Life is not too long. Do it now.
 
 

Groundwater Investigation and Groundwater Exploration (Similar but different)

หลายท่านอาจจะสงสัยครับว่าการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลนั้น เขาทำกันอย่างไร การสำรวจทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแหล่งแร่ การสำรวจน้ำมัน การสำรวจทองคำ การสำรวจถ่านหิน รวมไปถึงการสำรวจน้ำบาดาล ต่างก็ใช้หลักการและวิธีการที่คล้ายคลึงกัน



ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจหลักการก่อน นั่นก็คือถ้าเราจะหาอะไร เราจะต้องรู้ และ เข้าใจของพฤติกรรมพื้นฐานของมันเวียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าตำรวจจะหาข่าวเพื่อจะจับคนร้าย เขาจะต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดก่อน เช่น เพศ อายุ การศึกษา พฤติกรรมทางสังคม ความชอบส่วนตัว คนรัก คนใกล้ชิด คนที่เคารพนับถือ จากนั้นถึงจะลงมือตามสืบหาคนร้ายตามสันดานของมัน เช่นถ้าคนร้ายชอบกินเหล้า เล่นการพนัน สูบบุหรี่ มีความต้องการทางเพศสูง สถานที่ต้องสงสัยที่ควรจะไปหาเบาะแสต้องเป็นสถานที่กลางคืน ตามผับ ตามบาร์ บ่อน คาราโอเกะ สนุกเกอร์คลับ เป็นต้น ถ้าไปหาแถววัด ห้องสมุด หรือ อุทยาน คงเสียเวลาเปล่านะครับ



สิ่งที่กล่าวมาข้างบนคือการสืบสวน (Investigation) ดังนั้นการสำรวจน้ำบาดาลต้องเริ่มจากการสืบสวนก่อน ดังนั้นสิ่งแรกที่เราจะต้องรู้นั่นก็คือพฤติกรรมหรือสันดานของน้ำบาดาลเสียก่อน สันดานของน้ำบาดาลมันชอบไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ เจอรูหรือรอยแตกไม่ได้มันจะมุดทันที และนิสัยโดยทั่วไปไม่ชอบอยู่กับที่ ไหลไปเรื่อยๆ และถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนมันก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมัน ถ้าหน้าหนาวหรืออากาศเย็นมากๆ มันจะขี้เกียจ ไหลช้าๆ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นหรือร้อนขึ้นมันก็จะไหลเร็วขึ้น (ไฟลนตูดมัน อิอิ) (Viscosity) และที่สำคัญมันนิสัยเจ้าชู้ และชอบสะสม กล่าวคือถ้ามันไหลผ่านไปเจออะไรมันก็จะจีบก่อน พอเธอใจอ่อนยอมละลายมันก็จะพาไปด้วย (Dissolution) แต่ถ้ามันถูกกักขังมันก็จะทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มันจีบและพามา ปล่อยให้เธอเหล่านั้นเผชิญชีวิตตามยถากรรม (Deposition) บางคนที่มันพามาก็จับคู่ใหม่ (Ion exchange) แล้วอยู่กินกันไปเลยก็มี (Mineral forming)



