ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

(ทีมขอนแก่น) รายงานความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา LRT







ขอนแก่นโชคดีที่มีหน่วยงานภาครัฐที่แข็งแกร่งและมีภาคเอกชนที่เข้มแข็ง

ทุกเรื่องและทุกสิ่งที่จะทำนั้นมีการพูดคุยกันและเดินหน้าทำงานไปด้วยกัน

(ทีมขอนแก่น)รายงานความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา LRT

วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 14.30 น. ณ ห้องรับรองขวัญเมือง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายธีระศักดิ์ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เข้าพบ นายสมศักดิ์ จังตระกูลผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อรายงานความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรางเบา LRT และการดำเนินงานของบริษัท ขอนแก่นทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการเข้าพบ นายอาคมเติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้

โดยมี นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริรองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการส่วนโยธาสำนักการช่าง รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดี วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทยรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) ได้แก่ พลตรี ชาติชาย ประดิษพงษ์นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ และนางสาวเบญจวรรณ สุดจริง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น



นายสมศักดิ์ จังตระกูลผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น




(คนซ้าย) นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น

(คนขวา) นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุลผู้อำนวยการส่วนโยธา สำนักการช่าง


นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริรองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น


พลตรี ชาติชาย ประดิษพงษ์


รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข.


นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข.


นางสาวเบญจวรรณ สุดจริงหัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น


ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก Facebook เทศบาลนครขอนแก่น ภาคกิจกรรม

และเว็บไซต์ https://www.ntbdays.com/tidtrendy/2025




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2560    
Last Update : 11 ตุลาคม 2560 0:06:55 น.
Counter : 1194 Pageviews.  

สนข.เดินหน้ารถไฟฟ้าเชียงใหม่แสนล้าน ชง ครม.เคาะรูปแบบบนดิน-ใต้ดิน




เครดิตภาพ https://ottawacitizen.com

สนข.เดินหน้ารถไฟฟ้าเชียงใหม่แสนล้าน

ชง ครม.เคาะรูปแบบรถไฟฟ้าเชียงใหม่บนดิน-ใต้ดินลงทุนกว่าแสนล้าน

รายงานข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าเตรียมเสนอรายงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จ.เชียงใหม่ให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณารูปแบบระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจัดทำไว้ 2 โครงข่าย ได้แก่โครงข่ายทางเลือกรูปแบบเอใช้ทางวิ่งบนดิน และใต้ดินร่วมกันมี 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. วงเงินลงทุน 106,895 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 6 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 2562-ต้นปี 2563 แล้วเสร็จปี 2567-2568

สำหรับโครงข่ายทางเลือกรูปแบบบีใช้ทางวิ่งบนดินทั้งหมด ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 40.57 กม. วงเงินลงทุน 28,419 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี คาดว่าเริ่มสร้างได้ปลายปี 2562-ต้นปี 2563 แล้วเสร็จปี 2564-2565

ทั้งนี้ จะต้องเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง 2 โครงข่ายมีความแตกต่างกันอย่างไร เช่นโครงข่ายรูปแบบเอเป็นระบบใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน

ข้อดีคือเหมาะในเรื่องพื้นที่ในเมืองเชียงใหม่มีเขตทางน้อยไม่กระทบผิวจราจร และไม่บดบังทัศนียภาพของเมือง ส่วนข้อเสียคือลงทุนสูงใช้เวลาในการสร้างไม่ต่ำกว่า 6 ปีแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามเมื่อผลการศึกษาโครงการแล้วเสร็จทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จะมีการกำหนดรูปแบบการลงทุนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก Posttodayวันที่ 4ตุลาคม 2560 มา ณ ที่นี้ครับ

https://www.posttoday.com/biz/gov/518336






 

Create Date : 07 ตุลาคม 2560    
Last Update : 7 ตุลาคม 2560 8:31:38 น.
Counter : 1787 Pageviews.  

