All Blog
การให้นมในทารกแรกเกิด ถึง 3 เดือนแรก
การให้นมในทารกแรกเกิด ถึง 3 เดือนแรก

ในช่วงแรกน้ำนมแม่อาจจะออกมาไม่เพียงพอสำหรับลูกน้อย ถ้าจะให้นมผสมสำหรับทารก เสริมควรป้อนด้วยถ้วยเล็กให้ลูกดื่ม ไม่ควรให้ดูดจุกนม เพราะเด็กจะไม่ยอมดูดนมแม่อีก การเลี้ยงดูในช่วงแรกนี้ง่ายเพราะ ลูกจะกินอิ่มแล้วนอนหลับไปเป็นส่วนใหญ่

หลักการให้นม
- ควรเลี้ยงทารกแรกเกิดถึงอายุ 3 เดือน ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะนมแม่เป็นอาหารทีดี่ที่สุด มีสารอาหารครบถ้วนทางโภชนาการ รวมทั้งให้จุลินทรีย์สุขภาพซึ่งช่วยให้ภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ และป้องกันการดูดซึมสารแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และเพิ่มความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูก รวมทั้งช่วยสะอาดและประหยัด แม่ทุกคนจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

- การเริ่มให้นมลูกนั้นจะ ประสบความสำเร็จด้วยดีโดย ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง 3-4 สัปดาห์ต่อมาให้นมทุก 3-4 ชั่วโมง แต่ละครั้งประมาณ 5-15 นาที เราจะรู้ได้ว่ามีน้ำนมแม่ให้ลูกเพียงพอ โดยสังเกตเห็นว่าขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง จะมีน้ำนมพุ่งออกจากหัวนมอีกข้างหนึ่ง เมื่อลูกกินอิ่มจะหลับสบาย กินนมแม่จะถ่ายบ่อย อุจจาระสีเหลืองทอง ลักษณะเหลวเป็นฟองมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เติบโตดี

- แม่ที่ทำงานนอกบ้านควรให้นมแม่อย่างเต็มที่ในระยะพักหลังคลอด เมื่อกลับไปทำงานก็จะให้นมแม่ได้ ในเวลาเช้ากับกลางคืน และบีบนมใส่ขวดสะอาดไว้ให้ลูก สำหรับช่วงกลางวัน หากจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลง สำหรับทารกจะต้องผสมให้ถูกส่วน และดูแลทำความสะอาดด้วยการนึ่งหรือต้มขวดนม และจุกในน้ำเดือดนาน 10 นาที

- เมื่อทารกอายุครบ 3 เดือนแล้วจึงเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เริ่มให้ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยครูดครั้งละประมาณ 1-6 ช้อนชา วันละครั้งแล้วให้ดูดนมตามจะอิ่ม



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 11:59:21 น.
Counter : 468 Pageviews.

0 comment
การหัดให้ลูกกินอาหารเอง การหัดให้ลูกกินอาหารเอง เป็นการหัดความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตด้วยตนเองของเด
การหัดให้ลูกกินอาหารเอง

