หลักสูตรฉบับบบ้าน ๆ ตอนที่ 3

page นี้เขียนไว้ตอนเรียน course work จบใหม่ ๆ แต่ด้วยพอกลับบ้านแล้วเจอบทเรียนชีวิตดราม่าในตลอดปีที่ผ่านมา เขียนเสร็จแต่อารมณ์ตอนนั้นไม่อยากจะโพสต์ เก็บตัวเงียบผจญกับภัยต่าง ๆ ที่เข้ามาให้แก้ ผ่านไปอีกเกือบปี เพ่งได้กลับมาทำการศึกษาต่ออย่างจริงจัง มาอ่าน ๆ ดู ว่าเราทำอะไรไว้บ้าง และคิดว่าน่าจะเอาช่องทางนี้เป็นเหมือน study report ของตัวเอง มาแบ่งปันความรู็แก่คนอื่น ๆ เป็นวิทยาทานระหว่างเรียนดีกว่าจึงคิดว่าจะกลับมาเขียน blog อีกครั้ง แล้วก็มาดูว่าเอะ! เรื่องหลักสูตรอันล่าสุดเขียนแล้วยังไม่ได้โพสต์ ก็ขอโอกาสนี้วันพระใหญ่โพสต์ซะเลย แล้วเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจะตามมาเรื่อย ๆ นะคะ 

หายไปนานอีกแล้ว พักก่อน 9 เดือนเรียนหนังสือค่ะ เรียนหนักมาก ๆ  เพื่อนยังแซวว่าเวลาเหมือนแกลาไปคลอดเลยเนาะ หายไปจากสาระบบ 9 เดือน พอดีได้ลูก 1 คน แต่นี่ได้ course work สำหรับ 1 หลักสูตรมาแทน รุ่นหน้าบอกอาจารย์แล้วว่าโหดไปค่ะ 2 เทอมจบ course work นี่คนเรียนยังไม่ยังได้ซึมซับวิชา ได้แต่ยัด ๆ เข้ามาไว้ แล้วค่อยขย้อนออกมาเคี้ยวอีกทีภายหลัง(เหมือนสัตว์บางประเภทเนาะ) ปิดเทอมมาพักนึงแล้วก็เปิดเทอมแล้วด้วยค่ะ แต่ข้อมูลที่เรียนมาก็ยังไม่ได้เอามาเคี้ยวเพื่อพัฒนาต่อเป็นงานวิจัยได้สักที มัวอยู่บ้าน รับภารกิจทั้งงานราช งานหลวงเพลินจนจะต้องไปรายงานความคืบหน้าของงานวิจัยจึงต้องมาวิ่งตาเหลือกอีกครั้ง คราวนี้ย้อนกลับมาอ่านงานเก่าเพราะต้องใช้สอนด้วย เลยคิดว่าได้ ซีรี่ย์ เรื่องหลักสูตรนี่มันยังไม่จบสมบูรณ์ อย่ากระนั้นเลย มาต่อให้จบภาคดีกว่า



