พื้นที่ชลประทานของเรา เยี่ยมมาก คนไทยไม่รู้ตัวว่าโชคดีนัก


เรียน คุณหลี (ประชาสัมพันธ์ กรมชลฯ)
จาก //www.icid.org/imp_data.pdf
ผมเลือกข้อมูลมาทำตารางใหม่:
INTERNATIONAL COMMISSION ON IRRIGATION AND DRAINAGE (ICID)


100 ha = 1 ตร. กม.
ฝากเป็นกำลังใจให้ชาวชลประทาน จะได้ภูมิใจในความสำเร็จ และทำงานเพื่อชาวไทยต่อไป
ขอโทษที่ไม่ได้เรียบเรียง:

1) ผมเคยเห็นข้อมูลเป็น chart /poster ใหญ่ๆ ห้องMr.Musaad ลูกค้าที่ซูดานทำโดยบริษัททำเขื่อน โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จากยุโรป จัดอันดับพื้นที่ทำชลประทานของประเทศไทยไว้ตำแหน่งสูงมากในโลก
ได้จังหวะนี้ลองเข้าไปค้นข้อมูลทาง internet ก็นำมาจัดทำตารางใหม่ข้างบนซึ่งอันดับไทยก็ดูคล้ายๆกับที่เคยเห็นคือโดยพื้นที่ที่ได้รับการชลประทาน เป็นอันดับ 8 ของโลกทั้งๆที่เราก็ไม่ได้เป็นประเทศใหญ่โตอะไร อันที่จริงก็เล็กที่สุดในตารางด้วยซ้ำ
ยิ่งถ้านำข้อมูลทั้ง 8 ประเทศมาดูว่าประเทศใดมีอัตราส่วนพื้นที่ๆได้รับการชลประทานสูงสุดใน 8 ประเทศนี้ ไทยเราก็มาอันดับสอง คือคร่าวๆเป็น 10% ของพื้นที่ทั้งหมดทีเดียว

2) ชาวไทยคงเห็นภาระกิจในหลวงของเราจำนวนมากทีเดียวเกี่ยวกับส่งเสริมการชลประทาน...พระองค์ท่านมีบทบาททั้งชักจูง ผลักดันให้เป็นผลอย่างที่เห็น ผมไม่จำเป็นต้องเขียนตรงนี้มาก พวกเราคงตระหนักดีกันอยู่แล้ว

3) พวกเราคงเคยคิดเหมือนผมว่าเราน่าจะมีน้ำมันอย่างพวกอาหรับ เขาโชคดีกว่าเรา...
แต่จริงๆแล้วน้ำมันหรือแก๊สนั้นอีก 50 ปี 100 ปี ก็จะหมดไปแล้ว ตอนนั้นพวกเขาคงจะลำบากมาก ในขณะที่เรานั้นอย่างน้อยหากเรารู้จักรักษาแหล่งน้ำและพัฒนาการชลประทานเราก็มีกินมีใช้อยู่เสมอ

หากมองประวัติศาสตร์มนุษย์นั้น เราสร้างบ้านเมือง หรือย้ายบ้านเมืองก็เพราะเรื่องน้ำนี่แหละ หากไม่มีน้ำ มนุษย์เราก็อยู่ไม่ได้ น้ำสำคัญมากที่สุด เป็นความยั่งยืน สำคัญมากกว่าน้ำมัน ไฟฟ้า อะไรทั้งนั้น กล่าวได้ว่า "นํ้าคือชีวิต" ในอนาคตเชื่อกันว่าอาจเกิดสงครามแย่งน้ำระหว่างประเทศกันด้วยซ้ำ

4) การที่เราพัฒนาการชลประทานมาได้ขนาดนี้จึงต้องมองว่า บรรพบุรุษ, กษัตริย์ไทยแต่โบราณ และปัจจุบันได้มองการไกล และทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับเราไว้ทีเดียว ท่านขุดคลองไกลๆให้เราไว้ใช้ ในกรุงก็ขุดไว้เต็มไปหมด (ซึ่งน่าเสียดายที่เรากลบเป็นถนนไปกว่าครึ่งแล้วกระมัง)

