All Blog
โภชนาการในระยะให้นม
โภชนาการในระยะให้นม


เพื่อสร้างน้ำนมให้ทารกปริมาณและคุณภาพของอาหาร สำหรับคุณแม่ ในระยะนี้มีความสำคัญต่อทารกมากเพราะในระยะหลังคลอด - 4 เดือนแรก ทารกจะได้รับน้ำนมแม่เป็นอาหารหลัก ปริมาณน้ำนมในช่วง 6 เดือนแรกจะมีประมาณ 700-850 มิลลิลิตรต่อวัน
ซึ่งจะมีผลต่อสารอาหารในน้ำนมโดยเฉพาะวิตามินต่างๆ จะลดลงด้วย ดังนั้นคุณแม่จึงจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารต่างๆ เพื่อใช้ผลิตเป็นน้ำนมให้ลูกน้อย และเสริมสร้างซ่อมแซมสุขภาพของคุณแม่ให้สมบูรณ์ดังนี้

โปรตีน
คุณแม่ต้องการอาหารโปรตีนเพื่อใช้ผลิตน้ำนมและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ที่สูญเสียไปในการคลอด หากคุณแม่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ
จะมีการสลายเนื้อเยื่อโปรตีนและไขมันมากขึ้นเพื่อนำมาใช้ผลิตน้ำนม จึงเป็นสาเหตุให้แม่เป็นโรคขาดพลังงานและโปรตีนทำให้มีน้ำนมไม่เพียงพอสำหรับทารก ทำใ้ห้ทารกเติบโตช้า น้ำหนักน้อย
คุณแม่ที่มีภาวะโภชนาการดีจะผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพดีวันละ 850 มิลลิลิตร และมีโปรตีน 10 กรัม คุณแม่จึงควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นจากปกติ 20 กรัมและต้องเป็นโปรตีนชั้นดีที่ได้จากสัตว์
แต่เนื่องจากหญิงไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักจึงได้โปรตีนจากข้าวซึ่งเป็นโปรตีนชนิดไม่สมบูรณ์ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้เต็มที่
คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ นม ปลา และถั่วเม็ดแห้ง เพืื่อให้ได้รับโปรตีนเพิ่มจากปกติ 40 กรัม
แคลอรี
น้ำนมที่ผลิตเลี้ยงลูกประกอบด้วยอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารหลายชนิด คุณแม่ต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายได้สะสมพลังงานไว้ในรูปของไขมันแล้ว หากคุณแม่สะสมพลังงานไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุให้มีการสลายเนื้อเยื่อต่างๆมาใช้เป็นพลังงานชดเชย ทำให้คุณแม่มีร่างกายทรุดโทรม อ่อนแอ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่เพิ่มพลังงานขึ้นจากปกติอีก 1,000 กิโลแคลอรี
อาหารที่ให้พลังงานได้แก่ข้าว แป้ง ไขมัน เนื้อสัตว์ นม ไข่ แต่คุณแม่ควรงด ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือของขบเคี้ยว ของทอด
เพราะอาจจำให้อ้วนได้
ปริมาณวิตามินสำคัญที่ควรได้รับในระยะช่วงให้นม
วิตามินที่ละลายในน้ำมัน
• วิตามินเอ
ในระยะให้นมคุณแม่ควรได้รับปริมาณวิตามินเออีกประมาณ 400 อาร์อี
และควรรรับประทานอาหารจำพวก ไข่แดง ตับ เนยเทียม นม น้ำมันตับปลา และจากพืช เบต้าแคโรทีนที่พบในผักใบเขียวจัดและเหลืองจัด เช่นคะน้า ผักขม ผักกาดขาวบร็อคโคลี่ แครอท มันเทศ ฟักทอง ผลไม้สีเหลือง แดง เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก
• วิตามินดี
คุณแม่ควรได้วิตามินดีเพิ่มจากอาหารประมาณ 200 หน่วยสากล
หากคุณแม่ไม่ได้รับแสงแดดเลย (คนปกติควรได้รับประมาณ 400 หน่วยสากล) นอกจากนี้ควรเลือกทานอาหารจำพวกไข่แดง น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ ยีสต์ ปลาน้ำเค็มที่มีไขมันสูง นมสดที่มีส่วนผสมของวิตามินดี
• วิตามินอี
คุณแม่ควรได้เพิ่มจากปกติอีกวันละ 3 มิลลิกรัม
อาหารที่มีวิตามินอีมากได้แก่ น้ำมันพืช ไข่แดง ไขมัน นม เนย เนื้อสัตว์และตับ
วิตะมินที่ละลายในน้ำ
• วิตามินซี
คุณแม่ควรได้รับเพิ่มจากปกติ 40 มิลลิกรัมต่อวัน
ระดับวิตามิืนซีจะลดลงเมื่อแม่ให้นมบุตรนาน 7 เดือนอาหารที่มีวิตามินซีได้แก่ผลไม้สด เช่น มะขามป้อม ฝรั่ง มะขาม ส้ม และัผักสดทุกชนิด เช่นกะหล่ำปลี มะเขือเทศ พริก ผักบุ้ง บร็อคโคลี ผักใบเขียว-เหลือง
• โฟเลซิน
คุณแม่ควรได้รับเพิ่มจากเดิม 100 ไมโรคกรัมต่อวัน
ถ้ามีโปรตีนเพียงพอโฟเลซินก็จะไม่ลดลงด้วย โฟเลซินมีมากในตับ ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ผักขม บร็อคโคลี มันเทศ ขนมปังที่ทำจากข้าวรำ
• วิตะมีินบี 1
คุณแม่ควรได้เพิ่มจากปกติ 0.5 มิลลกรัมต่อวัน
อาหารที่มีวิตามินบี 1 ได้แก่ หมูเนื้อแดงเนื้อวัว ตับ ธัญพืชทั้งเมล็ด ถั่วเมล็ดแห้ง
• ไนอะซิน
คุณแม่ควรได้รับเพิ่มจากปกติ 5 มิลลิกรัมต่อวัน
อาหารที่มีไนอะซินได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน สัตว์ปีก ปลา ถั่วลิสง และเครื่องในสัตว์
• วิตามินบี 2
คุณแม่ควรได้รับเพิ่มอีก 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน
อาหารที่มีวิตามินบี 2 ได้แก่ ตับ ไต เนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน นมสด ไข่ปลา
• วิตามินบี 6
คุณแม่ที่ให้น้ำนมลูกน่้อยนานกว่า 7 เดือน วิตามินบี 6 จะลดลง ควรเสริมวิตามินบี 6 นี้ในระยะ 7-16 เดือน เพื่อที่คุณแม่ควรจะได้เพิ่มมากขึ้น 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน วิตามินบี 6 มีมากในยีสต์ เนื้อหมู ตับ ธัญพืชทั้งเมล็ด ถั่วเมล็ดแห้ง มันฝรั่ง กล้วย และผลไม้แห้ง
• วิตามินบี 12
คุณแม่ควรได้รับเพิ่มอีก 1 ไมโครกรัมต่อวัน
พบมากในตับ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมสด ไข่ปลา
น้ำ
น้ำที่คุณแม่จำเป็นต้องดื่มวันละ 8-10 แก้ว
อาจอยู่ในรูปของของเหลวอื่นได้ไม่ว่าจะเป็นนม น้ำซุป หรือน้ำผลไม้
เหนือสิ่งอื่นใด อาหารหลัก 5 หมู่ในชีวิตประจำวันของคุณแม่
ในระยะให้นมควรได้รับในปริมาณสารอาหารต่อวันดังนี้
ประเภทอาหาร ปริมาณอาหาร คำแนะนำ
เนื้อสัตว์ 12-14 ช้อนโต๊ะ/วัน • รับประทานเนื้อสัตว์ให้หลากหลายประเภท
ในแต่ละวัน

• รับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์

• พยายามรับประทานปลา
และอาหารทะเลสัปดาห์ละ 3- 4 ครั้ง
เพื่อได้รับกรดไขมัน DHA เพิ่มมากขึ้น
ไข่ 1 ฟอง/วัน • กินไข่ที่ปรุงสุก เพราะไข่ดิบย่อยยาก
และอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค

• ถ้ามีปริมาณไขมันในเลือดสูง
ควรลดปริมาณเหลือ 3 ฟองต่อสัปดาห์

• ไข่ 1 ฟอง ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ 2 ช้อนโต๊ะ
เครื่องในสัตว์ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ • หากคุณแม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง
ควรรับประทานให้น้อยลงสัปดาห์ละ
1 ครั้ง หรืองดชั่วคราว
น้ำนม 2 แก้ว/ วัน • หลีกเลี่ยงน้ำตาลด้วยการเลือกดื่มนมสดจืด
ดีกว่านมปรุงแต่งรส

• หากคุณแม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
ควรดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย

• ถ้าคุณแม่ดื่มนมไม่ได้
ควรรับประทานปลาเล็กปลาน้อย
กุ้งแห้ง และปลาอื่นๆ
ที่รับประทานได้ทั้งกระดูก
รวมทั้งผักใบเขียวเพื่อได้รับแคลเซียมทดแทน
ถั่วเมล็ดแห้ง 3-4 ช้อนโต๊ะ สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง • เลือกรับประทานถั่วเขียว
ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเช่นเต้าหู้
เต้าฮวย นมถั่วเหลือง

• คุณแม่สามารถนำถั่วทั้งหลายไป
ประกอบเป็นอาหารหวานหรือคาวได้
แต่ควรระมัดระวังการเติมน้ำตาลด้วย
ข้าวและแป้งต่างๆ 9-12 ทัพพี/วัน • รับประทานข้าวสวยสลับกับผลิตภัณฑ์
จากแป้งเช่นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน

• คุณแม่สามารถรับประทานเผือก
มันข้าวโพด แทนข้าวได้
ผัก 3-4 ทัพพี/วัน
รับประทานฟักทอง แครอท
สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง • ควรรับประทานผักให้หลากหลายชนิดใน 1 วัน
และควรเป็นผลไม้สด

• รับประทานผักใบเขียว-ขาว
สลับกับผักสีเหลือง เช่นฟักทอง แครอท
ผลไม้ 3-5 ครั้ง/วัน • รับประทานผลไม้สดหลา่กหลายชนิดใน 1 วัน

• รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
น้ำมัน 3-4 ช้อนโต๊ะ/วัน • ควรเป็นน้ำมันจากพืช เช่นรำข้าว
ถั่วเหลือง งาน

• หลีกเลี่ยงน้ำมันจากสัตว์ กะทิ

• หากคุณแม่มีปัญหาเรื่องไขมัน
และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 14:03:23 น.
Counter : 657 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]