Group Blog
 
All Blogs
 

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๓) เขาชะโงก

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๓) เขาชะโงก

เขาชะโงก เป็นชื่อของยอดเขาลูกหนึ่ง ในจำนวนหลายลูก ซึ่งรายล้อมพื้นที่ราบ ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ยอดเขาที่เรียงรายจากทิศตะวันตก ย้อนไปทางทิศเหนือ แล้วอ้อมมาทางทิศตะวันออก คือ เขายางดำหรือเขาประดู่ เขาแหลม เขาฝาละมี เขาน้อย และเขาดิน ถัดจากนั้นไปทางเบื้องหลังจึงเป็นเทือกเขาใหญ่ ที่มีอาณาเขตครอบคลุมเข้าไปในสี่จังหวัด คือสระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก ซึ่งยอดที่สูงสุดในเขตนครนายก ก็คือ เขาเขียว พื้นที่ทั้งหมดในบริเวณที่กล่าวถึงนี้ อยู่ในเขตหวงห้ามของกองทัพบก มีเนื้อที่รวมทั้งตัวภูเขาเหล่านั้นด้วย ประมาณ ห้าหมื่นถึงแปดหมื่นไร่

ภาพเขาชะโงก ๑




ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นได้ยกกำลัง เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในบริเวณนี้ โดยได้ตั้งกองพันอยู่ที่เขาชะโงก และมีกองร้อยเรียงรายไปจนถึงเขาฝาละมี เพื่อใช้เป็นที่เก็บสมบัติ หรือทรัพย์สินที่ยึดมาจากมาลายูและสิงคโปร์ รวมทั้งเป็นที่ควบคุมเชลยด้วย โดยให้เชลยเหล่านั้นสร้างที่พักอาศัย ทำด้วยไม้ไผ่มุงจาก และตัดทางเข้าจากถนนใหญ่ สายหินกองไปอรัญประเทศ เข้ามาถึงเขาชะโงกเป็นระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร บนยอดเขาสูงมีการปรับพื้นที่ให้ราบเรียบ เพื่อเป็นที่ตรวจการณ์ หรือตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน ตามถ้ำหรืออุโมงค์ ก็ได้ดัดแปลงเป็นคลัง เก็บอาวุธกระสุน และทรัพย์สินที่สำคัญ

ภาพวัดเขาชะโงก ๒



เมื่อสงครามสงบญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ได้ยอมมอบตัวต่อกองทัพสัมพันธมิตร ที่เข้ามาในประเทศไทย และได้จัดการกลบถ้ำหรืออุโมงค์เหล่านั้นเสียทั้งสิ้น ชาวบ้านทั่วไปจึงมีความเข้าใจว่า ทหารญี่ปุ่นคงจะฝังอาวุธและทรัพย์สินต่าง ๆ ไว้บนเขา และหลังจากสงครามสงบแล้วหลายสิบปี ก็ยังมีชาวญี่ปุ่นมาดูสถานที่บริเวณเขาชะโงก เขาฝาละมี หลายกลุ่มหลายคณะ จึงทำให้น่าเชื่อขึ้นไปอีกว่า ทหารญี่ปุ่นที่เคยอยู่บริเวณนี้ และยังมีชีวิตอยู่ หรือลูกหลานของเขาเหล่านั้น อาจจะมาสืบหาแหล่งซ่อนสมบัติ หรืออาจจะมาดูสถานที่แห่งความหลัง หรือมาเคารพวิญญาณของบรรพบุรุษของเขาเท่านั้นก็เป็นได้ เพราะยังไม่มีใครเคยพบสมบัติเหล่านั้น จนกระทั่งทหารสื่อสารได้เข้าไปครอบครองพื้นที่บริเวณนี้

