All Blog
95 นำสู้ความสำเร็จการประกอบธุรกิจ
กฎ 1-95 ข้อง่าย ๆ ในการเปิดธุรกิจ ผมขอนำมารีรันนะครับ

          1. คุณจะต้องขายสิ่งที่ตลาดต้องการไม่ใช่สิ่งที่คุณอยากจะขาย

          2. ต้องเป็นสิ่งที่ตัวเองถนัด

          3. สิ่งที่จะทำ ต้องขายส่งได้ด้วย เพราะขายปลีกมันไม่รวย แล้วมันกระจายจุดไม่ได้ ถ้าของเราขายส่งได้ มันสามารถไปอยู่ได้ทุกมุมโลก

          4. ของที่เราขายส่งได้ ในระยะยาว เราต้องเป็นผู้ผลิตเองได้
          5. สิ่งที่เราขาย ต้องไม่ใช่สิ่งที่เหมือน ๆ กันแล้วแข่งเพียงแต่ราคา เช่น ไข่ไก่ แต่เสื้อยืดคุณขายดีไซน์ไอเดียได้
          6. สิ่งที่คุณจะขาย ต้องมีจุดแข็ง ที่ไม่ใช่คำว่า ราคา คุณภาพ บริการ แต่มันต้องลึกกว่านั้น

          7. คุณต้องตอบให้ได้ว่า ทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าคุณ ทำไมเขาต้องไม่ไปซื้อคู่แข่ง

          8. คุณต้องรูว่า กลุ่มเป้าหมายคุณคือใคร แล้วทำเลนั่นมีกลุ่มเป้าหมายคุณไหม

          9. คุณจะเป็นใครในตลาด รวม ๆ หมายถึง คุณจะขาย สินค้าระดับไหน ราคาระดับไหน ภาพลักษณ์คุณระดับไหน

          10. ร้านอาหาร ข้าวมันไก่เหมือน ๆ กันแต่ทำไมร้านนี้คนเต็ม อีกร้านไม่มีลูกค้า เวลาคุณเดินผ่าน คุณจะเลือกเข้าร้านที่คนเยอะ แม้คุณจะไม่เคยกิน แต่คุณจะคิดว่าร้านนี้ต้องอร่อยคนจึงเต็ม คุณจะทำยังไงให้ร้านคุณลูกค้าผ่านครั้งแรกแล้วอยากเข้า

          11. คุณต้องสร้างระบบ ที่ระบบนั้นไม่ได้ยึดตัวคุณ แต่ดำเนินการด้วยตัวมันเอง คุณเพียงเป็นคนตรวจคุมระบบ

          12. อะไรจะเป็นจุดแข็งของคุณ เมื่อมีคนอื่นมาเป็นคู่แข่ง หรือมีคนมาก๊อปปี้ คุณจะทำยังไง คุณต้องมีจุดแข็งตรงนั้น เพราะธุรกิจเป็นระบบเสรี
          

          13. การลดต้นทุน คือกำไรอัตโนมัติ คุณขายได้ 1,000 หน่วย ลดต้นทุนได้ 2 บาท เท่ากับว่าคุณกำไรตั้งแต่ยังไม่ขาย 2,000 แล้ว
          14. พนักงานคือสิ่งที่สำคัญ ถ้ายิ่งพนักงานอยู่นานเท่าไร เท่ากับประสบการณ์ยิ่งมาก สามารถจบลูกค้าได้ง่าย คุณจะทำยังไงให้พนักงานอยู่นานที่สุด

          15. คุณจงคำนวณยอดขายต่ำสุดในช่วงโลว์ซีซั่น แล้วหาจุดคุ้มทุน ถ้าช่วงโลว์สุดยังกำไร ก็ตัดจุดเจ๊งได้เลย

          16. คุณจะต้องสำรวจตลาดเสมอ เพราะการตลาด เพียงแค่คุณหยุด คู่แข่งก็ก้าวล้ำคุณไปแล้ว ถ้าคู่แข่งคุณหยุด แล้วคุณพัฒนา คุณก้าวล้ำ 2 ก้าว
          

          17. ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ ในช่วงโลว์ทุกคนหยุดกิจกรรมเสมอ เพียงคุณกระตุ้นแผนการตลาด ลูกค้าก็รับรู้ง่าย
          18. ในช่วงตลาดโลว์ ลูกค้าเดิม ๆ จะขายไม่ดี จะเริ่มหาเจ้าใหม่ นั่นคือโอกาสของเราเสมอในตลาดโลว์
          

          19. จงแยกแยะลูกค้าชั้นดี ชั้นกลาง ชั้นแย่ เพราะลูกค้าทุกคน สัดส่วนซื้อไม่เท่ากัน ตามกฎ 20/80 คือ ลูกค้าสัดส่วน 20% แต่เป็นกำไรของร้าน 80%
          20. เมื่อคู่แข่งแข่งราคา คุณจงอย่าแข่งราคาจนไม่มีกำไร เพราะธุรกิจต้องการกำไร
          

          21. วันที่คุณขายไม่ดี อย่าโทษตลาด เพราะในวันนั้นก็มีคู่แข่งคุณที่ขายดี
          

          22. เวลาคุณขายไม่ดีอย่าเพียงแต่โทษตลาด เศรษฐกิจไม่ดี ฝนตก แต่หันมาดูตัวเราเองแล้วถามว่า เราทำสินค้าตรงตามความต้องการลูกค้าไหม ราคาเราสมเหตุสมผลไหม บริการเราดีไหม
          

          23. อัตราขายส่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เพราะเมื่อเรามีลูกค้าขายส่ง เท่ากับว่าเรามีหน้าร้านเพิ่มอัตโนมัติ โดยที่เราไม่มีค่าเช่า
          24. ลูกค้าส่งยิ่งมีมาก สินค้าเราจะไม่เคยค้างสต๊อก เช่น เราผลิตต่อแบบ 50 หน่วย มีลูกค้าส่ง 50 เจ้า ลูกค้ารับไปเจ้าละ 1 ตัว เขาจะไม่รู้หรอกว่าแบบนั้นขายไม่ดี

          25. ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณจะทำอะไร ความคิดตัน คุณแค่เพียงก้าวเท้าออกไปจากร้าน แล้วไปในแหล่งที่ขายของแบบเดียวกับคุณ คุณอาจได้ไอเดียกลับมา

          26. ปัญหาร้อยแปดพันเก้า คุณจะบอกไม่รู้จะขายอะไร วิธีง่ายสุดคือ ก๊อปปี้ไง คุณไปลอกเลียนแบบร้านค้าที่ขายดีแล้วคุณพอจะทำได้ในเบื้องต้น แล้วลงมือดู (แต่คิดเยอะ ๆ ก่อนทำ)

          27. ก่อนจะทำธุรกิจอย่าไปลองผิดลองถูก คิดว่าเปิด ๆ ไป ขาย ๆ ไปเดี๋ยวก็มีคนมาซื้อ คุณวางแผนก่อนดีไหมว่าจะขายอะไร หาเหตุผลที่ลูกค้าจะซื้อ เพราะเงินลงทุนมีจำกัด

          28. ถ้าคุณจะก็อบปี้ มันก็เป็นทางลัด แต่ไปเปิดไกล ๆ นะ เพราะอาจโดน Teen คนเขียนเคยโดนมาแล้ว

          30. คุณจงรับรู้ไว้ว่า ลูกค้าที่มาซื้อคุณ ไม่ใช่เพราะสินค้าคุณดีสุด ถูกสุด แต่เป็นเพราะตลาดมันไม่สมบูรณ์ด้านข้อมูล

          31. ลูกค้าไม่ได้ซื้อสินค้าที่ถูกสุด แพงสุด หรือดีสุด แต่เค้าซื้อที่เขาต้องการใช้ แล้วราคามันสมกับมูลค่าที่เขาคิดว่าจะได้รับ

          32. ลูกค้าประจำที่มาซื้อคุณ เขาคือ LOYALTY CUSTOMER คุณจงดูแลเค้าให้ดี เพราะต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ แพงกว่า 5 เท่าในการดูแลลูกค้าเก่า

          33. คุณจงทำสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าส่วนรวม เพราะเมื่อคุณตอบสนองลูกค้าเพียงคนเดียวเมื่อไร คุณจะเสียความเป็นส่วนรวมในตลาด ถ้าสินค้าคุณไม่ใช่สินค้าเฉพาะกลุ่ม

          34. ถ้าคุณคิดว่าสินค้าคุณขายดีแล้ว แล้วคุณก็ผลิตแต่สินค้าเดิม ๆ คุณเตรียมตัวตายได้เลย ถ้าสินค้าคุณเป็นแฟชั่น

          35. ถ้าสินค้าคุณขายดีในช่วงไฮ คุณจงคิดให้น้อย แต่ทำให้มาก แต่ถ้าคุณขายไม่ดีในช่วงโลว์คุณจงคิดให้มาก แต่ทำให้น้อย

          36. กลยุทธ์อาจใช้ได้ดีในช่วงไฮซีซั่น แต่อาจแย่ในช่วงโลว์ซีซั่น เพราะสินค้ามันมีวัฏจักร

          37. ถ้าคุณจะขยายสาขา จงมั่นใจว่าสาขา 1 คุณใช้เต็มประสิทธิภาพ จงอย่าคิดแต่เพียงฉันอยากจะเปิด

          38. ถ้าคุณจะเปิดสาขา จงใช้พลังของสาขา เพราะมันไม่ใช่ 1+1 แต่มันเป็น 3
          

          39. ถ้าคู่แข่งคุณมาใหม่แล้วทำให้ยอดขายคุณตก คุณต้องรีบโจมตี ถ้าปล่อยไว้ระยะยาว คุณจะเสียอำนาจการแข่งขันในระยะยาว (แต่ขอให้โจมตีทางด้านการตลาด)
          40. ถ้ายอดขายคุณตก คุณพึงสังวรไว้เลย ตลาดได้เปลี่ยนไปแล้ว
  
          41. คุณต้องมีสายตาในการประเมิน คู่แข่งมี 3 แบบ คือ 

        - คู่แข่งโดยตรงในตลาดเดียวกัน
        - คู่แข่งโดยตรงในตลาดต่างกัน
        - คู่แข่งไม่โดยตรง แต่กินเงินจากกระเป๋าลูกค้าเดียวกัน

          42. ลูกค้าคุณคือเครื่องยืนยันดีที่สุด ว่าเขาซื้อคุณเพราะอะไร มีปากจงถาม ถาม ถาม เป็นวิธีประเมินตัวเองดีที่สุด

          43. วิธีจะหาจุดอ่อนคู่แข่ง คุณก็ลองทำตัวเป็นลูกค้าโง่ ๆ ไปลองซื้อสินค้าเขา แล้วอะไรที่เขาทำไม่ได้ คุณก็เอากลับมาเป็นจุดแข็ง

          44. ถ้าคุณจะขยายสาขา ขอให้มั่นใจว่าคุณจะดูแลมันทั่วถึง มิใช่ปล่อยให้ร้านค้านั้นกัดกินกำไรจากสาขาแม่ แล้วเป็นสาขาซากปรักหักพัง

          45. สินค้าที่จะทำเงิน คือสินค้าที่อยู่ในกระแส ที่คุณเป็นผู้นำแฟชั่น จับทางให้ถูก ให้ไว แล้วตีให้ร้อน

          46. ถ้าคุณขายสินค้าไม่ออก อย่าไปโทษลูกค้า แต่คุณจงแน่ใจว่าของที่คุณขายมีคนใช้จริงเหรอ จงรีบพัฒนาโดยเร็ว หรือโยนมันทิ้ง แล้วหาสินค้าที่มันใช่ดีกว่า

          47. คุณอย่าริอาจผลิตสินค้า จนกว่าคุณจะมีลูกค้า เพราะคุณผลิตมาอาจทิ้งยกล็อต จงหาลูกค้าให้ได้ก่อน แล้วค่อยผลิต

           48. อย่าริขายส่งเลย ถ้ายังขายปลีกไม่ได้ เพราะลูกค้าส่งก็คงเอาของคุณไปดอง เพราะคุณยังขายปลีกไม่ได้ คุณต้องพิสูจน์สินค้าตัวเองขายดีก่อน จะให้คนอื่นไปขายแทน

          49. ถ้าคุณจะขายส่ง คุณต้องคิดปัญหาแทนลูกค้าส่ง ว่าจะเจอปัญหาอะไร แล้วคุณจะผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ในตลาดให้ลูกค้าแทน ลูกค้าส่งมีหน้าที่ขาย คุณมีหน้าที่ผลิตของที่ตลาดยอมรับ

          50. กำไรคำนวณให้เป็น บางคนขาย 100 ต้นทุนสินค้า 40 ค่าเช่า 20 ค่าเด็ก 10 กำไร 30 คิดไปคิดมาก็กำไร แต่สุดท้ายเงินไม่เหลือในธนาคาร กำไรแบบนี้สิมายา เงินที่อยู่ในธนาคารคือกำไร (ต้นทุนแฝงมีมากกว่าที่เราเห็น)

          51. ไม่มีใครเจ๊งจากการทำธุรกิจที่ไม่ได้ไปกู้มาหรอก แต่ที่เขาปิดกิจการ เพราะเขาไม่เห็นอนาคตมากกว่า เพราะก็ยังเห็นกินฟูจิกันอยู่

          52. ธุรกิจคุณจะอยู่รอดได้ เพราะระบบวัตถุดิบ ระบบผลิต ระบบขนส่ง ระบบขาย คุณจงจ่ายในอัตราที่อยู่ร่วมกันได้ เพราะถ้าคุณรวยคนเดียว คนอื่นจน สักวันคุณจะไม่เหลือระบบ แต่เมื่อคุณจ่าย คุณก็รับให้เต็มที่ ระบบมันจะแข็งแกร่ง GIVE & TAKE

          53. ถ้าคุณขายเอง ไม่ปล่อย ไม่ไว้ใจใคร คุณก็ขายเองไปจนตาย

          54. ถ้าคุณคือสมองของระบบ จงอย่าเอาตัวลงไปขาย เพราะคุณจะไม่เห็นภาพกว้าง คุณไม่ได้จำเป็นต้องขายเก่ง แต่คุณมีพนักงานขาย คุณต้องรู้รายละเอียด

          55. ถ้าคุณปล่อยร้านค้าไม่สนใจ อย่าอ้างว่าคุณคือเจ้าของ แล้วไม่ต้องเข้าร้าน แต่เวลาที่คุณไม่อยู่ร้านคุณขอให้แน่ใจว่า คุณยังดูภาพรวมตลาดอยู่

          56. ถ้าสินค้าคุณเป็นธุรกิจ no barrier of entry คือ คู่แข่งเข้ามาง่าย คุณจงคำนวณเวลาตายของธุรกิจไว้ด้วย เพราะคุณจะได้ไม่ประมาท หรือมองธุรกิจที่ 2

          57. คุณอย่าตัดสินใจเลือกทำเลที่ราคาเพียงอย่างเดียว เพราะราคาถูกคุณอาจขายของให้ผี แต่ถ้าค่าเช่าแพง ถ้ามันอยู่ในทำเลที่ดีขายแล้วมีกำไรพอใจ ก็เช่าไปเหอะ
          

          58. ก่อนจะเลือกทำเล คุณจงใช้เวลาไปเดินที่นั่น 7 ครั้ง ดีกว่าจะมาอยู่เสียค่าเช่าฟรี ๆ 1 ปี
          59. ถ้าคุณคิดว่าคุณจะเปิดร้านแล้วขายของที่ต้องตามแฟชั่น หรือคุณต้องไปเลือกของเอง หรือจับจ่ายของทุกวัน เช่น ขายอาหาร ขอให้มั่นใจคุณต้องชอบนะ เพราะโคตรเหนื่อย
          60. ถ้านโยบายคุณจะขายปลีก-ขายส่ง ขอให้แน่ชัดกับทำเล เพราะถ้าคุณจะขายปลีกแล้วไปเปิดใน โบ๊เบ๊ สำเพ็ง คุณก็เตรียมตัวตาย จงรู้ตัวก่อนว่าจะขายที่ไหนที่เหมาะกับคุณ

          61. ราคาใครคิดว่าไม่สำคัญ งั้นจะมีราคา 1 ตัว ส่ง 3 ตัว มีป้าย SALE SALE ราคาโคตรมีผลกับการตัดสินใจซื้อ ดังนั้นอย่าตั้งมั่ว ๆ แต่ขอให้มีเหตุผลว่าราคานี้ใครซื้อ และทำไมต้องราคานี้เพราะงั้นคุณคงได้ขายกันเองแน่ ๆ

          62. ราคา 99 199 299 มันมีประสิทธิภาพนะ ลองเข้าร้าน KFC สิ

          63. อย่าใช้นโยบาย sale พร่ำเพรื่อ เพราะเมื่อคุณไม่ลด ลูกค้าอาจไม่ซื้อคุณเลย ขอให้ทุกครั้งที่เซล จุดประสงค์เพื่อโละสินค้าตกรุ่น หรือเพื่อเพิ่มยอดขาย หรือโจมตีคู่แข่ง หรือ..??? เพราะผมซื้อ S&P แค่วันพุธ

           64. คุณอย่าไปกังวลกับคู่แข่งที่ขายโดยใช้แต่กลยุทธ์ราคา เพราะลูกค้ามีหลายระดับ ถ้าคุณไปยึดมาก คุณจะลดเกรด คุณภาพ ภาพลักษณ์ตัวเอง จนไม่มีค่า แต่ขอให้มั่นใจว่าสินค้าคุณ ราคากับมูลค่าสอดคล้องกัน

          65. สินค้าที่คุณขาย จงมีทางเลือกให้ลูกค้า ถ้าคุณอยากได้ยอดขายเพิ่ม หรือจบการขายได้ คุณเคยเห็นคนขายน้ำปั่นรสเดียวไหม หรือร้านอาหารตามสั่งมีเมนูเดียว ยกเว้นคุณจะชำนาญแบบข้าวมันไก่ประตูน้ำ
          

          66. คุณเคยโทษดวงไหม ทำไมร้านนั้นคนเข้าเยอะ ร้านนี้คนเข้าน้อย ดวงมีส่วนนะ แต่ผมว่าสินค้า การตกแต่ง ราคา มีผลมากกว่าดวง
          67. ถ้าคุณจ้างพนักงานขาย จงมั่นใจว่าคุณจ้างพนักงานขาย ไม่ใช่พนักงานไล่แขก

