ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มาดูการวางยุทธศาสตร์เมืองของสิงคโปร์ 2014-2030 ก่อนก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC


เครดิตภาพ https://sustainatlanta.files.wordpress.com/2015/07/singapore.jpg

เครดิตภาพ นายกรัฐมนตรสิงค์โปร์ //www.smu.edu.sg

มาดูการวางยุทธศาสตร์เมือง ของสิงคโปร์ 2014-2030 ก่อนก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(AEC) เค้าเขียนยุทธศาสตร์เมืองกันอย่างไร ทำไมผังเมืองจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเมืองเพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว อันดับหนึ่งในอาเซียน

.................................

บทความ : มองย้อนดูถึงอนาคต"การวางยุทธศาสตร์เมืองของประเทศสิงคโปร์ ในปี 2014 - 2030"

Looking Backto the Future for Singapore city Strategy 2014 - 2030

ศิวพงศ์ ทองเจือ : อาจารย์/นักออกแบบชุมชนเมือง

(รอง ปธ.สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย)

Email:Siwa_thong@yahoo.co.th

เขียนเมื่อ 21-10-2558

คำสำคัญ : City Strategy,Urban Planning, Master Plan

บทนำ

สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเมืองที่ดีมีการวางยุทธศาสตร์เมืองที่มีความก้าวหน้าทันสมัยรวมถึงการสร้างวิสัยทัศน์และนโยบายที่ได้วางแผนไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนโดยหน่วยงานพัฒนาเมืองที่สำคัญของสิงคโปร์ คือ กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติ (Ministry of National Development) (MND) เป็นกระทรวงที่สำคัญของรัฐบาลในการรับผิดชอบต่อการใช้ที่ดินระดับชาติและการวางแผนพัฒนาวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ MND มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยมีหน่วยงานในสังกัด คือ องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (The Urban Redevelopment Authority : URA) เพื่อดูแลแผนด้านการพัฒนากายภาพเมืองทั้งหมด(ดูภาพที่ 1.1)

จากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ในปี 2013 สิงคโปร์ได้วางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างทางเลือกที่มีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยทุกกลุ่มอายุรวมถึงการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวโดยรอบที่อยู่อาศัยให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนที่อาศัย การเชื่อมต่อด้านกิจกรรมสันทนาการ การส่งเสริมแหล่งงานใกล้บ้านมากขึ้นในทุกพื้นที่ของเกาะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและภาระในชีวิตประจำวัน (ดูภาพที่ 1.2)

สำหรับยุทธศาสตร์เมืองของสิงคโปร์ ในปี 2014 ที่ผ่านมานั้น ผังแม่บทเมือง (Master Plan 2014) ได้กำหนดไว้จำนวน 7 ข้อ กำกับดูแลโดยองค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์(URA) ซึ่งแต่ละข้อจะเห็นได้ว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นการพัฒนาด้านกายภาพโดยตรงโดยยุทธศาสตร์ได้ระบุลงในพื้นที่ในย่านการพัฒนาว่าอยู่บริเวณใดควรเพิ่มหรือลดอะไรบ้าง การส่งเสริมการค้าประเภทไหน ในพื้นที่แห่งใด จะเห็นได้ว่าผู้นำการพัฒนาเมืองมีความเข้าใจภาพรวมของงานผังเมืองทั้งหมดว่ามีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างไรช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไร และช่วยทำให้เมืองน่าอยู่ได้อย่างไรบ้าง


ภาพ 1.1 หุ่นจำลองเมือง (Model City) โดย องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (The Urban Redevelopment Authority : URA) เพื่อดูแลแผนด้านการพัฒนากายภาพเมืองทั้งหมดที่มา : URA Singapore(โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)



ภาพ 1.2 ผังแม่บทด้านที่อยู่อาศัย ในปี 2013 (A better home for Singaporeans 2013)

ที่มา : SingaporeProperty. (2015). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/



ภาพ 1.3 การสร้างข้อกำหนดและควบคุมกายภาพร้านค้าและด้านหน้าอาคาร (Facade Design)

ในพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์

ที่มา : Little IndiaSingapore (โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)



ภาพ 1.4 การวางผังออกแบบและสร้างข้อกำหนดการค้าปลีกในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของสิงคโปร์

ที่มา : SingaporeChinatown (โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)

หากมองกลับไปที่ผังแม่บทของหน่วยงานพัฒนาเมืองสิงคโปร์ ในปี 2014ซึ่งได้ประกาศเป็นยุทธศาสตร์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญไปที่การสร้างเมืองสำหรับทุกเพศทุกวัยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อสุขภาพ การเชื่อมต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่อยู่อาศัยและการสร้างแหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้าน การย้อนกลับไปดูยุทธศาสตร์เมืองในปีก่อนทำให้ทราบแนวทางการพัฒนาซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบแผนอีกครั้งและเตรียมประชาสัมพันธ์แผนในอนาคตเพื่อเข้าสู่การอภิปรายงบประมาณของหน่วยงานการพัฒนาเมืองที่จะเกิดขึ้นในรัฐสภาต่อไป


ภาพ 1.5 ผังแม่บทการพัฒนาด้านกายภาพของสิงคโปร์ ในปี 2014

ที่มา : Ministry ofNational Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story



