นักจิตวิทยาที่ศึกษาสุนทรียศาสตร์

ในส่วนนี้ผู้เขียน Howard Gardner ได้อธิบายถึงทฤษฎีทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงศิลปะ  แต่ไม่มีทฤษฎีใดที่จะอธิบายถึงการเกิดของศิลปะทั้งในด้านของผู้สร้างสรรค์ ผู้รับรู้ ผลงาน และ กระบวนการทำงานหรือลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะได้อย่างครอบคลุมได้ในเพียงทฤษฎีเดียว และได้ให้รายละเอียดถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยามาอธิบายศิลปะในแง่มุมต่างๆ ซึ่งได้ให้ความคิดเห็นทั้งในข้อดีและข้อที่ยังไม่สมบูรณ์ของแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆนั้นด้วย

ศิลปิน (ในมุมมองของ)

นักสุนทรียศาสตร์ : เขามีพลังภายในในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ไม่มีวันหมด 
นักจิตวิทยา : สนใจที่ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ว่าอะไรที่ทำให้ศิลปินแตกต่างแล้วทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? 

แล้วทำไมความสามารถนี้แต่ละคนจึงไม่เท่ากัน?

ศิลปิน: ความคิดสร้างสรรค์
Guilford :กล่าวรวมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ไว้ด้วยกันแต่เราต้องการการชี้เฉพาะถึงความแตกต่างระหว่างคน 2 กลุ่มนี้ รวมไปถึงความแตกต่างของผลงานของคนธรรมดากับผลงานของศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ 
ลักษณะของศิลปิน
        คิดแบบแตกต่าง(divergent thinker) คือคนที่ใช้ความคิดหนึ่งๆ หรือองค์ประกอบการคิดหนึ่งเป็นจุดให้ได้มาซึ่งความคิดใหม่ ๆ อีกหลากหลาย
ความคิดแบบมาบรรจบกัน(Convergent thinker) คนๆนั้นจะมีความคิดให้เลือกมากมายหรือมีองค์ประกอบมากสำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ
คิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวและแสดงเรื่องนั้นออกมาในลักษณะใดอย่างหนึ่ง  
เอาสิ่งที่ไม่สามารถเข้ากันได้เลยมาขมวดรวมไว้ด้วยกันโดยใช้เทคนิคทักษะด้านสัญลักษณ์และวัสดุของตน
รูปแบบของการคิดแบบรวมกันและการคิดแตกต่างเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนและต้องใช้ความรู้ด้านวัสดุด้วยดังนั้นรูปแบบการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์อาจจะไม่เพียงพอที่จะอธิบายความคิดสร้างสรรค์ในทางศิลปะได้

Arnheim : การคิดด้วยภาพเป็นตัวแทนถึงการใช้ความฉลาดและเหตุผลอันเป็นพื้นฐานทางการรับรู้ในของเขตทั้งของการสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์และศิลปะ  
การอธิบายที่เกี่ยวกับการรับรู้ทั่วๆไปและความคิดสร้างสรรค์ยังมีไม่เพียงพอที่จะยอมรับได้ และยังต้องการเหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกทางร่างกายที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากการรับรู้ทางตา และข้อสรุปของเขาเกี่ยวข้องกับในส่วนของการแก้ปัญหามากกว่ามุมมองด้านอื่น ๆ   
Freud: นักเขียนที่สร้างสรรค์คิดไม่เหมือนกับที่เด็กกำลังเล่น  พวกเขาตกแต่งคำออกมาให้ไพเราะอย่างจริงจัง โดยแสดงออกถึงความรู้สึกอย่างเต็มที่ในขณะเดียวกันก็แยกความเฉียบคมออกมาจากความเป็นจริง

