หลักสุตร ฉบับบ้าน ๆ ตอนที่ 2

รอเปิดเทอมจ้า เลยว่างมาให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการศึกษาแก่ผู้สนใจทั้งหลาย ขอกล่าวย้ำเจตนาที่เคยบอกเสมอ ๆ อยากให้ผู้ปกครองทุกคนที่มีเด็ก ๆ ในสังกัดช่วยสอดส่องดูแลเด็กของตัวเองด้วย อย่าทิ้งให้เป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียนอย่างเดียว ช่วย ๆ ดูกันหลาย ๆ ฝ่ายและทำความเข้าใจกับเด็กตามวัยเค้า น่าจะพอสื่อสารกันได้และทำให้เยาวชนของชาติเรามีคุณภาพในอนาคต


จากคราวที่แล้วหลักสูตรฉบับบ้าน ๆ ตอนแรกออกมา เราได้ให้ความหมายของหลักสูตรแบบง่าย ๆ ไปแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญทุกหลักสูตรต้องมีเป้าหมายของการผลิตคนที่ชัดเจนว่า เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ตามเวลาที่กำหนดแล้ว ผลผลิตของผู้เรียนที่ได้จะเป็นคนแบบใด โดยจะระบุเป้าหมายหลัก ๆ ไว้ 3 แบบคือ พุทธิพิสัย (Cognitive) จิตพิสัย (Affective) และทักษะพิสัย (Psychomotor) 

ดังนั้นคนที่จะเลือกเรียนหลักสูตรใด ก็ควรจะดูเป้าหมายสุดท้ายของหลักสูตรนั้น ๆ ว่าตรงตามจุดประสงค์ความต้องการของตัวเองหรือไม่ ซึ่งบางหลักสูตรก็เน้นเฉพาะด้านหนึ่งด้านใดไปเลย เช่น เน้นฝึกทักษะ พวกหลักสูตรติวทักษะต่าง ๆ  หรือหลักสูตรกวดวิชาต่าง ๆ ที่เน้นทำข้อสอบก็มักจะเน้นเฉพาะพุทธิพิสัย เท่าที่สังเกตไม่มีหลักสูตรที่เน้นจิตพิสัยเท่าไหร่ แต่จริง ๆ ส่วนนี้ก็มีในวิชาดนตรี ศิลปะ ต่าง ๆ แต่จิตพิสัยเป็นเรื่องใช้เวลา และผลที่ได้ไม่ชัดเจนเลยต้องเบี่ยงไประบุเรื่องทักษะแทน แต่เราพึงตระหนักว่า คนเราถ้าเน้นด้านใดด้านหนึ่งอย่างเดียว ก็เป็นคนไม่สมบูรณ์ ขาด ๆ เกิน ๆ แบบที่เราเห็นได้ในปัจจุบันที่ก่อปัญหาทั้งส่วนตัว แล้วมีผลต่อครอบครัว ต่อสังคม โดยรวม



ทีนี้เราเกี่ยวข้องกับหลักสูตรใดมากที่สุด ? ตอนนี้ ณ ปัจจุบันคุณผู้ปกครองก็ควรจะทราบไว้ว่าประเทศไทยก็มีหลักสูตรของไทยเรียกว่า "หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551" ดาวโหลดหลักสูตรได้ที่ //www.curriculum51.net/upload/cur-51.pdf ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กำหนดให้ทุก ๆ สถาบันการศึกษาผลิตเยาวชนให้มีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดไว้ เพื่อให้สร้างคนไปในทิศทางเดียวกัน โดยสโลแกนหลักที่ได้ยินบ่อย ๆ ของหลักสูตรนี้ก็คือต้องการสร้างคนแบบ"เก่ง ดี มีความสุข" อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปการศึกษาปี พ.ศ. 2544 และปรับหลักสูตรอีกครั้งในปี 2551 จนได้หลักสูตรแบบในปัจจุบัน  โดยหลักสูตรแกนกลางนี้ได้มีพื้นที่เปิดโอกาสให้แต่ละสถาบัน แต่ละพื้นที่สามารถสอดแทรกความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ของชุมชนที่แตกต่างกันได้ด้วย

