ปากกาไฮไลท์สีแดง
Group Blog
 
All Blogs
 
งานสัปดาห์หนังสือ

ใครไปงานสัปดาห์หนังสือกันมาบ้าง? เราไปมาแล้วเมื่อวันก่อน คนยังคึกคักเหมือนเดิม เพื่อนเราถึงกับบอกว่า ทำไมถึงบอกว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัดว่ะ งานนี้คนเป็นหนอนเลย เราก็ได้หนังสือกลับมาเยอะเลย แต่ยังไม่ได้อ่าน 5555

1. ใครไปงานหนังสือ ได้หนังสืออะไร หรือหนังสืออะไรอ่านแล้วดี อยากแนะนำ ก็บอกกันได้นะ เผื่อจะไปหามาอ่านบ้าง ?

( เราอ่านจบไป 1 เล่ม คือ abc comic ของ a book เป็นการ์ตูนสั้น 7 เรื่องจาก 7 นักเขียนการ์ตูน เราว่ามันเป็นการ์ตูนแนวแปลกดีอ่ะ ชอบๆ นัวร์ๆ ดี และใครที่ชื่นชมผลงานของคุณ ทรงศีล แล้วล่ะก็ อย่าพลาด เพราะว่าเล่มนี้คุณทรงศีลเขียนด้วย 1 เรื่อง และอีก 6 เรื่อง ก็สนุก นัวร์มากๆ และแปลกตา ซึ่งเราคิดว่าหนังสือเล่มนี้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการ การ์ตูนบ้านเราไม่น้อยทีเดียว วันนี้เราแนะนำไปแล้ว 1 เรื่อง ส่วนเล่มอื่นๆ ถ้าอ่านแล้วจะมาแลกเปลี่ยนความคิดอีกนะ)

2. วันนี้ไปเรียนมา อาจารย์ก็ให้คำตอบที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” ว่า เดี๋ยวนี้คนไทยอ่านหนังสือกันมากขึ้นแล้วนะ เราก็คิดในใจว่านั่นสิ ก็เมื่อวานคนเยอะจะตาย จะอ่านปีละ 8 บรรทัดได้ไง แล้วเราก็หันไปพูดเล่นกับเพื่อนว่า อ่านเยอะขึ้น สงสัยอ่านเยอะขึ้น 2 บรรทัด แล้วอาจารย์ก็เฉยว่า คนไทยอ่านหนังสือเยอะขึ้น เป็นปีละ 10 บรรทัด -*- (ทำไมซื้อหวยไม่ถูกอย่างนี้บ้างนะ) แล้วไอ้คนที่มันไปงานสัปดาห์หนังสือเป็นหนอนนั่นล่ะ จะตอบว่ายังไง ใครก็ได้ตอบที หรือว่าเป็นเพราะว่าเรากับเพื่อนๆเป็นคนชอบอ่านหนังสืออยู่แล้ว ก็เลยมองโลกในมุมแคบ ที่คนรอบตัวอ่านกันเยอะ ก็เลยเถียงในใจว่า ไม่จริงหรอกปีละ 10 บรรทัดเนี่ย

ใครคิดยังไงก็เรื่องนี้บ้าง เสนอความเห็นได้นะ เราก็อยากรู้เหมือนกันว่าคิดยังไงกันบ้าง?

3. ทำไมถึงไปซื้อหนังสือที่งานสัปดาห์หนังสือกัน (นอกจากราคาหนังสือจะถูกกว่าร้านทั่วไป) มีอะไรอย่างอื่นอีกรึเปล่า

4. ได้หนังสืออะไรมาบ้าง?

ใครว่างๆไม่มีอะไรทำ ก็มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะ ^ o ^






หนังสือที่เราซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้


Create Date : 05 เมษายน 2551
Last Update : 5 เมษายน 2551 0:47:39 น. 8 comments
Counter : 677 Pageviews.

 
ไปงานมาครับ

ค่า 8 บรรทัด 10 บรรทัด มันก็เป็นค่าเฉลี่ยๆนะ งานนั่น มากขนาดไหนก็ไม่เกิน 20000 คนต่อวัน เทียบกับคนทั้งประเทศแล้ว มันวัดอะไรไม่ได้หรอกครับ

แต่ก็ช่างเหอะ มีความสุขกับการอ่านก็พอละล่ะ เนอะ


โดย: ปิง IP: 118.174.91.81 วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:1:08:04 น.  

