Group Blog
 
All Blogs
 

เคล็ดลับการฝึกสุนัข

การฝึกสุนัข

สุนัขเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาด มีไหวพริบและมีความทรงจำดี สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ง่าย เช่น หยุด นั่ง คอย ฯลฯ เราจึงควรหัดและฝึกฝนสุนัขที่เลี้ยงไว้ตามสมควร สุนัขที่ผ่านการฝึก จะเป็นสุนัขที่น่ารัก และมีคุณภาพมากขึ้น และสุนัขเองก็จะดูมีความสุขมากขึ้น เนื่องจากมีสัญชาตญาณในการ ที่จะเอาใจใส่และใกล้ชิดเจ้าของอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังทำให้สุนัขสามารถอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์ ได้ดีมากขึ้น น่าจะเปรียบได้กับการอบรมขัดเกลาแล้ว ย่อมจะเป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น
ก่อนฝึกหัดสุนัข ผู้ฝึกที่จะทำหน้าที่เป็นครูสอนบทเรียนต่างๆ จะต้องมีสำนึก และคุณสมบัติที่สำคัญ คือ

1. จะต้องมีนิสัยรักสุนัข รักที่จะฝึกสุนัข เข้าใจในพฤติกรรมและจิตใจของสุนัขพอสมควร

2. มีความอดทน และเพียรพยายามสูง มีความตั้งใจแน่วแน่ จิตใจเข้มแข็ง ใจเย็ย สุขุม รอบคอบ ควบคุมอารมณได้เมื่อสุนัขไม่สามารถทำได้ดั่งใจนึก

3. ต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการฝึกสุนัขให้เข้าใจดี ต้องรู้ว่าจะฝึกสุนัขอย่างไร และให้ทำอะไร หาไม่แล้วจะเกิดความสับสนวุ่นวายทั้งคนและสุนัข เพราะไร้จุดหมายที่แน่นอน

อายุของสุนัขที่จะทำการฝึกนั้น เข้าทำนอง “ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ” ควรฝึกสุนัข เมื่อสุนัขยังมีอายุน้อยๆ ตั้งแต่เป็นลูกสุนัขอายุ 2 เดือน ขึ้นไป โดยฝึกจากสิ่งง่ายๆ ก่อน เช่น การขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทาง รู้จักคำสั่งง่ายๆ อาจจะกล่าวได้ว่า การฝึกสุนัขขณะอายุน้อยๆ เป็นการฝึกชั้นอนุบาล เพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้ฝึกในชั้นสูงๆ ที่ยากๆ ขึ้นไป

หลักการฝึก

การฝึกสุนัขนั้นเรายึดหลักซึ่งได้มาจากการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่เรียกว่า “ การตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข ” ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือคือ “ ทำดีมีรางวัล ทำผิดโดนลงทัณฑ์ ” รวมกับหลักการต่างๆ ดังนี้

1. มีขั้นตอนการฝึกที่แน่นอน จากง่ายๆ ไปหายาก

2. ใช้เวลาฝึกในระยะสั้นๆ ในตอนเริ่มต้น เช่น ไม่ควรเกิน 10 นาที ต่อครั้ง โดยมีการพักช่วงละ 5-10 นาที

3. อย่าทำให้การฝึกเป็นสิ่งที่น่าเบื่อสำหรับสุนัขในระยะเริ่มต้น อย่าดุหรือลงโทษจนสุนัขกลัวลนลาน และหากทำให้เป็นเรื่องสนุกสำหรับสุนัขได้เป็นการดี

4. การออกคำสั่งให้สุนัขทำตาม ต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงและต้องไม่ทำให้สุนัขสับสน

5 .ให้รางวัลสุนัขทันที และทุกครั้งที่สุนัขปฏิบัติตามคำสั่งได้ถูกต้อง รางวัลที่ให้อาจเป็นตั้งแต่คำชมเช่น “ ดีมาก ” หรือสัมผัส เช่น ใช้มือตบเบาๆ บริเวณลำคอหรือลำตัว

