ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 2 การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ






แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 2

การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

โดย ฐาปนา บุณยประวิตรสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

www.smartgrowththailand.org/

www.asiamuseum.co.th

บทนำ

Smart Growth America แบ่งขั้นตอนการวางผังแม่บทเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจออกเป็น 7ขั้นตอน ซึ่งบทความตอนที่ 2 นี้ จะกล่าวตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 3โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นที่และชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดินและขั้นตอนที่ 3 การวางผังสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สำหรับการวางผังแม่บทในขั้นตอนที่4 ถึงขั้นตอนที่ 7 จะกล่าวในบทความตอนต่อไป รายละเอียดดังนี้





ที่มา :        Cincinnati’swalkable downtown attracted 13 companies:

//www.bizjournals.com/cincinnati/print-edition/2015/09/04/cincinnati-s-walkable-downtown-attracted-13.html

ขั้นตอนการวางผังแม่บท

ในการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจให้เกิดประสิทธิภาพนั้นการเติบโตอย่างชาญฉลาดและเกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่าน(LEED-ND) ได้กำหนดแนวทางการศึกษาและการวางผังตาม TheTransect ได้แก่ การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมือง (Downtown Center)และศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมเมือง (Commercial Urban Center) โดยให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชน เจ้าของที่ดิน ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนและหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการพื้นที่ซึ่งจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ต้น รวมทั้งยังให้ความสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการใช้พื้นที่รอบสถานีและศูนย์เศรษฐกิจให้เป็นเมืองแห่งการเดิน(WalkableCity) เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจโดยได้แบ่งการปฏิบัติการวางผังออกเป็น 7 ขั้นตอนประกอบด้วย

ขั้นตอนที่1 การทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นที่และชุมชน (Understand your space and community)

ขั้นตอนที่ 2การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดิน (Create an attractive, walkable place)

ขั้นตอนที่ 3การวางผังสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (Diversifythe downtown economy)

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างความเท่าเทียม (Build in equity)

ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ข้อกำหนดและกระบวนการดำเนินการของรัฐ (Improvegovernment regulations and processes)

ขั้นตอนที่ 6การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ (Financeprojects)

ขั้นตอนที่ 7 การจัดทำระบบและมาตรการบริหารจัดการพื้นที่ (Establish on-goingplace management)

เนื่องจากรายละเอียดการวางผังแม่บทพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจเพื่อเป็นเมืองแห่งการเดินตามขั้นตอนการเติบโตอย่างชาญฉลาดมีเป็นจำนวนมากดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการประยุกต์ใช้ บทความฉบับนี้จะกล่าวสรุปเฉพาะส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการวางผังแม่บทพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองพื้นที่รอบสถานีและพื้นที่สองข้างทางโดยชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการศึกษาและการออกแบบ เพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งการเดินอย่างมีคุณภาพรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนที่1 การทำความเข้าใจและเรียนรู้ชุมชน

กรอบการศึกษาในขั้นตอนที่1 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนโดยส่วนแรก ให้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ เช่น ชุมชนมีแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมหรือมีสถานที่ที่มีคุณค่าในการสงวนรักษาหรือไม่และทรัพยากรสำคัญของชุมชนที่ได้รักษามาตั้งแต่อดีตคืออะไร ส่วนที่สองคือการพิจารณาตำแหน่งหรือบทบาทปัจจุบันของชุมชนและส่วนที่สามเป็นการร่วมกันจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ในอนาคต เพื่อให้การศึกษาเรียนรู้ชุมชนเป็นไปอย่างเป็นระบบการเติบโตอย่างชาญฉลาดจึงได้กำหนด 3 กลยุทธ์สำหรับการปฏิบัติการดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมอบหมายให้สมาชิกของชุมชน 2 กลุ่มเป็นผู้ประสานงานได้แก่ การมอบหมายให้พลเมืองอาวุโสเป็นผู้ประสานกับสมาชิกทุกกลุ่มในชุมชนและให้เป็นตัวหลักในการร่วมกันจัดทำผังแม่บทร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมอบหมายให้สมาชิกคนรุ่นใหม่ในชุมชนเป็นผู้ประสานในรายละเอียดกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเป็นผู้ร่วมปฏิบัติตามแผนและขั้นตอนที่ผังแม่บทกำหนดขึ้น