 
ยังไม่ได้ไปเลยค่ะ ชอบอ่านนิยายแต่ก็ไปทุกปีนะคะ ว่าจะหาโอกาสไปอยู่

เสาร์ที่แล้วไปเจเจมา หนังสอนิยายมือสองลด 30 % แนะ


โดย: Summer Flower วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:1:21:34 น.  

 
ปีนี้ตั้งใจว่าจะไปแค่วันเดียวพอค่ะ.แต่ก็ได้หนังสือมาเยอะเหมือนกัน..แต่เกือบทั้งหมดจะเป็นหนังสือนิยายที่อ่านแล้วมีความสุขอ่ะค่ะ เพราะตอนนี้ไม่ค่อยอยากได้สาระเข้าตัวเท่าไร ^^"



ส่วนที่ไปงานหนังสือหรอคะ..ได้ซื้อหนังสือลดราคามันก็ส่วนนึง แล้วก็มีหนังสือให้เลือกเยอะไงคะ..จะได้ไม่ต้องไปเดินตามหาทีละร้าน..


โดย: narusaru วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:1:50:34 น.  

 
จอม หนังสือการ์ตูนเรื่อง เซเว่น น่าอ่านดีนะ เดี่ยวจะไปหามาอ่านบ้าง ส่วนหนังสือที่เราขอแนะนำให้อ่านก็ เรื่อง "คำพิพากษา" ของ- ชาติ กอบจิตติ ยุคอาจเก่าแล้วบ้างแต่เนื้อหาไม่เก่าเลย เนื้อเรื่องตีแผ่กระชากหน้ากากสังคมได้ดีมากเลย


ส่วนสถิติข้อมูลที่ว่าคนไทยอ่าน8-10บรรทัดต่อปีจะมาจากไหน อันนี้ข้อมูลเราไม่แน่นพอ ตามที่คิดก็น่าจะหมายถึงโดยเฉลี่ย จากทั้งหมด พอกลุ่มคนที่อ่านมาเห็นสถิตินี้ก็คงเกิดอาการเหมือนกัน เราก็ด้วย จะคิดว่า "ไม่จริง เป็นไปไม่ได้"

ที่จริงมันก็แค่ค่าเฉลี่ย คนอ่านจริงๆและอ่านบ่อยๆก็มีเยอะแยะ แค่คนที่ไม่อ่านหนังสือรวมแล้วเยอะกว่า ผลสรุปก็เลยออกมาแย่

ก็เปรียบเหมือนคนรวยมีไม่กี่ตระกูล แต่คนจนนี่ล้นประเทศ แต่พอหาค่าเฉลี่ยรายได้มวลรวม ภาพกลับออกมาดูดี ทั้งที่ความจริงรวยกันไม่กี่ตระกูล ภายในเน่าเฟะ

แต่เรื่องค่าเฉลี่ยคนอ่านหนังสือ ภาพที่สรุปอาจออกมาแย่ น่าใจหาย แต่ความจริงอาจไม่ได้แย่อะไรขนาดนั้น ไม่งั้นธุกิจหนังสือจะเติบโตเอาๆและมีหนังสือดีๆให้พวกเรา หนอนหนังสือได้เสพย์กันอย่างนั้นเหรอ

ปล.ออฟก็คิดเห็นอย่างนี้นะจอม ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกันเนอะๆ
ปล.2 เป็นเรื่องที่ดีมากนะจอมที่นำประเด็นต่างๆมาขบคิดกัน



โดย: redtear IP: 202.28.12.48 วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:2:26:09 น.  

 
ตอบข้อ 1.พี่ก็ไปงานหนังสือมาแล้ว เมื่อเย็นวันที่ 2 เมษายน เพื่อนโทรมาชวนแบบปุบปับแต่ก็ไปนะ คนไม่เยอะดีเพราะว่าไม่ใช่วันหยุดและเป็นช่วงเย็นๆแล้ว

หนังสือที่ได้มามีสองเล่มจ้ะ คือ "แก่นพุทธศาสน์"กับ "คู่มือมนุษย์" ของท่านพุทธทาส ซื้อจากบูธของ ธรรมสภา

หนังสือเล่มไหนดี พี่ว่าอยู่ที่รสนิยมคนอ่านนะ ถ้าพี่บอกว่าหนังสือธรรมะดี แต่จอมไม่ชอบไม่ถูกกับจริตพี่ว่าจอมก็ไม่สามารถบอกว่าดีได้ แต่ถ้าจอมอ่านแล้วถูกใจ ถูกจริตพี่ว่าจอมก็จะยอมรับด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นอ่านไปเหอะ หนังสือมีประโยชน์ในตัวมันเองทุกเล่ม ว่าแต่ หามุมนั้นให้เจอละกัน (เพราะบางเล่มซุกซ่อนไว้ลึกลับมาก)


