All Blog
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน.....จำเป็นแค่ไหน
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน.....จำเป็นแค่ไหน
ในยุคนี้คู่รักที่ตัดสินใจจะร่วมหอ สร้างครอบครัวใหม่ ไม่เพียงแต่มีความพร้อม ในความรักอันหนักแน่นมั่นคง และสถานะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังควรมีความพร้อมในเรื่องของ สุขภาพร่างกายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสังคมทุกวันนี้ เป็นสังคมของคนคุณภาพ
สิ่งหนึ่งที่ควรบรรจุเข้าไว้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของคู่รักก่อนวิวาห์พาชื่น ก็คือ การตรวจสุขภาพ ก่อนแต่งงาน (คนที่ไม่คิดจะแต่งก็ตรวจได้) เพราะคนที่แต่งงานส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ระหว่าง 17-40 ปี ในวัยนี้มักจะมีสุขภาพค่อนข้างดี หรือมีโรคประจำตัวแต่ยังไม่ปรากฏอาการ จึง ไม่ค่อยนึกถึงการตรวจสุขภาพมากนัก แม้แต่การตรวจสุขภาพประจำปีก็เช่นกัน ปัจจุบันมีโรคภัยต่างๆ ร้ายแรงไม่น้อยที่สามารถติดต่อกันได้ และยังไม่สามารถรักษาได้ บางโรคมีคนจำนวนมากเป็นพาหะ โดยที่ไม่รู้ตัว จะว่าไปการตรวจสุขภาพก็เท่ากับการป้องกันเพื่อช่วยลดความเสี่ยง และลดอัตราแทรกซ้อน ความเจ็บไข้ได้ป่วยของคู่สมรส ของมารดา และทารกในครรภ์ที่กำลังจะเกิดมา
โปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานมีมานานแล้วในโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ วัตถุประสงค์ ของการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานก็เพื่อป้องกันการมีโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส และเพื่อ การมีบุตรที่สมบูรณ์ เป้าหมายลึกๆ จึงเพื่อลดปัญหาครอบครัว และปัญหาสังคมในอนาคตนั่นเอง
ทีนี้มาทำความรู้จักกับโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อน แต่งงานดูว่ามีอะไรบ้าง โดยทั่วๆ ไป จะมีการตรวจที่เป็นพื้นฐานเดียวกัน ได้แก่ การตรวจหากรุ๊ปเลือด, ชนิดของเลือด Rh Factor, การเข้า กันของเลือด, ความสมบูรณ์ของเลือด, การตรวจหาเชื้อเอดส์ (Anti HIV), การตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL), การตรวจ หาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี (HBs Ag), ตรวจหา ภูมิคุ้มกันของหัดเยอรมัน เฉพาะในสตรี (Rubella lg G) นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านการวางแผน ครอบครัว การคุมกำเนิด เพศศึกษา เพื่อความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างชีวิตคู่ และบางแห่งอาจจะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค บางชนิดให้ด้วย เช่น หัดเยอรมัน
ตรวจอะไรกันบ้าง...
