ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ทาทา ซีนอน“เฮฟวี ดิวตี้”ทางเลือกใหม่...ลงตัวงานหนัก

ดูดีมีอนาคตขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ “ทาทา” ค่ายรถยนต์จากอินเดีย 5 ปีที่ลงหลักปักฐานในไทย ลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง ยิ้ม-หัวเราะ-ร้องไห้ ผสมๆกันไป

…แต่จุดหนึ่งที่“ทาทา”ยึดเป็นกลยุทธ์ทำธุรกิจในไทยคือ การหาช่องว่างในตลาดและเสริมโปรดักต์ที่คู่แข่งไม่มี อย่างปิกอัพ 1 ตันที่พวกค่ายญี่ปุ่น,อเมริกันยึดหัวหาดเอาไว้ ทาทาก็รู้เลี่ยงพร้อมสรรหาปิกอัพที่ต่างออกไป หวังตอบสนองลูกค้าที่ต้องการใช้รถเพื่อการพาณิชย์จริง

ปลายปีที่แล้ว บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ยังยึดแนวทางการพัฒนารถที่ใช้วิ่งงานสร้างเงิน มากกว่าเน้นความเท่ เปิดตัวปิกอัพรุ่นใหม่ “ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” หรือ“ปิกอัพเพลาลอย” หวังให้ลูกค้าเอาไปใช้ขนของหนัก ชูความคุ้มค่าประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย

โดยทาทา“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” เป็นปิกอัพตอนเดียว แบ่งเป็น 2 รุ่นย่อยคือรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ราคา 5.19 แสนบาท และรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ซีเอ็นจี 2.1 ลิตร ราคา 5.69 แสนบาท

...ถ้าพูดถึง“ปิกอัพแบบเพลาลอย” อู่เมืองไทยดัดแปลงใช้กันมานานแล้ว อย่างปิกอัพ 1 ตันที่เรียกกันติดปาก ซึ่งก็คือพิกัดน้ำหนักที่ปิกอัพสามารถบรรทุกของได้ถึง 1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม (บางคนบรรทุกได้เกินกว่านั้นก็สุดแล้วแต่)

แต่ในเมื่อโลกยังโหดร้ายกับชายสู้ชีวิต เจ้าของปิกอัพหลายรายมีภาระ จำเป็นบรรทุกของหนักระดับ 2-3 ตันขึ้นไป(ต่อเที่ยว) ก็คงต้องไปพึ่งอู่ช่างเทพอย่างที่บอกละครับ

สำหรับปิกอัพ 1 ตันทั่วไป (ขับเคลื่อนล้อหลัง) จะเป็นแบบเพลากึ่งลอย (Semi-floating axles) โครงสร้างนี้ เพลาขับจะต้องรองรับทั้งน้ำหนักบรรทุก และรับแรงบิดจากเฟืองท้ายเพื่อไปหมุนล้อขับเคลื่อนรถ ซึ่งกรณีใช้งานปกติคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องบรรทุกหนัก เพลาขับที่ต้องรับหน้าที่สองอย่าง(รับน้ำหนัก-ขับเคลื่อน) ก็เครียดซิครับ และอาจจะขาดหรือหลุดได้

ส่วนเพลาแบบลอย (Full-floating axles) จะออกแบบโครงสร้างให้เพลารับหน้าที่ในการส่งกำลังขับเคลื่อน(ล้อ)รถอย่างเดียว ส่วนภาระการรับน้ำหนักจะไปอยู่ที่แกนดุมล้อ ซึ่งออกแบบให้เป็นส่วนเดียวกับเสื้อเพลา พร้อมลูกปืน 2 ตลับคู่(ติดอยู่ระหว่างเสื้อเพลากับดุมล้อ) จะรองรับน้ำหนักไว้ทั้งหมด ส่งผลให้รถบรรทุกของได้มากและหนักกว่าเพลาแบบกึ่งลอย

แน่นอนว่าหลายคนต้องไปเสริมแหนบ หรือเปลี่ยนเฟืองท้ายด้วย แต่ที่สำคัญเมื่อทำเสร็จทุกอย่างแล้ว อย่าลืมไปแจ้งเรื่องการดัดแปลงปิกอัพให้เป็นเพลาลอยกับกรมการขนส่งทางบกถึงจะครบสูตรถูกต้อง

อย่างไรก็ตามใครที่ซื้อ“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” ทาทายืนยันว่า เป็นการพัฒนามาจากโรงงานผู้ผลิต เพราะถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม ทั้งความแข็งแรงของแกนเพลาขับ เสื้อเพลาที่ออกแบบเป็นท่อเหล็กอัดแข็ง รองรับน้ำหนักบรรทุกและการบิดตัวได้ดีกว่าเสื้อเพลาทั่วไป พร้อมกับโครงสร้างแชสซีส์สุดแกร่ง เสริมแหนบเพิ่มเป็น 9 ชั้น รวมถึงปรับเฟืองท้ายใหม่ให้รถมีกำลังฉุดลากได้สบาย

