สู้โว้ย! หลักสูตรฉบับบ้าน ๆ

ขอขึ้นหัวข้อBlog แบบนี้แล้วกัน เพื่อเป็นกำลังใจทั้งกับตัวเองและลูกศิษย์(คงไม่ได้อ่านหรอกเด็กชั้น มัวนั่งปั่นแผนส่งครูมันอยู่)

วันนี้มีเด็กในสังกัดโทรศัพท์มาถาม "อาจารย์ครับ ครูพี่เลี้ยงเค้าบอกว่ารอหนังสือก่อน ค่อยสอนตามนั้น" ก็คิดในใจ อ้าว! ก็โรงเรียนเปิดแล้วแกจะรออะไรอีก ชั้นจะไปดูแล้วนะ ไม่มีแผนมีเชือด จริง ๆ ต้องส่งแผนก่อนเปิดเทอมด้วยซ้ำ

อยากจะบอกว่า ปฏิรูปการศึกษา แต่ครูยังไม่ปฏิรูปเลย แล้วเด็กใหม่หลักสูตรปฏิรูปจบออกไปเข้าสู่วงจรเดิม จะไปง้างกับระบบเก่า ๆ ที่น่าจะเปลี่ยนได้มั้ยเนี่ย คิดแล้วก็อ่อนใจ แล้วก็ต้องบอกเด็กไปว่า สู้โว้ย!!

คราวหน้าคงต้องไปทำความเข้้าใจกับผู้มีอุปการะคุณทั้งหลายอย่างละเอียดอีกรอบ ว่าหลักสูตรคือกฎหมาย(โว้ย) หนังสือเรียน เห็นมาแล้วกะตาว่าเนื้อหาผิด บางเล่มก็ไม่สอดคล้องตามตัวชี้วัด(หลักสูตร) เค้ารู้มั่งมั้ยเนี่ย

คราวที่แล้วได้เกริ่นแล้วว่าผู้ปกครองคงต้องคอยสอดส่องดูแลการเรียนรู้ของบุตรหลานบ้าง อย่าคิดว่าจ่ายตังค์แล้วจบ เรียนจบค่ะ แต่อนาคตมันไม่จบอะดิ มันจะต่อสู้ในสังคมโลกบ่ได้(ตอนนี้โลกมันวิ่งเข้ามาหาเราแล้ว) เลยคิดว่าให้ความรู้เรื่องหลักสูตร แก่ท่าน ๆ บ้างดีกว่า จะได้ดูเป็นว่าที่โรงเรียนสอนนั้นเข้ารูปเข้ารอย หรือนอกโลกไปจนกู่ไม่กลับ

หลักสูตร คือ อะไร ถ้าเอาจะเนื้อหาวิชาการ ก็มีหลายความหมายแล้วแต่ใครจะอธิบายไป แต่ที่เข้าใจคือ มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาด้าน ความรู้ จิตพิสัย และทักษะให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร

จากความหมายข้างต้นมีคำที่คนปกติทั่วไป พ่อ ๆ แม่ ๆ ทั้งหลายอาจจะงง มวลประสบการณ์?  จิตพิสัย? จุดประสงค์ของหลักสูตร? มาดูกันทีละคำ

"มวลประสบการณ์" คำว่าประสบการณ์น่าจะพอเข้าใจกันได้นะคะ คือสิ่งที่ได้ผ่านพบประสบมาแล้วคนนั้นเก็บเป็นข้อมูล เป็นความรู้ เป็นความรู้สึก เป็นทักษะ คำว่าได้ผ่านพบประสบมาก็มีได้หลายแบบ แบบประสบการณ์ตรงก็คือ เจอตัวจริง เจอของจริง ได้ทำจริง ไม่ได้ฟังเค้ามาอีกทอดนึง ซึ่งประสบการณ์ตรงสำคัญที่สุด ดีที่สุด ให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด จนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ว่า Learning by Doing ดังนั้นในการจัดการศึกษาประสบการณ์ที่ว่าคือทุกอย่างที่ผู้เรียนหรือนักเรียนจะได้ประสบ พบ เจอ และทำในโรงเรียน หรือนอกโรงเรียนตามที่สถาบันนั้นจัดให้ ดังนั้นพอเป็นประสบการณ์หลาย ๆ แบบจึงเรียนว่า มวลประสบการณ์เพื่อกินความได้ครอบคลุมหลากหลายว่า ไม่ได้จัดให้รูปแบบเดียว แต่มาเป็นชุด ๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ซึ่งถ้าจะว่าไปเด็กเค้าก็เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วค่ะ มันเลยอยู่ที่ว่า เค้าอยู่กับอะไรมาก เจออะไรบ่อย มีอะไรใกล้ เค้าก็รู้เรื่องนั้นไป ยิ่งเด็กเล็ก ๆ สมองก็เหมือนฟองนำ้ ซึมซับดี สิ่งแวดล้อมจึงสำคัญมาก ๆ พ่อแม่ก็ควรระมัดระวัง และให้โอกาสลูก ๆ ได้มีประสบการณ์ที่ดี ที่ทำให้เค้าเรียนรู้โลก ตามวัย ช่วยเสริมกันไปกับโรงเรียน อย่าคิดว่าการเรียนของลูกเป็นภาระของโรงเรียนนะคะ ในโรงเรียนก็ทำในขอบเขตของทักษะความรู้พื้นฐานที่จะเป็นฐานในการเรียนขั้นสูงและมีอาชีพต่อไป เช่น การสื่อสาร การคำนวน การคิด ฯลฯ แต่ทักษะบางอย่างซึ่งมีในหลักสูตรค่ะ แต่ทางบ้านน่าจะช่วยได้ดีที่สุด คือสอนนิสัย สอนวินัย สอนทักษะชีวิต ทัศนคติทางจิตใจค่ะ ยิ่งถ้าอยู่โรงเรียนนักเรียนมาก ๆ ครูไม่มีเวลามาเอาใจใส่นิสัยเด็กทุกคนหรอกค่ะ ยกเว้นพวกก่อปัญหา(ซึ่งตอนนั้นก็แก้ยากแล้ว) ไม่งั้นจะได้ผู้ใหญ่แบบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด หรือ มีวิชาแต่เห็นแก่ตัว เบียดเบียนสังคม ซึ่งตอนนี้มีมากจริง ๆ



