Group Blog
 
All Blogs
 
คนรักพิพิธภัณฑ์

บันทึกของคนเดินเท้า

คนรักพิพิธภัณฑ์

“ เทพารักษ์ “

ผมมีอาชีพเป็นทหารเสมียนเขียนหนังสือ เขียนมาตั้งแต่ก่อนเป็นทหาร และเขียนลงพิมพ์ในหนังสือทหารตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ จนถึงเดี๋ยวนี้ เพิ่งจะเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ นี้เอง แล้วก็สนใจในพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่บัดนั้น

ในสมัยที่เข้าเรียนหลักสูตร นายทหารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ได้ไปทัศนศึกษาตามพิพิธภัณฑ์สถาน ในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มเติมจากพิพิธภัณฑ์ทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบก หลายจังหวัดแล้ว จึงใช้ความรู้ในตำราและการดูงานนั้น ลงมือปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารในความรับผิดชอบของผม ไว้ให้เป็นแนวทางต่อมา

ความจริงผมได้เข้ามาเกี่ยวข้อง กับกิจการพิพิธภัณฑ์โดยบังเอิญ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน แต่เมื่อได้ผ่านการศึกษาแล้ว ผมจึงได้รู้ว่า ความจริงผมเป็นคนที่รักประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์มาตั้งแต่เด็กแล้ว เพราะผมชอบเก็บสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับตัวผม ไม่ว่าจะเป็นของใช้หรือของเล่นเอาไว้มากมาย ทั้ง ๆ ที่ควรจะทิ้ง โดยไม่ได้เจตนาจะให้เป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ในภายหลัง

ผมเก็บเปลตาข่ายที่เคยนอนตั้งแต่เล็กไว้ จนถึงเวลาที่ให้ลูกชายนอน เมื่อผมอายุสามสิบกว่า สมัยเรียนหนังสือ ผมมีกระดานชนวนและดินสอหินในชั้นประถม ขวดหมึกเขียวแดงในชั้นมัธยม บัตรประจำตัวตั้งแต่เริ่มทำงาน พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๓


Thanks: gclub


และชอบถ่ายรูปเรื่องราวหรือสถานที่ของกรุงเทพ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ เช่นงานเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่ท้องสนามหลวง หรือโรงภาพยนต์เฉลิมไทย เมื่อฉายภาพยนต์รอบสุดท้าย ก่อนที่จะทุบทิ้ง เป็นต้น

รวมทั้งของกระจุกกระจิกต่าง ๆ ที่แม่เก็บไว้ตั้งแต่ครั้งโบราณ ก่อนผมเกิดอีกมาก ที่เมื่อมาถึงยุคผมแล้ว ก็ยังเก็บไว้เป็นอย่างดี หลังจากที่กระจัดพลัดพรายไปบ้าง เมื่อสมัยน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งผมยังมีอายุเพียงสิบกว่าขวบ

ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๓๔ ผมจึงได้ทราบเรื่องการริเริ่มจัดพิพิธภัณฑ์เด็ก โดย คุณเอนก นาวิกมูล ในนามของสมาคมกิจวัฒนธรรม และศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสะพานผ่านฟ้า ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการ อวดของจากวัยเด็ก ขึ้นเมื่อ ๙ - ๒๑ สิงหาคม ๒๕๓๔ ผมจึงได้เริ่มส่งของในวัยเด็กของผม ไปร่วมงานในนามของลูกชายหลายชิ้น เช่นกระดานชนวน ขวดหมึก ภาพซิกาแรต ไพ่ รูปถ่ายวัยเด็กของผม เปรียบเทียบกับวัยเด็กของลูกชาย แต่สิ่งที่ขึ้นหน้าขึ้นตาและได้รับความสนใจจากผู้ชม ก็คือเปลตาข่ายนั่นเอง

ต่อจากนั้นอีก ๗ ปี พิพิธภัณฑ์เด็กก็ได้พัฒนาขึ้นเป็น บ้านพิพิธภัณฑ์ มีความ มุ่งหมายในการจัดเก็บ ของเก่าที่มีอายุเพียง ๕๐ ปีขึ้นไป และได้จัดนิทรรศการ บ้านพิพิธภัณฑ์ ณ สถานที่เดิมระหว่าง ๑๕ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ คราวนี้ผมส่งของเก่าเกือบทั้งหมดที่ได้สะสมไว้ ไปร่วมงานถึง ๕๒ รายการเป็นวัตถุประมาณ ๒๐๐ ชิ้น เช่น รูปยาซิกาแรตใส่กรอบ ๘ ชุด อาทิชุดกรุงเทพ ชุดนก ชุดทหารตำรวจเป็นต้น กับพวกเครื่องใช้ในบ้าน