กลยุทธ์ที่2 การวิจัยข้อมูลเพื่อทราบข้อเท็จจริงด้วยการศึกษาลงลึกในประเด็นต่าง ๆ จำนวน 4 กลุ่มประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลด้านการตลาด การศึกษาข้อมูลด้านประชากรการศึกษาพฤติกรรมประชากรการศึกษารายละเอียดความต้องการด้านภาษีของท้องถิ่นหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการรายได้


กลยุทธ์ที่3 การกำหนดเป้าหมายและสร้างแผนการพัฒนาที่ให้ทุกคนประสบผลสำเร็จไปด้วยกันเป็นการนำผลจากกลยุทธ์ที่ 1 และ 2 บูรณาการกันและสร้างแผนงานที่เป็นความต้องการของสมาชิกในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมเข้ากันกับผลการวิจัยสภาพปัจจุบันทั้งนี้ ควรมอบให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเป็นผู้ยกร่างแผน 





ที่มา: //azbex.com/category/planning-development/

ขั้นตอนที่2 การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดิน

เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดและเกณฑ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนกำหนดพื้นที่ภายในขอบเขตการพัฒนาเป็นเมืองแห่งการเดินโดยระบบทางกายภาพทั้งหมดจะต้องออกแบบตามเกณฑ์ในขั้นตอนนี้ได้กำหนดแนวทางการออกแบบผังแม่บทไว้ 5กลยุทธ์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจให้เกิดการเดินและทำให้พื้นที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบการสัญจรด้วยการเดินรายละเอียดดังนี้

กลยุทธ์ที่1 การสร้างพื้นที่สะอาดและปลอดภัยพื้นที่ใจกลางศูนย์เศรษฐกิจ เช่น พื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนควรได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยปราศจากบรรยากาศเชิงลบที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ การสัญจรและการนันทนาการของประชาชน


กลยุทธ์ที่2 สถานที่สาธารณะที่งดงามสถานที่สาธารณะที่ได้รับการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูให้งดงามจะช่วยให้ผู้เยี่ยมเยือนผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการและผู้ทำงานมีความสุข ทั้งในการแง่การมองเห็น การพักผ่อนและการติดต่อประสานทางธุรกิจ


กลยุทธ์ที่3 กระตุ้นใช้พื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะเพื่อกิจกรรมในช่วงสั้นใช้แนวทางสร้างพื้นที่ค้าขายที่สมบูรณ์หรือการสร้างประชากรจำนวนมากให้เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเริ่มจากการปรับปรุงฟื้นฟูที่ว่างหรืออาคารว่างเปล่าให้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมการค้าหรือนันทนาการสร้างพื้นที่ให้ผู้คนเข้าใช้ประโยชน์ด้วยกิจกรรมการเดินที่มีคนเดินเป็นจำนวนมากมีการใช้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจสองข้างทางและสร้างความมีชีวิตชีวาแก่สถานที่ในทางตรงกันข้าม การออกแบบย่านการเดินต้องหลีกเลี่ยงทางเดินที่ยาวเกินไปซึ่งอาจขัดขวางประสบการณ์การมีความสัมพันธ์ของผู้คนบริเวณทางเดินและบ่อนทำลายการมีชีวิตชีวาของพื้นที่ทั้งนี้ กระบวนการออกแบบจะต้องกระตุ้นให้แต่ละแปลงที่ดินมีกิจกรรมการค้าปลีกอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร หรือการบริการที่อยู่ในลักษณะถาวร

กลยุทธ์ที่4 อำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว ด้วยการกระตุ้นให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีให้มากขึ้นทำให้ง่ายหรือเกิดความสะดวกที่ประชาชนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะสามารถคาดการณ์การพัฒนาและการลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่บริเวณดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งการคืนทุนหรือผลประโยชน์จากการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองก็จะได้รับรวดเร็วขึ้นทั้งนี้ อาจดำเนินการด้วยการขจัดข้อจำกัดทางกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การสร้างย่านที่มีข้อกำหนดการพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นการเว้นภาษีจากการพัฒนาพื้นที่ การสนับสนุนการพัฒนาด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือการให้สินเชื่อลักษณะพิเศษหรือการใช้ที่ของรัฐหรือที่สาธารณะให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของภาคเอกชน เป็นต้น


