veritas lux mea = Truth enlightens me
Group Blog
 
All blogs
 

#O018#ศ. นพ. ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ (2492-2550)

บุคคลที่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง

ท่านเป็นนักวิจัยคนไทยที่ได้ H-index สูงมากๆคนหนึ่งของเมืองไทย
===============================


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ เป็นชาวมหาสารคาม เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม
๒๔๙๒ และถึงแก่มรณกรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒
กรกฎาคม ๒๕๕๐ รวมสิริอายุได้ ๕๗ ปี ๓ เดือน ๒๖
วัน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ จบแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล รุ่น ๗๙ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และเป็น
แพทย์ฝึกหัดของโรงพยาบาบศิริราชรุ่นที่ ๑๔ ในปี พ.ศ.
๒๕๑๘ จากนั้นได้รับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน
สาขาเวชปฏิบัติทั่วไปของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล เป็นเวลา ๓ ปี และสอบได้วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ
สาขาเวชปฏิบัติทั่วไปของแพทยสภา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑
ในปีเดียวกันนั้นได้ไปศึกษาและฝึกอบรมต่อที่คณะ
เวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยามหิดล โดยได้เรียนใน
หลักสูตรนานาชาติจนได้ Diploma Tropical Medicine
and Hygeine (DTM&H) และได้คะแนนรวมสูงสุดได้รับ
เหรียญทอง ทุน “กัลยิกา เทวกุล”
หลังจบการฝึกอบรมในหลักสูตร (DTM&H)
ศาสตราจารย์ คุณหญิงตระหนักจิต หะริณสุต ได้
ชักชวนให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ เป็นอาจารย์ที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหา
วิทยาลัยมหิดล โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์จำลอง
หะริณสุต เป็นคณบดีในขณะนั้น ต่อมาศาสตราจารย์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์
ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐.
นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ ได้รับราชการก้าว
หน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานโดยประสบความสำเร็จ
อย่างรวดเร็ว และได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดี คณะเวช
ศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ถึง ๒ สมัย คือ
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๗ ศาสตราจารย์ นาย
แพทย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน
ระดับโลก โดยได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องโรคมาลาเรีย
เป็นเวลากว่า ๒๕ ปี โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร
ต่างประเทศมากกว่า ๕๔๑ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้
ทำการวิจัยเรื่องพิษงูเป็นเวลา ๘ ปี (มีผลงานวิจัยตี
พิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า ๒๔ เรื่อง) งาน
วิจัยเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเวลา ๕ ปี (มีผลงานวิจัยตี
พิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า ๑๐ เรื่อง) ด้าน
แต่งตำรามีผลงานทั้งงานแต่งตำราที่เป็นภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษมากกว่า ๖๓ บท และได้รับเชิญวิทยากร
บรรยายในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมาตลอด
มากกว่า ๑๒๒ ครั้ง และเสนอผลงานวิจัยในการประชุม
วิชาการในระดับนานาชาติมากกว่า ๔๘ ครั้ง
ความเป็นนักวิชาการชั้นนำของประเทศไทยที่
มีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติของศาสตราจารย์
นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ นั้นปรากฏชัดเจนจน
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ปรึกษาเกี่ยว
กับโรคเขตร้อนขององค์การอนามัยโลก (TDR/WHO)
และของประเทศต่าง ๆ ในแถบภาคพื้นยุโรปและเอเชีย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่าน
นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นที่ปรึกษาขององค์การอาหาร
และยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับยาโรคเขตร้อน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๓ ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านได้
รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานคณะกรรมการวิจัยและฝึก
อบรมโรคเขตร้อนระหว่างประเทศขององค์การอนามัย
โลก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่านได้รับเชิญให้เป็นองค์
ปาฐกเกียรติยศ Priscella Kincaid-Smith Oration ของราช
วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศออสเตรเลีย ล่าสุดในปี
พ.ศ. ๒๕๔๙ ท่านได้รับการคัดเลือกให้เป็น Fellow of
the Japanese Society of Parasitology โดยเป็นคนไทย
คนแรกที่ได้รับเกียรติอันนี้