           68. ถ้ามีลูกค้าเข้ามาพร้อมกัน ไม่มีทางที่คุณจะดูแลจบการขายลูกค้าได้พร้อมกัน จงประเมินความน่าจะเป็น งั้นคุณอาจคนเต็มร้านแต่เดินออกหมด (เห็นลูกค้าแขก ให้สนใจลูกค้าสิงคโปร์)

          69. ถ้าลูกค้ายังไม่เข้ามาเหยียบในพื้นที่ร้าน ลูกค้ามีสิทธิ์จะจากไป จงปล่อยให้เขาเข้ามาก่อน เพราะเขาสนใจจึงเดินเข้ามา เมื่อเข้ามาแล้วก็อย่าปล่อยออกไป เพราะเมื่อเขาเดินออกไป แสดงว่าเงินส่วนนั้นอาจตกไปเป็นของคู่แข่งแล้ว
          

          70. ถ้าคุณจะอยากจะขยายยอดขาย ก็มี 4 วิธีในการเพิ่มสินค้า เช่น ขายเสื้อยืดผู้ชาย
        - แนวนอน ก็ขายเสื้อยืดคอกลม คอวี สกรีนลาย เสื้อพื้นแขนสั้น แขนยาว (วัตถุดิบตัวเดียวกัน)
        - แนวตั้ง เพิ่มเสื้อโปโล ชาย แจ็คเก็ต เสื้อฮู้ด (เพิ่ม ผลิตลาย ทางเลือก)
        - แนวเมทริก เช่น ขายหมวก ขายรองเท้า ขายแว่นตา กางเกง (เพิ่มส่วนประกอบเกี่ยวเนื่อง)
        - แนวหลากหลาย เช่น ขายอะไรที่ไม่เกี่ยวกับตัวเดิมเลย เช่น ขาย ชุดราตรี ชุดว่ายน้ำ

          71. ถ้าอ่านมาถึงข้อนี้ จะบอกว่า ข้อ 29 ไม่มี

          72. คุณกลับไปหาข้อที่ 29

          73. ถ้าคุณขายในแหล่งท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ แค่คุณพูดหนี่ฮาว จ๋ายเจี้ยน เซียเซี่ย คนจีนก็ซื้อคุณละ 

          74. ถ้าคุณคิดว่าจะเปิดร้านอย่าไปคิดหาสินค้า นวัตกรรมใหม่ ๆ เลย ถ้าคุณไม่ใช่ สตีฟ จ๊อบส์ คุณแค่เพียงหาช่องว่างในสินค้าเดิม ๆ แค่นี้ก็ทำเงินละเพราะไม่มีร้านไหนสมบูรณ์แบบ ร้านใหญ่ไม่สนใจ ลูกค้ารายย่อย ร้านค้าใหญ่ ๆ มักบริการช้า ไม่ดูแลบริการ

          75. ถ้าคุณหาช่องว่างไม่เจอ ก็แค่วันไหนคุณหาซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไม่ตอบสนองความต้องการคุณ นั่นล่ะช่องว่าง

          76. ถ้ากลัวเปิดแล้วเจ๊ง ลองหาเพื่อนร่วมธุรกิจ เพราะความรู้ของแต่ละคนอาจหลากหลาย รวมถึงเงินทุน

          77. ถ้าธุรกิจที่คุณเปิดร่วมลงทุน ถ้าขยายเติบโต จงแตกมันซะ ก่อนที่จะมาแตกแยก ส่วนใหญ่ช่วงแรก ๆ ขาดทุน ก็ยอม ๆ กันไป พอมีกำไร ผลประโยชน์มักไม่ลงตัว ดังคำที่ว่า โตแล้วแตก แต่ถ้าใครไม่แตก ก็ทำต่อไป

          78. ถ้าคุณมีเป้ายอดขาย คุณอย่าพยายามได้ลด แต่จงพยายามหาวิธีที่จะได้ถึงเป้าหลาย ๆ ทาง เพราะไม่งั้นยอดขายคุณจะลดลงเรื่อย ๆ

          79. ว่าง ๆ หาหนังสือธุรกิจ การบริหาร การตลาดมาอ่านบ้าง มันจะเปิดมุมมองคุน เช่น RICH DAD POOR DAD รับรอง นารูโตะไม่มีสอน

          80. ธุรกิจที่ดีคุณต้องทำบันทึกยอดขาย รายวัน รายเดือน รายไตสมาส รายปี เทียบเดือนต่อเดือน ปีต่อปี งั้นคุณจะไม่รู้แนวโน้มตัวเอง

          81. สินค้ารอบตัวคุณ มันมีแผนการตลาดซ่อนอยู่หมดนั้นล่ะ เมื่อคุณซื้อหรือใช้บริการสินค้า คุณก็โดนมิสเตอร์การตลาดจัดการแล้ว ดังนั้นสินค้าที่คุณขาย จงใช้ตัวช่วยให้มันขายง่ายขึ้น โดยมิสเตอร์การตลาด

          82. ก่อนที่คุณคิดจะหาวิธีเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการตลาด คุณขายของให้ได้ก่อนดีไหม มีเงินเข้าดีกว่าเงินออกโดยที่ไม่มีรายได้ คือพยายามขายของโดยใช้ต้นทุนให้น้อยสุด

          83. ทำไมเฟรนช์ฟราย KFC เล็กกว่า เหี่ยวกว่าของ  McDonald's หรือเจ้าของไม่รู้ว่าลูกค้าบ่น เพราะก็เหมือนกับว่าทำไมของบางร้านสวยไม่เท่ากับอีกร้าน หรือแพงกว่าอีกร้านก็ยังขายได้

          84. ทำไมสินค้าบางตัวในห้างถึงขายต่ำกว่าราคาทุน เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช เพราะคุณคงไม่ได้ขับรถไปเพียงแค่ซื้อน้ำตาล ดังนั้นราคาสินค้าในร้านคุณทำไมบางตัวถึงแพง บางตัวถึงถูก คิดก่อนตั้งราคา ตั้งถูกชีวิตเปลี่ยน

          85. คุณอย่าขายราคาที่กำไรต่อหน่วยเท่ากันหมด เพราะบางทีคนอ้วนก็ยอมจ่ายแพงกว่านะ

          86. พื้นที่ขายต่อร้านค้า แปรผันต่อกำไร ถ้าคุณขายสินค้าชิ้นใหญ่กำไรน้อย คุณก็ต้องใช้พื้นที่ ก็อย่าไปจ่ายค่าเช่าต่อ ตร.ม. ละ 10,000 เลย ถ้าคุณไม่ได้ขายทอง คำนวณพื้นที่ต่อ ตร.ม. ต่อราคาด้วย

          87. ผมขอเตือนถ้าคุณขายดี อย่าให้โดดเด่นมาก เพราะตลาดเสรี ไม่มีใครให้คุณฟันกำไรคนเดียวนาน ๆ หรอก ยกเว้นเณรคำไม่ดังก็ฟันได้

          88. ปัจจัยการตลาด 1 อย่างอาจถูกต้อง แต่ไม่ถูกเวลา หรือต้องใช้การตลาดมากกว่า 2 จงเลือกทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

          89. ขอให้มั่นใจว่าคุณขายที่ประสิทธิภาพของสินค้า มิใช่เปลือกนอก เช่น บรรจุภาพ การตกแต่ง ราคา ของแถม เพราะลูกค้าจะซื้อคุณแค่ครั้งเดียว

          90. นโยบาย เปลี่ยน คืน แลก ขอให้ชัดเจน เพราะคุณอาจเสียลูกค้าไม่ใช่เพราะสินค้า แต่เป็นทะเลาะตบตีกันทีหลัง

          91. ทำไมโรงหนังขายป๊อปคอร์น แพง ๆ แต่คนซื้อ บางทีของคุณในร้านลูกค้าเข้ามาเพราะชอบอันนี้ แต่ก็เบลอ ๆ ซื้อของแพงด้วย เห็นไหมขายแบบไม่เบลอ แต่ลูกค้าเบลอ จงใช้อารมณ์ร่วมของลูกค้า อย่าทำให้ลูกค้าใช้สมอง

          92. ถ้าลูกค้ามาเป็นกลุ่ม ขอให้ได้ปวดหัวเลย เพราะจะถามกันไปมา ซื้อไหม ไอ้คนจะตั้งใจซื้อ ก็เลยไม่ได้ซื้อ สรุปเดินออกกันไปแบบงง ๆ ถ้าจบรายตัวได้ให้รีบจบ งั้นต้องใช้กฎหมู่

          93. ถ้าคุณขายของแล้วเหลือสต็อกทำยังไง ก็ลดราคาเท่าทุน หรือขาดทุน ดังนั้นขอให้รู้เลยคุณไม่มีทางขายของทุกชิ้นได้หมดแน่ ดังนั้นราคาที่ตั้งจงบวกส่วนสำรองตรงนี้ไปด้วย สุดท้ายภาระตกที่ผู้บริโภค

          94. การขายของถูก ผู้ได้รับผลประโยชน์คือลูกค้า ยิ่งขายถูก ลูกค้ายิ่งกำไร ซัพพลายเออร์รวยเอารวยเอา คนผลิตก็ผลิตกันไป สุดท้ายคนขายโดนค่าเช่ากินตาย เจ้าของต้องหา BREAK EVEN POINT เป็นนะ จุดคุ้มทุน ดั่งคำว่าทำให้คนอื่นรวย          


          95. เมื่อเปิดธุรกิจนาน ๆไป ลูกค้าจะเบื่อสินค้าเดิม ๆ ลูกค้าจะบ่นว่ามีของใหม่ไหม พอเราบอกไม่มีลูกค้าก็ไม่ซื้อ พอบอกมีใหม่ลูกค้าบอกไม่ชอบ ก็ไม่ซื้อ สรุปก็ไม่ซื้อ ดังนั้นคุณต้องหา CORE PRODUCT ให้เจอ คือจุดที่ลูกค้ายังไงก็ต้องซื้อ เช่น ร้านข้าวร้านนี้ไม่อร่อยยังมีคนกิน รถเมล์บริการห่วยก็ยังมีคนขึ้น

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
คุณเทียนย้อย สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม



Create Date : 26 มิถุนายน 2562
Last Update : 26 มิถุนายน 2562 8:24:10 น.
Counter : 800 Pageviews.

0 comment
การลงทุนกับความเสี่ยง
จริงอยู่ที่คำว่า “การลงทุน” มักจะพ่วงท้ายมาด้วยคำว่า “ความเสี่ยง” เสมอ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า “การไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยง” อยู่ไม่น้อยเช่นกัน

ถ้าไม่เชื่อ... คุณลองหยิบธนบัตรใบละ 100 บาทขึ้นมา และคิดย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วว่า เงิน 100 บาทนี้ สามารถซื้อข้าวได้กี่จาน มากกว่าหรือน้อย
ที่ซื้อได้ในวันนี้?

เชื่อว่าคำตอบที่ได้รับน่าจะเหมือนๆ กัน คือ เงิน 100 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สามารถซื้อข้าวได้มากกว่าในวันนี้เป็นแน่ นั่นเป็นเพราะ “พลังเงิน” หรือ
  “มูลค่าที่แท้จริงของเงิน” ลดลงตลอดเวลา อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ซึ่งเป็นภาวะที่ราคาสินค้าหรือบริการโดยเฉลี่ยในท้องตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง

ดังนั้น การเก็บเงินไว้กับตัวเอง จะเอาใส่ไหฝังดิน หรือเก็บซ่อนไว้ตามตู้เสื้อผ้าหรือใต้หมอนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงมีแต่จะทำให้เงินที่เก็บสะสมไว้มีมูลค่า
ลดลงเรื่อยๆ

ด้วยเหตุนี้เอง คนเราจึงเริ่มสะสมหรือเก็บออมเงินในรูปของเงินฝากธนาคาร เพื่อเพิ่มค่าเงินออมให้มากขึ้น และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ แต่หลายปี
ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อวิ่งพุ่งพรวด ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ต่ำติดดิน ลำพังการออมเงินไว้ในธนาคารเพียงอย่างเดียว คงทำให้คุณต้องแบกต้นทุนชีวิตที่แพงขึ้น
เพราะเงินออมเติบโตไม่ทันราคาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น แถมดูท่าจะไปถึงฝั่งฝันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น

“การลงทุน” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ เงินออมของคุณงอกเงย และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วขึ้น เพราะการลงทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
ดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเมื่อหักลบกับเงินเฟ้อแล้ว “พลังเงิน” ของคุณไม่ลดลง แถมยังช่วย “เพิ่มพลัง” ในการจับจ่ายใช้สอยให้คุณได้อีกด้วย

แต่ในปัจจุบัน ทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป คุณจึงจำเป็นต้องศึกษาทางเลือกต่างๆ เพื่อให้เงินออม
ออกดอกออกผล สร้างความมั่งคั่งให้คุณอย่างคุ้มค่าและสอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด

เอาเป็นว่า... ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องการลงทุนพร้อมๆ กันนั้น เราน่าจะทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนดีกว่าว่า “การลงทุนคืออะไร” เพราะบางคนเห็นคนอื่นร่ำรวย
จากการลงทุน เลยเข้าใจว่าการลงทุนน่าจะเป็นหนทางทำให้ตนเองร่ำรวยได้รวดเร็ว ในขณะที่อีกหลายคนเข้าใจว่าการลงทุนเป็นเหมือนการพนันหรือการเสี่ยงโชค
ประเภทหนึ่ง ถ้ามีดวง ก็อาจทำให้ร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านในชั่วข้ามคืน

แท้จริงแล้ว... การลงทุนไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ผู้ลงทุนร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วเสมอไป ในทางตรงกันข้าม การลงทุนที่ขาดความรู้ ขาดความเข้าใจไม่มีการศึกษา
และวางแผนการลงทุนที่ดีพอ ก็อาจทำให้คุณเสียโอกาสในการลงทุน เผลอๆ อาจจะทำให้ขาดทุนเลยก็ได้


โดยปกติแล้ว คำว่า “การลงทุน” ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ การที่เราใช้สอยทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็น
การลงทุนที่แท้จริง (Real Investment) โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการผลิตสินค้าหรือบริการว่า คุ้มกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้สอยทรัพยากรนั้นๆ
หรือไม่

ในทางการเงิน มีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินหลายๆ ท่านให้นิยามของคำว่า “การลงทุน” ไว้หลากหลาย แต่ขอสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “การลงทุน” คือ
การชะลอการใช้เงินจำนวนหนึ่งในปัจจุบัน และนำไปซื้อสินทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน โดยคาดหวังว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เงินลงทุนจำนวนนี้จะงอกเงยขึ้น
และก่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่สามารถชดเชยทั้งระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง

ท้ายนี้อยากฝากไว้ว่า... การจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้น เราไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนหรือจบการศึกษาด้านการเงินการลงทุนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน
เศรษฐศาสตร์ขั้นเทพ ไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะด้านการคำนวณ หรือต้องมีพรสวรรค์ในด้านใดเป็นพิเศษ เพียงแค่รู้จัก “เปิดโอกาส” ให้ตัวเองที่จะเรียนรู้พื้นฐานการจัดการเงิน
ลงทุนและทำความเข้าใจธรรมชาติของการลงทุนให้ถ่องแท้ เพื่อปรับตัว ปรับใจ และจะได้ตั้งรับอย่างมั่นคง หากการลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ โดยผ่าน
“6 เรื่องควรรู้” ซึ่งว่าที่ผู้ลงทุนทั้งหลายต้องทำความเข้าใจก่อนจะเริ่มลงทุน


        การจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม... “การลงทุน” ก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเริ่มลงทุน
    ในอะไรก็ตาม ควรเริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเองให้พร้อม โดยต้องรู้จัก 3 ต. คือ เตรียมตัว เตรียมสตางค์ และเตรียมใจ

    กันก่อน



“เตรียมตัว” เพื่อจะเป็นผู้ลงทุนที่ดีโดยการกำหนด “เป้าหมายการลงทุน”
   ที่ชัดเจน เป้าหมายการลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
   เพราะเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรากำหนดแนวทางการลงทุนได้ง่ายขึ้น ยิ่งปัจจุบัน
   ทางเลือกในการลงทุนมีมากมาย การลงทุนแบบไร้ทิศทาง ลงทุนตามข่าวสาร
   ตามกระแสอาจทำให้พลาดโอกาสดีๆ ที่เหมาะกับตัวเราไปอย่างน่าเสียดาย

         เบื้องต้นเราจึงควรกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจนว่า ต้องการลงทุน
   เพื่ออะไร? ต้องการใช้เงินประมาณเท่าไหร่? และต้องการจะบรรลุเป้าหมายนั้น

เมื่อใด? ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ระยะกลาง (1 – 5 ปี) หรือ
   ระยะยาว (ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล บางคนอาจลงทุน
ระยะสั้นเพื่อเตรียมเงินไว้สำหรับดาวน์รถยนต์คันใหม่ บางคนอาจลงทุนระยะกลางเพื่อเตรียมเงินไว้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
   หรือบางคนอาจต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ ฯลฯ

         จากนั้นค่อยพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุนว่าคุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ต้องการผลตอบแทนแบบไหน
   อัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ หรือมีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด เพราะสิ่งเหล่านี้แหละที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า...
   ทางเลือกการลงทุนแบบไหนที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด

         นอกจากนี้ ต้องเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง โดยศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกที่คิดจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะ
   ความเสี่ยง และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่จะลงทุนนั้น


“เตรียมสตางค์”
หรือเตรียมเงินลงทุนในจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งคุณควรพิจารณา
“แผนการออมและแผนการใช้จ่าย” ประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสถานะทาง
   การเงิน หากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
 เมื่อกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้นได้แล้ว ก็ต้องพิจารณา “สินทรัพย์ลงทุน” อย่างรอบคอบ
   ก่อน แล้วจึง “แบ่งเงิน” ไปลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนหลายๆ ประเภท หรือที่เรียกว่า
   “การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน” (Asset Allocation) เพื่อให้เกิดการกระจายความเสี่ยง
   อย่างเหมาะสม   

มีข้อมูลทางวิชาการและสถิติมากมายระบุว่า การจัดสรรทรัพย์สินลงทุนอย่างเหมาะสมสามารถสร้างผลตอบแทนจาก
   การลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะราคาของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภทจะตอบรับต่อการ
   เปลี่ยนแปลงของปัจจัยเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน รวมทั้งใช้เวลาในการปรับขึ้นลงของราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การลงทุนใน
   สินทรัพย์หลายประเภทจึงช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจำนวนมากในคราวเดียวได้เป็นอย่างดี



         สุดท้าย คือ...
“เตรียมใจ” ให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่จะมี
   ผลกระทบต่อการลงทุน ถือเป็นเคล็ดลับในการลงทุนอย่างมีความสุข
   เพราะผู้ลงทุนส่วนใหญ่ “ขาดความอดทน” และ “ไม่มีวินัย” ในการลงทุน
   ที่ดีพอ จึงมักจะลงทุนไปตามสิ่งเร้าหรือตามกระแส ไม่ได้พิจารณาการลงทุน
   ด้วยความรอบคอบ

         เมื่อมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ใดที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนเกิดขึ้น
   ก็เกิดความกังวล หวาดวิตก กลัวความเสียหายจะเกิดขึ้นกับการลงทุนของตน
   ทำให้เกิดความกดดันและความเครียด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนโดยรวม
และต่อสุขภาพจิตของตนเอง ตรงกันข้าม... หากเราพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ มีความอดทน และมีวินัยในการลงทุน
   เราก็จะพบว่าความผันผวนของตลาดในระยะสั้นจะไม่ส่งกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเรามากนัก

         เอาเป็นว่า... ใครอยากมี "ความมั่งคั่งทางการเงิน" ควบคู่ไปกับ "ความมั่งคั่งทางอารมณ์" ก็ต้องเตรียม 3 ต. ทั้ง
   เตรียมตัว เตรียมสตางค์ และเตรียมใจ ให้พร้อม จะได้ออกสตาร์ทบนเส้นทางการลงทุนแสนสุขได้อย่างผู้ลงทุนมืออาชีพ

tsi-thailand.org



Create Date : 30 ตุลาคม 2557
Last Update : 30 ตุลาคม 2557 23:32:49 น.
Counter : 904 Pageviews.

