กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
 
กรุงศรีอยุธยา ครั้งบ้านเมืองดี


View of 'Iudea' (Ayutthaya), the former capital of Siam. Anqnymous, Dutch school, c. 1650


คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

คำนำ


คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายอยู่เสมอมาที่จะจัดพิมพ์เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นมรดกของชาติไทยออกเผยแพร่เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการไทยศึกษาโดยทั่วไป การจัดพิมพ์ “เอกสารจากหอหลวง” เรื่อง คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ในครั้งนี้ ก็นับเป็นความพยายามที่จะตอบสนองจุดประสงค์ดังกล่าว

เอกสารที่มาเรียกกันว่า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม นั้น ได้เคยตีพิมพ์ลงในวารสาร แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี เป็นตอนย่อยๆ ติดต่อกัน ๖ ฉบับ เริ่มตั้งแต่ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ เดือนมกราคม ๒๕๑๒ จนถึงฉบับปีที่ ๕ เล่ม ๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๑๔ ครั้นล่วงมาถึงปัจจุบันนี้ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ก็ยังเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับปลายอยุธยา ซึ่งนักปราชญ์และผู้สนใจประวัติศาสตร์ไทยจำเป็นต้องใช้ศึกษาอ้างอิงอยู่มาก ติดอยู่เพียงว่าหาอ่านยากขึ้นและใช้เอกสารกระจายอยู่ในแถลงงานประวัติศาสตร์ฯ เล่มต่างๆ ไม่สะดวก การจัดพิมพ์เนื้อความทั้งหมดเป็นเล่มเดียวจึงจะช่วยเผยแพร่เอกสารชิ้นนี้ออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น

สำหรับที่มาของ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม นั้น นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เขียนเล่าไว้ในคำนำใน แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี ฉบับปีที่ ๓ เล่ม ๑ เดือนมกราคม ๒๕๑๒ มีความตอนหนึ่งว่า

.....สมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ กรมราชเลขาธิการในพระองค์ซึ่งมีกรมขึ้นอยู่ ๓ กรม ได้แก่ กรมบัญชาการ กรมราชเลขานุการในพระองค์ กรมอาลักษณ์ มีเอกสารหลายหลากชนิดเก็บรักษาไว้มากมาย และเก็บรักษามาตั้งแต่ต้นทุกๆ รัชกาล เอกสารลางเรื่องเก่าถึงสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อได้ประกาศยุบกรมราชเลขานุการในพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ งานในหน้าที่กรมราชเลขาธิการในพระองค์ จึงโอนมาเป็นของกรมเลขาธิราชคณะรัฐมนตรี กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับมอบเอกสารมาเก็บรักษาไว้เฉพาะสมุดไทย (ข่อย) ประมาณ ๑๒๙๖๙ สมุดไทย ใบลาน ๒๘๔ ผูก แฟ้ม ๔๔๐ แฟ้ม ฯลฯ ต่อมากรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้กรมศิลปากรเก็บรักษา จึงได้พบ “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” รวมมาในกลุ่มเอกสารที่ส่งมาให้กรมศิลปากรนั้นด้วย กรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง คือ คุณปรีดา ศรีชลาลัย อดีตข้าราชการกรมศิลปากรได้อ่านพบ จึงได้เสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ ที่ประชุมลงมติให้พิมพ์ได้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติภูมิศาสตร์กรุงพระนครศรีอยุธยาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ โดยอนุมัติให้นำลางตอนที่ยังไม่เคยพิมพ์มาลงพิมพ์....

ถ้า คำให้การ มีความหมายว่า “บันทึกเรื่องจากความทรงจำ” อย่างเช่นที่ใช้กับกรณี คำให้การชาวกรุงเก่า หรือ คำให้การขุนหลวงหาวัด แล้ว คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมคงจะมิได้มีลักษณะการเล่าเรื่องจากความทรงจำเสียทั้งหมด และการเรียกชื่อเอกสารชุดนี้โดยชื่อดังกล่าว ก็อาจมีผลทำให้เกิดเข้าใจผิดได้ เป็นต้นว่า ทำให้ผู้ที่มิได้อ่านอรรถความคิดว่าเป็นคำให้การของพระเจ้าอุทุมพร ทั้งๆ ที่เอกสานนี้น่าจะได้รับการคัดลอกและเรียบเรียงมาจากต้นฉบับในหอหลวง

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งคนสมัยต้นรัตนโกสินทร์มองว่าเป็น “ครั้งบ้านเมืองดี” เมื่อพิจารณาลักษณะโครงสร้างแล้ว คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน

ส่วนที่ ๑ เป็นคำพรรณนาภูมิสัณฐานของพระนครศรีอยุธยาซึ่งจบลงด้วยหัวข้อ “ว่าด้วยเรื่องพระราชวังน่า” ข้อความโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับเอกสารเรื่อง “ว่าด้วยแผนที่กรุงศรีอยุธยา” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เล่มที่ ๓๗ (ฉบับคุรุสภา พ.ศ. ๒๕๑๒) เพียงแต่ คำให้การฯ มีความละเอียดลออมากกว่า และลักษณะภาษาที่ใช้เรียบเรียงก็ดูใหม่กว่า อย่างไรก็ตาม เอกสารทั้งสองชิ้นนี้น่าจะมีที่มาจากต้นฉบับเดียวกัน และเป็น ตำราโบราณ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ได้ใช้ในการแต่ง ตำนานกรุงศรีอยุธยา ทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีรัชมงคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๔๕๐

ส่วนที่ ๒ เป็นบันทึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อ กรมจัดการพระศาสนาและพระราชพิธี การเล่าเรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าและพิธีโสกันต์เจ้าฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร อาจเป็นที่มาของการเรียกเอกสารชุดนี้ว่า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีแสดงว่าน่าจะได้คัดลอกมาจากจดหมายเหตุโบราณมากกว่าจะมีที่มาจากการบอกเล่า

ส่วนที่ ๓ เป็นตำราสอนข้าราชการชั้นสูง เรียกในที่นี้ว่า “เรื่องพิไชยเสนา เป็นตำราสำหรับข้าราชการควรประพฤติ” เรื่องส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้าใจ สิ่งที่เป็นแนวทาง จิตวิทยาการปกครอง และข้อพุงปฏิบัติในระบบราชการแบบเดิมของไทยและสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาอยู่มิใช่น้อยในมาตราต่างๆ

ส่วนที่ ๔ เป็นเหตุการณ์สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา อาจแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนต้นเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งได้รวมตำนานศรีปราชญ์ไว้ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือด้วย จัดว่าอยู่ในประเภท “คำให้การ” ตอนหลังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จนถึงช่วยต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ข้อความนำตอนนี้ที่ว่า “พงศาวดารทอดหลัง นับตั้งแต่พระเจ้าอุทุมพรได้ราชสมบัติไปจนถึงเมืองสิ้นกรุงสิ้นเรื่อง” แสดงว่า เอกสารที่ตกทอดมาถึงชั้นตีพิมพ์นี้ไม่สมบูรณ์ เหตุที่ทราบว่าตอนต้นและตอนหลังมีที่มาแตกต่างกันและเป็นเอกสารคนละฉบับ เพราะในท้ายตอนต้นบอกวันเวลาสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้อย่างหนึ่ง แต่ถัดมาเพียงสองบันทัดเมื่อเริ่มตอนที่สอง บอกวันเวลาสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปอีกอย่างหนึ่ง

ในการตีพิมพ์ คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ครั้งนี้ กระผมใคร่เรียนชี้แจงว่า ได้คงลักษณะอักขรวิธีของต้นฉบับไว้ทั้งหมด แต่ได้จัดทำหัวข้อเรื่องแทรกไว้และจัดแบ่งย่อหน้า ให้อ่านและค้นคว้าได้สะดวกยิ่งขึ้น คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักวิชาการไทยศึกษาในด้านต่างๆ คงจะได้ประโยชน์จากเอกสารนี้สมเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้


นายวินัย พงศ์ศรีเพียร
บรรณาธิการ





แผนที่ Villede Siam Ou Juthia ของนิโคลาส แบลแลง



ภูมิสัณฐาน

จะกล่าวถึงภูมิลำเนากรุงเทพมหานคร บวรทวาระวดีศรีอยุธยาราชธานี พระนครตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสัณฐานคล้ายสำเภานาวา พระนครนั้นมีนามปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธย่ มหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสฐ้าน มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเสด็จดำรงราชสมบัติในพระมหานคร เปนพระบรมราชาธิราชใหญ่ในสยามประเทศ มีพระราชอาณาเขตรกว้างขวาง ทิศเหนือถึงแดนลาว ทิศใต้ถึงแดนมลายู ทิศตะวันออกถึงแดนเมืองเขมร ทิศตะวันตกถึงแดนมอญ มีเจ้าประเทศราชลาวพุงขาว ลาวพุงดำ เขมร แขกมลายู มาถวายดอกไม้ทองเงินเสมอมิได้ขาด มีพระราชอภินิหารเดชานุภาพล้ำเลิศประเสริฐยิ่งนักหนา ทรงรักษาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินโดยทางทศพิตรราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา และสมณพราหมณจาริยแลไพร่ฟ้าประชากร ให้อยู่เย็นเป็นสุขสโมสรหาสิ่งเสมอมิได้ พวกพานิชนานาประเทศทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุทธยาผาศุกสมบูรณด้วยสินค้าอุดมดี พวกพานิชก็แตกตื่นกันเข้ามาถวายบรรณาการ ขอพระราชทานพึ่งพระบรมโภธิสมภาร ค้าขายในพระมหานครเปนอันมากจะนับคณะนามิได้ กรุงศรีก็ไพศาลสมบูรณเป็นรัตนธานี ศรีสวัสดิ พิพัฒมงคลแก่ชนชาวสยามความเจริญทั่วพระนคร

อนึ่งกรุงศรีอยุธยา มีด่านขนอนคอยเหตุการต่างๆ ตั้งอู่ตามลำแม่น้ำรอบกรุงทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเปนทางแม่น้ำใหญ่จะเข้ามาในพระนครนั้น ทิศตะวันออกตั้งด่านที่ตำบลบ้านเข้าเม่าด่าน ๑ ทิศใต้ตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางตะนาวศรีด่าน ๑ ทิศตะวันตกตั้งด่านที่ตำบลบ้านปากคูด่าน ๑ ทิศเหนือตั้งด่านที่ตำบลบ้านบางหลวงด่าน ๑ รวมเปนด่าน ๔ ตำบล เรียกว่าขนอนหลวง ๔ ทิศ รอบกรุงมีขุนด่านหมื่นขนอน แลไพร่หลวงรักษาด่าน นาย ๒ ไพร่ ๒๐ ในเดือน ๑ ผลัดเปลี่ยนเวียเวรละ ๑๕ วัน สำหรับตรวจตราของต้องห้ามตามกฎหมายแลเครื่องงสาตราวุธที่แปลกปลาด แลผู้คนที่แปลกปลอมเข้าออก ต้องทักท้วงไต่ถามตามเหตุการ ที่ด่านทั้ง ๔ ตำบลนั้นมีม้าใช้ เรือเร็วไว้สำหรับคอบบอกเหตุการมาในกรุง

ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง

อนึ่งกรุงศรีอยุทธยานั้นมีแม่น้ำล้อมรอบกำแพงพระมหานคร มีทำนบรอฃ้ามแม่น้ำมาแต่ฝั่งฟากตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ามาที่ชานกำแพงพระนครตรงพระราชวังจันทน์บวร ริมป้อมมหาไชยใกล้ฉางวังน่า ทำนบรอนั้นกว้างสามวา มีช่องกลางแม่น้ำสำหรับเรือใหญ่น้อยไปมาได้ในระหว่างนั้น บนทำนบรอทั้งสองฝั่งมีกระดานปูเป็นพื้น มีลูกฟูกไม้ห่างศอกหนึ่งเป็นที่ลาดลงมาถึงตลิ่งทั้งสองฟาก ที่กลางนั้นปูกระดารเปนเหมือนตะพานช้าง ทำนบรอนี้สำหรับสมณพราหมณจาริยอณาประชาราษฎร และช้างม้าเกวียนต่างเดินเข้าออกในพระนครแต่ทางเดียว เรียกกันว่าหัวรอ ที่เชิงลาดตะพานทำนบนั้นมีเจ้าพนักงานกรมพระนครบาลรักษาอยู่ที่ศาลาเชิงทำนบ ห้ามไม้ให้ช้างม้าเกวียนกระบือต่างโคเดินเลยเป็นอันขาด ยกเว้นไว้แต่ราชการหลวงเท่านั้นเดินได้ แต่มีบาดหมายมาบอกก่อน

ทำนบรอนี้มีขึ้นเมืองจุลศักราช ๙๑๘ ปีมะโรงอัฐศก ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าแผ่นดินที่ ๑๖ ในกรุงศรีอยุทธยา เพราะครั้งนั้นพระเจ้ากรุงหงษาวดียกกองทัพมาทำสงครามล้อมกรุง แล้วมอญเอาไม้ตาลโตนดมาปักเปนทำนบรอถมดินทำตะพานเรือ ฃ้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้ ภายหลังต่อมาก็ไม่ได้รื้อทำลาย เอาไว้ใช้เปนตะพานใหญ่ฃ้ามแม่น้ำเข้ากรุงได้โดยสดวก เมื่อทำนบรอเก่าของพวกมอญพุพังไป ไทยก็ทำซ่อมแปลงผลัดเปลี่ยนต่อมาเนืองๆ เปนตะพานใหญ่

กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างตะวันออก มท่าเรือจ้างข้ามรับส่งคนไปมาเข้าออก ๕ ตำบล คือตั้งแต่หัวรอมาถึงวัดตะพานเกลือ มีเรืองจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่า ๘ ตำรวจท้ายวังน่าตำบล ๑ เรือจ้างฃ้ามเข้ากรุงที่ท่าช่างวังน่าแลมาท่าวิลันดา ๑ เรื่องจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดนางชี ๑ เรืองจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดพิไชย ๑ เรือจ้างฃ้ามออกจากกรุงไปวัดเกาะแก้ว ๑ เรือจ้างฃ้ามรับส่งคนเข้าออกกรุงด้านตะวันออก ๕ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้นั้น มีท่าเรือจ้างฃ้ามรับส่งคนเข้าออกที่กรุงหกตำบล คือเรืองจ้างท่าประตูช่องกุตหัวตลาดโรงเหล็ก ฃ้ามออกจากกรุงไปน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ เรือจ้างท่าหอยฃ้ามออกจากรุงไปวัดป่าจาก ๑ เรือจ้างท่าพระยาราชวังสันฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นวัดขุนพรม ๑ เรือจ้างท่าด่านชีฃ้ามออกไปวัดสุรินทราราม ๑ เรือจ้างท่าฉะไกรน้อยข้ามออกจากกรุงไปวัดทาราม ๑ เรือจ้างท่าว้งไชยฃ้ามออกไปจากกรุงไปวัดนาดปากคลองลคอนไชย ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านยาวกรุงทิศใต้ ๖ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างตะวันตกนั้น มีท่าเรือจ้าง ๔ ตำบล คือเรือจ้างท่าบ้านชีฃ้ามออกจากกรุงไปวัดไชยาราม ๑ เรือจ้างท่าพระราชวังหลังฃ้ามออกจากกรุงไปวัดลอดช่อง ๑ เรือจ้างท่าด่านลมฃ้ามออกจากกรุงไปวัดกระษัตรา ๑ เรือจ้างท่าบ้านเจ้าพระยาพลเทพฃ้ามออกจากกรุงไปวัดธรมา ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านกว้างกรุงทิศตะวันตก ๔ ตำบล

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศเหนือนั้น มีท่าเรือจ้างเจดตำบล คือเรือจ้างท่าปตูสัตกปฃ้ามออกจากกรุงไปวัดฃุนญวน ๑ เรือจ้างท่าม้าอาบน้ำฃ้ามออกจากกรุงไปวัดตินท่า ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันแลกลางคืนที่ท่าขุนนางพระราชวังหลวง ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นท่าศาลากระเวรฟากสระบัวหลวง ๑ เรือจ้างท่าช้างวังหลวง คือท่าสิบเบี้ยนั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดสีโพ ๑ เรือจ้างท่าทราบฃ้ามออกจากกรุงไปวัดโรงฆ้อง ฃ้างบ้านเจ้าพระยาจักรีที่ท่าทรายนั้น มีศาลาคู่อยู่สองหลังสำหรับคนไปมาภักอาไศรยเปนศาลาฉ้อทาน ๑ เรือจ้างท่าวัดชรองตรงภนนโรงช้างพระราชวังน่านั้น ฃ้ามออกจากกรุงไปวัดป่าคนที ตรงถนนปั้นม่อ ๑ เรือคอยราชการประจำทั้งกลางวันกลางคืนที่ท่าขุนนางวังน่า ริมป้อมมหาไชยน่าพระราชวังจันทน์บวร ฃ้ามออกจากกรุงไปขึ้นที่วัดนางปลื้มแลท่าโขลน ๑ รวมท่าเรือจ้างด้านยาวกรุงทิศเหนือ เปนเรือจ้างแท้ ๕ ตำบล เรือคอยราชการ ๒ ตำบล รวมเปนเจดตำบล

แม่น้ำล้อมรอบกรุงทั้ง ๔ ด้าน มีตะพานใหญ่ทำนบรอตำบล ๑ มีท่าเรือคอยราชการ ๒ ตำบล มีท่าเรือจ้างยี่สิบตำบล รวมทางคนฃ้ามแม่น้ำเข้าออกในกรุง ๒๓ ตำบล


มีตลาดเรือที่แม่น้ำรอบกรุงเปนตลาดท้องน้ำ เปนตลาดใหญ่ในท้องน้ำ ๔ ตลาด คือตลาดน้ำวนบางกะจะน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ ตลาดปากคลองคูจามท้ายสู่เราแขก ๑ ตลาดปากคลองคูไม้ร้อง ๑ ตลาดปากคลองวัดเดิมใต้ศาลเจ้าปูนเท่าก๋ง ๑ เปนตลาดเอกในท้องน้ำ ๔ ตลาดเท่านี้

มีตลาดบนบกนอกกำแพงพระนคร ตามชานพระนครบ้าง ตามฝั่งฟากกรุงบ้าง ติดแต่ในรอบบริเวณในขนอนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศรอบกรุงเข้ามาจนฟากฝั่งแม่น้ำตรงกรุง และชานกำแพงกรุงนั้นด้วยรวมเปน ๓๐ ตลาด คือตลาดน่าวัดน่าพระธาตุหลังขนอนบางหลวง ๑ ตลาดชาวลาวเหนือวัดคูหาสวรรค์ ๑ ตลาดริมคลองน้ำยา ๑ ตลาดป่าปลาเชิงทำนบรอ ๑ ตลาดน่าวัดแคลงแลวัดตะพานเกลือ ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดนางชีน่าบ้านโปรตุเกต ๑ ตลาดบ้านบาตร์วัดพิไชย ๑ ตลาดวัดจันทนารามหลังวัดกล้วย ๑ ตลาดหลังตึกห้างวิลันดาแถววัดหมู ๑ ตลาดวัดสิงหน่าตึกญี่ปุ่น ๑ ตลาดวัดทองถนนลายสอง ๑ ตลาดวัดท่าราบน่าบ้านเจ้าสัวซีมีตึกแถวยาว ๑๖ ห้องสองชั้นๆล่างตั้งร้านฃายของ ชั้นบนคนอยู่ หัวตลาดนี้มีโรงตีเหล็กแลโรงเยบรองท้าว ทำยาแดงสูบกล้องฃายตลาด ๑ ตลาดบ้านปูนวัดเขียนลายสอง ๑ ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของงจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ๑ ตลาดบ้านกวนลอดฉ้อง ๑ ตลาดท่าเรือจ้างวัดธรมา ๑ ตลาดบ้านป้อมตรงขนอนปากคู ๑ ตลาดแหลมคลองมหานาคถนนบัณฑิตย์ ๑ ตลาดวัดขุนญวนศาลาปูน ๑ ตลาดคูไม้ร้องหลังโรงเรือพระที่นั่ง ๑ ตลาดน่าวัดตะไกรลงมาน่าวัดพระเมรุ ๑ ตลาดฃ้างวัดควายวัดวัวถนนบ้านทำม่อ ๑ ตลาดป่าเหลกหลังบ้านเฃมรโยมพระ ๑ ตลาดวัดครุธ ๑ ตลาดคลองผ้าลายริมวัดป่าแดงหลังวังฟักเจ้าลาว ๑ ตลาดริมบ้านโรงกูบน่าวัดกุฎีทอง ๑ ตลาดวัดโรงฆ้อง ๑ ตลาดน่าวัดป่าคนที ๑ ตลาดบ้านป่าเหลกท่าโขลง ๑ ตลาดวัดมะพร้าวริมบ้านญวนทะเล ๑ รวมตลาดบกนอกกำแพงพระนคร ๓๐ ตลาดเปนตลาดใหญ่

ว่าด้วยการค้าขายนอกกรุง

อนึ่ง ริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งฟากรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น ข้าทูลละอองธุลีพระบาทแลราษฎรทำของต่างๆ ขายแลประกอบการค้าขายต่างๆ กัน เปนหมู่เปนย่านเปนตำบลมากมาย ย่านสำพนีตีสกัดน้ำมันงาน้ำมันลูกกะเบา น้ำมันสำโรง น้ำมันถั่วขาย ๑ บ้านหมู่หนึ่งทำฝาเรือนอยู่แลเรือนหอด้วยไม้ไผ่กรุกระแซงบ้าง กรุแผงกำบ้าง ทำไว้ฃายแลรับจ้างบ้าง ๑ บ้านหมู่หนึ่งทำการหล่อเหลกเปนครกสากเหลกฃาย แลตั้งเตาตีมีดพร้าแลรูปพรรณต่างๆ รับจ้างแลทำไว้ฃาย ๑ บ้านทั้งสามพวกนี้อยู่ย่านสัมพนี

บ้านม่อ ปั้นม่อเข้าม่อแกงใหญ่เลก แลกะทะเตาขนมครกขนมเบื้อง เตาไปตะเกียง ใต้ตะคันเชิงไฟ พานภู่มสีผึ้งถวายพระเข้าวษา บาตร์ดินกระโถนดิน ๑ บ้านกระเบื้องทำกระเบื้องผู้เมีย แลกระเบื้องเกล็ดเต่ากระเบื้องขอกระเบื้องลูกฟูกฃาย ๑ บ้านศาลาปูนตั้งเตาทำปูนแดงฃาย ๑ บ้านเขาหลวงพวกจีนตั้งโรงต้มสุราฃาย ๑ บ้านห้าตำบลนี้อยู่ในแขวงเกาะทุ่งขวัญ

บ้านเกาะขาดหล่อผอบยาเต้าปูนทองเหลือง แลเท้าพานไม้ควักปูนลนหงษฃาย ๑ บ้านวัดครุธปั้นนางเลิ้งสำหรับใส่น้ำฃาย ๑ บ้านริมวัดธรณีเลื่อยกระดานไม้งิ้วไม้อุโลกฃาย ๑ บ้านริมวัดพร้าวพวกกราหมณ์แลไทยทำแป้งหอมน้ำมันหอม กระแจะน้ำอบ ธูปกระแจะ ธูปกระดาษและเครื่องหอมทาฃาย ๑ บ้านท่าโขลงตั้งเตาตีเหลกตะปูตะปลิงใหญ่น้อยฃาย ๑ บ้านคนทีปั้นกระโถนดินกระถางดินปลูกต้นไม้ แลตะคันเชิงไฟเตาไฟ แลปั้นรูปช้างรูปม้าตุกตาต่างๆ ฃาย ๑ บ้านริมโรงฆ้องแถวถนนน่าบ้านเจ้าพระยาจักรีนั้น พวกหมู่นั้นเปนแม่ค้าซื้อกล้วยดิบมาบ่มแลต้มฃาย ๑ บ้านเจดตำบลนี้อยู่ในเกาะทุ่งแก้ว

บ้านนางเลิง บ้านหอแปลพระราชสาสนนั้น ทำกระดาษข่อยแลสมุดดำฃาวฃาย ๑ บ้านคลองธนูเอกพะเนียด ชาวบ้านนั้นตั้งโรงร้านเรือนแพฃายไม้ไผ่ป่าไม้ไผ่สีสุกไม้รวกฃาย เสาใหญ่น้อยเป็นไม้แก่น แลไม้พรึงรอด ๑ บ้านรามเซาระบุบาตรเหลกน้อยใหญ่ฃาย ๑ บ้านริมวัดพอไชยต่อหุ่นตลุ่มพานแว่นฟ้าสองชั้นฃาย ๑ บ้านนางเอียนฝั่งกำแพงกรุงเลื่อยไม้สักทำฝาเรือนปรุงเรือน ฝากระดานและเครื่องสับฝาสำรวดฃาย ๑ บ้านวัดน้ำวนพวกจีนตั้งโรงตีเหลก ทำขวานหับเหลกป้านแลขวานมะลูฃาย ๑

อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองพระพิศณุโลกยฝ่ายเหนือ บันทุกน้ำอ้อยยาสูบขี่ผึ้งน้ำผึ้งสินค้าต่างๆ ฝ่ายเหนือล่องเรือลงมาจอดฃาย ตั้งแต่น่าวัดกล้วยลงมาจนปากคลองเกาะแก้ว ที่ใต้ปากคลองเกาะแก้วลงมาหน่อยหนึ่งนั้น เรือมอญใหญ่ปากกว้าง ๖ – ๗ ศอก พวกมอญบันทุกมะพร้าวห้าว แลไม้แสมทเลแลเกลือฃาวมาจอดฃาย ๑

อนึ่งที่บ้านศาลาเกวียนนั้นมีศาลาใหญ่ห้าห้องสองหลัง สำหรับเกวียนเมืองนครราชสีหมาแลเมืองพระตะบองมาจอดที่ศาลานั้น ในระดูเดือนสามเดือนสี่ ต่างแลเกวียนเมืองนครราชสีหมาบันทุกสินค้าต่างๆ คือน้ำรักขี้ผึ้งปีกนก ผ้าตรางผ่าสายบัวสี่คืบน่าเกบทอง แลผ้าตาบัวปอกตาเลดงา แลหนังเนื้อ เอนเนื้อ เนื้อแผ่น ครั่งไหม กำยาน ดีบุก หน่องาของป่าต่างๆ เกวียนเมืองพระตะบองพวกเขมรบันทุกลูกเร่วกระวานไหมกำยาน ครั่งดิบุกหน่องาแลผ้าปูมแพรญวนทองพรายพลอยแดง แลสินค้าต่างๆ ตามอย่างเมืองเขมร พวกโคราชและพวกเขมรเอาสินค้ามาฃายที่ศาลาเกวียน ถ้ามามากศาลาไม่พออยู่ต้องปลูกกระท่อมอยู่ตามแถบนั้น ศาลานั้นเปนของเรี่ยไร พวกลูกค้าเกวียนแลลูกค้ารับรวมกันทำขึ้นแลซร้อมแซรมต่อๆ มา ในระดูลูกค้าต่างแลเกวียนมานั้น ชาวบ้านนั้นทำฃองกินต่างๆ ออกนั่งร้านขายเปนตลาดคราวหนึ่ง

แถวน่าวัดสมอวัดขนุนวัดขนาน สามวัดนั้น ชาวเมืองอ่างทองแลเมืองลพบุรี เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองสิงห เมืองสรรค เมืองสุพรรณ เอาข้าวเปลือกบันทุกเรือใหญ่น้อยมาจอดฃายที่นั้น ๑ แลชาวบ้านแถวน่าวัดทั้งสามนั้นตั้งโรงสีโรงกระเดือ่งสีเข้าซ้อมเข้าฃาวชาวพระนคร แลขายพวกโรงต้มสุรา ถึงระดูสำเถาเข้าทำเข้าสารฃายจีนในสำเภาเป็นเสบียง ๑ บ้านปากเข้าสารพวกจีนตั้งโรงต้มสุรา แลเลี้ยงสุกรฃาย ๑