การหัดให้ลูกกินอาหารเอง เป็นการหัดความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตด้วยตนเองของเด็ก เป็นการเตรียมตัวไปใช้ชีวิตนอกบ้านเมื่อโตขึ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ป้อนอาหารให้เหมือนใน วัยทารก
ตามปกติแล้วเมื่อเด็กอายุได้ 8-9 เดือน เด็กจะเริ่มนั่งตัวตรงได้เอง และมีความสามารถใช้ มือหยิบอาหารเข้าปากได้ เพราะตามธรรมชาติของเด็ก เมื่อเห็นสิ่งใดๆ ก็ตาม ก็มักจะหยิบมาดู แล้วก็เอาใส่ปาก
ฉะนั้นเมื่อลูกอายุได้ 8-9 เดือน พ่อแม่อาจเริ่มหัดให้ลูกกินอาหารเอง โดยให้ลูกหยิบอาหาร ที่หยิบได้ง่ายและเคี้ยวง่าย ละลายง่าย (ไม่เหลือเป็นก้อนๆ ให้เสี่ยงต่อการติดคอ) เช่น ขนมปังกรอบ หรือผลไม้ชิ้นเล็กๆ ที่นุ่มๆ เคี้ยวง่ายๆ เช่น มะละกอสุก ให้ลูกกินได้หยิบกินเองได้โดยใช้นิ้วมือ
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ พ่อแม่ก็คงต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารที่ลูกจะกิน ก็ควรพาลูกไปล้างมือก่อน จึงจะยอมให้หยิบของกินใส่ปาก และเมื่อกินเสร็จก็ต้องพาลูกไปล้างมือ ล้างปาก เช็ดมือเช็ดปากทุกครั้ง ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการสอนให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาด และสุขอนามัยส่วนบุคคลเบื้องต้น
ถ้าพ่อแม่หัดให้ลูกหยิบอาหารกินเองได้ ต่อไปก็หัดจับถ้วยแก้ว (มีหู 2 ข้างให้จับง่าย) ดื่มน้ำเอง เมื่อดื่มได้ดีแล้ว ไม่สำลัก ก็หัดให้ดื่มของเหลวอื่นๆ จากถ้วยแก้ว ตลอดไปจนถึงการ ดื่มนมจากแก้ว เพื่อจะได้เตรียมเลิกดูดนมต่อไป
ถ้าพ่อแม่หัดให้ลูกมีส่วนร่วมในการหยิบอาหารกินเองตั้งแต่อายุ 8-9 เดือนดังกล่าว ลูกก็จะ สนใจกินอาหาร เพราะเหมือนกับว่าพ่อแม่อนุญาตให้ลูกเล่นอาหาร
เด็กก็สนใจอยากจะ "เล่น" ต่อไป โดยพ่อแม่ให้ลูกจับช้อน ซ้อม ไว้ตักหรือจิ้มอาหารกินเอง บ้าง ในขณะเดียวกันพ่อแม่คอยช่วยให้ลูกตักอาหารได้
ถ้าพ่อแม่ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่กินอาหาร ลูกก็จะค่อยๆ เรียนรู้วิธีการกินอาหารที่ถูกต้อง ตักอาหารกินเองได้เรียบร้อยภายในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งจะทำให้เด็กมีความภูมิใจในความสามารถ ของตนเอง และรับผิดชอบตัวเองในการกินอาหารต่อไป
การจัดอาหารหลายๆ อย่าง สลับเปลี่ยนให้ลูกก็จะทำให้ลูกเรียนรู้การกินอาหารที่ครบถ้วน ได้ทุกชนิดและไม่เลือกอาหาร
ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทำหกเลอะเทอะ โดยพ่อแม่คอยช่วยลูกแต่ไม่ต้องเป็นคนทำเสียเอง
ฉะนั้นการเริ่มหัดให้ลูกกินอาหาร ควรเริ่มตั้งแต่อายุ 8-9 เดือน และหัดไปเรื่อยๆ ทุกครั้ง ที่กินอาหาร ก็จะทำให้เด็กมีความสามารถที่จะตักอาหารกินได้เอง เป็นการพัฒนาการรับผิดชอบ ภาระกิจส่วนตัวของตนเองอย่างอื่นต่อไป