เช่น โม่หิน กระต่ายขูดมะพร้าว ถ้วยโถโอชาม เชี่ยนหมาก ปิ่นโตเล็กลายดอกไม้ พิมพ์ทองม้วน เตาขนมครกดินเผา หวดนึ่งข้าวดินเผา ถ้วยตะไล และตู้กับข้าวไม้สัก ซึ่งผู้จัดได้นำไปรวมกันในรูปของครัวชาวบ้าน และได้รับความสนใจจากนิตยสาร ประเภทบ้านและสวน มาถ่ายรูปประกอบการสัมภาษณ์ ไปลงพิมพ์อีกด้วย


Thanks: gclub

สมบัติทั้งหมดนี้เป็นของแม่ผม เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ ข้าวของพวกนี้ท่านเคยใช้สอยในช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๗ - ๒๔๘๔ เมื่อได้ย้ายบ้านจากตรอกข้างโรงเรียนนายร้อย ซึ่งปัจจุบันเป็นกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก มาอยู่ที่ซอยหน้าวชิรพยาบาล ถนนสามเสน เครื่องใช้เหล่านี้ก็ยังมีประโยชน์ในเรื่องการใช้สอยอยู่ จนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปแล้วหลายปี เข้าสู่ยุคเครื่องใช้พลาสติก ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ ของใช้ที่มีอยู่จึงกลายเป็นส่วนเกินของบ้านไป และได้ตกเป็นสมบัติของผมกับน้องสาว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ จนกระทั่งถึงบัดนี้


Thanks: gclub



การทำครัวสมัยก่อน เราจะใช้เตาถ่านธรรมดานี่เอง ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่ ส่วนหม้อหุงข้าวนั้นก็เป็นหม้ออะลูมิเนียมที่มีหูสองข้าง ฝาปิดก็มีหูตรงกลาง เวลายกหม้อข้าวลงจากเตา ก็จะสอดไม้ไผ่ที่ยาวตลอดทั้งสามหู แล้วยกลงวางบนม้าไม้ เพื่อรินน้ำข้าวทิ้ง แล้วนำมา หม้อข้าวนั้นมาวางเอียงบนเตาถ่านไฟอ่อน หมุนหม้อไปจนข้าวแห้ง เรียกว่า ดงข้าว เพราะสมัยนั้นเรายังไม่ได้ใช้รังถึงนึ่ง หรือมีหม้อข้าวไฟฟ้าอย่างเดี๋ยวนี้


Thanks: gclub

สำหรับอาหารที่ผ่านการปรุงแล้ว จะใส่ไว้ในตู้กับข้าวไม้สักสองชั้น ซึ่งชั้นบนสำหรับเก็บอาหารนั้น บานเปิดเป็นลวดตะแกรงตาถี่กันแมลงวันได้ดี ชั้นล่างเป็นที่เก็บจานชามช้อน บานเปิดเป็นไม้ตีห่าง ๆ ให้ลมโกรก จานชามจะได้แห้งสนิทไม่อับชื้น ที่ปลายขาตู้กับข้าวทั้งสี่จะมีถาดรองใส่วัสดุที่กับมดและแมลงสาป


Thanks: gclub

ส่วนการต้มแกงเราก็ใช้หม้อเคลือบทั้งที่เป็นหูหิ้วทรงสูง และหม้อแกงเคลือบธรรมดา ไม่นิยมใช้หม้ออะลูมิเนียมเหมือนในปัจจุบัน เพราะน้ำแกงจะกัดผิวทำให้รสชาติเปลี่ยนไป จานชามและกาละมังที่ใช้ในครอบครัวธรรมดา ก็เป็นจานชามเคลือบ ช้อนสังกะสีเคลือบ ถ้าเป็นบ้านที่มีฐานะดี จึงจะใช้จานกระเบื้องและภาชนะที่เป็นกระเบื้อง และช้อนส้อม

เมื่อครั้งที่ผมเป็นเด็กนักเรียน อยู่โรงเรียนดำเนินศึกษาปากตรอกบ้าน ก็จะมีอาหารใส่ปิ่นโตเถา เล็ก ๆ ไปกินที่โรงเรียนเป็นประจำเสมอ


ในช่วงสงครามซึ่งครอบครัวผม ได้ย้ายเข้ามาอยู่บ้านใหม่แล้ว แม่ผมต้องทำขนมขายเพื่อช่วยการครองชีพ เราจะทำขนมถ้วยตะไลขนาดต่าง ๆ ใส่กระด้ง เร่ขายชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง เครื่องทำขนมจะมีอีกหลายชนิด เช่น โม่หิน กระต่ายขูดมะพร้าว และเครื่องมือทำขนมอีกหลายชนิด เมื่อสิ้นแม่ไปแล้ว พวกของใช้ต่าง ๆ ที่ผมเล่ามาทั้งหมด และยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้เอ่ยถึง ผมก็เก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่ได้นำมาใช้ เพราะกลายเป็นของที่ล้าสมัยไปแล้ว

