ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหนักไปทางใด การพาณิชยกรรมสองข้างทางจึงได้อานิสงค์มาก




CollegeStreet is designed for motorists, transit users, cyclists and pedestrians, andsupports vibrant commercial zones.

ที่มาภาพ //www1.toronto.ca/wps/portal/contentonly?vgnextoid=bdb604f82477d410VgnVCM10000071d60f89RCRD



อ.ฐาปนาบุณยประวิตร สรุปเนื้อหาจาก treehugger.com ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง

ลงในFACEBOOK :SMART GROWTH THAILAND

ADMINจึงขอนำเสนอเผยแพร่ครับ


ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหนักไปทางใด 

การพาณิชยกรรมสองข้างทางจึงได้อานิสงค์มาก


ผลการศึกษาที่แสดงว่า ผู้กระตุ้นเศรษฐกิจสองข้างทางจริงๆไม่ใช่ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

Treehugger เสนอผลการศึกษาจากพื้นที่ Toronto's ParkdaleNeighbourhood พบว่า

 ผู้คนที่ซื้อของร้อยละ 72 มาจากกลุ่ม active transportation ลองดูว่าเมื่อจำแนกประเภทแล้วใครเดินทางมาด้วยวิธีใด

 ร้อยละ 53 เดินมา ร้อยละ 19 ปั่นมา ร้อยละ 22 มากับรถขนส่งสาธารณะ

 ร้อยละ 1 มากับแท็กซี่ ที่น่าแปลกคือเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่มากับรถยนต์ส่วนบุคคล 

(ร้อยละ 2 มาจากโหมดอื่นๆ) เห็นข้อมูลนี้แล้วท่านจะเห็นว่าหากจะวางแผนลงทุนที่จอดรถริมทาง

กับที่จอดในอาคารกับการขยายทางเดินหรือทางจักรยานและลงทุนระบบขนส่งสาธารณะอะไรควรทำก่อน

 หรืออาจทำทุกโหมด แต่ให้แบ่งสัดส่วนของพื้นที่และงบประมาณให้ดีหากลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหนักไปทางใด 

ผลที่ได้อาจจะเป็นแบบที่เห็นครับ



กลุ่มผู้คนที่ซื้อของ มาจากกลุ่มสัญจรด้วยการเดินถึง 53%

ที่มาภาพ //www1.toronto.ca/wps/portal/contentonly?vgnextoid=bdb604f82477d410VgnVCM10000071d60f89RCRD


กลุ่มผู้คนที่ซื้อของ มาจากกลุ่มสัญจรด้วยการใช้จักรยาน 19%

เครดิตภาพ treehugger.com


กลุ่มผู้คนที่ซื้อของ มาจากกลุ่มสัญจรด้วยการใช้ระบบขนส่งมวลชน(ขนคนครั้งละมากๆ) 22%


กลุ่มผู้คนที่ซื้อของ มาจากกลุ่มสัญจรด้วยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 4% และใช้แท็กซี่1%

อ้างอิง

//www.treehugger.com/urban-design/taking-back-streets-most-businesses-urban-streets-make-their-money-pedestrians-and-cyclists.html





 

Create Date : 11 มกราคม 2560    
Last Update : 11 มกราคม 2560 13:56:31 น.
Counter : 1278 Pageviews.  

(สมุทรสาคร) ระดมสมอง เพื่อพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อลูกหลานในอนาคต








(สมุทรสาคร) ระดมสมอง เพื่อพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อลูกหลานในอนาคต

สรุปผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นวันนี้คณะกรรมการหอการค้าสมุทรสาครประกอบด้วย ดร.ปรีชา ศิริแสงอารำพี ประธานหอการค้าฯดร.สุนทร วัฒนาพร คุณสุเทพ ปัญญาสาคร และคณะ ร่วมกับทีม SGT สำรวจข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดมีข้อสรุปว่า

1.บริเวณตลาดรถไฟมหาชัยซึ่งเป็นตลาดเก่ามีโหมดการเดินทางรวมกันไม่น้อยกว่า 5 โหมด ได้แก่ รถขนส่งระหว่างเมืองรถขนส่งระหว่างอำเภอและชุมชนขนาดใหญ่ รถขนส่งสาธารณะในตัวเมืองท่าเรือท่าฉลอม-มหาชัย และสถานีรถไฟมหาชัย พทบริเวณนี้ควรได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเป็นศูนย์กลางคมนาคม 1 ของจังหวัด



มีโหมดการเดินทางรวมกันไม่น้อยกว่า 5 โหมด

2.พื้นที่โดยรอบศูนย์การค้า Porto Chino และเซ็นทรัลเฟสติวัลบริเวณริมถนนพระราม 2 ควรพัฒนาเป็นศูนย์กลางขนส่ง 2 ของจังหวัด 