การหัดให้ลูกกินอาหารเอง เป็นการหัดความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตด้วยตนเองของเด็ก เป็นการเตรียมตัวไปใช้ชีวิตนอกบ้านเมื่อโตขึ้น โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ป้อนอาหารให้เหมือนใน วัยทารก
ตามปกติแล้วเมื่อเด็กอายุได้ 8-9 เดือน เด็กจะเริ่มนั่งตัวตรงได้เอง และมีความสามารถใช้ มือหยิบอาหารเข้าปากได้ เพราะตามธรรมชาติของเด็ก เมื่อเห็นสิ่งใดๆ ก็ตาม ก็มักจะหยิบมาดู แล้วก็เอาใส่ปาก
ฉะนั้นเมื่อลูกอายุได้ 8-9 เดือน พ่อแม่อาจเริ่มหัดให้ลูกกินอาหารเอง โดยให้ลูกหยิบอาหาร ที่หยิบได้ง่ายและเคี้ยวง่าย ละลายง่าย (ไม่เหลือเป็นก้อนๆ ให้เสี่ยงต่อการติดคอ) เช่น ขนมปังกรอบ หรือผลไม้ชิ้นเล็กๆ ที่นุ่มๆ เคี้ยวง่ายๆ เช่น มะละกอสุก ให้ลูกกินได้หยิบกินเองได้โดยใช้นิ้วมือ
ซึ่งการกระทำเช่นนี้ พ่อแม่ก็คงต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารที่ลูกจะกิน ก็ควรพาลูกไปล้างมือก่อน จึงจะยอมให้หยิบของกินใส่ปาก และเมื่อกินเสร็จก็ต้องพาลูกไปล้างมือ ล้างปาก เช็ดมือเช็ดปากทุกครั้ง ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการสอนให้เด็กรู้จักรักษาความสะอาด และสุขอนามัยส่วนบุคคลเบื้องต้น
ถ้าพ่อแม่หัดให้ลูกหยิบอาหารกินเองได้ ต่อไปก็หัดจับถ้วยแก้ว (มีหู 2 ข้างให้จับง่าย) ดื่มน้ำเอง เมื่อดื่มได้ดีแล้ว ไม่สำลัก ก็หัดให้ดื่มของเหลวอื่นๆ จากถ้วยแก้ว ตลอดไปจนถึงการ ดื่มนมจากแก้ว เพื่อจะได้เตรียมเลิกดูดนมต่อไป
ถ้าพ่อแม่หัดให้ลูกมีส่วนร่วมในการหยิบอาหารกินเองตั้งแต่อายุ 8-9 เดือนดังกล่าว ลูกก็จะ สนใจกินอาหาร เพราะเหมือนกับว่าพ่อแม่อนุญาตให้ลูกเล่นอาหาร
เด็กก็สนใจอยากจะ "เล่น" ต่อไป โดยพ่อแม่ให้ลูกจับช้อน ซ้อม ไว้ตักหรือจิ้มอาหารกินเอง บ้าง ในขณะเดียวกันพ่อแม่คอยช่วยให้ลูกตักอาหารได้
ถ้าพ่อแม่ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่กินอาหาร ลูกก็จะค่อยๆ เรียนรู้วิธีการกินอาหารที่ถูกต้อง ตักอาหารกินเองได้เรียบร้อยภายในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งจะทำให้เด็กมีความภูมิใจในความสามารถ ของตนเอง และรับผิดชอบตัวเองในการกินอาหารต่อไป
การจัดอาหารหลายๆ อย่าง สลับเปลี่ยนให้ลูกก็จะทำให้ลูกเรียนรู้การกินอาหารที่ครบถ้วน ได้ทุกชนิดและไม่เลือกอาหาร
ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะทำหกเลอะเทอะ โดยพ่อแม่คอยช่วยลูกแต่ไม่ต้องเป็นคนทำเสียเอง
ฉะนั้นการเริ่มหัดให้ลูกกินอาหาร ควรเริ่มตั้งแต่อายุ 8-9 เดือน และหัดไปเรื่อยๆ ทุกครั้ง ที่กินอาหาร ก็จะทำให้เด็กมีความสามารถที่จะตักอาหารกินได้เอง เป็นการพัฒนาการรับผิดชอบ ภาระกิจส่วนตัวของตนเองอย่างอื่นต่อไป



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 11:58:22 น.
Counter : 662 Pageviews.

0 comment
การฝึกนิสัยการกินในเด็กเตาะแตะ
การฝึกนิสัยการกินในเด็กเตาะแตะ

เคล็ดลับในการฝึกให้เด็กมีนิสัยการกินอาหารที่ดี


- ควรจัดเวลาการกินอาหารให้แน่นอน อย่าให้ตรงกับเวลาที่เด็กง่วงนอน ถ้าเป็นเด็กโตต้องกำหนดช่วงเวลากินไว้ เช่น อาหารเช้าประมาณ 20-30 นาที อาหารเย็นประมาณ 30-40 นาที

- ห้องที่รับประทานอาหารควรสงบ ปราศจากสิ่งดึงดูดความสนใจจากการกิน ไม่ควรชวนให้เด็กเล่น หรือหัวเราะขณะกินอาหาร

- อาหาร ควรมีลักษณะสีสันน่ากิน ปริมาณที่ตักในครั้งหนึ่งๆ ไม่มากจนเกินไป

- ภาชนะที่ใส่อาหารควรมีสีสันชวนมอง ในระยะแรกที่เด็กหัดกินเอง ควรใช้ภาชนะที่มีขอบสูง เวลาเด็กใช้ช้อนตัก จะได้ไม่หกง่าย และไม่แตกง่าย ช้อนต้องมีด้ามยาวพอให้เด็กถือได้

- การให้อาหารใหม่แก่เด็ก ถ้าเป็นเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ควรป้อนคำแรกแต่น้อย พอให้เด็กรู้รส ในบางครั้งเด็กอาจบ้วนทิ้ง ให้ลองพยายามป้อนดูใหม่