0 comment
รวยเป็นเศรษฐีเงินล้าน
วิธีเป็นเศรษฐีเงินล้าน article

 “เงินไม่ใช่พระเจ้า  แต่เงินก็สามารถซื้อทุกอย่างที่พระเจ้าสร้างไว้บนผืนพิภพแห่งนี้”

พูดอย่างนี้ มิได้มีเจตนาบูชาเงินเป็นสรณะ แต่ถ้าคุณคิดว่าตนเองเป็นคนดี  ถามว่า เงินถ้าอยู่กับคนดีๆ มีอะไรเสียหายไหม วันหนึ่งคุณเกิดมีเหตุจำเป็นต้องใช้ หรือ อยากช่วยใครสักคน แล้วมีเงินอยู่ในมือที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ถามว่าดีไหม

         เพียงแต่ว่า เงินก้อนนั้น ต้องได้มาด้วยวิธีที่ถูกกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดจริยธรรม ไม่ไปเบียดเบียนใคร    เรามักจะพูดกันว่า ถ้ามีเงินเป็นล้านจะเป็นเศรษฐี ถามจริงๆว่า ถ้ามีเงินเพียง 1 ล้านบาท นับเป็นเศรษฐีได้จริงๆหรือ เดี๋ยวนี้ 1 ล้านบาทไม่พอซื้อบ้าน , ไม่พอซื้อรถยี่ห้อแพงๆ, ไม่พอรักษาโรคร้ายแรง เงิน 1 ล้านบาทแทบทำอะไรไม่ได้เลย

  ในบทความนี้ จึงตั้งสมมติฐานว่า เศรษฐีควรจะมีเงินเก็บสัก 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อจะได้อยู่อย่างสบายๆหลังเกษียณอายุ   แล้วจะมีวิธีอะไรที่ทำให้หาเงินได้ 10 ล้านบาทโดยไม่ได้ไปจี้ไปปล้นใครมา

 1.เป็นเจ้าของกิจการ

          ใครๆก็รู้ว่า เป็นเถ้าแก่ จะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่สถิติพบว่าธุรกิจเปิดใหม่ จะล้มหายตายจากไปในปีที่สองถึง 70% และจะอยู่อย่างยั่งยืนเกิน 10 ปี ได้เพียง 3-5% เท่านั้น แต่ผู้คนทั่วโลกก็ดูเหมือนจะมุ่งหน้าสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจกันไม่เว้นแต่ละวัน อย่างน้อยก็ขอลองสักตั้ง  ไม่ว่าจะเสี่ยงเพียงใด มาดูว่าเจ้าของธุรกิจ ทำเงินกันอย่างไร

          สูตรที่มักจะใช้อธิบายกำไรของเจ้าของธุรกิจคือ

ยอดขาย - ต้นทุนคงที่ - ต้นทุนแปรผัน = กำไร

          เพื่อทำให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่างเช่นธุรกิจหนึ่งหากมี ยอดขายต่อเดือนที่ 1 ล้านบาท จะมีต้นทุนคงที่ 800,000 บาท ต้นทุนแปรผัน 200,000 บาท ดังนั้น หากเจ้าของธุรกิจจะมีกำไรเขาต้องผลักดันยอดขายให้สูงกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน ถ้ายอดขายต่ำกว่า  1 ล้านบาทจะขาดทุนทันที เช่น ถ้ายอดขาย 1,500,000 บาท ต้นทุนคงที่เท่ากับ 800,000 บาทคงเดิม ต้นทุนแปรผันจะขึ้นมาเป็น 1.5เท่าของเดิมซึ่งเท่ากับ 300,000 บาท  เดือนนั้นจะกำไร 1,500,000 - 1,100,000 = 400,000 บาท

          แต่ถ้า ยอดขายเป็น 3,000,000 บาท ต้นทุนคงที่เท่ากับ 800,000 บาท ต้นทุนแปรผันจะขึ้นมาเป็น 3 เท่าซึ่งเท่ากับ 600,000 บาท   เดือนนั้นจะมีกำไรเท่ากับ 3,000,000 บาท - 1,400,000 = 1,600,000บาท

          ในทำนองกลับกัน ถ้ายอดขายตกลงมาเหลือ 500,000 บาทต้นทุนคงที่ยังคงเท่ากับ 800,000 บาท ต้นทุนแปรผันอาจลดลงครึ่งหนึ่งของเดิมเท่ากับ 100,000 บาท เดือนนั้นจะมียอดขาดทุนเท่ากับ500,000 - 900,000  = -400,000 บาท

ตัวเลขข้างต้นเป็นตัวเลขสมมติคร่าวๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งในชีวิตจริงจะซับซ้อนกว่านี้ และแต่ละธุรกิจก็มีสัดส่วนของตัวเลขต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันแตกต่างกันไป แต่ก็ทำให้เราเข้าใจว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น รวยเร็ว และ เจ๊งเร็ว  พอๆกัน ขึ้นกับฝีมือ ขึ้นกับความต้องการของตลาด ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง

          หากสร้างธุรกิจได้ประสบความสำเร็จแล้ว ก็จะร่ำรวยเงินไหลมาเทมา โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เงินสด 10 ล้านบาท จึงเป็นเรื่องเล็กๆสำหรับเถ้าแก่เหล่านี้

          ปัจจุบันพบว่า มีเถ้าแก่หัวหมอที่ต้องการรวยลัดยิ่งๆขึ้น เขาใช้วิธีสร้างธุรกิจแล้วขายต่อทำกำไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขายในตลาดหลักทรัพย์ เพราะได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษีส่วนกำไร  ถ้าสร้างธุรกิจมาด้วยน้ำพักน้ำแรงจนมั่นคงแล้วขายต่อ  คงจะไม่มีใครว่าอะไร เพราะอยู่ในกรอบอยู่ในเกณฑ์

          แต่ถ้าใช้วิธีสร้างข่าวสร้างภาพให้หุ้นตัวเอง ด้วยการเทคโอเวอร์ , ขอสัมปทาน ,ปั้นสารพัดโปรเจค์ขึ้นมาขายฝันแล้วขายออก   เป็นเรื่องที่น่าชิงชังอย่างยิ่ง

           คนขายรับเงินล่วงหน้าในอนาคตของประมาณการ ยอดขาย สิทธิสัมปทาน และ ค่านิยม  (GOOD WILL) ต่างๆที่ตอบสนองไปในราคาหุ้นเรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้คนซื้อไปรับความเสี่ยงแทนว่ารายได้ในอนาคตจะได้ตามที่นักวิเคราะห์ขายฝันให้หรือเปล่า

2.เป็นผู้บริหารระดับสูง

             สมัยก่อน พวกเถ้าแก่มักจะพูดสอนลูกหลานว่า  เวลาเรียน ไม่ต้องเรียนสูงนัก พอให้จบปริญญาตรีแล้วมาทำการค้าจะร่ำรวยกว่า พวกที่เรียนสูงจนจบด๊อกเตอร์ สุดท้ายก็ไปเป็นลูกน้อง รับจ้างบริหารให้พวกเถ้าแก่ รับเงินเดือน 80,000 - 100,000 บาท แต่ไม่รวย

            สมัยนี้ เราดูถูกนักบริหารมืออาชีพไม่ได้เสียแล้ว หากมีฝีมือจริง สามารถสร้างผลงานจนได้รับความไว้ใจจากเถ้าแก่หรือผู้ถือหุ้น จนขึ้นไปเป็นเบอร์หนึ่ง เบอร์สองของบริษัทแล้ว  เขาจะสามารถทำรายได้ปีละ 5-10 ล้านบาทได้อย่างสบายๆ

           รายได้ขนาดนี้มาได้อย่างไร

           บริษัทใหญ่ๆระดับประเทศ  การที่ผู้บริหารสูงสุดจะมีเงินเดือนๆละ 200,000 - 500,000 บาท ไม่ใช่เรื่องแปลก  และยิ่งถ้าได้เป็นกรรมการบอร์ดของบริษัทในเครืออีกสัก 4-5 แห่ง รับเบี้ยประชุมเพิ่มอีกแห่งละ 300,000 - 1,000,000 บาทต่อปีก็มีให้เห็นมากมาย

บางบริษัทใช้วิธีตั้งโบนัสหรือส่วนแบ่งกำไรตามยอดขาย หากว่าทำได้ตามเป้าที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปี  ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง บริษัทใหญ่ๆต่างสร้างสถิติยอดขายใหม่สูงสุด ทำให้ผู้บริหารร่ำรวยไปตามๆกันหลายคนได้โบนัสถึง 3-5 ล้านบาท โดยไม่คาดฝัน

อีกช่องทางที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ผู้บริหารคือ (ESOP / EMPLOYEESTOCK OPTIONPLAN) ที่กรรมการบริษัทมักจะลงมติมอบสิทธิในการซื้อหุ้นให้กับผู้บริหารและพนักงานบริษัท เพื่อจูงใจให้เร่งสร้างกำไร   ปรากฏว่า หุ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่กว่า 70% มักมอบให้กับผู้บริหาร 5-6 คนแรกของบริษัท บางคนได้สิทธิจองซื้อถึง 10 ล้านหุ้น

           ลองนึกภาพดูว่า หากสามารถผลักดันกำไรจนทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปเหนือราคาสิทธิ 5-6 บาทต่อหุ้น เขาจะมีกำไรคนละ 50-60 ล้านบาททีเดียว นักบริหารมืออาชีพจึงเป็นกลุ่มคนที่มองข้ามไม่ได้

3.เป็นนักขายตรง

            คนไทยมักรังเกียจอาชีพงานขาย ดูถูกว่าต่ำต้อย ขณะที่ฝรั่งเขามองว่าเป็นงานที่ใช้ทักษะและใช้ความสามารถสูง เราจึงพบว่า ผู้บริหารของบริษัทฝรั่งหลายคนมักมีพื้นฐานมาจากขาย หรือ อยู่ฝ่ายขายมาก่อน

             งานขายตรง ไม่ว่าประกันชีวิต เครื่องสำอางค์หรือยาชูกำลังสารพัด มักได้ค่านายหน้าประมาณ 30%ไม่ว่าจะเป็นการขายครั้งแรกหรือเมื่อขายซ้ำ   ยกเว้นงานขายประกันชีวิตที่จะได้มากในปีแรก

             ส่วนผู้บริหารทีมงานจะได้ค่าบริหารประมาณ 30%ของค่านายหน้าของลูกทีมซึ่งน่าจะตกประมาณ 10%ของยอดขายสินค้ารวม ลองนึกภาพดูว่า ถ้าทีมงานขายนั้นสร้างยอดขายต่อปีได้ถึง 100 ล้านบาท ผู้บริหารทีมงานก็จะมีรายได้ถึง 10 ล้านบาทต่อปีทีเดียว หรือตัวนักขายเองหากขยันพบลูกค้า จะสามารถทำยอดขายได้ 10 ล้านบาทต่อปี เขาก็สามารถมีรายได้ 3 ล้านบาทต่อปีได้เช่นกัน

4.เป็นนักวิชาชีพผู้ประสบความสำเร็จ

            เราคงเคยได้ยิน เรื่องแพทย์เฉพาะทาง ,ทนายความผู้เชี่ยวชาญ ,สถาปนิกผู้โด่งดัง ที่สามารถทำเงินได้ปีละ 5-10 ล้านบาท บางคนสามารถเรียกค่าปรึกษาเป็นนาที ตั้งราคาได้ตามที่ตนเองพอใจ คนเหล่านี้ย่อมเป็นเศรษฐีได้ตามปรารถนา

   5.เป็นนักลงทุนผู้ชาญฉลาด

             ถึงแม้เราจะเป็นคนธรรมดา มีอาชีพแค่เป็นลูกจ้าง เป็นคนกินเงินเดือน เราก็สามารถเป็นเศรษฐีได้เหมือนกันถ้าเราเก็บเงินเก่ง  รู้จักช่องทางลงทุน และลงทุนได้อย่างชาญฉลาด สมมติว่าเราเก็บเงินได้เดือนละ10,000 บาท ปีละ 120,000 บาทเก็บได้ทุกปีอย่างต่อเนื่อง แล้วเรานำเงินนี้ไปลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมชนิดต่างๆ หากคุณสามารถทำกำไรได้เฉลี่ยปีละ 15 % ผ่านไป 20 ปีเงินของคุณจะงอกเงยมาเป็น 14 ล้านบาท

             แต่ถ้าคุณสามารถลงทุนให้ได้ผลตอบแทนถึงปีละ 20 % อีก 20ปีข้างหน้า เงินของคุณจะกลายเป็นเงิน 27 ล้านบาท  ถึงตอนนั้น คุณก็ได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีเหมือนกับเขา

            ที่เล่ามา เป็นกลุ่มหลักๆที่พอจะประมวลมาได้ว่า  เป็นช่องทางที่คนทั่วไปจะมาดมั่นขึ้นมาเป็นเศรษฐีได้ ขณะที่บางอาชีพทำให้ตาย ขยันอย่างไร ก็ไม่มีทางรวย แต่ คุณเห็นด้วยกับผมไหมว่า ทุกกลุ่มที่พูดมาทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ต้องขยันมุ่งมั่นและอดทนอย่างถึงที่สุด จึงจะบรรลุความสำเร็จ

ว่าแต่ว่า คุณมีคุณสมบัตินี้แล้วหรือยัง ถ้ามี เงินล้าน เงินสิบล้าน ก็รอเป็นรางวัลชีวิตให้คุณเหมือนกัน


เครดิต:thaifinancialadvisor.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538638145&Ntype=1




Create Date : 02 ตุลาคม 2556
Last Update : 5 มกราคม 2558 8:07:13 น.
Counter : 691 Pageviews.