อนึ่ง เรือระแหงแขวงเมืองตาก แลเรือหางเหยี่ยวเมืองเพชรบูรณ์นายม บันทุกครั่งกำยานเหลกหางกุ้ง เหลกล่มเลยเหลกน้ำภี้ ใต้หวายชันน้ำมันยางยาสูบ เขาหนัง หน่องาสรรพสินค้าตามเพศบ้านเพศเมือง มาจอดฃายตามแถวปากคลองสวนพลู ตลอดมาจนน่าวัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านในคลองสวนพลู พวกจีนตั้งเตาต้มสุราเลี้ยงสุกรฃาย แลทำเส้นหมี่แห้งฃาย ๑ บ้านขนมตาล ชาวบ้านนั้นรับเรือเถาเรือพ่วงไว้ฃาย ๑ บ้านสกัดน้ำมันหุงขี้ผึ้งแดงแดงแลขี้ผึ้งขาว เชยน้ำมันงาฃาย ๑ บ้านคลองเกลือ ชาวบ้านนั้นตั้งโรงสีเข้า ซ้อมเข้าฃายพวกโรงสุราแลสำเภาจีน ๑ บ้านยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นเปนชาวไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่หลังตึกยี่ปุ่น ชาวบ้านนั้นรับกงเรือน้อยใหญ่แลกงสำเภาไว้ฃาย แลรับไม้กงกางไว้ขายพวกทำฟันสีเข้า ๑ บ้านข้างกำแพงนอกกรุงตรงหัวเลี้ยวตำบลสารพานั้น จีนตั้งโรงย้อมครามผ้าแลด้ายแลผ้าฃาย ๑

บ้านน้ำวนบางกะจะมีเรือปากใต้ปากกว้างสามวาสิบศอก พวกลูกค้าจีนแลแขกจามทอดสมอขายน้ำตาลขายน้ำตาลกรวด สาคูเมดใหญ่เลก กำมถันจันทน์แดง หวายตะค้ากระแซงเตยแลสินค้าต่างๆ ข้างปากใต้ ๑ แลแถวนั้นมีแพลอย พวกลูกค้าไทยจีนแขกเทศแขกจาม นั่งร้านแพฃายสรรพสิ่งของต่างๆ กันทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่ท้ายปากคลองวัดสุวรรณดาราราม ตลอดลงมาจนน่าพระราชวังหลัง แถวนี้เปนฝั่งพระนคร แต่ฝั่งตรงพระนครนั้นแพจอดตั้งแต่ท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ตลอดมาจนท้ายวัดพุทไธยสวรรค์แลเลยไปจอดเปนระยะจนน่าวัดไชยวัฒนาราม แลแม่น้ำตรงตลอดมีแพลูกค้าพานิชจอกฝั่งตระวันตก ตั้งแต่ปากคลองตะเคียนเรี่ยรายขึ้นมาถึงน่าวัดแขกตะเกียมีชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้าววัดกุฎบางกะจะ ตรงวัดเจ้าพระนางเชิงฝั่งตะวันออกตั้งแต่ท้ายเกาะเรียนมีแพรจอดเรี่ยรายขึ้นมาจนถึงท่าเสือข้าม มีแพชุกชุมมากขึ้นมาจนถึงท้ายวัดเจ้าพระนางเชิง ประมาณแพแต่บริเวณกรุงศรีอยุทธยารอบพระนครนั้น ราวสักสองหมื่นเสศพันปลายเปนแน่ ทั้งแพอยู่แลแพค้าขายในแขวงจังหวัดรอบกรุง ไม่น้อยตำลงมาจากสองหมื่นเสศพันเลยเป็นแน่

ครั้นถึงระดูลมสำเภาพัดเข้ามาในกรุง เปนมรสุมเทศกาลพวกลูกค้าพานิชสำเภาจีนแลลูกค้าแขกสลุป ลูกค้าฝรั่งกำปั่น ลูกค้าแขกกุศราช และพวกลูกค้าแขกสุรัดแขกชวามาลายูแขกเทศฝรั่งเศสฝรั่งโลสงโปรตุเกศวิลันดาอิศปันยอนอังกฤษ แลฝรั่งดำฝรั่งเมืองลังกุนีแขกเกาะ เปนพ่อค้าพานิชคุมสำเภาสลุปกำปั่นแล่นเข้ามาทอกสมออยู่ท้ายคู ขนสินค้าขึ้นมาไว้บนตึกห้างในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา ตามที่ของตนซื้อแลเช่าต่างๆ กัน เปิดร้านห้างตึกขายของตามเพศตามภาษา ๑

อนึ่ง ที่น่าท่าประตูหอยนั้นมีเรือลูกค้าชาวทเล มาจอดฃายหอยแมงพู่หอยตะพงปูทเลแมงดาปลาทเลย่างแลสดบ้าง ๑ ย่านป่าจากฃายเชือกกระแซงหวายใต้ชันน้ำมันยางหมันเรือตามเรือเรือนแพ แลมีเรือปากกว้างแปดศอกสิบศอกบันทุกจากมาจอกฃาย ๑ ย่านบ้านริมวัดขุนพรม ชาวบ้านย่านนั้นเอาผ้าฃาวเทศมาเขียนพิมพ์ตีพิมพ์เปนดอกผ้าลายน้ำจืดฃาย บ้างต่อโลงไม้อุโลกสำหรับใส่สพไว้ฃายก็หลายบ้าน ๑ ย่านบ้านท่ากายีนอกกำแพงกรุง เปนบ้านแขกเก่า พวกแขกนั้นฟั่นเชือกเปลือกมะพร้าวตีเปนสายสมอ ยาวเส้นหนึ่งบ้าง ยาวสามสิบวาบ้าง ลางทีทำยาวถึงห้าสิบวา ฃายแก่นายกำปั่นสลุปสำเภา แลฟั่นชุดจุดบุหรี่ด้วยเปลือกมะพร้าวฃายขุนนางแลราษฎร ที่ต้องการใช้แลทำบุญ ๑ บ้านท้ายคูพวกแขกจามสานเสื่อลันไตผืนใหญ่น้อยฃายแลสมุกฃาย ๑

อนึ่งเรือปากใต้ปากกว้าง ๖ ศอก ๗ ศอก ชาวบ้านยี่สารบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี แลบ้านตะบูนบ้านบางทะลุบันทุกกะปิน้ำปลาปูเคมปลากุเราปลากะพงปลาทูปลากะเบนย่าง มาจอดเรือฃายแถววัดเจ้าพระนางเชิง ๑ บ้านปูนริมวัดเขียนทำปูนแดงฃาย ๑ บ้านพระกราน ชาวบ้านนั้นจับปลาหมอเกราะหามมาเร่ฃายบ้าง ใส่เรือมาเร่ฃายบ้าง ในระดูกรุตน์สงกรานต์ ชาวกรุงซื้อปล่อยทำบุญ ๑ บ้านริมวัดลอกช่อง พวกแขกตานีทอผ้าไหมผ้าด้ายเป็นผ้าพื้นม่วงเกลี้ยงม่วงดอกฃาย ๑ บ้านน่าวัดราชพรีวัดธรมานอกนั้น ทำโลงไม้ศักไม้อุโลกและเครื่องศพสำหรับศพต่างๆ ไว้ฃาย ๑ บ้านป้อมหัวแหลมพวกแขกเก่าแลลาวเก่า จับนกอันชังแลนกกระจายฆ่าตายเที่ยวเร่ฃาย ๑ แลจับนกสีชมภูนกปากตะกั่ว นกแดงอิฐ นกกระทินกกระจาบเปน ใส่กรงเที่ยวเร่ฃาย ให้ชาวพระนครซื้อปล่อย เมื่อระดูเทศกาลกรุศน์สงกรานต์ที่แม่น้ำหัวแหลมน่าวัดภูเขาทอง ใต้ศาลเจ้านางหินลอยนั้น พวกจีนตั้งโรงต้มสุราแลเลี้ยงสุกรฃาย ๑

อนึ่ง เรือใหญ่ท้ายแกว่งชาวเมืองสวรรคโลกย์ แลหัวเมืองฝ่ายเหนือ บันทุกสินค้าต่างๆ ฝ่ายเหนือมาจอดฃายริมแม่น้ำแลในคลองใหญ่วัดมหาธาตุในเทศกาลน่าน้ำ ๑ รวมที่ค้าฃายนอกกำแพงกรุง ๕๒ ตำบล

ว่าด้วยเรือต่างๆ ในโรง

อนึ่ง กรุงศรีอยุทธยานั้นมีโรงเรือต่างๆ อยู่นอกกำแพงพระนครเป็นอันมาก อนึ่ง ที่ย่านบ้านวัดท่าการ้องนั้น ตั้งโรงเรือรบน้ำจืดแถวหนึ่งสามสิบหลัง เสาไม้มะค่าหลังคากระเบื้องลูกฟูก หลังหนึ่งไว้เรือรบได้ ๑๐ ลำบ้าง ๖ ลำบ้าง ตามเรือใหญ่เรือเล็กมีขุนหมื่นแลไพร่หลวงรักษาทุกเดือน ถ้ามีราชการสงครามก็ยาแลเขนออกจากอู่ในโรง ไปใช้ราชการได้พร้อมเพรียง ๒๐๐ ลำ อนึ่ง ใต้ปากคลองตะเคียนนั้นมีโรงเรือรบทเลใหญ่น้อยต่างๆ ไว้ในโรงในอู่เรียงกันตามแม่น้ำใหญ่ ท้ายเรืออยู่ปากอู่ลำเรือขวางแม่น้ำทุกลำใส่โรงละลำบ้าง โรงละสองลำบ้าง มีเรือใหญ่ท้ายสำเภา เปนเรือรบทเลสามสิบลำ เรือเล็กท้ายปลา เรือรบทะเลร้อยลำทำด้วยไม้ตะเคียนทั้งสิ้น โรงนั้นปักเสาไม้มะค่าหลังคามุงกระเบื้องลูกฟูก มีฝาแลประตูมีผู้รักษาทั้งนายแลไพร่ พระยาราชวังสันได้ว่ากล่าวดูแลเปนแม่กอง แต่เรือรบน้ำจืดนั้น พระยามมหาอำมาตย์ได้ว่ากล่าวดูแลรักษา ที่ท้ายบ้านท่าเสือข้ามนั้น มีอู่สำหรับต่อกำปั่นแลสำเภาหลวงเรียงกันสิบแปดอู่ แลสำเภาที่อยู่ริมกำแพงพระนครมีอยู่ ๔ อู่ ที่ใต้ประตูไชยสองอู่ ที่ป่าตองสองอู่ เปนอู่หลวงเก่ามาแต่เดิม

อนึ่ง โรงเรือนพระที่นั่งซ้ายโรง ๑ ขวาโรง ๑ แต่ละโรงนั้นยาวเส้นหนึ่งก็มี ยาวห้าเส้นก็มี ยาวเส้น ๑๐ วาก็มี โรงนั้นเสาไม้มะค่าแปดเหลี่ยมหลังคามีพไลสองข้างซ้ายขวา มีช่อฟ้าหางหงษทุกโรง ฝาก่อเปนผนังอิฐโบกปูนมีช่องลม โรงเรือขวาเรียงมาตามน้ำถึงน่าวัดตินท่า ไว้เรือรูปสัตว์แลเรือต้นเรือไชย ทั้งสิ้นถึงยี่สิบโรงๆ ละห้าลำบ้างสิบลำบ้าง แต่โรงเรือที่อยู่บนบกริมศาลากระเวนนั้น เสาก่ออิฐฝาอิฐหลังคามุงกระเบื้องมีฉ้อฟ้าโรง ๑ ใส่เรือศีศะพระครุธพาหนะพระที่นั่งกำปาง ๑ ใส่เรือศีศะรูปยักษ์มีปีกเรียกว่าพระที่นั่งงอสุราวายุภักษลำ ๑ โรงเรือซ้ายอยู่บนบกที่คูไม้ร้องเรียงกันมาจนถึงวัดตินท่า ใส่เรือพระที่นั่งศีศะหงษพาหนะ พระที่นั่งกำปางลำ ๑ เริอพระครุธพาหนะสองลำ ๑ สำหรับทรงเสด็จไปประพาษทรงเบดปลาฉนากฉลามตามชายทเล

อนึ่ง เรือพระที่นั่งกิ่งใหญ่ชื่อแก้วจักรมณีขวาลำ ๑ ชื่อสุวรรณจักรรัตนซ้ายลำ ๑ เรือพระที่นั่งกิ่งรองทรงชื่อสุวรรณพิมานไชยขวาลำ ๑ ชื่อสุมมุติพิมานไชยซ้ายลำ ๑ เรือแก้วตอกกรองขวาลำหนึ่ง ๑ เรือสาลิกาล่องลมซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นฟ้าซ้ายลำ ๑ เรือทองแผ่นขวาลำ ๑ เรือเอกไชยซ้าย ๔ ลำ ชื่อสีเทพพายกรลำ ๑ ชื่ออำมรรัตนาศนลำ ๑ ชื่อปราสาทอำมรินทรลำ ๑ ชื่อสินธุประเวศลำ ๑ เรือเอกไชยขวา ๔ ลำ ชื่อรัตนพิมานอำมเรศลำ ๑ ชื่อพิเศศบันลังก์ลำ ๑ ชื่ออาศนภุชฌงลำ ๑ ชื่อบันยงนาเวศลำ ๑ แลเรือพระที่นั่งศีศะนาคเจดเศียร ๒ ลำ ชือพิมานวาสุกรีลำ ๑ อีกลำ ๑ ชื่อศรีมงคลนาคินทรลำ ๑ มีบุษบกอยู่กลางลำทุกลำเปนพระแท่นบันลังก์พระที่นั่งทรง ลางลำก็มีจตุมุขแลยอกมณฑป ลางลำก็มีแต่มณฑปบุษบกเปล่าไม่มีมุข แลเรือเหราลอยล่องสมุทลำ ๑ มีหลังคาบัญลังก์สีมุขฉ้อฟ้า แลเรือรูปสัตว์ต่างๆ มากมายเหลือที่จะพรรรณา

เรือเหล่านี้อยู่ในโรงฉ้อฟ้าทั้งสิ้น ในโรงเรือนั้นขุดอู่ทุกโรงมีทำนบน่าโรงสำหรับปิดน้ำใน โรงนั้นมีเสาเตาม่อทุกโรง ถ้าจะเอาเรือขึ้นคานก็เปิดทำนบน่าโรงเสีย ให้น้ำไหลเข้าไปในอู่เตมแล้ว เอาคานพาดเสาเตาม่อไว้ ครั้นน้ำลงแห้ง ท้องเรือก็ตั้งอยู่อยู่บนคาน แล้วปิดทำนบไว้ไขน้ำออกให้หมดในอู่ แต่เรือพระนั่งสักลาดแลเรือพระที่นั่.กราบซ้ายขวาทั้งปวงนั้นอยู่ตามโรงแถววัดติท่าเรียงต่อมา แลเรือดั้งเรือกั้น เรือกระบวนต่างๆ ก็อยู่ในโรงแถวขวาแลซ้ายเปนอันมาก