- ถ้าเด็กเล่นอาหาร ขว้างปาช้อนหรือถ้วย หรือร่ำไรในการกิน ให้เก็บชามอาหารขึ้น เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อต่อไป เด็กก็จะกินอาหารได้มากขึ้น

- พ่อแม่ ควรใจเย็นเมื่อป้อนอาหารเด็ก อย่าแสดงสีหน้าเป็นกังวลให้ปรากฏ หรือใช้คำพูด หรือทำตัวอย่างการกินที่ไม่ดีให้เด็กเห็น

- เมื่อเด็กนั่งได้ดี และพอจะตักอาหารเข้าปากตนเองได้ ควรมีโอกาสกินข้าวพร้อมครอบครัวสัก 1 มื้อต่อวัน เพื่อเรียนรู้วิธีการกินจากคนอื่น และให้มีคนหนึ่งคอยช่วยเหลือ และแนะนำอาหารที่เป็นประโยชน์ให้เด็ก

- ไม่ควรเร่งเด็ก ดุ ว่า หรือให้สินบนเมื่อเด็กกินอาหาร ควรให้คำแนะนำแก่เด็กมากกว่า

- เวลากินอาหาร ควรเป็นเวลาที่มีความสุข ไม่ควรดุว่าเด็กก่อน หรือระหว่างการกินอาหาร



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 11:57:51 น.
Counter : 538 Pageviews.

0 comment
การปฏิเสธอาหาร ธรรมชาติของเด็กวัย 9-16 เดือน
การปฏิเสธอาหาร ธรรมชาติของเด็กวัย 9-16 เดือน

คุณพ่อคุณแม่ที่เหนื่อยกับปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว หรือ กินน้อยลงเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน คุณทราบหรือไม่คะว่า สาเหตุที่เด็กดูเหมือนกินข้าวน้อยลงเมื่อโตขึ้นหลัง 9 เดือน ขึ้นไปนั้น เป็นธรรมชาติของเด็กค่ะ

เด็กวัย 9-16 เดือน เป็นวัยที่เขาเริ่มหัดเดิน หรือ เริ่มเดินได้ เป็นวัยที่เริ่มสำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งประจวบเหมาะกับเวลาที่เขาเริ่มให้ความสนใจในการกินอาหารน้อยลง ก็จะมีเวลากินอาหารได้อย่างไรละคะ เมื่อมีสิ่งรอบกายให้สำรวจเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด

ช่วยวัยนี้ เป็นช่วงการการเจริญเติบโตเขาชลอตัวลง ทำให้ให้ความต้องการอาหารลดลงจากเมื่อก่อน เขาดูเหมือนว่ากินอาหารน้อยลง เขาอาจจะกินอาหารได้ดีวันนี้ แต่วันรุ่งขึ้นอาจจะไม่ยอมกินอะไรเลยก็ได้ แต่คุณไม่ต้องกลุ้มใจไปค่ะ ลองคำนวณอาหารที่เขากินรวมกันทั้งอาทิตย์ซิคะ คุณจะแปลกใจที่คุณพบว่า ลูกของคุณกินอาหารได้ตามที่ร่างกายเขาต้องการ การคำนวณนั้น คุณควรจะต้องคำนวณอาหารประเภทของเหลว เช่น นม น้ำผลไม้ ลงไปด้วยเพราะอาหารเหล่านี้ก็ให้พลังงานแก่ร่างกาย

คุณจะทำอย่างไร
การเลี้ยงดูลูกในวัยนี้ต้องใช้การเมืองพอสมควรคะ การดุว่า หรือ บังคับให้กินข้าวนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ และอาจจะทำให้แกไม่กินหรือท้าทายมากขึ้น การสร้างบรรยากาศในการกินข้าวให้สนุกสนาน หาของกินที่แกชอบมาให้ทาน ให้แกมีโอกาสได้เลือกอาหารที่จะกิน หรือ ใช้มือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตนเอง จะมีโอกาสทำให้แกกินข้าวได้มากขึ้น การให้วิตามินเสริมก็อาจจะมีส่วนช่วยเติมวิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย แต่อย่าลืมว่าวิตามินนั้นเทียบไม่ได้กับการให้รับประทานอาหารที่ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกของคุณไม่ยอมกินอาหารเอามากๆ น้ำหนักไม่ขึ้น หรือ ผอมมาก ควรพาไปปรึกษาแพทย์ค่ะ




Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 11:57:17 น.
Counter : 601 Pageviews.