0 comment
ข้อควรคิดก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน

          ก่อนจะซื้อบ้านแต่ละที เชื่อว่าใคร ๆ ก็ต้องเจอกับปัญหาน่ากลุ้มตอนตัดสินใจเลือกซื้อบ้านกันทั้งนั้น เพราะบางครั้งเมื่อตัดสินใจซื้อไปแล้ว อาจต้องเจอเข้ากับสภาพบ้านที่ไม่คุ้มราคาที่ควรจะเป็น หรือมีปัญหาอะไรผิดแปลกไปจากความต้องการ ซึ่งบางคนก็โชคดีหน่อย รู้สึกตัวตั้งแต่ตอนที่ยังเดินดูสภาพบ้านอยู่ ส่วนใครโชคร้ายหน่อย อาจมารู้เอาตอนที่เสียเงินซื้อไปแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคุณ ก่อนจะตัดสินใจซื้อบ้านสักหลัง ก็ควรคำนึงถึง 10 ข้อควรคิดก่อนตัดสินใจซื้อบ้านเหล่านี้ด้วยค่ะ

1. คำนึงถึงการใช้งาน

          อย่าคิดง่าย ๆ ว่าแค่บ้านสวยก็พอแล้ว ลองนึกดูสิว่าหากอยู่ไปนาน ๆ แล้วทำอะไรไม่สะดวก ต่อให้สวยแค่ไหนก็คงไม่มีความสุขหรอกนะ นึกภาพสิถ้าหากคนรักความเป็นส่วนตัวอย่างคุณ ต้องมาจัดห้องทำงานรวมกับห้องนั่งเล่น หรือมีห้องนอนอยู่ชั้น 4 ทั้งที่ขี้เกียจเดินแทบตาย ก็คงไม่ไหวใช่ไหมคะ คุณจึงควรเลือกแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองเข้าไว้จึงเหมาะสมที่สุด

2. พุ่งความสนใจไปที่แปลนห้อง

          เป็นเรื่องธรรมดาที่เจ้าของบ้านและนายหน้าทั้งหลาย มักพยายามประโคมเฟอร์นิเจอร์เข้ามาแต่งบ้านให้ดูหรูเริ่ดเอาไว้ก่อน เพราะมันจะช่วยพรางตาจากสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งความเก่าของตัวบ้านได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ ดังนั้นอย่าปล่อยให้ของพวกนี้มาทำคุณไขว้เขว แต่ควรเลือกบ้านจากโครงสร้างของมัน เพราะบ้านไม่เหมือนเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถซื้อเปลี่ยนได้ตลอด การซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้านนี่ยากกว่าเป็นไหน ๆ เลยล่ะ

3. ถามรายละเอียดขณะดูแบบแปลน

          ไม่เห็นจะแปลกเลยถ้าคุณจะดูแบบแปลนบ้านแล้วไม่เข้าใจ ในเมื่อคุณไม่ได้จบสถาปัตยกรรมมาเสียหน่อย คนเราจะรู้ไปหมดทุกเรื่องได้อย่างไรกัน รู้แบบนี้เมื่อดูแบบแปลนบ้านแล้วนึกภาพตามไม่ออกว่าประตู หน้าต่าง ตำแหน่งไหนน่าจะเป็นอย่างไร ก็อย่าลังเลที่จะถามเพื่อความแน่ใจของตัวเองนะคะ การเขินอายที่จะถามในสิทธิ์ที่ควรรู้ อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ง่าย ๆ เพราะความเกรงใจของคุณ

4. มั่นใจได้ว่าจะไม่ต้องจ่ายแพงในอนาคต

          ตอนนี้คุณอาจยังไม่ได้คิดถึงเรื่องค่าไฟในแต่ละเดือน แต่เมื่อบิลมาถึงบ้านคุณอาจเปลี่ยนใจก็ได้นะ และมันก็คงสายเกินไปแล้วแน่ ๆ หากคุณยังไม่รู้ว่าแปลนบ้านมีผลกับอุณหภูมิในบ้านแค่ไหน โดยบ้านที่มีเพดานต่ำหรือสูงเกินไป อาจส่งผลให้เครื่องทำความเย็นต้องทำงานหนักยิ่งกว่าเดิม จนค่าไฟแพงสุด ๆ ไปเลยก็ได้ ดังนั้นสำรวจให้แน่ชัดก่อนว่า เพดานบ้านมีขนาดสูง-ต่ำ พอดีกับตัวบ้านหรือไม่ และมีการติดฉนวนกันความร้อนไว้บ้างหรือยัง

5. อย่ากะเกณฑ์ขนาดเอาเอง

          แค่มองด้วยตาไม่ช่วยให้คุณรู้แน่ชัดหรอกว่าห้องไหนมีขนาดกว้างยาวเท่าไหร่ ดีไม่ดีถ้าคิดจะขนเฟอร์นิเจอร์เก่าของตัวเองหรือซื้อที่เล็งเอาไว้มาตั้ง อาจใหญ่เทอะทะขึ้นมาก็ได้ เพราะฉะนั้นก่อนจะคิดซื้อบ้าน ต้องเลือกแบบที่มั่นใจว่าจะจุของที่ต้องการได้หมด และลองวัดขนาดให้แน่ใจก่อนซื้อเฟอร์นิเจอร์ทุกครั้งค่ะ



6. วางแผนเอาไว้เลย

          การออกแบบตกแต่งจะได้ผลดีที่สุด เมื่อคุณวางแผนเอาไว้แต่เนิ่น ๆ ว่าต้องการจะตกแต่งด้วยธีมไหน ใส่เฟอร์นิเจอร์อะไรเข้าไปบ้าง ซึ่งการจะทำแบบนั้นต้องคำนึงถึงขนาดห้องด้วยแน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้นวางแผนไว้ก่อนว่าจะวางอะไรตรงไหนบ้าง และลองวาดรูปคร่าว ๆ ดูว่าน่าจะออกมาเป็นแบบไหน จะได้รู้ว่าพื้นที่พอเอามาทำแล้ว จะดูดีหรือเปล่า

7. คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก ๆ

          บางบ้านอาจต้องจำใจเปลี่ยนจากรถสปอร์ตเป็นรถคันใหญ่ที่เหมาะกับครอบครัว การซื้อบ้านก็ไม่ต่างจากการซื้อรถที่ต้องคำนึงถึงลูก ๆ เป็นอันดับแรกด้วยเหมือนกัน เช่น บันไดที่ปราศจากราวจับ รวมทั้งบ้านที่ไม่มีรั้วกั้นตรงชั้นลอย อาจทำให้เด็กเจ็บตัวเอาง่าย ๆ ถ้าชอบจริง ๆ ก็คงต้องตกแต่งเพิ่มเสียหน่อย อ้อ...ถ้ามีประตูกระจกใสที่เห็นไม่ถนัดก็ควรติดสติ๊กเกอร์เอาไว้ให้รู้ด้วยนะคะ

8. ทำเลก็สำคัญ

          หากไม่ถูกใจคุณสามารถเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ หรือถ้าอยากได้พื้นที่เพิ่มก็ยังต่อเติมได้อีก แต่หากทำเลบ้านไม่ดีล่ะก็ ยังไงคงต้องซื้อใหม่สถานเดียว ดังนั้นควรเลือกที่ซึ่งเดินทางได้สะดวก ใกล้กับที่ทำงานและโรงเรียนของลูก ๆ รวมทั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เปลี่ยวจนเป็นอันตรายก็ยิ่งดี ที่สำคัญหากได้เพื่อนบ้านดีชีวิตก็คงง่ายขึ้นด้วย ดังนั้นลองดูทำเลให้แน่ใจ จะได้ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลาหาที่ใหม่อีกนะคะ

9. สำรวจเงินในกระเป๋าก่อน

          ตั้งงบเอาไว้ก่อนเลยว่า คุณวางแผนจะจ่ายเงินซื้อบ้านสักเท่าไหร่ จะได้ไม่ปล่อยให้ความอยากมาล่อใจจนเผลอซื้อบ้านแแพงเกินตัว เพราะการต้องมาตามจ่ายหนี้ที่หลัง มันไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสักนิด แถมเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมายังไม่มีเงินหมุนอีกต่างหาก ดีไม่ดีบ้านที่อุตส่าห์ผ่อน อาจหลุดไปได้เลยนะคะ และอย่าลืมเผื่องบเอาไว้สำหรับตกแต่งบ้านก้อนนึงด้วยจ้า

10. พาสมาชิกครอบครัวไปดูด้วยกัน

          ถ้าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว แต่คิดจะพาครอบครัวไปอยู่ด้วยกัน ถึงเวลาเซ็นสัญญาและดูบ้าน ก็ควรจะพาทุกคนไปด้วยกัน พวกเขาจะได้ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้คุณได้ และคุณจะได้รู้ความต้องการของพวกเขาด้วยว่าพอใจกับบ้านที่คุณสนใจแล้วหรือยัง เพราะความต้องการของทุกคนในบ้านย่อมสำคัญเท่ากันหมดนะคะ


ทั้งนี้ เพื่อให้ได้บ้านสวยถูกใจที่สุด อย่าลืมสำรวจความเก่าใหม่ของบ้าน ด้วยการเช็กตามท่อน้ำ และตามระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ว่ามีปัญหาหรือไม่ด้วยนะคะ เท่านี้ก็จะสบายใจหายห่วงไปได้เยอะแล้ว เตรียมตัวควักกระเป๋าซื้อของชิ้นใหญ่กันได้เลย

ที่มา: กระปุกดอทคอม

บริการรับฝากขายบ้านและที่ดิน //prrealestates.blogspot.com



Create Date : 02 ตุลาคม 2556
Last Update : 17 มิถุนายน 2557 23:30:39 น.
Counter : 893 Pageviews.

0 comment
ประสบการณ์ด้านการลงทุนหุ้น III
ตอนที่ 20 เล่นหุ้นสไตล์ "พญาอินทรี"

"เฮียประธาน เขาเป็นเจ้าของคอร์ตแบดมินตัน อยู่แถวถนนบางรัก ฉายาเขาคือ "พญาอินทรี" ถ้าวันไหนที่พวกเรา "เละ" หรือ "เจ๊ง" กันหมด เขาจะบินมาเลย..เขาจะมาซื้อหุ้น" การเล่นหุ้นให้ประสบความสำเร็จ "นิสัย" และ "พฤติกรรม" ของคนเล่นหุ้น ถือว่ามีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ นำประสบการณ์ที่พบมาจริงในตลาดหุ้นในช่วง 20 ปี มาถ่ายทอดให้ฟัง โดยระบุถึง "นิสัยคน" ที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว ดังนี้...

  • คนแรก..คนนี้อายุมากแล้ว แต่ "ไม่ยอมปรับตัว" ประกอบอาชีพประสบความสำเร็จมีเงินหลายสิบล้านบาท สุดท้ายก็มาล้มเหลวในตลาดหุ้น
  • คนที่สอง..เป็นคนที่มีระเบียบวินัยมาก ศึกษาข้อมูลตลอดเวลา มีความมั่นคง คนนี้เป็นอดีตนักแบดมินตันทีมชาติ เขาก็ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น
  • คนที่สาม..ไม่เก่งอะไรเลย อ่อนน้อมถ่อมตน บริการคนอื่นตลอดเวลา ทุกคนรัก ไม่เคยเอาเปรียบเพื่อน คนนี้ก็ประสบความสำเร็จได้ เพราะทุกคนเอื้อเฟื้อ(บอกหุ้น)เขา ไม่มีใครไปหลอกเขา
  • คนที่สี่..ไม่ประสบความสำเร็จ นิสัยตรงกันข้ามคนอื่นตลอดเวลา เพื่อนบอกแบบนี้มันก็เถียงว่าต้องเป็นแบบนั้น เป็นคนไม่คิดอะไรลึกๆ ชอบสวนชาวบ้าน คือ เหรียญมันมี 2 ด้าน พูดเข้าข้างตัวเองยังไงก็ได้ ไม่เคยโทษตัวเอง คนนี้เจ้าของฉายาว่า "รู้อย่างงี้..." คนๆนี้มีเงินหลายสิบล้านบาทเข้ามาในตลาดหุ้น ตอนนี้ก็เหลือไม่เยอะ
  • คนที่ห้า..ทำการบ้านตลอดเวลา(แอบ)เช็คพอร์ตคนอื่นตลอดเวลา ชอบคุยกับมาร์เก็ตติ้งของรายใหญ่ เพื่อแอบดูพอร์ตคนอื่น คนนี้ก็ประสบความสำเร็จ แต่เขาตีกอล์ฟคนเดียวไม่มีเพื่อน ขนาดนั่งกินข้าวกับมาร์เก็ตติ้งยังหารค่าอาหารกันเลย นี่เขาก็ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน
  • คนที่หก..ย้ำคิดย้ำทำ เสียดายตลอดเวลา คิดแล้วคิดอีก เป็นคนละเอียด ไม่เอาเปรียบเพื่อนฝูง คนนี้ก็ประสบความสำเร็จได้
  • "นี่ผมเล่าให้ฟังถึงนิสัยของแต่ละคนเพื่อจะบอกว่า คนแต่ละคนนิสัยไม่เหมือนกันและก็มีช่องทางประสบความสำเร็จของแต่ละคน แล้วแต่เราจะเลือกทางเดินแบบไหน ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า ไม่เกินความสามารถของทุกคน" เสี่ยยักษ์ยังเล่าถึง ความเหนือชั้นของอดีตเซียนหุ้นคนหนึ่ง ชื่อ "เฮียประธาน" เขาเป็นเจ้าของคอร์ตแบดมินตัน อยู่แถวถนนบางรัก ฉายาเขาคือ "พญาอินทรี" ถ้าวันไหนที่พวกเรา(เสี่ยยักษ์และเพื่อนๆในกลุ่ม) "เละ" หรือ "เจ๊ง" กันหมด เฮียประธาน จะบินมาเลย "เขาจะมาซื้อหุ้น" "สมัยก่อน ผมยกย่องเขามากว่า นี่คือสุดยอดของ "เสือ" ตัวจริง คือเขารวยอยู่แล้ว แต่เขาจะไม่มาเล่นหุ้นทุกวัน ถึงแม้จะไม่มาตลาดหุ้นแต่เขาจะติดตามหุ้นอยู่ที่บ้านเป็นประจำ เวลานี้เขาก็ยังเป็นอย่างงั้นจริงๆ เล่นหุ้นอย่างนี้ก็ประสบความสำเร็จได้"

    อีกคนหนึ่งที่เสี่ยยักษ์ยกตัวอย่างให้ฟังด้วยความชื่นชม เขาชื่อ "สุวิทย์" เป็นอดีตนักแบดมินตันทีมชาติ คนคนนี้มีระเบียบวินัยมาก เวลาไม่ซื้อคือไม่ซื้อ ถ้าเขามองเศรษฐกิจไม่ดี เขาจะไม่เล่นหุ้น(เลย) นี่คือหลักการที่ถูกต้อง "อย่างสุวิทย์ เขาจะรอให้เกิดวิกฤติก่อน(หุ้นตกเยอะๆ)นานแค่ไหนเขาก็รอได้ วันที่เกิดวิกฤติ เขาจะมาซื้อหุ้น ตอนนี้ก็น่าจะมีเงินเป็นร้อยล้าน"

    เมื่อถามถึงการลงทุนสไตล์ "หมอยง" ท.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม นักลงทุนรายใหญ่ระดับพันล้านบาท เสี่ยยักษ์บอกว่าหมอยงจะมีจิตวิทยาการลงทุนสูง ถ้าตลาดหุ้นตกลงมาเยอะๆเขาซาวด์เสียงว่า ถ้านักลงทุนรายใหญ่ทุกคน "กลัว" กันหมด แสดงว่าพวกคุณเพิ่ง "โดน"(ขาดทุน)มา คุณเพิ่ง Cut Loss มา เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะขายอีกก็มีไม่มาก "เขาจะซื้อ"

    "แต่สไตล์การลงทุนของผมกับหมอยงจะต่างกัน หมอยงจะเล่นหุ้นเป็นรอบ(เล็กเล่นเร็ว)แต่ของผมจะรอ "รอบใหญ่" ขอทีเดียวหนักๆ ลักษณะใส่เต็มๆไปเลย ถ้าทุกคนกลัวกันหมด เครื่องมือเครื่องไม้ทางเทคนิคส่งสัญญาณซื้อ ผมก็เข้า ถ้ายัง..ผมก็รอนิ่งๆ" เสี่ยยักษ์บอกว่าอยู่ในวงการนี้มา 20 กว่าปี เห็นพฤติกรรมการเล่นหุ้นของคนเปลี่ยนไม่ค่อยได้ ใครนิสัยมายังไง บุคลิกยังไง วิธีการมันจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งคนที่จะประสบความสำเร็จ มันแล้วแต่สไตล์คน แต่คนที่อยู่รอดได้ มีแค่ประเภทเดียว คือ "คนที่ปรับตัว"

    นอกจากนี้ คนที่จะ "อยู่รอด" บนเวทีนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง เสี่ยยักษ์ย้ำนักย้ำหนาว่า ข้อสำคัญที่สุดคือ "ถึงเวลาขาดทุน..คุณต้องกล้าขาย" ถ้าคุณทำได้ "คุณจะรอด" พร้อมทั้งยังเล่าถึง "นักพนัน" ที่อยากมาเอาดีในตลาดหุ้นว่า คนที่ชอบเล่นการพนัน แล้วมาเล่นหุ้น ก็ "เจ๊ง" ได้ง่ายๆ "ผมเคยเห็นนักเล่นหุ้นที่เป็นนักพนัน เอาทุกอย่าง เห็นมาเยอะ "หมดตัวทุกคน" ไม่เหลือเลย มีคนหนึ่งเมื่อก่อนเคยมีเงิน 30 กว่าล้านบาท เล่นทุกอย่าง ฟุตบอลก็เล่น หุ้นก็เล่น บ่อนการพนันก็เข้า สุดท้ายแม้แต่ชีวิตครอบครัวเขาก็ล้มเหลว ...ชีวิตเขาพนันทุกอย่าง มีเงิน 20-30 ล้านบาท เคยเป็นเจ้าของร้านเสื้อผ้าในประตูน้ำ ตอนนี้มาเช่าบ้านอยู่ราคา 2,000 บาท จุดเสีย..ของคนประเภทนี้คือ เขาจะยืมเงินทุกคน แล้วเขาจะไม่มีโอกาสแก้ตัว ทุกอย่างกลับมาที่เครดิต ถ้าคุณไม่มีเครดิต ก็ไม่มีใครช่วยเหลือคุณ นี่คือความจริง" เสี่ยยักษ์ สรุปถึงนิสัยของคนเล่นหุ้นแต่ละประเภทให้ฟัง

    ตอนที่ 21 ตลาดแบบไหน "เล่นแล้วได้ตังค์"

    การอ่านอารมณ์ตลาด ถ้า "รายย่อย" สงบเสงี่ยมเจียมตัว "ฝรั่ง" ไม่เข้า บอกได้เลยว่าเล่นหุ้นไม่ได้ตังค์ ถ้าจะเล่นหุ้นให้ได้กำไร รายย่อยต้องมีจุดมั่นใจ นักเก็งกำไรแห่กันเข้ามาเล่นตามน้ำ ตลาดแบบนี้ "ได้ตังค์" ตลาดหุ้นแบบไหนที่เล่นหุ้นแล้วไม่ค่อยได้ตังค์...? (น่าเบื่อ)

    "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์บอกว่า กรณีที่ "รายย่อย" สงบเสงี่ยมเจียมตัวและ "ฝรั่ง" ไม่เข้า ตลาดหุ้นช่วงนั้นจะเงียบเหงา(ไม่น่าเล่น) บอกได้เลยเล่นหุ้นไปก็ไม่ได้เงิน อยู่นิ่งๆดีที่สุด ถ้าคิดให้เป็นหลักวิทยาศาสตร์ อธิบายได้ว่า เพราะเงินไม่มีมาหมุน "ทำกำไรยาก" "ถ้าจะเล่นหุ้นแล้วได้เงิน "รายย่อย" ต้องมีจุดมั่นใจ นักเก็งกำไรต้องตาม(น้ำ)กันแหลก! หุ้นมันจะวิ่งจู๊ด หรือขึ้นไปทำนิวไฮ(จุดสูงสุดใหม่)ได้" เสี่ยยักษ์อธิบายว่า ช่วงที่หุ้นขาขึ้นมันจะมีจังหวะ "พักตัว" จากนั้นให้สังเกตว่า มักจะมีข่าวดีมา "หนุน" จังหวะสองที่ทุกคนมองว่าราคามันวิ่งขึ้นไปทำ "นิวไฮ" ช่วงนี้แหละ นักเก็งกำไรจะแห่ตามกันแหลก!!

