Group Blog
All Blog
### ดอกกล้วยไม้สกุลช้าง "ไอยเรศ" ###

 

 

10690132_615194961948076_7701965068089967027_n

กล้วยไม้สกุลช้าง ” ไอยเรศ”

……..

กล้วยไม้ป่าไทย ที่มีช่อดอกยาวเป็นพวงหางกระรอก

ลักษณะทั่วไปของไอยเรศ คือ พื้นขาว

ปากเป็นสีบานเย็นเข้มไปจนถึงอ่อน

มีจุดกระที่กลีบ ดอกมีขนาดประมาณเหรียญบาทขึ้นไป

10407854_615195228614716_6687526483628541522_n

ลักษณะช่อจะเป็นทรงกระบอก

การเรียงของดอก จะคล้ายพวงมาลัย

มีก้านส่งช่อดอก และมีลักษณะห้อยลงคล้ายงวงช้าง

ไอยเรศที่มีกลิ่นหอม จะอยู่แถบปราจีนบุรี

หรือทางตะวันตก แถบกาญจนบุรี

รวมถึงไอยเรศทางใต้ด้วย

สำหรับสีของไอยเรศ ในปัจจุบันคือสีพื้นขาว

จุดแดง จุดชมพูบานเย็น ปากแดง และไอยเรศเผือก

10479746_615195171948055_2746866577897232531_n

ลักษณะดอกที่สมบูรณ์ คือ รวงต้องสมดุล

ทั้ง ขา หู ปาก ลักษณะของช่อดอก

ควรจะยาวประมาณ 1 ศอก หรือประมาณ

30 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย

แต่ต้องเป็นต้นที่โตแล้ว ช่อยาวเป็นคุณสมบัติของต้น

แต่ลักษณะดอก จะแตกต่างกันไป

ตามแหล่งกำเนิด และลักษณะประจำพันธุ์

โดยรวมไอยเรศจะชอบอากาศโปร่ง

มีลมพัดผ่าน เป็นไม้รากใหญ่ชอบน้ำ

กล้วยไม้ไอยเรศจะออกดอกเยอะ

ในช่วงกลาง พ.ค.-กลาง มิ.ย.

อายุของไอยเรศจะค่อนข้างยืน

ที่เห็นกอใหญ่ ดอกมากต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี

เพราะ 1 ปีไอยเรศจะให้ใบ 4 คู่ใบเท่านั้น

นิยมปลูกในกระเช้า

ชื่อพื้นเมืองของไทยเรียกกันหลายชื่อ

ไอยเรศ พวงมาลัย เอื้องพวงหางรอก เอื้องหางฮอก

ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Foxtail

10402483_615194985281407_7878209915014651958_n

เป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ ที่มีถิ่นกำเนิด

กระจายไปทั่วประเทศไทย

แต่ที่งดงามช่อแน่น และยาว

เป็นไอยเรศที่มาจากป่าแถบตะวันตก

สำหรับในต่างประเทศ มีที่ศรีลังกา

เนปาล ภูฎาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

และหมู่เกาะบอร์เนียว

ไอยเรศ พันธุ์ที่ดอกมีสีขาวล้วน

จะเรียกว่า “ไอยเรศเผือก”

ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หายากมาก

เช่นเดียวกับไอยเรศสีแดงล้วน เหมือนช้างแดง

มักพบเห็นได้ยาก ใบจะไม่เขียวซะทีเดียว

แต่จะอมสีแดงม่วง เรียกว่า “ไอยเรศแดง”

10941122_615194891948083_1498363540272913686_n

ขอบคุณที่มา  fb. Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 26 มกราคม 2558
Last Update : 26 มกราคม 2558 11:25:46 น.
Counter : 3444 Pageviews.

0 comment
### ดอกกล้วยไม้ช้างแดง,ช้างเผือก,ช้างพลาย,ช้างดำ ###

 

 

10410974_1569650153282825_3671679899808483853_n

กล้วยไม้ช้างแดง

….

นิยมปลูกกันมาก ในหมู่ของคนรักษ์กล้วยไม้

เนื่องจากความสวยงามของใบ

ที่มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ใบเรียวมน

และดอกที่เป็นช่อสวยงาม สีแดงเข้ม

มีช่อดอกออกทุกซอกก้านใบ

ช่อดอกยาว 25-35 เซนติเมตร

มีดอกย่อยจำนวนมาก มีกลีบดอก 6 กลีบ

เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร

ผลเป็นฝัก มีเมล็ดขนาดเล็ก

ฤดูดอกบาน ธ.ค. – มี.ค.