ภาพ ๓



พื้นที่ซึ่งจะให้ทหารสื่อสารรักษานี้ ทางราชการได้เวรคืนที่ดินจากชาวบ้าน ประมาณ ๖๐-๗๐ หลังคาเรือน และขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นเนื้อที่ประมาณ ๘๕๐ ไร่ กรมยุทธโยธาทหารบก ได้เริ่มก่อสร้างอาคารให้ตามลำดับ กรมการทหารสื่อสารจึงได้จัดกำลังทหารจำนวนหนึ่ง ไปเฝ้ารักษาอาคาร และจัดสถานีวิทยุไว้สำหรับติดต่อ กับหน่วยในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือน กรกฏาคม ๒๕๐๑
หน่วยนี้ได้ตั้งอยู่ที่เขาชะโงกถึงสิบปี ใน พ.ศ.๒๕๑๐ จึงได้ย้ายกองบังคับการกองพันนักเรียน และกองร้อยนักเรียนนายสิบ ไปตั้งรวมกับกองร้อยโรงเรียนทหารสื่อสาร ในพื้นที่เขาชะโงก และเปิดป้ายชื่อหน่วยเมื่อเดือน เมษายน ๒๕๑๑

ภาพ ๔



จนถึง พ.ศ.๒๕๑๓ กองทัพบกมีโครงการที่จะย้ายกรมการทหารสื่อสารทั้งหมด ไปอยู่ที่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร การก่อสร้างทั้งหลายในพื้นที่เขาชะโงก จึงต้องระงับลง แต่หน่วยของทหารสื่อสาร ก็ต้องอยู่ที่เขาชะโงกต่อไปอีก ๑๐ ปี ถึง พ.ศ.๒๕๒๒ จึงได้เคลื่อนย้ายกองพันนักเรียน และหน่วยรองที่ตั้งอยู่ ณ เขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ไปเข้าที่ตั้งใหม่ ณ ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร ตั้งแต่ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ตามลำดับ จนถึง พฤษภาคม ๒๕๒๓ จึงได้เคลื่อนย้ายหน่วยสุดท้ายไปเข้าที่ตั้งใหม่ครบถ้วน รวมอยู่ในพื้นที่ของ กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก ซึ่งต่อมาได้ขยายเป็น กรมทหารสื่อสารที่ ๑ ในปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ ได้รับพระราชทานนามว่า ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน
และหมดภารกิจที่เกี่ยวข้องกับเขาชะโงก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา.

ภาพ ๕



อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ของเขาชะโงก ก็ได้เปลี่ยนเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และมีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบันนี้.




 

Create Date : 26 มีนาคม 2554    
Last Update : 26 มีนาคม 2554 19:26:17 น.
Counter : 2794 Pageviews.  

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๒) มหาชัย

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๒)

มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์

สมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2099)

พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้าป้องกันผู้รุกรานทางทะเล

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็น เมืองสมุทรสาคร

และในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นมาจนถึงทุกวันนี้




อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัวเมืองของประเทศไทย




หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 288 หมู่บ้าน คือ

อำเภอเมืองสมุทรสาคร

อำเภอกระทุ่มแบน

อำเภอบ้านแพ้ว





มหาชัยในความหลัง

สักวามหาชัยใช่ไกลเหลือ
ดูไม่เบื่องามจริงทุกสิ่งสรรพ์
น้ำพุสวยเกินกว่าจะจำนรรค์
เหมือนเทวันสรรสร้างมาวางไว้
ได้หยุดยั้งนั่งซดสุรารื่น
แสนชุ่มชื่นฤทธิ์สุราจะหาไหน
เดินชมเมืองโสภาอ่าวิไล
แล้วคราไคลไปบ้านแหลมแจ่มนักเอย





สักวามาถึงซึ่งบ้านแหลม
ในวันแรมหนึ่งค่ำจำพรรษา
ที่สิบเจ็ดพร้อมพรรคกรกฎา
ปีศูนย์ห้าพากันไปใจเบิกบาน
นั่งรถไฟต่อไปถึงท่าฉลอม
กลิ่นพะยอมชื่นฉ่ำเหมือนคำขาน
ได้สรวลเสเฮฮาพาสำราญ
ในดวงมานสุขสันต์เหมือนฝันเอย






สักวาท่าฉลอมได้พร้อมมิตร
สหายสนิทสุขสันต์แสนหรรษา
ได้นอนเล่นนั่งเล่นเย็นอุรา
แถวศาลาเงียบสงัดวัดช่องลม






ขอลาก่อนบ้านแหลมที่แจ่มจิต
มีแต่มิตรมั่นคงไม่สงสัย
ขอลาแล้วแก้วตามหาชัย
แสนอาลัยแต่ต้องจำอำลาเอย..