ถ้าใครดาวโหลดหลักสูตรมาดูเห็นสารบาญอาจจะงง ๆ นะคะ เยอะไปหมด แต่เพื่ออนาคตของลูฏหลานท่านควรจะอ่านค่ะ  ที่มาของหลักสูตรฯมาได้อย่างไร  มีหลักการของหลักสูตร มีวิสัยทัศน์ที่สร้างหลักสูตร จุดมุ่งหมายหลักสูตร เยอะไปหมด แต่ถ้าจะสรุปง่าย ๆ ว่าจุดประสงค์ของหลักสูตรระดับสามัญของเราคือจุดประสงค์สร้างคนที่ "เก่ง ดี มีความสุข"  แปลว่าเมื่อนักเรียนที่จบจากหลักสูตรแกนกลางฯนี้ ควรจะเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข ตามหลักการของหลักสูตร ซึ่งคนทำหลักสูตรก็ต้องมีหน้าที่ระบุมาว่า คุณสมบัติของคนเก่งที่ว่าคือทำอะไรได้บ้าง ทำได้แค่ไหน? คนดีคือเป็นคนแบบไหน? ต้องมีคุณธรรมอย่างไร? และมีความสุขที่ว่าควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะทำให้เป็นคนมีความสุข? 

แล้วหลักสูตรก็จะคลี่คุณสมบัติเหล่านั้นเป็นมวลประสบการร์ต่าง ๆ วิชาต่าง ๆ ว่าผู้เรียนจะจบหลักสูตรได้ต้องมีเวลาเรียนเท่าไหร่ เรียนอะไรบ้างสัดส่วนเท่าไหร่? ทำกิจกรรมอะไรบ้าง? เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณสมบัติตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่ว่า โดยหลักสูตรแกนกลางจะระบุเกณฑ์ขั้นต่ำที่ทุกสถานศึกษาต้องปฏิบัติ และมีการยืดหยุ่นได้ตามความพร้อม จุดเน้น และความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษาที่จะทำได้ จึงทำให้เกิด "หลักสูตรสถานศึกษา" ขึ้นของแต่ละโรงเรียนโดยอยู่ในใต้กรอบหลักของหลักสูตรแกนกลางฯ อีกที ซึ่งตรงนี้ข้ามขั้นไปนิด(แต่ไม่ค่อยเห็นเขตพื้นที่ใดทำให้เห็นรูปธรรมชัดเจน หรือเราไม่ได้ติดตามดูมั้งคะ)  แต่ละพื้นที่เรามีศึกษานิเทศน์เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่ของประเทศให้สอดคล้องเหมาะสม แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาก็จะมาคุยกันว่าพื้นที่ของคนควรจะสร้างคนที่มีเอกลักษณ์อย่างไรให้เหมาะกับวิถีชีวิตของพื้นที่นั้น ๆ  มีวัฒนธรรม ความเชื่อ เอกลักษณ์อย่างไรที่ควรเน้น และปัญหาใดที่ควรเน้นแก้ไข เขตพี้นที่เค้าก็จะตกลงกันเป็นกรอบกว้าง ๆ เช่น พื้นที่สูง นักเรียนต้องช่วยพ่อแม่ทำการเกษตรกรรม ก็อาจจะมีรายวิชาเสริมด้านการเกษตรมากหน่อย สอนทำบัญชีรายรับรายจ่าย หรือการแปรรูปสินค้าเกษตร ฯลฯ อันนี้ถ้าเป็นอุดมคติจริง ๆ กรรมการด้านการศึกษา ผู้นำท้องถิ่น จะมีส่วนช่วยกันกำหนดให้เหมาะสมกับอนาคตของเยาวชนจริง ๆ ไม่ใช่เรียนจบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ทำนาไม่เป็น เข้าเมืองก็เรียนสู้เค้าไม่ได้......(ชักเริ่มบ่นSmiley)  เม่อเขตพื้นที่การศึกษาระบุคุณสมบัติของพื้นที่ตนแล้วแต่ละสถานศึกษาก็จะเอากรอบของพื้นที่มาบวกกับเอกลักษณ์ของโรงเรียนตน ทรัพยากรที่ตนมี หรือจุดเน้นใด ๆ ที่จะสร้างผู้เรียนของตนภายใต้กรอบของประเทศ และเขตพื้นที่ โดยตรงนี้คณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละแห่งมีส่วนดูแลให้เป็นไปตามวิถีทางที่เหมาะสม (แต่บ้านเราคณะกรรมการไม่ค่อยมีบทบาทอะไรรวมถึงผู้ปกครองด้วย)