กลยุทธ์ที่5 เตรียมทางเลือกระบบการเดินทางขนส่งที่มีความหลากหลาย กลยุทธ์นี้ไม่ได้สนับสนุนให้ประชาชนเพิ่มความจำเป็นในการเดินทางแต่ให้สร้างทางเลือกการเดินทางให้มีมากขึ้นพร้อมกับสร้างระบบการเชื่อมต่อให้ง่ายต่อการเดินทาง สร้างความปลอดภัยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางในพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่รอบสถานีโดยปรับปรุง 3 ส่วนประกอบหลักของระบบการเดินทางขนส่ง ได้แก่ 1) ที่จอดรถ ได้แก่การสร้างที่จอดรถร่วมและการพิจารณาข้อกำหนดที่จอดรถต่อจำนวนห้องของอาคารอยู่อาศัยรวม2) ระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ การปรับปรุงเส้นทางรถขนส่งมวลชนการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจด้วยระบบขนส่งมวลชนการสร้างประสบการณ์ที่ดีสำหรับการใช้ระบบขนส่งมวลชน หรือการสร้างข้อกำหนดให้ความสำคัญต่อการขนส่งมวลชนเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับการใช้ยวดยานอื่นบนท้องถนนหรือแม้แต่การสร้างมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ใกล้สถานี และ 3) การออกแบบถนนเพื่อดึงดูดการเดินและการปั่นที่มีความสะดวกและปลอดภัยด้วยการใช้แนวทางการออกแบบถนนตามเกณฑ์ถนนแบบสมบูรณ์ (CompleteStreets) หรือการสร้างแผนการพัฒนาถนนให้ตอบสนองต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและนันทนาการในระยะยาว


ขั้นตอนที่3 การสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ให้มีความหลากหลาย

การสร้างรูปแบบกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจทั้งพื้นที่ใจกลางเมืองและรอบสถานีขนส่งมวลชนให้มีความหลากหลายจะช่วยให้ผู้คนมีเหตุผลมากขึ้นในการเข้าใช้พื้นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอธิบายว่าใจกลางเมืองควรได้รับการออกแบบให้มีการใช้งานประมาณวันละ 18 ชั่งโมงโดยมีกิจกรรมตั้งแต่เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน และในทุกๆ วันของสัปดาห์โดยกิจกรรมหลักควรจะเป็น กิจกรรมการเดินทาง การทำงาน การอยู่อาศัย และการค้าปลีกซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะสนับสนุนระบบการจ้างงานของพื้นที่รอบสถานีและใจกลางเมืองให้มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจและมีความหลากหลายของเศรษฐกิจในพื้นที่ควรสร้างที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอทั้งที่อยู่อาศัยของประชาชนรายได้ต่ำ ปานลางและของประชาชนทุกระดับซึ่งกลุ่มอยู่อาศัยเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนการค้าในร้านค้าปลีกและย่านการค้าในทุกๆวันเป็นกิจวัตรกลยุทธสำคัญที่สนับสนุนการสร้างกิจกรรมเศรษฐกิจให้มีความหลากหลายประกอบด้วย

กลยุทธ์ที่1 การส่งเสริมการสร้างงานในพื้นที่พื้นที่ทำงานและการทำงานเป็นกลไกสำคัญที่เกือบทุกพื้นที่รอบสถานีพื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองนำมาใช้คนทำงานตามปกติจะเป็นลูกค้ากลุ่มหลักของธุรกิจในพื้นที่และเป็นลูกค้ากลุ่มหลักของระบบขนส่งมวลชนรวมทั้งกิจกรรมนันทนาการและวัฒนธรรมของย่านผู้วางผังจึงจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ดึงดูดให้เกิดการเข้าใช้พื้นที่ เช่นการแสดงให้คนทำงานมองเห็นว่า การทำงานในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจรอบสถานี พื้นที่สองข้างทางหรือพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นการสนับสนุนให้พื้นที่เป็นย่านแห่งการเดินการสนับสนุนให้หน่วยงานและสาธารณูปโภคขยายโครงข่ายบริการและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพการสนับสนุนสิทธิประโยชน์แก่คนทำงานให้ย้ายเข้ามาในพื้นที่การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มธุรกิจเฉพาะ (businesscluster) การกระตุ้นให้ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจเกิดใหม่ในพื้นที่เพิ่มพื้นที่ co-working spaces หรือการ shared office spaces สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยตั้งวิทยาเขตภายในพื้นที่สร้างเครือข่ายการค้าหรืองค์กรการพัฒนาที่ไม่หวังผลกำไรในพื้นที่เพื่อกระตุ้นการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่อาจกล่าวได้ว่าการส่งเสริมความหลากหลายของการจ้างงานของประชาชนทุกระดับเงินเดือนตามกลยุทธ์ที่กล่าวมาเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายในพื้นที่รอบสถานี พื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมือง


กลยุทธ์ที่2 การสร้างที่อยู่อาศัยหลังใหม่ในพื้นที่รอบสถานีพื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองผลการศึกษาจากหลายสำนักพบว่า คนทำงานในพื้นที่จะมีชีพจรในการใช้พื้นที่อยู่ระหว่าง5 ถึง 9 ชั่วโมงรวมชั่วโมงทำงานกับชั่วโมงพักผ่อนหย่อนใจดังนั้น จึงมีโอกาสสูงในการกระตุ้นให้ผู้ทำงานมีที่อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่ด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยให้หลากหลายระดับราคาโดยผู้คนเหล่านั้นยังสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจได้ด้วยหากมีการออกแบบทางเดินที่มีคุณภาพเชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่ทำงานและย่านค้าปลีกสำหรับกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ในการกระตุ้นการมีที่อยู่อาศัยใหม่ประกอบด้วยการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดด้านผังเมืองและที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การส่งเสริมอาคารสูงหรืออาคารที่สามารถผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรมและการอยู่อาศัยได้ในอาคารเดียวกันหรือบริเวณเดียวกันการสนับสนุนทางการเงินในการซื้อหาที่อยู่อาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมในการกระตุ้นการอยู่อาศัยและเศรษฐกิจการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารประเภทต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยและการทำงานเป็นต้น


กลยุทธ์ที่3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่หลากหลายให้กับธุรกิจและการค้าปลีกพื้นที่รอบสถานี พื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองต้องถูกออกแบบให้เป็นสถานที่พิเศษในการอยู่อาศัย การทำงาน การกิน การดื่มการซื้อหา และการได้รับประสบการณ์ดีๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการออกแบบการค้าปลีกให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ที่ตั้ง ระบบการสัญจร และสถาพแวดล้อมซึ่งทุกการออกแบบจะต้องก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับความต้องการที่แตกต่างของผู้คนไม่ว่าพวกเขาจะเดินทางด้วย การเดิน การปั่น หรือการขนส่งมวลชนสามารถออกแบบสร้างสภาพแวดล้อมของธุรกิจและการค้าปลีกได้ด้วยการสร้างกลยุทธ์เพิ่มความหลากหลายในการค้าปลีก เช่น การมี sports stadium, live stylemall หรือ culturalcomplex ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายในทุกเวลาการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเมืองกับผู้ประกอบการพาณิชยกรรมและค้าปลีกการออกแบบให้พื้นที่สองข้างทางเดินเป็นพื้นที่เข้มข้นของการค้าปลีกการใช้ประโยชน์จากที่ว่างด้วยการพัฒนาเป็นย่านประกอบกิจกรรมสังคมและการค้าการกระตุ้นให้ประชาชนอยู่อาศัยในพื้นที่แม้จะเป็นบางช่วงเวลาเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี การสร้างตลาดชั่วคราวตามช่วงเวลาหรือฤดูกาลการสร้างร้านค้าท้องถิ่นให้มีความโดดเด่นและการรักษาที่ตั้งของกิจกรรมค้าปลีกของท้องถิ่นให้เติบโตและก่อกำเนิดสิ่งใหม่ตลอดเวลา


สรุป

บทความตอนต่อไปจะกล่าวสรุปรายละเอียดการวางผังในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตามขั้นตอนที่เหลือและเสนอแนวทางการปรับปรุงทางกายภาพเพื่อให้ง่ายในการประยุกต์ใช้สำหรับท่านที่สนใจเอกสารฉบับเติม ขอให้อ่านจากหนังสือเรื่องแนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ซึ่งจะวางขายในเดือนมีนาคม 2560

เอกสารอ้างอิง

SmartGrowth America, (Re) Building Downtown A Guidebook for Revitalization:

https://smartgrowthamerica.org/work-with-us/.../rebuilding-downtown/







 

Create Date : 27 ธันวาคม 2559    
Last Update : 27 ธันวาคม 2559 23:58:23 น.
Counter : 1424 Pageviews.  