ปู่รถไฟในโรงสถานีบ้านแหลม หรือท่าฉลอม พ.ศ.๒๕๐๕







สำหรับรถจักรไอน้ำปล่องกระโถนรุ่นนี้ ผู้ผลิตได้แก่บริษัท Krauss of Munich , Germany ลักษณะการจัดวางล้อแบบ 0 - 4 - 2 ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำจากหม้อโดยตรงสู่ลูกสูบ ไม่ใช่ระบบไอดง (นำไอน้ำผ่านท่อผ่านความร้อนอีกครั้งหนึ่งทำให้หมดความชื้นและให้กำลังสูงกว่า) นำมาใช้งานในการเดินรถไฟช่วง คลองสาน - มหาชัย ของบริษัท รถไฟท่าจีน ทุนจำกัด เมื่อปี พ.ศ.2446 จำนวน 3 คัน ต่อมาเมื่อรวมกิจการกับบริษัท รถไฟแม่กลอง ทุนจำกัด เมื่อปี พ.ศ.2448 รถจักรจำนวนดังกล่าวจึงได้นำไปใช้งานบนเส้นทางช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง

หลังจาก รถไฟสายแม่กลอง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เลิกใช้การรถจักรไอน้ำรุ่นนี้ราวปี พ.ศ.2507 รถจักรบางคัน ถูกนำไปตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ที่โรงรถจักรดีเซลบางซื่อ

สำหรับโรงรถจักรที่สถานีบ้านแหลมในปัจจุบันนี้มีสภาพดังที่เห็น... ภาพจากเว็บไวต์ rotfaithai.com

แถมทัวร์เล็กๆ บนเส้นทางสายแม่กลอง จากเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกันครับ และที่แปลกอีกอย่างหนึ่งที่รถไฟสายนี้ ตั๋วโดยสารจะมีเฉพาะชั้น 2 เท่านั้น ถึงแม้ว่าบางโบกี้จะมีเลขระบุเป็นชั้น 3 ก็ตาม

จากคุณ : owl2
เขียนเมื่อ : 27 ก.พ. 54 11:32:33

รถไฟสายแรกของเมืองไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟสายแรก
ของเมืองไทยจาก กรุงเทพ ถึง สมุทรปราการ หรือ "รถไฟสายปากน้ำ"

ที่ปากน้ำสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436

ทางรถไฟสายนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บริษัทเอกชนเดนมาร์ค
เริ่มก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434

สังเกตุ ที่หัวรถจักรจะติดป้าย "ปากน้ำ" ไว้ด้วย

ืที่มา : //www.junghoo.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=20276&Ntype=2

จากคุณ : nupvs
เขียนเมื่อ : 27 ก.พ. 54 11:57:42


ร้อน

ออกจาก _วงเวียนใหญ่_ ไป_ตลาดพลู
วัดจอมทอง _ได้รู้จักแห่งหน
ผ่าน_วัดไทร_ ใกล้_วัดสิงห์_ ไม่วิ่งวน
เลยไปจน _บางบอน การเคหะ

จาก_ รางโพธิ์_ โผล่_สามแยก_ ไป_พรมแดน
เข้าสู่แคว้น _ทุ่งสีทอง_ มองเปะปะ
กลายเป็นทุ่งหญ้าเขียวหมดไม่ลดละ
เห็นแล้วจ้ะ _บางน้ำจืด _วืดไปเลย

ผ่าน_คอกควาย วัดโคกขาม_ ถึง_บ้านขอม
กลิ่นพยอมโชยมาใกล้ใช่ไหมเอ่ย
ถึง_บางจาก_ ไม่เยี่ยมเยือนเหมือนอย่างเคย
นั่งเฉยเฉย ถึง_มหาชัย_ ดูใกล้จัง

ชั่วโมงเดียวได้มาชิดติดทะเล
ลมถ่ายเททิ้งความทุกข์สุขสมหวัง
ได้คลายร้อนผ่อนพักเพียงลำพัง
คนเคยนั่งรถไฟเก่าหายเหงาเอย.