 ทีนี้เมื่อแต่ละสถานศึกษาระบุจุดประสงค์ของหลักสูตรตนเองชัดเจนแล้วก็สร้าง"หลักสูตรสถานศึกษา" ขึ้นมา โดยหลักสูตรที่ได้จะต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาฯ ตรวจสอบด้วย(อันนี้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนค่ะ) ผู้ปกครองทำอะไรได้บ้าง? ดูหลักสูตรสถานศึกษาค่ะ คุณพอใจกับเป้าหมายที่เค้าระบุไว้ในหลักสูตรรึเปล่า? ก็ตอนเราเลือกโรงเรียนนั่นแหละ ซื้อของยังต้องอ่านฉลาก เลือกโรงเรียนก็ต้องดูหลักสูตรค่ะ

ดูยังไง? คุณหรือผู้เรียนคนนั้นเค้าอย่างเป็นอะไรล่ะ? พอใจกับเป้าหมายที่โรงเรียนระบุคุณสมบัติของนักเรียนเมื่อจบหลักสูตรไว้มั้ย? อย่างโรงเรียนที่เน้นกีฬา เน้นกิจกรรม เน้นวิชาการ เน้นลักษณะนิสัย(ไม่ค่อยเห็นเนาะเห็นแต่เน้นวิชาการ)  จุดประสงค์การผลิตผู้เรียนมันตรงกันกับคุณหรือผู้เรียนของคุณรึเปล่า? ถ้าไม่เคยคิดก็เริ่มคิดได้แล้วค่ะ? ว่าอนาคตอยากเป็นอะไร มีชีวิตอย่างไร? แล้วตอนนี้เราควรเตรียมความพร้อมให้ตนเองอย่างไร?  แต่บางทีก็ว่าไม่ได้นะคะ บางครั้งคนจัดการศึกษาเองก็ลืม ๆ ไปว่าควรมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ว่าต้องการสร้างนักเรียนแบบไหนแน่ เห็นแต่จะเอาให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอย่างเดียว แล้วแค่นี้ถือว่ารับประกันอนาคตได้แน่รึเปล่า? 