มท.1 เห็นชอบ จัดตั้ง 'บริษัทจำกัด' 5 เทศบาลในขอนแก่น สู่ระบบขนส่ง 'LRT'





มท.1 เห็นชอบ จัดตั้ง 'บริษัทจำกัด' 5 เทศบาลในขอนแก่น สู่ระบบขนส่ง 'LRT'

การพัฒนาเมืองสู่เป้าหมายการเป็นเมืองที่ชาญฉลาด หรือสมาร์ทซิตี้นั้น(Smart City) หนึ่งในโครงการที่อยู่ในความสนใจของชาวขอนแก่นและชาวไทยทั่วประเทศ คือการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรางเบา (LRT) แบบไม่เป็นภาระของรัฐและไร้ความขัดแย้ง ตามโครงการ "ขอนแก่น SMART CITY (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบาสายเหนือ -ใต้ ต้นแบบในภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น" ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้อนุมัติเห็นชอบในหลักการไปแล้วนั้น ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดขอนแก่นโดยคณะอนุกรรมการติดตามความคืบหน้าและประสานงานโครงการหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 เทศบาล องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมผลักดันโครงการมาโดยตลอดและอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ คือการจัดตั้งบริษัทของ 5 เทศบาล เพื่อใช้เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนโครงการฯ






ล่าสุด (26ธ.ค. 59) ที่กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครนำโดยนายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น,นายชัยธวัช เนียมศิริรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น , นายสุวพงษ์ กิติภัทย์พิบูลย์รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น, นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พร้อมคณะร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาลนครขอนแก่นและเทศบาลอีก 4 แห่งเพื่อขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางเบา (LRT) จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายสุธี มากบุญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เข้าพบเพื่อขอคำแนะนำในการดำเนินโครงการฯและมี ดร.ยอดยิ่ง จันทนพิมพ์ นายกเทศมนตรีเมืองศิลา นายวิทิต ทองโสภิตนายกเทศมนตรีตำบลเมืองเก่า นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระนายพิศิษฐ์ รักษ์สกุลกูดอั้ว ปลัดเทศบาลตำบลสำราญแทนนายกเทศมนตรีตำบลสำราญอาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ร่วมประชุมด้วย

ทั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบในหลักการ และหากรับเสนอเรื่องที่ผ่านการพิจารณาด้านกฎหมายจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยตรวจสอบแล้ว จะพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล ต่อไปซึ่งหากเป็นไปตามเป้าหมายคาดว่าจะสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาลแล้วเสร็จภายในต้นปี 2560 นี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะฯระบบ LRT จะแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินโครงการต่อไป


















เครดิต บทความ และภาพ

เทศบาลนครขอนแก่น ภาคกิจกรรม

บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด

//khonkaenthinktank.com/news_view.php?id=37






 

Create Date : 26 ธันวาคม 2559    
Last Update : 26 ธันวาคม 2559 23:05:44 น.
Counter : 1521 Pageviews.  

เชิญร่วมเสวนา"ร่วมสร้างอนาคตสระบุรีด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองสระบุรี" 26 ธ.ค.นี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย







ขอเชิญชวนท่านที่สนใจ

ร่วมงานเสวนาเชิงลึกเรื่อง ร่วมสร้างอนาคตสระบุรีด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองสระบุรี

จัดโดย หอการค้าจังหวัดสระบุรี

ในวันจันทร์ที่ 26ธันวาคม 2559

ณ นูดามัวร์ แกรนด์จรูญรัตน์

12.30-13.00 ลงทะเบียน

13.00-13.20 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเปิดการประชุม

13.20-13.50 การบรรยายเรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสังคมลักษณะ Urbanization และความร่วมมือของภาคเอกชนในการพัฒนาเมืองโดยคุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

13.50-14.20 การบรรยายเรื่อง สภาพพื้นฐานและศักยภาพของจังหวัดสระบุรีโดย ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประสาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต

14.20-15.20 การบรรยายเรื่อง เกณฑ์ SmartGrowth ในการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานเมืองและโมเดลตัวอย่างการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจและระบบขนส่งมวลชนเมืองสระบุรีโดย อ.ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทยและ ผศ.ดร.ปุ่นเที่ยงบูรณธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

