Group Blog
 
All blogs
 
วัดพระพุทธฉาย (WatPhraPhutthachai) ตอนรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา

ตั้งอยู่เชิงเขาปถวี (ปฐวี) ตำบลหนองปลาไหล เข้าทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติพระพุทธฉายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธฉาย หรือ รอยพระพุทธรูป อยู่บนแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่บนชะง่อนผา มีการสร้างมณฑปครอบไว้ มีบันไดจากบริเวณวัดด้านล่างขึ้นไปยังมณฑป และต่อไปยังหน้าผาซึ่งอยู่เหนือมณฑปขึ้นไป

บริเวณเชิงผามีภาพเขียนลายเส้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพสัตว์ลายเส้นคล้ายตัวกวาง บริเวณข้างประตูเข้าพระพุทธฉาย พบภาพมือคน และภาพสัญลักษณ์ บริเวณจากถ้ำฤาษีไปทางพระพุทธฉายทางทิศตะวันตก พบภาพเขียนรูปไก่ ภาพพระพุทธรูป และภาพสัญลักษณ์ และบริเวณหน้าผา จปร. พบภาพลายเส้นขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน คล้ายภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยถูกค้นพบที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เขียนด้วยยางไม้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 3,000 ปี โดยเขียนสัญลักษณ์ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจในหมู่เดียวกัน และอาจจะเป็นสื่อทางพิธีกรรม และความเชื่อของคนในยุคนั้น และยังพบ รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา เมื่อ พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมมณฑปบนภูเขาบริเวณวัดพระพุทธฉาย และเมื่อรื้อพื้นซีเมนต์พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาอยู่ใต้ทรายปรากฏเห็นเป็นรูปรอยประทับในหิน


ประวัติการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า "เงามหัศจรรย์หรือพระพุทธฉาย"
พระพุทธฉาย มีประวัติความเป็นมาจากชาดกในสมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ไปจำพรรษา ณ พระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ซึ่งพระนางวิสาขา อุบาสิกา สร้างอุทิศถวายพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบท(บวช) พระปิณโฑละฯ ให้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วได้ทรงมอบให้พระโมคคัลลานะพาไปปฏิบัติสมณะธรรม จนกว่าจะได้สำเร็จมรรคผล พระโมคคัลลานะได้นำพาไปปฏิบัติสมณธรรมในชมพูทวีป(อินเดีย) หลายแห่งก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ตามประสงค์ จึงได้พามาปฏิบัติสมณธรรมในปัจจันตชนบท โดยกำหนดเอาประเทศสุวรรณภูมิ(ประเทศไทย) ณ ภูเขาฆาฏกะอันเป็นที่อาศัยของนายพรานฆาฏกะกับบริวาร จึงได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนา ระหว่างที่มาปฏิบัติสมณะธรรมอยู่ ณ สถานที่นี้พระโมคคัลลานะได้ทราบพฤติกรรมของนายพรานฆาฏกะกับบริวารว่าเป็นผู้ที่มีสันดานหยาบช้า โหดร้าย ทารุณ มีอาชีพทางล่าสัตว์ พระโมคคัลลานะได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายประการ เพื่อจะยังสันดานของนายพรานฆาฏกะให้เลื่อมใสแต่ไม่สำเร็จ ต่อเมื่อได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด และได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายอย่างหลายประการด้วยกัน เพื่อให้นายพรานฆาฏกะได้ละทิฏฐิมานะสันดานหยาบช้า จนในที่สุดได้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงกับทูลขออุปสมบทพระบรมศาสดาได้ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา (บวชให้ด้วยพระองค์เอง) แล้วตรัสสั่งสอนให้ ปฏิบัติสมณะธรรมจนได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับบุพพาราม ภิกษุฆาฏกะได้ทูลขอติดตาม พระองค์ได้ทรงห้ามไว้เพื่อให้อยู่ช่วยประกาศพระศาสนา พระฆาฏกะได้ทูลขอสิ่งที่เคารพสักการะ พระองค์จึงได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมภูเขาแห่งนี้ และได้ประทับ "รอยพระพุทธบาท" ติดไว้ ณ บนยอดภูเขาแห่งนี้ด้วย ซึ่งจะได้เป็นที่สักการะเคารพกราบไหว้บูชาของพระฆาฏกะและบริวาร ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงปรากฏ "พระพุทธฉาย" บนไหล่เขาสระบุรี ตราบเท่าทุกวันนี้