6 .แก้ไขทันทีที่สุนัขทำผิด การแก้ไขคือการลงโทษเป็นการลบล้างพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาของสุนัขออกไป การแก้ไขหรือห้าม ใช้คำพูดออกเสียงดุ นิยมใช้คำว่า “ ไม่ ” ออกเสียงสั้นๆ หนักและดัง ถ้าทำหน้าดุประกอบด้วยก็จะได้ผลมากขึ้นในทางจิตวิทยา เพราะสุนัขมีความสามารถอ่ารหน้าตาท่าทางของเจ้าของได้ดีเท่ากับการอ่านระดับเสียง หรืออาจลงโทษโดยการกระตุกสายสูงในกรณีที่ใช้สายจูงสุนัข ห้ามทำโทษสุนัขโดยการทุบตีหรือทำให้สุนัขเจ็บปวดจนเกินเหตุ เพราะสุนัขจะกลัว และเกลียดการฝึก




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2548    
Last Update : 21 ตุลาคม 2548 16:29:15 น.
Counter : 320 Pageviews.  

การฝึกในเรื่องระเบียบวินัยภายในบ้าน

การฝึกในเรื่องระเบียบวินัยภายในบ้าน

เมื่อเตรียมครู รู้หลักการแล้ว จึงเตรียมสุนัขให้พร้อมที่จะรับการฝึก สิ่งแรกที่สุนัขต้องรู้จักคือ ชื่อของมัน การตั้งชื่อสุนัขให้ถือหลักการออกเสียงและการจดจำได้ง่าย ควรเป็นคำสั้นๆ ไม่เกิน 2 พยางค์ สมาชิกทุกคนในบ้านควรมีส่วนในการตั้งชื่อด้วย เพื่อให้ได้ชื่อที่เหมาะสมที่สุด การเปลี่ยนชื่อสุนัขบ่อยๆ จะทำให้สุนัขสับสน เพราะลูกสุนัขจะจำชื่อตัวเองได้เร็วมาก ยิ่งเป็นคำสั้นๆ กะทัดรัด และหนักแน่นเท่าไร สุนัขก็จะยิ่งจำได้ง่ายข้นเท่านั้น และเมื่อมีชื่อแล้วก็ต้องหมั่นเรียกบ่อยๆ เพราะถ้ายิ่งเรียกบ่อย สุนัขก็จะจำได้ง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์ในการฝึกต่อไปอย่างมาก

1 .การฝึกสุนัขให้ถ่ายเป็นที่เป็นทาง ก่อนอื่นควรจะกำหนดสถานที่ที่เหมาะสมเอาไว้ เช่น ห้องส้วม หรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้าน ต่อไปต้องพยายามสังเกตอาการของสุนัขว่ามันต้องการถ่ายหรือยัง ตามปกติลูกสุนัขมักจะร้องคราง ดมกลิ่นที่พื้นหรือวิ่งวนเป็นวงกลม นั่นแสดงว่าต้องการขับถ่าย ลูกสุนัขอายุ 3-6 เดือน จะขับถ่ายประมาณวันละ 5 ครั้ง อายุ 6 เดือน วันละ 4 ครั้ง สุนัขโตแล้ววันละประมาณ 3 ครั้ง ลูกสุนัขมักต้องการถ่ายปัสสาวะเมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้า หรือหลังกินอาหารแต่ละมื้อ

เมื่อพบว่าสุนัขต้องการขับถ่าย จะต้องรีบพาไปยังสถานที่ที่เตรียมไว้ทันที ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้งสุนัขก็จะทำได้ อย่าปล่อยให้ขับถ่ายเรี่ยราดตามที่ต่างๆ หากสุนัขทำผิดก็อย่าไปตีหรือลงโทษอย่างอื่นควรใช้เสียงดุว่า “ไม่” แล้วรีบนำไปยังสถานที่ที่เตรียมไว้ เมื่อสุนัขปฏิบัติได้ ก็ควรชมเชยเพื่อให้เข้าใจว่าได้ทำถูกต้องแล้วบ่อยๆครั้งเข้าลูกสุนัขย่อมเกิดการเรียนรู้ และผลสุดท้ายก็จะไปถ่ายตามที่เตรียมไว้อย่างอัตโนมัติ

