Group Blog
All Blog
### โรคอัลไซเมอร์ ในผู้สูงอายุ ###





โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ









โรคอัลไซเมอร์ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก

เมื่อปี ค.ศ. 1906

โดยนายแพทย์ Alois Alzheimer ชาวเยอรมัน

อัลไซเมอร์เกิดจากการตายของเซลล์ประสาท

ที่ไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทน

จึงทำให้เซลล์สมองค่อยๆ เสื่อมลง

จนมีผลกระทบต่อการรับรู้ต่างๆ

จากผลการศึกษาในต่างประเทศพบว่า

ในกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปี

จะพบผู้ที่ทีอาการสมองเสื่อมคิดเป็น 1%

 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 5 ปี นั่นคือยิ่งอายุมากขึ้น

 โอกาสเสี่ยงเป็นภาวะสมองเสื่อมยิ่งเพิ่มตาม

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด

อาการของโรคจึงค่อยๆ รุนแรงขึ้น

ตามระยะเวลาการป่วย

โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งหญิงและชาย

 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป

อาการทั่วไปของผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

ความบกพร่องทางความจำ

 ความคิดและการใช้เหตุผล

เช่น หลงลืมสิ่งของที่ใช้เป็นประจำ

นึกคำหรือประโยคที่พูดไม่ออก

สับสนเรื่องเวลาและสถานที่

จำบุคคลที่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยไม่ได้

อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว

และสุดท้ายมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

 เช่น ไม่สามารถใช้อุปกรณ์

เครื่องใช้ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม

 ทั้งๆ ที่เคยใช้เป็นประจำ

 ไม่สามารถไปสถานที่ที่คุ้นเคย เป็นต้น

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด

มีเพียงปัจจัยที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

ซึ่งนอกจากขึ้นอยู่กับอายุ ก็ยังมีประเด็นของพันธุกรรม

และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

• ปัจจัยทางพันธุกรรม

 เป็นสิ่งที่พิสูจน์และมั่นใจไม่ได้ 100%

แต่มีรายงานและผลวิจัยต่างๆ ว่า

หากคนใกล้ชิดในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์

โอกาสที่คุณจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็มีมากกว่า

คนที่ไม่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้

อีกทั้งมีครอบครัวน้อยรายมาก ที่ระบุว่า

สมาชิกในครอบครัวรุ่นก่อนๆ เป็นอัลไซเมอร์

และถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมโดยตรง

สู่รุ่นต่อมาด้วยสาเหตุที่ยีนเกิดกลายพันธุ์

ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์

ตั้งแต่อายุยังไม่มาก

 นอกจากนี้สำหรับคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม

อายุประมาณ 40-50 ปี

 ก็มักจะเป็นโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า

คุณจะต้องเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์หาก...

-คุณปู่ คุณย่า คุณตาหรือคุณยาย

เป็นอัลไซเมอร์เพียงคนเดียว

- คุณพ่อคุณแม่ เป็นอัลไซเมอร์เมื่ออายุ 65 ปี

- คุณพ่อคุณแม่เคยเป็นโรคเมื่ออายุ 65 ปี

และตอนนี้อายุตนเองเลย 65 ปีแล้ว

• ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

หลายปีที่ผ่านมาเกิดความสงสัยและเชื่อว่า

อลูมิเนียมอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันอีกต่อไป

แต่คนที่ศีรษะเคยได้รับบาดเจ็บ

หรือโดนกระแทกอย่างแรง

มีโอกาสสูงที่จะมีภาวะสมองเสื่อม

ยกตัวอย่างเช่น นักชกมวย

 ที่โดนต่อยบริเวณศีรษะบ่อย

และต่อเนื่องเป็นเวลานาน

นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่

 ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ความดันโลหิตสูง

เป็นโรคเบาหวานและโคเลสเตอรอลสูง

ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์สูงเช่นกัน

ขั้นตอนในการรักษา

พญ.สิรินทร ฉันทศิริกาญจน

 ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้น

ต้องดูจากประวัติการหลงลืม

และความผิดปกติอื่นๆ หากมีลักษณะอาการเด่นชัด

ก็จะทำการวินิจฉัยขั้นต่อไป

หากไม่จะติดตามดูอาการระยะหนึ่ง

พร้อมกับตรวจด้วยการเอกซเรย์พิเศษ

เพื่อดูการใช้ออกซิเจน

และการใช้พลังงานของสมอง หลังจากการตรวจ

สามารถให้ยาเพื่อช่วยชะลอ

การสูญเสียความจำของผู้ป่วยให้ช้าลง

สามารถดูแลตนเอง

และทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้นานขึ้น

ทั้งนี้ไม่สามารถรักษาให้กลับมาจำได้ดีเท่าเดิม

ดังนั้นหากสงสัยว่าคนในครอบครัว

โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการเช่นนี้

ควรรีบนำมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ

ทดสอบสมรรถภาพของสมอง

เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

และที่สำคัญไม่ควรพึ่งยาหม้อ ยาสมุนไพร

 หรือเกจิอาจารย์ต่างๆ

 มิฉะนั้นจากเดิมที่อาการไม่รุนแรง

 จะกลายเป็นมากขึ้น

ก่อให้เกิดความทุกข์ต่อตัวผู้ป่วยและคนดูแล

วิธีลดปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะรักษาไม่หาย

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแนวทางป้องกัน

ซึ่งมีรายงานจากต่างประเทศอ้างว่า

 การออกกำลังกายเป็นประจำ

สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

โดยผู้ทำการวิจัยและทดลอง

คือ ดอกเตอร์ อีริค บี ลาร์สัน

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพในซีแอตเติล

 ดอกเตอร์อีริคได้ทำการทดลอง

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 2003

โดยการเลือกชายหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป

จำนวน 1,740 คน

ซึ่งมีรูปร่าง สภาวะทางจิตใจ

และการดำเนินชีวิตหลากหลาย

แต่ทุกคนไม่มีอาการของโรค

หรือได้รับการรักษา ณ ขณะนั้น

ทุกๆ 2 ปี ทางดอกเตอร์อีริคและคณะจะสัมภาษณ์

กลุ่มผู้สูงอายุนี้ทีละคน

 เพื่อประเมินกิจกรรมที่ปฏิบัติต่อสัปดาห์

 เช่น การเดิน การยืน

การออกแรงกำสิ่งของ การทรงตัว

ความจำ สมาธิ การสูบบุหรี่

การดื่มและการรับประทานอาหาร

และจากการศึกษาตลอดพบว่า

ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำ

ตั้งแต่เริ่มการทดลอง ด้วยการเดิน 15 นาทีต่อ 1 วัน

สัปดาห์ละ 3 ครั้ง สามารถลดความเสี่ยง

ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ถึง 32%

 เมื่อเทียบกับคนที่ออกกำลังกายน้อยกว่านั้น

สุดท้ายดอกเตอร์อีริคกล่าวเพิ่มเติม

จากผลการทดลองนี้ว่า

 น่าจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้คนอื่นๆ

หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

และออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยชะลอ

การเกิดโรคอัลไซเมอร์แล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถ

ในการเผาผลาญออกซิเจนให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย

ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ชะลอความแก่ชราได้

หากเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย 

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร Healthtoday

โดย พญ.สิรินทร ฉันทศิริกาญจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ

อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

#‎RamaChannel‬








Create Date : 13 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 ตุลาคม 2561 18:26:00 น.
Counter : 1391 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