จาก 2 ตอนครั้งก่อนได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร และ องค์ประกอบของหลักสูตรในส่วนของ จุดประสงค์และวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่  
ขอย้อยเรื่ององค์ประกอบหลักสูตร(ถ้าดูในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจะพบว่าเยอะ ตาลายไปหมด) องค์ประกอบหลักสูตรทุกหลักสูตรมีเหมือน ๆ กันในทุกระดับคือ
  1. จุดประสงค์ ต้องการสร้างคุณสมบัตืผู้เรียนให้เป็นแบบใด ถ้าระดับรายวิชาคือ เมื่อจบรายวิชาผู้เรียนจะมีความรู้และทำอะไรได้บ้า(ดูได้จากคำอธิบายรายวิชา)
  2. เนื้อหา อันนี้ดูได้จากรายวิชาต่าง ๆ และหนังสือ บทเรียนที่ใช้ในแต่ละหลักสูตร หรือแต่ละรายวิชา
  3. การนำหลักสูตรไปใช้ อันนี้คือวิธีการที่จะบรรลุตามจุดประสงค์ที่ว่าไว้ ผู้ที่จะทราบได้ว่าการจัดมวลประสบการณ์แบบใดจะบรรลุตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่วางไว้ มักเป็นผู้ที่มีความรู้ทางการจัดการศึกษา คือรู้ว่าหลักการเรียนรู้คืออะไร พัฒนาการของผู้เรียนแต่ะวัยเป็นอย่างไร มีวิธีการหลักหารเรียนรู้กี่แบบ และแบบไหนเหมาะกับใคร หรือสถานการณ์อะไร ฯลฯ หรือถ้าเป็นระดับรายวิชาก็คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะใช้สอนหรือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ถ้าส่วนมากก็ไปเน้นที่บรรยาย ซึ่งปัจจุบันเรารู้ว่ามันไม่ได้ผลกับผู้เรียนทุกคนเสมอไป แม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัย ผู้เรียนจึงต้องมีการศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม ทำงานเอง ทำการบ้านเอง จึงจะได้ผล ไอ้พวกลอก ๆ ส่งก็จบได้ค่ะ แต่ไม่ได้ความรู้ การนำหลักสูตรไปใช้ที่ดี ครูจะให้กิจกรรมแก่ผู้เรียนที่หลากหหลาย และสอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียน และเน้นการให้ผู้เรียนสร้าง สรุปความรู้จากประสบการณ์ที่จัดให้ในดารเรียรู้ด้วนตนเอง จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดี มีความหมายต่อเด็ก     งั้นพ่อ ๆ แม่ ๆ ทำไง ไม่ได้เรียนมา ไม่ต้องกังวลค่ะ บางทีไอ้คนที่เรียนมาก็ได้แต่ทฤษฎี ปฏิบัติก็ไม่ได้เอาความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง ๆ  แต่ผู้ปฏิบัติจริง เช่นผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกเอง ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่รู้ทฤษฎีมากมายอะไร แต่ปรับแก้พฤติกรรมของลูกหรือเด็กในสังกัดได้ให้เป็นคนดีได้ตามที่ควรจะเป็น อันนี้น่ายกย่องกว่า แล้วท่าน ๆ ก็หาความรู้ได้จากหนังสือแล้วนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ดีกว่ามีแต่ทฤษฎีเป็นไหน ๆ เป้าหมายสุดท้ายคือกล่อมเกลาให้เยาวชนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และเป็นคนดีของสังคม ช่วยพัฒนาประเทศชาติและอยู่ได้อย่างมีความสุข 
  4. การประเมินหลักสูตร  คือการนำผลที่ได้มาพิจารราเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ที่วางไว้ตอนแรกว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำผลที่ได้มาใช้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และการเรียนากรสอนต่อไป ซึ่งจะอธิบายต่อไปค่ะ


อรัมภบทยาวล่ะ มาต่อเรื่องหลักสูตรของเราดีกว่า คราวก่อนเราพิจารณาว่าจุดประสงค์กะวิธีการมันสอดคล้องเป็นไปด้วยกันรึเปล่า บอกว่าจะสร้างคนแบบหนึ่งแต่ดันใช้วิธีการฝึกอีกแบบ ผลที่ได้ก็ไม่น่าจะสอดคล้องกัน ในระบบของหลักสูตรถือว่าไม่ประสบความสำเร็จแน่ ๆ เป้าหมายกับ เนื้อหาและกระบวนการต้องไปในทิศทางเดียวกัน

 ทีนี้ แล้วก็ต้องมาดูว่าการประเมินผลสำเร็จเมื่อเอามาเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้มันเป็นเรื่องเดียวกันมั้ย บรรลุตามเจตนารึเปล่า ส่วนประกอบตอนท้ายนี้เหมือนกับว่าไม่น่าจะมีผลอะไรแล้วเพราะขบวนการได้ทำไปแล้ว แต่จริง ๆ แล้วมีความสำคัญในการที่จะทำให้เราได้รู้ว่า กระบวนการที่เราให้ผู้เรียนไป ออกผลมาเป็นอย่างไร ได้ผลมั้ย ถ้าได้มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลก็เก็บมันไว้ใช้งานต่อ ถ้าไม่ได้ก็หาตัวแปรที่ทำให้เกิดปัญหาแล้วแก้ไข ปรับปรุงขบวนการต่อไป เพื่อให้การดำเนินการในภายหน้าดีขึ้นเรื่อย ๆ และเข้าใกล้จุดประสงค์ที่สุด