ศิลปิน :แรงผลักดันภายใน
Freud : จิตวิทยาวิเคราะห์  ศิลปินแสดงออกผ่านผลงานของตนเพื่อเป็นการปลดปล่อยความกดดันภายในของตนเอง
ศิลปินสามารถเข้าถึงใจใต้สำนึกของตนเองได้ดีกว่าคนอื่น
ความสามารถของศิลปินในการเข้าถึงความเข้าใจเป็นความพยายามที่หนัก 
การได้มาซึ่งความรู้ทางสุนทรีย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยจิตวิทยาวิเคราะห์
Rank : ศิลปินมีความสามารถพิเศษในการเข้าถึงความต้องการและมีความทะเยอทะยาน ซึ่งได้สร้างบุคลิกเฉพาะตนพัฒนาสู่ผลงานศิลปะ
ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับระบบประสาท  
การอธิบายของ Rank ก็ยังไม่ชัดเจนทั้งหมดซึ่งกล่าวถึงได้ในส่วนของศิลปินชาวตะวันตกเท่านั้นเนื่องจากความเชื่อว่าศิลปินเป็นกลุ่มคนพิเศษ โดยไม่สนใจในเรื่องทักษะที่ศิลปินต้องมี 
ยังไม่เพียงพอที่จะใช้อธิบายถึงความคล้ายคลึงกันของศิลปะแขนงต่างๆ  ศิลปินแต่ละกลุ่ม และ”ความต้องการ(will) “ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ  
ยังไม่สนใจในขอบเขตของกระบวนการทางศิลปะที่ต้องใช้การฝึกฝนและการถึงขีดสูงสุดของธรรมชาติแรงดึงดูดของศิลป

ศิลปิน: การใช้สัญลักษณ์
Susanne Langer: ความสามารถเฉพาะของมนุษย์ในการใช้สัญลักษณ์ในการรับและส่งเนื้อหาทางนามธรรมโดยระบบสัญลักษณ์
วิทยาศาสตร์เองก็มีที่มาจากความรู้ความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ของมนุษย์ฃ
รูปแบบของการแสดงออกไม่สามารถถ่ายทอดผ่านข้อความที่แปลความหมาย หรือตีความได้ในบริบทของสัญลักษณ์อื่น ๆ มันจะต้องถูกนำมาใช้ทั้งหมดด้วยรูปแบบของตัวเอง 
Langer ไม่จำกัดขอบเขตหรือรูปแบบของความรู้สึก  อะไรก็ตามที่เกิดรู้สึกขึ้นโดยวิธีการต่างๆ ทั้งการกระตุ้นจากระบบประสาทสัมผัส หรือการกระตุ้นจากภายในใจ
ในขั้นพัฒนาการไม่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านสุนทรีย์  ละเลยทั้งสิ่งจำเป็นทั้งทักษะและผลกระทบจากบริบททางสังคม

Cassirer : เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างสัญลักษณ์และนามธรรมด้วยความสามารถทางศิลปะ
อธิบายด้วยพัฒนาการทางจิตวิทยาของปัจเจกที่แตกต่างกันสามารถอธิบายถึงเหตุผลที่ส่วนประกอบต่างๆ ในศิลปะมีรูปแบบที่หลากหลาย  และสาเหตุของความซาบซึ้งและความเข้าใจที่แตกต่างกันในแต่ละคนได้

Werner and Kaplan : ความสามารถและการใช้สัญลักษณ์ว่าเป็นความฉลาดของมนุษย์และมีการใช้สัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการขั้นต่าง ๆ
แสดงการเกิดขึ้นของสัญลักษณ์
แสดงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในระหว่างการรับรู้และความรู้สึก
ผลงานของพวกเขาไม่ได้สัมพันธ์กับศิลปินแต่เกี่ยวข้องกับบุคคลธรรมดาทั่ว  ๆ ไป 
จำกัดขอบเขตอยู่ที่การแสดงออกของสัญลักษณ์ของรูปทรงเรขาคณิต 
ไม่ได้สนใจศึกษาในเรื่องทักษะที่จำเป็นในศิลปะหรือคำถามที่เกี่ยวกับทักษะ
การอภิปรายเรื่องสัญลักษณ์ในระดับก่อนอนุบาลเท่านั้น 
ไม่กล่าวถึงสภาวะของความรู้สึกและอารมณ์

