ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

กลั้นอุจจาระ“ไม่อยู่”โรคที่ต้องใส่ใจ

รายงานจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบมีประชากรประมาณ 1 ใน 12 คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ ซึ่ง นพ.อัฑฒ์ หิรัณยากาศ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า

ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่เป็นโรคที่พบได้บ่อย ทั้งนี้อุบัติการณ์จะพบมากขึ้นในสตรีหลังคลอดแบบธรรมชาติ ประมาณ 1 ในทุกๆ 4 คนของสตรีหลังคลอดจะมีปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่า อุบัติการณ์อาจเพิ่มสูงขึ้นในสตรีสูงอายุเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน หรือเข้าสู่วัยทอง เชื่อว่าในช่วงเวลานี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ประกอบกับการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ จะส่งผลโดยตรงให้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ซ่อนอยู่เดิม สามารถแสดงอาการที่ชัดเจนขึ้นได้ โดยอาการอาจเริ่มต้นจากปัญหาการกลั้นลม ตามมาด้วยการกลั้นอุจจาระเหลวๆ ไม่ได้ จนในที่สุดไม่สามารถกลั้นอุจจาระที่เป็นก้อนได้

สาเหตุของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่ อาจเกิดจากการบาดเจ็บของอุ้งเชิงกรานขณะคลอดบุตร ซึ่งอาจมีผลต่อเส้นประสาทหรือตัวกล้ามเนื้อหูรูดเอง เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดกับช่องคลอดที่อยู่ติดกัน อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบทวารหนัก กระดูกอุ้งเชิงกรานหัก กล้ามเนื้อหูรูดฉีก ในความเป็นจริงมีผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่อยู่อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่กล้ามาพบแพทย์ ด้วยความกังวล หรืออาย ทำให้ต้องแบกรับทุกข์หนัก และไม่มีความมั่นใจในการเข้าสังคมไปตลอดชีวิต

อาการกลั้นอุจจาระไม่ได้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มีอุจจาระออกมาเปื้อนกางเกงชั้นในโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากอาการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน และกลุ่มที่ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้นานพอ ทั้งนี้เมื่อมีความรู้สึกอยากจะถ่ายมักไปห้องน้ำไม่ทัน สาเหตุของอาการในกลุ่มนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก นอกจากนี้การกลั้นอุจจาระไม่อยู่ยังรวมไปถึงการมีอุจจาระออกมาโดยไม่ตั้งใจ เช่น การมีอุจจาระออกมาในขณะผายลม สำหรับแนวทางการรักษาหากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถฝึกกล้ามเนื้อหูรูดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ด้วยการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ร่วมกับการปรับอาหาร และอาจมีการใช้ยาช่วย

“อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายและการปรับพฤติกรรมดังกล่าวอาจได้ผลในผู้ป่วยส่วนหนึ่งเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องต่อไป” ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักกล่าว และอธิบายว่า การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่นั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ ตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ตรวจวัดความดันภายในทวารหนัก การวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดด้วยคลื่นไฟฟ้า และเครื่องมือประเมินการทำงานของเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักและอุ้งเชิงกราน ทั้งนี้การตรวจอย่างละเอียดและเป็นระบบ จะช่วยในการวินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาอย่างแม่นยำ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายได้

ถึงแม้โรคนี้จะดูไม่น่ากลัวเหมือนโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ แต่ผู้ป่วยมีความผิดปกติดังกล่าวจะประสบปัญหา ทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ฉะนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่กำลังประสบกับปัญหานี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนเกินกว่าจะแก้ไขได้ นพ.อัฑฒ์กล่าวทิ้งท้าย.


//www.jaowka.com



Create Date : 29 กันยายน 2555
Last Update : 29 กันยายน 2555 21:35:36 น. 0 comments
Counter : 5837 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]