ขั้นตอนนี้เหมือนนักเรียนส่งการบ้านให้ครูแล้วครูตรวจให้คะแนนแล้วไม่แจ้งกลับผู้เรียนว่าเค้ามีข้อดี ข้อด้อย ทำอะไรพลาดไปบ้าง ให้แต่เกรดเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ก็เท่านั้น ผู้เรียนไม่เกิดการพัฒนาตนเองเพื่อแก้ปัญหา ผู้สอนก็ไม่เกิดการพัฒนาการสอนของตนเอง เพราะถ้าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทำไม่ได้ตามเป้าหมาย บางครั้งปัญหาไม่ได้มาจากผู้เรียน แต่มาจากผู้สอนหรือคนที่จัดการเรียนการสอน พวกเรามักจบกันที่คะแนนกับเกรด นั่นเป็นสิ่งที่บอกว่าเราทำอะไรไปแล้วเป็นอย่างไร แต่ไม่เกิดการพัฒนาใด ๆ แก่ระบบการเรียนรู้ ครูที่ดีต้องคืนผลงาน หรือผลการเรียนแก่เด็ก หรือผู้ปกครองแล้วคุยกันว่ามันมีปัญหาอะไร แล้วเราจะแก้อย่างไรต่อไป แถมเป็นการช่วยกันตรวจสอบการตรวจ ตัดสินของครูอีกชั้นในกรณีที่เป็นข้อสอบ (ครูก็คนมีผิดพลาดได้ ส่งการบ้าน งาน ข้อสอบคืนเด็ก แล้วมาตรวจดูบางทีมีการคิดคะแนนผิด ตรวจผิด ก็จะได้แก้ไข)


สำหรับหลักสูตรรวมใหญ่ ๆ ก็จะมีการทำวิจัยติดตามผู้เรียนที่จบไปแล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง ที่เรียนไปได้เอาไปใช้มั้ย หรือถ้าทำได้อยากให้เพิ่มเติมอะไรในหลักสูตรอีก เพื่อเอาข้อมูลจริงมาปรับปรุงหลักสูตร ดังนั้นหลักสูตรใดใช้มาจนครบรอบของหลักสูตรแล้วไม่มีการเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรจึงควรพิจารณาให้ดีว่ามันจะเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมหรือไม่ มิควรเสี่ยงเอาลูกหลานไปฝากเรียนไว้ (ครบรอบหลักสูตรคือ ตลอดหลักสูตรใช้เวลากี่ปีก็ในปีถัดไปควรได้มีการดำเนินงานปรับปรุงหลักสูตรได้แล้ว เช่น หลักสูตร 2 ปี ปีที่ 3-4 ที่นักเรียนรุ่นแรกจบแล้วเข้าสู่สังคมหรือที่เรียนใหม่ควรมีการพัฒนาปรับปรุง จุดประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนในภาพรวมของหลักสูตรทั้งหมด )

ขบวนการทางหลักสูตรและการเรียนการสอนจึงจะถือว่าครบถ้วน ทีนี้หลักสูตร ก็ไม่ได้เป็นเฉพาะมวลประสบการณ์รวมตามโครงสร้างหลักสูตรที่ต้องเรียนจบตลอดหลักสูตรนั้น ๆ แล้วจึงจะพิจารณาปรับแก้เท่านั้น ระหว่างดำเนินการก็ทำได้ แต่ในระดับย่อย ๆ ของ กลุ่มวิชา รายวิชา บทเรียน และรายคาบกิจกรรมที่สอน ขืนรอจนจบหลักสูตรก็ไม่ทันการแล้ว ดังนั้นอะไรก็ตามที่มีจุดประสงค์ มีเนื้อหา มีการนำหลักสูตรไปใช้(การจัดประสบการร์แก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้) มีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เราถือวาเป็นหลักสูตรแล้ว แต่มันเป็นระดับย่อย ๆ ของหลักสูตรใหญ่ ซึ่งควรมีการปรับแก้ไขตามรอบขบวนการของมัน ดังนั้นครูคนใดสอนแต่ละปี แต่ละเทอมแบบเดิม ๆ  เนื้อหาเดิมกิจกรรมเดิม แถมข้อสอบวิธีวัดประเมินผู้เรียนแบบเดิม ๆ พึงพิจารณาว่ามันจะมีคุณภาพมั้ย 
บางคนเคยบอกว่างานครูน่าเบื้อ สอนเรื่องเดิม ๆ ทั้งปีทั้งชาติ แต่ถ้าเข้าใจหลักสูตรแล้วจะรู้ว่า ถ้าเค้าเป็นครูโดยจิตวิญญาณ เค้าต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนาการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะเด็กที่มาเรียนเปลี่ยนแปลงตลอด แต่ละรุ่นมีภาพรวมของความสนใจ ของนิสัยที่แตกต่างกัน แถมเนื้อหาในสังคมที่จะให้ผู้เรียนพิจารณาประยุกต์ใช้ความรู้เปลี่ยนตลอด ครูต้องหาทางทำให้ผู้เรียนเรียนได้ดีที่สุด และหลักสูตรรวมภาพใหญ่ก็เปลี่ยนทุก ๆ รอบของหลักสูตร เห็นมั้ยว่ามันไม่ใช่สอนแบบเดิมได้แล้ว ถ้าจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้