สำหรับประวัติการรับราชการของท่าน ใน
ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๔๑ ปี ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น
ศาสตราจารย์ โดยเป็นศาสตราจารย์คนที่ ๒ ของเพื่อน
ศิริราชรุ่น ๗๙ แต่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์
ระดับ ๑๑ เป็นคนแรกของรุ่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ใน
ขณะที่มีอายุเพียง ๔๕ ปี ยิ่งกว่านั้นอีก ๒ ปีต่อมา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ ยังได้
รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีเป็นคนแรกของรุ่น สำหรับ
เกียรติประวัติที่โดดเด่นของศาสตราจารย์ นายแพทย์
ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ อีกเรื่องคือ ได้รับพระราชทาน
เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา จากพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ด้วยวัยเพียง ๔๘ ปี
นับเป็นคนแรกของรุ่นที่ได้รับพระราชทานเหรียญตรา
เชิดชูเกียรติสูงสุดของนักวิชาการไทย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ ได้รับรางวัลมากมายทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศ อาทิเช่น รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการ
วิจัย, รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ,
รางวัลมหิดลบีบราวน์ เพื่อการสาธารณสุขไทย, รางวัล
Mepha Malaria Award จากสมาคมโรคเขตร้อน ประเทศ
บราซิล, รางวัล Khawarizmi International Award จาก
ประเทศอิหร่าน, รางวัลเกียรติยศจาก สกว. สาขาวิทยา
ศาสตร์การแพทย์ที่มีผลงานการอ้างอิงมากที่สุดใน
ประเทศไทย นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย
หลูอารีย์สุวรรณ ยังได้จบหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกัน
ราชอาณาจักรรุ่น วปรอ ๔๑๑๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ อีก
ด้วย จึงทำให้มีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ
ในระดับประเทศทุกสาขาและมีเพื่อนฝูงในระดับสูงของ
ประเทศจำนวนมากมาย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ หรือชื่อที่เพื่อน ๆ ตั้งให้ว่า “หลู” ในบรรดา
เพื่อนแพทย์ศิริราช รุ่น ๗๙ ต่างยอมรับในด้านความ
เป็นนักวิชาการและความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดีเด่น
ของรุ่น โดยเป็นที่รักของทุกคนในรุ่น “หลู” เคยเป็นโรค
ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์
ศิริราช แต่ต่อมาได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับหลังทราบผล
ว่าเป็นโรคมะเร็งตับมา ๕ ปี หลังผ่าตัด “หลู” กลับไป
ทำงานหนักได้เหมือนเดิม เช่นคนปรกติ แต่ในที่สุดสิ่งที่
ทุกคนหลีกไม่พ้นคือ วาระสุดท้ายของชีวิต “หลู” ได้
ผ่านพ้นจุดนี้ไปแล้วอย่างกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว โดยได้
มีโอกาสอุปสมบทเป็นเวลา ๑๕ วัน ในเดือน พฤษภาคม
๒๕๕๐ ชีวิตความเป็นแพทย์ของ “หลู” เริ่มต้นที่ศิริราช
เมื่อวันข้ามฝากเหยียบโป๊ะท่าเรือของศิริราชเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๑๑ จนถึงวาระสุดท้าย “หลู” ก็ได้ฝากชีวิตไว้
ที่ศิริราช โดยจากพวกเราไปอย่างสงบที่ตึก ๘๔ ปี
ชั้น ๑๐ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา
๑๑.๐๐ น. คุณงามความดีที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์
ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ ได้สร้างสมไว้ในตลอดช่วงชีวิต
ที่ผ่านมาจะเป็นเหตุปัจจัยทำให้ดวงวิญญาณของ “หลู”
เพื่อนรักมุ่งตรงสู่สุขคติภูมิสมควรกับความดีงามและ
ชีวิตอันประเสริฐตลอดไป




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2557 15:45:20 น.
Counter : 2192 Pageviews.  

#A003#The Marshall Mathers LP 2 (Eminem)



เพลงเยอะ ฟังบ่อยๆก็ไพเราะดี

top three tracks
1 Wicked Ways
2 So Far...
3 Rap God

7/10




 

Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2557 5:42:56 น.
Counter : 1090 Pageviews.  