PortoChino และเซ็นทรัลเฟสติวัล (บนถนนพระราม 2)

3.พื้นที่บริเวณต.พันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมสินสาครและศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ประมงสมุทรสาครรวมศูนย์ R&Dและอควอเรี่ยมปัจจุบันเป็นที่ดินของนิคมสหกรณ์ที่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ครอบครองแล้ว ควรแบ่งพื้นที่พัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารสมุทรสาคร





ที่มาภาพ MAHACHAICABLE TV

4.พื้นที่ริมน้ำท่าจีนควรพัฒนาเป็นwaterfrontให้เป็นแหล่งนันทนาการริมน้ำขนาดใหญ่ที่คงอัตลักษณ์ของย่านประวัติศาสตร์และวิถีเมืองเดิม

5.พื้นที่ย่านท่าฉลอมอันเป็นย่านประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานชาวจีนยุคแรกควรปรับปรุงฟื้นฟูเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยการเพิ่มกิจกรรมเศรษฐกิจประเภทการโรงแรมร้านอาหาร และกิจกรรมการนำชมย่านเพื่อให้เพิ่มระยะเวลาการพำนักในพื้นที่




6.พื้นที่นาโคกซึ่งปัจจุบันเป็นนาเกลือทิ้งร้างควรได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์อุตสาหกรรมใหม่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหาร

7.การพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์บริเวณนิคมอุตสาหกรรมสินสาครโดยขยายโครงข่ายขนส่งทางรางให้เชื่อมต่อโครงข่ายเดิม(โครงข่ายรางสายวงเวียนใหญ่-มหาชัยและสายมหาชัย-ปากท่อหรือเพชรบุรี)และลดความจำเป็นในการขนส่งทางถนน

8.การพัฒนาท่าเรือและระบบการส่งออกสินค้าเพื่อการส่งออกสินค้าเชื่อมต่อกับท่าเรือแหลมฉบังเพื่อลดภาระการขนส่งทางถนนและลดต้นทุนการขนส่ง

9.การพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนทางรางสายพระราม2 ซึ่งอาจต่อจากตลาดพลูมายังศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง2 จังหวัดสมุทรสาคร (บริเวณ Porto Chino) หรือพัฒนาจากสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ จากกทม.มายังตัวเมืองสมุทรสาครตามแนวถนนพระราม 2 เนื่องจากพื้นที่ตลอดสองข้างทางมีความหนาแน่นทางเศรษฐกิจมากและความสามารถรองรับการขนส่งทางถนนอาจไม่สามารถรองรับได้(แม้จะมีโครงการทางยกระดับคร่อมถนนพระราม 2 ก็ตาม)

10.การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองให้เชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจในเขตเมือง และ 



รถบัสชานต่ำ ระบบขนส่งมวลชนสายรอง (Feeder) เพื่อป้อนผู้โดยสารเชื่อมต่อสายหลักในอนาคต

ที่มาภาพ :ขอนแก่นซิตี้บัส



รถรางเบา (Lightrail/Tram/Streetcar)

ขนคนครั้งละมากๆ ระบบขนส่งมวลชนหลักเชื่อมต่อภายในเมือง

ที่มาภาพ home.co.th#ขอนแก่นโมเดล

11.การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจในเขตเมืองจำนวน6 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจถนนพระราม 2 ศูนย์เศรษฐกิจตลาดมหาชัยศูนย์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวท่าฉลอมศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์พันท้ายนรสิงห์ศูนย์เศรษฐกิจนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร และศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเมืองใหม่นาโคก

กล่าวโดยสรุป ผลการสำรวจเบื้องต้นในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า โครงสร้างพื้นฐานเมืองสมุทรสาครยังขาดความสมบูรณ์และความสมดุลที่เห็นได้ชัดสรุปได้ดังนี้

1.โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งยังเป็นโครงสร้างที่ออกแบบเพื่อการพึ่งพาการใช้รถยนต์และการขนส่งทางถนนเป็นหลักซึ่งผิดไปจากเกณฑ์ smart growth & LEED-ND

2. เมืองสมุทรสาครเป็นเมืองแห่งการผลิตทั้งการผลิต ผลิตภัณฑ์ประมงผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทั่วไปแต่เมืองไม่มีการวางแผนโครงสร้างระบบการขนส่งการคลังและระบบการกระจายสินค้าหรือระบบโลจิสติกส์ที่ถูกต้องทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานที่ผิดประเภทและ ขาดประสิทธิภาพส่งผลทางตรงให้ต้นทุนการผลิตสูงและไม่อาจควบคุมสภาพแวดล้อมการจัดการเชิงพื้นที่ได้

3. เมืองสมุทรสาครขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนอย่างรุนแรงโครงข่ายการเดินทางหลักเข้าสู่เมืองจากกรุงเทพมหานครและหัวเมืองต่างๆใช้การเดินทางทางถนนเป็นหลัก ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน สร้างอุบัติเหตุ ก่อมลภาวะและต้นทุนการเดินทางสูง

4. สืบเนื่องจากข้อ 3 การขาดการพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่มีอยู่แล้ว(รถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย) เมืองต้องสูญเสียโอกาสการพัฒนาระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพด้วยการขนส่งทางราง

5. จากข้อ 3 การอนุมัติให้สร้างทางคร่อมชั้น 2 ถนนพระราม 2 จากดาวคะนอง-ปากท่อนับเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุโครงการดังกล่าวจะไม่สามารถรองรับการสัญจรและการขนส่งสินค้าในระยะยาวได้ เนื่องจากปริมาณการสัญจรและการขนส่งสินค้าผ่านถนนพระราม 2ปัจจุบันได้เกินความสามารถรองรับของถนนไปแล้วมาก การแก้ไขที่เหมาะสมควรลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ให้บริการการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟฟ้ารางเบาที่เชื่อมต่อจากใจกลางกรุงเทพมหานครมายังตัวเมืองสมุทรสาคร

6. ขาดการปรับปรุงฟื้นฟูย่านการค้าและย่านประวัติศาสตร์ทั้งบริเวณชุมชนตลาดมหาชัยและชุมชนท่าฉลอมทำให้เมืองขาดรายได้จากการท่องเที่ยวและระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ชั้นในของเมืองขาดความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจ

7.ระบบกายภาพเมืองขาดความสมดุลระหว่างระบบกายภาพที่สนับสนุนทางเศรษฐกิจกับระบบกายภาพที่เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยและการนันทนาการทำให้เกิดการย้ายออกของประชากรวัยทำงานซึ่งจะส่งผลให้เมืองขาดประสิทธิภาพในระยะยาว

8.เมืองขาดการวางผังและออกแบบ ทำให้แต่ละย่านและชุมชนขาดเอกลักษณ์บริบทและหน้าที่อย่างชัดแจ้ง ไม่รวมระบบการเชื่อมต่อของโครงข่ายการเดินทางและการขนส่งซึ่งอยู่ในฐานะที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับศูนย์เศรษฐกิจซึ่งเมืองไม่ได้กำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดและขอบเขตทำให้ยากในการพัฒนาและสื่อสารกับผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาและข้อจำกัดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ในวันที่18 มกราคม 2560หอการค้าจังหวัดสมุทรสาครจะนำมาพิจารณาและจะร่วมกับทุกภาคส่วนวิเคราะห์หาทางออกพร้อมร่วมกันวางแผนสู่การพัฒนาให่เกิดความยั่งยืนในอนาคต ต่อไป




 

Create Date : 09 มกราคม 2560    
Last Update : 9 มกราคม 2560 0:18:31 น.
Counter : 1375 Pageviews.  

(สมุทรสาคร)เชิญร่วมเสวนา“สมุทรสาครกับการพัฒนาสู่ยุค 4.0”การขับเคลื่อนศูนย์เศรษฐกิจ พาณิชย์ อุตสาหกรร




หอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมสมุทรสาคร

ขอเชิญชวนสมาชิกชาวหอการค้าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการบริการและหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมการเสวนาเรื่อง “สมุทรสาครกับการพัฒนาสู่ยุค 4.0” การขับเคลื่อนศูนย์เศรษฐกิจ พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

วันที่ 18 มกราคม 2560 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องสัมมนานิคมอุตสาหกรรม สินสาคร

กำหนดการ

13.00-13.10 น. ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาครกล่าวต้อนรับผู้ร่วมประชุม

13.10-13.20 น. พิธีเปิดการประชุมโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร

13.20-13.50 น. การบรรยายพิเศษเรื่องยุทธศาสตร์ความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาเมืองสมุทรสาคร

โดย คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

13.50-14.30 น. การบรรยายเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดสมุทรสาคร 4.0

โดยอจ. ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย

14.30-15.30 น. การบรรยายเรื่องแนวทางการพัฒนาเมืองด้วยระบบขนส่งมวลชน กรณีศึกษาบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง

จำกัดโดย อจ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ช.ทวีและกรรมการบริษัท

ขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด

15.30-15.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.45-16.30 น. การเสวนาเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร 4.0 สู่การปฏิบัตินำการเสวนา

16.30-17.00 น. สรุปแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสาคร












 

Create Date : 08 มกราคม 2560    
Last Update : 8 มกราคม 2560 9:11:54 น.
Counter : 1218 Pageviews.  