ผู้ชมงาน
Berlyne:  ตัวแปรต่าง ๆ(การเปลี่ยนแปลง ความซับซ้อน ความขัดแย้ง)ที่กระตุ้นสภาวะบางอย่างทางจิตวิทยาของผู้ชม (ความสนใจ ความสงสัยและความประหลาดใจ)
ผลงานที่กระตุ้นความคาดหวังแล้วบรรเทาความรู้สึกนั้นโดยการไม่แสดงสิ่งที่คุ้นเคยและไม่แสดงสิ่งที่แปลกประหลาดจนเกินไป ถือว่าเป็นการแสดงออกทางความงามที่ดีที่สุด 

Information Theoryไม่สามารถอธิบายถึงความคาดหวังที่แตกต่างกันของผู้ชมได้
มองผ่านประเด็น ผลงานแบบใดเป็นผลงานที่ดีและเพราะเหตุใดมันจึงดี?
ไม่อธิบายถึงคุณลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในโครงสร้างหรือในคุณภาพระหว่างผลงาน2 แบบ
หลีกเลี่ยงการอธิบายเรื่องรูปแบบต่างๆ ทางสุนทรีย์ ส่วนประกอบและความสำคัญของส่วนประกอบเหล่านั้น
อธิบายส่วนของข้อมูลต่าง ๆและความคาดหวังของผู้ชม เป็นประโยชน์ในการพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรีย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบที่มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติเฉพาะแต่ไม่สามารถอธิบายทั้งแรงดึงดูดของผลงานบางชิ้นและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสุนทรีย์ได้
Gestalt: Langer เชื่อว่าศิลปะเป็นสิ่งพื้นฐานที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ศิลปะมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์
ไม่สนใจศึกษาระหว่างการเจริญเติบโตของเด็กและคิดว่าผลงานของเด็กเป็นเพียงขั้นพื้นฐานของงานผู้ใหญ่
ไม่สามารถอธิบายถึงความแตกต่างของทักษะการปฏิบัติและการวิจารณ์ในศิลปะได้ หรือไม่สามารถอธิบายระดับการเข้าใจการสร้างและรับรู้ศิลปะของเด็กที่แตกต่างได้
แนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์สามารถอธิบายการรับรู้ภาพ การแก้ปัญหาและนามธรรมได้และเน้นที่การรับรู้ศิลปะแต่กล่าวถึงการสร้างสรรค์น้อยมาก

ผลงาน : สูตรความงาม
George David Birkhoff:   วัตถุที่งามทุกชิ้นว่าควรจะสามารถสืบหาสาเหตุและอธิบายความสัมพันธ์ของระบบและความซับซ้อนระดับต่างๆของความงามได้ด้วยสูตรคณิตศาสตร์
สามารถให้เหตุผลได้เพียงความงามในรูปแบบคลาสสิกเท่านั้นแต่ไม่สามารถอธิบายความงามในรูปแบบอื่นที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของศิลปะทั้งหมดได้


ผลงาน :representation
•เพลโต้ที่กล่าวถึงโลกสมบูรณ์ของแบบที่ไม่ได้ปรากฏให้เราสัมผัสได้แต่มนุษย์เราและโลกได้ลอกแบบของความสมบูรณ์แบบนั้นออกมาให้ปรากฏ
•Biederman, Leonado, E.H. Gombrich ที่ยกย่องการสร้างผลงานแบบลอกเลียนแบบสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ 
ความสัมพันธ์ระหว่างผลงานศิลปะกับสิ่งที่สร้างพวกมันขึ้นมา ลักษณะของโลกที่สร้างผู้คนและสิ่งต่าง ๆ จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบพื้นฐานและชนิดของงานศิลปะทั้งหลาย
คนเราไม่ได้ลอกแบบทั้งหมดที่เขารับรู้(หรือเขาได้รับรู้สิ่งที่อยู่ตรงนั้นทั้งหมดหรือไม่?) 
แต่ละคนจะมีรูปแบบเฉพาะในการรับรู้และมีการแสดงออกเฉพาะของตนเอง