2 .ฝึกการกินอยู่ หลับนอน การกินอาหารของสุนัขก็ต้องได้รับการฝึกหัดเช่นกัน หากเลี้ยงสุนัขหลายตัวควรแยกสถานที่ให้สุนัขกินให้ห่างกัน เพื่อป้องกันการแย่งกินอาหารและหวงอาหาร ครั้งใดที่สุนัขกินอาหารไม่หมดก็ให้รีบเก็บจานเสีย อย่าทิ้งไว้ให้กินอีกต่อไป จะทำให้สุนัขนิสัยไม่ดี กินอาหารไม่เป็นเวล่ำเวลา หรือแม้แต่การที่สุนัขได้รับอาหารจากบุคคลอื่นนอกเวลาอาหารก็เป็นสิ่งไม่ดี เป็นการเพาะนิสัยให้เป็นสุนัขขอทานได้ จึงควรต้องระวังไม่ให้รับอาหารจากบุคคลอื่นยกเว้นเจ้าของ

ลูกสุนัขจึงควรมีที่หลับนอนเป็นสัดส่วนของตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก ไม่ควรนำลูกสุนัขไปนอนร่วมห้อง หรือบนเตียงด้วยความสงสารหรือเพราะเหตุผลใดๆ เพราะถ้าเริ่มเลี้ยงจากการเอเาไว้ในบ้าน พอลูกสุนัขเริ่มโต หากจับย้ายออกไปขังกรงนอกบ้าน ลูกสุนัข หรือแม้แต่โตแล้วส่วนใหญ่จะไม่ยินยอม เพราะมันคิว่าเป็นการถูกทอดทิ้ง อาจจะร้องไห้หวยหวนทั้งคืน จะทำให้เจ้าของบ้านหรืเพื่อนบ้านไม่เป็นอันหลับอันนอน เนื่องจากเสียงหนวกหูจากสุนัข

3 .ฝึกป้องกันนิสัยชอบกัดแทะสิ่งของ เป็นธรรมชาติของลูกสุนัขทั้งหลายที่ซนและชอบกัดแทะสิ่งของต่างๆ เพราะมันเริ่มมีฟันจึงกัดแทะเครื่องใช้สิ่งของในบ้าน ลูกสุนัขต้องการกัดแทะสิ่งของเพื่อความสะอาดของฟัน นวดเหงือกขจัดฟันน้ำนมให้หลุดเร็วๆ รวมทั้งการระบายความเครียด หรือเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีใครเล่นด้วย จึงหาสิ่งของมากัดเล่น

ควรหาเครื่องเล่นสำหรับสุนัข เช่น ลูกบอลเล็กหรือกระดูกยาง หรือวัสดุที่ทนทานต่อการกัดแทะให้สุนัขกัดเล่น ป้องกัดไม่ให้ไปทำลายสิ่งของอื่นในบ้าน เมื่อเห็นว่าสุนัขกัดสิ่งของอื่นๆ ที่ไม่ประสงค์ต้องออกคำสั่งว่าอย่า หรือไม่ แล้วจับปากแยกออกพร้อมดึงของออกจากปาก อย่าพยายามดึงสิ่งของที่สุนัขคาบอยู่ เพราะสุนัขอาจคิดว่าเราอยากเล่นกับมันด้วย ใช้น้ำเสียงดุและปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จะจำได้




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2548    
Last Update : 21 ตุลาคม 2548 16:28:22 น.
Counter : 330 Pageviews.  

การฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งขั้นต้น

การฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งขั้นต้น

หลังจากที่ลูกสุนัขมีวินัยพอสมควรในเรื่องต่างๆ ข้างต้น และผู้ฝึกสามารถสื่อสารกับสุนัขในการสั่งห้ามและชมเชย ต่อไปก็ควรฝึกคำสั่งพื้นฐานอื่นๆ เช่น การเดิน นั่ง หมอบ รอ และมาหา อาจต้องแสดงถ้าทางประกอบ หรือค่อย จัดท่าให้ทำตามคำสั่ง สอนทุกวัน สาธิตให้ดูซ้ำและซ้ำอีก อย่าหมดความอดทนหรือ อารมณ์เสียก่อน ต้องระลึกเสมอว่าเรากำลังสาธิตให้สุนัขทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่เป็นสัญชาตญาณตั้งแต่เกิด

