อย่าตัดสินหนังสือจากปก จงเปิดอ่านดูด้านในก่อน

เลวทั้งตระกูล รุมตื๊บพลเรือนริมถนนกลางเมือง ทหารไทยแม่งเก่งแต่กับพลเรือนแหล่ะวะ ถุย

แม่งเหี้ยจริงๆ
ครอบครัวโกศายานนท์
ทั้งครอบครัวเลย แม่งรุมคนคนเดียว




 

Create Date : 23 เมษายน 2554   
Last Update : 23 เมษายน 2554 11:55:56 น.   
Counter : 1143 Pageviews.  

ถ้าคิดจะทำงานกับธนาคาร CIMB อ่านบทความนี้ก่อน ความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้

ผมคิดว่าอาชีพในฝันของน้องๆบางคนก็คืออยากเป็นนายแบงค์ สาวแบงค์
ได้แต่งตัวหล่อๆสวยๆดูดีมีมาด มีคนเอาเงินมาให้ทุกวัน เงินผ่านมือวันละหลายๆล้าน
ฟังดูดีนะ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย สำหรับการทำงานธนาคารสมัยนี้

CIMB ก็คือ ไทยธนาคาร เก่านั่นเอง จะดูความมั่นคง ก็ดูตรงนี้ก็ได้ ถ้าธนาคารนี้ดีจริง ก็คงไม่เจ๊งและต้องโดนเทคโอเวอร์โดยคนต่างชาติหรอก

การทำงานกับธนาคารสมัยนี้ มันคือเป็นเซลล์แมนดีๆนี่เอง ต้องขายทุกอย่าง ถ้าขายไม่ได้ถึงเป้า ออกไป!
ขายกองทุน ขายบัตรเครดิต ขายสินเชื่อส่วนบุคคล ขายเงินกู้บ้าน และที่สำคัญต้องขายประกัน

พนักงาน Teller ดีหน่อยที่งานหลักคือฝาก-ถอน แต่ก็ต้องขายอย่างอื่นด้วยนะ มีเป้าเหมือนกันแต่ไม่โหดเท่าไหร่
แต่สำหรับธนาคารนี้ ตำแหน่ง PFA นี่แหล่ะที่เป้าหมายโหดจริงๆ

โดยเป้าหมายเป็นตัวเลขได้เขียนไว้ชัดเจนในสัญญาการจ้างงานเลย คือว่าถ้าทำได้ไม่ถึงเป้า เค้าก็จะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น

และการทำงานของ PFA นี่แทบจะเป็นการโดนหลอกให้มาทำงานมากกว่า ธนาคารจ้างคุณมา บังคับให้คุณทำยอดทุกประเภทสูงมาก
แต่ไม่ให้การสนับสนุนใดๆเลย คุณจะหาลูกค้าจากไหนก็เรื่องของคุณ เอาลูกค้าเก่าที่ติดตัวคุณมานั่นก็ดี ญาติพี่น้องของคุณก็ดี คนรู้จักของคุณก็ดี ฯลฯ
คุณต้องทำเองทั้งหมด ธนาคารมีโต๊ะให้คุณนั่ง แต่คุณไม่ได้มีสิทธิเจอลูกค้า คุณไม่มีรายชื่อที่ธนาคารส่งต่อให้ คุณไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเช็คฐานข้อมูลลูกค้า คุณเบิกค่าโทรศัพท์ไม่ได้ คุณเบิกค่าน้ำมันรถไม่ได้ ธนาคารแทบไม่มีอะไรให้คุณเลย แต่คุณต้องหาลูกค้าให้ได้
แล้วถ้าลูกค้าที่ติดตัวคุณมานั้นหมดแล้ว ญาติพี่น้องซื้อ product ของคุณกันหมดแล้ว แล้วคุณไม่รู้จะหาลูกค้าใหม่อย่างไร คุณจะทำยังไงดี???? ก็โดนไล่ออกไง

