ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เปิดแผนแก้น้ำฉบับสมบูรณ์ เล็งพื้นที่ฟลัดเวย์ตะวัน ตก-ออก

เปิดแผนแก้น้ำฉบับสมบูรณ์ เล็งพื้นที่ฟลัดเวย์ตะวัน ตก-ออก

ภาพประกอบโดย Wutthichai/Shutterstock.com 

สบอช. เผย แผนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เล็งพื้นที่ฟลัดเวย์ตะวันตก-ออก ทำถนนสัญจรยกสูงกว่าปกติ และจะปรับพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นเขตเศรษฐกิจ คาดราคาที่ดินพุ่งแน่นอน

           เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสํานักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ได้เผยว่า ในการบริหารจัดการน้ำในแผนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวความคิดของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ภายใต้กรอบงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาทนั้น จะมีการใช้งบประมาณจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท

โดยวางแผนก่อสร้างแนวฟลัดเวย์ถาวร 2 เส้นทาง ได้แก่

1. แนวฟลัดเวย์ฝั่งเจ้าพระยาตะวันตก (ท่าจีน-เจ้าพระยา) ความยาว 314 กิโลเมตร

           2. แนวฟลัดเวย์เจ้าพระยาตะวันออก (ป่าสัก-เจ้าพระยา) ความยาวประมาณ 322 กิโลเมตร

           ทั้งนี้ เพื่อบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ภาคกลางเป็นต้นไป ซึ่งการสร้างฟลัดเวย์สามารถใช้ถนน 2 เส้นนั้น สัญจรได้ตามปกติ ยกเว้นเมื่อเกิดน้ำท่วม ถนนเส้นดังกล่าวจะถูกจัดให้เป็นทางผ่านน้ำ โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเต็มรูปแบบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยพื้นที่จัดสร้างได้ เพราะเกรงว่าจะมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรในอนาคต

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานสร้างฟลัดเวย์ถาวร จะมีการร่างประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษายื่นแสดงแบบ แนวความคิดพื้นฐาน (conceptual design) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติ ทั้งนี้ ภายหลังจากสามารถคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา และผู้ก่อสร้างได้แล้ว คาดว่าฟลัดเวย์ถาวรจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปีครึ่ง โดยจะต้องใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) รวมทั้งลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

           ทั้งนี้ จากแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะยั่งยืน ตามแนวความคิดของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) มีทั้งสิ้น 8 แผนงาน วงเงินรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท ประกอบด้วย

1. การฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่า และดิน เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุลพื้นที่ดำเนินการประมาณ 10 ล้านไร่ งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

2. การบริหารจัดการน้ำ และอ่างเก็บน้ำหลัก และการสร้างอ่างกักเก็บน้ำอย่างเหมาะสม และยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก วงเงินงบประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

3. การจัดทำ ผังการใช้ที่ดิน/การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อม พื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลักของแต่ละจังหวัด และของประเทศ (ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง) งบประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

4. การปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทานในพื้นที่โครงการชลประทานพิษณุโลก (เหนือนครสวรรค์) และโครงการเจ้าพระยาใหญ่ (เหนืออยุธยา) ให้เป็นแก้มลิงแม่น้ำเพื่อเก็บกักน้ำชั่วคราวในฤดูน้ำหลาก โดยใช้พื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ รวมทั้งปรับปรุงให้สามารถเพิ่มผลผลิต เกษตรกรรมและประมง ฯลฯ งบประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

5. การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำของแม่น้ำสายหลัก คือ ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน ฯลฯ 7 พันล้านบาท

6. การจัดหาทางน้ำหลาก (flood way) และหรือทางผันน้ำ (flood diversion channel) เพื่อรับอัตราการไหลน้ำหลากส่วนเกินจากแม่น้าเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก ไปทางฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฝั่งใดฝั่งหนึ่ง รวมทั้งจัดทำทางหลวง (ระดับประเทศ) ไปพร้อม ๆ กัน งบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท

 7. การปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์ และเตือนภัย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ ทั้งหลาก และแห้ง กรณีต่าง ๆ 3 พันล้านบาท

 8. การปรับปรุงองค์กร (ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำสั่งการ กำกับ ดูแล ติดตาม พร้อมทั้งปรับปรุง/เพิ่มเติมกฎหมาย และกำหนดวิธีการเยียวยาที่เหมาะสม) การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



Create Date : 14 พฤษภาคม 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 17:38:30 น. 0 comments
Counter : 1592 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]