อุปกรณ์ในการฝึกที่สำคัญสองอย่างคือ โซ่คอและสายฝึก ควรหาปลอกคอที่กว้างพอสมควร อย่าให้บีบรัดคอมากเกิดไป สายฝึกเป็นหนังหรือเป็นผ้าขนาดยาวประมาณ 5 ฟุต สายฝึกจะติดอยู่กับปลอกคอ เพ่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ฝึกกับสุนัข และการใช้โซ่คล้องคอสุนัขจะต้องให้ห่วงที่คล้องสายฝึกอยู่ทางด้านซ้ายของสุนัขเสมอ เพื่อไม่ให้โซ่รัดคอเมื่อไม่ได้ดึงสายฝึก

ในตอนแรกอาจจะต้องหัดให้สุนัขคุ้นเคยกับโซ่คอเสียก่อน เพราะสุนัขบางตัวไม่ยอมให้ใส่ปลอกคอ หรือล่ามโซ่ เพราะความไม่เคยชิน ฝึกหัดเข้าสายจูงให้ตึงเท่านั้น สุนัขอาจจะขันขืนก็ให้ปล่อยสายจูงและพูดปลอบจนสุนัขนิ่งจึงค่อยๆ จูงเดินระยะ 2-3 ก้าว ชมสุนัขเมื่อไม่ขัดขืน แล้วจึงเพิ่มระยะทาง กรฝึกเข้าสายจูงและการเดินจูงอาจกินเวลา 3-4 วัน ในการจูงสุนัขต้องให้สุนัขอยู่ทางด้านซ้ายเดินชิดเข่า อาจกระตุ้นให้สุนัขเข้ามาใกล้ตัว โดยการตบต้นขาซ้ายแล้วบอกว่า “ชิด” และถ้าสุนัขเข้ามาชิดตัวให้ลูบหัวหรือตบไหล่ซ้ายของสุนัขเบาๆ แล้วชมว่า “ดีมาก” การเรียกชื่อสุนัขประกอบทุกครั้งจะช่วยให้สุนัขสนใจดีขึ้น

1. ฝึกเดิน ให้สุนัขอยู่ทางด้านซ้ายมือของผู้ฝึก ใช้คำสั่ง “เดิน” เพียงคำเดียว แล้วเริ่มออกเดิน อาจจะต้องดึงสายฝึกเล็กน้อยเพื่อให้สุนัขทำตาม พยายามเดินช้า อย่ากระชากลากถู ถ้าสุนัขไม่ทำตามหรือเดินล้าหลัง ให้กระตุกสายฝึกเบา ๆ ให้สุนัขเดิมตามทัน และชมเชยทุกครั้ง หากสุนัขเดินนำหน้าหรือเดินออกห่างไปอย่าเร่งฝีเท้าหรือวิ่งตาม เพราะจะนิ่งเตลิดออกไป ค่อย ๆ ดึงสายฝึกให้กลับมาหรือเดินช้าลง พยายามเดินคู่กันตลอด ควรฝึกเดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อหัดเดินตรงและเลี้ยว ชมเชยทุกครั้งที่สุนัขปฏิบัติได้ถูกต้อง

2. ฝึกหยุดอยู่กับที่ เมื่อจูงสุนัขมาได้สักระยะหนึ่ง ให้ชิดเท้าหยุดพร้อมกับออกคำสั่ง “หยุด” และดึงสายจูง สุนัขจะหยุดให้รางวัลโดยการตบเบา ๆ ที่ไหล่ซ้ายหรือลำคอ ชมว่า “ดีมาก” ทำซ้ำ 5-6 ครั้ง สุนัขจะหยุดได้เองหลังจากออกคำสั่งโดยไม่ต้องออกคำสั่งโดยไม่ต้องดึงสายจูง