ครม.ไฟเขียวตั้ง'กรมราง' ภารกิจเชื่อมระบบขนส่ง





ครม.ไฟเขียวตั้ง'กรมราง' ภารกิจเชื่อมระบบขนส่ง

เกริ่นนำ

ขนส่งทางราง ก็คล้ายกับกระดูกงูเรือ ที่เป็นโครงสร้างหลักพื้นฐานของเรือ

ฉันใดก็ฉันนั้นครับ กรมขนส่งทางรางก็มีความสำคัญเป็นยิ่งยวดในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน (ขนคน ขนสินค้าครั้งละมากๆ)ทั้งระหว่างเมือง (ภูมิภาค) ทั้งภายในเมือง นอกเมือง และบางครั้งระหว่างประเทศ

โดยกำหนดทิศทางที่แน่นอน ระบบรางเป็นเป็นขนส่งมวลชนหลักแล้วมีขนส่งมวลชนรอง Feeder เชื่อมต่อเข้าสู่ขนส่งมวลชนหลักเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในอนาคต ทั้งในรูปการลงทุน และในรูปของการสร้างคุณภาพชีวิตอย่างไรก็แล้วแต่ระบบขนส่งมวลชน ก็ต้องออกแบบควบคู่กับการวางผัง ออกแบบเมืองจะเกิดมูลค่าสูงสุด ได้ทั้ง TOD การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและบริเวณใกล้เคียง

หมายเหตุ ศัพท์เทคนิค ที่ใช้กันประจำถ้ามีระบบรางไปที่ไหนที่นั่นจะมี Transit-Oriented Development อักษรย่อคือ TODคือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน และบริเวณโดยรอบ

TOD หรือ Transit-OrientedDevelopment เป็นรูปแบบการพัฒนาและจัดการเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้เกิดความกระชับ(Compact) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed-Use)-ADMIN

เข้าสู่บทความ

ครม.เห็นชอบตั้งกรมการขนส่งทางรางคุมระบบรางประเทศเคาะอัตรากำลัง 203อัตรา ตีกรอบค่าใช้จ่ายปี 60 ที่ 208.33 ล้านบาท พร้อมเข็นพ.ร.บ.ขนส่งทางรางเพิ่มประสิทธิภาพทำงานเต็มสูบ ด้าน คสช.ใช้ ม.44 เปิดทางรฟม.จ้างบริษัทเดิมเดินรถส่วนเชื่อมต่อเตาปูน-บางซื่อระบุเพื่อความสะดวกจ้างบริษัทอื่นจะยุ่งยาก รฟม.คาดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง 1สถานี ได้ราว ส.ค.-ก.ย.60

เมื่อวันอังคาร นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ....(การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง)โดยให้มีการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางขึ้นในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานส่วนกลางในการเสนอแนะนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ วางแผนโครงข่ายบริหารงานด้านการขนส่งทางรางของประเทศกำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานระเบียบทางด้านความปลอดภัยด้านการซ่อมบำรุงทางและด้านการประกอบการ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศ

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภารกิจด้านการขนส่งมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในระดับประเทศและภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทาง

โดยโครงสร้างส่วนราชการ ประกอบด้วย กลุ่มตรวจสอบภายใน,กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร,สำนักงานเลขานุการกรม,กองกฎหมาย,กองกำกับกิจการขนส่งทางราง,กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทางและกองยุทธศาสตร์และแผนงาน พร้อมทั้งกำหนดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสมกับภารกิจที่จำเป็นต้องดำเนินการรวมทั้งสิ้น 203 อัตรา โดยให้ตัดโอนอัตรากำลังของสำนักงานโครงการพัฒนาระบบรางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มากำหนดไว้ในกรมการขนส่งทางราง 20 อัตราและสรรหาบุคลากรเพื่อขอบรรจุอัตรากำลังเพิ่มเติมอีก 183 อัตรา ประมาณการกรอบค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในการจัดตั้งกรมในปี2560 อยู่ที่ 208.33 ล้านบาท โดยไม่รวมกับงบลงทุนตามแผนการลงทุน

นอกจากนี้ได้จัดทำแผนการขนส่งทางรางที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแยกภารกิจด้านการกำกับดูแลออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้แก่ การปรับแก้ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494เพื่อให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ....โดยได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่รวม 3 บริษัทของ รฟท.เพื่อฟื้นฟูกิจการในการให้บริการ

นายณัฐพรกล่าวอีกว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบการกำหนดร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางรางที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านการขนส่งทางรางและเสนอความเห็น การให้คำปรึกษาต่อ ครม. พร้อมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม หรือรองปลัดฯที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานมีอำนาจในการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขใช้อำนาจดำเนินการ

“การจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางดังกล่าวเป็นการยกฐานะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบรางในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรขึ้นเป็นกรมการขนส่งทางราง เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนารูปแบบการลงทุนและบริหารจัดการโครงการลงทุนทางรางของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายณัฐพกล่าว

