6 กลยุทธ์ในการสร้างสรรค์องกร์ สู่การเป็น Happy Workplace

  เผย 6 กลยุทธ์สร้างสรรค์องค์กร...สู่การเป็น Happy Workplace

กลยุทธ์#1 : เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตบ้าง

          คุณอาจกำลังสร้างทีมที่ทุ่มเท มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และพร้อมจะที่จะลุยงานหนักกว่าปกติเมื่อถึงความจำเป็น แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากคราวจำเป็นนั้นเกิดขึ้นบ่อยเหลือเกิน?หากพวกเขาต้องใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับงานของพวกเขา ทำให้พวกเขาเหน็ดเหนื่อยและเครียดจนไม่สามารถมีความสุขกับเวลาหลังเลิกงาน หรือแม้แต่ในวันหยุด

         สิ่งนี้จะนำไปสู่การทำงานอย่างไม่มีความสุข มีสุขภาพที่ไม่ดี ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ถดถอย และท้ายที่สุดพวกเขาก็จะจากองค์กรไป พร้อมกับนำประสบการณ์และความรู้ที่มีค่าไปกับพวกเขาด้วย

         การรักษาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวของพวกเขาเป็นเรื่องสำคัญ! หากคุณแสดงให้พวกเขาได้เห็นว่าคุณเข้าใจถึงบทบาทอื่นของพวกเขา ซึ่งหน้าที่ที่สำคัญอันดับหนึ่งของพวกเขาไม่จำเป็นต้องเป็นงานเสมอไป พวกเขาก็จะให้ความจงรักภักดีแก่คุณเป็นการตอบแทน


กลยุทธ์#2 : ทำให้พนักงานมองเห็นหนทางแห่งความก้าวหน้า

         แรงจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพนักงานก็คือ การที่องค์กรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พัฒนาตนเอง และได้มีโอกาสเติบโตทางหน้าที่การงาน

         ดังนั้นคุณจึงควรให้โอกาสแก่พนักงานที่แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมและต้องการงานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

         ให้พวกเขาได้เข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมภายใน หรือส่งพวกเขาไปเข้าสัมมนา เวิร์กช็อป หรือคอร์สพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ

กลยุทธ์#3 : อย่าให้ทำแต่งานที่น่าเบื่อ

         หากคุณรู้สึกว่าคุณกำลังทำอะไรซ้ำซากจำเจ และหมดหวังที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น พนักงานของคุณก็อาจกำลังรู้สึกอย่างเดียวกับคุณอยู่ก็เป็นได้

         การทำธุรกิจในแต่ละวันนั้น มักจะมีงานซ้ำซากน่าเบื่อแต่งานเหล่านั้นก็มักจะเป็นงานที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จ

         สิ่งที่คุณทำได้ก็คือ พยายามกระจาย “งานดี ๆ” ที่ไม่ซ้ำซากน่าเบื่อ ให้กับพนักงานทุกคนได้ทำบ้าง เพื่อที่ในแต่ละวันของพวกเขา จะได้ไม่จมปลักอยู่แต่กับงานที่น่าเบื่อหน่าย


กลยุทธ์#4 : สร้างวัฒนธรรมของการให้อำนาจ

         หากคุณโชคดีได้พนักงานที่มีศักยภาพ ที่พร้อมจะปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามที่ได้รับมอบหมายจากคุณไปด้วยตนเอง และเมื่อใดก็ตามที่เขาต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาก็พร้อมที่จะร้องขอจากคุณ สิ่งที่คุณควรทำคือการให้อิสระในการทำงานแก่พวกเขา

         การเข้าไปบริหารจัดการพวกเขามากจนเกินพอดี รังแต่จะสร้างความกดดันให้แก่ทุก ๆ ฝ่าย และเรื่องมักจบลงด้วยการที่พนักงานเกิดความเคลือบแคลงว่าคุณไม่เชื่อมั่นในความสามารถของพวกเขา

         คุณจึงควรปล่อยให้พวกเขาได้เป็นเจ้าของงานที่ทำ และมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเอง เพราะนั่นจะเป็นการเพิ่มระดับความพึงพอใจในงาน อีกทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระให้คุณได้ใช้เวลาของคุณไปกับงานที่ระดับสูงกว่า

