อุปสรรคทุกอย่างมีทางแก้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีแก้อย่างไร
Group Blog
 
All Blogs
 
เลือกดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือ แบบลอยตัวดี หรือ แบบคงที่นานๆ

*** หมายเหตุ ข้อมูลต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ ในแต่ละช่วง ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ อาจจะทำให้ข้อมูลในบทความไม่ตรงกับสภาวะเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันได้ เนื่องจากต้องอาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นปัจจัยหลัก ผู้อ่านควรใช้วิจารญาณในการพิจารณา ***

ปัจจุบัน ธนาคารต่างๆ มีดอกเบี้ยหลากหลายรูปแบบ ทำให้เราอาจจะงงได้ ว่าควรเลือกแบบใดดี เพื่อที่จะได้จ่ายดอกเบี้ยได้ถูกที่สุด

ให้สังเกตุภาวะเศรษฐกิจในอนาคตเป็นหลักก่อน (ต้องศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค [Macro Econonic]) เพราะจะสามารถบ่งชี้แนวทางได้ว่า แนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคต (1-3 ปีแรกของการผ่อน) จะขึ้น / ลง เมื่อใด

หากแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตจะลดลง ก็ควรจะเลือกเป็นแบบลอยตัวตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป (ปีแรกอาจจะคงที่ไปก่อน) เพราะขณะที่เรากู้ดอกเบี้ยจะยังไม่ลดลง จนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแล้ว และธนาคารต่างๆ จะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะลดดอกเบี้ย (โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะลดดอกเบี้ยเงินฝากก่อน แล้วจึงค่อยลดดอกเบี้ยเงินกู้ และจะลดดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้เกิดส่วนต่าง ของระยะดอกเบี้ยฝาก / กู้ มากขึ้น)
ดังนั้น พอเข้าสู่ปีที่ 2 ก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงเนื่องจากดอกเบี้ยได้ลดลงแล้ว

หากแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคตจะสูงขึ้น ก็ควรจะเลือกเป็นแบบคงที่ตั้งแต่ปีแรก - ปีที่สาม เพราะขณะที่เรากู้ดอกเบี้ยจะอยู่ในอัตราที่ต่ำระดับนึง แต่เมื่อเศรษฐกิจกับมาดี หรือคล่องตัวมากขึ้น จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นในปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยอาจจะสูงกว่า ณ ปัจจุบัน (+/- 1% ถึง 2% ได้) ทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ 2-3 สูงขึ้นกว่าที่ควร โดยสามารถดูสัญญาณได้ง่ายๆ จากการที่ธนาคารต่างๆ เริ่มระดมเงินฝาก โดยออกแคมเปญเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น หลังจากนั้นระยะเวลานึงธนาคารต่างๆ ก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

และหากแนวโน้มดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากระดับนึง และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาเติบโต และสามารถคงความเติบโตได้ต่อเนื่อง (3 ปีติดต่อกัน) ก็มีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า ณ ปีแรกที่ทำการกู้ไว้มาก ดังนั้นอาจจะจำเป็นต้องมองหาอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่นานๆ (ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ ณ ปัจจุบัน) เพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้นสูงมากไว้
หรือในทางกลับกัน หากเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบเกี่ยวกับตลาดเงินอย่างแรง ก็จะทำให้เกิดการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน (ตัวอย่าง เหตุการณ์ในปี พ.ศ.2540 ภาวะสบู่แตก หรือ เหตุการณ์ในปัจจุบันที่สหรัฐฯ ก็จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯได้ปรับขึ้นเช่นกัน ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย)

ปัจจุบัน (พ.ศ.2551) ประเทศไทยประสบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมัน (ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยไม่สามารถจะทราบได้ว่าเมื่อใดราคาน้ำมันจะเพิ่ม/ลดลง ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ต้องปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องอาศัยความระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะเห็นได้จากธนาคารแห่งประเทศไทยส่งสัญญาณในการปรับอัตราดอกเบี้ย แต่จะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว หากปรับขึ้นมากเกินไปจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะงักได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากปรับอัตราดอกเบี้ยไปแล้วด้วย (เห็นได้จากการคลังมีความเห็นที่ขัดแย้งกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย)

อนึ่ง การเงิน (ธนาคารแห่งประเทศไทย) = ผู้ดูแลปริมาณ/กระแสเงินในตลาด และการคลัง (กระทรวงการคลัง) = ผู้ดูแลนโยบายการเงินในตลาด (การใช้/จ่าย) จำเป็นที่จะต้องทำงานควบคู่กัน และให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน เพื่อบรรลุผลต่อเศรษฐกิจที่จะดีขึ้น ส่งผลต่อประชาชนในภาพรวมที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่จะดีขึ้น

หมายเหตุ การเงิน / การคลัง ไม่ควรชี้นำจนสุดโต่งในทางหนึ่งทางใดจนเกินไป จนเป็นเหตุให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ได้เปรียบ/เสียเปรียบจากการชี้นำนั้นๆ

ความพอเพียง มิได้หมายถึงการหยุดเติบโต หรือ หยุดพัฒนา แต่ต้องจ่าย ณ จุดที่เหมาะสมต่อการลงทุน ซึ่งการลงทุนให้ผลลัพธ์ หรือ ผลตอบแทนที่ดีกว่า ณ ปัจจุบัน แต่ทุกครั้งที่จ่ายออกไปต้องเล็งถึงผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตว่าจะไม่ลดลงจนเกิดวิกฤติ เนื่องจากใช้จ่ายจนเกินกำลังที่จะได้รับผลตอบแทน





Create Date : 25 สิงหาคม 2551
Last Update : 25 สิงหาคม 2551 0:13:06 น. 3 comments
Counter : 1698 Pageviews.

 
ดอกเบี้ยบ้านโหดมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เกินไป


โดย: ยัยตัวแสบ IP: 110.164.18.153 วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:0:04:07 น.  

 
ขอบคุณมากๆ ครับ ได้ความรู้มากๆ


โดย: A IP: 114.128.31.131 วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:17:51:28 น.  

 
ดอกเบี้ยที่โหดมากๆ ณ ปัจจุบัน คือ ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ

หากเป็นดอกเบี้ยในระบบที่โหดมากๆ ก็จะเป็น ดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลประเภทต่างๆ รองลงมา คือ ดอกเบี้ยรถยนต์ ครับ


โดย: rogthai วันที่: 29 มีนาคม 2554 เวลา:0:48:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rogthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add rogthai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.