โหดมั้ย นี่แหล่ะเรื่องจริง นี่แหล่ะคือชีวิตของ PFA ที่ CIMB
มันคือการหลอกเอาลูกค้าติดตัวคุณ หลอกเอาญาติพี่น้องคุณ หลอกเอาคนรอบๆตัวคุณ ไปเป็นลูกค้าของธนาคาร
เมื่อหมดแล้ว คุณก็โดนถีบหัวส่ง
แล้วธนาคารก็รับสมัครตำแหน่งนี้ใหม่ไปเรื่อยๆ ธนาคารได้ยอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่พนักงานที่รับมากลับไม่ได้อะไรเลย ได้แค่เศษเงินเดือน 2-3 เดือน จนกว่าลูกค้าคุณจะหมดนั่นเอง
ดูไปดูมาเหมือนแชร์ลูกโซ่มั้ย

คิดให้ดีก่อน คิดถึงหลักความจริง ว่าทำไมธนาคารเล็กๆแบบนี้ถึงเปิดๆปิดๆ เปลี่ยนชื่อกันเป็นว่าเล่น
แล้วทำไมธนาคารใหญ่ๆถึงอยู่ได้แบบไม่มีปัญหา ก็เพราะเค้ามีธรรมาภิบาลไง ไม่คดในข้องอในกระดูก

หรือคุณจะเป็นเหยื่อ ก็ตามใจคุณนะ ผมเตือนคุณแล้ว




 

Create Date : 31 มีนาคม 2554   
Last Update : 31 มีนาคม 2554 9:07:13 น.   
Counter : 26025 Pageviews.  

สมอ. TISI กับวิวัฒนาการ นี่แหล่ะราชการไทย ของจริง

สมอ. เป็นงานหน่วยงานราชการ ทำหน้าที่ควบคุม-กำหนดมาตรฐานสินค้าที่จำหน่ายในไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพ
ฟังดูดีนะ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า หน่วยงาน สมอ. เอง ไม่ได้รับมาตรฐานอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานเช่น ISO9000, ISO14001 แม้แต่ 5ส ก็ไม่รู้เคยทำกันหรือเปล่า
ลองไปดูเหอะยังทำงานในแบบเดิมๆของข้าราชการอยู่เลย อย่าได้เอาไปเปรียบกับพวกกรมสรรพากร กรมศุลกากร เพราะ สมอ. ไม่ได้ติดฝุ่นแม้แต่น้อย
เอาง่ายๆนับจากก้าวแรกที่เข้าไปสมอ. ตึกอยู่ติดถนนเลยนะ แต่แทบไม่มีที่จอดรถเลย เต็มไปหมด เต็มไปด้วยรถของพนักงานนั่นแหล่ะ
ผู้มาติดต่อก็วนไปสิ จะไปจอดตึกอื่นก็ไม่ได้ เค้าไม่ให้จอด เค้าบอกว่ามาติดต่อสมอ. ก็ต้องไปจอดที่ตึก สมอ. นี่ขนาดกระทรวงอุตสาหรรมเหมือนกันนะเนี่ย เฮ้อ

พอเข้าไปในตึก ก็จะมีจุด One stop service แต่คุณลองไปติดต่อดูเถอะ ไม่เคยเสร็จ เค้าจะบอกให้เราขึ้นไปหาเจ้าหน้าที่เอง ที่ชั้นโน้นชั้นนี้ แล้วจะตั้งจุดนี้ไว้ทำซากอะไร ไม่ตามงานให้เลย

ข้างล่างก็ดูดีอยู่นะ แต่พอเข้าไปในส่วนของห้องแต่ละหน่วยงาน ถ้าคุณไปจังหวะเหมาะๆ คุณก็อาจจะเห็นพนักงานนั่งเล่นไพ่กันอยู่ จริงๆไม่ได้โกหก ไพ่จริงๆ
คุณอาจจะเจอพนักงานกล่อมลูกอยู่ คุณอาจจะเจอพนักงานนั่งกินเหล้าอยู่บนโต๊ะทำงาน อ้าว นี่เรื่องจริง เพียงแค่คุณไปให้ถูกจังหวะเท่านั้นเอง ในเวลางานนี่แหล่ะ
พนักงานส่วนใหญ่ทำอะไร เอกสารกองเต็มโต๊ะ แต่นั่งปลูกผักใน facebook อยู่