เผยโฉมโมเดลสมาร์ทบัสภูเก็ต (มีคลิป)



เผยโฉมโมเดลสมาร์ทบัสภูเก็ต 🚍🚍🚍


บริษัท ภูเก็ตสมาร์ทบัส จำกัด (PKSB) บริษัทในเครือภูเก็ตพัฒนาเมือง PKCD 

ด้วยความร่วมมือจากบริษัท PKCD, PKSB,Loxley, Visa และ TSC 

สมาร์ทบัสจะออกมาให้คนภูเก็ตได้ใช้เดินทางกันในปี2561 ที่จะถึงนี้นะคะ 🎉🎉




ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

www.pkcd.co.th

//bit.ly/2hA7psc

https://youtu.be/2D6AybdijdA




 

Create Date : 30 กันยายน 2560    
Last Update : 30 กันยายน 2560 17:50:15 น.
Counter : 1286 Pageviews.  

การประยุกต์เกณฑ์ LEED-ND เพื่อการออกแบบทางกายภาพเมืองแห่งการเดิน(เมืองแห่งการเดินตอนที่ 4)





การวางผังและการออกแบบเมืองแห่งการเดินตอนที่4

การประยุกต์เกณฑ์LEED-NDเพื่อการออกแบบทางกายภาพเมืองแห่งการเดิน

LEED-ND: Principles for Walkable City

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

     สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยและสมาคมการผังเมืองไทย


ฐาปนา บุณยประวิตร


บทนำ

LEED-ND หรือเกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักผังเมืองใช้ในการออกแบบโครงการเกิดใหม่และโครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนเก่าให้มีสภาพเป็นเมืองแห่งการเดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรมใจกลางเมือง (Downtown) ย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย(Urban Center) หรือย่านที่อยู่อาศัยผสมผสานพาณิชยกรรม(General Urban) หรือย่านการพัฒนาพิเศษ (Special Districts) เช่น ย่านพาณิชยกรรมริมน้ำ (waterfront neighborhood) ย่านรอบมหาวิทยาลัย (university neighborhood) หรือย่านศูนย์การแพทย์และบริการสุขภาพ(hospital and healthy neighborhood)

LEED-ND ร่วมพัฒนาโดย U.S Green Building Council, Natural ResourcesDefense Council และ The Congress for the New Urbanism จากแนวคิดการออกแบบเมืองที่ผสมผสานกับองค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรม วิศวกรรม นิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม และศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศภายใต้เกณฑ์หลักจำนวน 5 เกณฑ์ ประกอบด้วย

· ตำแหน่งที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด(SmartLocation and Linkage) กระตุ้นชุมชนหรือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้พิจารณาคัดลือกตำแหน่งที่ตั้งโครงการที่ไม่ล่วงล้ำพื้นที่สงวนรักษาหรือพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ การไม่ส่งเสริมการกระจัดกระจายของเมือง(Urban Sprawl) นอกจากนั้น และการคัดเลือกพื้นที่พัฒนาหรือที่ตั้งโครงการที่ประชาชนหรือผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเดินทางหรือสามารถเดินทางเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชน

· การออกแบบย่านและรูปทรงย่าน (NeighborhoodPattern and Design) เป็นการออกแบบย่านให้มีความกระชับ มีขอบเขตการพัฒนาที่แน่ชัด กระตุ้นให้ชุมชนมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจสร้างความเท่าเทียมกันของชุมชนด้วยการยกระดับสุขภาวะด้วยการสร้างชุมชนแห่งการเดินและการผสมผสานกิจกรรมการใช้ที่ดินให้มีความหลากหลายช่วยลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดความจำเป็นในการเดินทางและลดระยะการเดินทางต่อวัน (vehicle miles traveled) ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการลดการใช้พลังงานของเมือง

· อาคารเขียวและโครงสร้างพื้นฐานเขียว (GreenInfrastructure and Buildings) ส่งเสริมการออกแบบและการก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานที่ลดการใช้พลังงานและการใช้น้ำขณะเดียวกันได้สนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนด้วยการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่หรือที่ได้จาการนำกลับมาใช้ใหม่(reuse) หรือการใช้อาคารเก่าหรืออาคารประวัติศาสตร์ประกอบกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนทางเศรษฐกิจแทนที่จะก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่หรือการนำวิธีปฏิบัติที่ดีด้านต่างๆ ประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง การอนุรักษ์ และการพัฒนาอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