0 comment
Food for Brain
โอ้...แค่ชื่อเรื่องก็โกอินเตอร์เสียแล้วสิเรา อิ...อิ...คุณนายไฮโซขอเกาะกระแสเรื่องสมองๆ กะเขาด้วยนะคะฉบับนี้ แต่แหม...เรื่องเนี้ยสำคัญนะคะ
แค่เครื่องบินร่อนลงบนพื้นแผ่นดินไทย คุณนายไฮโซ ก็รู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจเสียเหลือเกินค่ะ เพราะคิดทึ้งคิดถึงบ้านเกิด ถึงไงก็บ้านเราเมืองเรานะคะ จะลุกเหินเดินไปไหนก็สะดวกยิ่งอาหารการกินด้วยแล้ว อยากกินอะไรนี่แทบจะเสกมาได้สารพัด อย่างหูฉลามเอย พระกระโดดกำแพงเอย อุ้ยแหม...พอพูดถึงเรื่องกิน คุณนายไฮโซชักจะหิวเสียแล้วสิ ท้องไส้ก็เริ่มปั่นป่วนชวนหาของกินมาเติมเต็มท้อง
แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ... ก่อนจะหยิบหาอะไรมากินกัน คุณนายไฮโซว่า ...มื้อนี้เราลองหาอาหารที่บำรุงเบรนของเรามากินกันดีกว่านะคะ เพราะเขาว่ากันว่า You are what you eat และคุณนายไฮโซก็อยากจะฉลาดมากๆ เสียด้วยสิ อย่างนี้ต้องเลือกอาหารกันหน่อยล่ะค่ะ ครั้นจะเลือกกินแต่อาหารรสชาติเลิศเหมือนเคยก็ไม่ได้เสียแล้ว
ตามตำราเขาว่าไว้ว่า อาหารบำรุงเบรนนั้นเริ่มมาตั้งแต่เราอยู่ในท้องแม่โน่นเลยล่ะค่ะ ตั้งแต่เราปฏิสนธิในท้องแม่นั่นแหละค่ะ เขาถึงย้ำกันนักย้ำกันหนาว่า แม่ท้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ที่สำคัญควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูงๆ อย่างเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เพราะโปรตีนเป็นอาหารชั้นดีสำหรับเซลล์สมองที่จะนำไปใช้ในการแบ่งตัวและเติบโตขยายใหญ่ขึ้น
ใครยังสงกะสัยอยู่ คุณนายไฮโซสามารถอธิบายสั้นๆ ได้นะคะว่า เซลล์สมองของเรามีทั้งอยู่ในช่วงแบ่งตัวเองและเติบโตขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ทีนี้สมมติว่าถ้าอาหารการกินโดยเฉพาะ “โปรตีน” หารอันโอชะของเซลล์สมองมาหล่อเลี้ยงไม่พอ การแบ่งตัวของเซลล์จะหยุดชะงักลง แทนที่จะแบ่งตัวเป็นแสนล้านเซลล์เหมือนเด็กคนอื่นๆ แต่กลับต้องหยุดลงเหลือประมาณไม่ถึงแสนล้านเซลล์ในช่วง 1 ขวบ
ครั้นพอเรานึกได้....เมื่อสายเสียแล้ว ว่าต้องบำรุงเบรนของลูกด้วยอาหารอย่าง “โปรตีน” นะ และเร่งโหมบำรุงลูกด้วยโปรตีนกันยกใหญ่เมื่อเขาอายุเลย 1 ขวบไปแล้ว ปฏิบัติการอย่างนี้เขาเรียกว่า “สายเกินแก้” ค่ะ เพราะช่วงทองของการแบ่งเซลล์ คือช่วงลูกอายุ 0-1 ปีหรือช่วงลูกรักอยู่ในท้องเรา และคลอดออกมาลืมตาดูโลกจนอายุครบ 1 ขวบเท่านั้น
หลังจากนั้นเซลล์สมองจะมีหน้าที่แค่เติบโตและขยายใหญ่ขึ้น แต่จะไม่มีการแบ่งเซลล์อีกต่อไปแล้วเรียกได้ว่าถ้าเซลล์กำลังแบ่งตัวเองอย่างสนุกสนานถึงจำนวนกว่า 9 หมื่นล้านเซลล์ แต่ปรากฏว่าอาหารมาหล่อเลี้ยงไม่พอ ต่อไปเซลล์สมองของลูกรักเราก็จะมีแค่ 9 หมื่นกว่าล้านเซลล์ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าเด็กคนอื่นๆ ที่ได้รับ “โปรตีน” อย่างเต็มที่ และเซลล์สมองของเขาก็จะมีจำนวนเซลล์เต็มพิกัดคือแสนล้านเซลล์