9 โมงเช้า ยังไม่เข้าค่ะ 11 โมงเช้า ไปทานข้าวแล้วค่ะ บ่างโมงครึ่ง ไปทานข้าวยังไม่มาค่ะ บ่ายสองครึ่ง กลับไปแล้วค่ะ

นายไปประชุมต่างจังหวัดค่ะ แล้วใครเซ็นต์แทนได้มั่ง อ้อ ไม่มีค่ะ ไม่ได้มอบหมายไว้ค่ะ แล้วท่านจะกลับเมื่อไหร่ อาทิตย์หน้าค่ะ
ท่านเข้ามาหรือยัง เข้ามาแล้วค่ะแฟ้มอยู่บนโต๊ะแล้วค่ะ แต่ท่านไปประชุม พรุ่งนี้กลับค่ะ ท่านยังไม่ได้ดูเลยค่ะ ท่านมีเวลาแค่แป้บเดียวค่ะ

ถ้าคุณไปติดต่อ สมอ. คำพูดข้างบนนี่คุณต้องเจอแน่นอน

ขออนุญาตนำเข้าสินค้าทีนึง ต้องทำไงบ้างรู้มั้ย
- ทำเรื่องขออนุญาต
- ทำจดหมายเชิญไปตรวจโรงงาน ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยว่างด้วย บางทีอาจจะ 3-4 เดือนกว่าจะได้คิวเลยก็มี
- ส่งตัวอย่างทดสอบที่ LAB แล้ว LAB ก็จะส่งผลไปให้สมอ.
- สมอ. ไปตรวจโรงงาน (ต่างประเทศ) ต้องนั่งการบินไทยเท่านั้น สายการบินอื่นไม่เอา เบี้ยเลี้ยงวันละ 2100 ต้องไป 2 คน พร้อมคนขออณุญาตด้วยอีกคน
- ค่าตรวจโรงงานวันละ 3000 ปกติใช้เวลา 1-2 วัน
- ต้องเลี้ยงข้าวทุกมื้อ แม้จะให้เบี้ยเลี้ยงไปแล้วก็ตาม
- พักโรงแรมแยกห้อง ไม่นอนห้องรวม
- ผลตรวจโรงงานกว่าจะสรุปก็ 1-2 อาทิตย์หลังจากกลับมาจากตรวจโรงงาน
- เอาผลตรวจโรงงานไปรวมกับผลตรวจตัวอย่าง กว่าจะเสนอท่านเซ็นต์ก็อีก 1-2 อาทิตย์ กว่าจะผ่านสารบรรณ
- กว่ารองท่านจะเซ็นต์ก็อีก 1 อาทิตย์
- กว่าเลขาท่านจะมีเวลาเซ็นต์ก็อีก 1 อาทิตย์
รวมแล้วเท่าไหร่เนี่ย เกือบ 2 เดือนแล้วนะ ที่อยู่กับสมอ.เนี่ย เอาไปรวมกับเวลาในการจองคิวอีก 3-4 เดือนเป็นอย่างต่ำในการที่จะขออนุญาตนำเข้าสินค้าชิ้นนึง
ค่าใช้จ่ายรวมๆแล้วก็ประมาณ 6-7 หมื่นบาท ต่อหนึ่งโรงงานในประเทศจีน