ฝีพายเรือพระที่นั่งนั้น คือพวกบ้านโพเรียงบ้านพุทเลาเป็นพนักงานพาย มีเจ้ากรม ปลัดกรม ปลัดกองนายหมู่นายหมวด แต่พระอินทรเทพได้ว่าพวกฝีพายซ้าย พระพิเรนทรเทพได้ว่าพวกฝีพายขวา ตามตำราในโบราณราชประเพณีสืบมา พวกฝีพายนั้นได้พระราชทานตราภูมคุ้มห้าม ด่านขนอนอากรตลอดไม่ต้องเสีย โปรดพระราชทานให้เปนกำลังราชการ ปีหนึ่งใช้ราชการสามเดือน แต่ฝีพายลำทรงทุกหมู่

ว่าด้วยในพระนครกรุงศรีอยุธยา

จะกล่าวถึงภูมลำเนาพระนคร ตั้งอยู่บนเกาะหนองโสนในประเทศสยาม มีแม่น้ำล้อมรอบเกาะ เกาะนั้นมีสันถานคล้ายรูปสำเภานาวา ด้านยาวอยู่ทิศเหนือแลทิศใต้ ด้านกว้างข้างรูปศีศะสำเภานั้นอยู่ทิศตะวันออก ด้านกว้างข้างท้ายสำเภาอยู่ทิศตะวันตก มีกำแพงก่อด้วยอิฐบ้างศิลาแลงบ้าง ก่อด้วยอิฐแดงบ้างล้อมรอบเปนพระนคร พระนามกรปรากฏว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา กำแพงตั้งแต่พื้นดินสูงสุดใบเสมาสามว่า มีชานเชิงเทินช่องเนินบันพทโดยสูง ๘ ศอก มีป้อมค่ายคูประตูใหญ่น้อยเรียงรายล้อมรอบพระนคร พระนครด้านยาวร้อยเส้นเสศ ด้านกว้างห้าสิบเส้นเสศ

พรรณาตามมีในฉบับพระตำหรับหอหลวงท่านกล่าวว่า กรุงศรีอยุทธยานั้นตั้งต้นทิศตะวันออกเวียนขวาตั้งแต่ป้อมมหาไชยท้ายทำนบรอมาถึงประตูใหญ่ ชื่อประตูท่าช้างวังจันทนบวร คือท่าช้างวังน่า ๑ แลจึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูฉนวนน้ำ ประจำท่าพระราชวังจันทนบวร คือประตูฉนวนวังน่า ๑ จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่อง แล้วจึงมาถึงป้อมวัดฝาง ๑ แล้วจึงมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูหอรัตนไชย ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูช่องกุฎสามช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ ห้ามไม่ให้เอาศพออกชื่อประตูเจ้าจันทน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงเกาะแก้ว ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงมุมกรุงศรีอยุทธยาด้านตะวันออกเฉียงใต้นั้น โลกยสมมุติเรียกว่า หัวสาระพา ที่ตำบลตรงนั้นคล้ายกับที่ถอกสมอสำเภา สุดท้ายด้านตระวันออกเพียงนี้

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวทิศใต้ ตั้งแต่มุมกรุงที่ตำบลหัวสาระพามานั้น มีประตูช่องกุฎหนึ่ง จึ่งมาถึงป้อมปืนใหญ่ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูป้อมปืนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงมั่นคงแข็งแรงสูง ๓ วาสองศอก ป้อมนี้สูงกว่ากำแพงกรุง ๒ ศอก มีชานชาลารอบป้อมกว้างสามวา มีกำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีปืนแซกตามช่องแปดกระบอก ชั้นล่างปืนใหญ่รางเกวียนบันจุทุกช่อง ๑๖ กระบอก ป้อมใหญ่นี้มีชื่อป้อมเพชร ตั้งอยู่ตรงแม่น้ำตะลาดบางกระจะป้อม ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูคลองน้ำชื่อในไก่ ๑ แล้วประตูช่องกุฎ ๕ ช่อง จึ่งมาถึงป้อมอกไก่ ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูจีน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อปะตุเทศมี ๑ จึ่งมาถึงท่าด่านชีมีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองคูจาม แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ อยู่ในด่านท่าชี แล้วถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูไชย ๑ แล้วมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูชะไกรใหญ่ ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนตรงปากคลองลครไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎช่อง ๑ สุดด้านยาวทิศใต้เพียงนี้

กรุงศรีอยุทธยาด้านกว้างทิศตะวันตก ตั้งแต่เลี้ยววังไชยมาบ้านชี มีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองน้ำแกลบ ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่าพระราชวังหลัง ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฉางมหาไชย ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๓ ช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูคลองฝาง ๑ แล้วมาถึงป้อมปืนตรงแม่น้ำหัวแหลม

กรุงศรีอยุทธยาด้านยาวฝ่ายทิศเหนือนั้น ตั้งแต่ป้อมสัดกบนั้นมาตามด้านเหนือมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ออกไปตลาดขายปลาสดชื่อประตูสัดกบ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงป้อมปืนใหญ่ก่อใหม่ชื่อป้อมสุพรัตน ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูห่าน ๑ แล้วมาถึงประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อหมูทะลวง ๑ ประตูนี้สำหรับเชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอ แลพระเจ้าหลานเธอลงเรือขบวนแห่ไปถวายพระเพลิงที่ในพระเมรุวัดไชยวัฒนาราม แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ แล้วจึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำอยู่ตรงมุมกำแพงพระราชวังหลวงนั้นชื่อประตูปากท่อ แต่มุมกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกไปจนมุมกำแพงพระราชฐานด้านตวันออกนั้น มีประตูใหญ่ชื่อประตูท่าขันธ ๑ แล้วมามีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่าชัก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎสามช่อง จึงมาถึงประตูใหญ่ช้างลงอาบน้ำชื่อประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ที่ริมท่าสิบเบี้ยนั้น มีโรงช้างระหว่างค่ายนอกกำแพงกรุงริมน้ำโรงสี่ห้องใส่ช้างพลายห้องละช้างสี่ช้าง แล้วถัดมามีประตูช่องกุฎ ๑ ริมกำแพงออกไปทุ่ง จึ่งมาถึงประตูช่องกุฎมหาเถรไม้แซ ๑ ที่ตรงนั้นเขาคิดอ่านแบ่งน้ำให้ไหลเข้ามาใต้ถนนหลวง น้ำนั้นไหลทลุเลยมาตามลำคูปากสระ คิดฝังท่อดินเผามุดมาใต้ถนน ตะพานนาด กระแสน้ำไหลเข้าในท่อที่ฝังนั้นโดยแรง น้ำในท่อไหลออกมาบันจบคลองประตูเขาสมี ถัดนั้นมามีประตูช่องกุฎสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่ชื่อประตูท่ากระลาโหม แล้วมีประตูช่องกุฎอีกสองช่อง จึ่งมาถึงประตูใหญ่คลองน้ำชื่อประตูเข้าเปลือก ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๑ จึ่งมาถึงป้อมปืนชื่อป้อมจำปาพล ๑ แล้วมีประตูช่องกุฎ ๒ ช่อง จึงมาถึงป้อมปืนใหญ่ชื่อป้อมมหาไชย ๑ อยู่ตรงมุมกำแพงพระนครด้านเหนือ สุดด้ายยาวทิศเหนือเท่านี้

ตามกำแพงรอบกรุงศรีอยุทธยานั้น มีป้อมปืนใหญ่น้อยยี่สิบสามป้อม มีประตูใหญ่มียอดทาแดงยี่สิบสามประตู มีประตูช่องกุฎหกสิบเอดประตู

ว่าด้วยในกำแพงพระนคร ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อรักษาพระนคร

ภายในกำแพงพระนครศรีอยุทธยา มีถนนหลวงชื่อมหารัฐยา อยู่กลางพระนคร กว้างหกวาปูศิลาแลงเรียบร้อยสำหรับมีการใหญ่ ได้ตั้งกระบวนแห่พยุหยาตรา และสะฃนานช้างม้าพระที่นั่งต่างๆ แลแห่กระบวนกฐินบกเปนการแห่ด้วยช้างบ้างแห่ด้วยคานหามบ้าง เปนพระราชกฐินหลวงประจำปีแห่ผ้าไตรยแล้วเจดวัน จึ่งได้เสดจพระราชทานพระกฐินตามพระอารามหลวงทั้งทางบกทางเรือ ถนนหลวงนี้เป็นที่แห่นาคหลวง แลแห่พระบรมศพแลพระศพต่างๆ ตั้งต้นกระบวนแต่ประตูไชยทิศใต้พระนคร

อนึ่ง ค่ายผนบนั้นตั้งแต่ถนนน่าวังตรา ๑ มาปลายถนนวังตราตั้งค่ายผนบบ้านหล่อตรงตรงประตูท่าสิบเบี้ย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งสุดหัวถนนป่าตะกั่ว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งที่หัวเลี้ยวถนนป่าโทน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั่งหัวถนนป่าเกรียบท่าพระประเทียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้านถนนป่าเกรียบ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าชมภู ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนบ้านขันเงิน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งท้ายถนนป่ายา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าฟูก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งกลางถนนผ้าเขียว ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตะแลงแกง ๑ ท้ายถนนตะแลงแกง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนเจ้าพระยาพระคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองตรงท่าฉางประตูไชย ๑

ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งรอบพระราชวังหลวงนั้นคือ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนโรงม้าไชยฤกษ ตรงประตูจักรมหิมา ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมวัดธรรมิกราช ตรงกำแพงคั่นท้องสนามน่าจักรวัติ ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งหัวถนนตลาดเจ้าพรม ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงศาลาสารบาญชีริมโรงสัก ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงป้อมกลางตรงวัดสีเชียง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมจะเลี้ยวมาน่าวัดระฆัง ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งตรงมุมป้อมจะเข้ามาท้ายสระแก้วในพระราชสถาน ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อตั้งมุมป้อมปากท่อ จะเลี้ยวมาถนนประตูดินมาหยุดจนพระฉนวนน้ำประท่า ๑ ตั้งค่ายผนบบ้านหล่อล้อมพระราชวังหลวงแปดตำบล ตามถนนหลวงในกำแพงพระนครสิบหกตำบล รวมทั้งสินเป็นยี่สิบสี่ตำบลค่ายผนบบ้านหล่อ

ว่าด้วยตะพานในพระนคร

ภายในกำแพงพระนครกรุงศรีอยุทธยา มีตะพานฃ้ามคลองใหญ่ทำด้วยอิฐสิบห้าตำบล ทำด้วยไม้สิบห้าตำบล รวมด้วยกันเป็นสามสิบตำบล แต่ถนนหลวงนั้นตะพานไม้ฃ้ามคลองหอรัตนไชย ๑ ตะพานอิฐฃ้ามคลองประตูในไก่ จะเลี้ยวมาหอรัตนไชย ๑ ตะพานไม้ชื่อตะพานสี่แสก ๑ แล้วมาถึงตะพานใหญ่ชื่อตะพานหัวจะกา ๑ มาถึงตะพานอิฐตรงประตูในไก่ชื่อตะพานในไก่ ๑ คลองประตูเข้าเปลือกตะลอดตรงประตูจีนมีตะพานฃ้ามคลองนั้นก่อด้วยศิลาแลงชื่อตะพานช้าง ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานถนนป่าภาน ๑ จึ่งมาถึงตะพนไม้ชื่อตะพานวัดลาด ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานชีกุน ๑ จึ่งมาถึงตะพานวัดขุนเมืองใจ ๑ จึ่งมาถึงตะพานอิฐชื่อตะพานตลาดจีน ๑

มีคลองน้อยลัดมาแต่คลองในไก่มาออกคลองประตูจีน มีตะพานอิฐฃ้ามคลองน้อยนั้นชื่อตะพานบ้านดอกไม้เพลิง ๑ คลองประตูเทศสมีเข้ามาจนลำคูปากสมุท คิดแบ่งน้ำในคลองกลางพระนครให้ไหลออกทางคลองตะพานนาค บันจบกับคลองประตูเทศสมี มีตะพานอิฐตรงถนนบ้านแขกใหญ่ ฃ้ามมาถนนบ้านแหชื่อตะพานวานร ๑ มีคลองน้อยลัดมาจากคลองใหญ่ประตูจีนมาทลุออกประตูเทศ มีตะพานอิฐเดินมาถนนบ้านแขกใหญ่ ฃ้ามมาศาลาอาไศรยที่ถนนป่าหญ้าชื่อตะพานป่าหญ้า ๑ แล้วมีตะพานอิฐเดินมาแต่น่าวัดอำแม่ท้ายบ้านแขกใหญ่เจ้าเซน ตรงมาออกถนนหลวงตรงน่าวัดฉัตรทันตชื่อตะพานวัดฉัตรทันต ๑ คลองประตูไชยตรงเฃ้ามาถนนตะแลงแกงมุมวัดป่าใน มีตะพานไม้ฃ้ามคลองริมพระคลังสินค้าไกล(ใกล้)ป่าตอง แลเดินฃ้ามเข้าไผปวัดบรมจักรวัติชื่อตะพานบ้านดินสอ ๑ มีตะพานไม้ฃ้ามคลองบ้านช่างเงินฃ้ามไปวัดป่าในชื่อตะพานบ้านช่างเงิน ๑

ลำคลองประตูไชยเลี้ยวไปทางตะวันออก มีตะพานไม้ฃ้ามคลองตรงถนนป่าผ้าเขียว ฃ้ามไปบ้านพราหมณ์น่าวัดป่าใน แลใกล้โบสถพราหมณ์ชื่อตะพานบ้านโบสถ์พราหณ์ ๑ มีตะพานไม้ตรงหัวถนนป่าฟูกข้ามไปถนนน่าวัดสักชื่อสะพานนาค ๑ ลำคลองประตูไชยมีคลองน้อยเลี้ยวทางตะวันตกไปออกคลองชะไกรใหญ่ มีตะพานไม้ฃ้ามเข้ามาถนนป่าตองชื่อตะพานงู ๑ มีตะพานไม้ตรงชะไกรน้อยข้ามมาถนนวัดทองบ้านม่อชื่อตะพานบ้านม่อ ๑ คลองประตูปากท่อตรงออกประตูชะไกรใหญ่ มีตะพานไม้ชื่อตะพานขุนโลกย ๑ มีตะพานไม้ตรงถนนวัดขวิด ข้ามคลองไปวัดกุฎีสลักชื่อตะพานนางหงษ ๑ มีตะพานอิฐตรงถนนตะแลงแกง ฃ้ามคลองไปถนนลาวชื่อตะพานลำเหย ๑ มีตะพานอิฐตรงมหาโภคราชที่ขุนนางเข้าเฝ้ายังพระที่นั่งทรงปืนนั้น ตรงข้ามถนนน่าโรงไหมชื่อตะพานสายโซ่ ๑