ดอกทยอยบานทั้งช่อและบานอยู่ได้หลายวัน

ส่งกลิ่นหอมแรงตลอดวัน

ศ.ระพี สาคริก เล่าว่า ปี 2497

กล้วยไม้ช้างแดง เป็นของหายากมาที่สุด

ถึงขนาดราคาต้นละ …50,000 บาท

ขณะที่ก๋วยเตี๋ยวใส่เครื่องครบครัน ร

าคาชามละเพียง 5 สตางค์เท่านั้น

ช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ.2495

กล้วยไม้ช้างแดงต้นนิดเดียว

ถึงกับต้องเก็บเข้าไปไว้ในมุ้งเวลานอนกลางคืน

เพราะเกรงว่าขโมยจะแอบมาเอาไป

………………..

10351611_614755445325361_6902567481167788630_n

กล้วยไม้ช้างเผือก

…..

ลำต้นอวบตั้งตรงหรือเอนเอียงเล็กน้อย

ใบรูปขนานออกเรียงสลับกัน

ระนาบเดียวกันผ่าใบหน้าและเหนียว

มีลายเป็นเส้นสีเขียวอ่อน สลับสีเขียวเข้ม

10933768_1569650139949493_992066276623546854_n

ตามความยาวของใบ

ขนาดใบกว้าง 5- 7 เซนติเมตร

ยาว 25-40 เซนติเมตร

ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก

ช่อดอกค่อนข้างหนาแน่นโค้งเอนลง

ดอกมีสีขาวทั้งดอก

1907456_614756081991964_5778327707277895041_n

มีกลิ่นหอมมากเวลาสาย

ช่วงออกดอก ธ.ค.-ก.พ.

……………….

10433108_614755468658692_2872364276056054579_n

กล้วยไม้ช้างพลาย

……

ลำต้นตั้งตรงเล็กน้อย ใบหนาและแข็ง

แผ่นใบมีสีเขียว ขอบใบเรียว

ปลายใบแยกออกเป็นสองแฉก

เห็นเส้นกลางใบเป็นล่องชัดเจน

ขนาดใบกว้าง 5 -7 เซนติเมตร

ยาว 25-40 เซนติเมตร

ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกห้อยลง

แต่ละช่อจะมีดอกห้อยหนาแน่น

กลีบเลี้ยงละกลีบดอกจะมีพื้นสีขาว

มีแต้มสีชมพูแดง เป็นแถบกว้างกว่าช้างกระ

กลีบปากสีชมพูแดง ดอกมีกลิ่นหอมเวลาสาย

ช่วงออกดอก ธ.ค.-ก.พ.

…………………

1511081_614755585325347_3674609572981115215_n

กล้วยไม้ช้างดำ

……..

ลำต้น เจริญปลายสูง 7- 10 เซนติเมตร

ลำต้นสั้น ใบรูปขอบขนาน

ปลายใบเว้ากว้าง 2- 3 เซนติเมตร

ยาว 10-15 เซนติเมตร

ดอกออกเป็นช่อจากซอกใบข้างลำต้น

มีหลายช่อ แต่ละชื่อยาว 8- 13 เซนติเมตร

มักทอดขนานกับพื้นหรือห้อยลง

ดอกย่อยมีจำนวนมาก เรียงแน่น

กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง

มีประสีน้ำตาลแดง กลีบปากสีจาง

มีเดือยขนานใหญ่ ปลายกลีบปากเป็นติ่ง

ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.6 เซนติเมตร

ช่วงออกดอก ส.ค.-ต.ค.

……………..

ขอบคุณที่มา…fb. Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก.....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 25 มกราคม 2558
Last Update : 25 มกราคม 2558 11:04:10 น.
Counter : 2808 Pageviews.

0 comment
### ดอกกล้วยไม้ช้างกระ ###

10920900_614350355365870_1133822256557126944_n

ดอกกล้วยไม้ ช้างกระ

……

กล้วยไม้สกุลช้าง ที่มีอยู่ในโลก

มีถิ่นกำเนิด ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา

ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน

และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก

ในประเทศไทยพบว่า กล้วยไม้สกุลช้าง

มีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาค ของประเทศ

ตามธรรมชาติ 4 ชนิด คือ

1. ช้างกระ 2. ช้างไอยเรศหรือพวงมาลัย

3. เขาแกะ และ 4. ช้างฟิลิปปินส์

โดย 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

และประเทศใกล้เคียง

กล้วยไม้สกุลช้าง…….