แล้วเป็นพ่อเป็นแม่ ไม่มีความรู้เรื่องหลักสูตรทำอย่างไรดี คุณควรแบ่งเวลาเรียนรู้เรื่องการศึกษาหรือการเรียนรู้ของลูกคุณ อย่าปล่อยจนเค้าโต แล้วแก่เกิดแก้ ทั้งความรู้ที่จำเป็น ทั้งนิสัยที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ ทั้งค่านิยม การให้ค่ากับสิ่งใด ๆ ได้อย่างเหมาะสม คุณคือคนดูแลเค้าโดยแท้ โรงเรียนและครูเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่ในส่วนที่จะให้เค้าไปมีอาชีพในอนาคต แต่คุณคือทั้งหมดในอนาคตที่เค้าจะเป็น ดังนั้นถ้าเค้าเป็นคนที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา แล้วโดนด่าว่าพ่อแม่ไม่สั่งสอนก็ต้องรับไปค่ะ แต่พ่อแม่บางคนสมัยนี้ไม่รู้สึกเนาะ แถมแลี้ยงลูกให้เป็นคนแย่ ๆ แบตัวเองอีก

แล้วคุณผู้ปกครองน่าจะรู้อะไรบ้าง
รู้จักลูกตัวเองอย่างแท้จริงค่ะ เด็กบางคนทำบางอย่าง เรียนบางอย่างได้ดี แบบทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence)ของ Gardner แหละค่ะ คุณอย่าไปเอาความคิด ความฝันของตนเองไปใส่ไว้กะลูก คุณหวังดีว่าถ้าเป็นหมอแล้วรวย มีงาน มีเงินใช้ มีเกียรติ ก็บังคับให้เรียน บางคนก็เรียนได้แล้วไป บางคนเรียนไม่ได้ก็ทุกข์ไป แล้วบางคนก็ไปเป็นหมอแบบไม่ใส่ใจ จะเอาแต่เงินไม่สนคนไข้ว่าจะรู้สึกอย่างไร ทำงานไม่มีวิญาณก็ทำบาปต่อกันไป
บางคนเด็กเรียนสายสามัญไม่ไหว ก็เข็ญกันไป ทั้ง ๆ ที่ถ้าเค้าเรียนแบบสายอาชีพ ปฏิบัติจริงจะมีความสุขและเจริญก้าวหน้ากว่า แต่อย่างว่าค่านิยมของเราไปให้ค่ากับใบปริญญา ทั้ง ๆ ที่บางคนเรียนไปก็เท่านั้น ความรู้มีจบแค่ ม. 6 ได้ปริญญาแบบเบลอ  ๆ ก็เยอะ 



รู้ว่าสถาบันที่ลูกเข้าไปเรียนนั้นมีเป้าหมายอะไร หลักสูตรนั้นผลิตคนแบบไหน วิธีการผลิตมีหลากหลายและสอดคล้องกับเด็กของเราหรือไม่ บางคนต้องเรียนแบบใช้ประสบการณ์ตรง ทำกิจกรรมมาก ๆ บางคนชอบอ่าน ชอบฟัง ชอบเรียน มีองค์ประกอบต่าง ๆ ในโรงเรียนพอที่จะได้ให้ประสบการณ์แก่เด็กได้ครบถ้วนตามหลักสูตรที่ว่าไว้มั้ย ดูได้จาก หนังสือเรียน สื่อการเรียนการสอน(อันนี้ไม่ได้เน้นว่าต้องแพงมั้ย เอาเป็นว่าห้องเรียนเป็นอย่างไร) จำนวนครูผู้รับผิดชอบเด็กต่อห้องมากไปรึเปล่า อันนี้อยู่ที่คุณภาพครูด้วย บางที่มีเด็กน้อยแต่ครูไม่ดูแลก็แย่เหมือนกัน แต่โดยศักยภาพครูคนเดียวดูแลเด็กได้ทั่วถึงแค่ไม่เกิน 25 คนค่ะ  ถ้าคุณจะเอาเข้าโรงเรียนยอดนิยมก็ต้องทำใจนะคะ แล้วคุณคงต้องเอาใจใส่ลูกคุณเองมาก ๆ เองด้วย 



