Group Blog
 
All blogs
 

*** ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเบาใจ ๔ ประการ ***




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


คิลายนสูตร


ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ


[๑๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น

ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า

พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก

โดยล่วง ๓ เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรงสดับข่าวว่า

ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า

พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก

โดยล่วง ๓ เดือน ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาแล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยินมาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรม

ของพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว

จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เรื่องนี้หม่อมฉันยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

อุบาสกผู้มีปัญญาพึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.



[๑๖๒๘] พ. ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา

พึงปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า


ท่านจงเบาใจเถิดว่าท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...

ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ

เป็นไปเพื่อสมาธิ.


[๑๖๒๙] ดูกรมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา

ครั้นปลอบอุบาสกผู้มีปัญญา ผู้ป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว

พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่หรือ?

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา

ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา

ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา

ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในมารดา

และบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

เราละความห่วงใยในมารดาและบิดาของเราแล้ว.



[๑๖๓๐] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านยังมีความห่วงใยในบุตร

และภริยาอยู่หรือ? ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

เรายังมีความห่วงใยในบุตรและภริยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา

ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไป

ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน

ขอท่านจงละความห่วงใยในบุตรและภริยาของท่านเสียเถิด

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภริยาของเราแล้ว


[๑๖๓๑] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า

ท่านยังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ?

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่า ประณีตกว่า

กามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์

แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชเถิด

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว

จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว.



[๑๖๓๒] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า

พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่า ประณีตกว่า พวกเทพชั้นจาตุมหาราช

ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นจาตุมหาราช

แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว

จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว


อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นยามายังดีกว่า

ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ... พวกเทพชั้นดุสิตยังดีกว่า

ประณีตกว่าพวกเทพชั้นยามา ... พวกเทพชั้นนิมมานรดียังดีกว่า

ประณีตกว่า พวกเทพชั้นดุสิต ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตียังดีกว่า

ประณีตกว่า พวกเทพชั้นนิมมานรดี ... พรหมโลกยังดีกว่า

ประณีตกว่าพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

แล้วน้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว

จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.



[๑๖๓๓] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ

แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ

ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพรหมโลก

แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับสักกายะแล้ว


ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของอุบาสก

ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วยวิมุติเหมือนกัน.

จบ สูตรที่ ๔




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2556    
Last Update : 11 มิถุนายน 2556 9:47:05 น.
Counter : 966 Pageviews.  

*** สมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา ***




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


๕. สมาธิสูตร


ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา


[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ.


ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง.


ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป

ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา

ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.



[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป

อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา

อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ?



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.

ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน

ย่อมพร่ำถึงย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป

ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูปนั่นเป็นอุปาทาน

เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส.

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.



บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ

ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ

ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึงย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน

พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้นความยินดีในวิญญาณ

นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส.

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป

นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา

นี่เป็นความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.



[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป

อะไรเป็นความดับแห่งเวทนาอะไรเป็นความดับแห่งสัญญา

อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง

ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง

ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง

ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง

ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูปย่อมดับไป

เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ

ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ...

ซึ่งสัญญา ...

ซึ่งสังขาร ...

ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ...

ซึ่งสัญญา ...

ซึ่งสังขาร ...

ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ

ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา

นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร

นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.


จบ สูตรที่ ๕.






 

Create Date : 09 มิถุนายน 2556    
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 14:53:40 น.
Counter : 735 Pageviews.  

*** เจริญเมตตาเจโตวิมุติ ***




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๔. โอกขาสูตร


[๖๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ...

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐หม้อใหญ่ ในเวลาเช้า

ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ ในเวลาเที่ยง

ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ๑๐๐ หม้อใหญ่ ในเวลาเย็น


ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้า

โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค

หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยง

โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค

หรือผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น

โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค

การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น

เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุติ กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคงสั่งสม

ปรารภด้วยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


จบสูตรที่ ๔


๕. สัตติสูตร


[๖๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ...