ถือว่าเป็นพระเอก ของกล้วยไม้ไทย

เป็นกล้วยไม้ประเภท อิงอาศัยรากอากาศ

เช่นเดียวกับแวนด้า

ในธรรมชาติ จะมีอยู่ตามป่าเขา

เกาะอยู่ตามคาคบไม้ ที่สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร

กล้วยไม้สกุลช้าง เจริญเติบโตได้ดี

ในพื้นที่สูงไม่เกิน 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ไม่ชอบอากาศที่ร้อนแห้ง หรือหนาวจัดจนเกินไป

จะออกดอกให้ชมเพียงปีละหนึ่งครั้ง

ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์

มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว

มีลักษณะแตกต่างไป จากกล้วยไม้สกุลอื่นๆ

คือ มีลำต้นสั้น แข็งแรง

ใบแข็งหนาค่อนข้างยาว อวบน้ำ

เรียงชิดกันอยู่บนลำต้น ใบเป็นร่อง

หน้าตัด ของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด

ใบอาจมีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจางๆหลายๆ เส้น

ตามความยาวของใบปลายใบหยักมน

หรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน

รากเป็นระบบรากอากาศ มีขนาดใหญ่

แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว

ซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธี

สังเคราะห์ด้วยแสงได้

กล้วยไม้ตระกูลช้าง เป็นดอกกล้วยไม้

ที่มีกลิ่นหอมทั้งวัน ช่อดอกห้อยเหมือนงวงช้าง

แต่ละยอด อาจมีช่อดอกได้ตั้งแต่ 1-6 ช่อ

อาจมีจำนวนดอกมากถึง 50 ดอกต่อหนึ่งช่อ

และมีความยาวช่อดอกมากถึง 40 ซม.

กล้วยไม้สกุลช้าง สายพันธุ์ดั้งเดิม

ที่รู้จักกันแพร่หลายมี ช้างกระ ช้างแดง

ช้างเผือก ช้างดำ ช้างพลาย

มีลักษณะที่สังเกตได้ชัดเจนคือ

“ช้างกระ”

สีพื้นของกลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู

มีกระเป็นจุดเล็กๆอยู่ทั่วดอก

ปากดอกสีชมพู ม่วง หรือแดงเข้ม

“ช้างแดง”

มีกระสีม่วงหรือแดงเข้มเต็มดอก

ทั้งห้ากลีบไม่เห็นสีขาวเลย

 “ช้างเผือก”

มีกลีบดอกสีขาวล้วน

ทั้งสามประเภท เป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน

มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน

แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก

คือช้างกระมีดอกสีขาวประด้วยจุดสีม่วงแดง

ช้างแดงดอกมีสีม่วงแดง ทั้งดอกหรือเกือบทั้งดอก

และช้างเผือกมีดอกสีขาวล้วน

” ช้างพลาย”

ดอกจะมีพื้นสีขาว มีแต้มสีชมพูแดง

เป็นแถบกว้างกว่าช้างกระ กลีบปากสีชมพูแดง

” ช้างดำ”

ดอกสีเหลือง มีประสีน้ำตาลแดง

กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก

เนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี

การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง”

อาจมาจากสองกรณีคือ

ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก

และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น

อีกกรณีหนึ่ง อาจเป็นเพราะดอกตูม

ของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่าง คล้ายหัวช้าง

และมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง

ช้างกระ ..จะให้ดอกที่สวย

และปากดอกสีชมพูเข้ม ลายจุดสีชมพู

จุดขนาดเล็กและกระจายอยู่ทั่วกลีบดอก

และจุดจะอยู่หนาแน่น กลางกลีบ

และกระจาย ดอกสวยและหอม

จะเริ่มหอมตอนสาย ๆ

และจะหอมตลบอบอวลในตอนใกล้ ๆ เที่ยง

ดอกจะบานอยู่ราว 2-3 อาทิตย์ ก็โรยแล้ว

10806368_614351235365782_6734373627318882064_n

ชาวบ้านเรียกกล้วยไม้ช้างกระ

เป็นภาษาพื้นเมืองว่า “เอื้องต๊กโต”

ในภาษาเหนือ หมายถึง ตุ๊กแก

ชื่อวิทยาศาสตร์ :

