..ทุกคนต่างมีความรักในแบบที่แตกต่างกัน..เพราะทุกคนต่างกัน.. แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน..นั่นก็คือ.. ความรักที่มาจากใจ...อย่าพยายามรักใครสักคนเพราะเขาเป็นอย่างที่เราต้องการ... เพราะ เมื่อเขาไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ เราก็จะไม่สามารถรักเขาได้อีก... ให้พยายามรักใครสักคนเพราะเขาเป็นอย่างที่เขาเป็น... เพื่อเราจะ สามารถรักเขาได้ในทุกสิ่งที่เขาเป็น...
เบาหวาน ระวัง "ช็อคน้ำตาล" กับ "หลับไม่ตื่น"

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร เรามักกังวลว่าคนเป็นเบาหวานหากคุมน้ำตาลได้ไม่ดีสัก 10-15 ปี มีโอกาสที่จะตายจากโรคแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองแตก หรือจากไตวายและหัวใจล้มเหลว

ประเทศไทยประเมินว่าใช้เงินปีละเกือบแสนล้านบาทเพื่อรักษาโรคเบาหวาน แต่การโหมใช้ยารักษาก็ดูช่วยแก้ปัญหาไม่ได้มากนัก เพราะร้อยละ 70 ที่ไปหาหมอกินยาไม่สามารถคุมน้ำตาลเลือดให้ได้ระดับปลอดโรคแทรกซ้อนได้

การโหมใช้ยารักษาเบาหวานยังทำให้เกิดอาการช็อคน้ำตาล และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการหลับไม่ตื่น

คำว่า ช็อคน้ำตาล เป็นคำเพี้ยนจาก insulin shock ซึ่งเดิมหมายถึงคนไข้ได้อินซูลินมาก เกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำจนหมดสติ แต่อาการช็อคน้ำตาล ที่พูดกันทั่วไปคงหมายถึงอาการที่เกิดเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลเลือดต่ำ (hypoglycemia) มักเกิดจากได้ยากินหรือยาฉีดคุมน้ำตาลเกินขนาด มีอาการทางสมอง เช่นรู้สึกโหวงเหวง หงุดหงิดง่าย มือไม้สั่น หรืออาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เช่น เหงื่อแตก และใจสั่น

หากอาการไม่มาก คนไข้ก็มักรีบหาลูกอมหรือของหวานเข้าปาก สักพักอาการก็จะดีขึ้นเป็นปกติ

แต่หากเป็นมากก็อาจชักหรือหมดสติ และต้องนำส่งแพทย์ให้ฉีดกลูโคสเข้าเส้น

อาการช็อคน้ำตาล หรือ insulin shock เดิมมักเกิดกับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 ซึ่งเซลล์ผลิตอินซูลินที่ตับอ่อนถูกทำลาย จึงต้องรักษาโดยฉีดอินซูลินทดแทน

เบาหวานกลุ่มนี้มักมีระดับน้ำตาลเลือดขึ้นๆ ลงๆ อย่างปู๊ดป๊าด สมัยก่อนไม่มีเครื่องเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน จึงยากที่จะคุมได้ดี วันใดกินมากขยับน้อย ระดับน้ำตาลก็จะพุ่งสูง วันใดกินน้อยออกแรงมาก หากไม่ได้ลดยาฉีดก็จะเกิดอาการน้ำตาลต่ำจนช็อคหมดสติ

นอกจากนี้ จิตแพทย์สมัยก่อนอาจรักษาโรคซึมเศร้าหรือ schizophrenia โดยการฉีดอินซูลินจนคนไข้ชักหมดสติ แล้วค่อยให้น้ำตาลกลูโคสเข้าเส้นช่วยให้ฟื้น หลังทำ insulin shock ความจำเรื่องเก่าๆ ก็เลือนหายหมดช่วยให้คนไข้หมดทุกข์หมดโศก อาการทางจิตก็ดีขึ้นด้วย

แต่สมัยนี้นิยมการรักษาด้วยยาระงับประสาทมากกว่า

คนเป็นเบาหวานอาจเกิดเสียชีวิตด้วยอาการหลับไม่ตื่น (Dead in bed syndromc) หรือจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ซึ่งแต่ก่อนมักเกิดกับเด็กและคนหนุ่มที่ไม่มีอาการโรคหัวใจมาก่อน

ได้มีการศึกษาหาสาเหตุโดยทดลองฉีดอินซูลินให้ระดับน้ำตาลเลือดลดเหลือราว 45 มก./ดล. (2.5 mM) พร้อมกับการตรวจติดตามคลื่นหัวใจ ปกติจะเห็นกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (depolarization) และคืนตัว (repolarization) อย่างเป็นระเบียบ

แต่ในภาวะน้ำตาลเลือดต่ำ จะพบว่า QTc interval กว้างกว่าปกติ ซึ่งสะท้อนว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจคืนตัวช้า อีกทั้งค่า QT dispersion ซึ่งวัดจาก QTc interval จากแต่ละ precordial lead มีค่าต่างมากกว่าปกติ แสดงว่าหัวใจแต่ละจุดมีการคืนตัวเร็วช้าต่างกันมาก