15.20-16.30 การบรรยายเรื่องประสบการณ์พัฒนาเมืองและระบบขนส่งมวลชนของบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด โดยดร.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

16.30-17.30 การเปิดอภิปรายทั่วไปและสรุปแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองสระบุรีและการดำเนินการของบริษัท สระบุรีพัฒนาเมืองจำกัดเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดสระบุรี

ดำเนินรายการโดย คุณนพดล ธรรมวิวัฒน์ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี

ขอให้ไปลงทะเบียนที่หน้างาน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2559    
Last Update : 25 ธันวาคม 2559 20:53:20 น.
Counter : 1260 Pageviews.  

“ผังเมือง” เอื้อใช้ “รถยนต์” ก่อพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสี่ยงโรคหัวใจ เพิ่มมลภาวะก่อโรคทางเดินหายใจ





“ผังเมือง” เอื้อใช้ “รถยนต์”ก่อพฤติกรรมเนือยนิ่ง เสี่ยงโรคหัวใจ 

เพิ่มมลภาวะก่อโรคทางเดินหายใจ

นักวิชาการ ชี้ “ผังเมือง” ไม่เอื้อเดินเท้า -ปั่นจักรยาน ทำสุขภาพเสีย ใช้รถยนต์ส่วนตัวก่อ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง”สัมพันธ์เกิดโรคหัวใจ พ่วงมลภาวะเยอะ เกิดโรคระบบทางเดินหายใจได้มากกว่าเสนอรัฐปรับโครงสร้างพื้นฐานเป็นทางสีเขียว เน้นเดิน - จักรยาน พร้อมป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ



ศ.บิลลี่ กิลส์-คอร์ติ (BillieGiles-Corti) มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียกล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง “ผังเมืองและการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ”ในงานประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพครั้งที่ 6 (ISPAH 2016 Congress) ว่าผังเมืองและระบบการขนส่งถือว่ามีผลต่อการมีกิจกรรมทางกายและสุขภาพของประชาชนในเมืองอย่างมากซึ่งการวางผังเมืองที่เอื้อต่อการเดินเท้าและขี่จักรยานจะช่วยให้คนในเมืองนั้นมีกิจกรรมทางกายมากยิ่งขึ้น แต่ที่น่าห่วงคือ กลุ่มประเทศรายได้ระดับปานกลางซึ่งเป็นเมืองกำลังเจริญเติบโต มีการพาหนะเพิ่มขึ้น เท่ากับว่า มีมลภาวะต่างๆเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายการใช้รถยนต์ส่วนตัวส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ที่สำคัญอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลต่อความกลัวในเรื่องของสุขภาพจิต นอกจากนี้หลายเมืองทั่วโลกยังกังวลเรื่องของการขี่จักรยานแล้วเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากโครงสร้างถนนไม่ดีพอ ดังนั้น การจะสร้างเมืองให้เอื้อต่อการเดินเท้าหรือขี่จักรยานจะต้องมีการออกแบบชุมชน วางกฎหมาย และวางผังเมืองให้เอื้อต่อการเดินเท้าขี่จักรยาน และ การใช้ขนส่งมวลชน โดยกระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงคมนาคมถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก

“การจะออกแบบผังเมืองต้องคิดในมุมกว้างต้องพิจารณาวางเครือข่ายท้องถนนเชื่อมโยงกันอย่างไร ความหนาแน่นของเมือง ของคนความหลากหลายการใช้ที่ดิน รูปแบบที่อยู่อาศัย ตัวบ้านเป็นอย่างไรระยะทางในการเปลี่ยนรถเดินทาง โดยต้องทำให้เมืองมีขนาดเล็กลงเพื่อให้คนเดินและขี่จักรยานได้มากขึ้น นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องของการจ้างงานด้วย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ภายในเมืองก็จะทำให้คนเข้าเมืองมามากขึ้น แต่ต้องกระจายการจ้างงานไปรอบๆ เมืองด้วยและจะมีขนส่งมวลชนในการขนคนเข้ามาทำงานอย่างไรขณะที่อุปสงค์ในเรื่องของการใช้รถยนต์ส่วนตัวทำให้มีปัญหาเรื่องที่จอดรถก็ต้องควบคุมในเรื่องเหล่านี้” ศ.บิลลี่ กล่าว