#O017# อสมการสามเหลี่ยมในการวิเคราะห์เชิงซ้อน

อสมการสามเหลี่ยมในการวิเคราะห์เชิงซ้อน
(The Triangle Inequality)



Complex Variables: Second Edition (Dover Books on Mathematics) โดย Stephen D. Fisher




 

Create Date : 30 มกราคม 2557    
Last Update : 30 มกราคม 2557 23:27:58 น.
Counter : 2864 Pageviews.  

#O016# ชีวประวัติของไอแซค นิวตัน(Isaac Newton)

#O016# ชีวประวัติของไอแซค นิวตัน(Isaac Newton)




ประวัตินิวตัน


นิวตันเกิดในปี ค.ศ. 1642 เป็นการคลอดก่อนกำหนดและอ่อนแอมาก แม่ของเขาก็เป็นม่าย แม่ของเขานั้นมุ่งความสนใจไปที่ฟาร์มของครอบครัวมากกว่าที่จะมาสนใจเด็กหนุ่ม การศึกษาขั้นต้นของนิวตันมาจากโรงเรียนท้องถิ่นในเมืองเล็กๆของอังกฤษที่คงยากที่จะให้ความรู้แก่นิวตันมากมายในการเริ่มต้นเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ตอนเด็กๆของนิวตันก็ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาอะไรเลยว่าจะกลายเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่

ต่อมาครอบครัวของเขาให้นิวตันไปเรียนมหาวิทยาลัยแคมบริด ที่ซึ่งเขาได้เข้าเรียนใน วิทยาลัยทรินิตี้ ในปี 1661 ที่นี่ในที่สุดนิวตันก็ได้มีโอกาสได้อ่านงานของ โคเปอนิคัส เคปเลอร์ และกาลิเลโอ และเขาก็ได้เรียนกับครูที่เก่งมากอย่างน้อยหนึ่งคน นั่นคือนักคณิตศาสตร์ผู้เก่งกาจ ไอแซค บาโรว เรื่องที่คุณอาจแปลกใจ คือ จริงๆแล้วนิวตันไม่ได้มีผลงานโดดเด่นในมหาวิทยาลัยเท่าไหร่เลย จริงๆแล้ว เรขาคณิตเป็นเรื่องยากสำหรับเขาจนนิวตันนั้นเกือบจะเปลี่ยนคณะจากวิทยาศาสตร์ เป็นนิติศาสตร์แล้ว อย่างไรก็ตามท่านอาจารย์บาโรวได้เห็นความสามารถของนิวตัน

นิวตันได้ทำงานระดับปริญญาตรีของเขาเสร็จแล้ว ณ ช่วงเวลานี้เอง ได้เกิดการระบาดของกาฬโรครอบพื้นที่กรุงลอนดอนจนนำไปสู่การปิดมหาวิทยาลัย ดังนั้นนิวตันจึงใช้เวลาช่วงปี 1665-1666 อันสงบกับครอบครัวที่บ้าน ณ เมืองวูลสทอป ระหว่างช่วงเวลานี้เองนิวตันได้เริ่มต้นสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ของเขา คือ คณิตศาสตร์ กลศาสตร์และทัศนศาสตร์ เขาตระหนักว่ากฏแรงโน้มถ่วง เป็นการรวบรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวของกลศาสตร์ เขาได้มาซึ่งวิธีการทั่วไปสำหรับการแก้ปัญหาแคลคูลัส และเข้าได้สร้างการทดลองที่สำคัญและค้นพบว่า แสงสีขาวเช่นแสงอาทิตย์จริงๆแล้วประกอบด้วยทุกสีตั้งแต่ สีม่วงจนถึงสีแดง

ทั้งหมดนี้ กล่าวในช่วงหลังของชีวิตว่า "มันเป็นสองปีที่กาฬโรคแพร่ระบาด 1665-1666 สำหรับช่วงเวลานั้นมันเป็น จุดพีคของผมสำหรับ
การสร้าง นวัตกรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มากกว่าช่วงใดในชีวิตของผมเลย"

