Group Blog
 
All blogs
 

เทศกาล โคนมแห่งชาติ (Thai-Denish farm Agro-Tourism)

เมื่อเดีอนมกราคม 2554 ได้มีโอกาสไปเที่ยว เทศกาลโคนมแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น
- การประกวดโคนมชิงถ้วยพระราชทาน
- การแสดงนิทรรศการของส่วนราชการ/เอกชน
- การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ปัจจับการเลี้ยงโคนม สินค้าการเกษตร
- กิจกรรมท่องเที่ยวฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ค เป็นต้น

ซึ่งเทศกาลโคนมแห่งชาติ ได้จัดขึ้น ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

โดยผมมีภาพของกิจกรรมท่องเที่ยวฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ค มาฝากครับ การไปเที่ยวชมฟาร์มนั้น จะนั่งรถพ่วงชมฟาร์มไปครับ (ไม่มีรูปให้ดู)

รายละเอียดเพิ่มเติม: คลิกที่นี่

รูปภาพ

เริ่มจากไปชมสวนสัตว์ก่อน









จากนั้น ไปชมวีดีทัศน์-ประวัติ อ.ค.ส.

ที่หน้าห้องชมวีดีทัศน์ มีรูปปั้นคาวบอย



ประวัติ อ.ค.ส.



จากนั้นก็ไปดูการรีดนมโคกัน

โรงรีดนมโค





ก่อนที่วัวจะเข้าไปในโรงรีดนมโคนั้น จะต้องฆ่าเชื้อที่เท้าก่อน



จากนั้นโคแต่ละตัวก็จะเข้าประจำช่อง




จากนั้นก็จะเริ่มการรีดนมโค



ต่อจากนั้น ก็จะเดินไปป้อนนมให้ลูกโค









จากนั้นเดิมไปชมการบ่วงบาศก์โคและการบังคับโค













ก่อนกลับไปเที่ยวชมดูกิจกรรมอื่นๆ ของเทศกาลโคนมแห่งชาติ ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก





ไม่ค่อยได้เห็น นมไทยเดนมาร์ค รสสตอเบอรี่ ได้มาจากงานนี้แหละ






 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 13:45:10 น.
Counter : 1324 Pageviews.  

ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล (Ban Ton Tan)

เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มานานกว่า 200 ปี ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสักที่สวยงามชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไท-ยวน(ล้านนา) ตามประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า กองทัพจากกรุงเทพ ได้ทำศึกรบชนะทหารพม่าที่ยึดเมืองเชียงแสนไว้ เมื่อกองทัพจากกรุงเทพ มีชัยชนะเหนือทหารพม่า เพื่อมิให้พม่าได้เข้ามาซ่องสุมกำลังพลในเมืองเชียงแสนอีกจึงได้อพยพชาวเชียงแสนทั้งหมด มาตั้งชุมชนอยู่ในเขตภาคกลางทั้ง จ.ราชบุรีและสระบุรี ปัจจุบันชาวบ้านต้นตาลจึงมีประชากรส่วนใหญ่ที่มีเชื้อสายชาวไท-ยวนชาวบ้านส่วนใหญ่ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีลักษณะคล้ายกับชาวล้านนาไทย โดยเฉพาะภาษาพูด การแต่งกาย ประเพณีในงานบุญการแสดงและความเชื่อต่างๆ อีกทั้งชาวต้นตาลเป็นผู้มีความสามารถในการทอผ้าและการเย็บปักถักร้อย ปัจจุบันชาวบ้านต้นตาลได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิวัฒนธรรมขึ้นมีศูนย์แสดงเอกลัษณ์และวัฒนธรรมชุมชน มีการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว มีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย เช่น พาขึ้นเขาแก้วมนัสการพระศักดิ์สิทธิ์ ซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน กิจกรรมโฮมเสตย์ สปาและนวดแผนโบราณพื้นบ้าน เป็นต้น

Baan Ton Tan is a community that has a long history more than 200 years located at Pa Sak River. The majority of local people are Thai-Yuan (Lanna). They are strict to customs and cultures which similar to Lanna-Thai, especially languages, dress, religion ceremony, and belief. Currently, local people have tried th promote cultural-tourism which offer many interesting activities such as visit Kao Kaew, buying local products, homestay, and spa & massage.

picture



พ่อค้า, แม่ค้าแต่งชุดท้องถิ่น











สภาพตลาดโดยทั่วไปติดแม่น้ำป่าสัก



















ป้ายบอกทางสถานที่ต่างๆ



ศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบลต้นตาล






เมี่ยงคำห่อและเสียบไม้พอดีคำ



ภาพสุดท้ายเป็นมุมที่หลายท่าน หยุดถ่ายภาพกันจ้า




วันที่ 10 สิงหาคม 2557

ได้กลับมาเที่ยวอีกครั้ง (จริงๆ ก่อนหน้านี้ก็มาแล้ว 2-3 ครั้งแต่ไม่ได้ถ่ายรูป) เป็นครั้งแรกที่ได้รอดูการแสดงรำ ซึ่งมีทุกวันอาทิตย์ เวลาประมาณเที่ยง













 

Create Date : 08 ธันวาคม 2553    
Last Update : 12 สิงหาคม 2557 7:05:04 น.
Counter : 1524 Pageviews.  

วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์), Wat Khaowong

ประวัติวัดเขาวง



ห้ามแต่งกายไม่สุภาพนะครับ



โบราณสถานวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)







เข้าไปภายในถ้ำ







บริเวณภายนอกถ้ำ
ลานจงกรม, โยคะสติปัฏฐาน



ศาลเจ้าแม่กวนอิม









ลานบำเพ็ญกุศล



ลานพระร่วง







โครงการพัฒนาป่าไม้โดยวัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์)
พระที่เห็นด้านบนนั้น ต้องเดินขึ้นบรรไดร้อยกว่าขั้น



แต่องค์พระสีขาวที่เห็นนี้ ไม่ต้องเดินขึ้นบรรไดจ้า









นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ร่มให้พักผ่อน





มีกล้วยไม้สวยๆ ให้ชมกัน





ลานจอดรถก็ร่มด้วยครับ




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2553    
Last Update : 14 มิถุนายน 2553 2:10:46 น.
Counter : 1283 Pageviews.  

วัดพระพุทธฉาย (WatPhraPhutthachai) ตอนรูปเงาของพระพุทธเจ้า

พระพุทธฉาย คือรูปเงาของพระพุทธเจ้า
ประวัติการค้นพบ พระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยา รับสั่งให้ค้นหารอยพระพุทธบาทตามภูเขาทุกแห่ง จึงพบพระพุทธฉาย ณ ภูเขาแห่งนี้
ตามตำนานพระพุทธฉาย โดยย่อ พระพุทธเจ้า เสด็จมาโปรดนายพรานฆาฎกะ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อจะเสด็จกลับ พระฆาฎกะทูลขอของที่ระลึก พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงปาฎิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมแห่งภูเขานี้ จึงปรากฎเป็นรูปเงาของพระพุทธเจ้า เป็นที่มาแห่งคำว่า "พระพุทธฉาย" ตราบเท่าทุกวันนี้

History: The King of KRUNGSRIAYUTAYA, PHACHAOCHONGTHAM, had an order to find out if Buddha's footprint was in the mountains, and PHAPUTACHAY was the place
PHABUTACHAY history: The Buddha had taught a hunter. His name was KHATAGA after finishing in Buddhist teaching, KHATAGA asked him for a momentum from the Buddhist teaching. The Buddha showed KHATAGA the shadow of himself on the mountain for a momentum. So the word "PHAPUTCHAY" came from the shadow on the mountain.

Picture

ต้องขึ้นไปด้านบน จากภาพจะเห็นบันไดทางขึ้นด้านขวามือ



พอขึ้นไปแล้วจะเห็นประตูทางเข้า ต้องถอดรองเท้าด้วยนะครับ



พอเข้าประตูแล้วก็จะเจอรูปเงาของพระพุทธเจ้า จากภาพจะเห็นเป็นเส้นสีแดง







ตรงบริเวณเงาของพระพุทธเจ้าจะมีรังผึ้งขนาดใหญ่อยู่





พอเดินเข้ามาอีกโซนจะพบรัชกาลที่ 5และองค์พระนั่ง

ประวัติความเป็นมา: รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาส เมืองสระบุรี (ตอนเสร็จพระพุทธฉาย)
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม เวลาเช้า หนึ่งโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง ออกพลับพลาไปตามทางหลวงข้ามทางรถไฟออกทุ่งนา และเข้าดงถึงพระพุทธฉายเวลาเช้า 3 โมงเศษ ระยะทาง 233 เส้น มีพระสงฆ์สวดชยันโตรับเสด็จอยู่ที่เชิงเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระพุทธฉาย แล้วประทับเสวยเช้าที่ศาลาแล้วทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. ที่เพิงผา และมีปีที่เสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่นี้ ร.ศ.79 และ 91 และ 104 และ 115 แล้วโปรดให้อารธนาเจ้าอธิการลันวัดพระพุทธฉาย มาถวายเทศนามหาชาติคำลาว เวลาบ่ายเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาลม มีมณฑปพระบาทบนยอดเขา เสด็จลงจากเขาลมแล้วเสวยกลางวันที่ศาลานั้น แล้วทรงฉายพระรูป เวลาบ่าย 3 โมงครึ่งเสร็จกลับจากพระฉาย