ภาพ 1.6 ผังแม่บทการพัฒนาด้านกายภาพของสิงคโปร์ ในปี 2014

ที่มา : (Modify)Ministry of National Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media.Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์เมืองของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2014 มี 7 ข้อหลัก ดังนี้

1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองให้มากขึ้น และเพิ่มเติมที่อยู่อาศัยใน 3พื้นที่ ได้แก่ HollandVillage, Marina South,และ Kampong Bugis

2. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการระดับภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วทั้งเกาะ ใน Woodlands Regional Centers และการเพิ่มพื้นที่แหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้านมากขึ้น

3. ประมาณ 90% ของที่อยู่อาศัยโดยรอบ ในระยะ 400 เมตรต้องเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ

4. เพิ่มการเติบโตของโครงข่ายทางจักรยาน จาก 230 กิโลเมตร ให้เพิ่มมากกว่า700 กิโลเมตร โดยการรองรับโครงสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรวมถึงการจัดทำโปรแกรมการศึกษาออกแบบพื้นที่

5. การสร้างอัตลักษณ์ของจุดศูนย์รวมในพื้นที่ (Node) ได้แก่ ย่าน HollandVillage,ย่าน SerangoonGardenp ,ย่าน JalanKayu

6. การปรับปรุงย่านภายในเมือง ให้มีพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีความงดงามและสร้างทางเดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

7. สร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ Marina Bay ด้วยการค้าปลีกสมัยใหม่และสร้างแหล่งบันเทิงภายในย่านในเป็นพื้นที่หลักบริเวณอ่าวด้านหน้า (Bay front)


ภาพ 1.7 ผังแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ ในปี 2030 (The Singapore Property Master Plan 2030)

ที่มา : SingaporeProperty. (2015). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/

สำหรับอนาคตผังแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ในปี 2030 (The Singapore PropertyMaster Plan 2030) สิงคโปร์ได้ตั้งเป้าหมาย ภายใต้แนวคิดการพัฒนา 2030 : More Land, More homes, More Greenery ซึ่งถือเป็นจุดเน้นด้านการลงทุนในสิงคโปร์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแนวคิดหลักที่สิงคโปร์ทำมาโดยตลอดตั้งแต่แผนก่อนหน้านี้และยังทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่การส่งเสริมการเดินจากบ้านมายังสวนสาธารณะในระยะเวลา 10-15 นาทีจากบ้านมายังสถานีขนส่งมวลชน ระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที เป็นต้นถือเป็นความก้าวหน้าด้านการออกแบบเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้นโดยสร้างแรงจูงใจจากแผนการลงทุนที่ได้รับการวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมืองและกลุ่มนักลงทุน (ดูภาพที่ 1.7)

บทสรุป : เพื่อการเขียนแผนยุทธศาสตร์ในการบริการจัดการเมืองด้านกายภาพ

การบริหารจัดการเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ด้านสังคม (Social) และด้านกายภาพ (Physical & Environment) ทั้งสามด้านจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนพัฒนาเมืองจึงควรมีความสอดคล้องกันทั้งหมดโดยขั้นตอนสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การพัฒนาเมืองในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมแผนพัฒนาเมืองจึงไม่ควรมุ่งเน้นการพัฒนาเฉพาะด้านใดด้านเดียวแต่ควรทำให้แผนและผังมีความสอดคล้องและสามารถนำไปสู่การต่อยอดทางความคิดได้โดยเฉพาะการนำไปสู่โครงการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design Project) ประเทศสิงคโปร์จึงเป็นต้นแบบของเมืองที่รู้จักใช้ผังเมืองเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพเป็นตัวนำในการส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เรามักพบว่าสิงคโปร์มีการปรับเปลี่ยนแผนและทบทวนยุทธศาสตร์เมืองอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการพัฒนาเมืองตามบริบทของโลกและนวัตกรรมเมืองรวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของตนเองเราจึงพบว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเมืองของประเทศสิงคโปร์คือวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมซึ่งถือว่าสิงคโปร์มีความโดดเด่นและได้รับการยอมรับบุคลากรด้านนี้ในระดับสากลส่งผลต่อการพัฒนาด้านกายภาพเมืองทั้งหมดของประเทศและเป็นดัชนีชี้วัดถึงการพัฒนาเมืองเทียบชั้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของประเทศที่พัฒนาแล้ว

บทความนี้จึงมีความมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐ ได้เข้าใจถึงการเขียนแผนยุทธศาสตร์เมืองที่สัมพันธ์กับบริบทของการพัฒนาพื้นที่การเขียนยุทธศาสตร์เมืองที่ดีควรระบุเจาะจงถึงแนวคิดของการพัฒนาในเชิงกายภาพและบริเวณรวมถึงเป้าประสงค์ที่ต้องการให้บรรลุผลในอนาคตงานผังเมืองจึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านระยะเวลาและมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้บริหารเมืองยุคใหม่ควรศึกษางานด้านการพัฒนาทางกายภาพและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นวัตกรรมด้านผังเมืองสมัยใหม่เพื่อยกระดับและส่งเสริมเมืองให้มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งไม่ใช้ค่าครองชีพแต่เป็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง

แหล่งอ้างอิง

Ministry of National Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story

Singapore Property. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/




Create Date : 22 ตุลาคม 2558
Last Update : 22 ตุลาคม 2558 17:26:26 น. 0 comments
Counter : 2568 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.