3. ฝึกนั่ง หลังจากที่สุนัขหยุดได้ถูกต้องเมื่อออกคำสั่ง ต่อมาอีก 2-3 วัน ให้ทำการฝึกสุนัขนั่ง เริ่มจากสั่งให้สุนัขหยุดจากนั้นสักครู่จึงออกคำสั่ง “นั่ง” พร้อมทั้งกับดึงสายจูงขึ้น ขณะเดียวกันใช้มือซ้ายกดท้ายสุนัขลงไป การฝึกนั่งสุนัขพันธุ์ใหญ่ๆ บางตัวอาจจะต้องใช้แรงดึงสายจูงและกดท้ายหนักๆ ในตอนแรกๆและต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง จนสุนัขเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง จึงชมเชยสุนัข

4. ฝึกหมอบ เมื่อสุนัขรู้จักนั่งตามคำสั่งได้ดีแล้ว ก็ฝึกให้สุนัขรู้จักการหมอบ การฝึกขั้นนี้จะทำต่อเนื่องกันไปจากการฝึกนั่งคือ เมื่อสุนัขนั่งเป็นแล้ว ก็สอนให้สุนัข “หมอบ” โดยการออกคำสั่ง “หมอบ” พร้อมกับก้มตัวดึงสายจูงลง หากจำเป็นต้องใช้มือซ้ายช่วยกดไหล่ของสุนัขด้วย ทำซ้ำๆจนสุนัขทำได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องใช้แรงบังคับ

5. ฝึกคอย หลังจากที่สุนัขนั่งและหมอบตามคำสั่งได้ดีแล้ว การสั่งให้สุนัขคอยจะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก โดยการออกคำสั่งว่า “คอย” ประกอบสัญญาณมือ ด้วยการยกมือขวาหันหน้ามือไปทางสุนัข

การสั่งสุนัขคอยในตอนแรกให้ก้าวขามาข้างหน้าสุนัข 1 ก้าว แล้วหันหน้าไปออกคำสั่ง “ไม่” แล้วตามด้วยคำว่า “คอย” ทำเช่นนี้ซ้ำกันหลายๆครั้ง พร้อมกับเริ่มระยะทางห่างจากสุนัขจนถึงสุดสายจูง และเพิ่มเวลาการให้สุนัขคอยอย่างน้อย 5 นาที ให้รางวัลทุกครั้งเมื่อสุนัขทำได้ถูกต้องตามคำสั่ง

6. ฝึกมา ควรเรียกชื่อสุนัขแล้วตามด้วยคำสั่ง “มานี่” ถ้ามันไม่มา อาจต้องเดินไปหาแล้วอุ้มมายังที่ๆ ผู้ฝึกยืนอยู่ ฝึกจนกว่าสุนัขจะเชื่อมโยงคำสั่งกับการกระทำ อย่าลืมชมเชยทุกครั้ง

ทุกขั้นตอนของการฝึกที่กล่าวมานี้ ต้องเป็นไปตามลำดับและอาจต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 5-6 สัปดาห์ สุนัขจึงจะต้องปฏิบัติได้อย่างคล่องแคล่ว จากนั้นจึงจะฝึกโดยเริ่มจากการเดิน หยุด นั่ง หมอบ คอย ต่อไป ส่วนวิธีการฝึกก็เหมือนกับการฝึกในการฝึกในสายจูงทุกประการ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการฝึกสุนัขขั้นพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับการฝึกในขั้นสูงต่อไป ความรัก ความสนใจ ความอดทน ที่ผู้ฝึกมีให้แก่สุนัข อาจทำให้ค้นพบวิธีการที่เหมาะสมอื่นๆ ได้ แต่หลักการสำคัญในเรื่องคำชม คำห้ามอื่นๆ ควรยึดเป็นหลักไว้ ปัจจุบันมีโรงเรียนฝึกสุนัขเกิดขึ้นหลายแห่ง ซึ่งหากมีข้อสงสัยใดๆ ในการฝึก ก็อาจสอบถามจากโรงเรียนเหล่านี้ หรือจากคอกเลี้ยงสุนัขต่างๆ ได้

ขอบคุณข้อมูลจากpetloversclub.com




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2548    
Last Update : 21 ตุลาคม 2548 16:26:31 น.
Counter : 1459 Pageviews.  


ซ่าส์
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ซ่าส์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.