การเปลี่ยนแปลงทางคลื่นหัวใจนี้ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) เช่นเต้นเร็ว (ventricular lachycardia) หรือเต้นรัวไม่เป็นจังหวะ (ventricular fibrillation) ซึ่งเป็นเหตุของการเสียชีวิตกะทันหันหรือหลับไม่ตื่นได้ (Int J Clin Pract Suppl. 2002; 129:27)

เบาหวานในผู้ใหญ่ ร่างกายไม่ได้ขาดอินซูลิน แต่มักจะรักษาโดยให้ยากินระงับการสร้างน้ำตาลที่ตับ สมัยก่อนไม่ค่อยได้ยินว่าคนไข้เกิดอาการช็อคน้ำตาล หรือหลับไม่ตื่น มากเหมือนสมัยนี้ เพราะมีการเตือนระวังการใช้ยาแรงตอนหัวค่ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำตอนนอนหลับ การให้ยาลดน้ำตาลก็ให้อย่างบันยะบันยัง การรักษาโดยการฉีดอินซูลินก็ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย

แต่มาระยะหลัง มีการอ้างผลวิจัย Diabetes Control and Complications Trial ซึ่งศึกษาเบาหวานในเด็ก ว่าคนที่คุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่า จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานน้อยกว่า (N Engl J Med 1993;329:977) และมีความพยายามชี้นำให้คุมระดับน้ำตาลเข้มงวดขึ้นในเบาหวานทุกประเภท

ซึ่งก็เป็นสิ่งถูกต้องหากการรักษาเน้นการคุมอาหารมากกว่า

ปัจจุบัน แพทย์จำนวนมากให้การรักษาเบาหวานแบบ "จ่ายยาตามตัวเลข" หรือ Prescription by Number (N Eng J Med 2007;357:516) กล่าวคือ แพทย์ไม่ค่อยคำนึงถึงสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานหรือเหตุใดจึงคุมน้ำตาลไม่ได้ สนใจแต่ผลตรวจน้ำตาลเลือด หากระดับไม่สูงนักก็ให้ยาขนาดเดิม แต่ถ้าน้ำตาลเลือดสูง ก็พยายามกดระดับน้ำตาลโดยการเพิ่มยาให้แรงขึ้น หรือบ่อยมื้อขึ้น และหากยังคุมไม่ได้อีก ก็มักจะเพิ่มให้ฉีดอินซูลิน และหากยาทั้งกินทั้งฉีดยังคุมไม่ได้ ก็เพิ่มขนาดอินซูลินที่ฉีด

การตรวจเบาหวาน เรามักเจาะเลือดตรวจเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่นก่อนอาหารเช้า ความจริงระดับน้ำตาลในเลือด แกว่งขึ้นลงตลอดเวลา หากโหมยามากและเกิดอาการน้ำตาลต่ำตอนช่วงสายหรือตอนนอนหลับแต่เราไม่ได้เจาะเลือดตรวจขณะมีอาการก็จะไม่รู้

เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำ ร่างกายจำต้องมีปฏิกิริยาปรับสมดุล (homeostasis) เพื่อไม่ให้น้ำตาลเลือดต่ำเกินไป โดยศูนย์สมอง VMH (Ventromedial hypothalamus) กระตุ้นให้เกิดอาการหิว และหลั่งฮอร์โมนเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลเลือด (Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol 2005;289: R936) แต่การปรับสมดุลมีผลทำให้น้ำตาลเลือดกลับมีระดับสูงกว่าปกติตามมา

เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำจากการได้ยาเกิน คนไข้จะมีอาการโหย บางครั้งรู้สึกหิวแทบจะขาดใจสัญชาตญาณบอกให้รีบหาของหวานกินเพื่อประทังชีวิตเป็นสำคัญ ทำให้บางคนชอบแอบกินของหวาน เวลาแพทย์ถามก็มักจะตอบปฏิเสธว่าไม่ได้กินอะไร แต่ญาติและคนใกล้ชิดจะบอกได้ บางคนถึงเวลากินแต่อาหารมาช้า ถ้าสังเกตจะพบอาการน้ำตาลต่ำ เช่นนิ่งเงียบ หน้าบึ้งตึง อารมณ์บูดง่าย ดังที่เราได้ยินนิทานเรื่อง "ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" และเมื่ออาหารมาถึง จะตักอาหารเข้าปากอย่างเร่งรีบ

หรือบางคนกินยาเบาหวานตอนมื้อเย็น ก็มักต้องแอบหาของหวานกินช่วงก่อนนอน การตรวจเลือดในวันรุ่งขึ้นหรือครั้งต่อไปย่อมมีระดับน้ำตาลเลือดสูงขึ้น ระดับน้ำตาลสะสมก็สูงด้วย แพทย์ก็มักจะเพิ่มยากินหรือยาฉีดให้มากขึ้น เพราะเข้าใจว่าโรครุนแรงขึ้นหรือดื้อยา

อีกสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลเลือดสูง เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Somogyi effect ตามชื่อ Dr.Michael Somogyi ซึ่งรายงานในปี ค.ศ.1938 ว่าเด็กเบาหวานที่รักษาด้วยการฉีดอินซูลินขนาดสูงๆ กลับจะคุมเบาหวานไม่ได้ดี คือบ่อยครั้งเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ร่างกายหลั่งฮอร์โมน glucagon, cortisol และ adrenalin เพื่อปรับระดับน้ำตาลเลือดไม่ให้ต่ำเกินไป การปรับไม่ได้หยุดเมื่อน้ำตาลสู่ระดับปกติ แต่กลับทะยานจนสูงกว่าปกติมาก เช่น ถ้าเกิดน้ำตาลต่ำตอนหลังเที่ยงคืน เจาะตรวจน้ำตาลเลือดตอนเช้าอาจพบระดับสูงกว่าปกติ และหากไม่ซักไซ้ว่าเมื่อคืนมีอาการช็อคน้ำตาล เช่นเหงื่อแตกกับใจสั่นหรือไม่ ก็อาจคิดว่ายาไม่พอ จำเป็นต้องเพิ่มยา คนไข้ก็อาจเกิดช็อคน้ำตาลอย่างรุนแรงหรือหลับไม่ตื่นจากยาที่กินหรือฉีดเพิ่มขึ้น

เวลาเกิดช็อคน้ำตาล เรามักไม่ทันตรวจเลือดช่วงกำลังมีอาการ แต่การตรวจเลือดภายหลังพบมีระดับน้ำตาลเลือดสูงจาก Somogyi effect ที่กล่าวนี้ ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าอาการช็อคน้ำตาล เกิดจากระดับน้ำตาลเลือดสูงเกิน จึงไม่กล้าลดยาทั้งๆ ที่เกิดอาการบ่อยๆ

ผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน มักมีภาวะหลอดเลือดตีบตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่ายหากเกิดน้ำตาลต่ำ (Diabetes Care 2003;26:1485) อีกทั้งพบว่าคลื่นหัวใจในภาวะน้ำตาลเลือดต่ำมีช่วง QTc กว้างและ QT dispersion มากกว่าปกติ (J Intern Med. 1999;246:299) นอกจากนี้ คนเป็นเบาหวานหัวใจมักมีอาการ A-V block ร่วมด้วย (Chest 2005;128:2611) ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย

ผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน หากเกิดภาวะน้ำตาลเลือดต่ำ มีโอกาสสูงมากทั้งการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหากแก้ไขไม่ทัน ก็จะเป็นเหตุให้คนไข้หลับไม่ตื่น หรือเสียชีวิตกะทันหันได้

การเปลี่ยนแปลงทางคลื่นหัวใจที่มีช่วง QTc กว้างและ QT dispersion มากกว่าปกติที่พบในภาวะน้ำตาลต่ำสันนิษฐานว่ามีสาเหตุจากระดับ adrcnalin ในเลือดสูง (Diabetes 2003;52:1469) การออกกำลังกายหรือช่วงมีอารมณ์เครียด ก็มี adrenalin ในเลือดสูงและเกิด adrenalin induced arrhythmia ได้เช่นกัน ดังนั้น คนเป็นเบาหวานควรพยายามหลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด และการแนะนำคนเป็นเบาหวานให้ออกกำลังกายมากๆ เพื่อลดน้ำตาลนั้นก็ต้องพึงระวังด้วยเช่นกัน

เบาหวานที่เกิดในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นอาการของโรคกินเกิน (mctabolic syndrome) ซึ่งร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินพิกัดจนไม่สามารถหาที่กักเก็บเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดภาวะสารอาหารไหลล้นในกระแสเลือด คือมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง

การฉีดอินซูลินก็ไม่ช่วยอะไรมาก เพราะตับอ่อนสามารถสร้างได้มากอยู่แล้ว อีกทั้งเซลล์ในร่างกายก็ไม่ค่อยตอบสนองต่ออินซูลิน การใช้ยากินระงับการสร้างน้ำตาลที่ตับก็เป็นการรักษาตัวเลขเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ



Create Date : 13 มกราคม 2551
Last Update : 13 มกราคม 2551 6:11:23 น. 0 comments
Counter : 13029 Pageviews.

rajathanee
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Be HaPPY All THe TiMe!!!



" ความรักคือ การให้ "


ถ้าคุณต้องการที่จะได้ความรัก สิ่งที่คุณต้องทำคือ รู้จักให้ด้วย ยิ่งให้ คุณก็ยิ่งได้รับสูตรลับของความสุข และทำให้มิตรภาพยืนยาว อย่าถามว่าคนอื่นให้อะไรคุณบ้าง แต่ให้ถามว่าคุณทำอะไรให้คนอื่นบ้างจะดีกว่า...




: Users Online
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add rajathanee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.