หมู่เลือด เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุ๊ปใด ปกติทุกคนควรจะทราบกรุ๊ปเลือดตัวเอง ชนิดของเลือด Rh Factor คนไทยทั่วไปจะมีชนิดเลือดที่เป็น Rh+ แต่ชาวตะวันตกจะเป็นชนิด Rh- คนไทยบางคนก็อาจพบได้ว่ามีชนิดเลือด Rh- ได้ และหากว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด มีเลือด Rh- ควรทราบไว้ก่อนซึ่งอาจจะเป็นผลดี เพราะเมื่อมีการตั้งครรภ์ ทำให้มีภาวะเสี่ยงที่จะแท้งได้สูงมาก ซึ่งหากพบแต่แรกแพทย์จะฉีดยาป้องกัน antibody ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูกเพื่อป้องกันไว้ก่อน ความเข้ากันของเลือด Hemoglobin Typing คือการตรวจหาความผิดปกติของฮีโมโกลบิน ที่เป็นสายพันธุ์ของเม็ดเลือดแดง ว่ามีความผิดปกติของโรคธาลาสซีเมีย (Thallassemia) หรือไม่ ธาลาสซีเมียเป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่สืบทอดทางพันธุกรรม และเป็นกันมากที่สุด ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเกิด ภาวะโลหิตจางมาก และหัวใจวายได้ คนไทยเป็นโรคนี้จำนวนมาก มีผู้ที่ไม่แสดงอาการแต่เป็นพาหะ ของโรคธาลาสซีเมียก็มากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่มีมากเกิน 15 % ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นพาหะทั้งคู่ ก็อาจทำให้เด็กในครรภ์เป็นโรคนี้ได้จริงๆ ถ้าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดเป็นพาหะ แต่อีกฝ่ายหนึ่งปกติดีก็ไม่ต้องกังวล ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 4 เดือน ก็ควรมาเจาะ น้ำคร่ำตรวจก็จะทำให้ทราบได้
นอกเหนือจากการตรวจรายละเอียดของเลือดข้างต้นแล้ว หัวใจของการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานก็คือการตรวจหา โรคติดต่อ ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อได้จากเลือด คือ เอดส์, ซิฟิลิส, รวมทั้งไวรัสตับอักเสบบี ทั้งหมดสามารถติดต่อ กันได้ทางเพศสัมพันธ์ คนไทย 100 คน ตรวจพบว่า 20 คน มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, 20 คน มีภูมิคุ้มกันโดยไม่เคยฉีด วัคซีน และอีก 60 คน ไม่พบเชื้อ จะเห็นว่าอัตราส่วนของ โรคค่อนข้างสูงทีเดียว ซึ่งหากตรวจพบก่อนแต่งงานว่า ไม่มีภูมิก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้เลย หรือหากตรวจพบว่า มีเชื้อ เมื่อฝ่ายหญิงตั้งครรภ์จะทำให้เกิดอาการรุนแรงได้
ในระยะยาวผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีโอกาสที่จะเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด ทารกที่คลอด จาก มารดาที่มีเชื้อจะได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิต้านทันทีหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน
หลังจากตรวจสุขภาพและมั่นใจว่าพร้อมจะแต่งงานกันแล้ว เรื่องที่คุณควรจะเรียนรู้คือ เพศศึกษา การคุมกำเนิด และวางแผนครอบครัว ให้ครบวงจรในคราวเดียว เพราะได้ประโยชน์ต่อครอบครัว ที่คุณกำลังจะสร้างขึ้นใหม่ไม่ใช่ใครอื่น เรื่องเหล่านี้คุณและคู่สมรสควรเข้าปรึกษาแพทย์พร้อมหน้ากัน ไม่ต้องเขินอายเพราะอีกไม่นานคุณก็จะต้องเกี่ยวพันกันอยู่แล้ว เรื่องใดที่ไม่ถ่องแท้ให้ใช้โอกาสนี้ สอบถามทำความเข้าใจจากแพทย์
เมื่อพร้อมเพรียงทุกอย่างแล้ว คุณก็จูงมือกันไว้ แล้วไปให้ถึงจุดหมายแห่งความรักที่คุณทั้งสองร่วมกัน สร้างขึ้น จงอย่างหวั่นไหวและระแวงหัวใจคนข้างๆ จับมือให้แน่น ผูกใจให้มั่น เป็นเพื่อนกันจนสุดท้าย ของชีวิต

ขอขอบคุณ
- นพ.มฆวัน ธนะนันท์กูล สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
- พญ.กาญจนา ชัยกิตติศิลป์ สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ



Create Date : 24 มิถุนายน 2553
Last Update : 24 มิถุนายน 2553 12:58:08 น.
Counter : 645 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]