    ทั้งนี้ สำหรับช่วง "พักตัว" ในหุ้นพื้นฐานดีๆจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่ค่อยรีบร้อนขึ้น (จะตรงกันข้ามกับหุ้นปั่น ที่รีบร้อนขึ้น) ยกตัวอย่าง หุ้น ปตท. เวลาเขาจะทำหุ้นตัวนี้ เขาจะต้องค่อยๆเก็บ บีบให้เหลือแต่คนที่ "ใจถึง" จริงๆ พอทุกคนหมดแรง มันก็จะ "วิ่ง"

    "ยิ่งหุ้นตัวใหญ่ ถ้าเขารู้ว่าตอนไอพีโอ มีคนไปแย่งกันจอง(หุ้นไม่พอขาย) พอเข้าตลาดมาปั๊บ! เขาจะพยายามกดราคา เพื่อกดลงมารับต่ำๆ ถ้าวันแรกเปิดมาสูง เขาก็จะเทรดให้หุ้นต่ำลงมาก่อน ...แต่คุณดู พอมันเก็บของ(สะสมหุ้น)ได้พอแล้ว สังเกตว่า "วอลุ่มพีค" (เก็บของได้แล้ว) ราคาปรับตัวลงมาเสร็จ คราวนี้ปริมาณซื้อขายจะไม่ได้เยอะ สภาพคล่องจะเริ่มตึงขึ้น ราคาจะค่อยๆขยับขึ้นช้าๆ บางทีก็เล่นไซด์เวย์อยู่นาน จนคนซื้ออึดอัด ใครทนไม่ไหวก็ "คืนของ" ให้เขา แต่พอเขารวบรวมหุ้นได้เต็มที่แล้ว พอ MACD (ระยะเดือน) ตัดขึ้น ทีนี้มันวิ่งขึ้นเร็วมาก"

    เสี่ยยักษ์อธิบายว่า ส่วนตัวชอบใช้กราฟ MACD ระยะเดือน (Month) เป็นดัชนีชี้นำหลักสำหรับการลงทุน "รอบใหญ่ๆ" ที่ผ่านมาก็ใช้ได้ผลดีมาตลอด แต่ถ้ามาถามรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎี "ผมไม่รู้" แต่รู้ว่าถ้า MACD ทะลุ "ศูนย์" ลงไปเลย "ไม่ดี" แต่ถ้า MACD อยู่ต่ำกว่าศูนย์ มันจะขึ้นมาที่ศูนย์ก่อน จากนั้นหุ้นจะปรับตัวลงอีกรอบ คือมีการพักตัวรอบใหญ่ แล้วถ้ามันกลับมาที่ "ศูนย์" อีกที บีบตัวแล้ว "ตัดขึ้น" คราวนี้หุ้นจะเป็นขาขึ้น "รอบใหญ่"

    เสี่ยยักษ์บอกว่า ระหว่างการ "ก่อตัว" ของหุ้น จากประสบการณ์ดูกราฟราคาเราจะรู้เลยว่าถ้าใครดูเป็น (รู้จริง) กราฟไม่มีหลอก อย่างเช่น หุ้น ATC ถ้าจับจุดถูก MACD ระยะเดือน ตัดขึ้นชัดเจนช่วงปลายปี 2545 สัญญาณดีมาก แต่ก็ต้องทำการบ้านด้านปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้ารีบเข้าไปซื้อ "ตอนนั้นทั้งกราฟและข้อมูลพื้นฐาน ยืนยันในทิศทางเดียวกัน เรารู้เลยว่าหุ้นตัวนี้มันจะ "เทิร์นอะราวด์" พอวงจรปิโตรเคมีมันมา (ปี 2546) หุ้นขึ้นมหาศาลเลย" หรืออย่างหุ้น ปตท. ตัว MACD ระยะเดือน มันตัดลงมาตั้งแต่ต้นปี 2549 แล้ว หุ้น ปตท.ค่อยๆลงมาจาก 270 บาทลงมา 200 บาท ช่วงนี้รู้เลยว่ามันกำลังพักตัว (หลังจากขึ้นมาต่อเนื่องยาวนาน 3 ปี ช่วงปี 2546-2548) "ช่วงที่ MACD ของหุ้น ปตท. ตัดลงมา ทั้งสองเส้นมันยัง "ถ่าง" กันอยู่เยอะ ผมก็รอให้ MACD มันบีบ พร้อมที่จะตัดขึ้นก่อน เราถึงจะมีจุดมั่นใจเข้าซื้อ (เพื่อเล่นรอบใหม่) เรารู้ว่าพื้นฐานของหุ้นดีมากอยู่แล้ว แต่หุ้นทุกตัวจะต้องมีระยะพักตัว บางครั้งอาจจะกินระยะเวลานานหลายเดือน บางครั้งครึ่งปี บางตัวนาน 2-3 ปี"

    เสี่ยยักษ์อธิบายถึงระยะพักตัวของหุ้นเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่หุ้นบางตัว "พักตัวนาน" แสดงว่ามี "คนเจ็บ" กับหุ้นตัวนั้นเยอะ มันต้องใช้เวลา "รอ" ผลการดำเนินงานหรือข่าวดี หุ้นถึงจะมีแรงกลับมาสู้ใหม่ แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ "กำไรดี" อยู่แล้ว ระยะพักตัวก็อาจจะไม่นานมาก วิธีการในการวิเคราะห์หุ้นระดับ "ลึก" ของเซียนหุ้นรายนี้ มีขั้นตอนอย่างไร

    "สมมติ ผมจะวิเคราะห์หุ้น ปตท. เรารู้ว่ากำไรสุทธิปีนี้ ไม่น่าจะหนีหุ้นละ 30-35 บาท เทรดกันที่ค่า พี/อี ต่ำแค่ 6-7 เท่า เราก็ประเมินว่า ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่สูงอย่างนี้ไปอีกหลายปี หุ้นปตท. ยังไงก็ต้องดี แต่หุ้นลงมาเหลือ 210-220 บาท คราวนี้เราก็รอเวลาให้กราฟ MACD ยืนยันการ "ตัดขึ้น" ก่อน เราค่อยเข้าไปซื้อ เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงก็จะไม่สูง ระยะเวลา "รอ" ราคาวิ่งขึ้นก็ไม่นานด้วย"

    มันเป็นสูตรวิธีคิดว่า การที่ MACD มันบีบแล้ว "รอ" ตัดขึ้นเหนือ "ศูนย์" ราคาหุ้นอยู่ในเขต "Oversold" คือ อยู่ในเขตขายมากเกินไป จนข่าวร้ายไม่มีผลต่อราคา ไม่มีทางร้ายไปกว่านี้แล้ว คนที่ติดหุ้นอยู่จะให้ขายก็ไม่อยากขายขาดทุนมาก จะให้บุ่มบ่ามรีบซื้อก็ยังไม่กล้าซื้อ นิ่งๆเฉื่อยๆชาๆ "จุดนั้นคือจุดที่อันตรายที่สุด แต่เป็น...จุดที่ปลอดภัยที่สุด คือประมาณ ตี 5 ถึง ตี 5 ครึ่ง จ่ายกับข้าวสบายๆ ไม่ต้องแย่งกับใคร ถ้าอยากจะรวย คุณต้องรอจังหวะนี้ให้ได้"

    ตอนที่ 22 รู้จักคำว่า "รอคอย"

    ถ้าเราเทรดหุ้นทุกวัน สมองมันไม่มีจุดคิด การตัดสินใจบ่อยมันพลาดได้ง่าย คุณต้องรอจังหวะ รอให้เครื่องมือทางเทคนิคยืนยัน แล้วทุกคนเริ่มกลัวกันหมด ตรงนั้นคือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด ซื้อเสร็จก็ใส่ปี๊บเอาไว้ ความสำเร็จที่ยากที่สุดอาจไม่ใช่การเดินทางเพื่อค้นหา "กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ" เพราะพื้นฐานแห่งความสำเร็จ แท้ที่จริงแล้วคือ การเอาชนะจิตใจของตัวเองให้ได้เสียก่อน ในตลาดหุ้น การ "รู้เขา" อย่างเดียว มิอาจไปถึงเป้าหมายได้ ต้อง "รู้เรา" อย่างถ่องแท้ด้วย ไม่เช่นนั้นเงินที่กลาดเกลื่อนอยู่ในตลาดหุ้น ก็ไม่สามารถ "หยิบ" ขึ้นมาเชยชมได้ คำจำกัดความสั้นๆที่ "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ เน้นย้ำก็คือ ถ้าอยากจะเล่นหุ้นให้รวย ต้องรู้จักคำว่า "รอคอย" (อดทน) ต้องรอจังหวะ รอรอบของมันให้ได้ แล้วทำไม! จะรอมันไม่ได้ คุณต้องนิ่ง คุณต้องใจเย็นๆ "ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จในอาชีพเล่นหุ้น คุณต้องเป็นมืออาชีพให้ได้ คุณถึงจะอยู่รอด"

    เสี่ยยักษ์ บอกว่า "หุ้นในดวงใจ" ไม่ได้มีกันทุกๆเดือน บางทีต้องรอคอยนานเป็นปีถึงจะเจอ "รอบใหญ่" สักตัว สมัยก่อนรายย่อยเป็นใหญ่ในตลาดหุ้น "หุ้นเก็งกำไร" ครองเมือง วางมาร์จิน 30% เล่นหุ้นได้ 100% เล่นกัน "มันส์"สุดๆ แต่สมัยนี้ฝรั่งคุมตลาดหุ้นเราหมดแล้ว ของเรา 100 หัวสมอง เล่นหุ้นไม่ตรงกันเลย แต่ของเขา 10 หัวสมองเล่นหุ้นตัวเดียวกัน เขาคิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นยุคนี้ต้องเล่น "หุ้นพื้นฐาน" ถึงจะมีโอกาส เสี่ยยักษ์เล่าว่า วิธีการเล่นหุ้นสมัยก่อน รายใหญ่จะใช้วิธีการ "อมหุ้น" แล้ว "ลาก" ขึ้นยาวๆไม่มีตก แล้วเล่นกันทั้งกระดาน รายย่อยจะ "เล่นรอบ" ได้ตลอดเวลา พอออกจากตัวนี้ ถ้าตัวไหนยังไม่ขึ้น ก็เข้าตัวนั้นดักทางไว้ก่อน ผิดกับยุคสมัยนี้ เล่นหุ้นแบบเดิมไม่ได้แล้ว พฤติกรรมของตลาดเปลี่ยนไปหมด หันมา "เลือกตัวเล่น" (ฝนตกไม่ทั่วฟ้า) ยกตัวอย่างเช่น ถ้า BAY-W1 ขึ้น หุ้นวอร์แรนท์จะขึ้นกันทั้งกระดาน ปาเป้าตัวไหนก็ถูก ผิดกับตอนนี้ BAY-W1 ขึ้นตัวเดียวตัวอื่นลงหมด เป็นต้น

    ในสมัยก่อนถ้า "เจ้าของหุ้น" อยากให้หุ้นของตัวเองขึ้น เขาจะลากขึ้นไปให้ถึงจุดสุดยอดเลย (เล่นยาว) แต่เดี๋ยวนี้ เปล่า! เจ้าของหุ้นมันคิดแบบว่า จะ "ถอนทุนคืน" เร็วๆ เขาคิดว่าหุ้นอยู่ในกระเป๋าตัวเอง ขายแล้วได้ตังค์เลย จะ(โง่) ถือนานไปทำไม! พอเอาหุ้นเข้าตลาด (ขายไอพีโอ) เสร็จ ก็ทยอยปล่อยหุ้นขาย รวยอยู่คนเดียว ใครไปซื้อหุ้นอย่างนี้ก็ "ซวย" !!! สำหรับหุ้นที่ดี "ผู้บริหาร" หรือ "เจ้าของ" จะต้องไม่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นคือไม่มีพฤติกรรมทุจริต และต้องดูแลหุ้นของตัวเอง หุ้นอย่างนี้จะมี "รอบเล่น" เสี่ยยักษ์กล่าวว่า คนเล่นหุ้นทุกคนจะต้องเคยมีประสบการณ์ "เฉียดรวย" (เจอหุ้นขึ้นรอบใหญ่)มาหมด แต่ทำไม! หลายคนเล่นหุ้นแล้วไม่ได้ตังค์หรือได้กำไรน้อย สาเหตุที่คุณไม่ชนะ เพราะเจอแบบไม่มีกลยุทธ์ กล้าๆกลัวๆอ่านตลาดไม่ขาด จะซื้อตามก็ไม่กล้า (จะรอให้มันปรับฐานราคาก่อน...สุดท้ายก็ไปซื้อแพง) หุ้นขึ้นนิดหน่อยก็รีบขายตัดกำไรทิ้ง เท่าที่สังเกต...พฤติกรรมอย่างนี้ จะเกิดกับคนที่เทรดหุ้นทุกวัน สมองมันไม่มีจุดคิด เพราะการตัดสินใจบ่อยมันพลาดได้ง่าย ข้อเสียอีกอย่างคือ ใจไม่นิ่ง

    ถ้าจะเล่นหุ้นให้รวย คุณต้องรอจังหวะ รอให้เครื่องมือทางเทคนิคมันพร้อม (ตัดขึ้นก่อน) พื้นฐานหุ้นรองรับ จุดสำคัญ...ถ้าตลาดหุ้นช่วงไหนคนเริ่มกลัวกันหมด "แหยงตลาด" ตรงจุดนั้นคือ "จุดที่ปลอดภัยที่สุด" ซื้อเสร็จก็ใส่ปี๊บเอาไว้เลย "นี่คือ..เคล็ดลับ" เมื่อสอบถามเสี่ยยักษ์ถึงประสบการณ์ "เฉียดตาย" และ "เฉียดรวย" "ส่วนใหญ่จะ "เฉียดตาย" (รอด)มากกว่า ยกตัวอย่างหุ้นธนายง สมัยก่อน 600-700 บาท แล้ววันนี้เป็นยังไงเหลือ "บาทกว่า" หุ้นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปิดกันหมด ดัชนี SET ลงมาเหลือ 200 จุด ถ้าใคร Cut Loss ไม่เป็นฟันธงเลยว่า "ตาย" หมด"

    เพราะฉะนั้นการเล่นหุ้น เราต้องมี "เป้า" ในใจตลอดเวลาว่า ถ้าราคาลงมาเท่าไร? คุณต้องขาย ยกตัวอย่าง วันที่เกิดเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่ม (11 กันยายน 2544) วันเดียวโดนไป 26% เรามองว่าเรื่องมันคงไม่จบง่ายๆ ต้องมีการแก้แค้น "เวลาที่เกิดเหตุการณ์ช็อก!ตลาด ผมจะประเมินว่า จากนี้ไปสถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้มากมั้ย! ถ้าคำตอบคือ "ไม่มีทาง" นั่นหมายถึงว่า เราต้องยอมขาย(ขาดทุน) ผมมีคติว่า ถึงคราว "แพ้" ก็ต้องยอมแพ้ ต้องกล้าขาดทุน พอเปิดตลาดมาดัชนีดิ่งลงเหว ผมก็รอให้มันรีบาวด์แล้วก็ขายล้างพอร์ตหมด จำได้ว่าตอนนั้นขาดทุนไป 20-30 ล้านบาท"

    เสี่ยยักษ์บอกว่าจากประสบการณ์ที่อยู่ในวงการนี้มาอย่างยาวนาน ไม่มีใครที่ซื้อหุ้น "ถูกตัว" หมดทุกครั้ง มันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นอาชีพเราต้องมอง "โอกาส" และ "ความเสี่ยง" อยู่ตลอดเวลา ถ้าลงมาถึงตรงไหน คุณต้องตัดสินใจเด็ดขาด "คนที่พลาดมักจะเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเด็ดขาด ไม่เด็ดเดี่ยว แล้วชอบอ้างเหตุผลมากลบเกลื่อนความผิดพลาดของตัวเอง...ลองไปคิดดูว่าจริงอย่างที่พูดหรือไม่"

    ตอนที่ 23 กลยุทธ์สร้าง "ดีมานด์"