กลยุทธ์#5 : ให้พนักงานได้รับรู้ว่าพวกเขาเป็นคนสำคัญ

         คุณควรให้พวกเขาได้รับรู้ถึงจุดยืนและหน้าที่ของพวกเขาภายในทีม ให้พวกเขาได้รับรู้ว่างานที่พวกเขาทำนั้น มีคุณค่าอย่างไรบ้าง และมีส่วนเกี่ยวพันกับความสำเร็จขององค์กรอย่างไร

         ให้พวกเขาได้เชื่อในคุณค่าของงานของตน แล้วพวกเขาจะเป็นสมาชิกในทีมที่ดีและเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของธุรกิจ


กลยุทธ์#6 : ไม่มีคำตอบแบบครอบจักรวาล

         ทุก ๆ คนมีความแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงเหตุผลในการทำงานของพวกเขาด้วย ดังนั้น แรงจูงใจที่กระตุ้นให้คุณทำงาน จึงอาจไม่ใช่อย่างเดียวกันกับที่กระตุ้นให้พนักงานของคุณทำงาน

         คุณจึงควรติดตามเสมอว่าพนักงานของคุณต้องการอะไร นั่นจะเป็นการช่วยให้อัตราการลาออกจากงานลดลง และผลการปฏิบัติงานสูงขึ้น


Credit : Adecco Group Thailand




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2556 14:55:01 น.   
Counter : 2736 Pageviews.  


หาวิธีกันเงินภาษีเอาไว้ออมกันดีกว่า

  กฏหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ก่อนสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี  ซึ่งโดยปกติแล้วหากคุณทำงานประจำ  ฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัทจะทำหน้าที่แทนคุณ  คุณเองมีหน้าที่เพียงกรอกข้อมูลต่างๆ  ที่ทางฝ่ายบุคคลจัดการทำให้เท่านั้น  จากนั้นก็เซ็นชื่อกำกับ

ด้วยความที่คนส่วนใหญ่แทบจะไม่ต้องมายุ่งอะไรเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้เอง  จึงทำให้น้อยคนที่จะรู้ว่ากฎหมายได้ให้สิทธิลดหย่อนอะไรบ้างกับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี  คุณรู้หรือไม่ว่าการมองข้ามสิทธิเหล่านี้ไปจะทำให้คุณต้องเสียภาษีที่มากกว่าจำนวนที่คุณต้องจ่ายจริงได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  หากคุณมีรายได้ต่อปีสูง  มีรายได้มากกว่าหนึ่งทาง  หรือมีรายการหักลดหย่อนมากกว่ารายการหักลดหย่อนปกติ  ข้อแนะนำต่อไปนี้จะแถลงไขให้คุณได้รู้ว่าคุณมีสิทธิลดหย่อนอะไรได้บ้าง  เพื่อนใช้สิทธของคุณให้เต็มที่เก็บเงินเล็กเงินน้อยนั้นไปใช้ในการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคงข้างหน้าของคุณ

รู้ให้ครบในเรื่องสิทธิลดหย่อน

     ก่อนที่คุณจะใช้สิทธิที่มีอยู่อย่างเต็มที่ได้ คุณจำเป้นต้องรู้ก่อนว่าคุณมีสิทธิอะไรบ้างนั่นก็คือ คุณต้องรู้ว่ากฎหมายให้สิทธิลดหย่อนอะไรกับคุณบ้าง  ซึ่งสิทธิลดหย่อนสามารถแบ่งออกได้เป้น 2 กลุ่ม ดังนี้คือ

รายการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว

  • หักค่าใช้จ่าย 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนบุตร  15,000 บาทต่อคน (ไม่เกิน 3 คน)
  • หักค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตร 2,000 บาทต่อคน ( ไม่เกิน 3 คน)
  • เงินสมทบประกันสังคมตามจริง

รายการหักลดหย่อนตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

  • หักค่าเบี้ยประกันชีวิตที่มีอายุประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยหักตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เงินสะสมที่จ่ายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
  • กองทุน RMF ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินบริจากหักตามจริงไม่เกิน 10 % ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย

โดยปกติแล้ว  ในการคำนวณภาษีเพื่อหักจ่ายจากเงินเดือนของคุณในแต่ละเดือนทางฝ่ายบัญชีจะหักตามรายการค่าใช้จ่ายส่วนแรก  แต่ในส่วนที่สองนั้น  ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้แจ้งข้อมูลเหล่านั้นให้กับทางฝ่ายบัญชีไว้หรือเปล่า  ในกรณีที่ไม่มีการรับแจ้งคุณจะหักภาษีไว้เกินจากจำนวนที่คุณจ่ายจริง  ซึ่งคุณจะต้องยื่นจำนงขอคืนเงินภาษรที่ชำระไว้เกินพร้อมแนบเอกสารไว้เป้นหลักฐาน  โดยจะต้องยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการในช่วงเดือนมีนาคม  โดยทางกรมสรรพากรจะจัดส่งคืนให้กับคุณเป็นเช็คธนาคารกรุงไทยภายใน 6 เดือนหลังจากยื่นแบบฯ แต่ทางที่ดี หากคุณมีรายการลดหย่อนในส่วนที่สองก็รีบแจ้งให้ทางฝ่ายบัญชีเขาทราบดีกว่า จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาขอเงินคืนที่หลัง

ภาษีกับชีวิตคู่

     นอกจากการใช้สิทธลดหย่อนดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ในการยื่นภาษีของคู่สมรสระหว่างการร่วมกันยื่น  หรือแยกกันยื่น  ก็มีส่วนในการเฉลี่ย หรือเป็นผลให้อัตราการเสียภาษีของคุณสูงขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งตามปกติแล้ว ดูเผินๆ การแยกกันยืนภาษีน่าจะมีผลให้เสียภาษีน้อยกว่าการร่วมกันยื่น เพราะการร่วมกันยื่นจะทำให้รายได้ต่อปีของคุณสูงขึ้น  ซึ่งในระบบการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้านี้ หมายความว่าคุณจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากเป้นเท่าตัว  แถมยังเสียสิทธิในรายการลดหย่อนส่วนแรกอีกด้วย ( ส่วนที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรส ) แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะถ้าหากคู่สมรสของคุณเกิดมีรายการหักลดหย่อนในส่วนที่สองขึ้นมา  การร่วมกันยื่นก็จะช่วยเฉลี่ยอัตราภาษีให้กับคุณได้เหมือนกัน ทั้งนี้ คุณจะรู้ได้ว่าคุณและคุ๋สมรสของคุณควรร่วมกันยื่น หรือแยกกันยื่นภาษีมีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือการทดลองคำนวณ  แล้วนำมาเปรียบเทียบดูว่าวิธีไหนทำให้คุณเสียภาษีน้อยกว่าก็ให้ยื่นภาษีด้วยวิธีนั้น  ซึ่งวิธีการคำนวณก็ไม่ยาก  เพียงแต่นำเอาเงินเดือนตลอดทั้งปี รวมถึงโบนัสมารวมกัน  จากนั้นมาหักลดหย่อนตามรายการในส่วนที่หนึ่ง  และส่วนที่สอง (ถ้ามี) นำจำนวนเงินคงเหลือหักออกไปอีก 150,000 บาทที่เหลือไม่เกิน 500,000 บาท คิดที่ 10 % ส่วนเกินจากนั้นคิดตามอัตราภาษีก้าวหน้าดังนี้

  • ถ้าเงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท เงินได้สิทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 150,000 บาท อัตราร้อยละ 0 %
  • ถ้าเงินได้สุทธิ 150,000-500,000 บาท เงินได้สิทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 350,000 บาท อัตราร้อยละ 10 %
  • ถ้าเงินได้สุทธิ 500,001-1,000,000 บาท เงินได้สิทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 500,000 บาท อัตราร้อยละ 20 %
  • ถ้าเงินได้สุทธิ 1,000,000-4,000,000 บาท เงินได้สิทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 3,000,000 บาท อัตราร้อยละ 30 %
  • ถ้าเงินได้สุทธิ 4,000,001 บาท ขึ้นไป ไม่มีการกำหนดขั้นสูงสุด อัตราร้อยละ 37 %