ดังนั้นเมือ่เรารู้พฤติกรรมของน้ำบาดาลแล้ว ทีนี้เราก็เอาพื้นที่มากำหนด (Area base approach) ว่าพื้นที่ที่เรารับผิดชอบ เราจะหาน้ำบาดาลได้อย่างไร นั้นก็คือกระบวนการของการสำรวจ (Investigation) ซึ่งขั้นตอนของการสำรวจจะต้องเริ่มศึกษาโครงสร้างของพื้นที่ศึกษาก่อน (อันไหนเป็นวัด อันไหนเป็นผับ แล้วอันไหนคือสนุกเกอร์คลับ) ซึ่งกว่าเราจะรู้ก็ต้องอาศัยเวลา ซึ่งเราจะต้องรู้ Topography อันไหนเป็นที่ลุ่มอันไหนเป็นที่ดอน (ถ้าแยกไม่ออกก็เรียกสาวๆมา แล้วให้เธอหันหน้ามาที และก็หันหลังมาที ก็จะรู้เอง) จากนั้นก็ต้องเข้าใจ Geomorphology กฏมีอยู่ว่าอันไหนแข็งและทนต่อการกัดกร่อนจะอยู่บนยอดเขา (High resistance) อันไหนอ่อนจะอยู่ตีนเขา แล้วก็มองไปที่ยอดเขา ตีนเขา ว่าเป็นหินอะไร มีรอยแตกหรือไม่ ลักษณะการเรียงตัวเป็นอย่างไร มีรอยคดโค้งหรือไม่ (Structural geology) จากนั้นก็ลองจินตนาการว่าถ้าเราเอาน้ำราดลงไป แล้วมันจะไปไหน ไหลไปทิศทางได ไหลช้าหรือไหลเร็ว มุดลงรูตรงไหน แล้วจะไปโผล่ตรงไหน (Hydrology) จากนั้นก็เอากระดาษขึ้นมาวาด ว่าตำแหน่งใดเป็นบ้าน ตำแหน่งใดเป็นผับ ตำแหน่งใดเป็นวัด และบริเวณไหนเป็นหลังคา บริเวณไหนเป็นใต้ถุน (Conceptual model)



ทีนี้มาพูดถึงกระบวนการสำรวจที่เรียกว่า Exploration กันดีกว่า การสำรวจประเภทนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย และเครื่องมือที่ว่านั่นก็คือเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysic instruments) ซึ่งเครื่องมือสำรวจธรณีฟิสิกส์มีหลายชนิด แล้วแต่เราจะเลือก ถ้าใครขี้เกียจก็เอาเหล็กมาสองแท่ง มางอแล้วถือเดินแกว่งไปแกว่งมา พอมันตีเข้าหากันก็แสดงว่าข้างล่างน่าจะมีอะไรบางอย่างที่นำไฟฟ้า (GT200) ถ้าขยันขึ้นมาหน่อยก็ลองเอาไฟฟ้าช็อตดินดู ถ้ามันช็อตลง ก็แสงดว่าข้างล่างมีตัวนำไฟฟ้า (Low resistivity) ถ้ายังสงสัยอยู่ก็ให้ระเบิดดินดูเล่นๆก็ได้ (Seismic survey) ก็จะพบโครงสร้างยึกยือ (เสียเงินไปตั้งเยอะยังแปลไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร) ส่วนช่างเจาะก็จะคอยถามว่าเป็นงัยบ้าง นายช่าง หาเจอหรือยัง อิอิ



ถ้ายังสงสัยก็อาจจะสำรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น Gravity survey, Electro Magnetic Time Domain, Magnetotelleric, Ground penetrate radar, NMR เป็นต้น เพื่อเสริมความมั่นใจครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าเราไม่เข้าใจหลักการของน้ำบาดาลแล้ว ผมบอกได้เลยว่าเจ๊งชัวร์ ถ้าเป็นบริษัท ก็ถูกไล่ออกแหงๆ



หลังจากผ่านกระบวนการสำรวจภาคสนามแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการเจาะสำรวจ และการหยั่งธรณีหลุมเจาะ จึงจะครบกระบวนการของ Groundwater Exploration นะครับ ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดก็จะนำมาประมวลผล เพื่อกำหนดจุดเจาะที่เหมาะสม ความลึก และชนิดหินที่คาดว่าจะเจอ และหน้าที่ของนักธรณีคือจะต้องเป็นที่ปรึกษาให้กับช่างเจาะ เลือกชนิดเครื่องเจาะ และกำหนดวิธีการเจาะที่เหมาะสม และผลที่ได้ก็มักจะประสบความสำเร็จครับ



อ้อลืมบอก ถ้าคุณเป็นนักอุทกธรณีวิทยา แล้วไม่มีจินตนาการ เขียน Conceptual model ไม่ได้ คุณก็จะหาทางออกให้องค์กรไม่เจอ เพราะนักอุทกธรณีวิทยาคือสถาปนิคใต้ดิน ครับ




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2554   
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2554 22:37:40 น.   
Counter : 1693 Pageviews.  


แนวทางการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลบริเวณที่มีชั้นกั้นน้ำหนา

แนวทางการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลบริเวณที่มีชั้นกั้นน้ำหนา (Thick Impermeable bed)



หลายพื้นที่ในประเทศไทยที่มีลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาที่มีชั้นกั้นน้ำหนา ซึ่งชั้นกั้นน้ำดังกล่าวอาจจะเป็นชั้นดินเหนียว ชั้นหินดินดาน ชั้นหินชนวน ชั้นหินคอร์อทไซต์ หรือชั้นหินทรายแป้ง เป็นต้น ถ้าชั้นหินกั้นน้ำมีความหนามากกว่า 200 เมตร จะทำให้การเจาะพัฒนาน้ำบาดาลต้องลงทุนสูง หากผู้รับเหมาไม่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในพื้นที่ก้จะเจาะไม่พบชั้นน้ำบาดาล และต้องทิ้งงานไป เพราะผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะตั้งความลึกเอาไว้ที่ประมาณ 100 - 200 เมตร และงบประมาณต่อบ่อก็ไม่สูงมากนัก ประมาณบ่อละ 150,000 - 200,000 บาท เพราะเกรงว่าถ้าตั้งราคาสูงเกินไปจะไม่มีคนจ้าง



ส่วนแนวทางการพัฒนาน้ำบาดาลในพื้นที่ดังกล่าวมีอยู่ 2 วิธี คือ

1. หาน้ำบาดาลระดับตื้น ความลึกไม่เกิน 30 เมตร โดยอาศัยการหาน้ำบาดาลในชั้นกรวดทราย หรือรอยแตกในชั้นหินหรือช่วงหินผุ แต่ปริมาณน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะน้อยกว่า 5 ลบ.ม. ต่อ ชม. และบางทีคุณภาพน้ำจะมีสนิมสูง



2. อีกวิธีคือต้องเจาะทะลุชั้นหินกั้นน้ำลงไป เพื่อไปเอาน้ำบาดาลในรอยแตกของชั้นหินดานข้างล่าง แต่ความลึกของดานหินส่วนใหญ่จะลึกเกิน 200 เมตร จึงทำให้การเจาะไม่สามารถทำได้ เพราะค่าเจาะจะแพง และไม่มีใครกล้าเสี่ยง จึงทำให้หลายพื้นที่ขาดน้ำแบบซ้ำซาก



มีหลายพื้นที่ที่มีการนำเอาทฤษฎีในข้อ 2 ไปใช้ และก็ได้ผล อาทิเช่น อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เมื่อก่อนเคยเจาะไป 200 เมตร แต่ไม่ได้น้ำ เนื่องจากข้างบนเป็นดินเหนียวหนาเกือบ 70 เมตร แต่ตอนหลังมีการเจาะทะลุลงไปเอาน้ำบาดาลในหินปูนที่อยู่ข้างล่าง ความลึกประมาณ 250 เมตร กลับได้น้ำ 20 ลบ.ม. ต่อ ชม. เพียงพอสำหรับการทำประปาได้



และหลายพื้นที่ในบริเวณชายฝั่งทะเล มีการเจาะทะลุชั้นดินเหนียวลงไป ทั้งๆที่อยู่ติดทะเล แต่กลับได้น้ำจืด นอกจากนี้ระดับน้ำยังพุขึ้นมาอีกด้วย ส่วนปริมาณน้ำก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย



ในภาคอีสานมีหลายพื้นที่ เช่นอ.กระนวน จ.ขอนแก่น ที่รองรับด้วยชั้นหินโคกกรวด มีหลายบริษัทและหลายหน่วยงานที่เจาะแล้วไม่ได้น้ำ พอได้ยินคำว่า กระนวน หน่วยเจาะก็เข่าอ่อน ลมแทบใส่เลยทีเดียว แต่ถ้าเราเจาะทะลุชั้นโคกกรวดแล้วไปเอาน้ำจากรอยแตกของหินชุดภูพาน ก็จะได้น้ำจืด ที่มีปริมาณมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาล แต่ต้องเจาะลึกถึง 600 - 1,000 เมตร เลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่มีใครกล้าลอง เพราะงบประมาณในการเจาะมันสูงครับ




 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2554   
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2554 15:05:22 น.   
Counter : 1583 Pageviews.  


"การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล" จะบริหารกันอย่างไรในเมื่อคนค่อนประเทศยังไม่รู้จักคำว่า "น้ำบาดาล"

การบริหารจัดการเป็นคำที่ดูดีและมีหลักการ เมื่อนำไปผนวกกับทรัพยากรหรืออะไรซักอย่างมันก็จะทำให้สิ่งเหล่านั้นดูดีขึ้นมาทันที เช่นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตะวันออกกลาง กรณีศึกษาการแบ่งอัตรากำลังในกองทัพของอิสราเอล "จิ๋วแต่แจ๋ว" เป็นต้น ซึ่งแน่นอนครับว่าการบริหารจัดการอะไรจะต้องมีปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ และปรัชญาเหล่านั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยนักปราชญ์ผู้ที่มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากับผู้บริหารหรือผู้กำหนดชะตากรรมของสิ่งที่จะถูกบริหาร ปรัชญาของกองทัพอิสราเอลคือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" นั่นก็หมายความว่ากองทัพของอิสราเอลจะใช้คนไม่มากแต่ทุกคนต้องมีประสิทธิภาพ และทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์ก็ต้องมีกระบวนการและการศึกษาทดลอง ซึ่งกว่าจะมาเป็นกองทัพในปัจจุบัน อิสราเอลก็เสียเวลาและเสียงบประมาณไปมหาศาล



ทีนี้ลองหันมามองเรื่องใกล้ตัวของเรา ถ้าเรานำคำว่า "การบริหารจัดการ" มาผนวกกับคำว่า "ทรัพยากรน้ำบาดาล" เราก็จะได้คำว่า "การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล" ซึ่งฟังดูแล้วเพราะมาก แต่ในทางปฏิบัติบอกได้เลยครับว่า "ยากมาก" สาเหตุที่ยากก็เพราะว่า



1. น้ำบาดาล เป็นทรัพยากรที่อยู่ใต้ดินและมองไม่เห็น ฝรั่งถึงกับบ่นเอาไว้เลยว่า "Groundwater - the hidden resource - out of sight: out of mind" กล่าวคือขนาดฝรั่งที่ว่าแน่ๆยังออกปากเลยว่า "ก็ในเมื่อมันมองไม่เห็นจึงไม่มีใครใส่ใจ" ซึ่งก็แน่นอนหละครับเพราะขนาดน้ำในหนองที่เราขับรถผ่านไปมาทุกวัน เวลามันแห้งเราก็รู้ เวลามันเน่าเสียเราก็เห็น แต่เราก็ยังไม่ทำอะไรกันเลย แล้วนี่น้ำบาดาลซึ่งอยู่ใต้ดิน จะมีซักกี่คนจะกล้าโวยวายว่าน้ำบาดาลเน่าแล้ว น้ำบาดาลแห้งแล้ว เพราะกลัวโดนย้อนถามว่า "แล้ว ม .อึ . ง รู้ได้อย่างไร พอเจอเข้าไปซักสามดอกก็จอดไม่กล้าโวยอีกต่อไป อิอิ



2. น้ำบาดาล ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการเรียนการสอนหนังสือของบ้านเราส่วนใหญ่มุ่งเน้นตรงที่สาขาใดก็ตามที่จบมาแล้วทำเงินทำทองได้เยอะๆ ทุกคนก็จะตั้งหน้าตั้งตาแข่งกันไปเรียน แต่วิชาน้ำบาดาลนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจ เพราะว่าจบมาแล้วยังไม่รู้จะไปรับจ้างใคร หรือจบไปแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร บางคนถึงกับถามเลยว่าวิชาน้ำบาดาลเขามีการสอนกันด้วยหรือแล้วเขาสอนกันที่ไหนเหรอ? จบข่าว...