แต่เดี๋ยวก่อน
สมอ. กำลังจะปรับปรุงแล้ว จะให้ IB เป็นผู้เดินทางไปตรวจโรงงานแทน สมอ.
แล้วมันดีอย่างไร
- ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 5 พัน
- ค่าตรวจโรงงานวันละ 1.5 หมื่น ปกติตรวจ 2 วัน
รวมแล้วค่าใช้จ่าย 5 หมื่นต่อ 1 โรงงาน (ยังไม่รวมค่าโรงแรม ค่ารถ ค่าเครื่องบิน ฯลฯ) ถ้ารวมค่าเครื่องบินแล้ว ก็คงจะแสนกว่าบาทแน่เลยทีเดียว

IB ก็คือ EEI ที่เป็นหน่วยงานของสมอ.นั่นแหล่ะ เป็นบริษัทในเครือ ก็รับอานิสงค์เข้าไปเต็มๆ
ตรวจโรงงานก็คือตรวจ ISO แต่ไม่ยอมรับผล ISO ของที่อื่นนะ งงมั้ย
EEI ได้รับการรับรอง ISO จากบริษัท xxx สมอ. ให้การรับรอง แต่สมอ. ไม่รับผล ISO จากโรงงาน yyy ที่ผ่านการตรวจจาก xxx เหมือนกัน
สมอ. ต้องทำให้มันซับซ้อนขึ้นไปอีก โดยให้ EEI ไปตรวจโรงงาน yyy อีกที

แทนที่จะโยนภาระมาให้ผู้ประกอบการ ทำไมสมอ.ไม่ทำเอง ไม่ปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในให้มันมีระบบระเบียบมากกว่านี้

สมอ.จะไปทำอะไรล่ะหลังจากนี้ นั่งแปล IEC เอามาเป็นมาตรฐานเหรอ กว่าจะประกาศทีนึง IEC เค้าก็เปลี่ยนเวอร์ชั่นไปไหนต่อไหนแล้ว
สมอ. จะเอาเวลาและกำลังคนไปตรวจติดตามสินค้าในท้องตลาดเหรอ ไปเดินดูคลองถมก่อนเลยนะ กล้าจับหรือเปล่าล่ะ

AHEEER ไปลงนามกับเค้าไว้แล้ว แต่ก็ไม่ยอมรับผลของเค้า เฮ้อ

เปลี่ยนเลขาทีนึงก็เปลี่ยนนโยบายกันทีนึง ปรับตัวแทบไม่ทัน

แค่บ่นให้อ่านกันเฉยๆ อย่าคิดอะไรมาก นี่แหล่ะคือราชการไทย




 

Create Date : 30 มีนาคม 2554   
Last Update : 30 มีนาคม 2554 14:13:54 น.   
Counter : 1529 Pageviews.  

ความเห็นต่อ โครงการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE can do)

โครงการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อโครงการ WEEE CAN DO

วัตถุประสงค์
-    เพื่อเสริมสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย จากการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯอย่างผิดวิธี
-    เพื่อเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนำไปรีไซเคิลหรือบำบัดกำจัดอย่างถูกต้อง
-    เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาวต่อไป
-    Editor note:เกาะกระแสเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาในหลวง

เป้าหมาย
-    ซากโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์บ้าน/สำนักงาน (ที่มี่สายและไร้สาย) จำนวน 84,000 เครื่อง
-    เครื่องพิมพ์ (printer)  เครื่องโทรสาร และเครื่องโทรสารเอนกประสงค์ (multifunction) จำนวน 8,400 เครื่อง
-    เครื่องเล่น  MP3 เกมกด เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จำนวน 25,540 เครื่อง

พื้นที่เป้าหมาย
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั่วประเทศ

เครือข่ายเป้าหมาย
1.หุ้นส่วนความร่วมมือ (Stakeholder)
ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
ร้านค้าและศูนย์บริการ
-    ร้านจำหน่าย/ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์เครืองใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-    ศูนย์บริการของผูให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
-    ร้านสะดวกซื้อ
-    ธนาคาร
2. ผู้ผลิตและผู้นำเข้า
3. ผู้ให้บิรการรีไซเคิล
4. บริษัทหรือหน่วยงานที่มีการทิ้งซากฯ เช่น หน่วยงานราชการ องค์การและบริษัทขนาดใหญ่