ลำคลองปากท่อมีคลองน้อยเลี้ยวเข้ามาท้องสระแก้วพระคลังใน มีตะพานไม้ตรงถนนน่าวัดระฆัง ข้ามคลองน้อยเข้ามาสวนอาหงุ่นในพระราชสถานชื่อตะพานไตรลาศ ๑ มีตะพานอิฐตรงถนนหลังวัดระฆัง ข้ามคฃลองน้อยแยกเข้ามาทางท้ายสระ ชื่อตะพานพระอุทยาน ลางทีเรียกว่าตะพานสวนอาหงุ่น ๑ ลำคลองปากท่อมีคลองน้อยเลี้ยวไปตระวันตก ออกไปประตูใหญ่ฉางมหาไชย วัดสวนหลวงสบสวรรค์ มีตะพานอิฐเดินตามริมคลองหัวไผ่ชื่อตะพานแก้ว ๑ คลองท่อนั้นมีตะพานข้ามปากคลองเข้ามาในชานพระราชสถานตรงศาลาคู่ท้ายประตูคูหาช่องลม ข้ามไปถนนหลวงน่าศาลาฉ้อทานกลางย่านตะพานนี้ชื่อตะพานทอง ห้ามไม่ให้คนเดิน ต่อมีพระราชพิธีแห่จึ่งเดินได้ทางตะพานทองนั้น มีประตูหูช้างปิดต้นตะพานทั้งสองข้าง ๑ รวมเปนตะพานอิฐ ๑๕ ตำบล ตะพานไม้ ๑๕ ตำบล รวมตะพานข้ามคลองเปนถนนหลวงในพระนครทั้งอิฐทั้งไม้สามสิบตะพาน มีชื่อทั้งสิ้น

ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา

........(ความขาดไป)......ชื่อตลาดผ้าเหลือง ๑ ถนนป่าโทนมีร้านขายทับโทนเรไรปีแก้วจังหน่อง เพลี้ยขลุ่ยแลหีบไม้อุโลกไม้ตะแบกไม้ขนุนใส่ผ้า แลช้างม้ากระดาษอู่เปลศาลพระภูมจะเวจเขียนเทวรูป เสื่อลำแพนปลาตะเพียนใบลานจิงโจ้ ชื่อตลาดป่าโทน ๑ ถนนย่านป่าขนม ชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขาย แลนั่งร้านขายขนมชะมดกงเกวียนสามเกลอหินฝนทอง ขนมกรุบขนมพิมพ์ถั่วขนมสำปะนีแลขนมแห้งต่างๆ ชื่อตลาดป่าขนม ๑ ถนนย่านป่าเตรียบมีร้านขายตะลุ่มมุก ตะลุ่มกระจก แลมุกแกมเบื้อตะลุมเขียนทอง ภานกำมะลอภานเลวภานหมากชื่อตลาดป่าเตรียบ ๑ ถนนย่านป่าถ่าน มีร้านตลาดของสรรพผลไม้ส้มกล้วยของสวนในแลสวนนอกต่างต่าง แลมีร้านฃายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดป่าถ่าน ๑

ตลาดน่าวัดพระมหาธาตุ มีร้านตลาดขายเสื่อตะนาวสี แลเสื่อแขก เครื่องอัฐมุรีขานเครื่องบวชนาค เครื่องทอกกระถิน คือฝาบาตรเชิงบาตร กราด ตาลิปัต ตะลุ่มโอ ชื่อตลาดบริขาน ๑ ถนนย่านป่าขันเงินมีร้าฃายขันฃายผอบตลับ ซิงเครื่องเงินแลถทยาดำ กำไลมือแลท้าวปิ่นซ่นปิ่นเขม กระจับปิ้งพริกเทศขุนเพ็ด สายสอิ้งสังวาลทองคำขี้รักแลสายลวด ชื่อตลาดขันเงิน ๑ ถนนย่านป่าทองมีร้านายทองคำเปลวคำเปลวเงินคำเปลวนาค มีของสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดตีทอง ๑ ถนนย่านป่าหญ้า มีร้านฃายเครื่องเทศเครื่องไทยสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา ๑

ที่เชิงตะภานชีกุนตระวันตก พวกแขกนั่งร้านฃายกำไลมือกำไลท้าวปิ่นปักผมแหวนหัวมะกล่ำ แหวนลูกแก้วลูกปัตเครื่องประดีบประดาล้วนแต่เครื่องทองเหลืองตะกั่วทั้งสิ้น ชื่อตลาดชีกุน ๑ ถนนย่านป่าชุมภูมีร้านฃายผ้าชุมภู คาตราตคตหนั่งไก่ย่นหนั่งไก่ไกเอ้งปักเถา ผ้าชุมภูเลวตีพิมพ์เลว ชื่อตลาดป่าชุมภู ๑ ถนนย่านป่าไหมกับย่านป่าเหล็กต่อกัน อยู่ข้างละฟากถนน ซีกหนึ่งมีร้านฃายไหมครุยฟั่นไหมเบญจพรรณ ไหมลาว ไหมเขมร ไหมโคราช ฟากถนนซีกหนึ่งมีร้านฃายมีดพร้า ขวานจอบเสียมพร้าโต้พร้าหวดศีศะตัด ตะปูตะปลิงบิดหล่าสว่าน เครื่องเหล็กมีคมต่างๆ แล้วมีร้านฃายฟูกเบาะเมาะหมอน มุ่งผ้ามุ้งป่านผ้าตาโถงผ้าไส้ปลาไหมผ้าฃาววา ชื่อตลาดป่าฟูก ๑

ย่านป่าผ้าเขียวหลังคุก มีร้านฃายเสื้อเขียวเสื้อขาวเสื้อแดงชมภู เสื้อยี่ปุ่นเสื้อจีบเอว เสื้อฉีกอกเสื้อสรวมศีศะ กังเกงสีต่างๆ ล่วมสักลาดล่วมแพรล่วมผ้าลายใช้ในราชการใส่หมากกินแต่ผู้ชาย ถุงหมากสักลาดลายปักทองประดับกระจก ถุงหมากเลวด้วย มีถุงยาสูปปักทองประดับกระจก ถุงยาสูปเลวซองพลูศรีต่างๆ แล้วลูกค้าที่นั้น รับเอาผ้าแขกจามวัดแก้วฟ้า วัดลอดช่อง มาใส่ร้านวางขายในตลาด ชื่อตลาดถุงหมากก็เรียก ตลาดป่าผ้าเขียวก็เรียก เปนสองอย่าง เปนตลาด ๑

ถนนย่านตะแลงแกงมีร้านฃายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดน่าคุก ๑ ถนนย่านน่าศาลพระกาฬมีร้านชำฃายศีศะในโครงในที่ปั่นฝ้ายชื่อตลาดศาลพระกาฬ ๑ ถนนย่านบ้านช่างทำเงิน มีร้านชำฃายหีบฝ้าย น้ำรักสิลาปากนกสำหรับตีไฟ มีร้านฃายของสดเช้าเยนน่าพระคลังสินค้า ชื่อตลาดข้างต้นหัวถนน น่าตลาดบ้านช่างเงิน ปลายตลาดชื่อว่าตลาดคลังสินค้า แต่ว่าเปนตลาดอันเดียวกัน ๑ ถนนย่านป่าดินสอริมวัดพระงาม มีร้านฃายดินสอศิลาอ่อนแก่แลดินสอฃาวเหลื่องดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ ๑ ถนนย่านบ้านแห มีร้านฃายแหแลเปลป่านด้ายตะกอแลลวด มีตลาดฃายของสดเช้าเยนอยู่ในบ้านแขกใหญ่ ใกล้วัดอำแมชื่อตลาดจีน ๑ ถนนย่านบ้านพราหมณ์น่าวัดช้าง มีตลาดต้นฃายกะบุงตะกร้ากะโล่ครุเชือกเสื่อลวดเครื่องสารครบ ชื่อตลาดบ้านพราหมณ์ ๑

ถนนย่านชีกุนมีร้านฃายดอกไม้เพลิงต่างต่าง ฃายสุราเข้มสุรากะแช่ ที่ศาลาริมเสาชิงช้ามีร้านตลาดฃายของสดเช้าเยนเปนตลาดใหญ่ ชื่อตลาดเสาชิงช้าน่าโบดพราหมณ์เก่าตลาด ๑ ถนนย่านบ้านกระชีมีช่างธรรมพระพุทธรูปทองเงินนาค แลหล่อด้วยหองเหลื่องทองสำฤทธิ ชื่อตลาดทำพระ ๑ ถนนย่านขนมจีนมีโรงจีนทำขนมเปียขนมโก๋เครื่องจังอับขนมจีนแห้งฃายเปนร้านชำชื่อตลาดขนมจีน ๑ ถนนย่านบ้านวัดน้อยประตูจีน ฃายเครื่องทองเหลื่องเคลือบแลปรอท ชื่อตลาดประตูจีน ๑

ถนนย่านในไก่เชิงตะภานประตูจีนไปถึงเชิงตะภานประตูในไก่ เปนตลาดใหญ่ มีตึกกว้านร้านจีนตั้งตึกทั้งสองฟากถนนหลวง จีนไทยนั่งร้านฃายของสรรพสิ่งของ เครื่องสำเภาเครื่องทองเหลื่องทองขาว กระเบื้องถ้วยโถชามแพรสีต่างอย่างจีน แลไหมศรีต่างๆ เครื่องมือเหลกแลสรรพเครื่องมาแต่เมืองจีนมีครบ มีของรัปทานเปนอาหารแลผลไม้มาแต่เมืองจีนวางรายในร้านฃายที่ท้องตลาด มีฃองสดฃายเช้าเยนสุกรเปดไก่ ปลาทเลแลปลาน้ำจืดปูหอยต่างๆ หลายอย่างพันเป็นตลาดใหญ่ยิ่งยวดในกรุง ชื่อตลาดใหญ่ท้ายพระนครอยู่ย่านในไก่ ๑

ถนนย่านสามม้าตั้งแต่เชิงตะภานในไก่กระวันออกไป จดถึงหัวมุมพระนครที่ชื่อตำบลหัวสาระภานั้น จีนตั้งโรงทำเครื่องจังอับแลขนมแห้งจีนต่างต่างหลายชนิดหลายอย่าง แลช่างจีนทำโต๊ะเตียงตู้เก้าอี้น้อยใหญ่ต่างต่างฃายต่อไป ช่างจีนทำถังไม้ใส่ปลอกไม้แลปลอกเหล็ก ถังใหญ่น้อยหลายชนิดฃาย ชาวพระนครรับซื้อไปใช้ต่างนางเลิ้ง แลทำสรรพเครื่องเหล็กต่างต่างฃาย แลรับจ้างตีเหล็กรูปพรรณ์ตามใจเชาเมืองมาจ้าง แลมีตลาดฃายของสดเช้าเย็น ในท้ายตลาดตั้งแต่หัวโรงเหลกต่อไป จนถึงประตูช่องกุตท่าเรือจ้างฃ้ามไปวัดเจ้าพระนางเชิง ชื่อตลาดน้อยอยู่ในย่านบ้านสามม้า ตลาดน้อยนี้ต่อเนื่องกับตลาดใหญ่ในย่านในไก่ เปนตลาดจีนชื่อตลาดน้อย ๑

ถนนย่านป่าทุ่งวัดโควัดกระบือต่อกัน แต่ก่อนโบราณมีพวกมอญแลพม่าแขก ฆ่าเปดไก่ฃายในตลาดชุกชุม ครั้นสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่หัวบรมโกษเสดจเถลิงถวัลราชสมบัติ ปราบดาภิเศกเปนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๓๒ ในกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แก่สัตวโลกยที่ถึงที่ตายให้จำเปนดำรัสสั่งให้ตั้งพิกัด ห้ามปรามมิให้ฆ่าเปดไก่ฃายแก่ฝ่ายคนที่นับถือพุทธสาศนา แต่พวกมิจฉาทิฏฐิจะฆ่าก็ตามยะถากำมแห่งสัตว ตลาดนี้ชื่อตลาดวัดงัวควาย ๑ ถนนย่านประตูเจ้าจันทนมีตลาดฃายของสดเช้าเยนชื่อตลาดเจ้าจันทน ๑ ย่านหอรัตนไชยมีฃองสดฃายเช้าเยนชื่อตลาดหอรัตนไชย ๑ ย่านโรงเกรียงท้ายหอรัตนไชย จีนทำโต๊ะเตียงเก้าอี้ถักหวายฃาย ชื่อตลาดย่านเตรียง ๑

ย่านถนนวัดฝางใกล้พระราชวังจันทนบวรฯ มีร้านโรงทำหัวในโครงในหีบฝ้ายฃาย มีฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดย่านวัดฝาง ๑ ถนนย่านประตูดินพระราชวังจันทนบวรฯ นั้นมีฃองสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดประตูดินวังน่า ๑ ถนนย่านประตูท่าช้างพระราชวังจันทนบวรฯ มีของสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดท่าช้างวังน่า ถนนย่านวัดซรองมีร้านฃายของสดเช้าเยน ชื่อตลาดวัดซรอง ๑ ย่านท่าทรายมีร้านชำฃายผ้าสมผักเชิงปูม ผ้าไหมผ้าลายกรุษราชยำมะหวาด สมปักเชิงสมปักล่องจวนสมปักริ้ว แลผ้ากราบใหญ่น้อย เมือฃ้าราชการหาย ไม่ทันจะหามาเปลี่ยน ก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า แลมีของสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดขุนนาง ๑

ย่านถนนเชิงตะภานช้าง ด้านตระวันออกมีร้านฃายของสดเช้าเยนที่น่าวัดคลอง ชื่อตลาดฃ้างวัดคลอง ๑ ย่านเชิงตะภานช้างด้านตระวันตก มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดเชิงตะภานช้าง ๑ มาย่านหลังวัดนกน่าวัดโพง มีร้านชำไทยมอญฃายขันถาดภานน้อยใหญ่ เครื่องทองเหลืองครบ มีฃองสดฃายเช้าเยน ชื่อตลาดมอญ ๑ น่าวัดพระมหาธาตุมีศาลาห้าห้องมีแม่ค้า มานั่งคอยซื้อมีดพร้าฃวานชำรุดแลเหลกเลกน้อยด้วย มีจีนนั่งต่อศาลานั้นไปเปนแถวคอยเอาเข้าพองตังเมมาแลกของต่างๆ ในที่น่าวัดพระมหาธาตุเปนตลาด ชื่อตลาดแลกน่าวัด ๑ ย่านสาระภากรในแลนอกมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดเจ้าพรม ๑


.......................................................................................................................................................



