไหน                  แต่คนเดียวเดินไปที่ในป่า
มีธุระสิ่งใดไปไหนมา                      
เมตตาบอกความแต่ตามจริง
                           ร้อง ร่าย
            เมื่อนั้น                    พลายบัวตรองตรึกให้นึกกริ่ง
เห็นตานีมีฤทธิ์ศักสิทธิ์จริง                     จึงวอนวิงด้วยสุนทรวาจา
                           ร้อง ทองย่อน
   เจ้านางตานีทองน้องแก้ว                   เป็นคนแล้วพี่จะรักให้หนักหนา
พี่ขอเชิญนวลแก้วแววตา                      ไปเป็นเพื่อนพี่ยาจนวันตาย
พี่มุ่งมาหวังว่าจะเชิญน้อง                      เจ้านางตานีทองละอองฉาย
ไปเป็นเพื่อนคู่ยากลำบากกาย                   แล้วเจ้าพลายเป่ามนต์เสน่ห์จันทร์เอย
                                  -รัว-







 

Create Date : 09 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 พฤษภาคม 2561 13:10:47 น.
Counter : 57083 Pageviews.  

ระบำ สตวาร


เป็นการแสดงที่สื่อความหมายถึงการแต่งกายของสตรีไทยแต่โบราณ

ซึ่งจะเลือกสีของเครื่องนุ่งห่มให้เข้ากับวันต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล

นับเป็นชุดการแสดงที่มีความหมายและงดงามอีกชุดหนึ่ง ครูปราณี 

สำราญวงศ์ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย เป้นผู้ประพันธ์บทร้อง 

คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและศิลปิน

แห่งชาติเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
                   ระบำสตวาร
ปี่พาทย์ทำเพลงทองย่อน
                   เพลง ทองย่อน
     วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี     ควรนุ่งสีทับทิมแดงเป็นแสงฉาย
วันจันทร์นั้นควรสีนวลพราย          งามละม้ายจันทราในราตรี
                   เพลง ตวงพระธาตุ
     วันอังคารวันดีศรีสมัย             ควรสวมใส่สีชมพูชูราศรี
วันพุธบริสุทธิ์ผุดผ่องดี                 ควรนุ่งสีเขียวสดรสสุคนธ์
                   เพลง ขอมสุวรรณ
     วันพฤหัสบดีสีเขียวอ่อน          เรายอกย้อนแต่งจำปาสถาผล
วันศุกร์นั้นคือวันมงคล                 เหล่าปวงชนแต่งกายาสีฟ้าคราม
                   เพลง สะสม
     วันเสาร์สุดท้ายที่หมายมาด        โบราณคาดสีดำขำขาม
สีดำเป็นทุกข์สุขไม่ตาม                เราจึงคร้ามเปลี่ยนเป็นม่วงสีช่วงครัน
                   เพลง กระบอกทอง
    ทั้งเจ็ดสีนุชนาฏพิลาสลักษณ์     ประไพพักตร์พริ้งเพริศประเสริฐสรรพ์
แม้นแต่งกายให้งามตามสีวัน         เป็นมงคลสุขสันต์นิรันดร์เอย
                   ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว









 

Create Date : 02 มิถุนายน 2552    
Last Update : 6 ตุลาคม 2560 4:25:42 น.
Counter : 5957 Pageviews.  

ระบำ ปาเต๊ะ





เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย ครูดรุณี สัจจากุล ภาควิชานาฏศิลป์ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ประดิษฐ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๓
 และได้นำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อนำออกแสดงหน้าพระที่นั่ง ณ
 พระตำหนักทักษินราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๙
 กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘ ระบำชุดนี้ได้นำเอาขั้นตอนการทำผ้า
ปาเต๊ะมาประยุกต์ดัดแปลงประกอบเข้ากับท่าเต้นรำของพื้นเมือง
ภาคใต้ ในการแสดงนั้นจะเริ่มจากการแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยว
บนไฟจนร้อน การถือสะดึงออกมาขึงผ้า เขียนลาย ย้อมผ้า และ
จะจบด้วยทุกกลุ่มออกมาร่วมเริงระบำกันอย่างสนุกสนานด้วยความ
พอใจในชุดผ้าปาเต๊ะอันสวยงาม เครื่องดนตรีประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้บรรเลงประกอบการแสดง






 

Create Date : 01 มิถุนายน 2552    
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2560 20:25:56 น.
Counter : 21021 Pageviews.  

ระบำเครื่องปั้นดินเผา

Photobucket

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ชุดนี้ ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำและเครื่องแต่งกาย ได้แนวคิดมาจากการที่บ้านโรงหวด ในตำบลงิ้วราย จ.นครปฐม เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๔ การแสดงชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่พื้นบ้านของชาวไทย กรรมวิธีการปั้น โดยเริ่มตั้งแต่ การขุดดิน, การโกยดินที่จะนำมาใช้,การย่ำดิน,การปั้น,การเขียนลายและการเผา...
ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำคือ ครูประยูร ทองสุทธิ์ ครูสอนนาฏศิลป์โรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ จังหวัดนครปฐม(เพื่อนรุ่นพี่ของเกศสุริยงเองค่ะ)
ผู้ประดิษฐ์ทำนองเพลงคือ ครูศิวศิษฎ์ นิลสุวรรณ ครูผู้สอนดุริยางค์ไทยโรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี(คนนี้เพื่อนของเกศสุริยงเองค่ะ เก่งมากๆๆๆๆเลยค่ะ)




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 11 มกราคม 2553 0:17:50 น.
Counter : 3140 Pageviews.  

ระบำ วิชนี




เป็นระบำชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยใช้ทำนอง

เพลงจีนดาวดวงเดียว ซึ่งเป็นเพลงที่มีอยู่ มาประ
ดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยผู้แสดงจะแต่งกายแบบนางใน
 ในมือถือพัดมีด้ามประกอบการรำซึ่งมีศัพท์เรียกว่า
 วิชนี หรือ พัชนี ออกมาร่ายรําด้วยท่วงทํานองเพลง
และบทร้องอันไพเราะ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ชาวไทยนิยม
ใช้พัดเป็นเครื่องบรรเทาความร้อน ดังนั้นนาฏศิลป
ชุด ระบําวิชนี จึงวิวัฒนาการมาจากการใช้พัด 
รําเพยลมของชาวไทยในทํานองอย่างมีศิลปนั่นเอง

ผู้ประพันธ์เนื้อร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ของกรมศิลปากร

โดยมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้
หน้าร้อน
ทินกรเจิดแจ่มแฉล่มศรี
เกิดแสงแดดแผดมาสู่ร่างนี้
เผามาลีโรยเหงาเหี่ยวเฉาไป
อากาศร้อนอบอ้าวผะผ่าวผิว
ไล่ลมพริ้วมาไวคลายร้อนได้
พระพายหยุดสุดร้อนร้อนฤทัย
ต้องอาศัยโบกพัดกระพือลม
วิชนีที่ช่วยให้โรยรื่น
เย็นฉ่ำชื่นชุ่มในฤทัยสม
ถึงเวลาหน้าร้อนร้อนระงม
เชิญมาชมรำพัดให้เย็นใจเอย
....เพลงบรรเลงรัว เพลงเชิดจีน






 

Create Date : 19 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2560 17:33:01 น.
Counter : 33178 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

เกศสุริยง
Location :
อ่างทอง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 87 คน [?]




ยินดีต้อนรับ/blogนี้ทำขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ สำหรับผู้ค้นคว้า ยินดีอย่างยิ่งถ้าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อย
Friends' blogs
[Add เกศสุริยง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.