2.คำตอบเรื่องคนไทยอ่านหนังสือน้อย พี่อยากให้จอมคิดถึงประชากรกว่า 60 ล้านคนในบ้านเมืองเรา จอมอาจเคยชินกับการเห็นคนไปงานหนังสือ เห็นเด็กๆในเมืองกับครอบครัวมาลากกระเป๋าใส่หนังสือกลับบ้าน

แต่ถ้าจอมไปต่างจังหวัด ไปออกค่าย จอมจะเห็นเด็กๆที่ไม่มีแม้แต่หนังสือเรียนจะอ่าน แล้วจอมจะเข้าใจว่าทำไมคนไทยถึงอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด

เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม คนที่จะอ่านหนังสือที่หลากหลาย เลือกได้ มักเป็นคนในสังคมเมือง หรือใกล้เมือง เดินทางสะดวก เด็กชาวเขาชาวดอย หรือเด็กต่างจังหวัดก็คงอยากอ่านการ์ตูนภาพสวยๆ หนังสือวรรณกรรมเด็ก หากเขามีโอกาส

รวมไปถึงคนสูงอายุ ในบ้านเราที่ตอนนั้นการศึกษายังมาไม่ถึง ยังไม่ขยายและเปิดโอกาสมากเพียงนี้ ส่วนน้อยที่จะติดการอ่านหนังสือ เพราะต้องดิ้นรนกับการทำมาหากิน


3.ทำไมถึงไปซื้อหนังสือที่งานหนังสือ เพราะนอกจากหนังสือจะนำมาลดแล้ว มันเป็นการรวมตัวของหนังสืออย่างมีนัดหมาย เหมือนงานเลี้ยงรุ่นอะ เราได้เจอหนังสือที่อยากเจอ และไม่ตั้งใจเจอ

หากเราเดินเข้าร้านหนังสือร้านนึง จอมก็รู้ได้เลยว่าจะหาหนังสือได้ไม่ครบและหลากหลายเท่าในงานหนังสือ การไปงานหนังสือทำให้ทราบว่ามีบริษัทผลิตหนังสือเยอะมาก คนไปเดินงานหนังสือก็เยอะมาก

พี่ว่านอกจากไปดูหนังสือลดราคา ซื้อหนังสือทีเราชอบอยากอ่านติดไม้ติดมือแล้ว ไปสังเกตคนในงานก็ได้ว่า ปีนี้เขาอ่านอะไรกัน คนอ่านอะไรมาก แนวโน้มของสังคมก็ค่อนข้างไปทางนั้นก็สูง(เพราะกลุ่มผู้มีบทบาทในการบริหารและดูประเทศอยู่ในส่วนกลาง)

ตอบครบทุกคำถามแล้วมั้งแต่ยาวและเป็นความคิดส่วนตัวสักนิดนะ อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดหรอก แต่มาแสดงความคิดเห็นด้วยคนจ้า


โดย: พี่จิตร IP: 124.120.167.249 วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:10:12:47 น.  

 
สวัสดีค่ะแวะมาทักทายจากหัวข้อเอนทรี
ไปมาแล้วเหมือนกัน ตอนสิ้นเดือน วันอาทิตย์สะด้วยคนเยอะมาก
ทุกครั้งที่ไปงานหนังสือ กลับมาคิดทุกทีว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ8บรรทัดจริงหรอ เหอเหอ

ดูจากหนังสือที่ได้ แสดงว่าต้องข้องเกี่ยวกับหนังแน่เลย
เราก็ซื้อเล่มของพี่เต๋อมาด้วย "ที่โรงภาพยนตร์ไกลบ้านคุณ"

ชอบอ่านงานของวินทร์ เลียววาริณด้วยหรอค่ะ ดีจัง :)

สำหรับของ abook เราได้ ควันใต้หมวก ของพี่ตั้ม-วิศุทธิ์มา
ได้เล่มใหม่ของนิ้วกลมมาด้วย นั่งรถไฟไปตู้เย็น
หมัดเล่ม2ด้วย อีกเล่มคือ ไปหาใครบางคน...

ยินดีที่ได้อ่านเอนทรีนี้ของคุณค่ะ





โดย: pangz วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:10:54:46 น.  