    ถ้าคิดจะ "สร้างราคาหุ้น" แล้วไม่ให้วงแตก มือทำหุ้นที่เป็นมืออาชีพเขาจะบอกเจ้าของหุ้นว่า คุณต้องโอนหุ้นมาให้ก่อน แล้วต้องเอาเงินมาให้ด้วย...ล้านเปอร์เซ็นต์เลย ถึงจะสำเร็จ !!! "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ เล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ฟัง สมัยก่อนมี "นักปั่นหุ้นชั้นเซียน" อยู่คนหนึ่ง ชื่อเสียโด่งดัง เขาเกาะกันกับอดีตนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งนักการเมืองคนนี้ตอนแรกเล่นหุ้นไม่เป็นเลย ก็มาเข้ากลุ่มกับ "นักปั่นหุ้น" คนนี้ เขาก็ใช้เพาเวอร์ทางการเมืองไปหาหุ้น(เน่าๆ)แล้วเอามา "ปั้น" จนร่ำรวย สมัยก่อนพอได้หุ้นมา วิธีการเขาจะเอามาแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ แล้วก็ออกหุ้น PP (Private Placement) วิธีนี้ "ฮิตมาก" คือ การเสนอขายหุ้น "แบบเจาะจง" ในราคา "ถูก" ให้กับพรรคพวกตัวเอง แล้วก็เอามาเล่นกันในตลาด แรกๆก็เริ่มออกสตาร์ทจุดเดียวกัน หมายถึง ต้นทุนเท่ากัน คุณได้กำไรเท่าไร ทุกคนก็ได้ด้วย คือ "แบ่งผลประโยชน์กันลงตัว" พอเขาเริ่ม "รู้ทาง" (รวย) คราวนี้ไม่เป็นอย่างงั้นแล้ว ไม่อยากแบ่งใครจะกินรวบคนเดียว พอเขาหาหุ้นมาได้ก็ให้นอมินีเก็บหุ้น PP ราคาต่ำไปหมด แล้วก็ไปชักชวนพรรคพวกให้มาช่วยกันทำหุ้น ถ้าใครหลงกลก็ต้องไปซื้อหุ้นราคาแพงต่อจากเขา เล่นกันไปสุดท้ายก็ "วงแตก" ต้องมานั่งทะเลาะกัน นิทานเรื่องนี้เสี่ยยักษ์สรุปให้ฟังว่า ใหญ่กับใหญ่ หรือ เสือกับเสือ อยู่ด้วยกันไม่ได้นาน สุดท้ายก็แตกคอกันเอง เกี่ยวกับการ "ทำหุ้น" ที่เสี่ยยักษ์เคยเกริ่นไปแล้วในบทก่อนๆ คราวนี้มาขยายความให้ฟังเพิ่มเติมว่า... "หุ้นตัวไหนที่ "เจ้าของ" ไม่ทำ (ยกเว้นหุ้นมวลชน) อย่าหวังว่ามันจะขึ้นได้เอง คิดง่ายๆมีซัพพลาย(มีหุ้น)แต่ไม่มีดีมานด์(คนซื้อ) มันจะขึ้นได้ยังไง อันนี้แน่นอนที่สุด ถ้าเจ้าของไม่ร่วมมือด้วย ฟันธงเลยครับ "ไม่มีทาง" หุ้นที่หวือหวาๆเจ้าของเปิดไฟเขียวให้ทั้งนั้นแหละ" ที่จริงแล้ว "การปั่นหุ้น" คนภายนอกจะดูเหมือนง่าย แต่ถ้าไม่ไปคุยกับเจ้าของหุ้นก่อนไม่มีทางเลยครับ เดี๋ยวนี้! เจ้าของลงมาเล่นเองยิ่งน่ากลัว ถ้าคุณไม่ไปคุยกับเขาก่อนแล้วทะเล่อทะล่าไปทำหุ้นเขา โดนโยนหุ้นใส่ คุณอยากได้หุ้นเท่าไร...เอาไปเลย คุณไม่มีทางออก "ยิ่งขาย...ยิ่งตก"

    "สมมติ ผมเป็นเจ้าของหุ้นนะ อยากให้หุ้นของผมมีคนมาเล่น ก็ต้องหาคนมาทำหุ้นให้ ผมมีเงินให้คุณ มีหุ้นให้คุณ บอก Target ไปเลยว่า ผมอยากได้ราคาเท่าไร? ถ้าทำถึงเป้าหมายตรงนี้ คุณได้เท่าไร? ถ้างั้นไม่มีใครกล้าเสี่ยง เพราะอะไรรู้มั้ย! ถ้าคุยกันปากเปล่า ไม่มีหุ้น ไม่มีเงินมาให้ สุดท้ายก็ทะเลาะกันเอง สมมติผมกำลังเล่นขึ้นไปอยู่ดีๆ แต่มีคนโยนหุ้นก้อนใหญ่ออกมา (ล่าสุดเหมือนกรณีหุ้น EMC) วงแตกเลย...เกมโอเวอร์! ใครขายว่ะ! คุยกันแล้วนี่หว่า ถามหน่อยใครมีหุ้นก้อนใหญ่ ถ้าไม่ใช่เจ้าของขายเอง นี่ไง...วิธีการหลอกให้เข้าไปติดกับดัก"

    ดังนั้นวิธีที่ได้ผลแน่นอนที่สุด เขาจะ "โอนหุ้น" มาให้ก่อนก้อนหนึ่งแล้วก็ให้เงินมาอีกก้อนหนึ่ง แล้วให้มืออาชีพเป็นคนทำ แต่ถ้านักข่าวไปถามเจ้าของหุ้น ร้อยทั้งร้อยจะปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง "ผมมีหน้าที่บริหารอย่างเดียวครับ" เชื่อเถอะ! ตอบอย่างนี้ทุกราย เพราะฉะนั้น ถ้าคิดจะ "สร้างราคาหุ้น" แล้วไม่ให้วงแตก มือทำหุ้นที่เป็นระดับมืออาชีพ เขาจะบอกเจ้าของหุ้นว่า คุณต้องโอนหุ้นมาให้ก่อนแล้วต้องเอาเงินมาให้ด้วย และต้องสัญญากันว่าระหว่างทางตรงจุดไหนขายได้ ตรงไหนห้ามขาย...เชื่อผมเถอะ! ล้านเปอร์เซ็นต์เลย ต้องใช้วิธีนี้ถึงจะสำเร็จ เมื่อเรารู้เกมว่า หุ้นตัวนี้เป็น "หุ้นปั่น" ล้านเปอร์เซ็นต์ เสี่ยยักษ์แนะนำว่า อย่างเราเล่นหุ้นเก็งกำไร คุณต้องเล่นเป็น "ตัวประกอบ" อย่าเล่นเป็น "พระเอก" เพียงแต่ว่าถ้าเขาปั่นกัน เราก็เล่นน้อย ถ้าอยากเล่นเยอะต้องเล่นหุ้นมวลชน หลอกกันไม่ได้

    โดยยกตัวกรณีของหุ้น NMG-W2 ช่วงใกล้หมดอายุ ช่วงต้นปี 2550 หุ้นตัวนี้ถูกลากราคาจาก 0.24 บาทขึ้นไป 2.40 บาทภายในเวลาเพียง 10 วัน ในวงการรู้ว่า ใคร...? เป็นคนมาเล่น NMG-W2 คนนี้ปั่นหุ้นไม่ต้องมีสตอรี่อะไรเลย เขาเคยลากหุ้นบางตัวจาก 1-2 บาทให้วิ่งไป 7-8 บาทได้เลย ถือว่าใจถึงและมือถึงที่สุดในวงการ ไม่มีใครเกิน "เสี่ย" คนนี้ ตอนนั้นหุ้น NMG-W2 แปลงสภาพ 14 บาท ราคาหุ้นแม่ NMG อยู่ที่ 8.50 บาท เล่นข่าวได้เวลาช่อง 9 อสมท. เขาเล่นหุ้นแม่ขึ้นมาที่ 11 บาท แต่ลาก NMG-W2 ขึ้นไป 900% ใกล้หมดอายุแล้ว เล่นกันขึ้นไปได้ยังไง "ตอนนั้น มีคนโทรศัพท์มาถามผมว่า ติด NMG-W2 ที่ "บาทกว่า" จะทำยังไงดี ผมบอกว่ามันจะหมดอายุอยู่แล้ว ยังไงคุณก็ต้องทิ้งแล้ว เขาถามว่าจะขายยังไงหมด ผมบอกว่าคุณก็ขายแบบเหวี่ยงแห (กระจาย) ซิ! พอขายหมดที่ 1.20 บาทเขาลากขึ้นไป 2.40 บาทเลย ถามว่า ถ้าคุณเป็นรายย่อยจะเล่นหุ้นประเภทนี้ยังไง ผมจะยกตัวอย่าง กลยุทธ์ที่นักลงทุนรุ่นน้องที่เล่นหุ้น NMG-W2 ให้ฟัง ไอ้คนนี้ที่จริงมันเป็นรายใหญ่พอสมควร มันมีโทรศัพท์ 4 เครื่อง สั่งซื้อกระจาย 2,000 หุ้น 2,000 หุ้น 2,000 หุ้น กระจายออเดอร์ (เป็นหางว่าว) คือ เขาพยายามแตกออเดอร์ให้ย่อยๆๆ ไม่อยากให้รายใหญ่จับได้ วิธีนี้เขาก็หาเงินใช้ได้เรื่อย" นี่เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับในการลงทุน "หุ้นปั่น" ที่เสี่ยยักษ์เล่าให้ฟัง

    ตอนที่ 24 รังเสือ..ถ้ำมังกร

    ภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า "เสือ 2 ตัว ไม่อยู่ถ้ำเดียวกัน" คำๆนี้เป็นจริงอย่างไร "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์อธิบายว่า โดยธรรมชาติ "ใหญ่กับใหญ่" จะอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน..เชื่อผมซิ!!! มันเป็นอย่างนี้จริงๆ สุดท้ายมันก็จะ "ขี่" (เอาเปรียบ) กันเอง ..พูดตรงๆผมเคยเล่นหุ้นปั่น วันที่ผมขายหมดแต่บางคนไม่ได้ขาย ผมเสียเพื่อนไปก็หลายคน เสียน้องไปก็หลายคน สุดท้ายมันไม่ได้อะไรขึ้นมา มันไม่คุ้มหรอก..เชื่อผมซิ!!!

    นอกจากนี้ การเข้าไปเทรดหุ้นกับโบรกฯไหน เสี่ยยักษ์จะดูว่าโบรกฯนั้นมี "พอร์ตเล่นหุ้น" ด้วยรึเปล่า! ถ้า "มี" โดยส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบไปเทรดหุ้นที่นั่น เพราะคิดแง่ลบไว้ก่อนว่า "เขาจะดักกินเรา" (รู้ความเคลื่อนไหวรายใหญ่) ส่วนโบรกฯไหน ที่เห็นรายใหญ่ไปรวมตัวกันมากๆแสดงว่าเขาจับมือกันแน่นแล้ว เสี่ยยักษ์ยังเล่าถึงวิธีการเอาเปรียบ (ขี่) กันในวงการรายใหญ่ที่เจอมากับตัวเอง "คุณคิดว่ามาร์เก็ตติ้งเขาไม่มีอินไซด์เหรอ ผมเคยทะเลาะกับคนบางคน เขาไปซี้กับมาร์เก็ตติ้งของผม เขาก็เป็นรายใหญ่เหมือนกัน โดยใช้วิธีเลี้ยงมาร์เก็ตติ้งไว้หลายคนหลายโบรกฯ กลางคืนก็พาไปเที่ยว พาไปกินเหล้า แล้วก็บอกมาร์เก็ตติ้งของผมว่า เวลาเสี่ยยักษ์จะซื้อหุ้นอะไร ก็ให้สั่งซื้อให้เขาก่อน เขาจะสั่งประมาณว่า ถ้าพี่ยักษ์ซื้อหุ้นตัวนี้ 10 ล้านหุ้น ซื้อให้เขาก่อนเลย 2 ล้านหุ้น เอาเปรียบกันอย่างงี้เลย ผมจะบอกให้ว่าอยู่ในวงการนี้นานๆ ยิ่งคุณเป็นรายใหญ่ จะมีพวกที่จ้องหาผลประโยชน์จากคุณ มันขี่กันซึ่งๆหน้า เวลาที่ผมจะขายหุ้น ก็สั่งว่าให้ขายของเขาก่อน แล้วค่อยขายให้ผม" กรณีที่ "ใหญ่กับใหญ่" จะอยู่ "รัง" เดียวกันได้ เขาต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน "อย่าง "ผม" กับ "ปู่" (เสี่ยปู่-สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล) เล่นหุ้นห้องวีไอพี อยู่ติดกัน ต่างคนต่างไม่รู้พอร์ตกัน พูดจริงๆด้วยศักดิ์ศรี (ที่เสมอกัน) เขาก็ไม่แอบถามมาร์เก็ตติ้งผม ส่วนผมก็ไม่แอบถามมาร์เก็ตติ้งเขา อย่างงี้..ถึงจะอยู่ด้วยกันได้ แต่เวลาเรานั่งกินข้าวเที่ยงด้วยกัน (ลูกค้าวีไอพี โบรกฯ จะจัดอาหารกลางวันให้มานั่งรับประทานร่วมกัน) เราก็คุยกัน เขาอาจจะถามว่าหุ้นตัวนี้ วิชัย (เสี่ยยักษ์) เล่นมั้ย! บางทีผมก็อาจจะถามว่า ตัวนี้ปู่ซื้อมั้ย! ถ้าเห็นแนวทางเดียวกันก็อาจจะซื้อเหมือนกัน แต่หลังๆผมกับปู่วิธีการเล่นหุ้นจะต่างกันมาก สมัยก่อนเราจะเล่นหุ้นทางเดียวกัน (ออกแนวเก็งกำไร) ถ้าซื้อด้วยกันหุ้นตัวนั้นจะขึ้นเยอะ แต่หลังๆพอผมมาสำเร็จกับวิธีการเล่นหุ้นอีกแบบหนึ่ง หันมาเน้น "หุ้นมวลชน" ปู่ก็จะไปทาง Value Investor คือ เขาจะเล่นหุ้นกระจายเป็น 10-20 ตัว ไม่เล่นกระจุกตัวเหมือนสมัยก่อน เวลาหุ้นขึ้น มันก็ไม่แรงเหมือนก่อน" ในยุคที่ยังเล่นหุ้นเก็งกำไร เสี่ยยักษ์ย้อนเล่าอดีตว่า รายใหญ่ๆจะเล่นหุ้นทางเดียวกันหมด ในลักษณะเกาะกลุ่มกันเล่น เรียกว่า "ก๊อบปี้หุ้น" กันเลย อย่างหุ้น SHIN-W1 สมัยก่อนจะเฮโล! กันเข้าไปเล่น แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนต่างสำเร็จวิชาคนละวิชา เวลาคิดอะไรจะไม่ค่อยเหมือนกันแล้ว

    "ตั้งแต่ยุค SHIN-W1 ผ่านมา ก็แบ่งกลุ่มกันออกมา พอนานๆไปต่างคนต่างค้นหาแนวทางตัวเอง จุดเปลี่ยน! เป็นเพราะว่าเมื่อก่อนรายย่อยใหญ่กว่าต่างชาติเยอะ เดี๋ยวนี้ พลังรายย่อยลดลง สถาบันใหญ่ขึ้นมา ต่างชาติคุมตลาด รายย่อยก็แทบจะไม่มีความหมาย ชี้นำตลาดไม่ได้ ทุกคนก็เริ่มเปลี่ยนวิธีการเล่นหุ้น อย่างกลุ่มผมคือ เราเล่นด้วยกัน พอดัชนี SET ตกลงมา กลุ่มนี้ก็ขาดกำลัง หลายคนติดหุ้น แต่ยังมีวงเงินกู้พอเล่นได้ แต่ภาวะตลาดไม่เอื้อ ทุกคนก็ไม่อยากเล่น กลุ่มที่เคยมีพละกำลังก็สลายกำลังไปหมด ผิดกับเมื่อก่อน พอบอกว่าจะเล่นหุ้นตัวไหนใส่กันไปยิ่งกว่าพายุ หุ้นนี่วิ่งแรงเลย พอช่วงหลังๆคุยกันว่าจะเล่นหุ้นตัวนี้ อีกคนบอกว่าไม่เอาดีกว่า มันไม่ได้แตกคอกัน แต่ไม่แข็งแรงอย่างเดิมอีกแล้ว" เสี่ยยักษ์สรุปว่า ในที่สุดวิธีการลงทุนก็เปลี่ยนกันไปหมด "เสี่ยปู่" ก็ไปสำเร็จวิชา "เล่นหุ้นมูลค่า" เขาก็ไปทำ Company Visit ไปคุยกับผู้บริหาร ส่วนตัวผมก็เปลี่ยนสไตล์คือ "รอเล่นรอบใหญ่" จะให้จับปลาซิวปลาสร้อย (หุ้นเก็งกำไร) เหมือนสมัยก่อนไม่ค่อยเอากันแล้ว..แต่ทุกวันนี้ ก็ยังมีกลุ่มรายใหญ่ที่ไปรวมตัวอยู่กับโบรกเกอร์บางแห่ง เขาก็ยังชอบ "เล่นข่าว" (ไล่ราคาหุ้น) อยู่ คือวิธีคิดมันไม่เหมือนกัน

    เมื่อถามว่าในวงการเล่นหุ้น "รายใหญ่" จะลิ้งค์ถึงกันหมดหรือไม่!! "ส่วนใหญ่จะรู้จัก(ชื่อเสียง)กันว่าใครเป็นใคร อยู่ที่ไหน แต่บางคนก็ไม่เคยเจอตัวกัน" เสี่ยยักษ์ย้ำว่า โบรกเกอร์ที่เล่นหุ้นอยู่ทุกวันนี้ มีรายใหญ่ที่สุดอยู่ 2 คน "ผม" กับ "ปู่" (ที่เล่นใหญ่ระดับพันล้าน) แต่บอกได้เลยว่า เราไม่เคยเอาเปรียบน้อง มีข่าวอะไรดีๆก็บอกหมด อย่าง "ยะ" มีเงินกว่าล้านบาท เขาก็แฝงตัวเข้ามาในกลุ่ม เราก็ให้โอกาสทุกคน "พูดตรงๆผมเคยเล่นหุ้นปั่น วันที่ผมขายหมด บางคนไม่ได้ขาย ผมเสียเพื่อนไปก็หลายคน เสียน้องไปก็หลายคน สุดท้ายมันไม่ได้อะไรขึ้นมา สุดท้ายผมต้องถามคนใกล้ตัวว่า พี่ขาดทุนเท่าไร น้องขาดทุนเท่าไร ผมจ่ายเงินให้ก้อนหนึ่งไปแบ่งกัน แล้วพวกต่อที่ 3 ต่อที่ 4 ที่บอกต่อๆกัน เจ๊งหุ้นกันเป็นแถบๆ อย่างนี้เราเสียชื่อเสียง มันไม่คุ้มหรอก..เชื่อผมซิ!!!"