จากคุณ : เจียวต้าย
เขียนเมื่อ : 27 ก.พ. 54 18:48:19


แวะมาตอบลุงเจียวต้ายอีกนิดหนึ่งครับ

รถดีเซลรางปรับอากาศชั้น 2 ที่มีเพียงคันเดียวบนเส้นทางสายมหาชัย ตอนนี้ได้ซ่อมปรับปรุงใหม่ทั้งคันแล้วครับ แอร์เย็นเฉียบเช่นเดิม

รถจักรไอน้ำ การรถไฟได้เลิกใช้งานทั้งหมดในราวปี 2511 ในเส้นทางสายใต้ครับ คงเหลือเก็บไว้เพียง 6 คัน คือ รถจักรไอน้ำรุ่น C-56 จำนวน 2 คัน ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง รถจักรรุ่นนี้มาพร้อมกับกองทหารญี่ปุ่นคราวสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะครับ

อีก 2 คัน เป็นรถจักรไอน้ำรุ่น แปซิฟิก ซึ่งมีการจัดวางล้อเป็นแบบ 4-6-2 เป็นรุ่นที่การรถไฟฯ สั่งมาใช้งานเพื่อฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกดัดแปลงให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง เราจะเห็นได้จากภาพข่าวการเดินขบวนรถไฟไอน้ำพิเศษในวันที่ 26 มีนาคม 12 สิงหาคม 5 ธันวาคม

อีก 2 คันสุดท้าย เป็นรถจักรไอน้ำรุ่น มิกาโด มีการจัดวางล้อเป็นแบบ 2-8-2 ใช้งานรุ่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ แปซิฟิก แต่ตอนนี้เหลือเพียงคันเดียว เพราะต้องยุบทำเป็นอะไหล่กินตัวให้กับคันที่เหลือ และจัดเป็นรถจักรไอน้ำสำรองให้กับขบวนรถไฟไอน้ำในวันที่ดังกล่าว ทั้งหมดนี้ จะเก็บไว้ที่โรงรถจักรธนบุรี หลังโรงพยาบาลศิริราชครับ

ส่วนบรรยากาศของการโดยสารรถจักรไอน้ำสมัยก่อน ซึ่งใช้ฟืนนั้น จะมีลูกไฟลอยออกจากปล่องเป็นระยะๆ ถูกผมก็ไหม้ ถูกผ้าก็เป็นรู ผู้โดยสารต้องระวังกันเอาเองครับ

จากคุณ : owl2
เขียนเมื่อ : 3 มี.ค. 54 09:46:21

จะขอเอาไปวางในบล็อกครับ.

จากคุณ : เจียวต้าย
เขียนเมื่อ : 26 มี.ค. 54 09:04:21

a href="h




 

Create Date : 26 มีนาคม 2554    
Last Update : 26 มีนาคม 2554 10:14:48 น.
Counter : 6302 Pageviews.  

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๑) เกาะสีชัง

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๑)

เกาะสีชัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอเกาะสีชัง ตั้งอยู่ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดในประเทศไทย




ประวัติ

เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเคยเป็นสถานที่เสด็จประพาสและเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 พระองค์ คือ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประสูตรพระราชโอรส (เจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ) และสร้างพระราชวังจุฑาธุช ณ เกาะแห่งนี้อีกด้วย

ที่มาของชื่อ

เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายได้ยากยิ่ง แม้แต่ปราชญ์ทางภาษาก็เพียงแต่ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความหมายและที่มาของคำว่า "สีชัง" ไว้ดังนี้
สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของเขมร เรียกว่า สำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง
สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนทำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือสำเภาจีน 4 นาย ล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกราก และหันมาประกอบอาชีพทำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาคำว่า "ซีซัน" จึงแผลงมาเป็น "สีชัง"

สีชัง มาจากคำว่า "สีห์ชงฆ์" ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์

สีชัง มีตำนานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย มาพำนักบำเพ็ญพรตจนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า "เกาะฤษีชัง"

ภาพเกาะ



สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ

ตั้งอยู่ตะวันออกบริเวณก้นอ่าวไทยตรงกันข้ามกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากจังหวัดชลบุรี ประมาณ 35 กม.อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 117 กม. และห่างจากศรีราชาประมาณ 12 กม. รวมเนื้อที่ประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตร

ประชาชนอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง เกาะสีชังมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา โขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบทำการเพาะปลูกได้ประมาณ 500ไร่

ไม่มีแม่น้ำลำธารและหนองบึง บริเวณจุดสูงสุดคือบริเวณยอดเขาซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสีชังมีความสูงประมาณ 192 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ

ตั้งอยู่ตะวันออกบริเวณก้นอ่าวไทยตรงกันข้ามกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากจังหวัดชลบุรี ประมาณ 35 กม.อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 117 กม. และห่างจากศรีราชาประมาณ 12 กม. รวมเนื้อที่ประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตร

ประชาชนอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง เกาะสีชังมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา โขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบทำการเพาะปลูกได้ประมาณ 500ไร่

ไม่มีแม่น้ำลำธารและหนองบึง บริเวณจุดสูงสุดคือบริเวณยอดเขาซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสีชังมีความสูงประมาณ 192 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ

โดยทั่วไปของเกาะสีชังเป็นแบบพื้นที่ทะเลในเขตร้อนอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมที่พัดปกคลุมอุณหภูมิตลอดทั้งปีมีค่า 28.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 31.3 องศาเกาะสีชังประกอบด้วย 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว - เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ข้อมูลทางสถิติกรมอุตุนิยมวิทยา (สถานีอุตุนิยมวิทยาเกาะสีชัง) เนื่องจากเกาะสีชังได้รับอิทธิพลลมหนาวจากทิศเหนือที่พัดผ่านประเทศจีนจะพัดเข้าสู่ด้านหน้าเกาะสีชังตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ต่อจากนั้นจะมีลมมรสุมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นสู่ตะวันออกเฉียงเหลือตั้งแต่มีนาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

จากการศึกษาในช่วง 10 ปี (2539-2549) ปริมาณน้ำฝนของเกาะสีชังมีค่าเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,148.8 มิลลิเมตร เดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกมากที่สุดวัดได้ 137 มิลลิเมตร และประมาณน้ำฝนน้อยที่สุดในเดือนมกราคมคือ 6 มิลลิเมตร เฉลี่ยวันที่ฝนตกบนเกาะสีชังประมาณปีละ 101 วัน




ถึงเอยถึงฝั่ง
เกาะสีชังงามหรูดูน่าเที่ยว
หมู่บ้านสวยแถมผู้หญิงงามจริงเจียว
เราลดเลี้ยวขึ้นเขาชมอ่าวงาม
ทะเลเวิ้งว้างไกลสุดสายเนตร
แสนสมเพชสังขารพาลใจหวาม
เที่ยวปีนป่ายเขาใหญ่เกือบได้ความ
ทุกโมงยามยังคะนึงนึกถึงเอย

เกาะสีชังมีเกาะบริวารรวม 8 เกาะ

เกาะขามใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะขามน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะปรง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะร้านดอกไม้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะสัมปันยื้อ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสีชัง
เกาะยายท้าว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
เกาะค้างคาว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง
เกาะท้ายตาหมื่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง




สถานที่ท่องเที่ยว

ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่
พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน
พระเจดีย์ อุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร
หาดถ้ำพัง หรือ อ่าวอัษฎางค์
แหลมจักรพงษ์
ช่องอิศริยาภรณ์ (เขาขาด) และหาดหินกลม
พลับพลาที่ประทับชมวิวของรัชการที่ 5 (เขาขาด)
แหลมมหาวชิราวุธ (แหลมสลิด)
วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร
รอยพระพุทธบาทจำลอง
เก๋งจีน
ถ้ำจักรพงษ์และพระเหลือง
วัดถ้ำยายปริก
แหลมงู
ท่ายายทิม
เกาะยายท้าว
เกาะค้างคาว
เกาะขามใหญ่
หลักศิลาจารึก
พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน





จำเอยจำจาก
จำต้องพรากสีชังยังถวิล
จะจดจำติดใจไปอาจินต์
แม้เกือบสิ้นชีวาก็อาวรณ์
มีสาวสวยรวยร่างสำอางโฉม
ที่เหนี่ยวโน้มจิตหวั่นไหวฤทัยถอน
ยามต้องจากมาไกลใจรอนรอน
ถึงบังอรฟันหลอขอจำเอย





เคลื่อนเอยเคลื่อนคล้อย
เรือล่องลอยลาแล้วน้องแก้วพี่
เจ็ดโมงตรงพี่จะล่องท่องนที
เหมือนชีวีพี่จะขาดอนาถใจ
เรือลำน้อยลอยล่องท้องสมุทร
จำต้องหยุดเครื่องขลุกขลักพักแก้ไข
ต่างก็รินสุราว่ากันไป
ทิ้งความหลังฝังไว้สีชังเอย.