3. น้ำบาดาล ยังไม่มีราคา คนเลยไม่ค่อยสนใจ แน่นอนหละครับประเทศไทยเราอุดมสมบูนณ์ขนาดนี้ น้ำเปล่าแทบไม่ต้องซื้อ ทำนากันปีละสามหนไม่ต้องเสียเงินค่าน้ำซักบาท ชาวนาก็เลยได้ใจ นี่ถ้าข้าวอายุ 30 วัน สงสัยชาวนาคงทำนากันปีละ 12 หนเป็นแน่แท้ ก็ในเมื่อชาวนาติดนิสัยใช้น้ำกันฟรีๆ ก้เลยตกวิชาเศรษฐศาสตร์ บวกลบคูณหารกันไม่ค่อยจะเป็น ในเมื่อตกวิชานี้โอกาสที่จะเป็นเศรษฐีก็เลยมีค่าเท่ากับศูนย์ เพราะวิชาเศรษฐศาสตร์ก็คือศาสตร์ที่จะทำให้คนเป็นเศรษฐี ลองคิดดูถ้าใครตกวิชานี้ผลจะเป็นอย่างไร อิอิ



นี่แค่สามเหตุผลเองนะครับ ยังมีอีกมากมายหลายเหตุผลที่ผมบอกว่าการบริหารจัดการน้ำบาดาลนั้นยาก



แล้วเราจะทำอย่างไร



คำตอบก็คือ



อยู่ที่เด็กครับ เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า อนาคตของชาติขึ้นอยู่กับความฉลาดของลูกหลานไทย



บางบริษัทต้องใช้เวลาถึงสามรุ่นจึงจะประสบความสำเร็จ



สุมาอี้ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ อบรม สุมาสูและสุมาเจียว บุตรสองคนให้เติบโตและมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำ จนบุตรของสุมาเจียวผู้น้อง ได้ขึ้นครองราชสมบัติกลายเป็นฮ่องเต้



ฝรั่งบอกว่า "กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว"



การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลก็เช่นกันต้องอาศัยทั้งความรู้และประสบการณ์มากมาย แต่กระผมเชื่อได้ว่าคงไม่เกินความสามารถของคนไทยหรอกครับ ถ้าพวกเราร่วมมือร่วมใจกัน




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2553   
Last Update : 8 ธันวาคม 2553 21:02:58 น.   
Counter : 1093 Pageviews.  


Aquifer เครื่องกรองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ท่านทราบหรือไม่ว่าชั้นน้ำบาดาลหรือ Aquifer คือเครื่องกรองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โดยปกติแล้วเครื่องกรองน้ำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มักจะประกอบด้วยไส้กรองหรือวัสดุกรอง ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพและราคา

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าชั้นน้ำบาดาลที่อยู่ใต้ดินตามธรรมชาติของเราสามารถกรองเอาสิ่งสกปรกออกไปได้โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาท แถมยังสามารถกรองน้ำได้ในปริมาณมหาศาล


แต่ทว่าทุกวันนี้ชั้นน้ำบาดาลกำลังถูกคุกคามจากสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น


ฉนั้นเราควรช่วยกันดูแลรักษาชั้นน้ำบาดาลของเราด้วยนะครับ




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2553 16:57:53 น.   
Counter : 1120 Pageviews.  


ภัยแล้ง - ทุกข์ของชาวบ้านในทุ่งกุลา

วันนี้ผมมีโอกาสรับโทรศัพท์จากชาวบ้านท่านหนึ่ง คือคุณบุญจันทร์ พิมพิ์โภชน์ ท่านอาศัยอยู่ที่บ้านแสนสี หมู่ที่ 4 ต.ดงครั่งน้อย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ท่านโทร.มาระบายความทุกข์ร้อนที่สุมอยู่ภายในใจว่า ตั้งแต่เล็กจนโต จนท่านอายุ 54 ปี มานี้ เท่าที่จำความได้ท่านไม่เคยพบกับความอุดมสมบูรณ์ของทุ่งกุลาร้องไห้เลย พบแต่ความแห้งแล้งสุดลูกหูลูกตา ทำนาได้เพียงปีละหน บางคนมีที่นา 300 กว่าไร่ แต่พอหมดหน้านาก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ไม่รู้จะทำอะไร เพราะปัญหาคือมันไม่มีน้ำ