· นวัตกรรมและการออกแบบกระบวนการ (Innovationand Design Process) คำนึงถึงแบบอย่างและประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่ได้จากการจัดระดับคะแนนการจัดการเชิงกระบวนการ การทดสอบ การตรวจวัดตามตัวชี้วัด รวมทั้งความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญและทีมงานออกแบบ

· การจัดลำดับความสำคัญของเครดิต (RegionalPriority Credit) กระตุ้นโครงการให้พุ่งเป้าไปสู่การเน้นผลตอบแทนด้านสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นโดยสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับ

เกณฑ์ทั้ง 5ที่กล่าวมาเป็นกรอบการออกแบบทางกายภาพที่โครงการ LEED-ND ต้องนำไปปฏิบัติทั้งโครงการที่ขอรับการรับรองและโครงการออกแบบโดยทั่วไปสำหรับ LEED-ND ที่นำมาเป็นเกณฑ์การออกแบบสร้างเมืองแห่งการเดินนั้นจะใช้เกณฑ์ 3 ข้อแรกเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วยเกณฑ์ตำแหน่งที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด เกณฑ์การออกแบบย่านและรูปทรงย่านและเกณฑ์อาคารเขียวและโครงสร้างพื้นฐานเขียว ด้วยเหตุที่ ทั้ง 3 เกณฑ์มีข้อกำหนดการออกแบบและตัวชี้วัดสามารถใช้เป็นแนวทางและข้อกำหนดโดยตรงในการออกแบบทางกายภาพได้

การประยุกต์เกณฑ์การออกแบบ

โครงสร้างทางกายภาพของเมืองแห่งการเดินมีลักษณะตรงข้ามกับเมืองกระจัดกระจาย(UrbanSprawl City) โดย Smart Growth America LeadershipInstitute ได้กล่าวไว้ในรายงาน Smart Growth Audit ว่า องค์ประกอบทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเมืองแห่งการเดินควรประกอบด้วย

· รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของย่านหรือชุมชนอยู่ในลักษณะกลุ่ม(Cluster)มีความกระชับ มีขอบเขตของย่านหรือชุมชนที่ชัดเจนมีพื้นที่เกษตรหรือพื้นที่ธรรมชาติล้อมรอบ ไม่กระจัดกระจายตามแนวถนน (StripExpansion) หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อมหรือพัฒนาแบบก้าวกระโดด (Leap-frog Development)

· หน่วยบริการหลักของย่านหรือชุมชน เช่น ศูนย์พาณิชยกรรมหน่วยการค้าปลีก หน่วยบริการสาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดสด สถานีขนส่งสถานีรถไฟฯลฯ ตั้งอยู่ใจกลาง โดยมีที่อยู่อาศัยตั้งอยู่โดยรอบ ทุกพื้นที่ของย่านสามารถเดินถึงหรือปั่นจักรยานเข้าถึงได้

· ขนาดของย่านพาณิชยกรรมหรือศูนย์เศรษฐกิจมีความสมดุลกับขนาดครัวเรือนที่ตั้งอยู่ภายในย่านหรือชุมชนนั้นๆหรือกล่าวอีกนัยคือประชากรที่อยู่อาศัยในย่านมีแหล่งงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภายในย่านนั้น

· มีโครงข่ายถนนและทางเดินที่เชื่อมต่อครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งย่านและชุมชนมีแนวถนนหรือทางเดินเชื่อมต่อโดยตรงเข้าไปยังพื้นที่ใจกลางของย่านหรือชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยบริการหลัก

· กรณีเป็นย่านหรือชุมชนขนาดใหญ่หรือเมืองที่ประกอบด้วยหลายชุมชนการเข้าถึงพื้นที่ใจกลางของเมืองควรมีระบบขนส่งมวลชนหรือระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกในการเดินทาง

· หากเป็นชุมชนขนาดใหญ่หรือชุมชนเมืองสถานีขนส่งมีลักษณะเป็นศูนย์รวมการเดินทาง ซึ่งได้แก่ ศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของพื้นที่(MultimodalTransportation Center) ที่รวมทุกประเภทการเดินทางเข้าไว้ด้วยกันทั้งการเดินทางภายในพื้นที่และการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่

รายละเอียดโครงสร้างทางกายภาพของเมืองแห่งการเดินตามSmartGrowth Audit จะกล่าวอีกครั้งในบทความตอนต่อไป สำหรับ LEED-NDได้กำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดพร้อมตัวบ่งชี้ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของSmart Growth ดังนี้

เกณฑ์ตำแหน่งที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด

ตัวบ่งชี้สำคัญที่เกณฑ์กำหนดการออกแบบเพื่อสร้างมาตรฐานการตั้งถิ่นฐานในเขตย่านหรือเมืองแบ่งออกเป็น

ตำแหน่งและที่ตั้งที่ชาญฉลาดของโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งงานโดยโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดให้ตั้งภายในพื้นที่ใจกลางย่านหรือในพื้นที่ที่ประชาชนสามารถเดินถึงได้ประกอบด้วย สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ท่าเรือ โรงพยาบาลหลักของเมือง ตลาดสดระดับเมืองสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนประถมหรือโรงเรียนมัธยม สวนสาธารณะ สนามกีฬาและอาคารสำนักงานทั้งของรัฐและของเอกชนกรณีที่ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนอุตสาหกรรมหรือเป็นชุมชนบริการในลักษณะพิเศษ (SpecialDistrict) ก็อาจตั้งผสมผสานอยู่ในพื้นที่ย่านหรือชุมชนได้โดยต้องไม่เป็นอุปสรรคในการอยู่อาศัยหรือการประกอบกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม

โครงสร้างพื้นฐานหลักที่เกณฑ์กำหนดต้องตั้งอยู่ใจกลางย่าน(Urbancore) และย่านพาณิชยกรรมเมือง (Urban center) เท่านั้นคือ สถานีขนส่งที่รวมหลายประเภทการเดินทางเข้าไว้ด้วยกัน หรือ multimodaltransportation center ตลาดสด ศูนย์การค้าปลีก และอาคารสำนักงานของภาคเอกชนส่วนศูนย์บริการของรัฐที่ควรตั้งอยู่ใจกลางย่านได้แก่ศูนย์บริการที่ประชาชนต้องใช้บริการเป็นกิจวัตร เช่นอาคารว่าการหรือที่ทำการของท้องถิ่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพสนามกีฬา และสวนสาธารณะ ปัจจัยสำคัญที่ LEED-ND กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานหลักต้องตั้งอยู่ในใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรมเมืองก็เพื่อให้เกิดความหนาแน่นทางเศรษฐกิจและประชากรในพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นศูนย์เศรษฐกิจของย่านและเมืองการที่โครงสร้างพื้นฐานหลักตั้งอยู่ในใจกลางเมืองจะก่อให้เกิดความสะดวกในการใช้บริการของประชาชนผู้ที่อยู่ใกล้ที่ตั้งของหน่วยบริการสามารถเดินและปั่นจักรยานหรือเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเข้าใช้บริการได้เป็นการลดความจำเป็นในการเดินทางและลดการกระจัดกระจายของโครงสร้างพื้นฐานหลักไปยังพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่หนาแน่นน้อยที่มีผู้อยู่อาศัยน้อย



ภาพที่ 1 แสดงTransectที่กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานหลักต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ T6(Urban Core) และที่ T5 (Urban Center)

ที่มา: //www.mass.gov/envir/smart_growth_toolkit/pages/mod-fbc.html


การเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด LEED-ND กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานและที่ตั้งของแหล่งงานต้องสามารถเชื่อมต่อกันภายในย่านด้วยการเดินการเชื่อมต่อระหว่างย่านด้วยการใช้จักรยาน และการเชื่อมต่อระหว่างย่านกับเมืองหรือภาคด้วยระบบขนส่งมวลชนทั้งนี้ ระดับความสมบูรณ์ของการเชื่อมต่อภายในพื้นที่วัดจากขนาดของโครงการข่ายทางเดินและโครงข่ายจักรยานโดย