วันเวลาเกิดเหตุ ๕-๗ พฤษภาคม ๒๕๐๕




 

Create Date : 25 มีนาคม 2554    
Last Update : 25 มีนาคม 2554 7:44:25 น.
Counter : 3485 Pageviews.  

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๐) น้ำตกมวกเหล็ก

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๒๐)

น้ำตกมวกเหล็ก

คราวนี้เป็นภาพหน้าปกอัลบั้มเล่มที่ ๓

น้ำตกมวกเหล็กเป็นน้ำตกธรรมชาติแห่งเดียว ที่ไม่ต้องไต่ภูเขาขึ้นไปชมให้เมื่อยหัวเข่า เพราเป็นลำธารระดับพื้นดินธรรมดา แตแผ่นดินตอนนั้นเกิดยุบตัวต่ำลงเป็นบริเวณกว้าง น้ำก็เลยกลายเป็นน้ำตกเตี้ย ๆ เวลาถ่ายรูปอย่าให้ติดภาพคน จะมองดูเหมือนน้ำตกใหญ่ ๆ แห่งหนึ่ง

น้ำตกมวกเหล็กตั้งอยู่ระหว่างอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กับอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยมีลำธารของน้ำตกนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด เช่นเดียวกับแม่น้ำป่าสักซึ่งเป็นปลายทางของลำธารนี้ แบ่งสองจังหวัดนี้ ด้วย

ปกอัลบั้มเล่ม ๔


ภาพหน้าปกอัลบั้มเล่ม ๔ เป็นภาพน้ำตกมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งได้ถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ เมื่อไปเที่ยวเป็นครั้งแรก เป็นน้ำตกที่ไม่ต้องปีนป่ายภูเขาที่ไหนเลย มีลำธารน้ำไหลมาในระดับพื้นดินธรรมดา แล้วแผ่นดินก็ทรุดต่ำลง เป็นทางยาวให้น้ำไหลตกลงมาแลดูว่ากว้าง ถ้าถ่ายภาพไม่มีคนประกอบ จะนึกว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่มาก

ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดสระบุรี
ข้อมูล อ.มวกเหล็ก อ.วังม่วง อ.วิหารแดง อ.หนองแค จังหวัดสระบุรี
อำเภอมวกเหล็ก

จากกรุงเทพฯมายังอำเภอมวกเหล็ก สามารถเดินทางได้หลายวิธี รถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มาลงที่สถานีขนส่งมวกเหล็ก หรือรถไฟสายหัวลำโพง-มวกเหล็ก จากมวกเหล็กจะมีรถสองแถวคอยบริการเข้าออกตลอดวัน

สวนรุกขชาติมวกเหล็กและน้ำตกมวกเหล็ก อยู่ห่างจากสระบุรีประมาณ 37 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ ทางเข้าซ้ายมือตรงข้ามกับร้านขายผลิตภัณฑ์ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) สวนรุกขชาตินี้อยู่ในเนื้อที่ 375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี กับอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีลำธารซึ่งมาจากต้นน้ำในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตระหว่างสองจังหวัดดังกล่าว ในลำธารมีแก่งหินลดหลั่น เป็นน้ำตกชั้นเล็ก ๆ บริเวณสองฟากของลำธารมีสะพานแขวน และพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ

น้ำตกเจ็ดสาวน้อย หรือ น้ำตกสาวน้อย อยู่ในเขตตำบลมวกเหล็ก ทางเข้าทางเดียวกับน้ำตกมวกเหล็ก เป็นทางลาดยางต่อไปอีก 9 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นมาตามแนวลำธาร มีประมาณ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงราว 4 เมตร แอ่งน้ำมีบริเวณที่เล่นน้ำกว้าง และร่มรื่น
ตามเส้นทางสายมวกเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 2224) จะเป็นลำธารเรียบไปตลอดเส้นทางและมีที่เอกชน และรีสอร์ทหลายแห่งตั้งเรียงรายอยู่ริมธารน้ำ









 

Create Date : 24 มีนาคม 2554    
Last Update : 25 มีนาคม 2554 7:06:29 น.
Counter : 1766 Pageviews.  