Create Date : 10 สิงหาคม 2550
Last Update : 10 สิงหาคม 2550 13:29:45 น. 15 comments
Counter : 3848 Pageviews.  
 
 
 
 
(ต่อ)

ถนนย่านป่าสมุดแต่วัดพระรามมาจึงถึงศาลเจ้าหลักเมือง มาถึงน่าวัดหลาววัดป่าฝ้าย มีร้านชำขายสมุดกระดาษฃาวดำ ชื่อตลาดป่าสมุด ๑ ริมคลองหลังวัดระฆังมีตลาดฃายฃองสดเช้าเยน เรียกตลาดหลังวัดระฆัง ๑ ถนนย่านตะภานลำเหย ด้านตระวันออกมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดเชิงตลาดลำเหย ๑ ที่ปากคลองท่อทิศตระวันตกน่าวัดบวรโพธิริมกำแพงโรงไหม มาจนถึงบ้านชาวแตร มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดยอด ๑ ถนนย่านประตูห่านมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดประตูห่าน ๑ ถัดย่านตลาดยอดไปนั้น มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวเลี้ยว ๑ ถนนน่าประตูสัตกป มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดสัตกป ๑ ริมคลองฟากหนึ่งมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดเลม ๑ น่าวัดสิงห์มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดสิงห์ ๑ น่าวัดเกษฃ้างฉางมหาไชยมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวฉาง ๑

ย่านถนนบ้านลาวมีร้านฃายฃองฃองสรรพดอกไม้สด ชื่อตลาดดอกไม้ ๑ ถนนย่านป่าเหลกวัดป่าฝ้าย มีร้านฃายฃองสรรพเครื่องเหลกมีดพร้า มีร้านฃายฃองสดเช้าเยนชื่อตลาดหัวถนน ๑ ถนนย่านวังไชย มีช่างทำขันทองเหลืองใหญ่น้อย มีร้านฃยฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดวังไชย ๑ ถนนย่านฉะไกรใหญ่ซื้อไม้ไผ่มาทำเปนฝาเรือนหอฃาย แลมีร้านฃายผ้าลายสุรัศผ้าขาวแลผ้าฉลาง มีร้านฃายฃองเช้าเยน ชื่อตลาดผ้าลาย ๑ ถนนย่านป่าพัดทำพัดใบโตนดคันกลมแลคันแบนใหญ่น้อยฃาย แลมีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดบ้านพัด ๑ ถนนเชิงตะพานขุนโลกน่าวัดแก้ฟ้า มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดขุนโลก ๑ ที่ถนนเชิงตะพานแก้วหัวไผ่ มีร้านฃายฃองสดเช้าเยน ชื่อตลาดหัวไผ่ตะพานแก้ว ๑ รวมตลาดร้านชำยี่สิบเอดตำบล ตลาดของสดฃายเช้าเยนสี่สิบตำบล รวมเข้ากันทั้งสิ้นเปนตลาด ๖๑ ตำบล แต่ในจังหวัดกำแพงพระนครนั้นมีตลาดหกสิบเอกตลาด ๑

ว่าด้วยพระคลังโรงช้างโรงม้าคุกหอกลอง
ซึ่งมีอยู่ในกำแพงกรุงศรีอยุทธยาดังนี้


อนึ่งในกรุงศรีอยุทธยามีโรงช้างพลายพัง ซึ่งขึ้นรวางมีชื่อนั้นอยู่ในโรงโดยเรียบร้อยปรกติ โรงช้างพลายมีผนังก่อด้วยอิฐหลังคามุ่งกระเบื้องลูกฟูก มีฉ้อฟ้าหางหงษทาแดงทุกโรง ช้างพลายยืนในโรงฉ้อฟ้าโรงละตัว โรงช้างพลายตั้งข้างฃวามือแต่หัวถนนน่าวังตรงไป เปนระยะห่างถนนโรงหนึ่ง ไปจนหัวเลี้ยวถนนป่ามะพร้าว โรงช้างพังตั้งซ้ายมือเปนโรงเถวโรงละ ๑๕ ห้อง ช้างพังยืนห้องละช้าง ตั้งแต่หัวถนนป่าตกั่วไปจนช่องตะพานช้าง รวมช้างพลาย ๓๐ โรง ช้างพัง ๕๐ ห้อง รวมช้างพลายช้างพัง ๘๐ ตัว

โรงม้าต้นซ้ายขวา ตั้งตามถนนนอกกำแพงท้องสนามน่าจักรวัติ ตึงโรงม้าต้นฃวาตั้งแต่หัวถนนตลาดเจ้าพรมฃวามือศาลพระบัญชนสิงห์ ไปโดยยาว ๒๐ ห้อง ใส่ม้าห้องละตัว น่าตึกโรงม้าทีเกยแลศาลเพียงตา สำหรับบวงสรวงเทพารักษ์ แต่โรงม้าแซงห้องนั้นต่อไปอิก ๕ แถว ๓๐ ห้อง ใส่ม้าห้องละม้า จนถึงกำแพงวัดพระราม อต่ตึกโรงม้าต้นซ้ายตั้งแต่หัวถนนตลาดเจ้าพรมซ้ายมือไปหลังศาลสุภาไชยแพ่งกระเษมโดยยาว ๒๐ ห้อง ใส่ห้องละม้า น่าตึกโรงม้าต้นซ้ายมีเกยเหมือนกัน แลโรงม้าแซรงในต่อไปอิกสามโรง จนถึงกำแพงวัดธรรมิกราชใส่ม้าห้องละสามสิบม้า โรงม้าใช้ห้าสิบห้องใส่ห้องละม้า ๕๐ ห้อง ม้า ๕๐ ม้าด้วยกัน โรงม้าใช้โรงตั้งแต่มุมกำแพงวัดธรรมิกราช ตรงไปจนใกล้ประตูจักรหิมาโรงม้าแซรงนอก ตั้งแต่ริมถนนตะแลงแกงซ้ายโรง ๑ ขวานั้นตั้งแต่หัวถนนป่าผ้าเขียวหลังคุก ถึงป่าตองโรง ๑ ขวาโรงละ ๓๐ ห้อง ซ้ายโรง ๓๐ ห้อง ใส่ม้าห้องละม้าเหมือนกัน

พระคลังในอยู่ริมพระราชวังสระแก้ว ๑ พระคลังราชการอยู่ริมถนนวัดน่าป่าฝ้าย ๑ พระคลังสินค้าอยู่ริมป่าตอง ๑ พระคลังใส่เครื่องม้าศึกอยู่ริมกำแพงวัดธรรมิกราช พระคลังสาระพากรในแลนอกอยู่ริมถนนเจ้าพรม ๑ พระคลังแสงสรรพายุทธอยู่ริมคลองนครบาล ๑ ตรงวัดเชียงสองพระคลังทั้งแสงนอกด้วย ๑ พระคลังตึกใส่ลูกปืนดินประสิวอยู่น่าวัดจันทนหลังวัดสังกะปัถ ๑ ตึกพระคลังสำหรับไว้เชือกบาศช้างและชนักช้าง อยู่ริมวัดยานุเสนทร ๑ ถ้าถึงปีใหม่มีโขนลคอน หนัง ช่องระธา สมโภชทุกปีมิได้ขาด

อนึ่งมีคุกสำรับขังคนนักโทษโจรผู้ร้ายปล้นสดมมีแปดคุก มีตรางน่าคุกสำหรับใส่บุตรภรรยาอ้ายผู้ร้ายมีทุกน่าคุก ซึ่งนักโทษเบาเปนแต่โทษเบจเสรจใส่โซร่คอเปนพวงหนึ่ง ๑๐ คน ใช้ทำราชการพระนครทุกแห่ง ถ้านักโทษหนักใส่โซร่คอพวงละ ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ต่อวันพระ ๕ ค่ำ แปดค่ำ ๑๑ ค่ำ สิบห้าค่ำ จึ่งจ่ายให้ออกไปฃอทานกินตามตลาดทุกวันพระเดือนสิบครั้ง(สี่ครั้ง?) บุตรภรรยาอ้ายผู้ร้ายนั้นใส่ตรวนสองชั้น แล้วเอาเชือกผูกบั้นเอว ร้อยต่อกันออกใช้การ

อนึ่งที่ถนนตะแลงแกงมีหอกลอง มียอดซุ้มทาแดง หอกลองนั้นทำเปนสามชั้นสูงสามสิบวา แต่ชั้นยอดนั้นคอยดูฃ้าศึกมาจึ่งตีกลองๆ ชื่อมหาฤกษ กลองชั้นกลางสำหรับตีด้วยเมื่อเพลิงไหม้ชื่อพระมหาระงับดับเพลิง ถ้าเพลิงไหม้ฟากแม่น้ำนอกกรุงคาดกลองสามที ถ้าเพลิงไหม้เชิงกำแพงและในพระนครคาดกลองเสมอกว่าเพลิงจะดับ ชั้นต้นใส่กลองใหญ่สำหรับตีย่ำสันนิบาต เวลาตะวันยอแสงพลบค่ำตามประเพณีกรุงศรีอยุทธยา กลองชั้นต้นชื่อพระทิวาราตรี เจ้าพนักงานกรมพระนครบาลได้พิทักรักษากลองทั้งสามชั้น ผู้รักษาต้องเลี้ยงวิฬาป้องกันมิให้มุสิกะกัดกลอง เวลาเช้าเยนกรมพระนครบาลเกบเบี้ยตามร้านตลาดน่าคุก แต่ในจำหล่อไปจนหอกลอง เอาร้านละ ๕ เบี้ย สำหรับซื้อปลาย่างให้วิฬากิน อนึ่งน่าหับเผยนั้นมีกองตระเวนรักษาเหตุการพระนครแลคุก ด้วยมีผู้กำกับกวดขัน อนึ่งคุกสำหรับใส่คนทำการสำเภาแลเรือรบต่างๆ แลขุดอู่นอกกำแพงพระนครเปนอู่สำเภา ส่งพระราชสาสนจิมก้องกรุงปักกิ่งทุกปี พวกนักโทษฝากระดานหลังเจียด พื้นฝาทาแดงเฃียนลายทองทรงเฃ้าบินเทพพนมพรหมภักตร เปนพระตำหนักฝ่ายในหลัง ๑ แล้วมีพระตำหนักใหญ่ห้าห้องฝาทาแดงเปล่าเรียงต่อกันมาเปนพระตำหนักสำหรับประทมเพลิงอยู่ริมประตูต้นส้มโอหลัง ๑ อยู่ฝ่ายใน

แลฝ่ายทิศใต้พระที่นั่งสุริยาสมรินทรมหาปราสาทนั้น มีพระตำหนักตึกหลังน้อย ไว้พระรูปสมเดจพระนเรศวรเปนเจ้า กับเครื่องพระแสงต้นด้วย ฝาปิดทองหลังคามีฉ้อฟ้าหางหงษ มีเกยอยู่น่ามุขพระตำหนักนั้น พระที่นั่งวิหารสมเดจมหาปราสาทมียอกปรางห้ายอดหลังคามุงดีบุกยอดหุ้มดีบุกปิดทอง เปนปราสาทสำคัญในพระนคร เปนที่บุษยาภิเศกพระมหากษัตรแต่ก่อนมา มีมุขโถงยาวออกมาจากองค์ ที่มุขโถงนั้นมียอดมณฑปต่างหากจากองค์ปราสาทใหญ่ ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปตามแว่นฟ้าเปนพระที่นั่งตั้งในมุขโถง ต่อน่าพระที่นั่งวิหารสมเดจมหาปราสาทออกมามีทิมดาบคตซ้ายฃวามีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมรอบพระมหาปราสาท ซึ่งชานชาลาพระมหาปราสาทนั้นปูศิลาอ่อน มีเสาโคมทำด้วยศิลาจีนตั้งอยู่ ๘ ทิศ มีสิงหสิลาแลรูปภาพจีนตั้งเรียงรายไปตามชานชาลาพระมหาปราสาท

พระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทมียอดซุ้มมณฑปนพสูญเก้ายอด มีมุขสั้นสองด้าน มีมุขยาวสองด้าน มีมุขโถงออกมาจากปราสาทใหญ่มุมนั้น ไม่มียอด มีแต่หลังคาศร(ซ้อน)สามชั้น น่าบัณประเจิดมีเสาครีพสิงหเทพพนม มีนารายน์ยืนย้อยลงมาตามน่าบัณ ในมุขโถงนั้นมีพระแท่นมณฑปบุษบกทองคำตั้งในมุขโถง เปนที่เสดจออกทรงพระราชปราไสยแก่แขกเมืองต่างประเทศถวายบังคมน่ามุขโถง ในกลางพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทนั้น มีพระแท่นปัญญงคกาญจนเนาวรัตน์สามชั้นรูปอย่างพระเบญจา ไม่มีมณฑปมีพระมหาเสวตฉัตรปักที่หลังแท่นปัญญงค ๆ นั้นทำด้วยทองคำนพคุณคุณน้ำเก้า ประดับเพชระแลพลอยต่างๆ มีค่า สูงสามศอก ทองคำหุ้มหนักถึงเก้าสิบชั่งลงยาราชาวะดีประดับเนาวรัตนพร้อมทุกศี บนพื้นพระแม่นปัญญงคทองคำนั้นปูหนังราชสีห์ ซึ่งมีมาแต่โบราณนั้น เปนที่เสดจขึ้นนั่งออกรับแขกเมืองบ้าง ออกรับเจ้าประเทศราชบ้าง ออกขุนนางเมื่อวันราชาภิเศกบ้าง มีเครื่องสูงปักรอบพระแท่นปัญญงค น่าพระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทนั้น มีทิมดาบคดซ้ายฃวา บนชานชาลานั้นมีกำแพงแก้วสูงสองศอกล้อมรอบพระมหาปราสาท มีประตูหูช้างเล็กๆ แปดประตูอยู่ตามกำแพงแก้ว ล้อมพระมหาปราสาท