1.เทียบพื้นที่ให้บริการของโครงข่ายทางเดินและโครงข่ายจักรยานต่อพื้นที่ของย่านหรือชุมชนทั้งหมด

2.เทียบจากปริมาณการสัญจรระหว่างการสัญจรด้วยการเดินและการใช้จักรยานกับการสัญจรด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างย่านหรือการเชื่อมต่อในพื้นที่ที่ห่างไกลเกินกว่าความสามารถในการเดินถึงให้วัดจากปริมาณการสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชนเทียบกับการสัญจรด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ซี่งเกณฑ์ในข้อนี้ได้เสนอตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถขนส่งมวลชนให้ห่างกันไม่น้อยกว่า400 เมตรซึ่งเชื่อว่าเป็นระยะความสามารถของการเดินถึงในเบื้องต้น และยังกำหนดให้ที่ตั้งของสถานีและด้านหน้าอาคารสำนักงานอาคารสาธารณะ รวมทั้งจุดบริการสาธารณะเป็นที่ตั้งของจุดจอดจักรยานและพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กที่ประชาชนทุกคนมีความสะดวกในการเข้าใช้บริการ

เกณฑ์การออกแบบย่านและรูปทรงย่าน

ตัวบ่งชี้สำคัญที่เกณฑ์กำหนดเพื่อสร้างมาตรฐานการออกแบบย่านและการกำหนดรูปทรงย่านแบ่งออกเป็น การกำหนดขนาดแปลงที่ดิน ถนนแห่งการเดิน และการพัฒนาแบบกระชับ

การกำหนดขนาดแปลงที่ดิน LEED-ND กำหนดให้การออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์และการจัดรูปที่ดินต้องสร้างแปลงที่ดินให้มีขนาดสอดคล้องกับการเดินถึงและระยะการมองเห็นเกณฑ์โดยทั่วไปกำหนดให้มีทางแยกไม่น้อยกว่า 140 ทางแยกในพื้นที่ 1 ตารางไมล์ที่กำหนดเช่นนี้เนื่องจากจะทำให้แปลงที่ดินมีขนาดเล็ก การมีสามแยกและสี่แยกเป็นจำนวนมากจะทำให้ยวดยานไม่สามารถใช้ความเร็วในพื้นที่เขตเมืองได้ยวดยานจะเป็นมิตรกับคนเดินซึ่งจะลดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามขนาดของแปลงที่ดินอาจต้องมีพื้นที่ลดหลั่นลงมาตามการแบ่งส่วนของ Transect กล่าวคือ แปลงที่ดินในพื้นที่ T6 หรือ UrbanCore จะมีขนาดเล็กกว่าแปลงที่ดินในพื้นที่ T5 (Urban Center)และ T4 (General Urban) เช่นเดียวกับที่โล่งว่าง(Open Spaces) ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ถนนและทางเดินซึ่ง Transect กำหนดให้พื้นที่ T6 มีขนาดถนนสายหลัก(Main Street) มีขนาดใหญ่ลดหลั่นลงมาตั้งแต่ T5, T4 และ T3 หมายถึงว่า พื้นที่ T6 อนุญาตให้มีอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงมากกว่าพื้นที่T5 และพื้นที่ T4



ภาพที่ 2 แสดง Transectกำหนดขนาดแปลงที่ดิน ขนาดถนนและขนาดความสูงอาคารจำแนกตามส่วนของเมือง

ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/303697073_fig1_Figure-1-Typical-Transect-of-Natural-

Landform-Smart-Code-Version-92

ถนนแห่งการเดินจากภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่า LEED-ND กำหนดให้เขตทางพื้นที่ T6 มีขนาดกว้างกว่า T5 และ T4 โดยเขตทางที่กันไว้ได้ให้สัดส่วนระหว่างช่องจราจรกับทางเดินแตกต่างกันระหว่างส่วนของเมืองตามTransect กล่าวคือ ในพื้นที่ T6 ควรออกแบบให้เขตทางเดิน(รวมพื้นที่จัดวางสาธารณูปโภค) มีขนาดไม่น้อยกว่าขนาดของช่องจราจร แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกายภาพของพื้นที่นั้นๆถนนแห่งการเดินตามนิยามของ LEED อาจเป็นถนนที่ออกแบบเป็น boulevardstreets หรือ pedestrian streets หรือ streetmall ก็ได้โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นถนนเฉพาะการเดินเพียงอย่างเดียวเสมอไป