คำต่อไป "จิตพิสัย" คำนี้มาเป็นชุดค่ะ ตามDomain ของการจัดจุดประสงค์การเรียนรู้ ของ Benjamin S.Bloom เค้าแบ่งเป้าหมายของการเรียนรู้เป็น 3 ด้านหลัก ๆ คือ 1) ด้านพุทธิพิสัย(ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ ในเนื้อหา) 2) ด้านจิตพิสัย จะเน้นทางทัศนคติ ความรู้สึกถึงคุณค่าหรือส่วนที่เป็นจิตใจ ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เช่น จรรยาบรรณ ซาบซึ้งในคุณค่า  และ 3) ด้านทักษะ คือสิ่งที่ใช้ร่างกายทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเนื่องมาจากความชำนาญ คือผ่านการฝึกมาซ้ำ ๆ จนทำได้ดั่งที่ใจนึก(แบบนักฟุตบอลเตะลูกโทษแล้วบังคับทิศทางได้) ซึ่งในการเรียนรู้เรื่องหนึ่ง ๆ ควรจะคำนึงถึงเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน(แต่ที่ดู ๆ บ้านเราจะเน้นพิสัยแรกซะส่วนมากเพราะมันวัดได้ง่ายสุด) สิ่งนี้จึงตอบคำถามได้ว่าในเมื่อเรียนกวดวิชาแล้วเข้าใจกว่า ทำไมต้องไปโรงเรียนอยู่ล่ะ ก็เรียนในโรงเรียนกวดวิชาเลยไม่ดีกว่าหรือ โรงเรียนกวดวิชาเน้นด้านเดียวค่ะคือพุทธิพิสัย กับทักษะพิสัยในบางวิชาชีพ แต่ปัญหาสังคมตอนนี้คือเราขาดการอบรมปลูกฝังด้านจิตพิสัยกันมาก ขนาดว่ามีกำหนดในหลักสูตรบางทีครูก็ลืม ๆ หรือสอนมากก็ถูกผู้ปกครองบางท่านแทรกแซง(อันนี้เคยโดยมากะตัว คิดแล้วก็ได้แต่ปลง)

คำสุดท้ายอันเนื่องมาจากความหมายของหลักสูตรคือ"จุดมุ่งหมายของหลักสูตร" ในระบบการศึกษาจะทำอะไรก็เหมือนทุกระบบแหละค่ะ ต้องมีเป้าหมาย แต่ละหลักสูตรจะมีเป้าหมายต่างกันตามจุดประสงค์ในการพัฒนาคนของหลักสูตรนั้น เช่น หลักสูตรวิชาชีพทำอาหารตามสั่งขาย ก็มีเป้าหมายให้ผู้เรียนที่จบออกมาประกอบอาชีพทำอาหารตามสั่งหารายได้  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพต่าง ๆ  ก็มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตรผ่านมวลประสบการณ์ต่าง ๆ แล้วได้มาตรฐานตามวิชาชีพนั้น ๆ ตามที่องค์กรณ์วิชาชีพนั้น ๆ ควมคุมคุณภาพอยู่(ถ้ามี) เช่น วิชาชีพครู(คุรุสภา) วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล วิศวกร สถาปนิก บัญชี ฯลฯ
สำหรับวิชาชีพครู แต่เดิมถ้าเรียนครบตามหลักสูตรวิชาครูก็ได้ใบประกอบวิชาชีพทันที ทั้งเรียนมาโดยตรงครู 5 ปี และ เรียนเพิ่มเติมคือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู 1 ปี แต่ตั้งแต่หลักสูตร 2555 เป็นต้นไป นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูแม้ว่าได้เรียนครบตามหลักสูตรแล้ว ก็ยังต้องไปสอบวัดมาตรฐานอีกครั้งเพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพ อันเป็นการควบคุมคุณภาพของครูอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสถาบันที่ผลิตครูก็ต้องเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาของตนสอบให้ผ่าน ซึ่งเป็นการสะท้อนคุณภาพของสถาบันด้วย