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า เราจักงอเข้า

จักพับ จักม้วนซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือ

หรือด้วยกำมือ ดังนี้เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถเพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วน

ซึ่งหอกมีใบอันคมโน้นด้วยฝ่ามือ หรือด้วยกำมือได้หรือหนอ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะงอเข้า

จะพับและจะม้วนซึ่งหอกมีใบอันคมด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือ

กระทำไม่ได้ง่าย ก็แหละบุรุษนั้น

พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว

แม้ฉันใด ฯ

[๖๖๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

เจริญเมตตาเจโตวิมุติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน

กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี

ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิตของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน

อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุติ กระทำให้มาก

กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย

ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


จบสูตรที่ ๕




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2556    
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 14:06:01 น.
Counter : 516 Pageviews.  

*** ประตูอมตะมี ถึง ๑๑ ประตู ออกได้ประตูเดียวก็บรรลุธรรมได้ ***




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



๒. อัฏฐกนาครสูตร

พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ


[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี.

ก็สมัยนั้น คฤหบดีชื่อทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร

ด้วยกรณียกิจอย่างหนึ่ง. ครั้งนั้นทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ

เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงกุกกุฏาราม ไหว้ภิกษุนั้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ได้ถามภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน

ด้วยว่า ข้าพเจ้าใคร่จะพบท่านพระอานนท์

ภิกษุนั้น ตอบว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ บ้านเวฬุวคาม

เขตนครเวสาลี. ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ

ทำกรณียกิจนั้นให้สำเร็จที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว ไปยังนครเวสาลี

ถึงบ้านเวฬุวคาม เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอานนท์

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.



[๑๙] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ

ธรรมอันหนึ่ง ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปอยู่

จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไปและย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่แลหรือ?

ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี ...

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน ...?



รูปฌาน ๔

[๒๐] ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น

สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.


ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้

ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้นก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน

ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น

อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป

ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส เป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่น

ยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.


ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้นสิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น

เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ

จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.


ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า

แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือสมถะและวิปัสสนานั้นเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีคนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุอันพระผู้มีพระภาค

ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.



อัปปมัญญา ๔

[๒๑] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา

แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา

อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้

ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น

ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น

เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.


ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา

แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน

เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก

ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้กรุณาเจโตวิมุตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความกำหนัดเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้นเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.


ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา

แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยมุทิตา

อันไพบูลย์เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก

ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้นเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบไว้

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.



ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา

แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน

เธอมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง

ตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่

ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ชัดว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้นเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.



อรูปฌาน ๔

[๒๒] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ

ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา

เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้นสิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.



ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ชัดว่า

แม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น

ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้นเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ

อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระองค์นั้น ตรัสไว้.



ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ

ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร

เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม

คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.



ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น

ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลส

เป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุอันพระผู้มีพระภาค

ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.



ทสมคฤหบดีบูชาพระอานนท์



[๒๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ

ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ

บุรุษกำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่งได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุมในคราวเดียวกัน

ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมตะประตูหนึ่ง

ได้พบประตูอมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.




ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู

เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษเจ้าของเรือนอาจทำตนให้สวัสดี

โดยประตูแม้ประตูหนึ่งๆ ได้ ฉันใด

ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจทำตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ

แม้ประตูหนึ่งๆ แห่งประตูอมตะ ๑๑ ประตูนี้.



ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้

จักแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์

ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านพระอานนท์เล่า.

ลำดับนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ

ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี

พร้อมกันแล้วให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต

ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ

และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหาร ๕๐๐

ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบ อัฏฐกนาครสูตร ที่ ๒.
____________________




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2556 10:47:23 น.
Counter : 598 Pageviews.  

*** ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่เกิดทุกข์ในสิ่งนั้น ***




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



๑๐. เจตนาสูตรที่ ๓


[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ...

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ

และย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัย

เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย

ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว

ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา

จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข

โทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมณปัจจัย เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว

เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมีเมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี

เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ

ชาติชราและมรณะโสกปริเทวทุกข โทมนัสและอุปายาสจึงมี

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ



[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด

สิ่งนั้นย่อม ไม่เป็นอารัมณปัจจัย เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่น

แล้วไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหาคติในการเวียนมาจึงไม่มี

เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ

ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


จบ สูตรที่ ๑๐





 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2556 7:08:00 น.
Counter : 700 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

รักดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




นามแฝง ชื่อ รักดี

ชอบดอกไม้ รักหมา

ไม่รังเกียจแมว

ไม่อาลัยในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

อยู่กับปัจจุบัน

และทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

ไม่กังวลหรือเป็นทุกข์

กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง












Friends' blogs
[Add รักดี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.