ด้าน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม คสช.ได้ออกคำสั่ง คสช. มาตรา 44เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล)จากหัว

ลำโพง-บางซื่อ และสายสีม่วง จากบางใหญ่-บางซื่อซึ่งปัจจุบันสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ รางรถไฟฟ้าพร้อมใช้งานแล้ว แต่ยังไม่มีคนเดินรถจึงออกคำสั่งให้รฟม.ไปจ้างบริษัทเดินรถใดก็ได้ให้เข้ามาดำเนินการในช่วงสถานีดังกล่าวที่ไม่มีผู้เดินรถอาจจะเป็นบริษัทเจ้าเดิมก็ได้ เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกขึ้นคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนสูงสุด

"นายกรัฐมนตรีเป็นห่วง ไม่อยากให้มองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ลงทุนในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เดินรถอยู่แล้วแต่ถ้าคำนึงถึงความเป็นจริง การต้องไปจ้างบริษัทเจ้าอื่นมาดำเนินการมันจะยุ่งยากค่าใช้จ่ายกับประชาชนสูงขึ้น ดังนั้นคงจะเป็นเจ้าเดิมมาดำเนินการและมีข้อตกลงแบ่งสันปันส่วนกัน ซึ่งนายกฯ ย้ำว่าจะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และไม่ทำให้รัฐเสียเปรียบ ยังได้มีข้อกำหนดว่าหากใช้อำนาจมาตรา 44 ในเรื่องนี้แล้ว ไม่ต้องไปนำกฎหมายลงทุนร่วมรัฐเอกชนหรือทีพีพี มาใช้ เพื่อให้รวดเร็วหากการเจรจากับบริษัทเดิมเพื่อให้ได้ในราคาที่ถูก แต่เจรจาไม่สำเร็จรฟม.สามารถจ้างบริษัทอื่นได้ แต่ต้องคำนึงถึงประชาชนและรัฐ"พล.ท.สรรเสริญกล่าว

ด้าน พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม.เปิดเผยความคืบหน้าการเดินรถเชื่อมต่อ 1 สถานี ระยะทาง 1 กิโลเมตร (กม.)ช่วงสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ แล้ว ว่าโดยหัวหน้า คสช.จะออกคำสั่งตามมาตรา 44เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินรถ 1 กม.ดังกล่าว สาเหตุที่ต้องใช้คำสั่งพิเศษเนื่องจากติดข้อกฎหมายไม่สามารถดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 56ที่อาจจะขัดต่อกฎหมาย ประกอบกับมีผู้ร้องคัดค้านไม่ให้รายเดิมเดินรถเพราะจะทำให้เกิดการผูกขาด แต่ทาง รฟม.ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก จึงให้บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ที่เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ามาเดินรถสถานีบางซื่อต่อเนื่องไปสถานีเตาปูนซึ่งเป็นแนวทางที่ดำเนินการได้เร็วที่สุด โดยก่อนหน้านี้ได้เจรจากับ BEMเรื่องงบลงทุนติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจำนวน 693 ล้านบาท และว่าจ้างเดินรถปีละ 52 ล้านบาท

"รฟม.จะเรียก BEM มาเจรจาเดินรถต่อรองการเดินรถ 1 สถานีเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จากนั้นจะนำผลการเจรจาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ในวันที่ 11 ม.ค.60 และเสนอให้ ครม.อนุมัติ แล้วก็จะเซ็นสัญญากับเอกชนทันทีหลังจากนั้นจะใช้เวลาติดตั้งระบบ 6 เดือน และทดลองเดินรถ 2 เดือนจึงคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ส.ค.-ก.ย.60" พ.อ.ยอดยุทธกล่าว

พ.อ.หญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า นายกรัฐมนตรีต้องการดูแลประชาชนทุกกลุ่ม โดยรถไฟชั้น 3เป็นการดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งรถไฟชั้น 3เป็นการเริ่มต้นปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะใหม่เนื่องจากกระทรวงคมนาคมไม่ได้ปรับปรุงระบบดังกล่าวมานานซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้มีการพัฒนาความสะอาด รูปลักษณ์ด้วยการทาสีใหม่ให้ดูน่าใช้ดังนั้นนายกฯ ขอความร่วมมือประชาชนที่ใช้บริการว่า อยากให้ช่วยกันรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของขบวนรถไฟ เพื่อเก็บไว้ใช้ได้นานๆ และฝากไปถึงเจ้าหน้าที่ของรฟท.ว่าอยากให้ทุกท่านช่วยกันดูแล และใส่ใจประชาชนที่ใช้บริการด้วย

เครดิตข่าวไทยโพสต์ 28 ธันวาคม 2559

goo.gl/jem3Cb




 

Create Date : 04 มกราคม 2560    
Last Update : 4 มกราคม 2560 7:38:59 น.
Counter : 1049 Pageviews.  

แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 3 การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ





แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดินตอนที่ 3

การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

//www.smartgrowththailnd.org และ //www.asiamuseum.co.th

บทนำ

บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงแนวทางการวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจให้เป็นเมือง

คนเดินไปแล้ว3ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1การทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นที่และชุมชน (Understand your space and community) ขั้นตอนที่ 2การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดิน (Create anattractive, walkable place) และขั้นตอนที่ 3การวางผังสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (Diversify the downtown economy) สำหรับบทความตอนที่ 3 จะกล่าวถึง 4 ขั้นตอนการวางผังที่เหลือได้แก่

ขั้นตอนที่4 การสร้างความเท่าเทียม (Build in equity) ขั้นตอนที่5 การจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ข้อกำหนด และกระบวนการดำเนินการของรัฐ (Improvegovernment regulations and processes) ขั้นตอนที่ 6การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ (Finance projects) และขั้นตอนที่7 การจัดทำระบบและมาตรการบริหารจัดการพื้นที่ (Establish on-goingplace management) รายละเอียดดังนี้



ภาพร่างศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมือง

ที่มา:Urban Design Associates: //www.urbandesignassociates.com/urbandesign-1/


ขั้นตอนที่4การสร้างความเท่าเทียม

การปรับปรุงฟื้นฟูที่ดีนั้นจะต้องสร้างระบบทางกายภาพกระตุ้นให้ประชาชนมีรูปแบบพฤติกรรมที่ดีและสร้างพลังการขับเคลื่อนของชุมชนไปสู่จุดหมายความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ต้องยืนยันให้แน่ชัดว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมในพื้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ซึ่งก็หมายถึง ในการปรับปรุงฟื้นฟูนั้น จะต้องสร้างโอกาสการสร้างงานได้ทุกระดับของความเชี่ยวชาญและระดับเงินเดือนของประชาชนสามารถรักษาที่อยู่อาศัยเดิมไว้ได้ (ทั้งที่อยู่อาศัยแบบเช่าและที่เป็นเจ้าของ) รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างที่อยู่อาศัยหลังใหม่ที่มีความหลากหลาย โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยกลยุทธ์ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1เริ่มต้นที่ความร่วมมือในการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ผ่านมามักจะคิดวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคาในช่วงท้ายๆซึ่งเป็นช่วงที่ได้ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและวางผังทางกายภาพไว้เสร็จสิ้นแล้ววิธีดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา เนื่องจากที่ดินถูกกำหนดระดับราคาไว้เป็นแบบตายตัวซึ่งไม่สามารถปรับลดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่อยู่อาศัยในทางปฏิบัติที่ถูกต้องควรกำหนดประเภทที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีความยืดหยุ่นและควรทำความตกลงกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยงานที่ลงทุนให้เสร็จสิ้นก่อนพร้อมๆ กับการวางแผนปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ผู้วางผังควรสร้างย่านใจกลางเมืองให้เป็นย่านที่ยืดหยุ่นและทุกคนสามารถซื้อหาที่อยู่อาศัยได้อย่างสะดวกด้วยราคาที่สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อหาและควรสร้างนโยบายด้านการเงินและแนวทางสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้วางแผนเมืองในระดับนโยบายได้ทราบแนวทางในการจัดการเรื่องทำเลที่ตั้งและระบบการเชื่อมต่อทางกายภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัยกับโครงสร้างพื้นฐานอื่น อย่างไรก็ตาม แนวทางหลักที่แนะนำให้ดำเนินการประกอบด้วย

1)การช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในขณะนั้นสามารถอยู่ต่อในพื้นที่ที่ปรับปรุงฟูได้ด้วยเครื่องมือทางการเงินหรือด้วยการลดภาษี และการสร้างพื้นที่เช่าที่มีโอกาสในการซื้อต่อ

2)การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีความหลากหลายด้านขนาดและราคาด้วยการทบทวนข้อกำหนดย่านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning Codes)ให้สอดคล้องแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่และการพัฒนาอาคารที่ผสมผสานการใช้ประโยชน์ของประชาชนทุกระดับรายได้และใช้อาคารให้มีความหนาแน่นสูงและ