ภาพที่3 แสดงทัศนียภาพพื้นที่ T6 หรือพื้นที่ใจกลางเมืองที่ให้ความสำคัญกับถนนแห่งการเดินและที่โล่ง

ที่มา: KaidBenfield (2016) How LEED-ND Standards Reduce Driving and AssociatedEmissions

//kaidbenfieldarchive.com/20130612-how-leed-nd-standards-reduce-driving-and-

associated-emi.html


การพัฒนาแบบกระชับ LEED-ND ให้ความสำคัญกับการพัฒนาถนนแห่งการเดินและการพัฒนาแบบกระชับมากดังจะเห็นได้จาก การเสนอให้ออกแบบอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงที่มีขนาดใหญ่ลดหลั่นจากพื้นที่T6, T5 และ T4 เพื่อกำหนดความหนาแน่นประชากรให้สอดคล้องกับบทบาทของพื้นที่หากเจ้าของโครงการหรือผู้บริหารเมืองต้องการนำโครงการของการรับรองการออกแบบของ LEED-NDถนนแห่งการเดินและการพัฒนาแบบกระชับจะเป็นเกณฑ์ที่ถูกระบุให้แสดงในผังแม่บทและอธิบายรูปแบบที่สนับสนุนเกณฑ์ที่ให้ไว้ 



ภาพที่4 ภาพทัศนียภาพตัวอย่างโครงการ LEED-ND ที่พัฒนาแบบกระชับ

ที่มา: Devina Mahendriyani (2016) LEED-ND: the futureof urbanism in Asia, Available from:

//www.asiagreenbuildings.com/12953/leed-nd-the-future-of-urbanism-in-asia/

เกณฑ์อาคารเขียวและโครงสร้างพื้นฐานเขียว

ตัวบ่งชี้สำคัญที่เกณฑ์กำหนดเพื่อสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารเขียวและโครงสร้างพื้นฐานเขียวประกอบด้วย อาคารเขียวและโครงสร้างพื้นฐานเขียว เนื่องจากเกณฑ์อาคารเขียวมีการอธิบายไว้มากในสื่อต่างๆจึงจะไม่กล่าวถึง ในรายงานฉบับนี้จะกล่าวเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเขียวซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงพื้นที่ที่ปกป้องโครงสร้างทางธรรมชาติได้แก่ แหล่งน้ำ คูคลอง พื้นที่โล่งรองรับน้ำและโครงข่ายทางธรรมชาติที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศเมือง LEED-ND กำหนดไว้ชัดแจ้งให้โครงการที่ออกแบบตามเกณฑ์ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

· การไม่รุกล้ำโครงข่ายทางธรรมชาติโดยเด็ดขาด

· การให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงฟื้นฟูประสิทธิภาพของโครงข่ายทางธรรมชาติให้สามารถทำหน้าที่ดังเดิมหรือการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยนวัตกรรมและการออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

· การปรับปรุงฟื้นฟูโครงข่ายทางธรรมชาติให้ตอบสนองต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและการนันทนการของประชาชน

· การปรับปรุงฟื้นฟูโครงข่ายทางธรรมชาติให้เป็นเสริมความมีเอกลักษณ์ของพื้นที่

นอกจากนั้นในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเขียวจะต้องให้ความสำคัญต่อการออกแบบเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพระบบการระบายน้ำ การซึมซาบน้ำการรักษาสภาพแวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ การรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศเมืองและสิ่งมีชีวิตในระบบธรรมชาติของเมืองโดยการคงสภาพทางธรรมชาติและระบบนิเวศเมืองนั้นจะช่วยสนับสนุนสภาพแวดล้อมของการเดินและการสร้างสรรค์เศรษฐกิจในพื้นที่ใจกลางให้มีควาสมดุลระหว่างกิจกรรมของประชาชนกับโครงสร้างทางธรรมชาติ