หว่างพระมหาปราสาทสรรเพชรแลวิหารสมเดจนั้น มีถนนแลประตูออกน่าพระมหาปราสาท สำหรับแห่พระเจ้าลูกยาเธอออกไปโสกันต์แลลงสรง ชื่อประตูพิมานมงคลศาลาลวด ๑ ในท้องสนามน่าพระมหาปราสาททั้งสองนั้น มีโรงคชาธารสี่โรง มีซุ้มยอดทั้งสี่โรง มีโรงม้าพระที่นั่งเปนโรงม้าเทศ โรงหนึ่งสี่ห้องไว้ห้องละม้า ท้ายโรงม้าเทศมีพระคลังเครื่องท้าต้นสำหรับยืนให้แขกเมืองดูพระคลังหนึ่ง ต่อนั้นไปมีพระคลังมหาสมบัติไว้เงินพระราชทรัพย์แผ่นดิน มีโรงช่างทำรูปเงินตราอยู่ในกำแพงล้อมพระมหาสมบัติ มีกำแพงคั่นท้องสนามน่าพระลานทิศเหนือ แลมีประตูซุ้มยอดสำหรับแห่พระเจ้าลูกเธอในพระราชพิธีลงสรง จึ่งเปิด ชื่อประตูไชยมงคลไตรภพชยนต์ ๑ มีประตูช่องกุตโคหาออกไปประตูเสาธงไชย ชื่อประตูช่องกุตโคหา ๑ มีกำแพงคั่นน่าสนามน่าพระที่นั่งสุริยามะรินทร์มหาปราสาท แล้วมีประตูที่กำแพงคั่นนั้นประตูไพชยนต์ทะวาร ๑ มีทิมดาบชาววังอยู่ซ้ายฃวา ทิมดาบตำรวจในอยู่ข้างซ้าย นอกประตูไพชยนต์ทะวารนี้มีโรงพระโอสถ ๑ มีโรงพระราชยานหมู่พนักงานกันเจียกอยู่โรง ๑ มีโรงพรมเสื่อพวกสนมรักษาโรง ๑ มีโรงจีนช่าง(สะนะ)สำหรับเย็บเสื้อผ้าโรง ๑ มีโรงช่างสะนะไทสำหรับเย็บม่านแลผ้าต่างๆ โรง ๑ มีโรงช้างเผือกพังมีซุ้มยอดโรง ๑ มีกำแพงคั่นสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ไปลงพระคลังมหาสมบัติ

ถึงมุมกำแพงพระคลังวิเศศ มีประตูเข้าไปสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ ชื่อประตูสวรรภิรมย์ ๑ มีหอพระมณเฑียรธรรมอยู่กลางสระ ๑ มีโรงช่างทำเงินบาทเงินสลึงเงินเฟื้อง อยู่ที่ปากสระมีพระคลังสุพรัตไว้สะบงจีวรผ้าไตร ๑ มีพระคลุงพิมานอากาษไว้กระจกเทศพรมเทศเครื่องแก้วมาแต่เทศกาหลาป๋า ๑ มีหอพระเทพบิดรสำหรับให้พระบรมวงษานุวงษ แลข้าทูลอองธุลีพระบาทฝ่ายน่าฝ่ายใน ถือภานพระขันหมากแลดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปถวายบังคมพระบรมรูปพระเจ้าอู่ทองในหอพระเชษฐอุดรก่อน แล้วจึงได้เข้าไปถือน้ำพระพิพัฒสัจจาในวัดพระศรีสรรเพชร มีกำแพงคั่นริมหอพระเทพบิดร ล้อมสวนไพชยนต์เบญจรัตน์

มีประตูออกถนนหว่างกำแพงล้อมพระตำหนักตึกวัดชื่อประตูสวรรคไพชยนต์รัตน์ ๑ ถนนนี้มีประตูออกไปท้องสนามน่าจักรวัติริมโรงปืนใหญ่ชื่อประขาวกวาดวัด ชื่อประตูภิรมยเจษฎา ๑ ถนนนี้มีประตูชื่อสุนทรภูสิตเข้าไปพระคลังวิเศศ ๑ ประตูจะออกจากกำแพงพระคลังวิเศศมาออกถนนวัดพระศรีสรรเพชรนั้น ชื่อประตู อุดมพัตรา ๑ ถนนนี้มีถนนเลี้ยวเข้าพระตำหนักตึกน่าจักรวัติ มีประตูเข้าไปพระตำหนักตึกชื่อประตูภิรมยธารา ๑ แล้วมาถึงประตูหูช้างริมกำแพงวัดพระศรีสรรเพชรเข้าไปพระคลังแสงใส่เครื่องมือช่างครบชื่อประตูช้าง ๑ ท้ายจะระนำพระที่นั่งวิหารสมเดจ แลพระที่นั่งสรรเพชรทั้งสององคนั้น มีพระฉนวนมีฝาผนังกว้างสิบศอกเปนโคหาตลอดน่าหลังพระฉนวน มีประตูฉนวนสำหรับเสดจออกประตูภพชลทวารอุทก ลงเรือพระที่นั่งน่าพระขนานน้ำประจำท่าวาศุกรี ชื่อประตูโคหาภพชน ๑ มีสิงหสองตัวอยู่ที่เชิงอัฒจันทน ประตูสิงห์นี้ยายแอ่นรักษา

ประตูท้ายพระฉนวนสำหรับเสด็จออกไปวัดพระศรีสรรเพชร ชื่อประตูสวรรคโคหา ๑ ประตูนี้ยามยมรักษา ๑ ประตูข้างพระฉนวนมาถนนต้นดอกเหลก ถนนนี้ผู้หญิงชาวท่าทรายแลบ้านท่าแขกมานั่งร้านฃายผ้าต่างๆ ถนนนี้ตรงมาประตูพระสุเมรุ ตรงมาประตูตะพานแพะฯ ตรงเข้ามาประตูพระฉนวนลงท้องสระฯ ตรงมาน่าพระที่นั่งบัญญงครัตนาศน์มหาปราสาท ยอดมณฑปนพสูญยอดเดียวมีมุขโถงออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน เปนพระที่นั่งอยู่ในสระน้ำล้อมรอบ เปนที่ทรงประพาศได้รอบทั้งสี่ทิศ ตรงน่าพระที่นั่งบัญญงครัตนาศน์นั้นมาออกประตูจักรพัติผัน ยายมิ่งรักษาเปนนายประตู นางจ่าโขลนกำนันกำกับรักษาฝ่ายใน กรมวังรักษาทั้งนอกใน

ท้ายสระนั้นมีโรงพระโอสถอยู่น่าประตูสวนองุ่น ๑ มีพระตำหนักสองห้องสำหรับมีราชกิจ ให้ราชาคณะอาจารย์เข้าไปอยู่จำวัด ๑ มีทิมสงฆ์ห้าห้องสำหรับพระสงฆ์พักคอยสดัปกรณบ้าง สวดพระพุทธมนต์บ้าง ๑ มีทิมดาบมหาดเลกอยู่นอกเวร ๑ มีห้องเครื่องสำหรับมหาดเลกรักษา ๑ มีพระตำหนักสำหรับกรมพระราชวังน่าด้วย มีโรงนาฬิกาประโคมยาม ๑ มีโรงเครื่องต้น ๑ มีโรงเครื่องม้าต้น ๑ มีโรงพระแสงเครื่องต้น ๑ มีโรงช่างทำมุกอยู่ที่น่าพระที่นั่งทรงปืน ๑ มีหออาลักษอยู่ริมกำแพงสวนกระต่าย ๑ มีพระตำหนักห้าห้อง ฝาเขียนทองพื้นลงรักอยู่ในกลางสวนกระต่าย ๑

มีประตูเข้าไปพระตำหนักใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ ๑ พระตำหนักนี้เปนที่ประทับของสมเดจพระพรรวษาใหญ่ ซึ่งเปนพระราชเทวีสมเดจพระนาราน์แต่ก่อนมา ครั้นภายหลังมาเปนพระคลังฝ่ายใน ท่านท้าวทรงกันดารรักษา มีกำแพงล้อมมีประตูชื่อสวรรคภิรมย์ ออกไปท้องสนามจันทน์ เลี้ยวท้องสนามจันทน์มาถนนริมกำแพงล้อมตึกห้าห้อง สำหรับนางพนักงานวิเสศต้นแต่งเครื่องพระสุพรรณภาชนะหุงพระกระยาเสวยเครื่องต้น ถนนนี้เลี้ยวไปหัวสิงหน่าพระฉนวนใหญ่ มีกำแพงคั่นแลมีประตูซุ้มชื่อประตูอุดมนารี ออกไปตลาดฃายฃองสดเช้าเยน ตรงประตูดินเข้ามาเปนลานปลาใหญ่มีท่อไขน้ำฝนให้ไหล ออกไปพ้นชลาปากท่อลงแม่น้ำใหญ่ใต้ประตูดินมีพนักงานชาวท่อรักษาที่ศาลาปากท่อประจำ

อนึ่งพระที่นั่งบัญญงครัตนาศนมหาปราสาทนั้น เปนยอดมณฑปยอดเดียว มีมุขโถง ยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด่าน มุขโถงทั้งสี่ทิศนั้น มีพระแท่นแว่นฟ้าบุษบกตั้งในมุขโถงทั้งสี่มีเกย น่ามุขโถงมีบันไดนาคราชข้างเกยทั้งสี่เกย มีกำแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาท แล้วมีสระล้อมรอบกำแพงแก้วชาลาพระมหาปราสาททั้งสี่ด้าน สระกว้างด้านละ ๖ วา ในสระระหว่างมุขโถงมุมพระมหาปราสาท ด้านเหนือนั้นมีพระตำหนักปลูกปักเสาลงในสระด้านเหนือหลังหนึ่งห้าห้อง ฝากระดานเฃียนลายรดน้ำทองคำเปลวพื้นทารัก มีฉ้อฟ้าหางหงษมุขซ้อนสองชั้น มีบัณชรลูกกรงเหลก ระเบียงชานเฉลียงรอบนั้นมีลูกมะหวดกลึงล้อมรอบ มีตะพานลูกกรงค่ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระตำหนักๆ นี้เปนที่มีเทศนาพระมหาชาติคำหลวงทุกปีมิได้ขาด

ในสระหว่างมุขโถงด้านใต้นั้น ปลูกพระที่นั่งปรายเข้าตอกหลังหนึ่ง เสาลงในสระหลังคามีฉ้อฟ้าหางหงษมุขซ้อนสองชั้น ฝาไม่มีมีแต่ลูกกรงมะหวดรอบพระเฉลียง เสารายทารักเฃียนทองคำเปลวลายทรงเข้าบิณฑ์ มีกาพพรหมศรกริมวินต้นเสาปลายเสา มีตะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระที่นั่งปรายเข้าตอก พระที่นั่งปรายเข้าตอกนี้ สำหรับเสด็จทรงประทับโปรยเข้าตอกพระราชทานปลาห้าคนแลปลากะโห้ ปลาตะเพียนทองแลปลาต่างๆ ในท้องสระ

ในระหว่างมุขมุขโถงด้านตระวันออกนั้น ปลูกเปนพระที่นั่งทอดพระเนตรดาว เสาลงในท้องสระ ไม่มีหลังคามีแต่พื้นแลลูกมะหวดรอบ มีตะพานข้ามสระออกมาจากมุมมาพระมหาปราสาท ถึงพระนั่งทรงดาวๆ นี้สำหรับทอดพระเนตรดาว แลทอดพระเนตรสุริยุปราคาแลจันทรุปราคา ชีพ่อพราหมณทำพิธีถวายน้ำกรดน้ำสังข์ในวันสูริย-จันทรเมื่อโมกขบริสุทธิบนพระที่นั่งทรงดาวทุกคราวไป

ในระหว่างมุขมุขโถงด้านตระวันตกนั้น ปลูกเปนตะพานพระฉนวน มีหลังคาร่มตะพานข้ามออกมาจากพระมหาปราสาท เสาตะพานพระฉนวนนั้น ระยะห่างๆ แต่พอเรือน้อยพายลอดได้ใต้ตะพานๆ ข้ามมาขอบสระถึงพระที่นั่งทรงปืน เปนตึกใหญ่มีฉ้อฟ้าหางหงษมีมุขศร(ซ้อน) เปนท้องพระโรงสำหรับเสดจออกว่าราชการแผ่นดิน พระราชวงษาแลข้าทูลลอองธุลีพระบาทเข้าเฝ้าพระกรุณา ในพระที่นั่งทรงปืนทรงสระ ขอบสระนั้นมีกำแพงแก้วสูง ๖ ศอก ล้อมรอบสระมีประตูสี่ด้านสระ ในกำแพงแก้วขอบสระข้างใน มีถนนเดินได้รอบสระ บนกำแพงแก้วรอบสระมีซุ้มโคมห่างคืบหนึ่งรอบกำแพงสระเป็นซุ้มโคมพันหนึ่ง สำหรับตามไฟในการพิธีวิสาขะบูชากลางเดือนหก ในท้องสระนั้นน้ำใสสอาดไหลเข้าออกได้ ไม่เน่าเหมนเปนที่น่าชมเชย

อนึ่งพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปห้ายอด มีมุขศรสี่ชั้นเสมอกันทั้งสี่ด้าน มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่มุขยาวทั้งสี่ด้านนั้น น่ามุขทั้งสี่ด้านเปนจตุรมุขมียอดมณฑปทุกมุขเปนสี่ยอด แต่พื้นมุขทั้งสี่ด้านต่ำเปนท้องพระโรงทั้งสี่ด้าน สำหรับเสดจออกว่าราชการตามระดูทั้งสามระดูสามมุข แต่มุขด้านหลังเป็นมุขฝ่ายในสำหรับเสดจออกว่าราชการฝ่ายใน ฝ่ายพระมหาปราสาทแลฝามุขใหญ่นั้นเปนผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเปนลายทรงเข้าบิณฑ์ ใต้พระบัณชรเปนรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเปนรูปพรหมภักตร์ทุกช่อง ถานปัตพระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเปนรูปครุธจับนาค ชั้นสามเปนรูปเทพนมถวายกร จึงถึงชั้นรูปสิงหรับพระบัญชร บางพระบัญชรจำลักเปนรูปเทพบุตรแลเทพธิดาเปนคู่กันกันทุกช่อง บานพระทวารเป็นรูปนายน์สิบปาง บานละปาง มีทิมคตล้อมรอบพระมหาปราสาท มีประตูด้น ๑ พระมหาปราสาทองค์นี้เปนที่ทรงพิภาคษาตราสินคดี แลกิจการพระนครสำคัญ เปนที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี

อนึ่ง พระที่นั่งจักรวัติไพชยนต์มหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปยอดเดียว ไม่มีปราลี มีมุขซ้อนสี่ด้าน แต่ด้านตระวันออกตระวันตกนั้นมีมุขสั้นซ้อนสองชั้น ด้านเหนือใต้มีมุขซ้อนสี่ชั้น เปนมุขยาวมาจดประตูเหนือใต้ ฝ่าไม่มีเปนปราสาทโถงอยูบนกำแพงพระราชวัง เปนปราสาทสมชั้นๆ ล่งสำหรับข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายน่าเฝ้า ชั้นกลางสำหรับข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายในภักดูแห่แลการมโหระศพ ชั้นบนสำหรับพระราชวงษานุวงษฝ่ายหน้าฝ่ายในเฝ้า แลดูกระบวนแห่ต่างๆ ในมุขยาวทั้งสองด้าน แต่ที่กลางจตุระมุขชั้นบนนั้น เปนที่ตั้งพระแท่นทรงประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่แลการมโหระศพแลยกทับพยุหยาตรา น่าพระมหาปราสาทนี้มีสนามใหญ่ยาวตลอดกำแพงพระพระราชวัง มีถนนใหญ่กว้าง ๖ วา น่าพระที่นั่งจักรวัดไพชยนต์มหาปราสาทที่เรียกว่าถนนน่าจักระวัติ แลสนามน่าจักระวัติหลังพระมหาปราสาทองค์นี้ เปนสนามในมีเป้าปืนแลถนนด้วย พระที่นั่งจักระวัติไพชยนต์มหาปราสาทองค์นี้ อยู่บนกำแพงพระราชวังด้านตระวันออก

อนึ่ง พระที่นั่งไพฑรูยมหาปราสาท ยอดปรางยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้น มุขเสมอกัน หามีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ไม่ องค์หนึ่ง พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทยอดมณฑปยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้นเป็นมุขใหญ่ แลมีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ด้านเหนือด้านใต้ ยาวมาจดกำแพงน่าทิมดาบคต แลมีมุขยาวออกมาจดมุขใหญ่ ด้านตระวันออกด้านตระวันตก แต่สั้นกว่ามุขด้านเหนือใต้ พระมหาปราสาททั้งสามองค์นี้อยู่ข้างทิศใต้พระราชวัง เปนพระมหาปราสาทเก่ามาแต่ก่อน ไม่ได้เสดจประทับอยู่ที่นั่น ทั้งสามองค์เป็นที่ไว้พระพุทธปฏิมากรซึ่งมีพุทธานุภาพเปนที่ทรงสะการะบุชา เปนพุทธมณเฑียรอยู่ภายในพระราชสฐาน ทรงนมัสการทุกค่ำเช้า แลเปนที่ทรงถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ประชุมใหญ่ในพระมหาปราสาททั้งสามนั้น เปนที่สำคัญในพระศาสนา เปนมหาพุทธมณเฑียรในพระราชสฐาน

ว่าด้วยที่ประทับนอกพระนคร

อนึ่ง พระมหาปราสาทนอกพระนครนั้นมี ๕ องค์ คือพระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท มียอดมณฑปยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้น มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่สองด้านเหมือนพระที่นั่งจักระวัติไพชยนต์บนกำแพงพระนคร พระที่นั่งคชประเวศนี้ไม่มีฝา เปนปราสาทโถงสูงสองชั้น ตั้งอยู่บนเชิงเทินพเนียดจับช้าง สำหรับทรงประทับทอดพระเนตรจับช้างเถื่อน แลช้างโขลงปกนำช้างเถื่อนเข้ามา มีปีกกาเสาระเนียดหลังพระปราสาทนี้ มีศาลาใหญ่สองหลังสำหรับข้าราชการชาวเครื่องภักถวายเครื่อง พระที่นั่งองค์นี้อยู่ทิศอิสาน (ณ) นอกพระนคร

พระที่นั่งไอสริยทิพยอาศนมหาปราสาท มียอกมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อนสี่ชั้น มีฝาสี่ด้าน มีมุขเด่นเปนมุขโถงออกมาจากมุขใหญ่ ฝ่ายทิศตระวันออกมีกำแพงแก้วล้อมรอบสูงห้าศอก มีสระใหญ่ยาวตามพระมหาปราสาท มีพระอุทยานเปนที่ระโหถานสำราญยิ่งนัก มีพระที่นั่งน้อยใหญ่หลายหลังเปนที่ประทับพระประเทียบ มีกำแพงเปนบริเวณพระราชวังที่ประพาศในเกาะบางปอิน เปนที่ประทับแรมสำราญพระราชหฤทัยในที่ตำบลบางปอินมาหลายแผ่นดิน บางทีในเดือนสิบเอดเดือนสิบสองเสดจทรงลอยพระประทีปที่เกาะบ้าง

อนึ่ง พระที่นั่งนครหลวงปราสาทมียอดปรางยอดเดียว แลมียอดมณฑปเรียงรายเปนหลายยอด เปนบริเวณพระที่นั่ง ในพระราชวังพระนครหลวง เปนที่ทรงประทับร้อนแลประทับแรมเมื่อเสดจพระราชดำเนินขึ้นไปถวายนมัศการพระพุทธบาท แลลางคราวในระดูแล้งก็เสดจขึ้นประทับในพระราชวังพระนครหลวง เปนการพระราชพิธียิงอัตนาในที่นั้นเนืองๆ ลางทีในเดือนสิบก็เสดจขึ้นไปประทับแรมในพระราชวังพระนครหลวง ทรงถวายเข้ายาคูแก่พระราชาคณะถานาปาเรียญติ์เจ้าอธิการ และทรงธรรม พระราชพิธีมัธุปายาศกวนเข้าทิพ ในพระมหาปราสาทพระที่นั่งพระนครหลวงเนืองๆ ในเดือนสิบนั้นเสดจพระราชดำเนินทางชลมารค เพราะทางเปนที่ทำนาของราษฎร ถ้าในเดือนสี่เสดจพระราชดำเนินทางสถลมารคด้วยแผ่นดินดีอุดม ไม่มีที่กีดขวางทางพระราชดำเนิน

ที่เมืองลพบุรีนั้นมีพระราชวังเปนที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแห่งหนึ่ง มีพระราชวังใหญ่โตระโหถานคล้ายพระราชสถานในกรุง แลที่พระราชวังเมืองลพบุรีนั้นมีพระมหาปราสาทสององค์ แลพระที่นั่งใหญ่น้อยไม่มียอดหลายองค์ พระมหาปราสาททั้งสององค์นั้นชื่อพระที่นั่งสุทไธยสวริย์มหาปราสาท ๑ พระที่นั่งดุสิตสวริยธัญมหาปราสาท ๑ ทั้งสององค์นี้เปนยอดมณฑปยอดเดียวมีมุขซ้อนสี่ชั้นมีฝาทั้งสี่ด้าน มีพระตำหนักใหญ่น้อยเปนอันมาก มีกำแพงล้อมพระราชวังด้วย มีหอคลังแลตึกกว้านร้านตลาดพร้อมทุกสิ่ง เปนพระราชนิเวศน์ทรงประทับในพระบาทสมเดจพระนารายน์มหาราชในระดูร้อนแลระดูหนาว หกเดือนเสมอเปนนิจ จนสิ้นแผ่นดินพระบาทสมเดจพระนารายณ์มหาราช แล้วภายหลังต่อมาก็เปนที่ประทับบ้าง เปนครั้งเปนคราวเนืองเนือง

ว่าด้วยพระราชวังน่า

อนึ่ง พระราชวังบวรสถานมงคล คือวังน่าเก่านั้น ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังหลวง วังน่าเก่านั้นเปนที่คับแคบ แล้วภายหลังมาจึงยกวังจันทน์เฉลิมขึ้นเปนพระราชวังบวรสฐานมงคล เปนพระราชสฐานที่ดำรงค์ของพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสฐานมงคลฝ่ายหน้า เสดจประทับอยู่ในพระราชวังจันทน์บวร ๆ ห่างจากพระราชวังหลวงทางห้าสิบเส้น พระราชวังจันทน์บวรตั้งอยู่ในทิศตระวันออกของกรุงศรีอยุทธยาใต้ทำนบรอ

ภายในพระราชวังจันทน์บวรนั้น มีพระที่นั่งปราสาทจัตุรมุข แต่ซุ้มยอดไม่มี มีพระที่นั่งต่างๆ หลายหลังมีฉ้อฟ้าหางหงษมุขศร(ซ้อน)แต่หัวยอดซุ้ม มิได้มีทุกหลัง มีตำหนักใหญ่น้อยฃ้างน่าฃ้างในมากมายหลายหลัง มีพระคลังต่างๆ ทุกพนักงานครบบริบูรณ์ มีโรรงปืนใหญ่น้อย แลโรงแสงสรรพาวุธ มีโรงช้างโรงม้าโรงรถ ช่างทำการต่างๆ แลศาลาพิภากษาตราสินถ้อยความต่างๆ ทุกกระทรวง มีศาลาใหญ่ไว้พักขุนนางเมื่อจะเข้าเฝ้า เรียกว่าศาลาลูกขุนวังน่า มีศาลาเวรมหาดไทย กระลาโหม กรมท่ากรมวังกรมนากรมเมือง แลศาลาทั้งหกนี้เปนที่ชำระความตามกรมทั้งหกนั้น ซึ่งมีคะดีพระราชวังน่า แลมีศาลาสารบาญชีฝ่ายในพระราชวังน่าทสัสดีมีคุกใส่นักโทษสองคุก มีท่าช้างแลท่าฉนวนน้ำประจำท่า มีศาลากระเวนตามมุมพระราชวังน่า มีโรงเรือพระที่นั่งแลโรงเรือกระบวนต่างๆ อยู่ตามวัดมองปุวัดปราสาท อนึ่ง ตึกดินปืนไม่มี โรงศักไม่มี เตาทำเงินไม่มี ภายในพระราชวังจันทน์บวรนั้นมีพระอารามหนึ่ง ชื่อวัดขุนแสนมีพระอุโบสถวิหารกานบุเรียญ แลพระมหาธาตุแลเจดียถานพร้อมบริบูรณ์ พระสงฆ์ไม่มีเพราะเปนวัดในวัง


.......................................................................................................................................................


คัดจาก คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง
จัดพิมพ์เผยแพร่โดย คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มกราคม ๒๕๓๔

 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:13:31:07 น.  

 
 
 
เยอะจังเลย ขอ copy ใส่ thump drive ไปอ่านนะคะ
 
 

โดย: mam (mamminnie ) วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:14:27:33 น.  

 
 
 
ด้วยความยินดีครับ
วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด

อ่านยากสักหน่อยนะครับ
เพราะรักษาอักขรวิธีเดิม เพื่อประโยชน์ในหลายๆ ด้านครับ

 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:15:18:09 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทยเรานะคะ ขอทยอยอ่านนะคะ ชอบประวัติศาสตร์มาก (เมื่อก่อนตอนเรียนน่ะเกลียดนัก)
 
 

โดย: shin chan (alei ) วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:16:34:27 น.  

 
 
 
ดีคับ รักเมืองไทยข้าวไว้
 
 

โดย: Deknoii101 วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:17:37:28 น.  

 
 
 
อยากอ่านคำให้การขุนหลวงหาวัดนี้นานแล้วค่ะคุณกัมม์ ขอบคุณที่กรุณานำมาลงไว้ให้อ่านนะคะ
 
 

โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:22:13:20 น.  

 
 
 
สวัสดีครับ
นับได้ว่า Blog นี้ประสบความสำเร็จตามเจตนาแล้ว
ที่ได้กระจายความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีให้กว้างออกไปได้

ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วม Comment ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือนนะครับ
ทุกท่านทีส่วนในความสำเร็จกับการกระจายความรู้ครั้งนี้ครับ
 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:8:48:32 น.  

 
 
 
แวะมาอ่านค่ะ
 
 

โดย: January Friend วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:15:15:59 น.  

 
 
 
ยินดีครับ คุณ January Friend
 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 15 สิงหาคม 2550 เวลา:11:01:50 น.  

 
 
 
ดีมากเลย ครับ ผมก็ชอบอ่านเรื่องพวกนี้ ขอบคุณครับที่แบ่งบันกัน
 
 

โดย: karmapolice (karmapolice ) วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:12:47:53 น.  

 
 
 
เป็นกุศลของท่านผู้บันทึกเรื่องราวไว้น่ะครับ
ตัวผมเป็นเพียงผู้คัดมาเผยแพร่ให้กว้างขึ้น

ไปเยี่ยม Blog มาแล้วครับ
ท่านใดที่ชื่นชอบเรื่องเล่าแฝงธรรมะมีลูกเหน็บพอคันๆ
เชิญได้ครับ "เรื่องเล่าหลังวัด"
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=karmapolice&month=06-2007&group=1&date=02&gblog=1

คลิกท้ายชื่อคุณ karmapolice ได้เลยครับ

 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:13:05:17 น.  

 
 
 
แฮะ แฮะ ขอบคุณครับ พอดีเพิ่งไปบวชมา เลยเอามาเล่ากันให้พอสนุก ติดตามคุณกัมม์ มาจากในห้องสมุด ผมชอบเรื่อง ประวัติศาสตร์มากครับ แต่ยังไม่ค่อยรู้ ถ้ามีอะไรจะไว้มาแบ่งบันนะครับ

 
 

โดย: karmapolice วันที่: 16 สิงหาคม 2550 เวลา:18:50:13 น.  

 
 
 
แวะมาบอกคุณกัมม์ ทันใจเลย อัพบล๊อกแล้วครับ
 
 

โดย: karmapolice วันที่: 17 สิงหาคม 2550 เวลา:1:05:35 น.  

 
 
 
แอดบล๊อกคืนแล้วครับ
ขอเวลาสะสางงานสักหน่อยนะครับ
เดี๋ยวจะไม่ฟังเรื่องเล่าหลังพรรค
 
 

โดย: กัมม์ วันที่: 17 สิงหาคม 2550 เวลา:10:35:00 น.  

 
 
 
แวะมาอ่านครับ ติดตามเรื่องราวประวัติศาสตร์ของคุณกัมม์มาจากบอร์ดประวัติศาสตร์นานแล้วครับ
 
 

โดย: ปืนแก๊ป วันที่: 15 กันยายน 2550 เวลา:21:45:35 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

กัมม์
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




วิชา ความรู้จะมีค่าเมื่อถูกถ่ายทอด
[Add กัมม์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com