แผนการดำเนินงาน


ระยะเวลาดำเนินงาน/งบประมาณ
-    มกราคม – ธันวาคม 2554
-    ช่วงดำเนินการเก็บรวบรวม 5 มิ.ย. – 4 ธ.ค. 54
-    งบประมาณของกรมควบคุมมลพิษ ประจำปี 2554
-    การสนับสนุนจากผู้ประกอบการ

บทบาท
-    คพ. จัดเตรียมภาชณะประมาณ 300 ใบ การจัด Road Show และสื่อประชาสัมพันธ์บางส่วน และการเก็บรวบรวมขนส่ง (editor note: กล่องใสๆสำหรับใส่แบตเตอรี่ กล่องพลาสติกแดงๆแบบใส่ผลไม้สำหรับใส่ซากอื่นๆ)
-    ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เป็นจุดรับคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ ขนาดใหญ่ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
-    ร้าค้าและศูนย์บริการ เป็นจุดรับทิ้งซากผลิตภัณฑ์ฯ ขนาดเล็ก
-    ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ สนับสนุนของรางวัล (editor note: ของรางวัลในการจับฉลากคูปอง)
-    ผู้ให้บริการรีไซเคิล เพื่อสนุบสนุนการรีไซเคิลและกำจัดของเสียอันตราย
-    บริษัทหรือหน่วยงานที่มีการทิ้งซากฯ ร่วมนำซากผลิตภัณฑ์ฯมาทิ้งหรือสนับสนุนด้านอื่นๆ


รายชื่อผู้ตอบรับเข้าร่วมโครงการ
หน่วยงานที่เป็นจุดรับทิ้งซาก
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5. มหาวิทยาลัยพระจอมเกลาธนบุรี
6. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
8. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. มหาวิทยาลัยจันทรเกษม
11. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
13. มหาวิทยาลัยนเรศวร
14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
15. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
16. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
17. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
19. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
20. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
21. มหาวิทยาลัยสยาม
22. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
23. สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์
24. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
25. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
26. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
27. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
28. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
29. บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด
30. บริษัท จีเนท อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
31. บริษัท จีเอเบิล จำกัด



หน่วยงานที่เก็บรวบรวมซาก (อปท.)
1. สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
2. เทศบาลเมืองชลบุรี
3. เทศบาลนครนนทบุรี
4. เทศบาลเมืองชัยนาท
5. เทศบาลเมืองปทุมธานี
6. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
7. เทศบาลเมืองทุ่งสง
8. เทศบาลเมืองนครราชสีมา
9. เทศบาลเมืองหัวหิน
10. เทศบาลนครพิษณุโลก
11. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
12. เทศบาลนครลำปาง
13. เทศบาลนครตรัง
14. เทศบาลนครอุดรธานี
15. เทศบาลเมืองขลุง
16. เทศบาลนครสงขลา
17. เทศบาลนครเชียงใหม่
18. เทศบาลนครเชียงราย
19. เทศบาลนครปากเกร็ด
20. เทศบาลเมืองศรีษะเกษ
21. เทศบาลนครหาดใหญ่
22. เทศบาลนครภูเก็ต
23. เทศบาลนครระยอง

หน่วยงานที่สนับสนุนของรางวัล (ผู้ผลิตและนำเข้า)
1. บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
2. บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด
3. บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด
4. บริษัท แคนอน มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท ฟูจิซีรอกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
6. บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด
7. Panasonic Management (Thailand) Co., Ltd.
8. บริษัท เดลล์ คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

หน่วยงานรีไซเคิล และบำบัดของเสีย
1. บริษัท ยูมิคอร์ มาร์เก็ตติง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
2. TES-AMM (Thailand) Co.,Ltd.
3. บริษัท ฟูจิซีรอกซ์ อีโคแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด




 

Create Date : 30 มีนาคม 2554   
Last Update : 30 มีนาคม 2554 11:54:07 น.   
Counter : 1295 Pageviews.  