ผลลัพธ์ของลูกเราที่อาจไม่ได้รับ “โปรตีน” เต็มที่คือ มีอาการซึมเศร้า เอื่อยเฉื่อย และเชื่องช้าค่ะ เพราะร่างกายมีเซลล์สมองน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้การรับส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทของสมองช้าลง อึ๋ย...ฟังแล้วเป็นไงคะ แค่กินอาหรไม่พอในช่วงท้องนี่แหละสำคัญต่อเบรนของลูกเราเชียวนักล่ะ
ครั้นพอลูกคลอดออกมาแล้ว อาหารบำรุงเบรนอื่นๆ จะมีตั้งแต่...
 น้ำนมแม่ ฮั่นแน่...นมแม่สิแน่จริงค่ะ เพราะมีทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ช่วยพัฒนาเบรนและระบบประสาทให้ลูก ซ้ำยังมีภูมิต้านทานโรคแถมมาให้ในน้ำนมด้วยนะคะ
 วิตามินบี 1 ซึ่งจะบำรุงเซลล์สมองและเซลล์ประสาทให้แข็งแรง อย่างข้าวนี่แหละค่ะ ป้อนเข้าไปเถอะ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น หรือถ้าลูกเบื่อๆ ก็ให้กินขนมปัง เปลี่ยนบรรยากาศดูบ้าง หรือจะกระเถิบฐานะขึ้นมาหน่อยเป็นกินพาสต้าดูบ้างก็ไม่ว่ากันค่ะ
 วิตามินบี 5 อาหารอย่างปลาเอย หรือเป็ด ไก่ และวัวนี่สำคัญหมดเลยนะคะ แล้วถ้ากินผัก ผลไม้ และนมสดเข้าไปด้วยก็อุดมไปด้วยวิตามินบี 5 เหมือนกันค่ะ
 วิตามินบี 6 อาหารที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการสร้างเม็ดเลือดแดง จะมีอยู่ในไก่ ปลา หมู รวมทั้งเครื่องในสัตว์ ธัญพืช และเมล็ดถั่วต่างๆ
 วิตามินบี 12 อาหารบำรุงเนื้อเยื่อประสาท มีในไข่ เนื้อสัตว์ ปลา นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมอย่างพวกเนยแข็งและโยเกิร์ต
 กรดโฟลิกหรือโฟเลต มีมากในผักใบเขียว ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ผักโขม บร็อกโคลี่ คะน้า กะหล่ำปลี เห็ด ตับ มะขามเทศ แคนตาลูป มะนาว ส้ม กล้วย
 โอเมก้า 3 ที่มีอยู่มากในปลาทะเล อย่างปลาทูน่า ปลาทู ปลากระพงขาว ปลาสำลี หรือจะเป็นปลาจะละเม็ดขาวก็ได้ค่ะ
 แมกนีเซียม มีเยอะค่ะในอาหารอย่างถั่ว ผักใบเขียว และธัญพืชต่างๆ
 แคลเซียม มีความจำเป็นต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งคุณนายไฮโซอย่างดิฉันคงไม่ต้องบอกรายชื่ออาหารกันแล้วใช่ไหมคะ เพราะคงจะจำกันได้ว่าแคลเซียมมีมากในโยเกิร์ต นม เนยแข็ง และปลาเล็กปลาน้อย
 โปแตสเซียม มีมากในวัว หมูและปลาค่ะ ส่วนผลไม้จะมีมากในกล้วย ส้ม แคนตาลูป องุ่น สตรอว์เบอร์รี่ค่ะ
 เหล็ก ถ้าลูกรักขาดธาตุเหล็กมากๆ อาจมีผลกระทบกับไอคิวได้นะคะ และเหล็กมีอยู่ในเนื้อสัตว์ ตับ และเลือดสัตว์ค่ะ
โอ๊ะ...โอ๋ว... เห็นรายชื่ออาหารบำรุงเบรนนี้แล้ว จะรอช้ากันอยู่ใย แยกย้ายตัวใครตัวมันไปปรุงอาหารดังว่าให้ลูกสุดเลิฟกินกันเถอะค่ะ
(update 5 กรกฎาคม 2005)
[ ที่มา..นิตยสารรักลูก ปีที่ 23 ฉบับที่ 265 กุมภาพันธ์ 2548 ]




Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 11:54:11 น.
Counter : 416 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]