ศ.มาร์ค สตีเวนสัน มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า มีหลักฐานบ่งชี้ว่าระบบการคมนาคมของเมืองจะส่งผลลัพธ์ต่อสุขภาพของคนในเมืองด้วยซึ่งจากการเก็บข้อมูลระบบคมนาคมใน 6 เมืองขนาดใหญ่ เมื่อปี 2014 คือเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย, เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา, กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ, กรุงเดลี ประเทศอินเดีย, กรุงโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์ก และ นครเซาเปาโล ประเทศบราซิล ซึ่งแต่ละเมืองก็จะมีรูปแบบการคมนาคมที่แตกต่างกันไปอย่างกรุงโคเปนเฮเกน พบว่า มากกว่า 53% เน้นการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด พบว่า เมืองที่มีการใช้รถเยอะโดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัว ส่งผลต่อสุขภาพของคนในเมืองมากกว่าการเดินทางโดยระบบอื่นคือ การเดิน และ ขี่จักรยาน โดยเฉพาะโรคหัวใจซึ่งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอรวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ ที่มาจากภาวะมลพิษทางอากาศ เป็นต้น ที่น่าห่วงคือหลายๆ เมืองของแต่ละประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น สหรัฐฯ จีน และอินเดีย มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้ว่าราชการของแต่ละเมืองและโครงสร้างของเมืองต้องรองรับตอบสนองต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองด้วยโดยเฉพาะเรื่องของการขนส่ง

“ขณะนี้หลายๆ เมืองพยายามสร้างทางสีเขียวขึ้นโดยปรับลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แล้วหันมาสนับสนุนให้เกิดการเดินและการขี่จักรยานเพิ่มมากขึ้นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ จะต้องทำให้เมืองเล็กลงเพื่อเอื้อให้เกิดการเดินและใช้จักรยานเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาคือจะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะต้องคำนึงและป้องกันคนเดินเท้าหรือใช้จักรยานที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วย”ศ.มาร์ค กล่าว

เครดิต บทความ //www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000118496




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2559    
Last Update : 19 ธันวาคม 2559 11:50:01 น.
Counter : 1258 Pageviews.  

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD (บทความจากเว็บ KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM)




Smart Growth Thailand ขออนุญาตนำบทความมาแบ่งปันเผยแพร่ เพิ่มเติมจาก เว็บ KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM เกี่ยวกับเรื่อง แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD (Transit-Oriented Development)ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากมายมหาศาล เป็นแนวคิดยุคใหม่ของไทย(แต่ในต่างประเทศเค้ามีมาเป็นสิบปีแล้ว)ซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทางที่ระบบขนส่งมวลชนพาดผ่าน(หรือบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ) ยังสามารถสร้างเมืองต่างๆ ให้มีความสามารถในการแข่งขันอีกเป็นอย่างมากนอกจากนั้น ระบบขนส่งมวลชน เป็นหนึ่งใน “หัวหอก” สร้างการเชื่อมต่อการสัญจรของคนกลุ่มใหญ่ อาจจะทั้งประเทศเลยก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับระบบขนส่งมวลชนนั้นๆจะออกแบบเป็นเช่นไร -admin

เข้าสู่บทความเครดิต เว็บKTS KHON KAENTRANSIT

(โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม)

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD

TODหรือTransit-OrientedDevelopment เป็นรูปแบบการพัฒนาและจัดการเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้เกิดความกระชับ(Compact)ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน(Mixed-Use)

เมืองที่ได้รับการพัฒนา TOD หรือเรียกว่าเมืองกระชับมักมีองค์ประกอบดังนี้

Corecommercial area – พื้นที่ย่านการค้าหลัก แบบผสมผสาน - ร้านค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร สำนักงาน

Residentialarea – พื้นที่ย่านพักอาศัย อยู่ในรัศมีที่สามารถเดินถึงย่านการค้าและระบบขนส่งได้สะดวก ( ~ 10 นาที) มีรูปแบบที่พักอาศัยหลากหลาย

PublicUses – พื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ลาน / พลาซา พื้นที่สีเขียว อาคารสาธารณะต่างๆ

SecondaryArea - ย่านพักอาศัยหนาแน่นน้อย / เบาบางมีโครงข่ายทางเดินและจักรยาน และโครงข่ายถนนเชื่อมกับ พื้นที่หลัก


ที่มา : Calthorpe, P. (1993). The Next AmericanMetropolis: Ecology, Community, and the American Dream. New York: PrincetonArchitectural Press.