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๑๙) นครราชสีมา

ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๑๙)

นครราชสีมา

เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๑ ได้ไปทัศนาจรจังหวัดนครราชสีมา และได้ถ่ายภาพอนุสาวรีย์ คุณหญิงโม เขื่อนพิมาย ปราสาทหิน พิมาย แต่ไม่มีภาพไทรงาม คงจะถ่ายแล้วไม่สวยเลยคัดทิ้งไปก็ได้
ท้าวสุรนารี

ภาพที่ ๑



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีท้าวสุรนารี (อักษรละติน: Thao Suranari) หรือ ย่าโม (พ.ศ. 2314 — พ.ศ. 2395) บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้กอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2369 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าท้าวสุรนารีมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เนื่องจากเรื่องราวของท้าวสุรนารีพบในหลักฐานเป็นบันทึกที่ออกเผยแพร่ภายหลัง พ.ศ. 2475 เท่านั้น

ประวัติ

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่) เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2314 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยกรุงธนบุรี มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้น ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ไม่ปรากฏชื่อ (ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้)

เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้สมรสกับนายทองคำ พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ

ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี

ภาพที่ ๒






อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรางค์ประธาน

ประวัติ

เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ภาพที่ ๓



เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน

ภาพที่ ๔





โบราณสถาน

ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้

ภาพที่ ๕



สะพานนาคราช

สะพานนาคราช ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

ภาพที่ ๗



ซุ้มประตูซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

ชาลาทางเดิน

ชาลาทางเดินก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้

ซุ้มประตูและระเบียงคด

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651-1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนางมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่1

ปราสาทประธาน

เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศรรตวรรษที่ 16-17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่นๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร

ปรางค์หินแดง

สร้างขึ้นราวปลายพุทธศรรตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนกรรณะล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่

ภาพที่ ๘



ไทรงามและเขื่อนพิมาย

จากวิทยาลัยการอาชีพพิมาย

ลักษณะเด่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทความสวยงามตามธรรมชาติ อันเกิดจากต้นไทรใหญ่ริมแม่น้ำมูล อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ไทรงามแห่งนี้ มีชื่อเสียงเลื่องลือ มาตั้งแต่ พ.ศ.2455 เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง ประพาสพิมาย เป็นเขื่อน ชลประทาน ใสโครงการชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ สร้างเสร็จปี พ.ศ.2499 มีพื้นที่รับน้ำอยู่ใน 2 อำเภอ คือ อำเภอพิมาย และอำเภอโนนสูง จำนวน 215,850 ไร่

ภาพที่ ๙



สภาพโดยทั่วไป บริเวณไทรงามมีลักษณะเป็นเกาะ มีคลองคูน้ำเล็กๆ ล้อมรอบ และมีต้นไทรขึ้นปกคลุมทั่วเกาะ ้ด้านทิศตะวันออก มีศาลเจ้าแม่ไทรงามเป็นที่สักการะ ทิศใต้มีศาลายื่นลงไปในคลอง ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้า สภาพศาลาทรุดโทรมและขาดความสวยงาม บริเวณที่จอดรถซึ่งจอดเฉพาะรถเก๋ง และรถกระบะเล็กอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีห้องสุขาชายและหญิงอยู่ในบริเวณนี้ สภาพโดยรอบๆ เกาะเป็นคูคลองปล่อยตามธรรมชาติ มีผักตบชวา จอกแหนอยู่เต็ม โดยไม่ได้รับการดูแลรักษารอบนอก ออกไปเป็นที่ราบและทุ่งนา

ภาพที่ ๑๐

ภาพที่ ๑๑




 

Create Date : 23 มีนาคม 2554    
Last Update : 24 มีนาคม 2554 5:22:41 น.
Counter : 3107 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.