มาถึงตรงนี้ อยากแนะนำกันสักนิดว่า การที่กฎหมายเปิดโอกาสให้คุณมีสิทธิลดหย่อนได้ตามนั้น  เนื่องจากเป็นนโยบายที่รัฐต้องการให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษี  ควรมีมาตรฐานชีวิตที่ดีในระดับหนึ่ง  จึงจะนำเงินส่วนที่มากเกินไปจากความจำเป็นมาจ่ายเฉลี่ยให้กับส่วนกลาง  ดังนั้นหากในวันนี้  คุณยังไม่มีธุรกรรมใดที่สามารถนำมาเป้นรายการลดหย่อนได้ตามรายการในส่วนที่สอง  ก็ควรรีบดำเนินการ  ลองคิดกันง่ายๆ  ว่าแทนการนำเงินไปเสียภาษี  หากคุณนำเงินไปออมในรูปของการทำประกัน  หรือจ่ายลงทุนไปในกองทุน เพื่อการเลี้ยงชีพอย่างน้อยก็เป้นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตและครอบครัวของคุณ  จริงอยู่ว่าตัวเลขจ่ายค่าเบี้ยประกันอาจสูงกว่า ตัวเลขจ่ายค่าภาษี  แต่ถ้าคุณคิดว่าเป็นการจ่ายมากกว่าเพื่อประโยชน์ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย มันก็คุ้มค่ากับการลงทุนไม่ใช่หรือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้ที่มีรายได้ต่อปีสูง ยืนยันเลยว่าเงินภาษีของคุณจะได้คืนมากเลยทีเดียว

 

 




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2556 16:50:02 น.   
Counter : 660 Pageviews.  


หนี้หารสองในชีวิตคู่

หนี้หารสองในชีวิตคู่  

    หนี้ก่อนแต่ง หรือหลังแต่งงาน  หนี้แบบไหนที่ต้องหารสอง  อีกหนึ่งบทเรียนที่คุณควรศึกษาเมื่อคิดครองเรือน  เพื่อหาทางหนีทีไล่ไม่ให้เกิดหนี้ที่ต้องรับผิดชอบแบบไม่ทันรู้ตัว  และเพื่อไม่ให้หนี้มาเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัว

หนี้ระหว่างสามี - ภรรยา  ( ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ) จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

1.หนี้ก่อนสมรส : เริ่มตั้งแต่ก่อนตกลงปลงใจจดทะเบียนสมรสกัน  หากสามีหรือภรรยามีหนี้สินติดตัวมา  เรียกว่าเป็นหนี้ที่แต่ละคนมีมาก่อนแต่งงานกัน  ก็ต้องรับผิดชอบใช้หนี้ที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้นมาเป็นการส่วนตัว

2.หนี้ในระหว่างสมรส : เมื่อจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันแล้ว  หากสามีหรือภรรยาฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น  หนี้ที่เกิดขึ้นยังจัดเป็นหนี้ส่วนตัวของแต่ละคน  ซึ่งต้องรับผิดชอบใช้หนี้กันเอง  ยกเว้นว่าจะเป็นหนี้ร่วมกันหรือหนี้ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหนี้ร่วมกันถึงจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

3.หนี้ร่วมของสามี - ภรรยา : หนี้ร่วม  หมายถึง  หนี้ที่สามีและภรรยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน  เป้นหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นในระหว่างสมรสและกฏหมายบัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมกัน  ซึ่งจะมีผลทำให้แม้จะมีชื่อของสามีหรือภรรยา  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้เพียงคนเดียว  แต่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน  ซึ่งมีอยู่ 4 กรณีคือ

  • หนี้ที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน

จัดกิจการอันจำเป็นในครอบครัว  การอุปการะเลี้ยงดู  ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรโดยควรแก่อัตภาพ  ซึ่งคำว่า " โดยควรแก่อัตภาพ " หมายความว่า หนี้เหล่านี้จะต้องมีจำนวนพอสมควรแก่อัตภาพของครอบครัว  เพราะหากเกินสมควรแล้ว ส่วนที่เกินย่อมไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วมแต่กลายเป้นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้นได้ เช่น หนี้ที่สามีไปค้ำประกันการทำงานให้กับญาติพี่น้องหรือเพื่อนเป็นการส่วนตัว ภรรยาย่อมไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา ในขณะเดียวกัน  หากหนี้ในข้อนี้สมควรกับอัตภาพแต่เป้นหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สามี - ภรรยาแยกกันอยู่ โดยไม่ได้มีการจดทะเบียนหย่าก็ยังถือว่าเป้นหนี้ร่วมของทั้งสองฝ่าย

  • หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

เช่น กู้ยืมเงินมาซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส เป็นต้น

  • หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากงานซึ่งสามี - ภรรยาทำด้วยกัน

เช่น สามีและภรรยาเปิดกิจการร้านอาหาร  โดยมีภรรยาเป็นคนดูแลร้าน  และสามีเป้นคนซื้อเชื่อวัตถุดิบต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ในร้านอาหาร  หนี้ค่าซื้อเชื่อที่เกิดขึ้นจัดเป็นหนี้สินร่วม  เป็นต้น

  • หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว

แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน  หนี้ประเภทนี้เดิมทีจะผูกพันแต่เฉพาะสามีหรือภรรยาฝ่ายที่ไปก่อหนี้ขึ้น  แต่ถ้าสามีหรือภรรยาได้ไปให้สัตยาบันจะมีผลให้หนี้ดังกล่าวที่เกิดขึ้นระหว่างสมรสกลายเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามี-ภรรยา  การให้สัตยาบันอาจจะเป็นการให้ด้วยปากเปล่า หรือลงลายมือชื่อให้ความยินยอมเพื่อให้คู่สมรสของตนกู้ยืมเงิน  หรือลงลายมือชื่อในฐานะพยานในสัญญากู้ยืมเงิน

 

การชำระหนี้

- สามีและภรรยาต้องรับผิดชอบชำระหนี้ที่ตัวเองก่อไว้ก่อน หรือระหว่างสมรสเป็นการส่วนตัว  โดยชะระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายก่อน  เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป้นส่วนของฝ่ายนั้น

- ถ้าสามีและภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันให้ชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย

- หากสามีหรือภรรยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย  สินสมรสย่อมแยกจากกันได้โดยอำนาจกฎหมาย  นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย  สามีหรือภรรยาฝ่ายที่มิได้เป้นหนี้มีหน้าที่ต้องกันส่วนของตนเองไว้

- เมื่อแยกสินสมรสแล้ว  ส่วนที่แยกออกย่อมเป้นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย  หากมีหนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วมเกิดขึ้นหรือค่าใช้จ่ายใดๆ อันเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน  สามี-ภรรยาต้องช่วยกันใช้หนี้ตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีสินส่วนตัวอยู่




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2556 16:20:45 น.   
Counter : 1162 Pageviews.  


6 เรื่องรู้ทันกลยุทธ์ทวงหนี้ของไฟแนนซ์

  6 เรื่องรู้ทันกลยุทธ์ทวงหนี้ของไฟแนนซ์

1.ไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ

โดยปกติไฟแนนซ์มักข่มขู่ให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชอบค่าติดตามยึดรถ ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล  โดยอ้างตัวเลขจำนวนสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วไฟแนนว์มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชอบได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

2.การเข้ายึดรถผู้เช่าซื้อต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม

กล่าวคือ เมื่อผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 วงดติดต่อกัน ก่อนยึดรถอีก 1 เดือน รวมเป็น 4 เดือน ไฟแนนซ์จึงจะสามารถยึดรถได้  ถ้ายึดรถก่อนหน้านี้ถือมีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องสัญญา ดังนั้นถ้าไฟแนนซ์มายึดรถก่อนกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เช่าซื้ออย่ายอมให้ยึดรถไป  หากเกิดการบังคับเอาไปให้เรียกตำรวจมาเป็นพยาน

3.การยึดรถถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยินยอมให้ยึดรถ ไฟแนนซ์จะยึดรพไม่ได้