ต่อมาเมื่อดูเป้าหมายการผลิตของโรงเรียนนั้น ๆ แล้ว พอใจแล้ว มาดูว่าได้เป้าหมายที่ว่ากับรายละเอียดกิจกรรม วิธีการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรต่าง ๆ มันจะทำให้เกิดผลอย่างนั้นจริงมั้ย เหมือนที่บอกว่าเราจะสร้างผู้เรียนที่มีนิสัยดีมีคุณธรรม แต่มัวไปเน้นสอนวิชาการ ไม่มีวิชาจริยธรรม คุณธรรม กฎกติกาในโรงเรียนไม่ส่งเสริมการเป็นคนดี ครูบาอาจารย์ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี(ดูคุ้น ๆ นะ) หนังสือเรียนมีคุณภาพจริงหรือเปล่า (อันนี้พ่อแม่อาจจะบอกว่าจนใจที่จะตรวจสอบจริง ๆ  เอาง่าย ๆ ในเนื้อหาที่คุณ ๆ ผู้ปกครองชำนาญ ต้องมีบ้างซักวิชาแหละ ดูสิว่าโรงเรียนเค้าเลือกหนังสืออะไรมาให้ลูกเราเรียน แล้วลองเปรียบเทียบกับหลักสูตรของวิชานั้น ๆ  ว่าในชั้นนั้นเด็กต้องรู้อะไรบ้าง แล้วหนังสือเล่มนั้นมันมีครบถ้วน ถูกต้องและดีกว่าหนังสือเล่มอื่นที่ไม่ได้เลือกจริงมั้ย)  แต่ถ้าครูที่ทำการสอนได้ดีอย่างเข้าใจบางครั้งก็ไม่ต้องใช้หนังสือเพียงเล่มเดียวแต่ยึดตามหลักสูตรที่ระบุไว้แล้วสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนมีความรู้นั้น ๆ ได้ก็ถือว่าครบถ้วนค่ะ  ถ้าจุดประสงค์กับวิธีการหรือองค์ประกอบอื่น ๆ มันไม่ไปด้วยกันก็แปลว่าคนเขียนเป้าหมายหลักสูตร กับคนเอาหลักสูตรไปใช้ไม่เข้าใจกัน มีเป้าไปก็เท่านั้น แล้วก็เข้าอีหรอบเดิมคือทำตาม ๆ กัน (อันนี้ก็คุ้น ๆ อีก) แสดงถึงผู้ที่จัดการศึกษานั้นไม่มีความเข้าใจในหลักสูตรและการจัดการศึกษาดีพอ มิสมควรฝากลูกหลานไว้ให้เสี่ยงกะอนาคตต่อไป แต่ถ้าเราไปก้าวก่ายครูมาก ๆ ก็อาจจะมีเหวี่ยงกันกับครู ทำไงดี? ค่อย ๆ เก็บข้อมูลไปค่ะ เอาแบบไม่ออกหน้ามากนัก หาความรู้ด้วยตัวเอง ถามครูฝ่ายวิชาการ ถ้าเค้าเจตนาดีจริงเค้าต้องเข้าใจเรา และยินดีให้ควมรู้เรา เพื่อช่วยกันพัฒนาเด็กให้ได้ตามเป้าค่ะ ลูกเราทั้งคนอย่าปล่อยไว้ให้คนอื่นหมดค่ะ