ชมภาพย่าน Otaruและย่านในเมืองซัปโปโร ย่านแห่งการเดินของญี่ปุ่น



ภาพย่าน Otaru อีกย่านของเมืองแห่งการเดิน 



ภาพย่าน Otaru อีกย่านของเมืองแห่งการเดิน 



ภาพย่าน Otaru อีกย่านของเมืองแห่งการเดิน 



ภาพย่าน Otaru อีกย่านของเมืองแห่งการเดิน 



ภาพย่านแห่งการเดินของเมืองซัปโปโร



ภาพย่านแห่งการเดินของเมืองซัปโปโร



ภาพย่านแห่งการเดินของเมืองซัปโปโร



สรุป

ผู้เขียนจะนำเสนอรูปแบบย่านและเมืองตามเกณฑ์ LEED-ND ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบเมืองแห่งการเดินอีกในบทความฉบับต่อไปซึ่งจะลงรายละเอียดตามที่ระบุไว้ในตัวชี้วัดที่จำแนกตามเกณฑ์ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบโครงการตาม LEED-ND ได้

เอกสารอ้างอิง

New Urbanism and U.S.Green Building Council (2104) LEED-NDManual 2014

Devina Mahendriyani (2016) LEED-ND: the futureof urbanism in Asia, Available from:

//www.asiagreenbuildings.com/12953/leed-nd-the-future-of-urbanism-in-asia/

KaidBenfield (2016) How LEED-ND Standards Reduce Driving and AssociatedEmissions

//kaidbenfieldarchive.com/20130612-how-leed-nd-standards-reduce-driving-and-

associated-emi.html 




 

Create Date : 29 กันยายน 2560    
Last Update : 29 กันยายน 2560 20:14:22 น.
Counter : 8844 Pageviews.  

(ทีภูเก็ต)PKCDชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับการใช้งานBike Sharing ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ






บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับวิธีการใช้งาน BikeSharing ทั้ง 2 บริษัท Obike และOfo ผู้ให้บริการจักรยานให้กับชาวภูเก็ตและเพื่อไม่ให้เขินอายที่จะใช้จักรยานที่เข้ามาใหม่นี้ เรามาดูวิธีใช้เพียง 4ขั้นตอนง่าย ๆ มาเตรียมความพร้อมในการปั่นกันนะคะ

#bikesharing #bike #obike #ofo #pkcd #phuket

ขอบคุณภาพ และโพสต์จาก Facebook บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด PKCD

https://www.facebook.com/phuket.pkcd/posts/1686574688050667





ขั้นตอนที่ 1 Download App

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นของบริษัทจักรยานที่ต้องการจะปั่นบนสมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ androidและ ios ด้านซ้ายบริษัท Obike ด้านขวาบริษัทOfo เลือกคันที่ใช่ ดาวน์โหลดที่ชอบหรือโหลดไว้ทั้งสองก็เยี่ยมเลย!


ขั้นตอนที่ 2 Find a Bike

เปิดแอปพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาบนมือถือเพื่อค้นหาจักรยานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยจักรยานทุกคันจะมีระบบ GPS สามารถค้นหาจักรยานได้ค่ะ


ขั้นตอนที่ 3 Scan QR Code

ปลดล็อกจักรยาน เพื่อเปิดการใช้งานโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดตรงบริเวณล้อหลังของจักรยานโดยผ่านบนมือถือในแอปพลิเคชันแค่นี้ก็สามารถปั่นกันได้แล้วค่าาาา


ขั้นตอนที่ 4 End the trip

จบการปั่นจักรยาน ง่าย ๆเพียงแค่ดันตัวล็อกตรงบริเวณล้อหลังของจักรยาน เพื่อล็อกไม่ให้จักรยานปั่นได้และการจอดจักรยานควรจอดในที่ที่เป็นสถานที่สำหรับจอดจักรยานด้วยนะคะ




 

Create Date : 25 กันยายน 2560    
Last Update : 25 กันยายน 2560 14:20:24 น.
Counter : 1949 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.