นอกจากนี้บริเวณเขาพระพุทธฉายมีหน้าผาสูงชันจึงมีเอกชนเข้ามาจัดกิจกรรมเชิงผจญภัยปีนหน้าผาโรยตัวอีกด้วย

การเดินทาง จากเส้นทาง กรุงเทพ - สระบุรี (ถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ก่อนเข้าถึงตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ 5 กิโลเมตร หากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ให้กลับรถ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปยังบ้านพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี หรือถ้าท่านเดินทางจากภาคอีสาน และภาคเหนือ ก็สามารถเลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าถนนหมู่บ้านได้ทันที นอกจากนี้หากท่านโดยสารด้วยรถไฟ ให้ลงที่สถานี เมืองสระบุรี แล้วต่อสองแถวไปยังวัดพระพุทธฉาย ด้วยระยะทางเพียง 10 กิโลเมตร เท่านั้น ท่านก็จะได้พบกับ "รอยพระพุทธบาท อันศักดิ์สิทธิ์"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.watphraphutthachai.com/

ที่มา:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Wat Phra Phutthachai is situated on the foot of Khao Pathawi, Nong Pla Lai Sub-district, the same entrance as Phra Phutthachai National Park, where Phra Phutthachai or Roi Phra Phuttharup - a shadow of the Buddha is located on the cliff. A mondop - a square building with a crown-like spire - was built to cover it. A staircase was also constructed to lead the way from the temple to the cliff above the Mondop.

Moreover, there are pre-historic line drawings at the foot of the cliff such as the drawing similar to deer. Near the entrance to Phra Phutthachai, there are human hands and symbols. From Tham Ruesi to Phra Phutthachai on the western side, there are drawings of chickens, Buddha images and symbols. Also, on the Cho Po Ro cliff, a gigantic and complicated drawing was found. It is similar to the pre-historic one at Pha Taem, Ubon Ratchathani. Moreover, there is an ancient drawing with latex, aged approximately 3,000 years, symbolising the meaning among the group and probably used as a ceremonial medium or belief of the people in that period of time.

Furthermore, Roi Phra Phutthabat Bueang Khwa - Buddha’s right footprint - was discovered in 1994. The Fine Arts Department renovated the Mondop on the mountain in the area of Wat Phra Phutthachai. When the cement floor was removed, the Buddha’s right footprint appeared under the sand printed on a stone.

source:Tourism Authority of Thailand

Picture

ในวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปเที่ยวที่วัดพระพุทธฉายเพื่อขึ้นไปดูรอยพระพุทธบาทข้างขวา เห็นว่าทางวัดกำลังบูรณะอยู่
ท่านใดสนใจทำบุญร่วมบูรณะมณฑปพระเจ้าเสือ ผมถ่ายภาพรายละเอียดมาฝากครับ





ข่าวสารการสร้างอุโบสถ

ภาพนี้เป็นภาพอุโบสถ (ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น) ยังบูรณะไม่เสร็จครับ (ผมเคยขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งประมาณปลายปี 2551 ก็เห็นว่ากำลังบูรณะอยู่)







ภาพนี้คือมณฑปพระเจ้าเสือ (ผมก็เข้าใจว่าอย่างนั้นเช่นกัน) ก็เริ่มบูรณะแล้ว (ที่เขียนอย่างนี้เพราะว่าปลายปี 2551 ยังไม่ได้บูรณะ)



ภาพด้านใน





บริเวณโดยรอบ













พอดีไปที่พระพุทธฉายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา มีขบวนแห่เสลี่ยงเทียนเคลื่อนออกจากโรงเรียนวัดพระพุทธฉายไปยังวัดพระพุทธฉาย อาจไม่เห็นรายละเอียดเท่าไหร่ แต่ต้องการบันทึกไว้ในบล็อคนะครับ










Create Date : 04 มีนาคม 2553
Last Update : 7 มีนาคม 2553 17:01:56 น. 2 comments
Counter : 1745 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ พาไปเที่ยว ข้อมลูแยอะเครับ


โดย: ชายเอ ทุ่งรังสิต วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:11:20:10 น.  