1. เมือง Orestad, Copenhagen ประเทศ Denmark

โครงการ Orestadถูกออกแบบมาให้รองรับประชากรอยู่อาศัยประมาณ 20,000 คนซึ่งจะอาศัยและทำงานภายในเมืองใหม่นี้ เมืองใหม่สามารถรองรับการจ้างงานได้มากถึง80,000 คนเนื่องจากออกแบบให้ตั้งอยู่บนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสาธารณะของโคเปนเฮเกนทำให้ไม่เกิดปัญหาในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองใหม่กับส่วนอื่นๆของโคเปนเฮเกนตำแหน่งที่ตั้งของเมืองใหม่สามารถเดินทางสู่สนามบิน และสถานีรถไฟ ได้ในเวลาเพียง6-7 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้รถไฟที่ผ่านเมืองนี้ยังสามารถเชื่อมโยงข้าม Oresund Bridge สู่เมือง Malmo ในประเทศสวีเดนได้อย่างสะดวกภายในครึ่งชั่วโมง

Orestadแบ่งเป็นชุมชนหลักๆ ตามแนวเส้นทางรถไฟคือ ชุมชนด้านเหนือ เป็นส่วนที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดเป็นที่ตั้งของชุมชนอยู่อาศัยมากกว่า 1,000 หน่วย มีอาคารสาธารณะที่สำคัญ เช่น Concert Hall และเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาหลายแห่งชุมชนเมือง Orestad (Orestad City) เป็นย่านธุรกิจการค้าเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม โรงแรม และ ย่านพักอาศัยหนาแน่นสูงชุมชนด้านใต้ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ สำนักงาน และอาคารพักอาศัยหนาแน่นปานกลาง-สูงอาคารและสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่เมืองใหม่ได้รับการออกแบบให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ความหลากหลายของประเภทที่พักอาศัยหนาแน่นปานกลาง– สูง ใน Orestad

ที่มา: //clausib.blogspot.com/2012/08/8-tallet-restad.html


ผังแสดงเมืองใหม่ Orestad(ซ้าย)

ที่มา://www.e-architect.co.uk/copenhagen/orestad-2-0-development

โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยแบบความหนาแน่นสูงในย่านกลางเมืองOrestad(ขวาบน)

ย่านมหาวิทยาลัยใน Orestad(ขวากลาง - ล่าง)

ที่มา ://en.wikipedia.org/wiki/%C3%98restad


ระบบขนส่งสาธารณะ (Metro Line) ที่เชื่อมต่อ Orestadกับส่วนอื่นๆของ Copenhagen

ที่มา: //clausib.blogspot.com/2012/08/8-tallet-restad.html


2. เมือง Portland, OR ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมืองปอร์ดแลนได้นำแนวคิด “Smart City”  มาใช้กับการกำหนดแนวทางการพัฒนา  ประกอบด้วยเสาหลัก 5 ประการคือ

การกำหนดแนวเขตการพัฒนาหรือ การจำกัดพื้นที่การพัฒนา (Growth Boundaries) และ การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed Uses)

การเข้าถึงบริการสาธารณะ และการเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่ง (Mobility and Accessibility)

การสร้างความหมายให้กับพื้นที่เมือง (Place Making and Community Building)

การให้ความสำคัญกับการฟื้นฟู รักษาอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของเมือง (Ecological Restoration and Conservation)

การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในชุมชนพร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพให้กับประชาชนแบะชุมชนต่อการพัฒนาเมือง (Community Capacity Buildingand Civic Engagement)

การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานรอบแนวโครงข่าย MAX Light Rail ของ Portland, OR

ที่มา: //www.streetsblog.org/2010/05/25/how-portland-sold-its-banks-on-walkable-development/



การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานรอบแนว MAX ในย่านใจกลางเมือง Portland, OR

และการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับคนเดินในชุมชนชานเมืองPortland

ที่มา: //www.ehabweb.net/portland/#.U7ekqJR_uSo


เครดิต KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

//www.kts2016.com/page.php?id=3




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2559    
Last Update : 9 ธันวาคม 2559 5:31:40 น.
Counter : 1740 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.