พอผ่านองค์รัชกาลที่ 5 แล้วก็จะพบพระนอนใหญ่





ออกมาก็เจอลิงแม่ลูกอ่อน



ลงมาข้างล่าง ก็จะเจอพระพุทธรูปอีก 3 รูป







ก่อนจะเข้าหรือออกก็จะผ่านจุดไหว้พระอีกจุดหนึ่ง



นอกจากนั้น มึศาลเจ้าแม่กวนอิมด้วย










 

Create Date : 08 มีนาคม 2553    
Last Update : 8 มีนาคม 2553 22:37:19 น.
Counter : 1105 Pageviews.  

วัดพระพุทธฉาย (WatPhraPhutthachai) ตอนรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา

ตั้งอยู่เชิงเขาปถวี (ปฐวี) ตำบลหนองปลาไหล เข้าทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธฉาย หรือ รอยพระพุทธรูป อยู่บนแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผา มีการสร้างมณฑปครอบไว้ มีบันไดจากบริเวณวัดด้านล่างขึ้นไปยังมณฑป และต่อไปยังหน้าผาซึ่งอยู่เหนือมณฑปขึ้นไป

บริเวณเชิงผามีภาพเขียนลายเส้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพสัตว์ลายเส้นคล้ายตัวกวาง บริเวณข้างประตูเข้าพระพุทธฉาย พบภาพมือคน และภาพสัญลักษณ์ บริเวณจากถ้ำฤาษีไปทางพระพุทธฉายทางทิศตะวันตก พบภาพเขียนรูปไก่ ภาพพระพุทธรูป และภาพสัญลักษณ์ และบริเวณหน้าผา จปร. พบภาพลายเส้นขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน คล้ายภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยถูกค้นพบที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เขียนด้วยยางไม้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี โดยเขียนสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจในหมู่เดียวกัน และอาจจะเป็นสื่อทางพิธีกรรม และความเชื่อของคนในยุคนั้น และยังพบ รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา เมื่อ พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมมณฑปบนภูเขาบริเวณวัดพระพุทธฉาย และเมื่อรื้อพื้นซีเมนต์พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอยู่ใต้ทรายปรากฏเห็นเป็นรูปรอยประทับในหิน


ประวัติการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า "เงามหัศจรรย์หรือพระพุทธฉาย"
พระพุทธฉาย มีประวัติความเป็นมาจากชาดกในสมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ไปจำพรรษา ณ พระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ซึ่งพระนางวิสาขา อุบาสิกา สร้างอุทิศถวายพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบท(บวช) พระปิณโฑละฯ ให้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วได้ทรงมอบให้พระโมคคัลลานะพาไปปฏิบัติสมณะธรรม จนกว่าจะได้สำเร็จมรรคผล พระโมคคัลลานะได้นำพาไปปฏิบัติสมณธรรมในชมพูทวีป(อินเดีย) หลายแห่งก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ตามประสงค์ จึงได้พามาปฏิบัติสมณธรรมในปัจจันตชนบท โดยกำหนดเอาประเทศสุวรรณภูมิ(ประเทศไทย) ณ ภูเขาฆาฏกะอันเป็นที่อาศัยของนายพรานฆาฏกะกับบริวาร จึงได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนา ระหว่างที่มาปฏิบัติสมณะธรรมอยู่ ณ สถานที่นี้พระโมคคัลลานะได้ทราบพฤติกรรมของนายพรานฆาฏกะกับบริวารว่าเป็นผู้ที่มีสันดานหยาบช้า โหดร้าย ทารุณ มีอาชีพทางล่าสัตว์ พระโมคคัลลานะได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายประการ เพื่อจะยังสันดานของนายพรานฆาฏกะให้เลื่อมใสแต่ไม่สำเร็จ ต่อเมื่อได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด และได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายอย่างหลายประการด้วยกัน เพื่อให้นายพรานฆาฏกะได้ละทิฏฐิมานะสันดานหยาบช้า จนในที่สุดได้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงกับทูลขออุปสมบทพระบรมศาสดาได้ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา (บวชให้ด้วยพระองค์เอง) แล้วตรัสสั่งสอนให้ ปฏิบัติสมณะธรรมจนได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับบุพพาราม ภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอติดตาม พระองค์ได้ทรงห้ามไว้เพื่อให้อยู่ช่วยประกาศพระศาสนา พระฆาฏกะได้ทูลขอสิ่งที่เคารพสักการะ พระองค์จึงได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมภูเขาแห่งนี้ และได้ประทับ "รอยพระพุทธบาท" ติดไว้ ณ บนยอดภูเขาแห่งนี้ด้วย ซึ่งจะได้เป็นที่สักการะเคารพกราบไหว้บูชาของพระฆาฏกะและบริวาร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงปรากฏ "พระพุทธฉาย" บนไหล่เขาสระบุรี ตราบเท่าทุกวันนี้