สรุป
ศิลปิน
มีการพยายามที่จะให้การค้นคว้าที่มาของคุณลักษณะเฉพาะของศิลปินแต่ก็ยังไม่สามารถให้ความชัดเจนได้อย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการความเจริญเติบโตของการพัฒนาด้านสุนทรีย์เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Gardnerให้ความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาด้านศิลปะของมนุษย์ 

ผู้ชมงานศิลปะ
เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ชมสัมผัสกับงานหรือชื่นชมผลงาน ได้มีความพยายามที่จะอธิบายถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อชมงานแต่ก็ยังไม่สามารถให้ความชัดเจนในกรณีที่คนแต่ละคนทำไมจึงมีปฏิกิริยาต่องานไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน

ผลงาน 
คำถามที่น่าสนใจคืองานแบบใดคืองานที่ดี ?
ได้มีนักสุนทรียศาสตร์พยายามนำเสนอมุมมองในการจัดแบ่งผลงานและนักคณิตศาสตร์ที่พยายามหาคำอธิบายถึงคุณภาพของงานด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์แต่ก็ไม่อาจให้คำตอบสำหรับความงามทางศิลปะที่มีการเปลี่ยนแปลงและหลากหลายได้ทั้งหมด

ทฤษฎีทางจิตวิทยาก็ยังไม่สามารถอธิบายในเชิงกระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแม้ว่าจะมีความพยายามในการอธิบายถึงความคิดสร้างสรรค์ศิลปะก็มีข้อมูลสำหรับในเชิงสุนทรีย์ไม่มากนักหรือถ้าใช้ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทางวิทยาศาสตร์ก็มิอาจทำได้เนื่องจากกระบวนทัศน์ของการคิดและการทำงานของคนทั้ง2 กลุ่มนี้แตกต่างกัน 

Gardner ได้สนใจ
1)เด็กเล็กมีพรสวรรค์มากกว่าเด็กโตในการวาดภาพการแสดงออกทางสัญลักษณ์ ฯลฯ แล้วถ้าเราศึกษาถึงกลไกทางปัญญาหรือความรู้สึกทางสังคมของเด็ก พัฒนาการที่ปรากฏจะมากขึ้นหรือน้อยลง ทำไมการแสดงออกและความประทับใจที่ได้รับในศิลปะจึงแปรผกผันกัน
2)เป็นการยากที่จะสร้างขั้นต่างๆ ที่เป็นแบบแผนแนวโน้มของพัฒนาการทางสุนทรีย์มากกว่าที่จะแสดงออกมาในรูปกลไกทางจิตใจแบบอื่นและเราควรจะปฏิบัติต่อเด็กอย่างไรจึงจะไม่ไปทำลายความสามารถในการแสดงออกของเด็กที่ยิ่งถดถอยลงไปเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น?




 

Create Date : 17 มกราคม 2557   
Last Update : 1 มีนาคม 2558 9:07:35 น.   
Counter : 2516 Pageviews.  



อันต้า
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Logo           พยายามทำหน้าที่ของตัวเอง  Smileyไม่เบียดเบียนตนอื่น(ระวังคนอื่นเบียดเบียนเราด้วย) Smiley มีน้ำใจมาก ๆ (เตือนตัวเองบ่อย ๆ ) หวังไว้ว่าแก่ตัวมาจะได้มีสังคมที่ดี ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น(เพราะทนอยู่ไม่ได้) ......แต่ไปอยู่ไหนดีล่ะ Smiley  เอาวะช่วยกันสร้างดีกว่า อย่างน้อยก็อย่าทำลายเนอะ Smiley

Free TextEditor        comment box
New Comments
[Add อันต้า's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com