….โดยผู้เขียนมีโอกาสลอง ทาทา“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ขับออกจากกรุงเทพมุ่งไปเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางเกือบ300 กิโลเมตร ทริปนี้ทีมงาน “ทาทา” ไม่ได้ให้ผู้สื่อข่าวขับไปตัวเปล่าๆ แต่ยังให้แบกแท่งปูน 30 แท่ง น้ำหนักประมาณ 1 ตัน เอาไว้ที่กระบะท้าย

โดยหลักๆทีมงานทาทา หวังโชว์ศักยภาพของกระบะพื้นเรียบเปิดได้ 3 ด้าน ซึ่งแท่งปูนทั้งหมดถูกยกขึ้นไปโดยรถฟอร์คลิฟท์อย่างสะดวก พร้อมยืนยันว่า“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” สามารถรับงานบรรทุกหนักได้สบาย ขณะเดียวกัน บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ยังถือโอกาสทำกุศล จากการนำแท่งปูนดังกล่าวไปบริจาคให้อุทยานเขาแผงม้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่เอาไปทำเป็นรั้วกั้น ป้องกันกระทิงลงมากินพืชผลทางการเกษตรที่ชาวบ้านปลูกไว้อีกด้วย

ด้านการขับขี่กว่าจะไปถึงจุดหมายเขาแผงม้า ด้วย“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้”ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล DICOR VTT ขนาด2.2 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว เทอร์โบแปรผัน อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 140 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิด 320 นิวตันเมตรที่ 1,700-2,700 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เรี่ยวแรงก็มาแบบสมเหตุสมผลครับ



การโยกเปลี่ยนเกียร์นุ่มนวลมากขึ้น ถ้าเทียบกับรุ่นที่เปิดตัวแรกๆ การขับถ้าเลือกใช้เกียร์ให้ถูกจังหวะรถยังมีแรงฉุดดึงให้ดีใจอยู่บ้าง(อย่าลืมว่ามีเสาปูน 1 ตันอยู่กระบะท้าย)

แม้อัตรเร่งไม่ถึงกับเร็วทันใจ แต่รู้สึกว่าการทำงานของเครื่องยนต์นุ่มเรียบขับขี่ได้แบบเรื่อยๆ ส่วนการวิ่งใช้ทางไกลความเร็ว120-140 กม./ชม. การเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร การทรงตัว การควบคุม อาจจะยังไม่นิ่งเท่าบรรดาปิกอัพจากญี่ปุ่น

ด้านระบบกันสะเทือนของ“ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้”คงไม่ต้องหวังความนุ่มนวล ช่วงผ่านรอยต่อถนนหรือพื้นผิวที่เป็นลูกคลื่น ตัวรถมีกระเด้งกระดอนตามจังหวะ ส่วนระบบพวงมาลัยยังเป็นแบบลูกปืนหมุนวน การสั่งงานซ้าย-ขวามีระยะฟรี น้ำหนักหน่วงมือกำลังดี ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับการเป็นรถบรรทุก

ในส่วนระบบห้ามล้อ (ใช้ล้อเหล็กขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 215/75R16) หน้าเป็นดิสก์พร้อมครีบระบายความร้อน หลังเป็นดรัมเบรกพร้อมระบบวาล์วปรับแรงดันแปรผัน (LSPV) จังหวะกดแป้นเบรก ตอบสนองการชะลอหยุดได้กำลังดี แต่เมื่อบรรทุกหนักขนาดนี้คงต้องเผื่อระยะเบรกเอาไว้สักนิด คิดล่วงหน้าเอาไว้สักหน่อย





อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับในจุดที่เป็นปิกอัพขนของ เน้นบรรทุกหนัก ดังนั้นถ้าขับความเร็วปกติ 80-90 กม./ชม. ผู้เขียนว่า “ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้” ยังขับขี่ฉลุย และไม่เครียดเท่าใดนัก (ถ้าขับคุ้นชินแล้วยิ่งสบาย)

รวบรัดตัดความ...การกลับมาอีกครั้งของขวัญใจเถ้าแก่หัวใส ถูกใจคนใช้ปิกอัพแบบวิ่งงานสร้างรายได้ เห็นกำไรอยู่ที่ท้ายกระบะ “ซีนอน เฮฟวี ดิวตี้”นับเป็นทางเลือกใหม่ที่ลงตัวกับงานบรรทุกหนัก ส่วนใครจะเลือกรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลปกติ หรือซีเอ็นจี ลองดูระยะทางวิ่งต่อเที่ยว และสถานีบริการ ตามความเหมาะสมแล้วกัน

//manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9560000011363


ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook คลิ๊ก...



Create Date : 30 มกราคม 2556
Last Update : 30 มกราคม 2556 23:04:53 น. 0 comments
Counter : 1572 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]