 
ไปกับเพื่อนๆ ที่ทำงาน วันนึ่ง
อีกวันชวนหลานๆ ไปอีก โห..ได้มาเยอะแหละเจ้าใคร่หื้อหลานๆ รักการอ่านเจ้า
ยินดีเจ้า
อ้อ..ไปงานหนังสือมันเหมือนเป็นแหล่งรวมเจ้า ได้เลือกเยอะดูนักดีเจ้า


โดย: ออริกาโน วันที่: 5 เมษายน 2551 เวลา:13:56:12 น.  

 
ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดประเด็นปัญหาการอ่านของไทยถึงกรณีที่มีข่าว “คนไทยอ่านหนังสือวันละ 8 บรรทัด” ว่า จากการสำรวจและทำวิจัยพบข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะผลวิจัยปรากฏว่า ในความเป็นจริงแล้วเด็กไทยอ่านหนังสือกันวันละประมาณ 200 บรรทัด จากนั้นเมื่อกระทรวงฯ ได้รณรงค์อย่างต่อเนื่องทั้งในปีพ 2547 – 2548 ก็ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยการอ่านของเด็กไทยก็เพิ่มขึ้นมาเป็นวันละ 213-270 บรรทัดต่อวัน

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์พบปัญหาการอ่านของเด็กไทยแบ่งเป็น 3 ประเด็นด้วยกันคือ 1.ไม่มีหนังสือให้อ่าน 2.ขาดห้องสมุดการเรียนรู้ และ3.มีเรื่องอื่นที่เด็กสนใจมากกว่าการอ่านหนังสือ

“เหตุที่เด็กในเมืองใหญ่ที่เข้าถึงหนังสือง่ายกว่าเด็กในชนบท ก็อาจเป็นเพราะหนังสือที่มีอยู่ไม่ตรงใจและไม่ดึงดูดใจให้อ่าน ส่วนเด็กในชนบทห่างไกลที่ไม่อ่านก็เพราะหนังสือที่เป็นหนังสือบริจาคในทุกวันนี้ ก็เป็นเพียงหนังสือที่เราบริจาคส่งๆ กันไปเพื่อให้พ้นจากบ้านเรา ไม่มีการคัดสรรหนังสือเพื่อเด็กด้อยโอกาสให้มากเท่าที่ควร”

“ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ เช่นในสิงคโปร์นั้น มีห้องสมุดที่มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองการค้นคว้าอยู่มากมาย กระทั่งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาทิ ในส่วนของชั้นหนังสือพิมพ์ มีมากถึง 200 – 300 ฉบับ จาก 20 ประเทศ ซึ่งการมีจุดค้นคว้าเช่นนี้ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่มาชอปปิง ก็มักจะแวะมาใช้บริการชนิดต้องต่อคิวเข้าห้องสมุดกันเลยทีเดียว ซึ่งห้องสมุดที่มีความพร้อมเช่นนี้ก็มีบ้างแล้วในไทย แต่หากจะให้ดีกว่านี้ก็ต้องเพิ่มจำนวนและขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ในต่างจังหวัดด้วย”

ดร.กมลฝากแง่คิดทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า ทุกวันนี้ เด็กและเยาวชนไทยมีสิ่งล่อใจมากกว่าการอ่านหนังสือ เช่น เกมคอมพิวเตอร์ มีผลวิจัยจาก Child Watch ชี้ว่าเด็กไทยใช้เวลาอ่านหนังสือ 2.30 ชั่วโมงต่อวัน แต่ใช้เวลาเล่นคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตประมาณ 4.30 ชั่วโมง หรือเกือบหนึ่งเท่าตัวของการอ่านหนังสือ ทำให้หนังสือในทุกวันนี้ ต้องแข่งขันกับสิ่งล่อใจยุคใหม่ๆ มากขึ้น

“ผมคิดว่าการทำหนังสือให้น่าอ่านนั้น มีหลักอยู่ 4 ข้อคือ ข้อมูลครบถ้วน-สร้างจินตนาการ-สื่อสารตรงใจ-ใช้ภาษางดงาม เพียงเท่านี้ผมก็คิดว่าหนังสือที่ทำได้ครบทั้งหมด ก็จะสามารถจูงใจเด็กให้อ่านได้” ดร.กมลสรุป



//www.aksorn.com/news/news_detail.php?content_id=6274&Type_id=11


โดย: Lazy Genius IP: 58.9.15.145 วันที่: 30 มีนาคม 2552 เวลา:11:03:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปากกาไฮไลท์สีแดง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ปากกาไฮไลท์สีแดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.