สนามบินสุวรรณภูมิ เบื่อสุดๆ เมื่อไรจะดีซักที

เปิดมาก็หลายปีแล้วนะ ทำไมมันถึงได้ไม่ได้เรื่อง(ในสายตาผม)ซักทีวะเนี่ย
ไปกี่ทีๆก็เหมือนเดิมๆ และดูเหมือนว่าครั้งล่าสุดนี่จะแย่กว่าเดิมอีกด้วย

สนามบินต่างประเทศใกล้ๆนี้ที่เคยไป ไม่เห็นเป็นอย่างนี้เลย
หรือว่าสุวรรณภูมิเรายิ่งใหญ่กว่าหว่า? ไม่แน่ใจ

นาริตะ ไป่หยุน เช็กแลปก๊อก ซางฮี KLIA ฯลฯ

มาดูกันว่า ทำไมผมถึงบอกว่าสุวรรณภูมิ แย่ลง
ในความหมายจริงๆแล้วตัวสนามบินก็คงไม่ได้เลวร้ายอะไรนักหรอก แต่ที่ไม่เข้าท่าก็คือ AOT หรือ TG นี่แหล่ะมั้ง

คราวก่อนใช้บริการขาออก รออกตั๋วเกือบชั่วโมง รอตรวจตม.อีก รวมแล้วชั่วโมงครึ่ง
คราวนี้รออกตั๋วอย่างเดียวซัดไปชั่วโมงกว่า คิวยาวล้นออกมาข้างนอก
มีการแซงคิวกันอีกต่างหาก ไอ้พวกแขกตัวดีเลย แม้ฝรั่งหัวแดงก็ยังพยายามจะแซงกับเขามั่งสงสัยดูไอ้แขกมันทำ แต่ไม่ได้แดรกกูหรอก ขนาดขับรถยังแทรกกรูไม่ได้เลยถ้ากรูไม่ยอม

มีช่องให้บริการทั้งสิ้น (H,J) 30 ช่องได้มั้ง แต่เปิดจริงๆแค่ 10-12 ช่องเอง
แล้วมันจะรองรับคนไหวยังไงวะ
จัดสรรคนเป็นมั้ยวะนั่น ช่วงเช้านะเว้ย คนเค้าก็เดินทางเยอะกันเป็นปกติ แล้วทำไมไม่มีนั่งกันให้เต็มๆหน่อย

กว่าจะเสร็จกระบวนการทั้งหมดเดินไปถึงเครื่องโดยไม่พักเลย ซัดไป 2 ชั่วโมงเกือบครึ่ง
ดีนะที่เผื่อเวลาไว้ 3 ชั่วโมงเลย ไม่งั้นตกเครื่องแน่

อื่นๆที่ยังไม่เคยปรับปรุงเลยคือ เน็ตฟรีไม่มีให้เล่น ในขณะที่สนามบินอื่นๆส่วนใหญ่เค้าให้เล่นฟรีกันหมดแล้ว

ตม.ก็บริการชักช้า ทั้งขาเข้าและขาออก ยืนคุยกันอยู่นั่นแหล่ะ ตั้งใจทำงานกันหน่อย น่าจะมีให้กดให้คะแนน จะจัดให้เต็ม 0 ทันทีเลยทีเดียว

ตม.ขาเข้านี่มีอยู่เป็นสิบๆช่อง แมร่งนั่งอยู่จริงครึ่งนึงถึงหรือเปล่าก็ไม่รู้

อื่นๆอีกจิปาถะ แต่ไม่มีเวลาจดจำรายละเอียด แค่กระหืดกระหอบไปขึ้นเครื่องนี่ก็จะแย่อยู่แล้ว




 

Create Date : 24 มีนาคม 2554   
Last Update : 24 มีนาคม 2554 13:52:59 น.   
Counter : 984 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

จรวดทีม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add จรวดทีม's blog to your web]