ขอจบภาคแรกไว้แค่นี้ก่อนนะคะ เราได้ความหมายของหลักสูตรล่ะ ไว้คราวหน้ามาดูหลักสูตร สพฐ.หรือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกัน

ปล.ข้อมูล ข้อความต่าง ๆ ถ้ามีผู้รู้ท่านใดอ่านแล้วรู้สึกว่าผิดไปจากหลักการจริง ๆ ก็ยินดีรับคำชี้แนะนะคะ ทั้งหมดนี้เขียนมาจากความรู้ที่มีอยู่ในสมองล้วน ๆ ไม่ได้มีการค้นเพิ่มเติม หรืออ้างอิงจากหลักฐานทางวิชาการใด ๆ เลย เพราะตอนเขียนไม่มีข้อมูลใกล้ตัว แต่หวังเพียงสร้่างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองอย่างง่าย ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลการศึกษาของลูกหลานได้เข้าใจยิ่งขึ้น

ไว้โอกาสหน้ามาต่อค่ะ



Create Date : 19 พฤษภาคม 2555
Last Update : 19 พฤษภาคม 2555 22:25:03 น. 6 comments
Counter : 925 Pageviews.  
 
 
 
 
ยินดีกับคุณครูอันต้าที่จะได้ไปศึกษาต่อครับ

ได้อ่านจนจบทั้งบทความ ได้ความรู้มากครับ บางทีดูสมุดพกเด็กก็ไม่ค่อยเข้าใจ ศัพท์แสงภาษาไทยง่ายๆก็ไม่อยากจะใช้กัน

ภาพเด็กกับคุณยายถือแบงก์ยี่สิบ ผมเคยไปยืนดูภาพของจริงมาแล้ว เป็นการประกวดภาพวาดซึ่งธนาคารกสิกรไทยเป็นเจ้าภาพในปีหนึ่งครับ
 
 

โดย: Insignia_Museum วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:22:41:19 น.  

 
 
 
เห็น "ครู" ต้องไปอบรม ตอนปิดเทอม .. กันเกือบจะทุกปี .. อบรม กันแล้ว อบรมกันอีก .. เพื่อกลับมาสอนศิษย์ .. ก็เห็นแต่ ศิษย์(รุ่นหลัง ๆ) .. เรียนแล้ว ก็ยิ่งไม่ฉลาดรอบรู้ เหมือนสมัยก่อน ๆ เลย นิ ?
 
 

โดย: ลุงตุ๊ IP: 125.26.141.187 วันที่: 20 พฤษภาคม 2555 เวลา:8:14:21 น.  

 
 
 
ยินดีค่ะที่มีคนอ่าน อยากให้ผู้ปกครองทุกคนหันมาช่วยกันใส่ใจการศึกษาของลูกหลานตัวเองด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยกันสร้างคนที่มีคุณภาพค่ะ
 
 

โดย: อันต้า วันที่: 20 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:31:12 น.  

 
 
 
สวัสดีครับ แวะเข้ามาทักทายครับ ... สบายดีนะครับ
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
 
 

โดย: kruchang tossapol วันที่: 13 มิถุนายน 2555 เวลา:12:20:30 น.  

 
 
 
ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามนะคะ ตอนนี้เริ่มเปิดเทอมค่ะ กลับไปเรียนต่อ และย้ายที่อยู่ใหม่ อะไร ๆ ก็ไม่เข้าที่ เรียนก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง เดินทางก็เหนื่อย(กรรมของคนกทม.) ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ป่วยแบบแพคคู่ เริ่มจากหวัด แล้วตามด้วยไข้แบบต่ำ ๆ ไม่มากแต่ทำงานไม่ได้นอกจากนอน ไว่เข้าที่เข้ทางจะมาต่อนะคะ ตอนนี้ขอไปทำการบ้านก่อน
 
 

โดย: อันต้า วันที่: 8 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:02:30 น.  

 
 
 
เราควรปฏิรูปการศึกษาไทย อย่างจิงจัง ซะทีนะ ><
 
 

โดย: jaikojung (jaikojung ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:21:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อันต้า
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Logo           พยายามทำหน้าที่ของตัวเอง  Smileyไม่เบียดเบียนตนอื่น(ระวังคนอื่นเบียดเบียนเราด้วย) Smiley มีน้ำใจมาก ๆ (เตือนตัวเองบ่อย ๆ ) หวังไว้ว่าแก่ตัวมาจะได้มีสังคมที่ดี ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น(เพราะทนอยู่ไม่ได้) ......แต่ไปอยู่ไหนดีล่ะ Smiley  เอาวะช่วยกันสร้างดีกว่า อย่างน้อยก็อย่าทำลายเนอะ Smiley

Free TextEditor        comment box
New Comments
[Add อันต้า's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com