Rhynchostylis gigantea

Rhynchostylis มีความหมายว่า

กล้วยไม้ที่มีจงอยปากเหมือนนกที่ใหญ่มาก

ช้างกระ … ต้นตั้งตรงเอนเล็กน้อย

รากใหญ่และยาว ใบใหญ่ หนา อวบ และเหนียว

ขนาด 15-30 x 4-6 (ถึง 8) เซนติเมตร

เรียงตัวยาวสลับซ้ายขวาค่อนข้างถี่

ช่อดอกทอดตัวเอนลงเล็กน้อยหรือเอนโค้งลง

ยาวใกล้เคียงกับความยาวของใบ

ดอกในช่อค่อนข้างหนาแน่นบานทนเป็นสัปดาห์

ขนาดดอก 2- 2.5 เซนติเมตร

กลิ่นหอมฟุ้งกระจาย กล้วยไม้ชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์

มีชื่อเรียนตามสีของดอก ทุกพันธุ์มีกลิ่นหอม

แต่พันธุ์ที่ปลูกง่ายคือช้างกระ

ช่วงออกดอก เดือนธันวาคม – กุมพาพันธ์

วัดป่ามัญจาคีรี (วัดป่าโนนบ้านเค้า)

อำเภอมัญจาคีรี ได้อนุรักษ์กล้วยไม้ป่า

พันธุ์ช้างกระที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติไว้

เป็นจำนวนกว่า 4,000 ต้น

ดยกล้วยไม้ป่าช้างกระ

จะเจริญพันธุ์เองตามธรรมชาติ

โดยเกาะอาศัยอยู่ตามลำต้น

และกิ่งก้านของต้นมะขาม ที่มีอายุนับพันปี

และต้นไม้ป่าชนิดอื่นๆ เช่น ต้นตะโก

ต้นกล้วยไม้ช้างกระ จะออกช่อสวยงาม

บานสะพรั่งเต็มที่ ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ววัด

และบริเวณใกล้เคียงในช่วงเดือน

มกราคม-กุมภาพันธ์

10346532_614350375365868_5473285882877810018_n

ขอบคุณที่มา  fb. Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 24 มกราคม 2558
Last Update : 24 มกราคม 2558 12:25:32 น.
Counter : 2693 Pageviews.

0 comment
### ดอกบัวเผื่อน ###

10906388_612755552192017_9051884114056865151_n

ดอกบัวเผื่อน

….

ที่เรียกว่า บัวเผื่อน เพราะ สีดอกเผื่อน

ระหว่างสีขาว-ครามและชมพูอ่อน

เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย

เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน

ส่วนใบและดอกจะขึ้นอยู่บนผิวน้ำ

ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อหรือเหง้า และใช้เมล็ด

บัวเผื่อน ชื่อสามัญ Water Lily

บัวเผื่อน ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีก

เช่น นิโรบล (กรุงเทพ), ป้านสังก่อน (เชียงใหม่),

ปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส),

บัวผัน บัวขาบ (ภาคกลาง), บัวแบ้ เป็นต้น

พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

โดยสามารถพบได้ตามหนองน้ำ บึงคลอง

ริมแม่น้ำที่มีกระแสน้ำอ่อน และขอบพรุ

ใบบัวเผื่อน ใบเป็นใบเดี่ยว

ออกเรียงสลับกันเป็นกลุ่ม

แผ่นใบลอยอยู่บนผิวน้ำ

ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง

ปลายใบทู่ถึงกลมมน ส่วนโคนเว้าลึก

ขอบใบเรียงถึงหยักตื้นๆ แผ่นใบสีเขียว

ท้องใบสีเขียวอ่อนจนถึงสีม่วงจาง ผิวใบเกลี้ยง

มีเส้นใบราว 10-15 เส้นแยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ

ส่วนก้านใบมีความสั้นยาวไม่แน่นอน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำเป็นหลัก

แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาว

ประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร

1455931_612755492192023_4960967246342302991_n

ดอกบัวเผื่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยว

ขึ้นอยู่เหนือน้ำ ดอกมีสีขาวแกมชมพู

ถึงสีอ่อนคราม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ถ้าดอกมีสีขาวแกมเหลือง

ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน

แล้วเผื่อนเป็นสีขาว

หรือปลายกลีบ เป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย

แต่ละดอกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง

ประมาณ 8-10 เซนติเมตร

มีกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ปลายกลีบแหลม

มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก

รังไข่มีช่องประมาณ 10-20 ช่อง

ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับ

ส่วนเกสรตัวเมียเป็นรูปถ้วย

มีก้านดอกคล้ายกับก้านใบ

 และมีความยาวไล่เลี่ยกัน

สามารถออกดอก ได้เกือบตลอดทั้งปี

10928832_612755518858687_8199959914823957944_n


และดอกจะบานตอนช่วงสาย

และจะหุบตอนช่วงบ่าย

ส่วนผลจะจมอยู่ใต้น้ำ

หลังจากการผสมเกสรแล้ว

ดอกบัวเผื่อน มีกลีบดอกสีขาว

ปลายกลีบดอกเป็นสีครามอ่อน

แล้วเผื่อนเป็นสีขาวหรือเป็นสีชมพูเมื่อใกล้โรย

ก้านดอก ใช้รับประทานเป็นผักได้

หรือใช้จิ้มกินกับน้ำพริก

หรือนำไปประกอบอาหาร

เช่น ผัดสายบัว กับหมูหรือกุ้ง

ต้มสายบัวกับปลาทู เป็นต้น

10941850_612756208858618_8705297205793469081_n

…………………………………………

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก.....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 21 มกราคม 2558
Last Update : 21 มกราคม 2558 10:36:58 น.
Counter : 2144 Pageviews.

0 comment
### ดอกเอื้องผึ้ง ###

 

 

10922735_612283888905850_4500712018587169949_n

ดอกเอื้องผึ้ง

…..

กล้วยไม้สกุลหวาย ในประเทศไทย

ที่มีความผูกพันกับท้องถิ่น ทางภาคเหนือ

และภาคอิสานมาช้านาน

ซึ่งนับเป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุด ของวงศ์กล้วยไม้

อีกทั้งยังเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด

ในประเทศไทยอีกด้วย

เอื้องผึ้ง ถูกค้นพบครั้งแรก

ทางภาคเหนือของประเทศพม่า

ด้วยลักษณะกลิ่นหอมหวาน อันพิเศษ

ราวกับน้ำผึ้ง เอื้องผึ้ง จึงมีชื่อว่า

Honey fragrant

ซึ่งกลิ่น ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

จากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้

เป็นน้ำหอมอันล้ำค่าในยุคปัจจุบัน

เอื้องผึ้ง มักขึ้นอยู่บริเวณ ป่าดิบแล้ง

สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๆ

300 – 1,500 เมตร

โดยเกาะอยู่กับต้นไม้ ตามคาคบสูง

ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำ

คือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรี และหนา

และที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วย

จะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น

1234119_612284065572499_423843061806712730_n

เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ

ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วง

เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน

ดอกมีกลิ่นหอมแรง ในช่วงกลางวัน

สีเหลืองสดใส ช่อห้อยย้อยลงยาว

ตั้งแต่ 15-40 ซ.ม.

มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไป

และพลิ้วไหวได้ง่าย ยามต้องลม

ดอกบานเต็มที่ขนาด 2-3 ซ.ม.

แรกบาน จะมีสีเหลืองอมเขียว

ระยะต่อ ๆมาสีจะเข้มขึ้น

จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด

ดอกบานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วัน

นับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว

แต่หากดอกของเอื้องผึ้ง ถูกน้ำ

จะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น

10857796_612284008905838_6717853942027087799_n

ดอกเอื้องผึ้งนอกจากจะใช้สอดแซมเกล้ามวยผม

ของผู้หญิงชาวเหนือเพื่อความสวยงาม

ยังช่วยให้เรือนผมนั้นมีกลิ่นหอม

แต่ความหมายที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น

กลับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องขวัญ

ของคนในกลุ่มชาติตระกูลไต-ลาว

ที่มีความเชื่อว่ามนุษย์มีขวัญอยู่ ๓๒ ขวัญ

กระจายสถิตอยู่ตาม เรือนร่างกายของมนุษย์

ดังนั้นการประดับดอกไม้

ที่มีความงดงามและมีกลิ่นหอม

จึงเป็นการบูชาขวัญ ที่สถิตอยู่บนกระหม่อม

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

และยามใดเมื่อจะไปวัดในวันพระ

ผู้หญิงที่เกล้ามวยผม จะเหน็บดอกไม้กันถ้วนหน้า

10941145_612283872239185_4429191674376080842_n

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก.....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 20 มกราคม 2558
Last Update : 20 มกราคม 2558 11:24:03 น.
Counter : 2602 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