นิวตันกลับมาแคมบริดในปี 1667 และถูกเลือกให้เป็น เฟวโรวแห่งวิทยาลัยทรินิตี้ ในปี 1669 ไอแซค บาโรว ลาออกจากตำแหน่งทางคณิตศาสตร์ เขาได้อุทิศตนเพื่อ เทววิทยา นิวตันถูกแต่งตั้งแทนตำแหน่งของบาโรว ปรากฏว่านิวตันไม่ประสพความสำเร็จในการเป็นครู มีนักเรียนจำนวนไม่มากนักเข้าไปฟังเลคเชอร์เขา และก็ไม่มีใครถามสิ่งที่เขาสอนเลย

ในปี 1684 เพิ่อนของเขา เอดมัน ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงจากดาวหางฮัลเล่ ได้เร่งรัดนิวตันเพิ่อให้ตีพิมพ์งานเรื่องแรงโน้มถ่วงถึงขนาดให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการแก้ไขการพิมพ์และการเงิน ดังนั้นในปี 1687 หนังสือวิทยาศาสตร์สุดคลาสสิก mathematical principles of natural philosophy หรือมักเรียกกันย่อๆว่า principia หรือ principles ก็เกิดขึ้น หนังสือได้รับคำสรรเสริญจำนวนมาก จากสามฉบับภาษาละตินได้ถูกแปลไปหลายภาษา ฉบับที่ได้รับความนิยมมากชื่อว่า Newtonianism for ladies หนังสือพรินซิเพียถูกเขียนแบบการนิรนัยเหมือนแบบของ ยูคลิด นั่นคือมันประกอบด้วย คำจำกัดความ สัจพจน์ ทฤษฎีบท บทแทรก ซึ่งมันทำให้ยากในการอ่านมาก

โดยที่นิวตันกล่าวกับเพื่อนว่า เขาจงใจทำให้พรินซิเพียยาก และเขายังต้องการหลีกเลี่ยงจากการถูกวิจารณ์เปเปอร์แรกๆของเขาเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย

หลังจากนั้นประมาณสามสิบปีของการสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งในด้านเคมี นิวตันกลายเป็นโรคซึมเศร้า และโรคประสาท ? (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า nervous breakdown)เขาออกจากมหาวิทยาลัยแคมบริดและกลายเป็นผู้ดูแลโรงกษาปณ์ของอังกฤษในปี 1696 และจำกัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับปัญหาเฉพาะบางอย่างเท่านั้น เขากลายเป็นคนอุทิศชีวิตให้กับการศึกษาเทววิทยา ซึ่งเขาบอกว่ามันพื้นฐานมากกว่า วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งเขาบอกว่าอย่างหลังมันเกี่ยวข้องแค่กับโลกทางกายภาพ จริงๆแล้วถ้านิวตันเกิดมาเร็วกว่านี้สักสองร้อยปี เขาคงเป็นนักเทววิทยาอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่นในงานเขียนด้านเทววิทยาของเขา The Chronology of The Ancient Kings เขาพยายามคำนวณวันเหตุการณ์ในไบเบิ้ลด้วยข้อมูลทางด้านดาราศาสตร์

ในช่วงสุดท้ายของชีวิตและหลังมรณะกรรม เขาถูกยกย่องเชิดชูในหลายด้าน เขาเป็นประธานสมาคมราชบัณฑิตของกรุงลอนดอนตั้งแต่ปี 1703 ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ถูกแต่งตั้งเป็นอัศวินในปี 1705 และถูกฝังในสำนักเวสมินเนสเตอร์


แปลและเรียบเรียงจาก Mathematics for the Nonmathematician โดย Morris Kline




 

Create Date : 24 มกราคม 2557    
Last Update : 24 มกราคม 2557 15:08:35 น.
Counter : 3295 Pageviews.  

#O015#วิธีการแก้สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่งโดยสมการเอกพันธุ์ แทนy=vx

#O015#วิธีการแก้สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่งโดยสมการเอกพันธุ์ แทนy=vx
homogeneous equations -by substituting y=vx



จาก engineering mathematics , Stroud




 

Create Date : 21 มกราคม 2557    
Last Update : 21 มกราคม 2557 20:54:37 น.
Counter : 3296 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  

Mr.Feynman
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Feynman's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.