    ตอนที่ 25 มองต่างมุม "แวลู อินเวสเตอร์"

    วิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" ส่วนตัวมองว่า "มันเสี่ยง" บางทีหุ้นลงก็ต้องถือ เพราะคุณคิดว่าพื้นฐานมันไม่เปลี่ยน เดี๋ยวมันก็ต้องกลับมา แต่เมื่อไรล่ะ...ถ้าคุณไม่ Cut Loss ตอนหุ้นลง "มันเสียโอกาส" วิธีการลงทุนโดยการถือหุ้นอยู่ในพอร์ต "ตลอดเวลา" ในมุมมองของ "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ มีความเชื่อส่วนตัวว่า "มันเสี่ยงเกินไป" ด้วยความเชื่อที่ว่า ตลาดหุ้นนั้นมี "ฤดูกาล" (มีรอบ)ของมัน บางปีอาจจะมีรอบให้เล่น "หลายรอบ" บางปีตลาดหุ้นอาจจะมีรอบใหญ่ๆเพียงรอบเดียว แต่ตลาดหุ้นไม่เคยขาดโอกาสให้ซื้อเลย...แต่ต้อง "รอ" เพราะฉะนั้นอย่ากลัว "ตกรถไฟ" หรือกลัวจะ "ซื้อหุ้นดี" (ราคาเหมาะสม) ไม่ได้ "ให้ผมวิจารณ์วิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" (Value Investor) ส่วนตัวมองว่า "มันเสี่ยง" นะ! ถ้าพลาดทีเดียวจะเสียหายได้เยอะ บางทีหุ้นลงก็ต้องถือ เพราะคุณคิดว่าพื้นฐานมันไม่เปลี่ยน เดี๋ยวมันก็ต้องกลับมา แต่เมื่อไรล่ะ...ถ้าคุณไม่ Cut Loss ตอนหุ้นลง มันเสียโอกาส" เสี่ยยักษ์ เปรียบเทียบให้ฟังว่า อย่างพอร์ตผมมี 1,000 ล้านบาท ช่วงไหนเห็นท่าว่าตลาดไม่ดี ผมก็ลดพอร์ตลงมาเลย เหลือ 100 ล้านบาท "หุ้นตก...ผมยิ้มได้" เพราะผมคิดว่ายอมขาดทุนถือเงินสดเอาไว้ดีที่สุด เรามีโอกาสแก้ตัว แต่กับอีกคนๆหนึ่งที่เล่นหุ้นสไตล์ "แวลู อินเวสเตอร์" ถือหุ้นอยู่ 1,000 ล้านบาท "เต็มพอร์ต" วันไหนที่ตลาดหุ้นเกิด "แพนิค" (ตื่นตระหนก) วันเดียว เงินคุณหายไปเท่าไร "...อย่าคิดว่า คนที่เป็น "แวลู อินเวสเตอร์" จะไม่กู้ทุกคน หลายคนก็เล่นเครดิตบาลานซ์ ถ้าคุณมีพอร์ต 100 ล้านบาท มองตลาดดีมาก คุณกู้อีก 100 ล้านบาทรวมเป็น 200 ล้านบาท ซื้อเต็มพอร์ต วันไหนที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หุ้นตกลงมาเยอะๆคุณเจ๊งเลยนะ เพราะคุณจะไม่กล้าขาย คิดว่าพื้นฐานหุ้นมันไม่เปลี่ยน คนที่ถือหุ้นเยอะๆเวลาจะขายทีไม่ใช่ง่าย ตรงนี้คือ "ความเสี่ยง" ที่หลายคนไม่ได้มอง"

    เสี่ยยักษ์ ออกตัวว่าไม่ใช่ว่าวิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" จะไม่ดี คนที่สำเร็จกับวิธีนี้ก็มีเยอะ เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นจุดอ่อนบางมุม ยกตัวอย่างนะ...ในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ตกมากๆ อย่าคิดว่า แวลู อินเวสเตอร์ จะกล้าซื้อทุกคน คนที่ใส่ไปหมดหน้าตักแล้ว อยากซื้อก็ไม่มีตังค์จะซื้อ ส่วนกรณีของ แวลู อินเวสเตอร์ ที่อยากจะขาย คุณไปซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำเอาไว้เต็มพอร์ต ถ้าคุณขาย คุณก็เจ็บหนัก นี่ผมพูดจากประสบการณ์ในชีวิตจริงให้ฟัง ยิ่งคุณขาย...หุ้นยิ่งลงหนัก ตรงข้ามกับผม ตลาดหุ้นช่วงไหนเล่นแล้วไม่สบายใจ (รู้สึกว่าทำกำไรยาก) ผมล้างพอร์ตจาก 100% ลงมาเหลือ 10% ทันที "ถามว่า...เวลาหุ้นตกหนักๆใครมีเงินซื้อ ?? คุณหรือ ผม" เสี่ยยักษ์ ถามกลับ

    เสี่ยยักษ์ยกตัวอย่าง "กรณี 9/11" (เครื่องบินผู้ก่อการร้ายพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) นั่นคือ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน มันนอกเหนือกฎเกณฑ์ วันนั้นขาดทุนทันที 26% คนที่กำลังจะ "เกิด" (กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว) ไปเจอเหตุการณ์อย่างงั้น ไม่รู้จะเกิดยังไง "จำเอาไว้...ในภาวะที่ตลาดหุ้นเป็น "ขาลง" หรือภาวะตลาดตื่นตระหนก คนที่มีพอร์ต 100% จะเสียเปรียบและเสียโอกาสมาก เพราะว่าคุณจะไม่มีเงินซื้อ ได้แต่รอ ได้แต่นั่งดูคนอื่น ในท้ายที่สุด เชื่อเถอะว่า คนที่ถือหุ้นเต็มพอร์ต ช่วงที่ตลาดหุ้นไม่ดี คุณนั่นแหละคือคนที่ขายหนีตาย (ขายหลังผมและขาดทุนมากกว่าผม)"

    เสี่ยยักษ์ สรุปประเด็นนี้ว่า หลักการเล่นหุ้นที่ปลอดภัย คุณไม่จำเป็นต้องถือหุ้นไว้ (เต็มพอร์ต) ตลอดเวลา ช่วงไหนที่ตลาดหุ้นไม่ดี เล่นหุ้นแล้วไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัด ต้องลดพอร์ตแล้วถือเงินสดให้มากที่สุด...นี่คือหลักการที่ถูกต้อง ในช่วง 10 ปีมานี้ (2540-2550) คนที่เล่นหุ้นเป็นรอบ บางคนพอร์ตโตขึ้นมามากกว่า 100 เท่า นักเล่นหุ้นรายใหญ่ๆที่รู้จักหลายคนออกสตาร์ทด้วยเงินน้อยๆ เขาก็ประสบความสำเร็จได้ อย่าง น.พ.วิเศษ วชิรพงศ์ (ขุนศึกคู่กาย) เขาเริ่มต้นจากศูนย์ ในอนาคตก็ต้องมีเงินเป็นร้อยล้านแน่ "พูดกันตรงๆว่า ช่วงไหนที่ตลาดหุ้นไม่ดี พอร์ตเราต้องเหลือหุ้นให้น้อยไว้ก่อน ถ้าเราเข้าไปซื้อหุ้น(เต็มพอร์ต)ช่วงที่ตลาดไม่ดี เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆเหมือน ลิงแก้แห...ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง" เสี่ยยักษ์ กล่าวปิดท้าย

    ตอนที่ 26 ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์"

    ลักษณะตลาดหุ้นที่แกว่งตัวออกด้านข้างและไม่มีข่าวดีอะไรใหม่ๆเข้ามาในตลาด คนที่เล่นหุ้นแล้วได้ตังค์ต้อง "เล่นรอบ" คือเล่นหุ้นแบบ "ปิงปอง" จะได้เปรียบ แต่อย่าไปทุ่มเทอะไรกับมันมาก "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า สมัยก่อนชอบเล่น "หุ้นตัวเล็ก" (หุ้นเก็งกำไร) ช่วงดัชนี SET ประมาณ 300-400 จุด ตอนนั้นยังเล่นหุ้น "ไซส์เล็ก" กันอยู่ โดยยอมรับว่าที่รวยหุ้นส่วนหนึ่งรวยมาจากหุ้นเก็งกำไร ช่วงดัชนีต่ำๆช่วงนั้นนิยมเล่นหุ้นที่เขาเรียกว่า "Penny Share" หรือ "หุ้นถูกๆ" กัน แต่พอเล่นมาถึงจุดๆหนึ่ง มันเริ่มแรงเกินไป "ผมคิดว่าถึงเวลาถอยแล้ว คล้ายๆกับช่วงที่ตลาดหุ้นทรงๆ (ไซด์เวย์) หุ้นตัวเล็กก็จะถูกดึงขึ้นมาเล่นรอบ ลักษณะตลาดที่ซึมๆทรงๆ หุ้นขึ้นทุกครั้ง ตัวเล็กก็จะนำหน้ามาก่อน มักจะเป็นอย่างนี้" โดยธรรมชาติของตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" ที่แกว่งตัวออกด้านข้าง เสี่ยยักษ์อธิบายว่า ดัชนีจะไม่ไปไหนไกล สังเกตว่าจะไม่มีข่าวดีอะไรใหม่ๆเข้ามาในตลาด ลักษณะของตลาดอย่างนี้คนที่เล่นหุ้นแล้วได้ตังค์ ต้อง "เล่นรอบ" คือเล่นหุ้นแบบ "ปิงปอง" จะได้เปรียบ แต่อย่าไปทุ่มเทอะไรกับมันมาก ให้เล่นเกาะกระแสเอาไว้

    ส่วนเทคนิคที่เสี่ยยักษ์นำมาใช้ในการอ่านทิศทางตลาด เพื่อค้นหา "จังหวะ" เข้าไป "เล่นรอบ" (สั้นๆ) เขายกตัวอย่างปฏิบัติการจริงให้เห็นว่า ก่อนอื่นเราต้องอ่าน "ภาพรวม" ของตลาดให้ออก จากนั้นก็มาเช็คเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่นๆประกอบ (จะดูกราฟ Month) มาดูตัว RSI ว่ากลับมารึยัง! แล้วมาดู Fast Stochastic ตัวนี้เร็วขึ้นหน่อย พอเห็นว่าเริ่มตัดขึ้นแล้วนะ แล้วต้องมาตรวจดู Slow Stochastic ว่าเป็นอย่างไร (ตามกันมารึเปล่า) อีกตัวที่ต้องดู Modified Stochastic เริ่มตัดขึ้น แสดงว่าสัญญาณต่างๆเริ่มดี แต่ว่ายังต้องรอตัว Fast Stochastic (กราฟ Month) จะนำตัวอื่น เราต้องรอให้มันเกิด Divergence (Bullish Divergence สร้างจุดต่ำยกสูง) ขณะที่ SET ปรับลงมา แต่ตัวนี้มันเริ่มตัดขึ้น แล้วก็ยกสูง(ชัน)ขึ้น อย่างนี้เราก็ต้องรอ แสดงว่าหุ้นใกล้มาแล้ว "ผมก็ดูอย่างนี้ จะมีรอบสั้นๆให้เล่นได้ ตรงนี้เก็บไว้ใช้เป็นวิชาได้" แต่ในกรณีที่ "ภาพใหญ่" ของตลาดแกว่งตัวออกด้านข้าง (ภาพใหญ่ของ SET เกิดไซด์เวย์ เช่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2547-ต้นปี 2550) เสี่ยยักษ์ชี้ให้เห็นว่า ลักษณะของดัชนีไม่ได้เป็นแนวโน้มขาลง แต่เครื่องมือเครื่องไม้ทางเทคนิคอย่างตัว MACD (กราฟ Month) มันตัดลงมาตลอด อย่างนี้ถือเป็น "จุดดี" รอให้มันตัดขึ้นมาเมื่อไหร่ ทุกคนจะ "วิ่งใส่หุ้น" กันหมด

    เสี่ยยักษ์ยังกล่าวถึงคนเล่นหุ้นที่มีเงิน 100 ล้านบาทกับนักเล่นหุ้นประจำมีเงิน 10 ล้านบาทว่า จริงๆแล้วคนมีเงิน 100 ล้านบาท "ไม่ได้เปรียบ" เพราะถ้าคุณไม่ได้ฝึกฝนตัวเองมา จะมีลักษณะซื้อเป็น แต่ "ขายขาดทุนไม่เป็น" มันเสียดายเงิน ขาดทุนคุณก็เก็บไว้ จากขาดทุนน้อยก็กลายเป็นขาดทุนมาก ยกตัวอย่างคนมีเงิน 100 ล้านบาท การที่คุณจะ Cut Loss ยอมขาดทุน 2-3 ล้านบาท มันน่าจะง่ายกว่าคนที่เล่นหุ้นประจำมีเงิน 10 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริง "ไม่ใช่" คนเล่นหุ้นที่เกาะติดตลาดทุกวัน เขาค่อยๆฝึกหัวใจ (ความกล้า)ไปเรื่อยๆ วันที่จะต้องยอมขาดทุน เขากล้ากว่าคนที่มีเงินเยอะ เพราะฉะนั้น คนที่ฝึกมาตั้งแต่เงินน้อยๆจะมีประสบการณ์มากกว่าพวกที่เอาเงินก้อนใหญ่มาเล่นเลย ภาษามวยเขาบอกว่า เบอร์ของหัวใจมันใหญ่ผิดกัน เคยซื้อโอเลี้ยงมาก่อน อยู่ข้างเวทีมาก่อน เขาจะมีความเคี่ยวมากกว่า ดังนั้นคนที่มีเงินน้อย อย่าคิดว่าตัวเองเสียเปรียบ

    นอกจากนี้ เสี่ยยักษ์ยังกล่าวถึงเทคนิคการเล่นหุ้น "Penny Share" หรือ "หุ้นถูกๆ" ว่า ที่จริงแล้วรายย่อยได้เปรียบเยอะเลย..ถ้ารู้จักวิธีเล่น "ถ้าผมเป็นรายย่อย ผมวางแผนจะ "ขี่" รายใหญ่ (เจ้ามือ) "ธง" ของเราคือ อย่าไปหวังเล่นรวย คนที่คิดเล่นทีหวังจะเอากำไรเยอะๆสุดท้าย "ตายทุกราย" เชื่อผม !!! คุณต้องเกาะเขาไป ยกตัวอย่าง ถ้าจะเล่นหุ้น TYONG เล่นหุ้น BLAND เจ้ามือเสือมาก "อย่าไปใหญ่กว่าเจ้ามือ" สมมติ ผมเทรด BLAND-W1 อยู่ช่วงราคา 0.19-0.20 บาท ถ้าคุณไปกิน 0.21 บาท กะลากราคาขึ้นไป เจ้ามือเขาเลิกเลยนะ อย่างเมื่อเช้า (ขณะที่สัมภาษณ์) BLAND-W1 มีคนรวบราคา 0.21 บาทไป เจ้ามือมันเลิกเล่นเลย ถ้าเขากินเอง(ลากขึ้นไป) ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราไปกินเขา "มันเลิก" พอเลิกเสร็จเขาจะบีบ (ทุบ) ให้คุณต้องคายหุ้นออกมาก่อน" ระหว่างที่เสี่ยยักษ์กำลังเทรดหุ้น BLAND-W1 ก็เล่าไปด้วยว่า "หุ้นถูกๆ" เขาจะเล่นกันไม่กี่ช่อง ตั้ง Bid กับ Offer เอาไว้ 2 ข้าง อย่าง BLAND-W1 ช่วงเช้าขายไป 0.21 บาท ช่วงบ่ายที่ตลาดกำลังจะ "รันเปิด" ถ้าซื้อคืนได้ที่ 0.20 บาท ก็หมายถึงว่า วันนี้คุณขายไป 0.21 บาท ซื้อกลับ 0.20 บาท ได้กำไร 5% ทันที

    "ช่วงที่ตลาดกำลังจะเปิด เขาจะใช้วิธี "Random" (สุ่มจับคู่) ราคาไหนมากกว่ามันจะเปิดตรงนั้น ถ้าฝั่งซื้อ (Bid) มากกว่า 0.21 บาทมันก็จะเปิด 0.21 บาท นี่ฝั่งขาย (Offer) มีอยู่ 4.6 ล้านหุ้นกับ 5,000 หุ้น ฝั่งซื้อ (Bid) มีอยู่ 2.6 ล้านหุ้นกับ 9 แสนหุ้น เขารู้เวลาเปิด..เสร็จมัน!!! กลายเป็นว่าเราได้หุ้นที่ 0.21 บาทมา..หนีไม่ทัน" เสี่ยยักษ์เล่าเหตุการณ์แบบนาทีต่อนาที เกมนี้เท่ากับว่า "เราแพ้" "เล่นอย่างนี้ สนุกๆดวลกันทุกวัน ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ ได้เสียไม่เยอะ แต่ผมชอบรอบใหญ่ๆ มากกว่า" เสี่ยยักษ์กล่าวปิดท้าย

    ตอนที่ 27 ประสบการณ์ "SHIN-W1"

    วอร์แรนท์ที่ราคาแปลงสภาพ "ต่ำกว่าหุ้นแม่" ยิ่งเหลืออายุน้อย เจ้ามือยิ่งกดรายย่อยให้ปล่อยหุ้นออกมา เพราะเขารู้ว่าไม่มีเงินไปแปลงสภาพแน่ เขาก็บีบซื้อราคาถูกเอาไปแปลงสภาพเอง "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ เล่าประสบการณ์การเล่น "วอร์แรนท์" สมัยก่อน โดยยกตัวอย่างกรณีของ SHIN-W1 ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นกรณีศึกษา โดยระบุว่า "ก้อนแรก" ที่หุ้นตัวนี้ขึ้นมากลุ่มของเรา(กลุ่มเสี่ยยักษ์)เป็นคนเล่น...ช่วงนั้นเล่นกัน มันส์!มาก

    "กลุ่มเราเล่น SHIN-W1 ขึ้นมาจาก 2-3 บาท (ช่วงไตรมาส 2 ปี 2546) เล่นขึ้นไป 7-8 บาท ใช้เวลาเล่นแค่เดือนเดียว พอกลุ่มเราขายหมด ปู่ (เสี่ยปู่-สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล) มาเห็นดี ทุบพอร์ตมาซื้อ 30 ล้านหุ้น มารับแถวๆ 7-8 บาท มันเหมือนพวกผมไปทุบหุ้นใส่เขา ที่จริงเราไม่ได้นัดกัน แต่เห็นราคาขึ้นมาเยอะ กำไรเป็นเท่าตัวแล้วก็ขาย เพราะมันไม่ใช่หุ้นในดวงใจ ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม" ช่วงที่ราคา SHIN-W1 ขึ้นมาประมาณ 100% แล้ว กลุ่มเสี่ยยักษ์ก็ขายทิ้งกันหมด มีเพียงเสี่ยปู่คนเดียวที่ไม่ยอมขาย ยังกอดไว้แน่น 30 ล้านหุ้น เพราะมองว่าอนาคตตัวนี้ต้องดีแน่ "ช่วงราคา 7-8 บาท (เจ้ามือ) มัน "กดราคา" แช่อยู่อย่างนั้น 4 เดือนเต็มๆ ไม่ยอมให้ขึ้น พอปู่ขายหมด มันลากขึ้นไป 24.80 บาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือนกว่า (10 สัปดาห์) เท่านั้นเอง...วิ่งเหลือเชื่อ!!!"