5) สิ่งที่เราต้องทำคือ หนึ่งรักษาแหล่งต้นกำเนิดน้ำให้ดีที่สุด ซึ่งก็ก็คือป่าของเรา (บ้านเมืองอื่นอาจเป็นน้ำแข็งที่อยู่บนยอดเขา) ใครที่บุกรุกป่าก็เท่ากับทำลายชาติของเราในแง่นี้ สองพัฒนาการจัดการน้ำหรือการชลประทานให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ถ้าทำได้สองอย่างนี้ก็มั่นใจในความยั่งยืนของประเทศไทยได้แล้ว
ยังมีเพิ่มเติมอีก ได้แก่ สาม มาตรการคุมกำเนิด เพื่อลดความจำเป็นที่จะต้องบุกรุกใช้พื้นที่ป่า ทำลายต้นน้ำลำธาร แย่งกันใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด สี่ กฏหมายที่ดิน การใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการสะสมกักตุนที่ดินไม่ใช้ประโยชน์ หรือใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ (ข้อสุดท้ายนี้เราต้องช่วยกันเสียสละกันนะครับ)

6) ผมไปมาหลายประเทศ บินจากกาตาร์ข้ามซาอุดิอาราเบีย ทะเลแดง ซาฮารา ไปถึงคาร์ทูมเมืองหลวงของซูดาน ตลอดทางมีแต่ทะเลทราย นานๆจะเห็นมีบ่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ บินฝ่าข้ามทวีปออสเตรเลีย ตรงกลางมีแต่ทะเลทราย อยุ่ทำกินได้เฉพาะขอบทวีป ทวีปอื่นๆก็เหมือนกัน ยกเว้นอเมริกาใต้ ล้วนเป็นเช่นนั้นคือแห้งแล้งเป็นทะเลทราย เป็นน้ำแข็ง จะหาประเทศที่อุดมสมบูรณ์อย่างบ้านเรานั้นมีน้อยนัก

จำได้ที่คนซูดานมาเมืองไทยครั้งแรก ความที่บ้านเขาๆเห็นแต่สีน้ำตาลของทะเลทราย ต้นไม้ที่มีก็เฉพาะริมๆแม่น้ำไนล์ ซึ่งก็ขี้ฝุ่นจับใบเต็มไปหมด ยกเว้นเมื่อฝนตก ซึ่งปีหนึ่งก็มีไม่มาก ทำให้พอเขาเห็นบ้านเราเขามอง ตื่นตาชื่นชมกับต้นไม้ ใบหญ้า สีเขียว ที่เราเห็นอยู่ทุกวี่ทุกวันและไม่ค่อยได้รู้สึกถึงความสวยงาม หรือคุณค่าของมัน

คนไทยเราโชคดีเหลือเกินครับ เราอาจไม่รู้ตัว แม้กระทั่งอิสานที่ว่าแห้งแล้งเหลือเกิน ผมบินจากเวียงจันทร์มากรุงเทพฯด้วยเครื่องของลาวซึ่งเพดานบินต่ำ มองลงมาที่พื้นดิน ผมเห็น สายน้ำ แหล่งน้ำ ทั้งธรรมชาติและที่เราสร้างขึ้นมากมายตลอดทาง ยังไม่นับความโชคดีอื่นๆเช่นเรามีชายทะเลทรายสีขาวยาวตลอดอ่าวไทย บวกกับความมีนํ้าใจ service mind ทำให้เป็นที่ๆฝรั่ง ชาวต่างชาติอยากมาที่สุด....

เหลือแต่เพียงปัญหาว่า ทำไงถึงจะให้พวกเราเห็นในคุณค่าเข้าใจปัญหาและช่วยกันหวงแหนรักษามันเท่านั้น

ข้อมูลของผมนี้เผยแพร่ต้นปี 2010 และวันนี้เห็นเพื่อนวศ. 55 คุณอุรเคนทร์ นำมาเผยแพร่อีกครั้งให้เพื่อนๆดูกัน นึกออกจึงนำมาใส่ Blog




Create Date : 28 เมษายน 2554
Last Update : 19 กันยายน 2560 21:00:34 น.
Counter : 1014 Pageviews.

1 comments
  
คนไทยย่อมยกย่องเชิญชูฝรั่งแต่ไม่เชิญชูคนไทยด้วยกันเอง
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 28 เมษายน 2554 เวลา:18:45:23 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

permsak.rat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



All Blog