ทีนี้พอดู ๆ แล้วไม่มีหลักสูตรใดเหมาะใจเราเลยทำไงดี? เมื่อเป็นหลักสูตรแกนกลางแบบนี้ แล้วเรามีสิทธิเลือกหลักสูตรสำหรับเด็ก ๆ ของเราจริงหรือ? เป็นไปได้จริงค่ะ และการศึกษาปัจจุบันก็เปิดช่องทางไว้ให้แล้ว เช่นการศึกษาปัจจุบันมีการศึกษาในระบบ(แบบที่เข้าโรงเรียนทั่ว ๆ ไปนี่แหละค่ะ) การศึกษานอกระบบ(แบบที่คนขาดโอกาสเรียน กศน.ค่ะ) และการศึกษาตามอัธยาศัย(เช่น Home School) ทั้ง 3 ระบบมีขั้นตอนการรับรองสถานนะในวิธีการต่าง ๆ กระแสหลักก็ยังมีมากกว่า แต่กระแสตามอัธยาศัยก็มีมากขึ้น ส่วนในกระแสหลักก็เริ่มมีโรงเรียนทางเลือกให้เลือกมากมาย เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนวิถีพุทธ ฯลฯ หาดูได้ในกูเกิ้ลเลยค่ะ คำค้นคือ การศึกษาทางเลือก (ส่วนตัวผู้เขียนมีหลานเรียน Home school ค่ะ แม่น้องเค้าไม่พอใจหลักสูตรไทยในส่วนของวิชาสังคม เวลาเจ๊เลือกโรงเรียนให้ลูกขอดูหนังสือเรียนก่อนเลยค่ะ และประกอบกับตัวลูกชายเจ๊แกมีปัญหากับการเรียนในระบบ ย้ายโรงเรียนมาแล้วทุกรูปแบบ ทั้งตามกระแส ทั้งเอาใกล้บ้าน ทั้งนานาชาติ ปัญหามีมาแก้ไม่ตกเรื่องพฤติกรรม จนมาจบที่เจ๊แกต้องจัดการกับลูกแกเองค่ะ ตอนแรกก็เหนื่อยมาก แต่พอเข้าที่เข้าทางก็ดีค่ะ ทั้ง 2 คน อยู่ในสายตาแม่และกลายเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ตอนนี้คนโตก็กำลังสอบเทียบความรู้เพื่อเอามาสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย.....ไว้โอกาสหน้ามาให้ข้อมูลนะคะ ) ไม่ได้บอกว่าคุณต้องมาสอนเองนะคะ แต่เอาเป็นว่าควรสอดส่องดูแลว่าการเรียนรู้ที่เราจัดให้เด็กเรานั้นเหมาะกับเค้ามั้ย ถ้ามีปัญหาก็ต้องแก้ไข ปัญหามันก็มีทางแก้เสมอแหละค่ะ เพียงแต่ว่าคุณผู้ปกครองทั้งหลายต้องหาความรู้แล้วตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่งมีช่องทางมากมายแล้วมาพิจารณาตามความพร้อมของตนเอง ก็ถือว่าดีกว่าไม่มีทางเลือกใด ๆ ได้เลยนะคะ 

วันนี้ได้เรื่องจุดประสงค์หลักสูตรที่สอดคล้องกับกระบวนการสร้างและใช้หลักสูตร อาจจะยากนิดสำหรับคนไม่มีความรู้ด้านการศึกษานะคะ แต่การศึกษาปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิตค่ะ เราค่อย ๆ หาข้อมูลและสังเกตเก็บข้อมูลเอาไว้ได้  เราควรหาความรู้ในสิ่งที่จะเป็นผลต่อตนเองและครอบครัว เพื่อรักษาสิทธิและทำหน้าที่ของตนให้เต็มที่ อย่ามัวแต่หาเงินค่ะ หาความรู้อื่น ๆ ด้วยจะได้ใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าด้วยและมีความสุขนะคะ ไว้มาต่อโอกาสหน้าค่ะ



Create Date : 27 ตุลาคม 2555
Last Update : 27 ตุลาคม 2555 22:36:46 น. 2 comments
Counter : 1743 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: Kavanich96 วันที่: 28 ตุลาคม 2555 เวลา:3:57:24 น.  

 
 
 
ได้แนวคิดทางการศึกษามากครับ ผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กๆควรได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้ครับ
 
 

โดย: Insignia_Museum วันที่: 30 ตุลาคม 2555 เวลา:19:38:46 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อันต้า
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Logo           พยายามทำหน้าที่ของตัวเอง  Smileyไม่เบียดเบียนตนอื่น(ระวังคนอื่นเบียดเบียนเราด้วย) Smiley มีน้ำใจมาก ๆ (เตือนตัวเองบ่อย ๆ ) หวังไว้ว่าแก่ตัวมาจะได้มีสังคมที่ดี ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น(เพราะทนอยู่ไม่ได้) ......แต่ไปอยู่ไหนดีล่ะ Smiley  เอาวะช่วยกันสร้างดีกว่า อย่างน้อยก็อย่าทำลายเนอะ Smiley

Free TextEditor        comment box
New Comments
[Add อันต้า's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com