 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว //www.cvrbiz.com/default.asp จองที่พัก ห้องพัก บ้านพัก โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล โฮมสเตย์ ตั๋วเครื่องบิน แพ็คเกจทัวร์ ติดหาด ริมทะเล ภูเขา น้ำตก ดำน้ำ ดูปะการัง ล่องเรือ ร้านอาหาร ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ** ลดพิเศษถึง 75% ราคาเริ่มต้นที่ 300 บาท **

- จองที่พักออนไลน์ เป็นระบบการจองที่พักอัตโนมัติ ผ่านทางเว็บไซต์ ( เท่านั้น )
- โดยจะแจ้งรายละเอียดการจองที่พักผ่านทาง Email ของท่านภายใน 24 ชั่วโมง
- ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ ชำระเงินผ่านร้าน 7-eleven

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว //www.cvrbiz.com/default.asp //www.ido24.org/cvrbiz.com

แพ็คเกจทัวร์ + ตั๋วเครื่องบิน //www.thaifly.com/2884.html //www.cvrbiz.com/allcontent.asp?txtmCategory_ID=12

ภาคกลาง //ido24.org/cvrbiz.com/central

ภาคตะวันออก //ido24.org/cvrbiz.com/eastern

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ //ido24.org/cvrbiz.com/northeast

ภาคเหนือ //ido24.org/cvrbiz.com/northern

ภาคใต้ //ido24.org/cvrbiz.com/southern

กรุงเทพ //ido24.org/cvrbiz.com/bangkok

กระบี่ //ido24.org/cvrbiz.com/krabi

ปาย แม่ฮ่องสอน //ido24.org/cvrbiz.com/paimaehongson

พัทยา //ido24.org/cvrbiz.com/pattaya

ภูเก็ต //ido24.org/cvrbiz.com/phuket

ชะอำ //ido24.org/cvrbiz.com/chaam

เชียงใหม่ //ido24.org/cvrbiz.com/chiangmai

เชียงราย //ido24.org/cvrbiz.com/chiangrai

ประจวบ หัวหิน ปราณบุรี บางสะพาน //ido24.org/cvrbiz.com/huahinpranburiprachuap

กาญจนบุรี //ido24.org/cvrbiz.com/kanchanaburi

เขาใหญ่ นครราชสีมา //ido24.org/cvrbiz.com/khaoyainakornratchasima

เขาหลัก พังงา //ido24.org/cvrbiz.com/khaolakphangnga

เกาะช้าง ตราด //ido24.org/cvrbiz.com/kohchang

เกาะกูด //ido24.org/cvrbiz.com/kohkood

เกาะลันตา //ido24.org/cvrbiz.com/kohlanta

เกาะหลีเป๊ะ สตูล //ido24.org/cvrbiz.com/kohlipe

เกาะหมาก //ido24.org/cvrbiz.com/kohmak

เกาะไหง ตรัง //ido24.org/cvrbiz.com/kohngaitrang

เกาะพงัน //ido24.org/cvrbiz.com/kohphangan

เกาะพีพี //ido24.org/cvrbiz.com/kohphiphi

เกาะเสม็ด //ido24.org/cvrbiz.com/kohsamed

เกาะสมุย //ido24.org/cvrbiz.com/kohsamui

เกาะเต่า //ido24.org/cvrbiz.com/kohtao


โดย: TAN IP: 125.26.19.150 วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:17:11:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

rangsitk4
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add rangsitk4's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.