ที่สำคัญกว่านั้นคือช่วงหลังระยะ 5-6 ปีมานี้ มองไปทางไหนก็เจอแต่ต้นยูคาลิปตัส แต่ปัญหาก็คือต้นไม้ชนิดนี้มันคือเครื่องสูบน้ำที่มีชีวิต กล่าวคือมันจะดูดน้ำที่มีอยู่ในดินชนิดที่ว่าดูดแบบไม่หยุดเพื่อนำไปเลี้ยงลำต้นของมัน ทำให้มันโตวันโตคืน ส่งผลกระทบดดยตรงกับชาวบ้านคือทำให้น้ำในดินช่วง 5-6 เมตรลดระดับลงอย่างรวดเร็วในหน้าแล้ง ซึ่งเมื่อก่อนในช่วงหน้าแล้งยังพอมีน้ำจากบ่อขุดบ้างแต่เดี๋ยวนี้น้ำกลับแห้งขอด ส่วนหนองน้ำที่ทางราชการมาขุดไว้ให้ก็ใกล้จะแห้งเต็มที เพราะฝนไม่มีวี่แววว่าจะตกมาซักที ชาวบ้านต่างอยู่กันแบบหวาดผวา เพราะถ้าฝนยังไม่ตกลงมา อย่าว่าแต่พืชผักเลย วัวควายหรือแม้แต่คนก็อาจจะไม่รอด ครั้นเหลียวหลังแลหน้ามองหาตัวช่วย ต่างก็ได้รับคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่มีงบประมาณ" ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ถังแตกด้วยกันหรืออย่างไร แกกล่าว

สุดท้ายแกก็กล่าวสรุปสั้นๆก่อนที่จะขอตัววางสายว่า "ผมเกิดและโตที่ทุ่งกุลา ทนมาแล้วตั้ง 54 ปี หากจะทนอีกหน่อยก็คงไม่เป็นไร ห่วงก็แต่ลูกหลาน ว่าพรุ่งนี้จะมีกินไหม"

ทีนี้กลับมาย้อนถามตัวข้าพเจ้าเองว่า แล้วเราจะช่วยชาวบ้านอย่างไร

ความจริงแล้วอำเภอเกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ดตั้งอยุ่บนหินทรายชุดภูทอกตอนกลาง ลึกลงไปเป็นหินโคลนและหินดินดานสลับกับเกลือหินชุดมหาสารคาม น้ำบาดาลบริเวณดังกล่าวมีปริมาณเพียงพอที่จะสูบขึ้นมาใช้ได้ แต่คุรภาพน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะกร่อยถึงเค็ม ยกเว้นบางพื้นที่ซึ่งหากเราสำรวจและศึกษาในรายละเอียดจะพบว่ามีชั้นน้ำบาดาลบางช่วง สามารถเจาะแล้วได้น้ำจืด ซึ่งชาวบ้านไม่รู้ แต่หน่วยงานภาครัฐรู้แต่ไม่มีงบประมาณที่จะไปดำเนินการในขั้นรายละเอียด

ปัญหาก็มาติดตรงที่ว่าใครจะเป็นคนจ่ายตัง

ชาวบ้าน - แน่นอนว่าคงไม่มีปัญญา เพราะค่าใช้จ่ายในการสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาลขั้นรายละเอียดนั้นคิดกันเป้นหลักแสนถึงหลักล้านต้นๆ เพราะจะต้องทำการสำรวจอุทกธรณีวิทยา สำรวจธรณีฟิสิกส์ รวมทั้งเจาะสำรวจ ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญระดับเซียน

หน่วยงานกลาง - ไม่มีงบประมาณ เพราะถูกบังคับให้ถ่ายโอนงบประมาณไปให้องค์กรส่วนท้องถิ่นแล้ว

อปท. - ไม่มีบุคลากร งบมีจำกัด

พอมาถึงตรงนี้ก็อึ้งกิมกี่




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2553   
Last Update : 14 มิถุนายน 2553 13:17:45 น.   
Counter : 799 Pageviews.  


1  2  3  4  

Duke of York
 
Location :
Sheffield United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




If today is Monday, tomorrow will be Tuesday for sure then.
[Add Duke of York's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com