    (ข้อสังเกตมีอยู่ว่า ก่อนหน้าที่หุ้น SHIN-W1 จะวิ่งขึ้นรอบใหญ่จากช่วงราคา 7-8 บาทขึ้นไปทำจุดสูงสุดของรอบที่ 24.80 บาท หุ้นตัวนี้ถูก "กด" ไม่ให้ขึ้นนานถึง 17 สัปดาห์ ระหว่างที่หุ้นถูกกดไม่ให้ขึ้น มีจุดสังเกตคือ "วอลุ่มหาย" (วอลุ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง) ขณะที่ราคาหุ้นไม่ลง มีลักษณะ "ไซด์เวย์" ออกด้านข้าง อยู่ในกรอบ 6.25-10.30 บาท แต่โดยเฉลี่ยแล้ววิ่งอยู่ในกรอบ 7-8 บาท) เสี่ยยักษ์บอกว่า จากประสบการณ์ครั้งนั้นสรุปว่า ทุกคนเฉียดรวยกันหมด รายใหญ่เขากดดันให้คนที่เล่นหุ้นตัวนี้อึดอัดมาก (ยิ่งถือหุ้นมาก ยิ่งกดดัน) พอรวบรวมหุ้นได้มากพอก็ "ลากราคา" ขึ้นไปเลย นี่คือจังหวะชีวิตที่นักเล่นหุ้นทุกคนต้องเจอ

    ส่วนสาเหตุว่า ทำไม! ถึงเลือกมาลงทุนวอร์แรนท์ตัวนี้ เสี่ยยักษ์ขยายความว่า เดิมทีหุ้นแม่ SHIN เคยอยู่ที่ 17 บาท ประมาณช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2545 ตัวลูก SHIN-W1 เข้ามาเทรดครั้งแรกอยู่แถว 4 บาทกว่า แล้วตัวแม่ SHIN ถูกกดลงมา 10 บาท (ตลอดช่วงไตรมาส 4 ปี 2545) แล้วมันกลับขึ้นไป 17 บาทอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคม 2546 แต่ลูกมันยังอยู่แถว 2.7-2.8 บาท "แสดงว่าแม่มันไปแล้ว แต่ลูกยังไม่ไป พวกเราก็ "จับจุด" ตรงนี้ แล้วมาเล่นกันขึ้นไป 7-8 บาท รอบนั้นราคาแม่ SHIN อยู่ที่ 17 บาท ราคา SHIN-W1 อยู่แถว 2.7-2.8 บาท แปลงสภาพที่ราคา 20.50 บาท อีกจุดหนึ่งจำได้ว่า "คุณบุญคลี ปลั่งศิริ" อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น เขาเคยออกมาให้ข่าวว่า ตัว SHIN-W1 แปลงสภาพเป็นหุ้น SHIN ได้แน่ นี่ก็เป็นการ "ส่งสัญญาณ" ล่วงหน้า" ประเด็นเรื่องการส่งสัญญาณจาก "ผู้มีอำนาจ" (ในบริษัท) ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยต่อทิศทางการลงทุน เสี่ยยักษ์ยกตัวอย่างกรณีของหุ้น SCB-C1 ให้ฟัง หุ้นตัวนี้ "เจ๊ง" กันอื้อ สมัยก่อนเล่นเก็งกำไรกันทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะเล่นเก็งข่าว "ต่ออายุวอร์แรนท์" ตอนนั้น "ดร.บัณฑิต นิจถาวร" (จากแบงก์ชาติ) มาพูดว่าจะยืดอายุ แต่ "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" (รมว.คลัง) บอกไม่ยืด เกมจบเลย เพราะทั้งพอร์ตเล่นกันแต่ตัวนี้

    วอร์แรนท์อีกตัวหนึ่งที่ "เจ็บ" กันสมัยก่อน ก็ตัว BANPU-W ของ "ตระกูลว่องกุศลกิจ" เสี่ยยักษ์เล่าว่า เจ้าของรับไปคนเดียวหมด ประมาณปี 2541 (ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ) ราคาหุ้น BANPU อยู่แถว 13-14 บาท ราคา BANPU-W ช่วงที่ใกล้จะหมดอายุถูกทุบจาก 1.20 บาทลงมาเหลือ 0.20 บาท เจ้าของเก็บของดีไปหมด เอาไปแปลงสภาพที่ราคา 10 บาท "กำไรอื้อ" "เขาเก็บ BANPU-W ออกไปหมด...ไม่ปล่อยกลับมา แล้วทำให้วอร์แรนท์ที่เหลือ (ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด) "ไม่มีค่า" สุดท้ายรายย่อยไม่มีเงินแปลงสภาพ ก็ต้องเท BANPU-W ราคาถูกให้เขาหมด ถ้าคุณไม่รีบขายวันนี้ พรุ่งนี้ตกอีก ถ้าถือไว้ก็ต้องหาเงินอีกหุ้นละ 10 บาทไปแปลงสภาพ ไม่มีใครมีเงิน ก็เหมือนกับ BAY-W1 เจ้าของเขาได้เปรียบ เขาขายแม่ (BAY) แล้วมาเก็บลูกไปแปลงสภาพที่ราคา 12 บาท เขามีหุ้นเท่าเดิม ได้กำไรส่วนเหลื่อมไปแบบไม่เสี่ยง ยิ่งเป็นขาขึ้น...ยิ่งกำไร (ที่ผ่านมาต้นทุนแปลงสภาพ 12 บาท + ราคา BAY-W1 ยังต่ำกว่าราคาแม่ BAY)" เสี่ยยักษ์ให้ข้อสังเกตว่า วอร์แรนท์ที่ราคาแปลงสภาพ "ต่ำกว่าหุ้นแม่" ยิ่งเหลืออายุน้อย เจ้ามือยิ่งกดรายย่อยให้ปล่อยหุ้นออกมา เพราะเขารู้ว่าไม่มีเงินไปแปลงสภาพแน่ เขาก็บีบซื้อราคาถูกเอาไปแปลงสภาพเอง

    บทอวสาน "สุดยอด...วิชัย วชิรพงศ์"

    การนำเสนอ Story ชีวิตและความสำเร็จของ "เสี่ยยักษ์" วิชัย วชิรพงศ์ ก็เดินทางมาถึง "ปลายทาง" ตามวาระแห่งความพอดี (ฉบับสุดท้าย วันที่ 19 ตุลาคม 2550 วันครบรอบ 20 ปีเต็มของเหตุการณ์ Black Monday) ไม่มีงานเลี้ยงใดที่ไม่เลิกรา รวมทั้งสิ้น 27 ตอนกับอีก 1 บทสรุปของ "สุดยอดวิชา" ความเป็น "สุดยอด" ของนักเล่นหุ้นธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่ลงทุนจากเงินทุน 2 ล้านบาท แล้วประสบความสำเร็จจนมีเงินนับ "พันล้านบาท" จาก "ต้นกล้า" ฝ่าแดด...ต้านฝน จนเป็น "ไม้ใหญ่" ขอคารวะด้วยจิตศรัทธาว่า "ไม่ธรรมดา" ก่อนจากลา "ถนนนักลงทุน" ขอรวบรวมคำพูดและวลีเด็ดๆจากกูรูหุ้นระดับประเทศท่านนี้ ถ่ายทอดเป็น "ยอดวิชา" หวังให้ไป "ผลิบาน" ในความคิดของนักลงทุน เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ สืบสานสร้างความมั่งคั่งเรื่อยไป ตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 27 มีวลีเด็ดๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • ตอนที่ 1 เงินนี่มันแปลก เงิน 1 ล้านบาทคุณจะเพิ่มให้เป็น 2 ล้านบาท ช่วงนี้จะยากมาก แต่จาก 2 เพิ่มเป็น 4 เริ่มง่าย จาก 4 เพิ่มเป็น 8 ยิ่งง่ายกว่า...นี่เรื่องจริง
  • ตอนที่ 2 ถ้าในโลกนี้ ใครได้อะไรมาง่ายๆก็ยากที่จะรักษาให้มันอยู่กับเราได้อย่างยั่งยืน
  • ตอนที่ 3 หุ้นจะเป็นขาขึ้น "ราคา" และ "ปริมาณ" จะต้องเคลื่อนไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
  • ตอนที่ 4 ถ้าเราเลือกหุ้นพี/อี ต่ำ พื้นฐานดี แต่ซื้อแล้วราคาไม่ขึ้น...มีแต่ลง แสดงว่าความคิดของเรา "ผิด" คุณต้องเปลี่ยน "อย่าดันทุรัง"
  • ตอนที่ 5 สมัยที่ยังเล่นหุ้นไม่เก่ง วิธีที่ผมใช้...จะลอกข้อสอบคนเก่ง แต่ระหว่างที่เราลอกข้อสอบเขา เราก็ต้องพัฒนาตัวเองตามให้ทัน
  • ตอนที่ 6 ในการเล่นหุ้นให้ชนะตลาด เราต้องพายเรือตามน้ำ อย่าพายเรือทวนน้ำ เพราะการ "ฝืนกระแส" จะทำให้เรา "เสี่ยงสูง" ที่จะขาดทุน
  • ตอนที่ 7 จากประสบการณ์ 20 ปี จะซื้อหุ้นให้ได้กำไร เราต้องกล้าไปจ่ายตลาด "ตอนประมาณ ตี 5" หรือ อีก 1 ชั่วโมงฟ้าจะสว่าง...ผีไม่มี
  • ตอนที่ 8 วิธีการเอาตัวรอดในช่วงที่ต้องเผชิญกับ "วิกฤตการณ์" ทางเดียวที่จะทำให้เรา "รอด" คือ การตัดนิ้ว (Cut Loss) ยอมขาดทุนรักษาชีวิต
  • ตอนที่ 9 ความลับของเงินจะเติบโตก็เฉพาะกับคนที่รู้จักใช้มัน เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
  • ตอนที่ 10 การเล่นหุ้นเพื่อหวังกำไร 3-5% เป็นการลงทุนที่มีโอกาส "ร่ำรวย" ได้ยาก!!! เพราะการตัดสินใจซื้อ-ขายบ่อย โอกาสผิดพลาดจะสูง
  • ตอนที่ 11 คำศัพท์ของนักเล่นหุ้น เขาบอกว่า "ลูกยังเล็กอยู่" เราจะพลาดไม่ได้ หมายความว่าหุ้นตัวนี้ "อันตราย" เราต้อง Cut Loss ทิ้ง
  • ตอนที่ 12 ในจังหวะที่หุ้นเป็นขาขึ้น เราต้อง Let the Profit Run ปล่อยให้กำไรวิ่งเต็มสตีม เมื่อไรที่ราคาเริ่มปรับฐานลงมาพร้อมวอลุ่มเราต้องรีบล้างพอร์ตออกไป
  • ตอนที่ 13 ท่องเอาไว้เลย "วอลุ่มพีค" คือ "ราคาพีค" และถ้าหุ้นปรับฐานแล้ว "รีบาวด์" แต่ไม่ทำ "นิวไฮ" ใหม่..."มันต้องลง"
  • ตอนที่ 14 ถ้าหุ้นเป็น "ขาลง" แล้ว "วอลุ่มหาย" นี่เป็นตามธรรมชาติ แต่ถ้าหุ้นเป็น "ขาขึ้น" แล้ว "วอลุ่มหาย" นี่มันผิดกฎธรรมชาติ ให้สงสัยไว้ก่อนว่า "มันกำลังจะวิ่ง"
  • ตอนที่ 15 นิสัยผมถ้าอะไรที่ไม่แน่ใจเต็มร้อย ผมจะเข้าไปลงทุนด้วยเงินก้อนน้อยๆก่อน ยิ่งถ้าเป็นหุ้นเก็งกำไร จะเล่นเป็นรอบ จะไม่ทุ่มสุดตัว และไม่ถือยาว
  • ตอนที่ 16 คำว่า "ข่าวลือ" คุณต้องแอบพูดในที่ "ลับ" ถ้ามากระจายให้มหาชนรับรู้...มาบอกนักข่าว แสดงว่า "จบรอบ" แล้ว...คุณต้องทิ้ง
  • ตอนที่ 17 ถ้าจะเล่น "หุ้นปั่น" เราต้องซื้อน้อยๆ เกาะตู้เย็น หาค่ากับข้าวได้ แต่อย่าไปเล่นแรง อย่าไปทุ่ม เดี๋ยวเจ้ามือมันจะโยนหุ้นใส่เรา
  • ตอนที่ 18 กรณีที่หุ้นจะปรับตัว "ลงแรง" วอลุ่มมักจะทำ "พีค" ก่อน ให้สังเกตว่ารายย่อยจะแห่เข้าใส่แบบไม่ลืมหูลืมตา เวลาที่หุ้นปรับตัวมันจะ "ลงลึก"
  • ตอนที่ 19 ในช่วงของการสะสมหุ้น ถ้าเป็น "หุ้นดี" ให้สังเกตฝั่ง Bid จะน้อย แต่ฝั่ง Offer จะเยอะ ภาวะอย่างนี้คือช่วงที่ดัชนี SET ประมาณ ตี 4 ตี 5 คนยังเล่นหุ้นไม่เต็มตัว เขาจะรอรับ แต่ไม่ไล่ราคา
  • ตอนที่ 20 "เฮียประธาน" เขาเป็นเจ้าของคอร์ทแบดมินตัน อยู่แถวถนนบางรัก ฉายาเขาคือ "พญาอินทรี" ถ้าวันไหนที่พวกเรา "เละ" หรือ "เจ๊ง" กันหมด เขาจะบินมาเลย...เขาจะมาซื้อหุ้น
  • ตอนที่ 21 การอ่านอารมณ์ตลาด ถ้า "รายย่อย" สงบเสงี่ยมเจียมตัว "ฝรั่ง" ไม่เข้า บอกได้เลยว่า เล่นหุ้นไม่ได้ตังค์ ถ้าจะเล่นหุ้นได้กำไร รายย่อยต้องมีจุดมั่นใจ นักเก็งกำไรแห่กันเข้ามาเล่นตามน้ำ ตลาดแบบนี้ "ได้ตังค์"
  • ตอนที่ 22 ถ้าเราเทรดหุ้นทุกวัน สมองมันไม่มีจุดคิด การตัดสินใจบ่อยมันพลาดได้ง่าย คุณต้องรอจังหวะ รอให้เครื่องมือทางเทคนิคยืนยัน แล้วทุกคนเริ่มกลัวกันหมด ตรงนั้นคือจุดที่ปลอดภัยที่สุด ซื้อเสร็จก็ใส่ปี๊บเอาไว้
  • ตอนที่ 23 ถ้าคิดจะ "สร้างราคาหุ้น" แล้วไม่ให้วงแตก มือทำหุ้นที่เป็นมืออาชีพ เขาจะบอกเจ้าของหุ้นว่า คุณต้องโอนหุ้นมาให้ก่อน แล้วต้องเอาเงินมาให้ด้วย...ล้านเปอร์เซ็นต์เลย ถึงจะสำเร็จ !!!
  • ตอนที่ 24 พูดตรงๆผมเคยเล่นหุ้นปั่น วันที่ผมขายหมด บางคนไม่ได้ขาย ผมเสียเพื่อนไปก็หลายคน เสียน้องไปก็หลายคน สุดท้ายมันไม่ได้อะไรขึ้นมา มันไม่คุ้มหรอก...เชื่อผมสิ!!!
  • ตอนที่ 25 วิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" ส่วนตัวมองว่า "มันเสี่ยง" บางทีหุ้นลงก็ต้องถือ เพราะคุณคิดว่าพื้นฐานมันไม่เปลี่ยน เดี๋ยวมันก็ต้องกลับมา แต่เมื่อไรล่ะ!! ถ้าคุณไม่ Cut Loss ตอนหุ้นลง มันเสียโอกาส
  • ตอนที่ 26 ลักษณะตลาดหุ้นที่แกว่งตัวออกด้านข้างและไม่มีข่าวดีอะไรใหม่ๆเข้ามาในตลาด คนที่เล่นหุ้นแล้วได้ตังค์ ต้อง "เล่นรอบ" คือ เล่นหุ้นแบบ "ปิงปอง" จะได้เปรียบ แต่อย่าไปทุ่มเทอะไรกับมันมาก
  • ตอนที่ 27 วอร์แรนท์ที่ราคาแปลงสภาพ "ต่ำกว่าหุ้นแม่" ยิ่งเหลืออายุน้อย เจ้ามือยิ่งกดรายย่อยให้ปล่อยหุ้นออกมา เพราะเขารู้ว่าไม่มีเงินไปแปลงสภาพแน่ เขาก็บีบซื้อราคาถูกเอาไปแปลงสภาพเอง
  • นอกจากนี้ "เสี่ยยักษ์" ยังมีเคล็ดไม่ลับ ที่อยากฝากแฟนๆ "ถนนนักลงทุน" อีก 5 ข้อ "คำพูดที่ผมอยากจะฝากไว้ จำเอาไว้เลยนะ..."

    1. อย่าตามหลังมวลชน
    2. จุดที่มั่นใจที่สุด คือ จุดที่อันตรายที่สุด
    3. จุดที่อันตรายที่สุด คือ จุดที่ปลอดภัยที่สุด นั่นคือ ประมาณ "ตี 5" ถึง "ตี 5 ครึ่ง" (ก่อนฟ้าสาง)
    4. อย่าคิดคนเดียว อย่าตอบคำถามคนเดียว อย่าเล่นหุ้นคนเดียว และ
    5. คนเล่นหุ้นให้ชนะ ต้องเลิกนิสัย "ถามเอง-ตอบเอง-เออเอง" สุดท้าย "เจ๊งลูกเดียว"



    Create Date : 02 กันยายน 2556
    Last Update : 2 กันยายน 2556 8:07:34 น.
    Counter : 2994 Pageviews.

    0 comment
    1  2  3  4  

    PR Real Estate
    Location :
    กรุงเทพฯ  Thailand

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



    สวัสดีครับผมภาวิช
    ยินดีต้อนรับทุกท่าน