นอกจากนี้บริเวณเขาพระพุทธฉายมีหน้าผาสูงชันจึงมีเอกชนเข้ามาจัดกิจกรรมเชิงผจญภัยปีนหน้าผาโรยตัวอีกด้วย

การเดินทาง จากเส้นทาง กรุงเทพ - สระบุรี (ถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ก่อนเข้าถึงตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร หากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ให้กลับรถ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปยังบ้านพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี หรือถ้าท่านเดินทางจากภาคอีสาน และภาคเหนือ ก็สามารถเลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าถนนหมู่บ้านได้ทันที นอกจากนี้หากท่านโดยสารด้วยรถไฟ ให้ลงที่สถานี เมืองสระบุรี แล้วต่อสองแถวไปยังวัดพระพุทธฉาย ด้วยระยะทางเพียง 10 กิโลเมตร เท่านั้น ท่านก็จะได้พบกับ "รอยพระพุทธบาท อันศักดิ์สิทธิ์"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.watphraphutthachai.com/

ที่มา:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Wat Phra Phutthachai is situated on the foot of Khao Pathawi, Nong Pla Lai Sub-district, the same entrance as Phra Phutthachai National Park, where Phra Phutthachai or Roi Phra Phuttharup - a shadow of the Buddha is located on the cliff. A mondop - a square building with a crown-like spire - was built to cover it. A staircase was also constructed to lead the way from the temple to the cliff above the Mondop.

Moreover, there are pre-historic line drawings at the foot of the cliff such as the drawing similar to deer. Near the entrance to Phra Phutthachai, there are human hands and symbols. From Tham Ruesi to Phra Phutthachai on the western side, there are drawings of chickens, Buddha images and symbols. Also, on the Cho Po Ro cliff, a gigantic and complicated drawing was found. It is similar to the pre-historic one at Pha Taem, Ubon Ratchathani. Moreover, there is an ancient drawing with latex, aged approximately 3,000 years, symbolising the meaning among the group and probably used as a ceremonial medium or belief of the people in that period of time.

Furthermore, Roi Phra Phutthabat Bueang Khwa - Buddha’s right footprint - was discovered in 1994. The Fine Arts Department renovated the Mondop on the mountain in the area of Wat Phra Phutthachai. When the cement floor was removed, the Buddha’s right footprint appeared under the sand printed on a stone.

source:Tourism Authority of Thailand

Picture

ในวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปเที่ยวที่วัดพระพุทธฉายเพื่อขึ้นไปดูรอยพระพุทธบาทข้างขวา เห็นว่าทางวัดกำลังบูรณะอยู่
ท่านใดสนใจทำบุญร่วมบูรณะมณฑปพระเจ้าเสือ ผมถ่ายภาพรายละเอียดมาฝากครับ





ข่าวสารการสร้างอุโบสถ

ภาพนี้เป็นภาพอุโบสถ (ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น) ยังบูรณะไม่เสร็จครับ (ผมเคยขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งประมาณปลายปี 2551 ก็เห็นว่ากำลังบูรณะอยู่)







ภาพนี้คือมณฑปพระเจ้าเสือ (ผมก็เข้าใจว่าอย่างนั้นเช่นกัน) ก็เริ่มบูรณะแล้ว (ที่เขียนอย่างนี้เพราะว่าปลายปี 2551 ยังไม่ได้บูรณะ)



ภาพด้านใน





บริเวณโดยรอบ













พอดีไปที่พระพุทธฉายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา มีขบวนแห่เสลี่ยงเทียนเคลื่อนออกจากโรงเรียนวัดพระพุทธฉายไปยังวัดพระพุทธฉาย อาจไม่เห็นรายละเอียดเท่าไหร่ แต่ต้องการบันทึกไว้ในบล็อคนะครับ










 

Create Date : 04 มีนาคม 2553    
Last Update : 7 มีนาคม 2553 17:01:56 น.
Counter : 1744 Pageviews.  

1  2  

rangsitk4
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rangsitk4's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.