3) สร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานแต่มีราคาระดับล่าง ด้วยการทำความตกลงกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้ร่วมสนับสนุนการลงทุนและการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้วยโบนัสการสร้างความแน่น (densitybonuses) ให้แก่ผู้ประกอบการ เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 2ผลักดันโอกาสทางเศรษฐกิจ ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ ความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้ประชาชนเกิดความอ่อนแอทางเศรษฐกิจแต่ประชาชนยังมีความเสี่ยงด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจอื่นที่เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ในระยะยาวงานวิจัยหลายชิ้นๆ ได้แสดงให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงสำหรับประชาชนทุกคนและทุกระดับชั้นดังนั้น การขับเคลื่อนให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้โดยการสนับสนุนเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของคนในท้องถิ่นด้วยการส่งเสริมการฝึกอบรมสร้างสมประสบการณ์การทำงานและการส่งเสริมการเชื่อมประสานระหว่างผู้อยู่อาศัยกับแหล่งงานจึงเป็นทางเลือกที่ควรจะทำ ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์การลดค่าเช่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจเจ้าของคนเดียวหรือธุรกิจอิสระการปกป้องธุรกิจขนาดเล็กที่ยังดำเนินการอยู่ การสนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการการสร้างโอกาสในการทำงานด้วยการฝึกอบรมนวัตกรรม และการเชื่อมประสานระหว่างคนกับงานให้มีความสมดุล



ภาพร่างศูนย์เศรษฐกิจ

ที่มา: Pinterest • The world’s catalog of ideas:https://www.pinterest.com/archscene/urban-design/


ขั้นตอนที่5การจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ข้อกำหนด และกระบวนการของรัฐ

การวางผังที่ดีจะต้องนำเสนอให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดกฎระเบียบ หรือกฎหมายเพื่อให้เกิดความสะดวกในการดำเนินงานตามเป้าหมาย อย่างแรกให้ปรับปรุงเป้าหมายการฟื้นฟูพื้นที่และกระบวนการต่างๆให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือกฎระเบียบของรัฐต่อมาให้เสนอเปลี่ยนแปลงย่านการใช้ที่ดินให้เกิดความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูย่านรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการพัฒนาหรือข้อบัญญัติ (developmentcodes and ordinances) ต่าง ๆ โดยให้ปรับปรุงข้อกำหนดเพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นการพัฒนาของภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรในการพัฒนาพื้นที่สุดท้ายให้วางแผนกระบวนการทำงานที่เป็นไปตามการอนุญาตที่กำหนดจากหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการวางผังตามมาตรฐานการพัฒนาพื้นที่และตามวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องปรับปรุงกระบวนการให้ลดเวลาและลดต้นทุนการดำเนินการของผู้พัฒนาพื้นที่และภาคธุรกิจสอบถามผู้ประกอบการธุรกิจว่า มีข้อกำหนดใดที่เป็นอุปสรรคในการยับยั้งหรือชะลอการลงทุนหรือจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดใดเพื่อให้ภาระผูกพันในการยกระดับการพัฒนาโครงการหรือเมืองให้มีความปลอดภัยและมีสุขภาวะโดยทั้งรัฐและเอกชนในฐานะผู้ลงทุนต่างก็ต้องประสบผลสำเร็จซึ่งในที่สุดแล้วจะเป็นการกระตุ้นให้โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นดำเนินไปลุล่วงตามเป้าหมายทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์สำคัญที่ประกอบด้วย

กลยุทธ์ที่ 1การปรับปรุงข้อกำหนดและกระบวนการสาธารณะควรมองหาหนทางในการยกระดับกระบวนการทำงานที่ถูกกำหนดจากรัฐให้ตอบสนองต่อการดำเนินการของธุรกิจเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การปรับปรุงย่านการใช้ที่ดินเพื่อให้มีพื้นที่อนุญาตให้พัฒนาหรือสามารถพัฒนาได้ตามรูปแบบย่านที่ต้องการการปรับปรุงข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติที่อาจบังคับให้กระบวนการดำเนินงานช้าลงโดยเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดให้การดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ และเป็นการกระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆสนับสนุนการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างกระบวนการทำงานให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการดำเนินการของผู้พัฒนาโครงการและธุรกิจด้วยการสร้าง guidebookสำหรับเจ้าของธุรกิจเพื่ออธิบายแนวทางในการดำเนินงานตามการอนุญาตของรัฐและตามกระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่กำหนดขึ้นการสร้าง guidebook สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เป็นการเฉพาะเพื่อให้สามารถเข้าถึงเกณฑ์และแนวทางพัฒนาโครงการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยรวมทั้ง การทำความเข้าใจขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์การลงทุนที่รัฐให้ไว้ เช่นการลดภาษี หรือการจัดการสภาพแวดล้อมและมลภาวะ ตลอดจนการสร้างระบบและแนวทางปฏิบัติที่ให้ความช่วยเหลือทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินการตามนโยบายของผังแม่บทได้


ขั้นตอนที่6การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ

ในการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ให้ประสบผลสำเร็จนั้นจะต้องเลือกธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างผลกำไรและสร้างมูลค่าให้กับย่านในระยะยาวโดยให้การดำเนินการเดินไปพร้อมกันทั้งการลงทุนของภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนทางธุรกิจของภาคเอกชนหรืออาจให้รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปก่อนโดยรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำความตกลงกับเอกชนให้ลงทุนทางธุรกิจหรือปรับปรุงฟื้นฟูธุรกิจของตนเองเมื่อรัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเสร็จสิ้นแล้วทั้งนี้รัฐจำเป็นจะต้องจัดตั้งกองทุนทางการเงินเพื่อสนับสนุนเอกชนในบางกรณีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและลดต้นทุนการดำเนินการของภาคเอกชนดังกลยุทธ์ต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ 1การสร้างกองทุนสนับสนุนการลงทุน การลงทุนสาธารณะจะเป็นเครื่องแสดงและยืนยันความตั้งใจของรัฐในการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โดยการก่อตั้งกองทุนจะเป็นเครื่องค้ำประกันการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้สำเร็จลุล่วงได้ภายในช่วงเวลาตามเป้าหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมองหาที่มาของแหล่งทุนเพื่อใช้ในการลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ซึ่งอาจได้จาก ความร่วมมือกันของกลุ่มธุรกิจเอกชนหรือการก่อตั้งมูลนิธิบริหารกองทุนหรือการให้รัฐจากส่วนกลางสนับสนุนเงินทุนก้อนแรกหรือการอนุญาตให้เก็บจากส่วนต่างของภาษีประเภทต่างๆหรือเป็นการลงทุนร่วมกันในกองทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือสาธารณะกับเอกชนหรือการสร้างระบบการจัดเก็บสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือตามกลยุทธ์ทางการเงินรูปแบบต่างๆ

กลยุทธ์ที่ 2 การใช้ valuecaptureด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในพื้นที่หรืออยู่ใกล้พื้นที่โครงการโดย valuecapture จากกลไกที่หลากหลายที่ได้จากการเติบโตของรายได้และจากมูลค่าของทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มูลค่าจากที่ดิน โดยมูลค่าที่ได้อาจมาจากการสร้างระบบการประเมินพิเศษในแต่ละแปลงที่ดิน หรือผลกำไรจากการดำเนินการพัฒนาที่ดินโดยทั่วไปแล้ว กองทุน value captureจะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบการกำจัดน้ำเสีย สาธารณูปโภค ถนน ระบบขนส่งมวลชนและบริการสาธารณะ ด้วยการหาผลกำไรจากการจัดการย่านเป็นการเฉพาะ (InclusionaryZoning) หรือการใช้ Tax Increment Financing (TIF) และการหารายได้จากรายได้จากบริการสาธารณะ


ขั้นตอนที่7การจัดทำระบบและมาตรการบริหารจัดการพื้นที่

การบริหารจัดการพื้นที่ควรได้รับการกำหนดเป็นมาตรการพิเศษที่หน่วยงานรับผิดชอบและเครือข่ายพันธมิตรจะต้องร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้การลงทุนด้านต่างๆ ที่ดำเนินการไปแล้วได้ใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์แนวทางที่ควรดำเนินการมีดังนี้

· การบริหารโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภครายวันเช่น การจัดเก็บขยะมูลฝอยหรือการทำความสะอาดถนน

· การสร้างตลาดการลงทุนในพื้นที่สำหรับธุรกิจที่มาใหม่หรือเปิดใหม่

· การจัดทำโปรแกรมการใช้พื้นที่สาธารณะ(Programpublic spaces)

· การส่งเสริมโอกาสในการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โดยร่วมกับเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์

· การประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ


สรุป

จะเห็นได้ว่ากระบวนการวางผังแม่บทตามเกณฑ์เติบโตอย่างชาญฉลาด ได้ให้มิติการพัฒนาโครงการและย่านอย่างเป็นรูปธรรมสามารถนำมาประยุกต์ในพื้นที่รอบสถานี พื้นที่เศรษฐกิจสองข้างทาง และพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองให้เป็นเมืองคนเดินได้เป็นอย่างดีโดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผังแม่บทดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้แก่ การปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนการประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ทันเวลาและได้รับความเห็นชอบหรือได้ความเห็นร่วมกันของทุกภาคส่วนที่ร่วมกันพัฒนาพื้นที่

เอกสารอ้างอิง

SmartGrowth America, (Re) Building Downtown: A Guidebook for Revitalization:Available

from: smartgrowth.org/rebuilding-downtown-a-guidebook-for-revitalization/


อ่านบทความย้อนหลังที่เกี่ยวข้อง ต่อเนื่องกับบทความนี้กดลิ้งก์

แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 2

การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ










 

Create Date : 03 มกราคม 2560    
Last Update : 3 มกราคม 2560 4:38:11 น.
Counter : 2105 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.