รู้จักครูของลูกให้ดีค่ะ เราไม่ได้ทำขนาดก้าวก่ายการทำงานของเค้านะคะ เราควรทำความเข้าใจกะครูว่าเราเป็นทีมเดียวกัน ถ้าครูคนไหน หรือโรงเรียนไหนไม่เชื่อตามแนวคิดนี้ก็อย่าฝากลูกไว้กะเค้าเลยค่ะ จริง ๆ ครูอยากได้รับความร่วมมือจากคุณ ๆ ผู้ปกครองมาก ๆ ค่ะ ที่โรงเรียนเราฝึกอบรมอย่างนึง แต่พอกลับบ้านที่บ้านไม่ช่วยสานต่อก็จบ ไม่ได้ผลใด ๆ ผู้ปกครองกับครูควรสื่อสารกัน ทำความเข้าใจกัน และทำงานร่วมกันแบบทีมกีฬาเลยล่ะค่ะ มาคุยเป้าหมายว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันมั้ย วิธีการบางทีเราก็แบ่งปันกัน แล้วผลที่ได้แต่ละครั้งที่ฝึกเด็กก็มาแบ่งปันกันได้ผลมั้ย ไม่ได้ผลแล้วจะเปลี่ยนอะไรดีต่อไป มันน่าจะดีกว่านะคะ สำหรับผู้ปกครองที่ไม่ไปพบครูเลย มีเวลาน้อย มัวทำมาหากิน ก็มันอยู่ที่คุณล่ะ ชีวิตคุณหาเงินเพื่อใคร แต่แล้วจริง ๆ แล้วคุณมีเงินท่วมหัวแล้วลูกคุณเป็นคนแย่ ๆ มันจะคุ้มมั้ย............


การประเมินหลักสูตรจึงเป้นการย้อนกลับมาพิจารรษดูว่าสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นได้ผลตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ไม่ได้ทำแบบส่ง ๆ  ก็เหมือนทุก ๆ แผนงานที่ดีต้องมีการประเมินแหละค่ะ ที่นี้ก็มาดูว่าวิธีการประเมินมันเป็นการประเมินที่แท้จริงรึเปล่า ในระดับหลักสูตร ในระดับการเรียนรู้ ถ้าสอบอย่างเดียวก็ไม่เหมาะกับทุกคนนัก จึงมีการประเมินที่หลากหลาย ดูทุก ๆ ด้าน ในการสมัครเข้าศึกาาต่อมหาวิทยาลัยของต่างประเทศบางครั้งเค้าไม่ได้ดูแต่ผลคะแนนสอบ เค้าขอดูรายชื่อหนังสือที่คุณอ่านมาในปีนั้น แล้วก็อาจจะไปคุยกันตอนสอบสัมภาษณ์ ขอดูจดหมายรับรองจากครูที่สอน ซึ่งอันนี้สำคัญมาก ๆ เลย แล้วเค้าก็ไม่ให้จดหมายรับรองใครได้ง่าย ๆ สำหรับ Professor บางคน ดูจากแฟ้มสะสมงาน (Port Folio) ดูจากหลักฐานของงาน กิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ได้มาสอบกันอย่างเดียวแล้วรับเลย


ดังนั้นคุณ ๆ ผู้ปกครองที่ไม่ได้ใสใจกับการเรียนรู้ของลูก หรือไม่รู้เท่าทันกับการเรียนรู้ของลูก จ่ายแต่เงินอย่างเดียว ไม่ติดตามว่าเงินที่จ่ายไปมันได้ผลม้ย  ก็เอาเป็นว่าชีวิตคุณทำเพื่อใคร แล้วสิ่งที่คุณจะให้กับเค้าได้อย่างยั่งยืน แม้คุณตายไปก็ไม่มีห่วง แถมภูมิใจในตัวเค้าอีกเนี่ย มันน่าจะเป็นเงินเท่านั้นมั้ย ? เวลาและการศึกษา เพื่อแน่ใจว่าเค้าจะมีชีวิตต่อไปได้อย่างดีต่างหากล่ะคือสิ่งที่คุณต้องหว่านลงในแปลง ผลที่ได้มันคุ้มค่าแค่ไหนคนมีลูก มีหลานน่าจะรู้ดีกว่านะคะ

เป็นกำลังใจแก่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ




Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 11 กรกฎาคม 2557 8:21:59 น. 0 comments
Counter : 616 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อันต้า
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Logo           พยายามทำหน้าที่ของตัวเอง  Smileyไม่เบียดเบียนตนอื่น(ระวังคนอื่นเบียดเบียนเราด้วย) Smiley มีน้ำใจมาก ๆ (เตือนตัวเองบ่อย ๆ ) หวังไว้ว่าแก่ตัวมาจะได้มีสังคมที่ดี ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น(เพราะทนอยู่ไม่ได้) ......แต่ไปอยู่ไหนดีล่ะ Smiley  เอาวะช่วยกันสร้างดีกว่า อย่างน้อยก็อย่าทำลายเนอะ Smiley

Free TextEditor        comment box
New Comments
[Add อันต้า's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com