ปัจจุบันเครื่องใช้ในครัวเรือนทั้งหมด ได้มอบให้เป็นสมบัติของบ้านพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บสะสมสิ่งของในยุคใกล้ปัจจุบัน หรือยุคปัจจุบัน เพื่อรักษาไว้ให้แก่คนรุ่นต่อไป ได้ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านธรรมดา ๆ

ต่อมาถึง วันเสาร์ที่ ๑๔ กรกฏาคม ๒๕๔๔ บ้านพิพิธภัณฑ์ จึงได้เปิดเป็นทางการขึ้นที่ เลขที่ ๑๗๐/๑๗ หมู่ที่ ๗ หมู่บ้านคลองโพแลนด์ ซอยคลองโพ ๒ ถนนศาลาธรรมสพน์ เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐


Thanks: gclub

ขณะที่ผมบันทึกเรื่องนี้ บ้านพิพิธภัณฑ์ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. มาเกือบจะครบหนึ่งปีแล้ว โดยเก็บค่าเข้าชมเพื่อช่วยค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา และค่าพนักงานดูแล คนละ ๓๐ บาท เด็กสูงเกิน ๑๕๐ ซ.ม.คนละ ๑๐ บาท เด็กเล็กกว่านั้นไม่เสียค่าเข้าชม

ผมเองเพิ่งจะได้ไปชมเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง แต่เนื่องจากไม่มีรถส่วนตัว จึงต้องขึ้นรถโดยสารปรับอากาศ สาย ๕๑๕ จากหน้าสถาบันราชภัฏสวนดุสิต ไปลงที่ทางแยกถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แล้วต่อรถแท็กซี่เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตก แล้วไปเลี้ยวซ้ายตามถนนศาลาธรรมสพน์ ถึงซอยคลองโพ ๒ จึงเลี้ยวซ้ายอีกครั้งหนึ่ง เข้าไปไม่ไกลนักก็ถึงบ้านพิพิธภัณฑ์

อาคารพิพิธภัณฑ์นี้มีสามชั้น ชั้นล่างแบ่งเป็นร้านค้าจำลองต่าง ๆ เพื่อย้อนบรรยากาศเมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน ได้แก่ ร้านขายกาแฟ ร้านขายแบบเรียนเครื่องเขียนและให้เช่าหนังสือ ร้านขายของเล่น ร้านขายยาไทยจีน ร้านตัดผม ชั้นสองเป็น ร้านถ่ายรูป ร้านขายเหล้า และจัดสมมติให้เห็นบรรยากาศของบ้านเก่าๆ เป็นห้องต่าง ๆ รวมทั้งห้องครัว ด้วย ส่วนชั้นสามเป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และกำลังจะจัดเป็นส่วนอื่น ๆ ต่อไป

นอกจากของใช้เก่า ๆ และบรรยากาศเก่า ๆ ที่จัดให้ชมแล้ว พิพิธภัณฑ์ยังมีของที่ระลึกจำหน่ายในราคาถูก ซึ่งเป็นของที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้อีกด้วย เช่นภาพสถานที่ในกรุงเทพสมัยโบราณ สมัยน้ำท่วมใหญ่ ภาพบุคคลสำคัญของประเทศไทยในสมัยโบราณ รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คุณเอนก นาวิกมูล ได้รวบรวมเรียบเรียงไว้หลายเล่มและของกระจุกกระจิกอีกหลายรายการ ซึ่งเหมาะสำหรับท่านที่เป็นนักสะสมของเก่าอย่างยิ่ง

สำหรับสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของผม ก็คือสิ่งของเครื่องใช้ในครัว ซึ่งได้มอบให้พิพิธภัณฑ์ไปหลายสิบรายการนั้น ส่วนหนึ่งได้นำมาจัดเป็นครัวชาวบ้าน และตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่สกุลของผมอีกด้วย


Thanks: gclub

เรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เพียงเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ รักพิพิธภัณฑ์ และอยากจะชวนให้ท่านผู้อ่าน ได้ช่วยกันรักและสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะ บ้านพิพิธภัณฑ์ ให้มากขึ้น เท่านั้นเอง.


Thanks: gclub

###########




Create Date : 25 ตุลาคม 2552
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2554 8:45:21 น. 0 comments
Counter : 1098 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เจียวต้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




เชิญหารายละเอียดได้ ที่หน้าบ้านชานเรือนครับ
Friends' blogs
[Add เจียวต้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.