ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เปิดใจ อั้ม เนโกะ สาวโพสท่ากับรูปปั้น ปรีดี ชี้เป็นเสรีภาพ

อั้ม เนโกะ โพสท่ากับรูปปั้น ปรีดี
อั้ม เนโกะ โพสท่ากับรูปปั้น ปรีดี


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Instagram prypansang 

อั้ม เนโกะ สาวโพสท่ากับรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ที่กำลังถูกวิจารณ์ เปิดใจ ทุกคนมีเสรีภาพ มีความเท่าเทียมกัน เหตุใดจึงให้ความศักดิ์สิทธิ์กับรูปปั้นมากกว่า ด้านอธิการฯ สั่งสอบแล้ว

          จากกรณีที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างกว้างขวางและรุนแรง กรณีรูปของหญิงสาวรายหนึ่งโพสต์รูปถ่ายลงบนเฟซบุ๊กในลักษณะท่าทางไม่เหมาะสมกับรูปปั้นของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมเขียนคำบรรยายใต้รูปภาพไว้ว่า " ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายห​มิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน" เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (15 พฤษภาคม) นั้น

          ล่าสุด วันนี้ (16 พฤษภาคม) ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ อั้ม เนโกะ หญิงสาวในภาพดังกล่าวที่กำลังเป็นที่กล่าวขานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสอบเข้าได้เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ในปีนี้ ซึ่งเธอได้เปิดใจถึงเรื่องดังกล่าวว่า

          วันที่ถ่ายรูปดังกล่าวเป็นวันปรีดี (11 พฤษภาคม) ที่บริเวณรูปปั้นด้านล่างมีคนมาวางพาน พวงมาลา กราบไหว้อาจารย์ปรีดี เมื่อรุ่นพี่ได้พาเดินทัวร์ตึกโดม ตนได้เห็นรูปปั้นอาจารย์ปรีดี จึงอยากลองทำอะไรท้าทายกระแสสังคมดูบ้าง ตอนถ่ายอยากให้ Cult โดยมีคำถามว่า "ถ้าเราเท่ากัน ทำไมจึงต้องทำให้อาจารย์ปรีดีกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์"

          ทั้งนี้ เธอชี้แจงต่อไปว่า เหมือนเราให้ความสำคัญอาจารย์ปรีดี ในฐานะคนที่มากกว่าคน สร้างความศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปหรือเปล่า อาจารย์ปรีดีไม่ได้เป็นคนที่วิเศษวิโส วิจารณ์ได้ หากกลุ่มที่มีแนวคิดเสรีนิยมยังมีข้อยกเว้น ไม่วิพากษ์วิจารณ์อาจารย์ปรีดี ซึ่งมีแนวคิดเสรีนิยม แล้วจะใช้หลักการวิจารณ์โดยเท่าเทียมกันได้อย่างไร และเธอได้ตั้งคำถามด้วยว่า "Liberal เป็นอะไรไปแล้ว"

          พร้อมกันนี้ อั้ม เนโกะ ยังกล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตว่า ตอนนี้ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เพราะช่วงนี้ต้องเตรียมเอกสาร สอบสัมภาษณ์ แต่หากมีคำด่า หรือวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงตนก็พร้อมที่จะยอมรับ  และถ้าวันหนึ่งตนเกิดไปทำความดีอะไรเข้า แล้วมีรูปปั้นและมีคนมากระทำชำเรารูปปั้น ตนก็ไม่แคร์อะไร เพราะเป็นแค่หุ่นธรรมดา อย่างกรณีที่มีการรุมประชาทัณฑ์ คนทุบพระพรหมจนถึงแก่ความตายนั้น เราควรให้ความสำคัญกับอะไร ระหว่างหินที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยชุดความเชื่อหนึ่งกับชีวิตคน ทำไมจึงมีการสร้างความชอบธรรมให้คนที่รุมประชาทัณฑ์ ทั้งที่มีกระบวนการทางกฎหมายอยู่แล้ว ทำไมจึงไม่มีการจัดการกับวิถีคนที่ละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิในชีวิตคน ๆ หนึ่งจนถึงแก่ความตาย ซ้ำคนเหล่านั้นยังได้รับการยกย่องว่าปกป้องศาสนา

ขณะเดียวกัน นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งให้สอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้แล้ว พร้อมกับระบุด้วยว่า มหาวิทยาลัยดูแลทุกเรื่อง ไม่ต้องกลัว


ลูกแม่โดมจวกเละ! สาวยกขา-เกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์





ชาวเน็ตวิจารณ์กระหน่ำ สาวเทียมโพสท่ายกขา-เกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ชี้มีสิทธิและเสรีภาพได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของความเหมาะสม

              ช่วงเย็นวานนี้ (15 พฤษภาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คกันอย่างกว้างขวางและรุนแรง กรณีหญิงสาวรายหนึ่งโพสต์รูปถ่ายลงบนเฟซบุ๊ก ผ่านทางโทรศัพท์มือถือในลักษณะท่าทางไม่เหมาะสม โดยใส่กางเกงขาสั้น นั่งยกขาชันเข่าข้างหนึ่ง แล้วนำมือไปแตะบนบ่า รูปปั้นของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมเขียนคำบรรยายใต้รูปภาพไว้ว่า " ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายห​มิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน"

              ทั้งนี้ หลังจากที่มีการโพสต์รูปดังกล่าว บรรดาเพื่อนที่เป็นสมาชิกในเฟซบุ๊กได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงชื่นชมและหยอกล้อ ต่อมา ก็มีสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเข้าไปแสดงความเห็นเชิงต่อว่าในความไม่เหมาะสมไม่รู้จักกาลเทศะ โดยระบุว่า แม้จะมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก แต่ต้องอยู่บนความเหมาะสม

และที่เป็นที่ฮือฮามากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อรูปภาพดังกล่าว ตามข้อความดังนี้...

   "หุหุ เท่ห์ดี เดี๋ยวเอาไปโปสเตอร์ โฆษณา 24 มิถุนา หรือวันสถาปนา (27 มิถุนา) ที่กำลังจะมาถึงดีกว่า" และ "ว่าแต่ว่า ไอ้รูปปั้นนี่ มันอยู่ตรงไหนนะ ผมไม่รู้จริง ๆ เห็นไปถ่ายกันมา 2 คนแล้ว"

              โดยเจ้าของเฟซบุ๊กรายนี้ ก็ได้เข้ามาตอบว่า... "อยู่ชั้นสองบนตึกโดมค่ะอาจา​รย์ ข้างบนมีพิพิธภัณฑ์แจ่มมากค่​ะ ปล.หนูซิ่วไปอยู่ศิลปศาสตร์​ มธ. แล้วนะอาจารย์ แต่เอกเยอรมันคะ :))"

  อย่างไรก็ตาม สำหรับรูปภาพดังกล่าวขณะนี้มีการส่งต่ออย่างแพร่หลายไปยังสังคมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจต่อการกระทำของบุคคลดังกล่าว โดยเฉพาะศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้มีการจัดการกับตัวผู้โพสต์ เนื่องจากประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นสัญลักษณ์บุคคลที่ชาวธรรมศาสตร์ให้ความเคารพและยึดมั่นในอุดมการณ์เป็นอย่างยิ่ง

              และล่าสุด เมื่อช่วงคืนที่ผ่านมา (15 พฤษภาคม) ที่เฟซบุ๊กของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

             "จริง ๆ ผมเซอร์ไพรส์มาก ๆ นะที่รูปคุณ ..... (ไม่ระบุชื่อ ตามเหตุผลที่บอกในกระทู้ข้างล่าง แต่เขามีตัวตนจริงๆ วันก่อนยังเจอหน้าในงาน ดร.หยุด อยู่) "ถ่ายคู่" กับ รูปปั้นปรีดี กลาย "เป็นเรื่อง" ขึนมาได้ ...ปรีดี กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ไปได้ไง  แล้วพูดก็พูดเถอะ บรรดาคนที่มา "เซนซิทีฟ" มาก ๆ โดยเฉพาะใครที่เรียน มธ. น่ะ โทษที เคยศึกษาประวัติศาสตร์บ้างไหมว่า กว่าปรีดีจะกลายมาเป็นอะไรที่ "เว่อร์ ๆ " ขนาดนี้ มันมีความเป็นมายังไง

มหาลัยที่ปรีดีตั้งเอง ไม่กล้าแม้แต่เอ่ยถึงชื่อ ปรีดีเป็นเวลาหลายสิบปี ยังไง? แม้แต่ชื่อ ห้องสมุดที่ตอนนี้ ตั้งเป็นชื่อปรีดีน่ะ ตอนที่เริ่มมีประเพณีตั้งชื่อแบบนี้ ปรีดีไมใช่ ชื่อแรกด้วยซ้ำที่มีการตั้งกัน มีการตั้งชื่อ สัญญา ธรรมศักดิ์ ก่อนด้วยซ้ำ เพราะไม่กล้าขนาดนั้น ชื่อปรีดี ตั้งตามหลัง "ห้องสมุดสัญญา" ถึง 8 ปี ตามหลัง "ห้องสมุดป๋วย" ถึง 5 ปี  บอกตรง ๆ อย่าดัดจริตมากไปครับ"

     ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน)



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



Create Date : 16 พฤษภาคม 2555
Last Update : 16 พฤษภาคม 2555 20:01:02 น. 0 comments
Counter : 2268 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]