ถ้ามีการบังคับขู่เข็ย ไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถ กระชากกุญแจรถไปหรือเอากุญแจสำรองมาเปิดรถและขับหนีไป  การกระทำดังกล่าวมีความผิดต่อเสรีภาพ  ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 309 และถ้ากระทำการโดยมีอาวุธหรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับเพราะฉะนั้นถ้ามีคนกระทำการดังกล่างให้ถ่ายรูปรหือบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน  และแจ้งความดำเนินคดีอาญา หรือให้ทนายฟ้องศาลได้เลย

4. ไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าในกรณีใดๆ

แม้คุณจะผิดนัดชำระจริงก์ตาม เพราะคุณจะหมดอำนาจต่อรองไปทันที หลังจากยึดรถไฟแนนซ์จะนำรถของผู้เช่าซื้อไปขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดมาก เมื่อได้เงินไม่พอกับค่าเช่าซื้อที่ค้าชำระ ไฟแนนซ์จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากคุณ แต่ถ้ารถยังอยู่ในความครอบครองของคุณ คุณยังสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้ และยังมีอำนาจต่อรองกับไฟแนนซ์อยู่

5.ในกรณีถูกยึดรถและถูกเรียกให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ

เมื่อเขายึดรถได้ ไฟแนนซ์จะมีหนังสือแจ้งคุณว่าขายเมื่อใด  แต่จะให้โอกาสคุณไปใช้หนี้ก่อน หากคุณไม่ไปใช้หนี้ เขาจะนำรถออกขายทอดตลาด  ซึ่งส่วนมากราคาเหลือครึ่งต่อครึ่ง หากมีมูลหนี้คงค้างที่เหลือ ไฟแนนซ์จะเรียกเก็บจากคุณ ซึ่งมักจะเป็นตัวเลขที่เกินจริง  กรณีนี้อย่าตกใจ ให้หาทนายสู้คดี  เพราะโดยทั่วไปแล้วศาลจะตัดสินให้คุณจ่ายชำระในตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ถูกไฟแนนซ์เรียกกว่าเท่าตัว  ยกตัวอย่างเช่น เรียกมา 1,000,000 บาท  ศาลมักจะพิพากษาให้ชดใช้เพียง 500,000 บาท หรือ 300,000 บาท เป็นต้น

6.อย่านำรถที่ติดไฟแนนว์ไปขายต่อ

 เพราะสัญญาเช่าซื้อ  หากยังเหลือการค้างชำระค่างวด  ไฟแนนซ์ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์  ส่วนคุณคือผู้ครอบครองในที่นี้คือ  คุณมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น  มิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์  หากคุณขายรถให้คนอื่นไป  ภาระการผ่อนชำระยังเป็นของคุณ  มิใช่ของผู้ซื้อต่อจากคุณไป  ดังนั้นหากเกิดกรณีหยุดชำระไฟแนนซ์ขึ้นมา  คุณจะเข้าข่ายความผิดยักยอก(แต่ยอมความกันได้) เพราะสัญญาซื้อขายนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อเป็นของผู้ซื้อรายใหม่




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2556 16:00:43 น.   
Counter : 2871 Pageviews.  


สูตรการออมที่จะไม่เป็นภาระกับคุณ

 

สูตรการออมที่ไม่เป็นภาระหนัก

 

 

เริ่มต้นกำหนดเงินออม  โดยพิจารณาจากเงินเดือน  หักค่าใช้จ่ายจำเป็นที่เหลือจะเป็นตัวเลขที่คุณสามารถออมได้โดยไม่เป้นภาระหนักเกินไป  จากนั้นให้มองหาแหล่งลงทุนที่จะช่วยเพิ่มเงินออมของคุณ โดจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคุณ และภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน  ด้านล่างเป็นตัวอย่างแนะนำการจัดการสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม

 

ส่วนที่1 : ออมเงินในระบบการออมเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลและนายจ้าง  เช่น  กองทุนประกันสังคม  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ  ที่จะมีผลประโยชน์ด้านส่วนลดภาษี

 

ส่วนที่2 : ลงทุนในหุ้น  ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด  แต่ก็มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย  ดังนั้นหากคุณไม่มีความชำนาญพอ ควรเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมจะปลอดภัยกว่า

 

ส่วนที่3 : ลงทุนในแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ  โดยพิจารณาให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าตัวเลขเงินเฟ้อ  หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม

 

ส่วนที่4 : ลงทุนในหลักประกันต่างๆ  เช่นประกันสุขภาพ  ประกันอุบัติเหตุ  ประกันรายได้  และประกันการว่างงาน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น  ประกันเหล่านี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องรบกวนเงินออม

 

ส่วนที่5 : เก็บเงินไว้ในธนาคาร  พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น และตราสารทางการเงินต่างๆ เพื่อสร้างสภาพคล่อง  เผื่อไว้ในกรณีเกิเหตุจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉินขึ้นมา

 

 

รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

 

                ให้พิจารณาถึงความสามารถในการหารายได้เป็นหลัก  จากนั้นจึงนำเอาเรื่องภาระค่าใช้จ่ายปัจจุบัน ความถนัดในการลงทุน  มาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ  ซึ่งโดยหลักแล้ว  รูปแบบการลงทุนที่เหมาะในแต่ละช่วงวัยมีรายละเอียดดังนี้

 

ช่วงอายุ 25 – 35 ปี : วัยเริ่มต้นทำงาน  จนถึงเริ่มต้นชีวิตคู่  ยังไม่มีภาระอะไรมากนัก  อีกทั้งความสามารถในการหารายได้สูง แบกรับความเสี่ยงได้มาก  ควรลงทุนในหุ้น 75 % ตราสารหนี้ 25 % เพื่อให้เงินออมมีขนาดความสามารถในการเพิ่มค่าสุงสุด

 

 

ช่วงอายุ 36 – 45 ปี : ความสามารถนการหารายได้สูงสุด  แต่แบกรับความเสี่ยงได้น้อยลงเพราะภาระการเลี้ยงดูบุตร และสร้างครอบครัว  ควรลงทุนในหุ้น 55 % ตราสารหนี้ 45 %

 

 

 

ช่วงอายุ 46 – 55 ปี : ภาระค่าใช้จ่ายเริ่มลดลง  แต่ความสามารถในการหารายได้ก็ลดถอยลงตามไปด้วย  ควรลงทุนในหุ้น 35 % ตราสารหนี้ 65 %

 

 

ช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป  : ความสามารถในการหารายได้ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์  จึงควรลงทุนในหุ้น 25 % ตราสารหนี้ 75 %

 

 

กระนั้น แม้อยู่ในวัยเกษียณแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจไม่สามารถหารายได้ได้ด้วยตนเองเลย  เรี่ยวแรงในการทำงานอาจจะลดน้อยลง  แต่เงินออมที่มีอยู่ยังสามารถทำงานแทนคุณได้  การแบ่งสว่นเงินออมไปลงทุนในแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูง  จะทำให้คุณยังคงมีรายได้อยู่อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี  มีเงินปันผลจ่ายทุกปีและกระจายการลงทุนไปในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม

 

 

 

ทีนี้เราลองมาสำรวจพฤติกรรมการใช้เงินของคุณ  ลองถามตัวคุณเองว่า ทุกวันนี้คุณเป็นคนที่มีลักษณะการใช้เงินแบบไหน  ชักหน้าไม่ถึงหลังหรือไม่  ใช้เงินเกินตัวหรือไม่  ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณคงต้องลองทำบัญชีรายได้ – รายจ่าย ของคุณดู แล้วลองดูว่ารายการใดที่สามารถตัดทิ้งได้ ก็ให้ตัดทิ้งไป แบ่งสัดส่วนการใช้เงินดูนะครับ

 

ตัวอย่างเช่น 

 

- ค่าที่อยู่อาศัย 20 %

 

- ค่าอาหาร 20 %

 

- ค่าเดินทาง 10 %

 

- ค่าเสื้อผ้า – เครื่องประดับ 10 %

 

- ค่ารักษาพยาบาล 5 %

 

- ค่าผักผ่อน/ สันทนาการ / เอนเตอร์เทน 10 %

 

- การกุศล 5 %

 

- ออมและลงทุน 20 %

 

 

 

 




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2556 21:46:24 น.   
Counter : 616 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

ผู้ประสบภัยจากความรัก
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add ผู้ประสบภัยจากความรัก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com